1

ประวัติความเป็นมาของหน่วยวิชาโรคติดเชื้อและเวชศาสตร์เขตร้อน

 

ปีที่ก่อตั้ง พ.ศ. 2515
เมื่อเริ่มก่อตั้งภาควิชาอายุรศาสตร์ในปี พ.ศ. 2504 นั้นยังไม่มีการก่อตั้งหน่วยวิชาโรคติดเชื้อและเวชศาสตร์เขตร้อน นายแพทย์กิติ รัตน์ดิลกพาณิชย์ ซึ่งเป็นแพทย์ประจำบ้านอายุรศาสตร์รุ่นที่ 7 ภายหลังจบการฝึกอบรม ได้ปฏิบัติงานเป็นอาจารย์ในภาควิชาอายุรศาสตร์สมัยที่ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ชาญ สถาปนกุล ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าภาควิชาฯ อาจารย์ นายแพทย์กิติ ได้ไปศึกษาต่อด้านโรคเวชศาสตร์เขตร้อนที่โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนเป็นเวลา 2 ปี และได้ทุนจากองค์การอนามัยโรคไปศึกษาต่อด้านโรคเวชศาสตร์เขตร้อน (Tropical Medicine) ที่ประเทศอังกฤษระหว่างปี พ.ศ. 2514-2515 หลังจากที่อาจารย์ นายแพทย์กิติ กลับจากประเทศอังกฤษ ก็ได้มีการก่อตั้งหน่วยวิชาโรคติดเชื้อและเวชศาสตร์เขตร้อน และ อาจารย์กิติเป็นหัวหน้าหน่วยวิชาฯ คนแรกในปี พ.ศ. 2515

ในปี พ.ศ. 2513 อาจารย์ นายแพทย์วินัย สุริยานนท์ ซึ่งเป็นแพทย์ประจำบ้านอายุรศาสตร์รุ่นที่ 10 ได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์ในภาควิชาอายุรศาสตร์ และได้ไปศึกษาต่อในสาขาวิชาโรคติดเชื้อจาก University of Illinois รัฐชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริการะหว่างปี พ.ศ.2517-2519

ในปี พ.ศ. 2518 อาจารย์ นายแพทย์เจริญ ภานุสาสน์ ได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์ในหน่วยวิชาฯ เป็นท่านต่อมา หลังจากที่สำเร็จการศึกษาด้านโรคติดเชื้อที่ University of Illinois รัฐชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม อาจารย์ได้ลาออกจากราชการหลังจากนั้นได้ไม่นาน

ในปี พ.ศ. 2522 อาจารย์ นายแพทย์ธีระ ศิริสันธนะ ได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์ในหน่วยวิชาฯ หลังจากที่ได้สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาอายุรศาสตร์ (American Board of Internal Medicine) จาก University of Indiana รัฐอินเดียน่า และสาขาอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ (American Board of Internal Medicine, Subspecialty Infectious Diseases) จาก University of Chicago and The Medical College of Wisconsinระหว่างปี พ.ศ. 2518-2522

ในปี พ.ศ. 2532 อาจารย์ นายแพทย์ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญ ได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์ในหน่วยวิชาฯ และได้ไปศึกษาต่อสาขาวิชาโรคติดเชื้อที่ The National Medical Center เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2532 และที่ Ohio State University รัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2536

ในปี พ.ศ. 2544 อาจารย์ แพทย์หญิงรมณีย์ ชัยวาฤทธิ์ ได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์ในหน่วยวิชาฯ และได้รับทุนจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ The Johns Hopkins University Fogarty AIDS International Training & Research Program (Hopkins AITRP) ไปศึกษาต่อด้านระบาดวิทยาและระบาดวิทยาโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล (Hospital Epidemiology) ที่ Johns Hopkins University รัฐแมรี่แลนด์ประเทศสหรัฐอเมริการะหว่างปี พ.ศ. 2549-2552

ในปี พ.ศ. 2551 อาจารย์ แพทย์หญิงปาริชาติ สาลี ได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์ในหน่วยวิชาฯ และได้รับทุนจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ The Hopkins AITRP ไปศึกษาต่อด้านระบาดวิทยาโรคติดเชื้อ (Infectious Diseases Epidemiology) ที่ Johns Hopkins University รัฐแมรี่แลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริการะหว่างปี พ.ศ. 2553-2556

ในปี พ.ศ. 2552 อาจารย์ นายแพทย์นนทกานต์ นันทจิต ได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์ในหน่วยวิชาฯ และในปี พ.ศ. 2562 ได้ลาศึกษาต่อทางด้านวิทยาการข้อมูล (Data Science Consortium) คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จนถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2560 อาจารย์ แพทย์หญิงขวัญหทัย แก้วปู่วัด ได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์ในหน่วยวิชาฯ หลังจากที่ได้สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาอายุรศาสตร์ (American Board of Internal Medicine) จาก Bassett Medical Center รัฐนิวยอร์ก ระหว่างปี พ.ศ. 2553-2556 และสาขาอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ (American Board of Internal Medicine, Subspecialty Infectious Diseases) จาก University of Texas Health Science Center at Houston รัฐเท็กซัส ระหว่างปี พ.ศ. 2553-2558

ในปี พ.ศ. 2563 อาจารย์ นายแพทย์ปรเมษฐ์ วินิจจะกูล ได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์ในหน่วยวิชาฯ
ในปี พ.ศ. 2564 อาจารย์ นายแพทย์หฤษฎ์ ทองวิทูโกมาลย์ ได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์ในหน่วยวิชาฯ

 

หน่วยโรคติดเชื้อและเวชศาสตร์เขตร้อนได้พัฒนารุดหน้าอย่างต่อเนื่อง ได้ปฏิบัติงานทั้งการบริการตรวจรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อ การให้บริการทางวิชาการ การเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ แพทย์ใช้ทุนและแพทย์ประจำบ้าน รวมทั้งได้เปิดอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาวิชาโรคติดเชื้อและอายุรศาสตร์เขตร้อนเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2544 และได้ให้การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดมาแล้วทั้งสิ้น 6 รุ่นจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้อาจารย์ในหน่วยวิชายังได้ปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการวิจัยเพื่อองค์ความรู้ใหม่และสามารถนำมาพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อาจารย์ในหน่วยวิชา อันได้แก่ ผศ.นพ.วินัย สุริยานนท์และ ศ.นพ.ธีระ ศิริสันธนะ ได้เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
และปัจจุบัน ศ.นพ.ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญ ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ อาจารย์ทั้ง 3 ท่านได้มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำในงานวิจัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานวิจัยเกี่ยวกับองค์ความรู้โรคเอดส์

 

มีการกำหนดหน้าที่กรรมการฯ หรือผู้รับผิดชอบ
หน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์กำหนดหน้าที่แก่อาจารย์ประจำหน่วยในการดำเนินการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาอายุรศาสตร์ และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ ดังต่อไปนี้
บทบาทและหน้าที่ของหัวหน้าหน่วยโรคติดเชื้อและเวชศาสตร์เขตร้อน
1. กำหนดปรัชญา ปณิธาน นโยบาย วัตถุประสงค์ และแผนการดำเนินงานของหน่วยโรคติดเชื้อ โดยร่วมกับอาจารย์ในหน่วย
2. ประสานงานกับอาจารย์ในภาควิชาอายุรศาสตร์ในการดำเนินการต่างๆ ของภาควิชาอายุรศาสตร์
3. ประสานงานกับอาจารย์อื่นๆ นอกภาควิชาอายุรศาสตร์ในการดำเนินการต่างๆ ของคณะแพทยศาสตร์
4. ประเมินการปฏิบัติงานของแพทย์ประจำบ้านสาขาอายุรศาสตร์ แพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ อาจารย์และบุคลากรภายในหน่วยโรคติดเชื้อ
5. จัดให้มีการประเมินโครงการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาอายุรศาสตร์ และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อปีละ 1 ครั้ง โดยจัดให้มีการประชุมร่วมกันของอาจารย์และบุคลากรในหน่วยโรคติดเชื้อภายใน 1 เดือนหลังสิ้นปีการศึกษา และให้นำผลการประเมินมาปรับปรุงการฝึกอบรม รวมถึงการติดตามการทำงานของแพทย์ประจำบ้านภายหลังจบการฝึกอบรมด้วย

 

บทบาทและหน้าที่ของอาจารย์ผู้ดูแลด้านวิชาการ
1. กำหนดแผนการดำเนินงานด้านการผลิตบัณฑิตแพทย์ การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาอายุรศาสตร์ และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
2. ร่างคู่มือการฝึกอบรมสำหรับแพทย์ประจำบ้านสาขาอายุรศาสตร์ และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
3. จัดทำแบบประเมินการปฏิบัติงานของแพทย์ประจำบ้านสาขาอายุรศาสตร์ และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
4. จัดทำแบบประเมินการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์หน่วยโรคติดเชื้อโดยแพทย์ประจำบ้าน
5. จัดทำแบบประเมินโครงการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาอายุรศาสตร์ และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ

 

บทบาทและหน้าที่ของอาจารย์ผู้ดูแลด้านงานวิจัย
1. กำหนดนโยบายและแผนการดำเนินงานด้านงานวิจัยของหน่วยโรคติดเชื้อ
2. เป็นที่ปรึกษาของแพทย์ประจำบ้านสาขาอายุรศาสตร์ที่ต้องการทำงานวิจัยในสาขาวิชาอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาวิชาอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อในการกำหนดแผนการดำเนินงานวิจัย
3. แก้ไขและให้คำแนะนำแก่แพทย์ประจำบ้านสาขาอายุรศาสตร์และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาวิชาอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อในการเขียนรายงานการศึกษาวิจัย เพื่อการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์

 

บทบาทและหน้าที่ของอาจารย์ผู้ดูแลด้านบริการ
1. กำหนดแผนการดำเนินงานด้านงานบริการรักษาพยาบาลและการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชนของหน่วยโรคติดเชื้อ
2. จัดตารางการปฏิบัติงานประจำเดือนสำหรับแพทย์ประจำบ้านสาขาอายุรศาสตร์ แพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ และอาจารย์ที่ปรึกษา

 

อาจารย์ประจำหน่วยโรคติดเชื้อ
1. ศ.พญ.รมณีย์  ชัยวาฤทธิ์                    หัวหน้าหน่วยฯ
2. ศ.นพ.ขวัญชัย  ศุภรัตน์ภิญโญ
3. ผศ.พญ.ปาริชาติ  สาลี
4. ผศ.นพ.นนทกานต์  นันทจิต
5. อ.นพ.ปรเมษฐ์ วินิจจะกูล

 

บุคลากรประจำหน่วย
1. ดร.จุฑารัตน์  ประภารัตนะพันธุ์     นักเทคนิคการแพทย์
2. นางดารากรณ์  บุญมี                            ผู้ช่วยพยาบาล
3. นางสาวอรพินท์  ชัยชนะ                      เจ้าหน้าธุรการ
4. นางสาวคนึงนิตย์  นุเกตุ                       พยาบาล
5. นางสาวเสาวลักษณ์  ยาศรี                 นักสถิติ

วิสัยทัศน์ พันธกิจ ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และนโยบาย ของหน่วยโรคติดเชื้อฯ

 

ปรัชญา
หน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ยึดมั่นในปณิธานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีปณิธานที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางทางวิชาการและวิชาชีพด้านอายุรศาสตร์และอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ เพื่ออำนวยประโยชน์แก่ท้องถิ่นและประเทศชาติโดยส่วนรวม เป็นแหล่งสะสม ค้นคว้า วิจัย และถ่ายทอดความรู้ เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ การประยุกต์ เผยแพร่ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งมีส่วนร่วมในการผลิตบัณฑิตที่ฝักใฝ่ในการฝึกตน เป็นผู้รู้จริง คิดเป็น ปฏิบัติได้ สามารถครองตน ครองคน ด้วยมโนธรรม และจิตสำนึกต่อสังคม
หน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ยึดมั่นในวิสัยทัศน์และพันธกิจของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และของภาควิชาอายุรศาสตร์ ที่จะนำพาให้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มุ่งไปสู่ความเป็นสถาบันการแพทย์ชั้นนำระดับมาตรฐานสากล โดยได้กำหนดปรัชญาและปณิธานของหน่วย

 

มีการกำหนดวัตถุประสงค์
หน่วยโรคติดเชื้อกำหนดวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับปณิธานของภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1. ผลิตบัณฑิตแพทย์ที่มีคุณภาพ คุณธรรม เป็นสากล
2. ผลิตแพทย์ประจำบ้านสาขาอายุรศาสตร์ และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถทางการแพทย์ และเปี่ยมด้วยคุณธรรม
3. ส่งเสริมการวิจัยทางด้านอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อสำหรับแพทย์ประจำบ้านอายุรศาสตร์ และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
4. พัฒนาการให้บริการรักษาพยาบาลทางอายุรศาสตร์และอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อให้ได้มาตรฐานสากลโดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
5. ให้บริการทางวิชาการแก่วงการแพทย์และประชาชน

 

การดำเนินงานสอดคล้องกับปรัชญาและวัตถุประสงค์
หน่วยโรคติดเชื้อกำหนดแผนการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยดังต่อไปนี้
1. แผนการดำเนินงานด้านการผลิตบัณฑิตแพทย์
2. แผนการดำเนินงานด้านการผลิตแพทย์ประจำบ้านสาขาอายุรศาสตร์ และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
3. แผนการดำเนินงานด้านการวิจัยทางอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
4. แผนการดำเนินงานด้านการให้บริการรักษาพยาบาลทางอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
5. แผนการดำเนินงานด้านการให้บริการทางวิชาการแก่วงการแพทย์และประชาชน

 

การเรียนการสอน
เป็นหน่วยฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน แพทย์ใช้ทุน ร่วมกับภาควิชาอายุรศาสตร์ และฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาโรคเชื้อ

 

การวิจัย
มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในระดับชาติและนานาชาติ

ผลงานหน่วยวิชาโรคติดเชื้อและเวชศาสตร์เขตร้อน

 

1. ตำรา / หนังสือ
1. Chaiwarith R, Supparatpinyo K. Talaromyces (Penicillium) marneffei and HIV. In: Hope T, Stevenson M, Richman D, editors. Encyclopedia of AIDS. New York: Springer; 2016.p. 1-9.
หนังสือนี้เกี่ยวข้องกับสาขาวิชา อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
เผยแพร่ใน ebook: digital object identifier (DOI): https://doi.org/10.1007/978-1-4614-9610-6_419-1
Online ISBN 978-1-4614-9610-6.
2. รมณีย์ ชัยวาฤทธิ์. โรคติดเชื้อราชนิดลุกลามในผู้ป่วยเอดส์ (Invasive Fungal Diseases in AIDS Patients). เชียงใหม่: ร้านทริค ธิงค์; 2561. 284 หน้า
3. รมณีย์ ชัยวาฤทธิ์. การติดเชื้อไวรัสฉวยโอกาส (Viral Opportunistic Infections). ใน: ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล, บรรณาธิการ. การดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีแบบผู้ป่วยนอก (Ambulatory Care of HIV-infected Patients). กรุงเทพมหานคร: บริษัท บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด; 2557. หน้า 225-247.
4. รมณีย์ ชัยวาฤทธิ์. การติดเชื้อปรสิตฉวยโอกาส (Parasitic Opportunistic Infections).
ใน: ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล, บรรณาธิการ. การดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีแบบผู้ป่วยนอก (Ambulatory care of HIV-infected patients). กรุงเทพมหานคร: บริษัทบียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด; 2557. หน้า 249-270.
5. Perl TM, Chaiwarith R. Surveillance: An overview. In: Lautenbach E, Woeltje KF, Malani PN, editors. Practical Healthcare Epidemiology. 3rd edition. Chicago: the University of Chicago Press; 2010. p.111-142.
เผยแพร่โดย The Society for Healthcare Epidemiology of America (SHEA)
6. Supparatpinyo K. Diagnosis and treatment of Talaromyces (Penicillium) marneffei infection. เผยแพร่ใน http://www.uptodate.com

 

2. งานวิจัย

 

3. รางวัลที่ได้รับ
รศ.พญ.รมณีย์ ชัยวาฤทธิ์
1. Research presentation award. Annual Scientific Meeting of the Infectious Diseases Association of Thailand 2003.
2. 2010 International Scholarship Award. The 17th conference on retrovirus and opportunistic infections. February 16-19, 2010. San Francisco, California, USA.
3. 2011 SHEA International Ambassadors. SHEA 2011, the 21st Annual Scientific Meeting. April 1-4, 2011. Dallas, Texas, USA.

 

ศ.นพ.ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญ
1. รางวัล “ช้างทองคำ” อาจารย์นักวิจัยยอดเยี่ยม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี 2560

 

อ.พญ.ขวัญหทัย แก้วปู่วัด
1. June 2014 Second place winner Oral presentation in Texas Infectious Diseases Society 2014
Annual Meeting, San Antonio, TX for “Nephrotoxicity and other adverse events of liposomal amphotericin B and amphotericin B lipid complex under contemporary “real world” conditions”
2. February 2005 Graduated with honors
3. February 2001 Received award for outstanding academic record

 

ศ.นพ.ธีระ ศิริสันธนะ
1. ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่นสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ประจำปี พ.ศ. 2549 เรื่อง “การผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีต่อ CD 4 และ CD 8 ฯ”
2. ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ประจำปี พ.ศ. 2547 จากสภาวิจัยแห่งชาติ
3. ได้รับทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย (ทุน “เมธีวิจัยอาวุโส”) ประจำปี พ.ศ.2546 จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
4. ได้รับรางวัลผลงานวิจัยเกียรติยศ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ประจำปี พ.ศ. 2545 (รางวัลผลงานวิจัยตีพิมพ์ที่ได้รับการอ้างอิงสูงสุด สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและการแพทย์)
5. ได้รับรางวัลผลงานวิจัยระดับดีเยี่ยม สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประจำปี พ.ศ.2543 จากสภาวิจัยแห่งชาติ จากการวิจัยเรื่อง “โรคติดเชื้อ Penicillium marneffei ในผู้ป่วยโรคเอดส์” (ร่วมกับรองศาสตราจารย์นายแพทย์ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญ)
6. ได้รับรางวัลองค์ปาฐกเกียรติยศ “สมพนธ์ บุณยคุปต์” ประจำปี พ.ศ.2539 เรื่อง ”Penicilliosis marneffei” จากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย
7. ได้รับรางวัลองค์ปาฐกถาเกียรติยศ “รจิตบุรี” ประจำปี พ.ศ.2546 เรื่อง “การสนับสนุนงานวิจัยในโรงเรียนแพทย์” จากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
8. ได้รับรางวัลองค์ปาฐกเกียรติยศ “สมพนธ์ บุณยคุปต์” ประจำปี พ.ศ.2549 เรื่อง “โรคแอนแทรกซ์” จากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย
9. ได้รับรางวัลศิษย์เก่าแพทย์ดีเด่น จากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี พ.ศ.2546
10. ได้รับรางวัลมหิดลทยากร (ศิษย์เก่าดีเด่น) จากมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2552

ศ.พญ.รมณีย์ ชัยวาฤทธิ์

Romanee Chaiwarith, M.D.

หัวหน้าหน่วยวิชาโรคติดเชื้อและเวชศาสตร์เขตร้อน

ผศ.นพ.นนทกานต์ นันทจิต

Nontakan Nuntachit, M.D.

ผศ.พญ.ปาริชาติ สาลี

Parichat Salee, M.D.

ผศ.นพ.ปรเมษฐ์ วินิจจะกูล

Poramed Winichakoon, M.D.

6.อาจารย์ นายแพทย์หฤษฎ์ ทองวิทูโกมาลย์

อ.นพ.หฤษฎ์ ทองวิทูโกมาลย์

Harit Thongwitokomarn, M.D.

Email : harit.th@cmu.ac.th

Hthongwit@hotmail.com

S__39837805

อ.พญ.กวิสรา กระแสเวส

Email : kawisara.k@cmu.ac.th

jamjy_106@hotmail.com

ศ.นพ.ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญ

Khuanchai Supparatpinyo, M.D.

(อาจารย์พิเศษ)

ดร.จุฑารัตน์ ประภารัตนะพันธ์

นักเทคนิคการแพทย์

ณัฐริกา  โสไล

พยาบาล