ครูแพทย์

ภาควิชาอายุรศาสตร์มีครูแพทย์ที่เป็นปูชนียบุคคล ในด้านการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการ ที่เป็นแบบอย่างแก่ครูแพทย์รุ่นหลัง ในการดำรงตนเป็นครูแพทย์ที่ดี

ศาสตราจารย์นายแพทย์ ชาญ สถาปนกุล

หยดหมึก หยาดเหงื่อ ที่สวนดอก

(อ้างอิงบทความบางส่วนจาก หนังสือ 25 ปี แพทยศาสตร์ เชียงใหม่ พ.ศ. 2525 หน้า 188-190)

 

ในปีพ.ศ. 2550 ได้มีการกำเนิดโรงเรียนแพทย์ส่วนภูมิภาคเป็นแห่งแรกในประเทศไทย คือ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ในสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ซึ่งเป็นมติจากที่ประชุมการศึกษาแพทยศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ 1 เพื่อตอบสนองนโยบายและความต้องการการขอรัฐบาลในขณะนั้นด้วย โดยได้มีการดึงตัวบุคคลากรคณาจารย์มาจากโรงเรียนแพทย์เดิมทั้งสองแห่ง นั้นคือ ศิริราช และจุฬาฯ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือหมอชาญ สถาปนกุล แต่กว่าจะได้เริ่มย้ายขึ้นมาก่อตั้ง ก็ต้นปี 2504  โดยได้วางแผนและทำการเคลื่อนย้ายอาจารย์ฝ่ายปรีคลินิกรุ่นแรกขึ้นมาเตรียมงานที่เชียงใหม่ เพื่อย้ายนักศึกษาปีที่ 3 ขึ้นมาเรียนปีที่ 4 ที่เชียงใหม่ในเดือนกุมภาพันธ์ 2504 และได้มีการประกาศแต่งตั้งหัวหน้าแผนก (วิชา) อายุรศาสตร์ ซึ่งอาจารย์ชาญก็ไดรับการแต่งตั้งตั้งแต่บัดนั้น อาจารย์ชาญได้เล่าถึงเชียงใหม่ในปี 2504 ได้ใจความว่า “เชียงใหม่เมื่อปี 04 ยังเงียบสงบไร้มลภาวะแบบชนบทชั้นดี สวนดอกนั้นอยู่นอกเขตเทศบาล จึงยิ่งเงียบสงบกว่าในเมือง รถเมล์ไม่มี มีแต่สามล้อเครื่อง และ สามล้อถีบ บ้านพักของผมอยู่ในหมู่บ้านใกล้ถังนํ้าใหญ่ในโรงพยาบาล ตัวตึกปลูกลงบนท้องนา รอบ ๆ บ้านเป็นดินคันนา จึงต้องลงทุนซื้อดินมาถมหลายสิบคันรถเลย” ซึ่งถือได้ว่า กว่าจะเป็นภาควิชาอายุรศาสตร์ที่เห็นได้ในปัจจุบันนี้มีจุดเริ่มต้นจาก วอร์ดอายุรกรรมชั่วคราวบนชั้นสองของตึกสูติกรรม มีผู้ป่วยราว 20 คน  โดยมีคุณมาลี สุวรรณวงษ์ เป็น จี.เอ็น. หัวหน้าตึก ตอนนั้นยังไม่มีแพทย์ฝึกหัด, แพทย์ประจำบ้าน และนักศึกษาแพทย์. และได้แพทย์อายุรกรรมที่ถูกโอนย้ายมาพร้อมกับโรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ได้แก่ หมอกาญจนา เชี่ยวชาญวิทย์ และหมอฉันทนา จุลลัษเฐียร ถือได้ว่าหมอชาญได้เริ่มดำเนินงานแผนกอายุรศาสตร์ ด้วยกำลังอาจารย์ 3 คนและมีวอร์ดเล็ก ๆ อยู่หนึ่งวอร์ด และในขณะเดียวกับหมอชาญก็ต้องดำเนินงานในสำนักงานแผนกอายุรศาสตร์ควบคู่ไปด้วย ทั้งพิมพ์หนังสือราชการเอง, เก็บเอง, เดินเรื่องเอง, จัดทำสถิติประจำเดือน, พิมพ์เอกสารประกอบการสอนเอง, แล้วส่งไปหมุนสำเนา บนแผนกธุรการ, นำมาเรียงและเย็บเอง, และหอบไปห้องเรียนเอง เพราะสำนักงานมีแค่หมอชาญอยู่คนเดียว แต่ในช่วงกลางและปลายปี 04 ได้อาจารย์ในโครงการมาเพิ่มคือ หมอบุญหลง ลัธธนันท์ (ระบบทางเดินอาหาร), หมอพูนศรี สถิรแพทย์ (โลหิตวิทยา), หมอมุนี แก้วปลั่ง (ไต, เมตาบอลิคและต่อมไร้ท่อ), หมอประภาษ ศรทัตต์ (ระบบทางเดินอาหารและผิวหนัง) และหมอนิกิตต์ สำรวจรวมผล (หัวใจและหลอดเลือด) ในปี 2504 นี้เองที่ได้เริ่มให้มีการเรียนการสอนชั้นปีที่ 4 ตามหลักสูตร เช่น Methods of Clinical Diagnosis และปีนั้นก็เป็นปีแรกที่ทางภาควิชาอายุรศาสตร์ได้มีโอกาสต้อนรับแพทย์ฝึกหัดรุ่นแรกที่จบจากหลักสูตรแพทยศาสตร์ จากโรงเรียนแพทย์ศิริราชและจุฬาฯ ถึง 24 คน ที่ในปัจจุบันบางท่านก็ลงหลักปักฐานเป็นอาจารย์แพทย์ต่อที่นี่ เช่น หมอกำพล กลั่นกลิ่น, หมอเตซะทัต เตซะเสน เป็นต้น แต่เสียดายว่าสมัยนั้นคนไม่นิยมมารักษาตัวที่โรงพยาบาลสักเท่าไหร่ การมาเป็นแพทย์ที่นี้จึงงานน้อยมากแตกต่างจากสมัยนี้เสียเหลือเกิน

และในปี 2505 ทางภาควิชาฯ ได้รับความช่วยจากยูซอมร่วมกับงบประมาณจากรัฐบาลไทย จัดตั้งโครงการ The University of Illinosis, Chiangmai Project หรือเรียกกันย่อ ๆ ว่า Illinois project, ส่งอาจารย์พิเศษหลายสาขามาเป็นพี่เลี้ยงให้แก่บุคคลการภายใน, โดยมี ศาสตราจารย์ William V. Whitehorn เป็นหัวหน้ากลุ่ม ทางด้านอายุรศาสตร์ก็ได้ศาสตราจารย์ Roy J. Korn มาช่วยการสอนวิชาอายุรศาสตร์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ในการนี้ทางภาควิชาก็ได้อาจารย์เพิ่มมาอีกหลายท่าน คือ

1. นายแพทย์บุนธรรม สุนทรเกียรติ (โลหิตวิทยา)

2. นายแพทย์จรวย ศรีทอง (หัวใจและหลอดเลือด) แทนหมอนิกิตต์ ซึ่งขอย้ายเข้ากรุงเทพฯ

3. แพทย์หญิงพวงทอง ชุตาภา (ระบบหายใจ)

4. นายแพทย์โอภาส ชุตาภา (ระบบหายใจ)

5. นายแพย์ย์ศิริวัฒน์ ชูจิตารมย์ (โรคติดเชื้อ)

6. นายแพทย์กำพล กลั่นกลิ่น (ระบบทางเดินอาหาร)

7. นายแพทย์หัชชา ณ บางช้าง (เวชศาสตร์ป้องกัน)

8. นายแพทย์ชุมนุม พรหมขัติแก้ว (เวชศาสตร์ป้องกัน)

 

สุดท้ายนี้ หากมองภาพย้อนกลับไปพร้อมกับท่านอาจารย์ชาญ ก็จะพบกับความลำเค็ญในช่วงแรก ความเสียสละ การต่อสู้ และความมานะบากบั่น ของโรงเรียนแพทย์แห่งนี้ แต่แทบไม่น่าเชื่อว่าจะมีโรงเรียนแพทย์เชียงใหม่ขึ้นมาได้ และคิดไม่ถึงว่าจะผลิตบัณฑิตได้ทันเวลา โดยที่ได้บัณฑิตที่มีคุณภาพไม่เป็นรองใคร แต่ในฐานะคณะอาจารย์ ยังต้องอยู่สอนและปฏิบัติงานด้วยความเสียสละต่อไป ยังไม่มีใครบอกอนาคตได้ว่า ใครจะอยู่ ใครจะไป ตราบใดที่เรายังอยู่เราจะพยายามทุกวิถีทางที่จะสร้าง เกียรติ – ชื่อเสียง – และศักดิ์ศรีของโรงเรียนแพทย์เชียงใหม่ต่อไป

 

ประวัติการศึกษา

พ.ศ.2494        จบแพทยศาสตร์บัณฑิต (พ.บ.)จากคณะแพทยศาสตร์

และศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์

พ.ศ.2502        จบหลักสูตรMaster of Public Health (M.P.H.)จากHarvard School of Public Health

 

ประวัติการรับราชการ

พ.ศ.2494-5      แพทย์ประจำบ้านปีที่ 1 (House Officer) ประจำแผนกวิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช

พ.ศ.2495-6      หัวหน้าแพทย์ประจำบ้าน (Senior House Officer) ที่เดิม

พ.ศ.2497        อาจารย์ตรี

พ.ศ.2498        อาจารย์โท

พ.ศ.2502-5      อาจารย์โท แผนกวิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์

พ.ศ.2506        อาจารย์เอก

พ.ศ.2508        โอนคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ไปสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พ.ศ.2511        อาจารย์ชั้นพิเศษ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พ.ศ.2531        เกษียณอายุราชการ

พ.ศ.2531-43    อาจารย์พิเศษ

 

ตำแหน่งทางวิชาการในคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พ.ศ.2510        ผู้ช่วยศาสตราจารย์

พ.ศ.2513        รองศาสตราจารย์

พ.ศ.2514        ศาสตราจารย์

 

ตำแหน่งงานบริหาร

พ.ศ.2504-18    หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์

พ.ศ.2515-8      นายแพทย์พิเศษผู้อำนวยการ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พ.ศ.2518-9      ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยฯ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พ.ศ.2518-21    คณบดีคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พ.ศ.2524-7      หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ ครั้งที่2

 

เครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุด  มหาวชิรมงกุฎ

เกียรติคุณ

พ.ศ.2524        สมาคมศิษย์เก่าแพทย์ศิริราชมอบโล่เกียรติคุณในฐานะได้รับเลือกเป็น  “ศิษย์เก่าแพทย์ศิริราช ผู้มีผลงานดีเด่นสาขาวิชาชีพด้านความเป็นครูในส่วนภูมิภาค”

พ.ศ.2526        ได้รับคัดเลือกเป็นอาจารย์ดีเด่นของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อรับรางวัลจากกองทุน จอห์น เอ เอกิ้น ประจำปี2526 เข้ารับพระราชทานโล่เกียรติคุณในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2526

พ.ศ.2533        รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พ.ศ.2539        ได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัลแพทย์ดีเด่นของแพทยสภาเข้ารับพระราชทานรางวัล จากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่7มกราคม พ.ศ.2540

Loading the player...

.คลินิก พญบุญสม ชัยมงคล

 

.คลินิก พญ.บุญสม ชัยมงคล ท่านเป็นครูแพทย์ที่มีความมานะอุตสาหะในการสอนสั่งและเมตตาต่อศิษย์อย่างเปี่ยมล้น ตลอดระยะเวลากว่า 50 ปีของชีวิต อาจารย์ท่านได้มุ่งมั่นในการสอนอายุรศาสตร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนโลหิตวิทยาให้แก่ลูกศิษย์มาโดยตลอด แพทย์ อายุรแพทย์และโลหิตแพทย์ที่เรียนจบจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ล้วนแต่เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ ทุกคนรักและเทิดทูนความเป็นครูแพทย์ของอาจารย์เป็นอย่างสูง

 

นอกจากการเป็นครูแพทย์ของอาจารย์แล้ว ท่านยังเป็นแพทย์ผู้ทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจในการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างดียิ่ง อาจารย์จะมีความละเอียดถี่ถ้วนในการดูแลผู้ป่วย ท่านจะให้ความสำคัญกับทุกปัญหาของผู้ป่วย ไม่ได้ดูแลเฉพาะปัญหาทางโลหิตวิทยาเท่านั้น ท่านจดบันทึกผลการตรวจร่างกาย ซักประวัติ ผลทางห้องปฎิบัติการของผู้ป่วยเพื่อรวบรวมเก็บเป็นแฟ้มของผู้ป่วยทุกคน ท่านเน้นย้ำเสมอว่า การดูแลผู้ป่วยทางโลหิตวิทยา ต้องดูเป็นระยะเวลานาน ดังนั้นการเก็บข้อมูลของผู้ป่วยนั้นสำคัญมาก

 

คติประจำใจของอาจารย์ที่มักจะได้ยินท่านเอ่ยเสมอคือ “ตราบใดที่ยังมีขีวิตอยู่ ก็ต้องอยู่อย่างมีคุณค่า