หน่วยวิชาโรคไต | Nephrology

ประวัติความเป็นมาของหน่วยวิชาโรคไต

 

ปีที่ก่อตั้ง พ.ศ.2508
หน่วยวิชาโรคไต เป็นหน่วยงานในสังกัดภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีภารกิจหลัก 3 ด้าน ได้แก่ การเรียนการสอน และการฝึกอบรม (แพทย์ ได้แก่ นักศึกษาแพทย์ แพทย์ประจำบ้านสาขาอายุรศาสตร์ทั่วไป แพทย์ประจำบ้านต่อยอดอนุสาขาอายุรศาสตร์โรคไต และพยาบาลเฉพาะทาง โรคไต) การบริการ และการวิจัย โดยมีประวัติความเป็นมาโดยสังเขปดังนี้

ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ก่อตั้งมาตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2504 หัวหน้าภาควิชาท่านแรกคือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ชาญ สถาปนกุล และได้มีการก่อตั้งหน่วยวิชาโรคไตและต่อมไร้ท่อโดยมีรองศาสตราจารย์ นายแพทย์มุนี แก้วปลั่ง เป็นหัวหน้าหน่วยวิชาในปีพ.ศ. 2508

ปี พ.ศ. 2515 อาจารย์ แพทย์หญิงนพรัตน์ เปรมัษเฐียร (ตู้จินดา) ได้โอนย้ายมาจาก สาขาวักกะวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้รับมอบหมายให้ดูแลสาขาวิชาโรคไต ในหน่วยวิชาโรคไตและต่อมไร้ท่อ (ต่อมาอาจารย์ แพทย์หญิงนพรัตน์ เปรมัษเฐียร ได้ย้ายไปเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในปี พ.ศ. 2520)

ปี พ.ศ. 2518 รองศาสตราจารย์ นายแพทย์มุนี แก้วปลั่ง ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ ได้เรียนเชิญศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์วิศิษฏ์ สิตปรีชา จากภาควิชาอายุรศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาเป็นอาจารย์พิเศษช่วยสอนวิชาโรคไตแก่แพทย์ประจำบ้านและนักศึกษาแพทย์ของภาควิชาอายุรศาสตร์ ซึ่งได้มาสอนต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518-2562

ปี พ.ศ.2523 ภาควิชาอายุรศาสตร์ ได้รับอาจารย์ นายแพทย์ดุสิต ล้ำเลิศกุล (ปัจจุบันคือศาสตราจารย์ เกียรติคุณ นายแพทย์ดุสิต ล้ำเลิศกุล) เข้าเป็นอาจารย์ประจำภาควิชา และได้รับมอบหมายให้ดูแลสาขาวิชาโรคไต ซึ่งต่อมาท่านศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์วิศิษฏ์ สิตปรีชา ได้แนะนำอาจารย์ นายแพทย์ดุสิต ล้ำเลิศกุล ให้ไปฝึกอบรมต่อยอดในระดับ Renal Research Fellowship ที่ University of Colorado Health Sciences Center, Denver, Colorado ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้เดินทางกลับมาในปี พ.ศ. 2527 จึงได้มีการแยกออกมาตั้งเป็นหน่วยวิชาโรคไตของภาควิชาอายุรศาสตร์อย่างสมบูรณ์ และได้มีการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทั้งในเรื่องการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ แพทย์ประจำบ้านอายุรศาสตร์ รวมทั้งมีการพัฒนาการในสาขาวิชาโรคไต ดูแลรักษาวิจัยในผู้ป่วยโรคไตของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่เรื่อยมาโดยมีอาจารย์ นายแพทย์หนึ่ง เอกมหาชัย (ปัจจุบันคือผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์หนึ่ง เอกมหาชัย) เข้ามาเป็นอาจารย์ในหน่วยวิชา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 และอาจารย์ นายแพทย์ดิเรก บรรณจักร์ ซึ่งเดิมสังกัดภาควิชาสรีรวิทยา ได้เข้ามาเป็นอาจารย์ร่วมสอนสาขาวิชาโรคไตตั้งแต่พ.ศ. 2530 และย้ายมาสังกัดภาควิชาอายุรศาสตร์อย่างถาวรในปีพ.ศ. 2535 หลังจากนั้นมีการบรรจุอาจารย์อีกหลายท่านตามมา ทั้งตำแหน่งอาจารย์ประจำ ได้แก่ อาจารย์ นายแพทย์วุฒิเดช โอภาศเจริญสุข (พ.ศ. 2535) อาจารย์ นายแพทย์ศุภฤกษ์ จิตติกานนท์ (พ.ศ. 2543) รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ขจรศักดิ์ นพคุณ (พ.ศ. 2547) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเชษฐ์ วงษ์นิ่ม (พ.ศ. 2557) อาจารย์ นายแพทย์พฤทธิ์ คูศิริสิน (พ.ศ. 2562) อาจารย์ นายแพทย์ภูมิ ณรงค์เกียรติคุณ (พ.ศ. 2563) อาจารย์ นายแพทย์กานต์ พงษ์สุวรรณ (พ.ศ.2564) และยังมีตำแหน่งอาจารย์สายปฏิบัติการ ได้แก่ อาจารย์ นายแพทย์ยุติธรรม สุตีคา ซึ่งมีหน้าที่ในส่วนการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด การบริการวิชาการ และการวิจัย

 

ปัจจุบันหน่วยวิชาโรคไตมีอาจารย์ประจำทั้งสิ้น 6 ท่าน และอาจารย์ที่เกษียณอายุราชการแล้วแต่ยังมาเป็นอาจารย์พิเศษสอนนักศึกษาแพทย์ แพทย์ประจำบ้าน และแพทย์ประจำบ้านต่อยอด อีก 3 ท่าน

 

รายนามหัวหน้าหน่วยวิชา และปีที่ดำรงตำแหน่งจากอดีตถึงปัจจุบัน
1. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์มุนี แก้วปลั่ง พ.ศ. 2508-2527
2. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ดุสิต ล้ำเลิศกุล พ.ศ. 2527-2554
3. อาจารย์ นายแพทย์ดิเรก บรรณจักร์ พ.ศ. 2554-2563
4. อาจารย์ นายแพทย์วุฒิเดช โอภาศเจริญสุข พ.ศ. 2563-ปัจจุบัน

 

รายนามอาจารย์พิเศษ
1. ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์วิศิษฏ์ สิตปรีชา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
2. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ดุสิต ล้ำเลิศกุล
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์หนึ่ง เอกมหาชัย
4. อาจารย์ นายแพทย์ดิเรก บรรณจักร์

 

รายนามบุคลากรสายสนับสนุน

1. นางทัศนีย์ เดชวงศ์ยา ธุรการ และห้องปฏิบัติการ
2. นางถิระนันท์ กิตติวราพล พยาบาล: งานวิจัย และหัตถการ
3. นายพุ่มสนทร วงศ์สวัสดิ์ นักเทคนิคการแพทย์: ห้องปฏิบัติการ
4. นางสาวจิราวรรณ อนันคำ พยาบาล: งานวิจัย และหัตถการ
6. นางสาวสุทธิดา เครือละม้าย เจ้าหน้าที่วิจัย

การให้บริการ

 

การดูแลผู้ป่วยใน
1. ดูแลผู้ป่วยที่รับมารักษาในหน่วยไตเทียมฉุกเฉิน ได้แก่ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (hemodialysis) การเปลี่ยนถ่ายพลาสม่า (plasmapheresis) การกำจัดสารพิษโดยใช้ตัวกรองดูดซับสารพิษ (hemoperfusion) การกรองพลาสม่าผ่านตัวกรองดูดซับสารเฉพาะชนิด(plasmaperfuion)
2. ดูแลผู้ป่วยที่มารับการรักษาโดยทำหัตถการ ใส่สายสวนสองหางเข้าทางหลอดเลือดดำใหญ่แบบชั่วคราว หรือแบบใช้ระยะยาว
3. ดูแลผู้ป่วยที่หน่วยเปลี่ยนไตและไตเทียม ซึ่งได้แก่ ผู้ป่วยฟอกเลือดในโครงการปลูกถ่ายไตและผู้ป่วยที่มีภาวะสลัดไต ที่ได้รับการรักษาด้วยการเปลี่ยนถ่ายพลาสม่า และให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยที่มีความประสงค์ลงทะเบียนรอรับไตบริจาคจากผู้เสียชีวิต
4. ดูแลและให้คำปรึกษาผู้ป่วยโรคไตที่หน่วยเปลี่ยนไตและไตเทียม ซึ่งเป็นผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังในภูมิภาคที่รับเข้าโครงการผ่าตัดปลูกถ่ายไต
5. ทำการตัดชิ้นเนื้อไต (Biopsy) เพื่อการวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยโรคไต
6. รับปรึกษาผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคไต มีภาวะแทรกซ้อนทางไตในภาควิชาอื่นๆ ในคณะแพทยศาสตร์
7. รับปรึกษาและดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตอย่างต่อเนื่อง (continuous renal replacement therapies)

 

 

การดูแลผู้ป่วยนอก

 

ดูแลผู้ป่วยนอกที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกโรคไต (OPD26)
วันจันทร์ ผู้ป่วยหลังเปลี่ยนไตและผู้ป่วยรอไต
วันพุธ ผู้ป่วยโรคไตทั่วไป (Nephrology Clinic)
วันศุกร์ ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง (CAPD Clinic)

 

ดำเนินงานด้านการบริการทางวิชาการแก่วงการแพทย์และประชาชน

 

1. อาจารย์ประจำหน่วยฯ ร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย
2. อาจารย์ประจำหน่วยฯ ร่วมเป็นวิทยากรในการประชุมวิชาการของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย
3. อาจารย์ประจำหน่วยฯ ให้ความร่วมมือเป็นวิทยากรบรรยายแก่ส่วนราชการอื่นๆ และสมาคมวิชาชีพทั้งในและนอกวงการแพทย์ และเป็นวิทยากรบรรยายแก่องค์กรเอกชน
4. อาจารย์ประจำหน่วยฯ และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาอายุรศาสตร์โรคไตเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการที่จัดโดยสมาคมโรคไต และราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
5. อาจารย์ประจำหน่วยฯ ช่วยเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชนทางวิทยุและโทรทัศน์ตามโอกาสอันสมควร

 

 

การเรียนการสอน

 

เป็นหน่วยฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน แพทย์ใช้ทุน ร่วมกับภาควิชาอายุรศาสตร์ และฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาโรคไต

 

 

การวิจัย

 

มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในระดับชาติและนานาชาติ

ผลงานหน่วยวิชาโรคไต

 

1. ตำรา 

1. Noppakun K, Ophaschareonsuk V. Infection, immunity and inflammation state in uremia. In: Lumlertkul D, Bunnachak D, Ophaschareonsuk V, editor. Dialysis-Apheresis & Immunotherapy for The New Millennium. 1st ed. Chiang Mai: 25 Studio Production House & Design; 2000. p 25-1-19.
2. Jiitkanont S Noppakun K, Lumlertgul D. Lipid and the kidney. In: Eiam-Ong S, editor. Nephrology. 1st ed. Bangkok: Text and Journal Publication Ltd.; 2003. p 1391-421.
3. Noppakun K, Jittikanont S, Ophaschareonsuk V, Bunnachak D, Lumlertgul D. Metabolic acidosis: Pathophysiologic and Clinical approach. In: Chiewchanvit S, Chareontham C, Shimplee K, editor. Advances in Medicine 2. 1st ed. Chiang Mai: Sangsilp Publishing; 2003. p 225-66.
4. Noppakun K. Cellular therapy in renal failure. In: Chiewchanvit S, Chewasakulyong B, Chareontham C, Pornputkul (Pimpili) M, editor. Advances in Medicine 7. 1st ed. Chiang Mai: Trick Think Publishing; 2010. p 221-37.
5. Noppakun K. Respiratory acid-base disorders. In: Kotchasenee P, Boonnag S, Patarakan A, Jiranuntawat T, Changsirikulchai S, editor. Fluid, Electrolytes and Acid-Base disorders. 1st ed. Bangkok: Text and Journal Publication Ltd.; 2012. p 223-38.
6. Noppakun K. Edema. In: Pornputkul (Pimpili) M, Noppakun K, Deesomchok A, editor. Symptomatology in Medicine. 2nd ed. Chiang Mai: Trick Think Publishing; 2012. p 209-22.
7. Noppakun K. Hematuria and Proteinuria. In: Pornputkul (Pimpili) M, Noppakun K, Deesomchok A, editor. Symptomatology in Medicine. 2nd ed. Chiang Mai: Trick Think Publishing; 2012. p 223-41.
8. Noppakun K. Oliguria and anuria. In: Pornputkul (Pimpili) M, Noppakun K, Deesomchok A, editor. Symptomatology in Medicine. 2nd ed. Chiang Mai: Trick Think Publishing; 2012. p 243-56.
9. Noppakun K. Anemia management in pre-dialysis chronic kidney disease. In: Noppakun K, Leeraphan A, editor. Advances in Medicine 9. 1st ed. Chiang Mai: Trick Think Publishing; 2012. p 139-49.
10. Noppakun K. Principles of renal replacement therapy in acute kidney injury. In: All about quality of dialysis. 1st ed. Bangkok: Klaiprayong P, Leamanapong C, Putimontree I, editor. Bangkok Medical Journal Publishing; 2013. p 1-16.
11. Vongsanim S, Noppakun K. Results of hemofiltration or hemodiafiltration compared to hemodialysis on patient survival in end-stage renal disease. In: All about quality of dialysis. 1st ed. Bangkok: Klaiprayong P, Leamanapong C, Putimontree I, editor. Bangkok Medical Journal Publishing; 2013. p 177-186.
12. Noppakun K. Emergency in dysnatremias. In: Chewasakulyong B, Chareontham C, editor. Emergencies in Clinical Medicine. 1st ed. Chiang Mai: Trick Think Publishing; 2013. p 673-688.
13. Noppakun K. Cardiorenal syndrome: Who is to blame? Heart or Kidney? In: Sukonthasarn A, Kuanprasert S, editor. Dilemmas in Cardiovascular Disease, 1st ed. Chiang Mai: Trick Think Publishing; 2014. p 493-504.
14. Noppakun K. Plasmapheresis. In: Kotchasenee P, Chanchairujira T, Pajaree T, Teeronthanakul K, Trakarnvanij T, Vareesangthip K, editor. Essentials in Hemodialysis. 1st ed. Bangkok: Text and Journal Publication Ltd.; 2014. p 591-623.
15. Noppkun K, Chaiwarit R. Urinary tract infection in adults. In: Isarangura Na Ayudhauya S, Oberderfer P, editor. Antibiotic Smart Use 2015. Chiang Mai: Pongsawat Publishing; 2015. p 41-70.
16. Noppkun K, Chaiwarit R. Urinary tract infection in elderly. In: Chareontham C, Promintikul A, Vonsanim S. Advances in Medicine 10. 1st ed. Chiang Mai: Trick Think Publishing; 2015. p 217-26.
17. Noppakun K. Respiratory acid-base disorders. In: Kotchasenee P, Keartsunthon K, Kingwatanakul P, Ophaschareonsuk V, editor. Fluid, Electrolytes and Acid-Base disorders. 2nd ed. Bangkok: Text and Journal Publication Ltd.; 2017. p 193-208.
18. Noppakun K. Plasmapheresis. In: Nongnuch A, Teerontanakul K, Srisuwan K, Ophaschareonsuk V, editor. Essentials in Hemodialysis. 2nd ed. Bangkok: Text and Journal Publication Ltd.; 2019. p 598-630.
19. Noppakun K. Kidney and atherosclerosis. In: Prominthikul A, Wongchareon W, Noppakun K, editor. Atherosclerosis: Risk factor management. Chiang Mai: Trick Think Publishing; 2019. p 235-252.
20. Noppakun K. Clinical tolerance. In: Tusnarong A, Kurathong S, Noppakun K, Townumchai N, editor. Textbook of organ transplantation. Bangkok: Text and Journal Publication Ltd.; 2019. p 59-74.
21. Noppakun K. T cell-mediated rejection. In: Tusnarong A, Kurathong S, Noppakun K, Townumchai N, editor. Textbook of organ transplantation. Bangkok: Text and Journal Publication Ltd.; 2019. p 461-470.
22. Vongsanim S. Management of chronic kidney disease in the elderly. In: Charoentum C, Phrommintikul A, Vongsanim S. Common geriatric problems for general practitioner. First edition. 2015
23. Vongsanim S, Noppakun K. Effect of hemofiltration or hemodiafiltration versus hemodialysis on mortality in end stage renal disease patients. In: All about quality of dialysis.
24. Vongsanim S, Ophascharoensuk V. Electrolyte and acid-base disorders in diabetes mellitus. In: Gojaseni P, Kiattisunthorn K, et al. Fluid, Electrolyte and Acid-Base Disorders. Text and Journal Publication, Inc; 2017.
25. Vongsanim S. Long-term complications of hemodialysis. In: Nongnuch A, Tiranathanagul K, et al. Essential in Hemodialysis. Second edition. Text and Journal Publication, Inc; 2019.

 

2. การประชุมวิชาการ 

– งานการจัดประชุม
จัดการประชุมนานาชาติเรื่อง Dialysis, Apheresis, and Immunotherapy ในนามคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย และสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยแต่ละครั้งเว้นระยะห่างกัน 3 ปี โดยเริ่มจัดประชุมในปี ค.ศ. 1993 การประชุมประสพผลสำเร็จด้วยดี และต่อเนื่องมาโดยตลอด ทุกครั้งจะมีวิทยากรระดับโลกมาร่วมบรรยายไม่ต่ำกว่า 20 คน

การจัดประชุมนานาชาติที่ผ่านมา
1. Acute Dialysis 1993
2. Dialysis & Transplantation 1996
3. Dialysis 2000
4. ASIAN – Pacific Congress of Nephrology 2003
5. Dialysis 2006
6. RB 2009
7. RB 2012
8. RB 2015
9. RB 2018

– จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการรักษาผู้ป่วยไตวายด้วยเครื่องไตเทียม หลักสูตรแพทย์ และพยาบาลไตเทียม เป็นประจำทุกปี
– จัดงานประชุมวิชาการ Quality Improving in CAPD and Hemodialysis by Intervention Nephrology (QIN 2016)
– จัดงานประชุมวิชาการ Diabetes Kidney Diseases& Dialysis for Diabetes (4D) ในวันที่ 7 – 9 ธันวาคม 2562
– จัดงานประชุมวิชาการ Chiang mai Nephrology Conference (CNC) ในทุกๆ  ปี โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2560

 

3. งานวิจัย

1. Chiewchanvit S, Noppakun K, Kanchanarattanakorn K. Mucocutaneous complications of chemotherapy in 74 patients from Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital. J Med Assoc Thai 2004 May;87(5):508-14.
2. Lumlertgul D, Noppakun K, Rojanasthien N, Kanchanarattanakorn K, Jittikanont S, Bunnachak D, Ophascharoensuk V. Pharmacokinetic study of the combination of tacrolimus and fluconazole in Thai renal transplant patients. J Med Assoc Thai 2006 Aug;89(S2):S72-8.
3. Noppakun K, Naohiko I, Guppta S. Stem cell and kidney regeneration. Proc Indian Natn Sci Acad2010;76(2):1-4.
4. Noppakun K, Cosio F, Dean P, Taler S, Wauters R, Grande J. Living donor age and kidney transplant outcomes. Am J Transplant 2011 Jun;11(6):1279-86.
5. Gupta S, Li S, Abedin Md. J, Noppakun K, Wang L, Kaur T, Najafian B, Rodrigue C MP, Clifford SJ. Prevention of acute kidney injury by tauroursodeoxycholic acid in rat and cell culture models. PLoS ONE 2012;7(11): e48950.
6. Lumlertgul N, Noppakun K. Role of Rhesis (Rh) protein in ammonia excretion in the kidney. J Nephrol Soc Thailand 2013;19(4):11-13.
7. Pongpirul K, Pongpirul WA, Avihingsanon Y, Noppakun K, Ingsathit A, Pongskul C, Premasthian N, Lumpaopong A, Vareesangthip K, and Sumethkul V. Potential impact of Thai kidney transplant program on immunosuppressive utilization: An analysis of the national transplant registry. Transplant Proc 2014;46:422-424.
8. Chantaramungkorn T, Noppakun K. Proton pump inhibitor-induced acute tubulointerstitial nephritis. J Nephrol Soc Thailand 2014;20(3):16-24.
9. Noppakun K, Ingsathit A, Pongsakul C, Premasthian N, Avihingsanon Y, Lumpaopong A, Vareesangthip K, and Sumethkul V. A 25-year experience of kidney transplantation in Thailand: Report from the Thai Transplant Registry. Nephrology 2015;20:177-183.
10. Siriplubpla N, Noppakun K. Clinical parameter versus bioimpedance spectroscopy as ultrafiltration volume assessment in patients with acute kidney injury: A single-center, double-blinded, randomized, non-inferiority study. J Nephrol Soc Thailand 2015;21(3):43-50.
11. Nochaiwong S, Chidchanok R, Awiphan R, Dandecha P, Noppakun K, Phrommintikul A. Efficacy and safety of warfarin in dialysis patients with atrial fibrillation: a systematic review and meta-analysis. Open Heart 2016;3:e000441. doi:10.1136/openhrt-2016-000441.
12. Siriplubpla W, Noppakun K, Ophascharoensuk V. The effects of intravenous fluid replacement on metabolic acidosis and kidney function: comparison between normal saline solution and balanced electrolyte crystalloid solution. J Nephrol Soc Thailand 2016;22(1):31-41.
13. Nochaiwong S, Ruengorn C, Awiphan R, Panyathong S, Noppakun K, Chongruksut W, Chiewchanvit S. Development of a multidimensional assessment tool for uraemic pruritus: Uraemic Pruritus in Dialysis Patients (UP-Dial). Br J Dermatol. 2017 Jun;176(6):1516-1524.
14. Nochaiwong S, Ruengorn C, Awiphan R, Koyratkoson K, Chaisai C, Noppakun K, Chongruksut W, Thavorn K. The association between proton pump inhibitor use and the risk of adverse kidney outcomes: a systematic review and meta-analysis. Nephrol Dial Transplant. 2018 Feb 1;33(2):331-342.
15. Wangkaew S, Lertthanaphok S, Puntana S, Noppakun K. Risk factors and outcome of Thai patients with scleroderma renal crisis: a disease duration-matched case control study. Int J Rheum Dis. 2017 Oct;20(10):1562-1571.
16. Srifuengfung M, Noppakun K, Srisurapanont M. Depression in Kidney Transplant Recipients: Prevalence, Risk Factors, and Association with Functional Disabilities. J NervMent Dis. 2017 Oct;205(10):788-792.
17. Nochaiwong S, Ruengorn C, Koyratkoson K, Chaisai C, Awiphan R, Thavorn K, Noppakun K, Suteeka Y, Panyathong S, Chongruksut W, Nanta S, Chiewchanvit S. Clinical interpretation of the Uremic Pruritus in Dialysis Patients (UP-Dial) scale: a novel instrument for the assessment of uremic pruritus. J Eur Acad Dermatol Venereol. 2018 Jul;32(7):1188-1194.
18. Nochaiwong S, Ruengorn C, Koyratkoson K, Thavorn K, Awiphan R, Chaisai C, Phatthanasobhon S, Noppakun K, Suteeka Y, Panyathong S, Dandecha P, Chongruksut W, Nanta S; Thai Renal Outcomes Research (THOR) Investigators. A Clinical Risk Prediction Tool for Peritonitis-Associated Treatment Failure in Peritoneal Dialysis Patients. Sci Rep. 2018 Oct 4;8(1):14797.
19. Rovin BH, Solomons N, Pendergraft III WF, Dooley MA, Tumlin J, Romero-Diaz J, Lysenko L, Navarra SV, Huizinga RB, Noppakun K, and the AURA-LV Study Group. A randomized, controlled double-blind study comparing the efficacy and safety of dose-ranging voclosporin with placebo in achieving remission in patients with active lupus nephritis. Kidney Int. 2019 Jan;95(1):219-231.
20. Udomkarnjananun S, Townamchai N, Kerr SJ, Tasanarong A, Noppakun K, Lumpaopong A, Prommool S, Supaporn T, Avihingsanon Y, Praditpornsilpa K, Eiam-Ong S. The First Asian Kidney Transplantation Prediction Models for Long-Term Patient and Allograft Survival. Transplantation. 2019 Aug 12. doi: 10.1097/TP.0000000000002918. [Epub ahead of print]
21. Yoowannakul S, Tangvoraphonkchai K, Vongsanim S, et al. Difference in the prevalence of sarcopenia in haemodialysis patients: effects of gender and ethnicity. J Hum Nutr Diet 2018; 31(5):689-96
22. Abro A, Delicata LA, Vongsanim S, Davenport A. Difference in the prevalence of sarcopenia in peritoneal dialysis patients using hand grip strength and appendicular lean mass: depends upon guideline definitions. Eur J Clin Nutr2018; 72(7):993-9
23. Vongsanim S, Davenport A. Estimating Dietary Protein Intake in Peritoneal Dialysis Patients: The Effect of Ethnicity. Perit Dial Int 2018; 38(5):384-7
24. Vongsanim S, Davenport A. Comparison of skin autofluorescence, a marker of tissue advanced glycation end-products in peritoneal dialysis patients using standard and biocompatible glucose containing peritoneal dialysates. Nephrology(Carlton) 2019;24:835-40
25. Vongsanim S, Salame C, Eaton S, et al. Differences between Measured Total Nitrogen Losses in Spent Peritoneal Dialysate Effluent and Estimated Nitrogen Losses. J Ren Nutr2019:29(3);243-7
26. Vongsanim S, Davenport A. The effect of gender on survival for hemodialysis patients: Why don’t women live longer than men? Semin Dial. 2019;0:0-16
27. Vongsanim S, Davenport A. Factors associated with systolic hypertension in peritoneal dialysis patients. J Nephrol. 2019. Aug 10 [Epub ahead of print]
28. Bannchak D, Noppakun K, Suteeka Y. TRK-100STP Phase IIb/III clinical study- Chronic renal failure (Primary glomerular disease/ nephrosderosis).
29. Lumlertgul D, Jittikanont S, Suteeka Y. A randomized, controlled, open-label, multi-centre, parallel-group study to assess all-cause mortality and cardiovascular morbidity in patients with chronic kidney disease on dialysis and those not on renal replacement therapy under treatment with MIRCERA® or reference ESAs.
30. Noppakun K, Suteeka Y. A Randomized, Double-Blind, Placebo-Controlled Phase 2/3 Study to Evaluate the Efficacy and Safety of Blisibimod Administration in Subjects with IgA Nephropathy.
31. Lumlertgul D, Suteeka Y, Tumpong S, Bunnachak D, Boonkaew S. Double Filtration Plasmapheresis in Different Diseases in Thailand. Therapeutic Apheresis and Dialysis 2013; 17(1):99-116.
32. Vareesangthip K, Thitiarchakul S, Kanjanakul I, Sumethkul V, Krairittichai U, Chittinanda A, Bunnachak D. Efficasy and safety of enoxaparin during hemodialysis: results from the HENOX study. J Med Assoc Thai. 2011 Jan;94(1):21-6.

 

4. งานบริการวิชาการแก่ชุมชน สังคมและกิจกรรม corporate social responsibility (CSR) อื่น ๆ
– จัดโครงการกิจกรรมกิจกรรมวันไตโลก ในวันพฤหัสบดีที่ 2 ของทุกปี ตั้งแต่เวลา 08.00 – 14.00 น.
– จัดโครงการอบรมระยะสั้นการพยาบาลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่รับการบำบัดทดแทนไต ด้วยการล้างไตทางช่องท้องสำหรับพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน
– รับเป็นแหล่งฝึกอบรมภาคปฏิบัติหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต (การล้างไตทางช่องท้อง)
– จัดฝึกอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไต (การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และการล้างไตทางช่องท้อง)

อ.นพ.วุฒิเดช โอภาศเจริญสุข

Vuddhidej Ophascharoensuk, M.D.

หัวหน้าหน่วยวิชาโรคไต

รศ.นพ.ขจรศักดิ์ นพคุณ

Kajohnsak Noppakun, M.D.

3.อ.นพ.สุรเชษฐ์ วงษ์นิ่ม

ผศ.นพ.สุรเชษฐ์ วงษ์นิ่ม

Surachet Vongsanim, M.D.

Email : surachet.w@cmu.ac.th

surachetrenal@gmail.com

อ.นพ.พฤทธิ์ คูศิริสิน

Prit Kusirisin, M.D.

Email : prit.kusirisin@cmu.ac.th

jingprit@hotmail.com

อ.นพ.ภูมิ ณรงค์เกียรติคุณ

Phoom Narongkiatikhun, M.D.

Email : phoom.n@cmu.ac.th

กานต์

อ.นพ.กานต์ พงษ์สุวรรณ

Karn Pongsuwan, M.D.

Email : karn.p@cmu.ac.th

ta_ta_ts_007@hotmail.com

ศ.เกียรติคุณ นพ.ดุสิต ล้ำเลิศกุล

(อาจารย์พิเศษ)

Dusit Lumlertgul, MD

Email : dlumlert@mail.med.cmu.ac.th

ผศ.นพ.หนึ่ง เอกมหาชัย

(อาจารย์พิเศษ)

Nung Ekmahachai, M.D.

Email : nung.ekm@cmu.ac.th

อ.นพ.ดิเรก บรรณจักร์

(อาจารย์พิเศษ)

Derek Bunnachak, M.D.

ถิระนันท์ กิตติวราพล

พยาบาล

ชลิดา สุวรรณวงศ์

นักเทคนิคการแพทย์

พุ่มสุนทร วงศ์สวัสดิ์

นักเทคนิคการแพทย์

ทัศนีย์ เดชวงค์ยา

ผู้ปฏิบัติงานวิทยาศาสตร์

วิทยา พุทธิมา

ผู้ปฏิบัติงานการพยาบาล