ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู ร่วมกับ สาธารณสุข จ.เขียงใหม่ คณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะสื่อสารมวลชน ได้จัดการประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำเสนอผลงานเด่นและนวัตกรรมการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส วันที่ 15-16 สิงหาคม 2566 โดยภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู ได้ร่วมดำเนินการจัดการฝึกอบรมและสร้างสื่อการเรียนรู้

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ สาธารณสุข จ.เขียงใหม่ คณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดการประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำเสนอผลงานเด่นและนวัตกรรมการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส วันที่ 15-16 สิงหาคม 2566 โดยภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู ได้ร่วมดำเนินการจัดการฝึกอบรมและสร้างสื่อการเรียนรู้

กระทรวงสาธารณสุขได้พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate care) ซึ่งหมายถึง การดูแลผู้ป่วยที่มีอาการทางคลินิกผ่านพ้นระยะวิกฤติและมีอาการคงที่ แต่ยังคงมีความผิดปกติของร่างกายบางส่วนอยู่ และ/หรือมีข้อจำกัดในการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน จำเป็นต้องได้รับ การบริการด้านฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยทีมสหสาขาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องเพื่อลดอัตราความพิการ ลดภาวะแทรกซ้อน และเพิ่มคุณภาพชีวิตแก่ผู้ป่วยจังหวัดเชียงใหม่ได้พัฒนาระบบ การดูแลผู้ป่วยระยะกลางขึ้นมาตั้งแต่ปี 2562
โดยมีนโยบายการดูแลผู้ป่วยให้มีทิศทางเดียวกันทั้งจังหวัด เพื่อให้การดูแลและส่งต่อแบบไร้รอยต่อ ในปี 2563 การพัฒนาระบบการบริการบริบาลฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลางในจังหวัเชียงใหม่ได้นำร่องการดูแลในระดับโรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลระดับแม่ข่าย ในปี 2564 ได้ขยายการดูแลไปสู่โรงพยาบาลทั่วไปโรงพยาบาลชุมชน ทั้งเรื่องการพัฒนาระบบแนวทางการดูแลร่วมกัน การพัฒนาศักยภาพบุคลากร การใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ การทำงานเป็นทีมของสหวิชาชีพ สำหรับปี 2565 นี้ มีแผนการพัฒนาลงไปสู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล การดูแลระดับชุมชน และครอบครัว ซึ่งการดูแลผู้ป่วยระยะกลางให้ได้ผลดีนั้นควรดำเนินการเป็นรูปแบบการดูแลสุขภาพแบบบูรณาการส่งเสริมให้มีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในพื้นที่ได้แก่ ส่วนราชการต่างๆ ในพื้นที่ เช่น พัฒนาสังคมส่วนท้องถิ่น องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และกลุ่มอาสาสมัครต่างๆที่มีในพื้นที่ร่วมดำเนินการในการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลางในชุมชน สำหรับการดูแลผู้ป่วยในชุมชนนั้น

 

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู ทีมแพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด ช่างกายอุปกรณ์ และเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ร่วมกับมูลนิธิสวนดอก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ออกตรวจ ณ สถานสงเคราะห์คนชราวัยทองนิเวศน์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทีมแพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด ช่างกายอุปกรณ์ และเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ร่วมกับมูลนิธิสวนดอก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ออกตรวจ ณ สถานสงเคราะห์คนชราวัยทองนิเวศน์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ณ วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติพระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2566

ผศ.นพ.ปกรณ์ วิวัฒน์วงศ์วนา ให้การต้อนรับทีมเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการภูมิทัศน์ เทคโนโลยีสารสนเทศ

ผศ.นพ.ปกรณ์ วิวัฒน์วงศ์วนา ให้การต้อนรับทีมเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต ในวันที่ 9 สิงหาคม 2566 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการภูมิทัศน์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ณ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู ส่งบุคลากรเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาบุคลากร Crossword มช. เพื่อคัดตัวเป็น ตัวแทนนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขัน ในกีฬาบุคลากรแห่งประเทศไทย ประจำปี 2567

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ส่งบุคลากรเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาบุคลากร Crossword มช. เพื่อคัดตัวเป็น ตัวแทนนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขัน ในกีฬาบุคลากรแห่งประเทศไทย ประจำปี 2567
ณ ชมรมกีฬาในร่ม อาคารพลศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

➡️ ผลการแข่งขัน Crossword games
กีฬาบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี 2566 ⬅️

🥇 รางวัลชนะเลิศ 🥇🏆🏆
รศ.นพ. จักรกริช กล้าผจญ
หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์
ชนะ 6-0 แต้มต่างสะสม 1297 🎉🎉

🥈🏆 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 🏆
อาจารย์ ดร. ธัญมาส กันธวัง คณะสัตวแพทย์
ชนะ 5-1 แต้มต่างสะสม 668

🥉🏆 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 🏆
คุณเพียงขอบฟ้า ปัญญาเพชร สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชนะ 4-2 แต้มต่างสะสม 230

🏆 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 🏆
อาจารย์ ดร. ปิยะฉัตร อุดมวงษ์
วิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิตอลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชนะ 3-3 แต้มต่างสะสม 217

นายณรงค์รัตน์ สวัสติกานนท์ นักกายภาพบำบัดเชี่ยวชาญ นำเสนอผลงานนวัตกรรม อุปกรณ์ช่วยพลิกตัวอัตโนมัติเพื่อป้องกันแผลกดทับ ในงานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม 2566 (TRIUP FAIR 2023)

นายณรงค์รัตน์ สวัสติกานนท์ นักกายภาพบำบัดเชี่ยวชาญ นำเสนอผลงานนวัตกรรม อุปกรณ์ช่วยพลิกตัวอัตโนมัติเพื่อป้องกันแผลกดทับ ในงานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม 2566 (TRIUP FAIR 2023) ซึ่งเป็นหนึ่งในกลไกหนึ่งที่จะทำให้เกิดระบบการ นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ โดยกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้ประโยชน์สามารถเข้าถึงผลงานวิจัยและนวัตกรรม และเจ้าของผลงานวิจัยได้โดยตรง อีกทั้งเป็นกลไกที่จะช่วยขับเคลื่อน พ.ร.บ.ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 ให้บรรลุเจตนารมณ์

โดยในปีนี้จัดระหว่างวันที่ 18 ถึง 19 กรกฏาคม 2566 นี้ ที่รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน

หน่วยเครื่องช่วยคนพิการ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู ให้การต้อนรับ ทีมสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เครือข่ายการดูแลเด็ก Cerebral Palsy

หน่วยเครื่องช่วยคนพิการ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ให้การต้อนรับ ทีมสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เครือข่ายการดูแลเด็ก Cerebral Palsy

โดยหัวหน้าภาควิชา รศ.นพ.จักรกริช กล้าผจญ, ผศ.สมชัย ปทุมสูตร, อ.ดร.พรสุรีย์ คูวิจิตรสุวรรณ และ คุณภีรพร โปษยานนท์ หัวหน้าหน่วยเครื่องช่วยคนพิการให้การต้อนรับ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2566

ทั้งนี้งานกายอุปกรณ์ มีความสำคัญในการรักษาฟื้นฟูอาการเกร็ง และอ่อนแรง ในเด็ก Cerebral Palsy เป็นส่วนหนึ่งของเวชกรรมฟื้นฟูที่ช่วยให้คุณภาพชีวิตและช่วยในการดูแลให้ดียิ่งขึ้น

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู จัดการอบรมพัฒนาศักยภาพ ในภาคทฤษฎี ในการให้บริการบริบาลฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลางจังหวัดเชียงใหม่

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ได้จัดการอบรมพัฒนาศักยภาพให้แก่ พยาบาล นักกายภาพบำบัดและนักกิจกรรมบำบัด ในภาคทฤษฎี
ในการให้บริการบริบาลฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลางจังหวัดเชียงใหม่ เสร็จสิ้นแล้ว
ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟูจะได้ดำเนินการอบรมทักษะในภาคปฏิบัติต่อไป
ณ อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู ในระหว่างวันที่ 13 มีนาคม ถึง 16 มิถุนายน 2566

 

การพัฒนาหุ่นยนต์ช่วยเดินแบบสวมใส่ หรือ Exoskeleton

หนึ่งในกิจกรรมที่กลุ่มเซ็นทรัลจำกัดได้ให้การสนับสนุน ได้แก่
การพัฒนาหุ่นยนต์ช่วยเดินแบบสวมใส่หรือ Exoskeleton

โดย ศ.ดร.ระดม พงษ์วุฒิธรรม ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์
ร่วมกับภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

(ร่วมนำเสนอโครงการโดย รศ.นพ. จักรกริช กล้าผจญ หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู เมื่อวันจันทร์ที่ 6 มีนาคม 2566
ณ ห้องประชุมเจ้าพระยาศรีวิสารวาจา สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

ซึ่งจะได้เปิดโอกาสให้ผู้พิการบาดเจ็บไขสันหลังระดับเอวที่มีความสามารถสูง เช่น เป็นนักกีฬาเก่าก่อนเกิดอุบัติเหตุ สามารถใช้ฝึกเพื่อเข้าแข่งขัน การบังคับควบคุมหุ่นยนต์ดังกล่าวในระดับประเทศและระดับโลกต่อไป ทั้งนี้จะต้องมีการฝึกนักกีฬาโดยการเตรียมสมรรถภาพทางกายโดยการทำกายภาพบำบัดเพื่อมุ่งเป้าสู่การแข่งขัน และการพัฒนาระบบกลไกการควบคุมหุ่นยนต์โดยภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู จัดการสาธิตแผ่นรองเท้า โดย บริษัท สุรเทค นำเสนอโดย รศ.ดร. สุดเขตต์ พจน์ประไพ และทีมจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

จัดการสาธิตแผ่นรองเท้าโดย บริษัท สุรเทค

นำเสนอโดย รศ.ดร. สุดเขตต์ พจน์ประไพ และทีมจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ณ ห้องเรียนภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู วันที่ 2 มีนาคม 2566 เวลา 13.30 น – 15.30 น

อุปกรณ์แผ่นรองเท้า Electronics และระบบการเคลื่อนไหว สามารถวิเคราะห์การเดินโดยวัดแรงกดที่เท้าเพื่อประเมินภาวะความผิดปกติของเท้าต่าง ๆ เช่น ผู้ป่วยเท้าเบาหวาน ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ผู้ป่วยทางระบบประสาทอื่น ๆ และยังมีการผนวกเกมสำหรับฝึกการวางเท้าในรูปแบบต่าง ๆ

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู ร่วมกับบริษัท Enraf-Noniu จัดการอบรมและสาธิตการใช้เครื่อง High-intensity laser therapy สำหรับแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ร่วมกับบริษัท Enraf-Nonius จัดการอบรมและสาธิตการใช้เครื่อง High-intensity laser therapy

สำหรับแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู จากโรงพยาบาลต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่

เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2566 เวลา 13.00 ถึง 16.00 น.

โดยมี วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางวิศวกรรมจากประเทศอิตาลี
Dr. Giacomo Granozio
และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษา Musculoskeletal medicine และ Orthopedic Rehab
Dr. Wolfgang Gruther

การบำบัดรักษาและฟื้นฟูด้วยเครื่อง High-intensity laser therapy เป็นการรักษาที่ทันสมัยสามารถให้ความร้อนลงไปลึกถึงเนื้อเยื่อที่ต้องการได้ด้วยระยะเวลาอันสั้น สามารถบำบัดและฟื้นฟูเนื้อเยื่อที่ได้รับการบาดเจ็บหรืออักเสบเรื้อรัง นับเป็นหนึ่งในความก้าวหน้าด้านการรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู ในปัจจุบันภาควิชามีเครื่องมือดังกล่าวให้บริการแก่ประชาชน