กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดอบรมเพิ่มศักยภาพแพทย์ในการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate care; IMC) จังหวัดเชียงใหม่ ณ ห้องประชุมเพชรรัตน์ ชั้น 3 โรงแรมดิเอ็มเพรสเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 26 – 27 ตุลาคม 2566 โดยมี นพ. บดินทร์ จักรแก้ว รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธาน รศ.นพ. จักรกริช กล้าผจญ หัวหน้าภาควิชา รศ.นพ.สยาม ทองประเสริฐ รองหัวหน้าภาควิชา คุณณรงค์รัตน์ สวัสติกานนท์ หัวหน้าหน่วยกายภาพบำบัด นางนฤมล สุมิน หัวหน้าหน่วยกิจกรรมบำบัด และ คุณระวิวรรณ จินดามณีศิริกุล พยาบาลฟื้นฟู ร่วมเป็นวิทยากร

กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดอบรมเพิ่มศักยภาพแพทย์ในการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate care; IMC) จังหวัดเชียงใหม่ ณ ห้องประชุมเพชรรัตน์ ชั้น 3 โรงแรมดิเอ็มเพรสเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 26 – 27 ตุลาคม 2566 โดยมี นพ. บดินทร์ จักรแก้ว รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธาน รศ.นพ. จักรกริช กล้าผจญ หัวหน้าภาควิชา รศ.นพ.สยาม ทองประเสริฐ รองหัวหน้าภาควิชา คุณณรงค์รัตน์ สวัสติกานนท์ หัวหน้าหน่วยกายภาพบำบัด นางนฤมล สุมิน หัวหน้าหน่วยกิจกรรมบำบัด และ คุณระวิวรรณ จินดามณีศิริกุล พยาบาลฟื้นฟู ร่วมเป็นวิทยากร

ผู้เข้าร่วมอบรมประกอบด้วยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว แพทย์เวชชปฏิบัติทั่วไป และแพทย์ผู้เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง จากโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มพูนทักษะในการดูแลผู้ป่วยระยะกลางสำหรับแพทย์ โดยเฉพาะการดูแลและการทำ Team meeting ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ จักรกริช กล้าผจญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ ปกรณ์ วิวัฒน์วงศ์วนา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด แพทย์ฝึกอบรม และนักศึกษาแพทย์ รับมอบเสื้อ ให้กำลังใจผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและบาดเจ็บสมอง เมื่อวันพุธที่ 25 ตุลาคม 2566 ณ หอผู้ป่วย ฟื้นสภาพ อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู จาก ทันตแพทย์ อรรถกร จรัสชัยวรรณา ผู้ซึ่งเคยผ่านช่วงเวลาที่ต้องฟื้นฟูจากโรคหลอดเลือดสมอง ทำให้เกิดอาการอ่อนแรงครึ่งซีก

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟูคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย หัวหน้าภาควิชา รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ จักรกริช กล้าผจญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ ปกรณ์ วิวัฒน์วงศ์วนา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด แพทย์ฝึกอบรม และนักศึกษาแพทย์ รับมอบเสื้อ ให้กำลังใจผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและบาดเจ็บสมอง เมื่อวันพุธที่ 25 ตุลาคม 2566 ณ หอผู้ป่วย ฟื้นสภาพ อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู จาก ทันตแพทย์ อรรถกร จรัสชัยวรรณา ผู้ซึ่งเคยผ่านช่วงเวลาที่ต้องฟื้นฟูจากโรคหลอดเลือดสมอง ทำให้เกิดอาการอ่อนแรงครึ่งซีก

อนึ่ง จากการที่ ทันตแพทย์ อรรถกร เคยประสบชะตากรรม เป็นอัมพาตครึ่งซีก และต่อมาได้รับการฟื้นฟูจนสามารถเดินได้เองโดยไม่ใช้เครื่องช่วยใดๆ และยังสามารถกลับไปทำงานทันตแพทย์ได้ ได้ตั้งใจอุทิศ ตัวเองเป็นผู้เล่าประสบการณ์ เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อให้กำลังใจแก่ผู้ที่กำลังเจ็บป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยจะเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในอนาคตของภาควิชาต่อไป

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่โดย รศ.นพ. จักรกริช กล้าผจญ หัวหน้าภาควิชา มอบประกาศนียบัตรให้แก่แพทย์จากมหาวิทยาลัย Padjadjaran ประเทศอินโดนีเซีย จากการสำเร็จการฝึกอบรมระยะสั้น Rehabilitation medicine 2 ท่าน ได้แก่ Dr. Aditya Andika Muchtar Dr. Aggi Pranata Gunanegara เมื่อวันอังคารที่ 24 ตุลาคม 2566 ณ อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่โดย รศ.นพ. จักรกริช กล้าผจญ หัวหน้าภาควิชา มอบประกาศนียบัตรให้แก่แพทย์จากมหาวิทยาลัย Padjadjaran ประเทศอินโดนีเซีย จากการสำเร็จการฝึกอบรมระยะสั้น Rehabilitation medicine 2 ท่าน ได้แก่
Dr. Aditya Andika Muchtar
Dr. Aggi Pranata Gunanegara
เมื่อวันอังคารที่ 24 ตุลาคม 2566 ณ อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การนำเสนอผลงานทางวิชาการต่างประเทศ โดย แพทย์หญิงทรรศยา บุรณุปกรณ์ แพทย์ประจำบ้าน และแพทย์หญิงณัชชา อรุณไพโรจนกุล แพทย์ใช้ทุน ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการประชุม 62nd ISCOS 2023 ระหว่างวันที่ 8-11 ตุลาคม 2566 ณ เมือง Edinburgh ประเทศ Scotland

การนำเสนอผลงานทางวิชาการต่างประเทศ โดย แพทย์หญิงทรรศยา บุรณุปกรณ์ แพทย์ประจำบ้าน และแพทย์หญิงณัชชา อรุณไพโรจนกุล แพทย์ใช้ทุน ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ในการประชุม 62nd ISCOS 2023 ระหว่างวันที่ 8-11 ตุลาคม 2566 ณ เมือง Edinburgh ประเทศ Scotland

หลักสูตรฝึกอบรมแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เปิดโอกาสให้แพทย์ฝึกอบรมนำเสนอผลงานทางวิชาการในต่างประเทศระหว่างที่ทำการฝึกอบรม เพื่อช่วยเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ในสาขาวิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู และช่วยสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการเรียนต่อต่างประเทศ หรือทางวิชาการร่วมกัน

รศ.นพ. จักรกริช กล้าผจญ หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คุณรวีวรรณ จินดามณีศิริกุล และ คุณสายทอง จันทร์งาม จากโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เข้าร่วมประชุม เพื่อเสนอความคิดเห็นในการประเมินผลตอบแทนทางสังคม (SROI) ของการพัฒนาระบบบริการบริบาลฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate care; IMC) ร่วมกับ คณาจารย์จากคณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตัวแทน อสม. ผู้อำนวยการ รพ.สันทรายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากโครงการดังกล่าว ณ โรงแรม Wintree City Resort วันที่ 17 ตุลาคม 2566

รศ.นพ. จักรกริช กล้าผจญ หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คุณรวีวรรณ จินดามณีศิริกุล และ คุณสายทอง จันทร์งาม จากโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เข้าร่วมประชุม เพื่อเสนอความคิดเห็นในการประเมินผลตอบแทนทางสังคม (SROI) ของการพัฒนาระบบบริการบริบาลฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate care; IMC) ร่วมกับ คณาจารย์จากคณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตัวแทน อสม. ผู้อำนวยการ รพ.สันทรายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากโครงการดังกล่าว ณ โรงแรม Wintree City Resort วันที่ 17 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00-16:00 น

การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม (SROI) เป็นหนึ่งในมาตรฐานการวัดคุณค่าที่เกิดขึ้นโดยครอบคลุมมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยวัดการเปลี่ยนแปลงหรือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานนั้นๆ โดยเปรียบเทียบกับงบประมาณที่ลงทุนไป

การวิเคราะห์ดังกล่าวจะช่วยในการวางแผนและพิจารณาโครงการหรือกิจกรรมที่เหมาะสม ช่วยในการบริหาร ติดตาม และปรับปรุงแนวทางการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

Cluster ดนตรีบำบัดและ Suandok sound therapy ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2 workshop ระดมความคิดเพื่อขับเคลื่อนย่านนวัตกรรมการแพทย์สวนดอกเป็นเขตส่งเสริมการลงทุน ณ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STEP) วันพุธที่ 11 ตุลาคม 2566 เวลา 13.00-16.00 น

Cluster ดนตรีบำบัดและ Suandok sound therapy ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2 workshop ระดมความคิดเพื่อขับเคลื่อนย่านนวัตกรรมการแพทย์สวนดอกเป็นเขตส่งเสริมการลงทุน ณ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STEP) วันพุธที่ 11 ตุลาคม 2566 เวลา 13.00-16.00 น

ในบริเวณถนนสุเทพ โดยเฉพาะย่านสวนดอก ได้มีการกระจุกตัวกันของคณะวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หน่วยให้บริการของสาธารณสุข โรงพยาบาลและคลินิกเอกชน บริษัท Startup ศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ Co-working space และ กิจกรรมและการให้บริการทางการแพทย์ที่หลากหลาย ทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (National Innovation Agency; NIA) คณะแพทยศาสตร์ มช. และ กลุ่มคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาคเหนือ จึงได้จัดตั้ง “ย่านนวัตกรรมการแพทย์สวนดอก” (SMID) ขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมในพื้นที่ดังกล่าวขึ้น

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง อภิชนา โฆวินทะ อาจารย์พิเศษภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ร่วมเป็นวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยระยะกึ่งเฉียบพลัน ในวันที่ 18 กันยายน 2566 เวลา 9.00 น. ณ ห้องประชุมลำดวนทอง โรงแรมพรหมพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง อภิชนา โฆวินทะ อาจารย์พิเศษภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ร่วมเป็นวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยระยะกึ่งเฉียบพลัน เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจและพัฒนาทักษะในการให้บริการฟื้นฟู พัฒนาองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อสร้างเครือข่ายพยาบาลและทีมสหวิชาชีพ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาการให้บริการฟื้นฟู สภาพผู้ป่วยเขตสุขภาพที่ 10 โดย นายแพทย์ชลวิทย์หลาวทองผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีสะเกษ เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรม ในวันที่ 18 กันยายน 2566 เวลา 9.00 น. ณห้องประชุมลำดวนทอง โรงแรมพรหมพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้การต้อนรับทีมตรวจประเมินคุณภาพภายใน MEDIA 2023 ในวันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน 2561 เวลา 13:00 น ถึง 15.30 น ณ ห้องประชุมภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ให้การต้อนรับทีมตรวจประเมินคุณภาพภายใน MEDIA 2023

นำโดย รศ.นพ. ชัยวัฒน์บำรุงกิจ (หัวหน้าทีม)
รศ.ดร. ธัญญลักษ์ พิทักษ์
รศ.พญ. กรรณิการ์ รุ่งโรจน์วัฒนศิริ
รศ.ดร. ณรงชัย อัศวพรหมพร
อ.นพ. จักรพันธ์ หอสถิตย์กุล
และคุณวรัญตรี คำฝั้น
วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน 2561 เวลา 13:00 น ถึง 15.30 น ณ ห้องประชุมภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
นำเสนอ รายงานการประเมินตนเองโดยหัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู รศ.นพ. จักรกริช กล้าผจญ และ ร่วมรับการประเมินโดย คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และบุคลากรสายสนับสนุนของภาควิชา

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดรับสมัครเเพทย์ประจำบ้าน ประจำปีการศึกษา 2567 จำนวน 1 อัตรา

📣 ประชาสัมพันธ์ 📣
ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
🎉🎉 เปิดรับสมัครเเพทย์ประจำบ้าน ประจำปีการศึกษา 2567 จำนวน 1 อัตรา 🎉🎉
➡️ รับสมัครตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึง วันที่ 31 ตุลาคม 2566
➡️ สอบภาคทฤษฎีและสัมภาษณ์วันที่ 3 พฤศจิกายน 2566
➡️ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 📞053-936322 (คุณสุจิตรา) ในวันและเวลาราชการ

รศ.นพ. จักรกริช กล้าผจญ และ รศ.ดร.นพ. สินธิป พัฒนะคูหา จากภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เข้าร่วมเจรจาความร่วมมือทางวิชาการและงานวิจัยกับโรงเรียนพัฒนาปัญญาไท (IDI) ตาม MOU โครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และโรงเรียนพัฒนาปัญญาไท เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2566 โดย อาจารย์ พ.ท. (แพทย์แผนไทย) สมบัติ ไตรศรีศิลป์ ผู้อำนวยการ ให้การตอนรับ

รศ.นพ. จักรกริช กล้าผจญ และ รศ.ดร.นพ. สินธิป พัฒนะคูหา จากภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เข้าร่วมเจรจาความร่วมมือทางวิชาการและงานวิจัยกับโรงเรียนพัฒนาปัญญาไท (IDI) ตาม MOU โครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และโรงเรียนพัฒนาปัญญาไท เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2566 โดย อาจารย์ พ.ท. (แพทย์แผนไทย) สมบัติ ไตรศรีศิลป์ ผู้อำนวยการ ให้การตอนรับ

โรงเรียนพัฒนาปัญญาไท เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2547 ได้รับการรับรองจากสภาการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการสอนหลักสูตรแพทย์แผนไทย สาขาเวชกรรม เภสัชกรรม ผดุงครรภ์ และเปิดให้บริการนวดแผนไทยเพื่อการรักษา ควบคู่ไปกับการใช้ยาสมุนไพรพื้นบ้าน นอกจากนั้นยังให้บริการแพทย์แผนไทยตามหลักความรู้ของแพทย์แผนไทย ท่านผู้อำนวยการได้ตั้งปณิธานว่าจะนำการแพทย์แผนไทยให้เป็นที่เชื่อถือและยอมรับไปสู่ความเป็นสากลให้จงได้ จึงได้มีการดำเนินงานวิจัยร่วมกับสถาบันการศึกษาและโรงพยาบาลต่างๆเพื่อนำองค์ความรู้ไปต่อยอดเพื่อป้องกันโรคและการบำบัดฟื้นฟูโรคแก่ประชาชน โดยที่ผ่านมาโรงเรียนปัญญาไทได้ดำเนินงานวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คณะเทคนิคการแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และได้รับทุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และทุนอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง