Back To The Course

Ureteropelvic Junction Obstruction

บทนำ

Ureteropelvic junction (UPJ) obstruction คือการอุดตันที่รอยต่อของกรวยไตกับหลอดไต เป็นสาเหตุของ hydronephrosis ในทารกแรกคลอดที่พบได้บ่อยที่สุด พบในเพศชายบ่อยกว่าเพศหญิง 5 เท่า มีส่วนน้อยที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม อาจเกิดจากการหักพับงอ หรือแผ่นใยพังผืดรัด มี ureteric valve เป็นต้น พบเป็นทั้งสองข้างได้ประมาณร้อยละ 30 ถ้าเป็นข้างเดียวมักจะเป็นข้างซ้ายบ่อยกว่า

อาจพบมีความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วยบ่อยขึ้น คือ เช่น ท่อไตสองชุด hypospadias ความผิดปกติของหัวใจ หรือระบบประสาท Down’s syndrome ก็พบได้บ่อยขึ้น

โดยทั่วไปมีพยากรณ์ที่ดี แต่ส่วนมากต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขในภายหลัง

ลักษณะทางคลื่นเสียงความถี่สูง

  • พบการโป่งขยายขึ้นของ กรวยไต (pyelectasis) แต่กระเพาะปัสสาวะไม่โป่งขยาย ขนาดของกรวยไตมีได้หลายระดับ ถ้าเส้นผ่าศูนย์กลางโตเกิน 10 มม. ควรถือว่าเริ่มโป่งผิดปกติ
  • การพบกรวยไตกว้างไม่ถึง 10 มม. เส้นผ่าศูนย์กลางของกรวยไตไม่ถึงครึ่งของของไต และไม่เห็น calyces ลักษณะโป่งกลมขึ้น แสดงว่าน่าจะเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงตามสรีรวิทยา น้อยรายที่จะทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก
  • ถ้าเส้นผ่าศูนย์กลางกรวยไตเกิน 10 มม. และกว้างเกินครึ่งของเส้นผ่าศูนย์กลางไต เห็น calyces ถือว่ามีกรวยไตโตอย่างมีนัยสำคัญ น้อยมากที่จะหายได้เอง มักจำเป็นต้องผ่าตัดแก้ไขในที่สุด
  • ถึงแม้เส้นผ่าศูนย์กลางกรวยไตไม่ถึงครึ่งของไต แต่ calyces กลมก็บ่งชี้ถึง hydronephrosis
  • UPJ obstruction ส่วนใหญ่เป็นข้างเดียว และไตข้างตรงข้ามทำงานได้ตามปกติจึงเห็นกระเพาะปัสสาวะปกติ และน้ำคร่ำปกติ
  • ครรภ์แฝดน้ำพบได้ในบางราย อาจเกิดจากการอุดตันเพียงบางส่วนและหย่อนประสิทธิภาพในการกลั่นปัสสาวะ และเพิ่มปริมาณปัสสาวะ
    UPJ obstruction รุนแรงในรายที่ไตข้างตรงข้ามฝ่อ หรือไม่ทำงาน จะทำให้เกิดภาวะน้ำคร่ำน้อย ไม่สามารถเห็นกระเพาะปัสสาวะได้
  • ในราย UPJ obstruction ทั้งสองข้างแต่ปริมาณน้ำคร่ำปกติบ่งชี้ว่าการอุดตันนั้นเป็นเพียงบางส่วน

Mild pyelectasis และความผิดปกติของโครโมโซม

กรวยไตที่ขยายใหญ่ขึ้นเล็กน้อยช่วง 15-20 สัปดาห์ คือเส้นผ่าศูนย์กลางแนวหน้าหลังมากกว่า 4 มม.63 ซึ่งโดยทั่วไปถือว่าเป็นปกติ แต่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อกลุ่มอาการดาวน์ได้บ้าง (ร้อยละ 3.364) ประมาณร้อยละ 25 ของทารกที่เป็นกลุ่มอาการดาวน์มี pyelactasis ในขณะที่ทารกปกติพบเพียงร้อยละ 2 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม isolated pyelectasis มีค่าทำนาย trisomy 21 ได้เพียง 1/340 ซึ่งไม่อาจไม่คุ้มกับการเจาะน้ำคร่ำ ส่วน moderate / severe pyelectasis, multicystic kidneys และ renal agenesis จะพบมีความสัมพันธ์กับ trisomy 18 และ 13 ได้มากกว่า

Mild hydronephrosis
Cross-sectional scan of the abdomen: mild dilatation of the renal pelvis

Hydronephrosis
Coronal scan of the posterior abdomen: mild dilated renal pelvis (*) (arrow = bifurcation of aorta)

Severe hydronephrosis
Parasagittal scan of the abdomen: markedly enlarged renal pelvis (*) with thin parenchyma

Hydronephrosis
Sagittal scan of the kidney: mild dilatation of the calyces

Hydronephrosis
Parasagittal scan of the abdomen: markedly enlarged renal pelvis (*) and calyces (arrow)

Hydronephrosis
Coronal scan of the abdomen: bilateral markedly dilated renal pelvis (*) (arrow = aorta)

Hydronephrosis
Sagittal scan of the abdomen: markedly dilated renal pelvis (*) and calyx (arrow)

Hydronephrosis
Cross-sectional scan of the abdomen: markedly dilated renal pelvis (*) and calyx (arrow) (arrowhead = spine)

Hydronephrosis
Multiple dilated renal calyces (arrow) connecting to dilated renal pelvis; look like multi cystic kidney

Hydronephrosis
Cross-sectional scan of the abdomen: markedly dilated renal pelvis (*) with calyces (arrow)

Classic Images