ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยคุณณรงค์รัตน์ สวัสติกานนท์ เป็นตัวแทนภาควิชาฯ นำรถจักรยานยนต์สำหรับคนพิการ ไปมอบให้งานบริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันที่ 20 กันยายน 2566

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยคุณณรงค์รัตน์ สวัสติกานนท์ เป็นตัวแทนภาควิชาฯ นำรถจักรยานยนต์สำหรับคนพิการ ไปมอบให้งานบริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันที่ 20 กันยายน 2566
เพื่อร่วมทดสอบกับนักศึกษากลุ่มพิเศษ และผลักดันการจดทะเบียนรถคนพิการ กับขนส่งทางบกเชียงใหม่ต่อไป

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เข้าร่วมการประชุม Inter-hospital Prosthetics Conference จัดโดยมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในวันพุธที่ 20 กันยายน 2566

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เข้าร่วมการประชุม Inter-hospital Prosthetics Conference จัดโดยมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในวันพุธที่ 20 กันยายน 2566 โดยศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต เลขาธิการมูลนิธิฯ เป็นประธานเปิดการประชุม รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วัชระ รุจิเวชพงศธร กรรมการและอดีตเลขาธิการมูลนิธิฯ ร่วมประชุม ทั้งนี้ Mr. Axel Hass จากประเทศเยอรมันนี Dr. Ahmad Tajuddin จากประเทศมาเลเซีย แพทย์และแพทย์ประจำบ้านจากคณะแพทยศาสตร์ Padjadjaran University ประเทศอินโดนีเชีย และจากโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เป็นผู้นำเสนอและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับกับกรณีศึกษา โดยมีนายแพทย์พิรุณ คำอุ่น รองเลขาธิการมูลนิธิขาเทียมฯ ฝ่ายวิชาการและวิจัยเป็นผู้ดำเนินการประชุม พร้อมทั้งผู้บริหาร แพทย์ เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ ร่วมประชุม เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้และความเข้มแข็งทางวิชาการด้านขาเทียม รวมทั้งทักษะในการให้บริการขาเทียมแก่คนพิการที่มีมากขึ้นและปัญหาที่ซับซ้อนขึ้น ช่วยสนับสนุนการพัฒนาวิชาการ บริการวิชาการและวิจัยของมูลนิธิฯ รวมทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายการทำกายอุปกรณ์เทียมและกายอุปกรณ์เสริมของโรงพยาบาลและคณะบุคคลทั้งในและต่างประเทศ

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอแสดงความยินดีกับ ดร. จิณห์วรา กาจู ที่ผ่านการสอบวิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์) จาก ภาควิชากายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอแสดงความยินดีกับ ดร. จิณห์วรา กาจู ที่ผ่านการสอบวิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์) หัวข้อ Antioxidant activity of honey with starfruit concentrated product and its effects combined with exercise on oxidative stress and physical function in healthy elderly จาก ภาควิชากายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 6 กันยายน 2566 ณ อาคาร 12 ชั้น คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มะเฟืองจัดเป็นผลไม้ตามฤดูกาลที่ประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ และมีวิตามินซีในความเข้มข้นสูง การศึกษานี้พบว่า มะเฟืองชนิดหวานมีฤทธิ์ในการป้องกันการเกิดการออกซิเดชันของกลูต้าไธโอน โปรตีนคาร์บอนิล และไขมันเปอร์ออกไซด์ได้ดีกว่ามะเฟืองชนิดเปรี้ยว

รศ.นพ. จักรกริช กล้าผจญ หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู มอบประกาศนียบัตรการฝึกอบรมระยะสั้น หลักสูตรเวชศาสตร์ฟื้นฟูในผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง ให้แก่ Dr. Fitri Rizkia Putri และ Dr. Adlina Asfara แพทย์ เวชศาสตร์ฟื้นฟูจากมหาวิทยาลัย Padjadjaran ประเทศอินโดนีเซีย

รศ.นพ. จักรกริช กล้าผจญ หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟูคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มอบประกาศนียบัตรการฝึกอบรมระยะสั้น หลักสูตรเวชศาสตร์ฟื้นฟูในผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง ให้แก่ Dr. Fitri Rizkia Putri และ Dr. Adlina Asfara แพทย์ เวชศาสตร์ฟื้นฟูจากมหาวิทยาลัย Padjadjaran ประเทศอินโดนีเซีย วันที่ 29 สิงหาคม 2566 ที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกเวชศาสตร์ฟื้นฟู

รศ.นพ. จักรกริช กล้าผจญ หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟูคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับ รศ.ดร. จีรกฤตธ์ ลีลารุ่งระยับ ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตร์การกีฬา จากคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้การต้อนรับ Prof. Tzenge-Lien Shih คณบดี College of Science, Prof. Li-Ren Yang คณบดี College of Business and Management และ Asst.Prof. Fu Szu-Kai จาก Office of Physical Education พร้อมด้วย คณาจารย์จาก Tamkang University กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน

รศ.นพ. จักรกริช กล้าผจญ หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟูคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับ รศ.ดร. จีรกฤตธ์ ลีลารุ่งระยับ ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตร์การกีฬา จากคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้การต้อนรับ Prof. Tzenge-Lien Shih คณบดี College of Science, Prof. Li-Ren Yang คณบดี College of Business and Management และ Asst.Prof. Fu Szu-Kai จาก Office of Physical Education พร้อมด้วย คณาจารย์จาก Tamkang University กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน เนื่องในโอกาส พบปะเจรจาความร่วมมือ ทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาในระดับ นานาชาติ เพื่อพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์การกีฬาร่วมกัน ณห้องประชุมชั้น 9 คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 28 สิงหาคม 2566

รศ.นพ. จักรกริช กล้าผจญ หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมด้วย พญ. ชลาทิพย์ ซื่อวัฒนะ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลสันทราย หัวหน้าโครงการ การบริบาลผู้ป่วยระยะกลางจังหวัดเชียงใหม่ และ อ.ดร. ศิวพร สุกริตานนท์ คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับระบบการบริบาลฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลาง จังหวัดเชียงใหม่ ณ สถานีโทรทัศน์ NBT ในรายการ เช้านี้ที่ภาคเหนือ เวลา 09.30 น. วันที่ 24 สิงหาคม 2566

รศ.นพ. จักรกริช กล้าผจญ หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมด้วย พญ. ชลาทิพย์ ซื่อวัฒนะ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลสันทราย หัวหน้าโครงการ การบริบาลผู้ป่วยระยะกลางจังหวัดเชียงใหม่ และ อ.ดร. ศิวพร สุกริตานนท์ คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับระบบการบริบาลฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลาง จังหวัดเชียงใหม่ ณ สถานีโทรทัศน์ NBT ในรายการ เช้านี้ที่ภาคเหนือ เวลา 09.30 น. วันที่ 24 สิงหาคม 2566

บริษัท Viktas aeternum จัดการบรรยายสาธิตชุดโรบอทอัจฉริยะ Free walk เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย ซึ่งผลิตโดย บริษัท Free bionics ประเทศไต้หวัน นำเสนอโดย Founder & CEO คุณ Cheng-Hua Wu ณ ห้องตรวจผู้ป่วยนอกเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ วันที่ 23 สิงหาคม 2566

บริษัท Viktas aeternum จัดการบรรยายสาธิตชุดโรบอทอัจฉริยะ Free walk เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย ซึ่งผลิตโดย บริษัท Free bionics ประเทศไต้หวัน นำเสนอโดย Founder & CEO คุณ Cheng-Hua Wu ณ ห้องตรวจผู้ป่วยนอกเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ วันที่ 23 สิงหาคม 2566

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู ขอแสดงความยินดีกับ รศ.นพ. จักรกริช กล้าผจญ หัวหน้าภาควิชา ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ จากการแข่งขันเกมต่ออักษรไขว้ภาษาอังกฤษ (Crossword game) ในรุ่น Open ชิงถ้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ในมหกรรมการแข่งขันเกมกีฬาทางวิชาการเพื่อการศึกษา EduPloy Triple Crossword A-Math คำคม และ Sudoku ชิงแชมป์ภาคเหนือ ประจำปี 2566

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอแสดงความยินดีกับ รศ.นพ. จักรกริช กล้าผจญ หัวหน้าภาควิชา
ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ จากการแข่งขันเกมต่ออักษรไขว้ภาษาอังกฤษ (Crossword game) ในรุ่น Open ชิงถ้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ในมหกรรมการแข่งขันเกมกีฬาทางวิชาการเพื่อการศึกษา EduPloy Triple Crossword A-Math คำคม และ Sudoku ชิงแชมป์ภาคเหนือ ประจำปี 2566 โดยทำการแข่งขัน ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเชียงใหม่แอร์พอร์ต ระหว่างวันที่ 19 ถึง 20 สิงหาคม 2566

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู ขอ แสดงความยินดีกับ หน่วยกายภาพบำบัดและหน่วยกิจกรรมบำบัด ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการนำเสนอผลงานนวัตกรรม ในการประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำเสนอผลงานเด่นและนวัตกรรมการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส วันที่ 15-16 สิงหาคม 2566

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู ขอ แสดงความยินดีกับ หน่วยกายภาพบำบัดและหน่วยกิจกรรมบำบัด ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการนำเสนอผลงานนวัตกรรม ในการประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำเสนอผลงานเด่นและนวัตกรรมการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส วันที่ 15-16 สิงหาคม 2566

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู ร่วมกับ สาธารณสุข จ.เขียงใหม่ คณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะสื่อสารมวลชน ได้จัดการประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำเสนอผลงานเด่นและนวัตกรรมการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส วันที่ 15-16 สิงหาคม 2566 โดยภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู ได้ร่วมดำเนินการจัดการฝึกอบรมและสร้างสื่อการเรียนรู้

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ สาธารณสุข จ.เขียงใหม่ คณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดการประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำเสนอผลงานเด่นและนวัตกรรมการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส วันที่ 15-16 สิงหาคม 2566 โดยภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู ได้ร่วมดำเนินการจัดการฝึกอบรมและสร้างสื่อการเรียนรู้

กระทรวงสาธารณสุขได้พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate care) ซึ่งหมายถึง การดูแลผู้ป่วยที่มีอาการทางคลินิกผ่านพ้นระยะวิกฤติและมีอาการคงที่ แต่ยังคงมีความผิดปกติของร่างกายบางส่วนอยู่ และ/หรือมีข้อจำกัดในการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน จำเป็นต้องได้รับ การบริการด้านฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยทีมสหสาขาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องเพื่อลดอัตราความพิการ ลดภาวะแทรกซ้อน และเพิ่มคุณภาพชีวิตแก่ผู้ป่วยจังหวัดเชียงใหม่ได้พัฒนาระบบ การดูแลผู้ป่วยระยะกลางขึ้นมาตั้งแต่ปี 2562
โดยมีนโยบายการดูแลผู้ป่วยให้มีทิศทางเดียวกันทั้งจังหวัด เพื่อให้การดูแลและส่งต่อแบบไร้รอยต่อ ในปี 2563 การพัฒนาระบบการบริการบริบาลฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลางในจังหวัเชียงใหม่ได้นำร่องการดูแลในระดับโรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลระดับแม่ข่าย ในปี 2564 ได้ขยายการดูแลไปสู่โรงพยาบาลทั่วไปโรงพยาบาลชุมชน ทั้งเรื่องการพัฒนาระบบแนวทางการดูแลร่วมกัน การพัฒนาศักยภาพบุคลากร การใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ การทำงานเป็นทีมของสหวิชาชีพ สำหรับปี 2565 นี้ มีแผนการพัฒนาลงไปสู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล การดูแลระดับชุมชน และครอบครัว ซึ่งการดูแลผู้ป่วยระยะกลางให้ได้ผลดีนั้นควรดำเนินการเป็นรูปแบบการดูแลสุขภาพแบบบูรณาการส่งเสริมให้มีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในพื้นที่ได้แก่ ส่วนราชการต่างๆ ในพื้นที่ เช่น พัฒนาสังคมส่วนท้องถิ่น องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และกลุ่มอาสาสมัครต่างๆที่มีในพื้นที่ร่วมดำเนินการในการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลางในชุมชน สำหรับการดูแลผู้ป่วยในชุมชนนั้น