1

ประวัติความเป็นมาของหน่วยวิชาประสาทวิทยา

 

ปีที่ก่อตั้ง พ.ศ.2513
เดิมทีท่านอาจารย์รังสี และท่านอาจารย์บริบูรณ์ พรพิบูลย์ เป็นอาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาท่านทั้งสองได้อาสามาเป็นอาจารย์ให้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่แรกยังไม่มีหน่วยประสาทวิทยา ท่านอาจารย์รังสีได้เป็นอาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์และท่านอาจารย์บริบูรณ์เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาสรีรวิทยา แต่เนื่องด้วยขณะนั้นประสบปัญหาขาดแคลนอาจารย์ ของภาควิชาอายุรศาสตร์ อาจารย์รังสีจึงมาช่วยราชการให้แก่ภาควิชาอายุรศาสตร์ และไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อกลับมาจึงได้ย้ายมาสังกัดภาควิชาอายุรศาสตร์ และได้ตั้งหน่วยประสาทวิทยาขึ้นในขณะนั้นเองเป็นช่วงที่โรค Japanese Encephalitis ระบาดอย่างหนัก ทำให้อาจารย์ต้องทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อดูแลผู้ป่วยโรคระบบประสาท

 

หน่วยประสาทวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นสถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาประสาทวิทยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 โดยหัวหน้าหน่วยประสาทวิทยาท่านแรก ได้แก่ รศ.พญ.รังสี พรพิบูลย์และมี นพ.ภูมินทร์ ผลาชีวะ เป็นแพทย์ที่จบการฝึกอบรมเป็นคนแรก (ปัจจุบันทำงานเป็นประสาทแพทย์ อยู่ที่โรงพยาบาลสวนปรุง) ในปัจจุบันมีผู้สำเร็จหลักสูตรการฝึกอบรมสาขาประสาทวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไปแล้วทั้งสิ้น 35 คน โดยหน้าที่หลักของหน่วยประสาทวิทยา ได้แก่ การให้บริการแก่ประชาชนในเขตภาคเหนือ การฝึกอบรมเพื่อสร้างประสาทแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถเพื่อประชาชนในเขตภาคเหนือ และงานวิจัยในระดับนานาชาติ

 

โรคสมองและระบบประสาท เป็นโรคที่มีความสำคัญ มีความซับซ้อน การรักษาโรคสมองและระบบประสาทต้องอาศัยความรและความเชี่ยวชาญจำเพาะ การทำงานแบบสหสาขาวิชาชีพ และการใช้เทคโนโลยีในการตรวจ และรักษาอย่างทันสมัย หน่วยประสาทวิทยาจึงได้ริเริ่มก่อตั้งศูนย์โรคสมองภาคเหนือขึ้นในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2544 โดยกลุ่มของอาจารย์แพทย์ประสาทวิทยา นำทีมโดย รศ.พญ.ศิวาพร จันทร์กระจ่าง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หน่วยประสาทวิทยา ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ หน่วยประสาทศัลยศาสตร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ ภาควิชาพยาธิวิทยา ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู และภาควิชารังสีวิทยา โดยในเบื้องต้นได้จัดตั้งหน่วยย่อย ได้แก่ epilepsy and sleep disorder unit, movement disorder unit, neuromuscular unit และ stroke unit ศูนย์โรคสมองภาคเหนือได้ก่อตั้งขึ้นด้วยจุดประสงค์ในการให้บริการตรวจรักษาโรคสมองด้วยทีมแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ ศูนย์โรคสมองภาคเหนือยังเป็นแหล่งความรู้ สถานฝึกอบรมและดูงานแก่แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์สาขาที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังมีการวิจัยเพื่อพัฒนาความรู้โรคสมอง และระบบประสาทเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ให้แก่ชาวไทย และนานาชาติต่อไป

 

การให้บริการของศูนย์โรคสมองภาคเหนือ ได้แก่ คลินิกผู้ป่วยนอก (Out Patient Clinic), คลินิกโรคสมองทั่วไป (General Neurology Clinic), คลินิกโรคสมองเฉพาะทาง (Neurology Specialty Clinic) ได้แก่คลินิกความจำ คลินิกโรคปวดศีรษะ คลินิกโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง คลินิกโรคพาร์กินสัน คลินิกโรคปลอกประสาทของระบบประสาทส่วนกลาง หอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และประสาทวิทยาเฉียบพลัน (Acute Stroke and Neurology Unit, ASNU), หน่วยตรวจพิเศษ (Special test) ได้แก่ EEG, EMG/NCS

 

รายนามหัวหน้าหน่วยวิชาและปีที่ดำรงตำแหน่งจากอดีตถึงปัจจุบัน
1. ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงรังสี พรพิบูลย์ พ.ศ. 2513-2517
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์พินิจ ลิ้มสุคนธ์ พ.ศ. 2518-2522
3. รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงศิวาพร จันทร์กระจ่าง พ.ศ. 2523-2527 และ พ.ศ. 2538-2542
4. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วัฒนา นาวาเจริญ พ.ศ.2528-2532
5. อาจารย์ แพทย์หญิงพรทิพย์ สงวนมิตร พ.ศ. 2533-2537
6. อาจารย์ นายแพทย์สุชีพ ปิยะศิริศิลป์ พ.ศ. 2543-2545
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงนันทพร ตียพันธ์ พ.ศ. 2546-2550
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ดำรงศักดิ์ บุญยเลิศ พ.ศ. 2551-2554
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงกนกวรรณ วัชระศักดิ์ศิลป พ.ศ. 2555-2557
10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรัตน์ ตันประเวช พ.ศ. 2558-ปัจจุบัน

 

รายนามอาจารย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
1. ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงรังสี พรพิบูลย์
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์พินิจ ลิ้มสุคนธ์
3. รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงศิวาพร จันทร์กระจ่าง
4. ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์วัฒนา นาวาเจริญ
5. อาจารย์ แพทย์หญิงพรทิพย์ สงวนมิตร
6. อาจารย์ นายแพทย์สุชีพ ปิยะศิริศิลป์
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงนันทพร ตียพันธ์
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ดำรงศักดิ์ บุญยเลิศ
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงกนกวรรณ วัชระศักดิ์ศิลป์
10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรัตน์ ตันประเวช
11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์อธิวัฒน์ สุนทรพันธ์
12. อาจารย์ นายแพทย์กิตติ เทียนขาว
13. อาจารย์ นายแพทย์ชุติเทพ ทีฆพุฒิ
14. อาจารย์ นายแพทย์ชญาศักดิ์ วันทนียวงศ์

 

รายนามบุคลากรสายสนับสนุน

1. นางสาวฤดีวัน แก้วลาย พยาบาล
2. นางสาวกัญญารัตน์ ประชุมพร ผู้ปฏิบัติงานการพยาบาล

 

การให้บริการเป็นเลิศ (Excellent Service)

Stroke Unit และ Stroke Service Team เป็นการให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นโรคที่มีความทุพลภาพสูง โดย Stroke Unit ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 10 ปี ให้บริการผู้ป่วยในหอผู้ป่วยใน โดยมีการให้ยาละลายลิ่มเลือดกว่า 100 รายต่อปี และยังเป็นที่ปรึกษาให้แก่ Stroke Service Plan เขตสุขภาพที่ 1 จากการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ Stroke Service ได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมาย และยังได้ผ่านการตรวจรับรองคุณภาพรายโรค หรือ Disease Specific Certification จาก สรพ. อีกด้วย

 

วิชาการและการเรียนการสอน (Medical Education)

หน่วยประสาทวิทยา และ ศูนย์โรคสมองภาคเหนือ มีการให้บริการวิชาการและการเรียนการสอน ทั้งในระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ โดยได้มีงานประชุมวิชาการและความร่วมมือนานาชาติหลายครั้ง เช่น Asia Regional Conference for Headache (5th ARCH), Asian Neurological Conference (ASNA), และงานประชุมประจำปี The Northern Neuroscience Center Conference นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือกับ หน่วยประสาทวิชาระดับภูมิภาค จัดตั้ง Regional Thai Neurology Network ร่วมกับชมรมประสาทวิทยาภาคใต้ และ ตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น

 

หน่วยประสาทวิทยา ได้มีคณาจารย์ที่เป็นครูแพทย์ ที่มีผลงานโดดเด่น ได้แก่ ศ (คลินิก) นพ. วัฒนา นาวาเจริญ อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รศ.พญ.ศิวาพร จันทร์กระจ่าง อดีตนายกสมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย

นวัตกรรมบริการ (Innovation)

หน่วยประสาทวิทยาและศูนย์โรคสมองภาคเหนือ พัฒนานวัตกรรมการให้บริการแก่ผู้ป่วยเพื่อเป็นเครื่องมือในการให้บริการในยุค digital age ที่เทคโนโลยีจะช่วยยกระดับการดูแลรักษาคนไข้ได้

 

คลินิกและกลุ่มรักษาโรคปวดศีรษะ (Headache Clinic และ Chiang Mai Headache Study Group)
หนึ่งในจุดเด่นของการพัฒนาการรักษาผู้ป่วยของหน่วยประสาทวิทยาและเครือข่ายพันธมิตรได้แก่ การพัฒนาการรักษาผู้ป่วยโรคปวดศีรษะ โดยได้มีการพัฒนาคลินิกโรคปวดศีรษะและระบบการรักษาโรคปวดศีรษะไมเกรน โดยการใช้นวัตกรรมการรักษา Smile Migraine Application ในการเชื่อมข้อมูล ติดตามการรักษา ร่วมถึงการสร้างเครือข่ายโรคไมเกรน สำหรับกลุ่มผู้ป่วย และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศในการรักษาผู้ป่วยไมเกรน ที่เปิดตัวใน World Brain Day: Migraine The painful truth โดยมี Community online กว่า 40,000 ราย

 

คลินิกรักษาผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม (Dementia) ได้พัฒนาแบบคัดกรอง electronic สำหรับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม โดย นพ. อดิศักดิ์ กิตติสาเรส ได้พัฒนาเครื่องมือ Brain Check ร่วมกับ สสส และ บริษัท Good Factory http://www.braincheck.net/#/ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการให้บริการตรวจคัดกรองภาวะสมองเสื่อมอย่างทั่วถึง

ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม
หน่วยประสาทวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความมุ่งมั่นในการให้บริการ การฝึกอบรม และการทำวิจัย โดยมีวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สอดคล้องไปกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ดังนี้

 

วิสัยทัศน์
หน่วยประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นสถาบันการแพทย์ชั้นนำทางด้านประสาทวิทยาในระดับสากล

 

สมรรถนะหลัก

มีความสามารถในการบูรณาการบริการสุขภาพที่เป็นเลิศกับการศึกษาและงานวิจัย

 

วัฒนธรรมองค์กร
เป็นองค์กรที่มีคุณธรรม สามัคคี มีวินัย ใส่ใจบริการ

 

ผลงานของหน่วยวิชาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ในด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้
งานการเรียนการสอน และการฝึกอบรม

 

หน่วยประสาทวิทยา ก่อตั้งขึ้นด้วยพันธกิจในการให้บริการทางการแพทย์เกี่ยวกับโรคทางระบบประสาท การเรียนการสอนด้านประสาทวิทยาแก่ แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ใช้ทุน ของภาควิชาอายุรศาสตร์และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดภายใต้สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย หน่วยประสาทวิทยาทำงานภายใต้ภาควิชาอายุรศาสตร์ และทำงานร่วมกับศูนย์โรคสมองภาคเหนือในการพัฒนาการให้บริการผู้ป่วยการวิจัย และการเรียนการสอน ซึ่งมีการแบ่งย่อยเป็นการเรียนการสอนประสาทวิทยาทั่วไป และประสาทวิทยาเฉพาะโรค โดยมีแหล่งความรู้จากการจัดตั้งคลินิกผู้ป่วยนอกเฉพาะโรค ได้แก่ คลินิกสมองเสื่อม คลินิกโรคพาร์กินสัน คลินิกโรคปวดศีรษะ คลินิกโรคลมชัก คลินิกโรค myasthenia gravis และคลินิกโรค Multiple sclerosis นำมาสู่การวิจัย และการเรียนการสอน

 

หัวข้องานวิจัยของหน่วยวิชาที่มีความโดดเด่น
หน่วยประสาทวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีผลงานวิจัยที่โดดเด่นหลายด้าน เช่น งานวิจัยเรื่องBotulinum toxin outbreak การศึกษาโรคเส้นประสาทกล้ามเนื้อ โรคปวดศีรษะ

 

งานบริการ
Stroke Unit และ Stroke Service Team เป็นการให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นโรคที่มีความทุพพลภาพสูง โดย Stroke Unit ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 10 ปี ให้บริการผู้ป่วยในหอผู้ป่วยใน โดยมีการให้ยาละลายลิ่มเลือดกว่า 100 ราย ต่อปี และยังเป็นที่ปรึกษาให้แก่ Stroke Service Plan ของเขตสุขภาพที่ 1 จากการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ Stroke Service ได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมาย และยังได้ผ่านการตรวจรับรองคุณภาพเฉพาะโรค (Disease Specific Certification,
DSC) จากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) (สรพ.) อีกด้วย

 

งานบริการวิชาการ
หน่วยประสาทวิทยา และศูนย์โรคสมองภาคเหนือ มีการให้บริการวิชาการ และการเรียนการสอน ทั้งในระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ โดยได้มีงานประชุมวิชาการงานประชุมประจำปี The NorthernNeuroscience Center Conference นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือกับ หน่วยประสาทวิชาระดับภูมิภาค จัดตั้งRegional Thai Neurology Network ร่วมกับชมรมประสาทวิทยาภาคใต้ และตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้มีความร่วมมือในระดับนานาชาติ หลายครั้ง ความร่วมมือกับต่างประเทศ และการเป็นเจ้าภาพการจัดงานประชุมนานาชาติ ได้แก่ Asian and Oceanian Symposium on Clinical Neurophysiology (AOCN) (พ.ศ. 2548), 2nd Asia Pacific Conference Against Stroke (2nd APCAS), Pitfall in Pain Management (พ.ศ. 2549), Basic Movement Disorder Course for Developing Country (พ.ศ. 2556), 5th Asian Regional Conference for Headache(5th ARCH) (พ.ศ. 2558)

 

งานคุณภาพ และรางวัลที่ได้รับ

1. World Stroke Organization ANGELs Award level gold และ Thailand ANGELs Award level gold
2019 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563 ณ ศูนย์ราชการ และคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ กรุงเทพมหานคร
2. ได้รับการรับรองให้เป็นโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองคุณภาพศูนย์โรคหลอดเลือดสมองมาตรฐาน
กระทรวงสาธารณสุข (Standard Stroke Center Certification : SSCC) ระดับ 5 ดาว ระยะเวลาการ
รับรอง 26 กรกฎาคม 2561 – 25 กรกฎาคม 2564 จากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
3. ได้รับการรับรองว่ามีความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ตามแนวทางการพัฒนาระบบประเมิน และรับรองเฉพาะโรคหลอดเลือดสมองจนผ่านการับรองตามเกณฑ์ประเมินคุณภาพการดูแลรักษาโรคหลอดเลือดสมอง ระดับศูนย์โรคหลอดเลือดสมองมาตรฐาน (Certified Primary Stroke Center) ระยะเวลาการรับรอง 25 กุมภาพันธ์ 2562 – 24 กุมภาพันธ์ 2565 จาก สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ร่วมกับ สมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย

 

นวัตกรรมของหน่วยวิชา

 

หน่วยประสาทวิทยา และศูนย์โรคสมองภาคเหนือ พัฒนานวัตกรรมการให้บริการแก่ผู้ป่วยเพื่อเป็นเครื่องมือในการให้บริการในยุค digital age ที่เทคโนโลยีจะช่วยยกระดับการดูแลรักษาคนไข้ได้
• คลินิก และกลุ่มรักษาโรคปวดศีรษะ (Headache Clinic และ Chiang Mai Headache Study Group)หนึ่งในจุดเด่นของการพัฒนาการรักษาผู้ป่วยของหน่วยประสาทวิทยา และเครือข่ายพันธมิตร ได้แก่ การพัฒนาการรักษาผู้ป่วยโรคปวดศีรษะ โดยได้มีการพัฒนาคลินิกโรคปวดศีรษะ และระบบการรักษา โรคปวดศีรษะไมเกรน โดยการใช้นวัตกรรมการรักษา Smile Migraine Application ในการเชื่อมข้อมูลติดตามการรักษา ร่วมถึงการสร้างเครือข่ายโรคไมเกรนสำหรับกลุ่มผู้ป่วย และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศในการรักษาผู้ป่วยไมเกรน ที่เปิดตัวใน World Brain Day: Migraine The painful truth โดยมี Community online กว่า 40,000 ราย

 

• คลินิกรักษาผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม (Dementia) ได้พัฒนาแบบคัดกรอง electronic สำหรับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม โดยอาจารย์นายแพทย์อดิศักดิ์ กิตติสาเรศ ได้พัฒนาเครื่องมือ Brain Check ร่วมกับ สสส. และบริษัท Good Factory http://www.braincheck.net/#/ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการให้บริการตรวจคัดกรองภาวะสมองเสื่อมอย่างทั่วถึง

หน่วยประสาทวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีพันธกิจด้านการศึกษาที่สอดคล้องกับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือ

 

“การผลิตประสาทแพทย์ที่มีคุณธรรม และมีความรู้ความสามารถในระดับสากล”

 

โดยได้มีวัตถุประสงค์หลักของการฝึกอบรม เพื่อให้แพทย์ที่จบจากการฝึกอบรมเป็นผู้มีความรู้ความ ชานาญในสาขา และอนุสาขาประสาทวิทยาแล้ว จะต้องมีความรู้ ความสามารถทางโรคระบบประสาท ดังต่อไปน้ี

 

1. ดำเนินการตามน้ันตอนเพื่อการวินิจฉัยได้อย่างดีรวมทั้งทักษะในการทำหัตถการเพื่อการวินิจฉัย และรักษาอย่างถูกต้อง
2. ให้การรักษาและป้องกันได้อย่างเหมาะสมและได้มาตรฐาน
3. มีความรู้ทางประสาทวิทยาศาสตร์ (neuroscience) สามารถอธิบายปัญหา และโรคทางระบบ ประสาท ด้วยความรู้ทางประสาทวิทยาศาสตร์
4. สอน ให้คำปรึกษา และแนะนำเกี่ยวกับปัญหา รวมทั้งการป้องกันโรคแก่แพทย์นักศึกษา แพทย์ บุคลากรสาธารณสุข และประชาชนได้เป็นอย่างดี
5. สามารถดำเนินการวิจัยและนำเสนอผลงานทางวิชาการอย่างถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ได้ด้วยตนเอง
6. ประสานงานกับผู้ปฏิบติงานในสาขาอื่นๆทางด้านวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7. มีทักษะในการค้นคว้าหาความรู้ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตนเองอย่างมีวิจารณญาณ
8. คุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ และเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย ผู้ร่วมงาน เพื่อนร่วมวิชาชีพ และชุมชน

ผศ.นพ.สุรัตน์ ตันประเวช

Surat Tanprawate, M.D.

หัวหน้าหน่วยวิชาประสาทวิทยา

อธิวัฒน์

รศ.นพ.อธิวัฒน์ สุนทรพันธ์

Atiwat Soontornpun, M.D.

ผศ.นพ.กิตติ  เทียนขาว

Kitti Thiankhaw, M.D.

chutithep

ผศ.นพ.ชุติเทพ  ทีฆพุฒิ

Chutithep Teekaput, M.D.

Email : chutithep.t@cmu.ac.th

chutithepteekaput@gmail.com

ชญาศักดิ์

อ.นพ.ชญาศักดิ์ วันทนียวงค์

Chayasak Wantaneeyawong, M.D.

Email : chayasak.w@cmu.ac.th

chayasak77@gmail.com

get_image

อ.นพ.นพดนัย ศิริมหาราช

Nopdana Sirimaharaj, M.D.

Email : nopdanai.s@cmu.ac.th

รศ.พญ.ศิวาพร จันทร์กระจ่าง

(อาจารย์พิเศษ)

Siwaporn Chankrachang, M.D.

ฤดีวัน แก้วลาย

พยาบาล

S__69148690

ฐิติกานต์ กันยานะ

ผู้ปฏิบัติงานการพยาบาล