Cluster ดนตรีบำบัดและ Suandok sound therapy ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2 workshop ระดมความคิดเพื่อขับเคลื่อนย่านนวัตกรรมการแพทย์สวนดอกเป็นเขตส่งเสริมการลงทุน ณ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STEP) วันพุธที่ 11 ตุลาคม 2566 เวลา 13.00-16.00 น

Cluster ดนตรีบำบัดและ Suandok sound therapy ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2 workshop ระดมความคิดเพื่อขับเคลื่อนย่านนวัตกรรมการแพทย์สวนดอกเป็นเขตส่งเสริมการลงทุน ณ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STEP) วันพุธที่ 11 ตุลาคม 2566 เวลา 13.00-16.00 น

ในบริเวณถนนสุเทพ โดยเฉพาะย่านสวนดอก ได้มีการกระจุกตัวกันของคณะวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หน่วยให้บริการของสาธารณสุข โรงพยาบาลและคลินิกเอกชน บริษัท Startup ศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ Co-working space และ กิจกรรมและการให้บริการทางการแพทย์ที่หลากหลาย ทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (National Innovation Agency; NIA) คณะแพทยศาสตร์ มช. และ กลุ่มคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาคเหนือ จึงได้จัดตั้ง “ย่านนวัตกรรมการแพทย์สวนดอก” (SMID) ขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมในพื้นที่ดังกล่าวขึ้น

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง อภิชนา โฆวินทะ อาจารย์พิเศษภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ร่วมเป็นวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยระยะกึ่งเฉียบพลัน ในวันที่ 18 กันยายน 2566 เวลา 9.00 น. ณ ห้องประชุมลำดวนทอง โรงแรมพรหมพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง อภิชนา โฆวินทะ อาจารย์พิเศษภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ร่วมเป็นวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยระยะกึ่งเฉียบพลัน เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจและพัฒนาทักษะในการให้บริการฟื้นฟู พัฒนาองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อสร้างเครือข่ายพยาบาลและทีมสหวิชาชีพ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาการให้บริการฟื้นฟู สภาพผู้ป่วยเขตสุขภาพที่ 10 โดย นายแพทย์ชลวิทย์หลาวทองผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีสะเกษ เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรม ในวันที่ 18 กันยายน 2566 เวลา 9.00 น. ณห้องประชุมลำดวนทอง โรงแรมพรหมพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้การต้อนรับทีมตรวจประเมินคุณภาพภายใน MEDIA 2023 ในวันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน 2561 เวลา 13:00 น ถึง 15.30 น ณ ห้องประชุมภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ให้การต้อนรับทีมตรวจประเมินคุณภาพภายใน MEDIA 2023

นำโดย รศ.นพ. ชัยวัฒน์บำรุงกิจ (หัวหน้าทีม)
รศ.ดร. ธัญญลักษ์ พิทักษ์
รศ.พญ. กรรณิการ์ รุ่งโรจน์วัฒนศิริ
รศ.ดร. ณรงชัย อัศวพรหมพร
อ.นพ. จักรพันธ์ หอสถิตย์กุล
และคุณวรัญตรี คำฝั้น
วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน 2561 เวลา 13:00 น ถึง 15.30 น ณ ห้องประชุมภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
นำเสนอ รายงานการประเมินตนเองโดยหัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู รศ.นพ. จักรกริช กล้าผจญ และ ร่วมรับการประเมินโดย คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และบุคลากรสายสนับสนุนของภาควิชา

รศ.นพ. จักรกริช กล้าผจญ และ รศ.ดร.นพ. สินธิป พัฒนะคูหา จากภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เข้าร่วมเจรจาความร่วมมือทางวิชาการและงานวิจัยกับโรงเรียนพัฒนาปัญญาไท (IDI) ตาม MOU โครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และโรงเรียนพัฒนาปัญญาไท เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2566 โดย อาจารย์ พ.ท. (แพทย์แผนไทย) สมบัติ ไตรศรีศิลป์ ผู้อำนวยการ ให้การตอนรับ

รศ.นพ. จักรกริช กล้าผจญ และ รศ.ดร.นพ. สินธิป พัฒนะคูหา จากภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เข้าร่วมเจรจาความร่วมมือทางวิชาการและงานวิจัยกับโรงเรียนพัฒนาปัญญาไท (IDI) ตาม MOU โครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และโรงเรียนพัฒนาปัญญาไท เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2566 โดย อาจารย์ พ.ท. (แพทย์แผนไทย) สมบัติ ไตรศรีศิลป์ ผู้อำนวยการ ให้การตอนรับ

โรงเรียนพัฒนาปัญญาไท เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2547 ได้รับการรับรองจากสภาการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการสอนหลักสูตรแพทย์แผนไทย สาขาเวชกรรม เภสัชกรรม ผดุงครรภ์ และเปิดให้บริการนวดแผนไทยเพื่อการรักษา ควบคู่ไปกับการใช้ยาสมุนไพรพื้นบ้าน นอกจากนั้นยังให้บริการแพทย์แผนไทยตามหลักความรู้ของแพทย์แผนไทย ท่านผู้อำนวยการได้ตั้งปณิธานว่าจะนำการแพทย์แผนไทยให้เป็นที่เชื่อถือและยอมรับไปสู่ความเป็นสากลให้จงได้ จึงได้มีการดำเนินงานวิจัยร่วมกับสถาบันการศึกษาและโรงพยาบาลต่างๆเพื่อนำองค์ความรู้ไปต่อยอดเพื่อป้องกันโรคและการบำบัดฟื้นฟูโรคแก่ประชาชน โดยที่ผ่านมาโรงเรียนปัญญาไทได้ดำเนินงานวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คณะเทคนิคการแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และได้รับทุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และทุนอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยคุณณรงค์รัตน์ สวัสติกานนท์ เป็นตัวแทนภาควิชาฯ นำรถจักรยานยนต์สำหรับคนพิการ ไปมอบให้งานบริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันที่ 20 กันยายน 2566

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยคุณณรงค์รัตน์ สวัสติกานนท์ เป็นตัวแทนภาควิชาฯ นำรถจักรยานยนต์สำหรับคนพิการ ไปมอบให้งานบริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันที่ 20 กันยายน 2566
เพื่อร่วมทดสอบกับนักศึกษากลุ่มพิเศษ และผลักดันการจดทะเบียนรถคนพิการ กับขนส่งทางบกเชียงใหม่ต่อไป

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เข้าร่วมการประชุม Inter-hospital Prosthetics Conference จัดโดยมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในวันพุธที่ 20 กันยายน 2566

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เข้าร่วมการประชุม Inter-hospital Prosthetics Conference จัดโดยมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในวันพุธที่ 20 กันยายน 2566 โดยศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต เลขาธิการมูลนิธิฯ เป็นประธานเปิดการประชุม รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วัชระ รุจิเวชพงศธร กรรมการและอดีตเลขาธิการมูลนิธิฯ ร่วมประชุม ทั้งนี้ Mr. Axel Hass จากประเทศเยอรมันนี Dr. Ahmad Tajuddin จากประเทศมาเลเซีย แพทย์และแพทย์ประจำบ้านจากคณะแพทยศาสตร์ Padjadjaran University ประเทศอินโดนีเชีย และจากโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เป็นผู้นำเสนอและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับกับกรณีศึกษา โดยมีนายแพทย์พิรุณ คำอุ่น รองเลขาธิการมูลนิธิขาเทียมฯ ฝ่ายวิชาการและวิจัยเป็นผู้ดำเนินการประชุม พร้อมทั้งผู้บริหาร แพทย์ เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ ร่วมประชุม เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้และความเข้มแข็งทางวิชาการด้านขาเทียม รวมทั้งทักษะในการให้บริการขาเทียมแก่คนพิการที่มีมากขึ้นและปัญหาที่ซับซ้อนขึ้น ช่วยสนับสนุนการพัฒนาวิชาการ บริการวิชาการและวิจัยของมูลนิธิฯ รวมทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายการทำกายอุปกรณ์เทียมและกายอุปกรณ์เสริมของโรงพยาบาลและคณะบุคคลทั้งในและต่างประเทศ

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอแสดงความยินดีกับ ดร. จิณห์วรา กาจู ที่ผ่านการสอบวิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์) จาก ภาควิชากายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอแสดงความยินดีกับ ดร. จิณห์วรา กาจู ที่ผ่านการสอบวิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์) หัวข้อ Antioxidant activity of honey with starfruit concentrated product and its effects combined with exercise on oxidative stress and physical function in healthy elderly จาก ภาควิชากายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 6 กันยายน 2566 ณ อาคาร 12 ชั้น คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มะเฟืองจัดเป็นผลไม้ตามฤดูกาลที่ประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ และมีวิตามินซีในความเข้มข้นสูง การศึกษานี้พบว่า มะเฟืองชนิดหวานมีฤทธิ์ในการป้องกันการเกิดการออกซิเดชันของกลูต้าไธโอน โปรตีนคาร์บอนิล และไขมันเปอร์ออกไซด์ได้ดีกว่ามะเฟืองชนิดเปรี้ยว

รศ.นพ. จักรกริช กล้าผจญ หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟูคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับ รศ.ดร. จีรกฤตธ์ ลีลารุ่งระยับ ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตร์การกีฬา จากคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้การต้อนรับ Prof. Tzenge-Lien Shih คณบดี College of Science, Prof. Li-Ren Yang คณบดี College of Business and Management และ Asst.Prof. Fu Szu-Kai จาก Office of Physical Education พร้อมด้วย คณาจารย์จาก Tamkang University กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน

รศ.นพ. จักรกริช กล้าผจญ หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟูคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับ รศ.ดร. จีรกฤตธ์ ลีลารุ่งระยับ ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตร์การกีฬา จากคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้การต้อนรับ Prof. Tzenge-Lien Shih คณบดี College of Science, Prof. Li-Ren Yang คณบดี College of Business and Management และ Asst.Prof. Fu Szu-Kai จาก Office of Physical Education พร้อมด้วย คณาจารย์จาก Tamkang University กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน เนื่องในโอกาส พบปะเจรจาความร่วมมือ ทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาในระดับ นานาชาติ เพื่อพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์การกีฬาร่วมกัน ณห้องประชุมชั้น 9 คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 28 สิงหาคม 2566

รศ.นพ. จักรกริช กล้าผจญ หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมด้วย พญ. ชลาทิพย์ ซื่อวัฒนะ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลสันทราย หัวหน้าโครงการ การบริบาลผู้ป่วยระยะกลางจังหวัดเชียงใหม่ และ อ.ดร. ศิวพร สุกริตานนท์ คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับระบบการบริบาลฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลาง จังหวัดเชียงใหม่ ณ สถานีโทรทัศน์ NBT ในรายการ เช้านี้ที่ภาคเหนือ เวลา 09.30 น. วันที่ 24 สิงหาคม 2566

รศ.นพ. จักรกริช กล้าผจญ หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมด้วย พญ. ชลาทิพย์ ซื่อวัฒนะ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลสันทราย หัวหน้าโครงการ การบริบาลผู้ป่วยระยะกลางจังหวัดเชียงใหม่ และ อ.ดร. ศิวพร สุกริตานนท์ คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับระบบการบริบาลฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลาง จังหวัดเชียงใหม่ ณ สถานีโทรทัศน์ NBT ในรายการ เช้านี้ที่ภาคเหนือ เวลา 09.30 น. วันที่ 24 สิงหาคม 2566

บริษัท Viktas aeternum จัดการบรรยายสาธิตชุดโรบอทอัจฉริยะ Free walk เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย ซึ่งผลิตโดย บริษัท Free bionics ประเทศไต้หวัน นำเสนอโดย Founder & CEO คุณ Cheng-Hua Wu ณ ห้องตรวจผู้ป่วยนอกเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ วันที่ 23 สิงหาคม 2566

บริษัท Viktas aeternum จัดการบรรยายสาธิตชุดโรบอทอัจฉริยะ Free walk เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย ซึ่งผลิตโดย บริษัท Free bionics ประเทศไต้หวัน นำเสนอโดย Founder & CEO คุณ Cheng-Hua Wu ณ ห้องตรวจผู้ป่วยนอกเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ วันที่ 23 สิงหาคม 2566