ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอแสดงความยินดีกับนางสาวนวพร จิตงาม (นักกิจกรรมบำบัด) เนื่องในโอกาสได้รับพระราชทานปริญญาบัตร ปริญญาโท สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต และนายศุภวิชญ์ จันทร์ขาว (นักกิจกรรมบำบัด) เนื่องในโอกาสได้รับพระราชทานปริญญาบัตร ปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต ณ วันที่ 30 มกราคม 2567

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ขอแสดงความยินดีกับนางสาวนวพร จิตงาม (นักกิจกรรมบำบัด) เนื่องในโอกาสได้รับพระราชทานปริญญาบัตร ปริญญาโท สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต

และนายศุภวิชญ์ จันทร์ขาว (นักกิจกรรมบำบัด) เนื่องในโอกาสได้รับพระราชทานปริญญาบัตร ปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต ณ วันที่ 30 มกราคม 2567

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัลชนะเลิศ ผลงานนวัตกรรม Concavoo Cushion ในการประกวด Prime Minister’s Award for Health Promotion Innovation 2023 ประเภท startup โดยเข้ารับรางวัลกับ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันพุธที่ 29 พฤศจิกายน 2566 ณ IMPACT FORUM เมืองทองธานี จ.นนทบุรี

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัลชนะเลิศ ผลงานนวัตกรรม Concavoo Cushion ในการประกวด Prime Minister’s Award for Health Promotion Innovation 2023 ประเภท startup โดยเข้ารับรางวัลกับ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันพุธที่ 29 พฤศจิกายน 2566 ณ IMPACT FORUM เมืองทองธานี จ.นนทบุรี 🎉🎉🎉🎉

Concavoo Cushion เป็นเบาะแบบปรับเข้ากับโครงร่างพร้อมระบบเตือนเพื่อลดแรงกดของผู้นั่งวีลแชร์ ได้รับการพัฒนาโดย นางสาวกัญญาลักษณ์ อุตรชน นักกิจกรรมบำบัด, นายณรงค์รัตน์ สวัสติกานนท์ นักกายภาพบำบัดเชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นบุคลากรของภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู และนายชาคริต วิบูลสุนทรางกูล วิศวกรชีวการแพทย์ จากสถาบันวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Biomedical Engineering)

ขณะนี้ เบาะรองนั่งคนพิการ CONCAVOO ได้รับจดแจ้งเป็นเครื่องมือแพทย์จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และพร้อมจำหน่ายเชิงพาณิชย์แล้ว โดยผู้มีบัตรคนพิการทางด้านการเคลื่อนไหวที่ต้องนั่งวีลแชร์ สามารถเบิกได้ฟรี โดยไม่เสียส่วนเกิน

#CONCAVOO
#RehabDepartmentInnovation

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟูและฝ่ายการพยาบาล หอผู้ป่วยฟื้นฟูสภาพ ให้การต้อนรับทีมสำรวจภายใน การประกันคุณภาพโรงพยาบาลขั้นก้าวหน้า (Advanced Hospital Accreditation; AHA) ร่วมนำเสนอโดย ผศ.พญ. จีระนันท์ คุณาชีวะ หัวหน้าหน่วยกายภาพบำบัด หัวหน้าหน่วยกิจกรรมบำบัด หัวหน้าหน่วยเครื่องช่วยคนพิการพยาบาลห้องตรวจผู้ป่วยนอกเบอร์ 20 และพยาบาลหอฟื้นฟูสภาพ ณ อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน 2566 ตั้งแต่เวลา 09:00 น. ถึง 12.00 น.

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟูและฝ่ายการพยาบาล หอผู้ป่วยฟื้นฟูสภาพ ให้การต้อนรับทีมสำรวจภายใน การประกันคุณภาพโรงพยาบาลขั้นก้าวหน้า (Advanced Hospital Accreditation; AHA) ร่วมนำเสนอโดย ผศ.พญ. จีระนันท์ คุณาชีวะ หัวหน้าหน่วยกายภาพบำบัด หัวหน้าหน่วยกิจกรรมบำบัด หัวหน้าหน่วยเครื่องช่วยคนพิการพยาบาลห้องตรวจผู้ป่วยนอกเบอร์ 20 และพยาบาลหอฟื้นฟูสภาพ ณ อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน 2566 ตั้งแต่เวลา 09:00 น. ถึง 12.00 น.
อนึ่ง ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู กำลังจะขอ PDSC ในเรื่องการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังเป็นแห่งแรกของภูมิภาค ซึ่งจะช่วยยืนยันมาตรฐานสากลของการให้บริการผู้ป่วย การดำเนินการด้านการดูแลฟื้นสภาพผู้ป่วยการจัดการดูแลต่อเนื่อง โดย caregiver การประสานงานทีมดูแลผู้ป่วยที่ชุมชนและที่บ้าน รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยที่บาดเจ็บไขสันหลัง ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามพันธกิจของภาควิชา

หน่วยกิจกรรมบำบัด หน่วยกายภาพบำบัด และหอผู้ป่วยฟื้นสภาพโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่จัดกิจกรรมดนตรีบำบัดสำหรับผู้ป่วยใน ทุกๆ วันศุกร์เวลา 13.30 เพื่อเป็นการเสริมสร้าง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การทำงานของระบบประสาท การฝึกสมาธิและความจำ การฝึกควบคุมลมหายใจ และการฝึกการประสานงานของสมอง ผ่านการเล่นเครื่องดนตรีทั้งเครื่องเคาะจังหวะ คีย์บอร์ด การทำ body percussion และการร้องเพลง นอกจากนั้นกิจกรรมดังกล่าวยังช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บำบัดและผู้ป่วย รวมถึงระหว่างผู้ป่วยด้วยกันเอง

หน่วยกิจกรรมบำบัด หน่วยกายภาพบำบัด และหอผู้ป่วยฟื้นสภาพโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่จัดกิจกรรมดนตรีบำบัดสำหรับผู้ป่วยใน ทุกๆ วันศุกร์เวลา 13.30 เพื่อเป็นการเสริมสร้าง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การทำงานของระบบประสาท การฝึกสมาธิและความจำ การฝึกควบคุมลมหายใจ และการฝึกการประสานงานของสมอง ผ่านการเล่นเครื่องดนตรีทั้งเครื่องเคาะจังหวะ คีย์บอร์ด การทำ body percussion และการร้องเพลง
นอกจากนั้นกิจกรรมดังกล่าวยังช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บำบัดและผู้ป่วย รวมถึงระหว่างผู้ป่วยด้วยกันเอง

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการอบรมหัวข้อ Neuromodulation: A basic approach to TMS วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2566 เวลา 9.00 ถึง 16.00 น ณ ห้องเรียนภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู โดยการสนันสนุนจาก บริษัท GETZ healthcare วิทยากร ได้แก่ Dr. Matthias Kienle วิศวกรผู้เชี่ยวชาญในเครื่อง TMS ผศ.นพ. ปกรณ์ วิวัฒนวงศ์วนา นพ. สุกรีย์ สมานไทย และ รศ.พญ. เบญจลักษณ์ มณีทอน มีผู้ร่วมอบรมได้แก่ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู จิตแพทย์ และแพทย์อายุรกรรมระบบประสาท รวมทั้งบุคลากรสายสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการอบรมหัวข้อ Neuromodulation: A basic approach to TMS วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2566 เวลา 9.00 ถึง 16.00 น ณ ห้องเรียนภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
โดยการสนันสนุนจาก บริษัท GETZ healthcare วิทยากร ได้แก่ Dr. Matthias Kienle วิศวกรผู้เชี่ยวชาญในเครื่อง TMS ผศ.นพ. ปกรณ์ วิวัฒนวงศ์วนา นพ. สุกรีย์ สมานไทย และ รศ.พญ. เบญจลักษณ์ มณีทอน มีผู้ร่วมอบรมได้แก่ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู จิตแพทย์ และแพทย์อายุรกรรมระบบประสาท รวมทั้งบุคลากรสายสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง

Transcranial magnetic stimulation (TMS) เป็นวิธีการบำบัดฟื้นฟูโดยใช้เครื่องมือมากระตุ้นสมองและระบบประสาทด้วยสนามแม่เหล็ก โดยสร้างกระแสไฟฟ้าในสมองผ่านการเหนี่ยวนำตามหลักฟิสิกส์ อาจเรียกว่าเป็นการกระตุ้นสมองแบบไม่ต้องผ่าตัด (non-invasive brain stimulation) องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้อนุญาตให้มีการใช้ transcranial magnetic stimulation (TMS) ในทางการแพทย์เพื่อใช้ในรักษาโรคต่างๆ เช่น โรคไมเกรนชนิดมีออร่า โรคซึมเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ และอาการปวดจาก Fibromyalgia ปัจจุบันได้มีการศึกษาวิจัยและนำมาใช้ในการรักษาในอีกหลายๆ กลุ่มโรค ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมองระยะกึ่งเฉียบพลัน (subacute stroke) การบาดเจ็บของไขสันหลัง (spinal cord injury) กล้ามเนื้อหดเกร็ง (spasticity) เป็นต้น

กลไกการออกฤทธิ์ของเครื่องกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ายังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาวิจัย แต่มีรายงานว่าการกระตุ้นสมองซ้ำๆ ด้วย repetitive pulse transcranial magnetic stimulation (rTMS) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของวงจรกระแสประสาท และปรับเปลี่ยนสารสื่อประสาท

สำหรับกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง พบว่าสมองส่วนที่มีพยาธิสภาพจะทำงานลดลง แต่สมองส่วนปกติจะทำงานมากขึ้น (hyperactive) ดังนั้นจึงมีการนำเครื่องกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามาใช้ในการรักษา เพื่อกระตุ้นให้สมองส่วนที่มีพยาธิสภาพเกิดการทำงานเพิ่มขึ้น และกระตุ้นด้านดีเพื่อช่วยลดการทำการมากเกินไปในการส่งสัญญาณไปควบคุมสมองข้างที่มีพยาธิสภาพ

ปัจจุบันมีการนำเครื่องกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็ก (transcranial magnetic stimulation: TMS) มาใช้ในการฟื้นฟูปัญหาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉพาะด้าน เช่น ภาวะอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนและขา อาการพูดลำบาก อาการกลืนผิดปกติ พบว่ามีความปลอดภัย ผู้ป่วยสามารถทนต่อการรักษาได้และมีประสิทธิภาพสูงเมื่อทำควบคู่กับการทำกายภาพบำบัด

กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดอบรมเพิ่มศักยภาพแพทย์ในการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate care; IMC) จังหวัดเชียงใหม่ ณ ห้องประชุมเพชรรัตน์ ชั้น 3 โรงแรมดิเอ็มเพรสเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 26 – 27 ตุลาคม 2566 โดยมี นพ. บดินทร์ จักรแก้ว รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธาน รศ.นพ. จักรกริช กล้าผจญ หัวหน้าภาควิชา รศ.นพ.สยาม ทองประเสริฐ รองหัวหน้าภาควิชา คุณณรงค์รัตน์ สวัสติกานนท์ หัวหน้าหน่วยกายภาพบำบัด นางนฤมล สุมิน หัวหน้าหน่วยกิจกรรมบำบัด และ คุณระวิวรรณ จินดามณีศิริกุล พยาบาลฟื้นฟู ร่วมเป็นวิทยากร

กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดอบรมเพิ่มศักยภาพแพทย์ในการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate care; IMC) จังหวัดเชียงใหม่ ณ ห้องประชุมเพชรรัตน์ ชั้น 3 โรงแรมดิเอ็มเพรสเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 26 – 27 ตุลาคม 2566 โดยมี นพ. บดินทร์ จักรแก้ว รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธาน รศ.นพ. จักรกริช กล้าผจญ หัวหน้าภาควิชา รศ.นพ.สยาม ทองประเสริฐ รองหัวหน้าภาควิชา คุณณรงค์รัตน์ สวัสติกานนท์ หัวหน้าหน่วยกายภาพบำบัด นางนฤมล สุมิน หัวหน้าหน่วยกิจกรรมบำบัด และ คุณระวิวรรณ จินดามณีศิริกุล พยาบาลฟื้นฟู ร่วมเป็นวิทยากร

ผู้เข้าร่วมอบรมประกอบด้วยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว แพทย์เวชชปฏิบัติทั่วไป และแพทย์ผู้เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง จากโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มพูนทักษะในการดูแลผู้ป่วยระยะกลางสำหรับแพทย์ โดยเฉพาะการดูแลและการทำ Team meeting ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ จักรกริช กล้าผจญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ ปกรณ์ วิวัฒน์วงศ์วนา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด แพทย์ฝึกอบรม และนักศึกษาแพทย์ รับมอบเสื้อ ให้กำลังใจผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและบาดเจ็บสมอง เมื่อวันพุธที่ 25 ตุลาคม 2566 ณ หอผู้ป่วย ฟื้นสภาพ อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู จาก ทันตแพทย์ อรรถกร จรัสชัยวรรณา ผู้ซึ่งเคยผ่านช่วงเวลาที่ต้องฟื้นฟูจากโรคหลอดเลือดสมอง ทำให้เกิดอาการอ่อนแรงครึ่งซีก

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟูคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย หัวหน้าภาควิชา รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ จักรกริช กล้าผจญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ ปกรณ์ วิวัฒน์วงศ์วนา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด แพทย์ฝึกอบรม และนักศึกษาแพทย์ รับมอบเสื้อ ให้กำลังใจผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและบาดเจ็บสมอง เมื่อวันพุธที่ 25 ตุลาคม 2566 ณ หอผู้ป่วย ฟื้นสภาพ อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู จาก ทันตแพทย์ อรรถกร จรัสชัยวรรณา ผู้ซึ่งเคยผ่านช่วงเวลาที่ต้องฟื้นฟูจากโรคหลอดเลือดสมอง ทำให้เกิดอาการอ่อนแรงครึ่งซีก

อนึ่ง จากการที่ ทันตแพทย์ อรรถกร เคยประสบชะตากรรม เป็นอัมพาตครึ่งซีก และต่อมาได้รับการฟื้นฟูจนสามารถเดินได้เองโดยไม่ใช้เครื่องช่วยใดๆ และยังสามารถกลับไปทำงานทันตแพทย์ได้ ได้ตั้งใจอุทิศ ตัวเองเป็นผู้เล่าประสบการณ์ เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อให้กำลังใจแก่ผู้ที่กำลังเจ็บป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยจะเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในอนาคตของภาควิชาต่อไป

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่โดย รศ.นพ. จักรกริช กล้าผจญ หัวหน้าภาควิชา มอบประกาศนียบัตรให้แก่แพทย์จากมหาวิทยาลัย Padjadjaran ประเทศอินโดนีเซีย จากการสำเร็จการฝึกอบรมระยะสั้น Rehabilitation medicine 2 ท่าน ได้แก่ Dr. Aditya Andika Muchtar Dr. Aggi Pranata Gunanegara เมื่อวันอังคารที่ 24 ตุลาคม 2566 ณ อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่โดย รศ.นพ. จักรกริช กล้าผจญ หัวหน้าภาควิชา มอบประกาศนียบัตรให้แก่แพทย์จากมหาวิทยาลัย Padjadjaran ประเทศอินโดนีเซีย จากการสำเร็จการฝึกอบรมระยะสั้น Rehabilitation medicine 2 ท่าน ได้แก่
Dr. Aditya Andika Muchtar
Dr. Aggi Pranata Gunanegara
เมื่อวันอังคารที่ 24 ตุลาคม 2566 ณ อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การนำเสนอผลงานทางวิชาการต่างประเทศ โดย แพทย์หญิงทรรศยา บุรณุปกรณ์ แพทย์ประจำบ้าน และแพทย์หญิงณัชชา อรุณไพโรจนกุล แพทย์ใช้ทุน ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการประชุม 62nd ISCOS 2023 ระหว่างวันที่ 8-11 ตุลาคม 2566 ณ เมือง Edinburgh ประเทศ Scotland

การนำเสนอผลงานทางวิชาการต่างประเทศ โดย แพทย์หญิงทรรศยา บุรณุปกรณ์ แพทย์ประจำบ้าน และแพทย์หญิงณัชชา อรุณไพโรจนกุล แพทย์ใช้ทุน ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ในการประชุม 62nd ISCOS 2023 ระหว่างวันที่ 8-11 ตุลาคม 2566 ณ เมือง Edinburgh ประเทศ Scotland

หลักสูตรฝึกอบรมแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เปิดโอกาสให้แพทย์ฝึกอบรมนำเสนอผลงานทางวิชาการในต่างประเทศระหว่างที่ทำการฝึกอบรม เพื่อช่วยเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ในสาขาวิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู และช่วยสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการเรียนต่อต่างประเทศ หรือทางวิชาการร่วมกัน

รศ.นพ. จักรกริช กล้าผจญ หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คุณรวีวรรณ จินดามณีศิริกุล และ คุณสายทอง จันทร์งาม จากโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เข้าร่วมประชุม เพื่อเสนอความคิดเห็นในการประเมินผลตอบแทนทางสังคม (SROI) ของการพัฒนาระบบบริการบริบาลฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate care; IMC) ร่วมกับ คณาจารย์จากคณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตัวแทน อสม. ผู้อำนวยการ รพ.สันทรายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากโครงการดังกล่าว ณ โรงแรม Wintree City Resort วันที่ 17 ตุลาคม 2566

รศ.นพ. จักรกริช กล้าผจญ หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คุณรวีวรรณ จินดามณีศิริกุล และ คุณสายทอง จันทร์งาม จากโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เข้าร่วมประชุม เพื่อเสนอความคิดเห็นในการประเมินผลตอบแทนทางสังคม (SROI) ของการพัฒนาระบบบริการบริบาลฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate care; IMC) ร่วมกับ คณาจารย์จากคณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตัวแทน อสม. ผู้อำนวยการ รพ.สันทรายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากโครงการดังกล่าว ณ โรงแรม Wintree City Resort วันที่ 17 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00-16:00 น

การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม (SROI) เป็นหนึ่งในมาตรฐานการวัดคุณค่าที่เกิดขึ้นโดยครอบคลุมมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยวัดการเปลี่ยนแปลงหรือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานนั้นๆ โดยเปรียบเทียบกับงบประมาณที่ลงทุนไป

การวิเคราะห์ดังกล่าวจะช่วยในการวางแผนและพิจารณาโครงการหรือกิจกรรมที่เหมาะสม ช่วยในการบริหาร ติดตาม และปรับปรุงแนวทางการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด