Back To The Course

Hyperechoic Bowel

บทนำ

ลำไส้ทึบเสียง (hyperechoic bowel) มีความสัมพันธ์กับหลายสภาวะ คือนับตั้งแต่ภาวะปกติ ไปจนถึงความพิการรุนแรง และมิได้หมายความว่าจะต้องมีหินปูนมาจับ ซึ่งอาจสรุปการวินิจฉัยแยกสาเหตุได้ดังนี้

  • ภาวะปกติในทารกบางรายในระยะไตรมาสที่สอง
  • High gain และ/หรือ dynamic range settings
  • น้ำคร่ำมีเลือดปนอยู่
  • Meconium ileus (cystic fibrosis)
  • Down’s syndrome

ลักษณะทางคลื่นเสียงความถี่สูง

ลำไส้มีความเข้มเสียงสูงกว่าปกติ แต่อย่างไรก็ตามการบอกระดับความเข้มเสียงจะต้องระมัดระวังในการแปลผล ปัญหาประการหนึ่งของการวินิจฉัยคือ การบอกความทึบเสียงมักเป็นความรู้สึกส่วนตัว (subjective) ที่ไม่มีมาตรฐาน ความเข้มขนาดใดจึงจะถือว่าผิดปกติ เป็นสิ่งที่กำหนดได้ยาก บางท่านแนะนำว่าให้ใช้ความเข้มระดับเดียวกับกระดูกเชิงกราน แต่แม้ใช้เกณฑ์เช่นนี้ก็ยังพบได้ในทารกปกติบางรายในไตรมาสที่สอง

Meconium ileus (cystic fibrosis) และ meconium peritonitis ให้ภาพลำไส้ทึบเสียงได้บ่อย แม้ว่าส่วนใหญ่จะพบในไตรมาสที่สาม แต่บางรายก็อาจพบได้ในไตรมาสที่สอง และบางท่านแนะนำให้ทดสอบตรวจหา cystic fibrosis ในรายที่ตรวจพบลำไส้ทึบเสียงในไตรมาสที่สอง

ส่วนมากของลำไส้ทึบเสียงในไตรมาสที่สองเป็นภาวะปกติซึ่งจะหายไปได้เอง และแม้ยังคงอยู่ถึงไตรมาสที่สามก็มิได้ผิดปกติเสมอไป

HB หมายถึงความเข้มเสียงของลำไส้มากเท่า ๆ กับความเข้มเสียงของกระดูก เพิ่มความเสี่ยงของกลุ่มอาการดาวน์ ประมาณร้อยละ 14-16 ของทารกที่มี HB จะมีความผิดปกติของโครโมโซม (ส่วนใหญ่เป็นดาวน์) แต่โครโมโซมผิดปกติร้อยละ 1.4 ของ isolated HB

ข้อสังเกต

HB ยังพบบ่อยขึ้นในรายทารกติดเชื้อ CMV เป็น cystic fibrosis, early-onset FGR นอกจากนั้นยังพบบ่อยขึ้นในรายเลือดออกในน้ำคร่ำซึ่งบ่งชี้ว่าทารกที่กลืนน้ำคร่ำแต้มเลือดเข้าไปจะทำให้เกิด HB

Hyperechoic bowel
Coronal scan of the abdomen: hyperechogenic bowel (*)

Hyperechoic bowel
Sagittal scan of the abdomen: hyperechoic bowel (*)

Hyperechoic bowel
Cross-sectional scan of the abdomen: hyperechoic bowel (*) (arrowhead = spine)

Hyperechoic colon
Coronal scan of the abdomen: hyperechogenic colon (*) (arrow = aorta)

Classic Images