โรคจอประสาทตาเสื่อมเนื่องจากอายุ

โรคจอประสาทตาเสื่อมเนื่องจากอายุ

โดย พญ.วรพร ชัยกิจมงคล / รศ.นพ.ดิเรก ผาติกุลศิลา

 

โรคเอเอ็มดี หรือโรคจอประสาทตาเสื่อมเนื่องจากอายุ (age-related macular degeneration หรือ AMD) เป็นโรคที่พบในคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป และเป็นสาเหตุที่ทําให้ผู้ป่วยเกิดภาวะตาบอด ได้ จากการสํารวจโดยองค์การอนามัยโลกปี พ.ศ. 2552 โรค AMD เป็นสาเหตุอันดับ 4 ของภาวะ ตาบอดในประชากรทั่วโลก โดยพบรองจากโรคต้อกระจก สายตาผิดปกติที่ไม่ได้รับการแก้ไข และต้อหิน ตามลําดับ

คนปกติเมื่อมองไปยังสิ่งต่างๆรอบตัว จะเห็นภาพ ชัดเจนไม่มีเงาดํามาบดบังส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพ แต่ผู้ ป่วยโรคเอเอ็มดี เมื่อมองไปยังสิ่งใดๆก็ตามจะพบว่ามีเงาดํา บังบริเวณกึ่งกลางของภาพเสมอ ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการ เห็นภาพบิดเบี้ยวก่อน แล้วจึงมีอาการเห็นเงาดําบดบังภาพ ทีหลัง ส่วนสาเหตุของโรคนี้เกิดจากจุดรับภาพชัด (macula) ของจอประสาทตาซึ่งมีหน้าที่ช่วยในการมองเห็น บริเวณกึ่งกลางภาพ เกิดความผิดปกติขึ้น โดยแบ่งความผิด ปกติเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดแห้ง(Dry AMD) และชนิดเปียก(Wet AMD)

ชนิดแห้ง (Dry AMD): เป็นชนิดที่พบได้ บ่อยในผู้สูงอายุทั่วไป โดยจอประสาทตาจะเสื่อมและบางลง มีผลทําให้การมองเห็นแย่ลงอย่างช้าๆ โดยมากไม่จําเป็น ต้องได้รับการรักษา ซึ่งโรคเอเอ็มดีชนิดแห้งนี้จะสามารถพัฒนาไปเป็นชนิดเปียกได้

ชนิดเปียก (Wet AMD): พบได้น้อยกว่า ชนิดแห้งแต่เป็นชนิดที่มีอาการรุนแรงกว่า สามารถทําให้ การมองเห็นแย่มากจนอยู่ในระดับเลือนรางหรือตาบอดได้ ซึ่งโรคเอเอ็มดีชนิดเปียกนี้จะมีเส้นเลือดงอกผิดปกติที่ใต้จอ ประสาทตา ทําให้เกิดเลือดออกหรือแผลเป็น ที่จอประสาท ตา ส่งผลให้ผู้ป่วยเห็นเป็นเงาดําบริเวณกึ่งกลางของภาพที่มองเห็น

แม้โรคเอเอ็มดีชนิดเปียกจะมีการดําเนินโรคที่รวดเร็ว แต่ถ้าวินิจฉัยพบตั้งแต่ระยะแรกๆ ส่วนใหญ่ จะสามารถควบคุมไม่ให้โรคลุกลามได้ โดยสามารถรักษาระดับการมองเห็น และผู้ป่วยบางส่วนอาจมีการ มองเห็นที่ดีขึ้นได

อย่างไรก็ตาม ความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการ มองเห็นจากโรคเอเอ็มดีขั้นรุนแรงให้กลับมามองเห็นชัดเท่าคนปกติได้ ซึ่งต่างจากโรคต้อกระจกที่สามารถ ผ่าตัดสลายต้อและใส่เลนส์เทียม ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมามองเห็นเป็นปกติอีกครั้ง นอกจากนี้โรคเอ เอ็มดียังสามารถเกิดกับตาได้ทั้ง 2 ข้าง อาจเกิดขึ้นกับตาข้างหนึ่งก่อนโดยผู้ป่วยยังไม่ทันสังเกตพราะมีตา อีกข้างช่วยทดแทนการมองเห็น ทั้งนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาพบแพทย์เมื่อโรคเกิดในตาข้างที่สองแล้ว จึง ช้าเกินไปสําหรับการรักษาตาข้างแรก

ด้วยเหตุนี้ การหมั่นสังเกตและเฝ้าระวังการเกิดโรคเอเอ็มดีด้วยตนเอง จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถพบ ความผิดปกติและไปพบจักษุแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะช่วยให้ผลการรักษาดีกว่าตรวจพบเมื่อโรคลุกลามมาก แล้ว

 

จะตรวจ AMD เบื้องต้นด้วยตนเองได้อย่างไร? …สามารถตรวจได้โดยใช้ ตารางแอมสเลอร์ (Amsler Grid) ที่เห็นด้านล่าง ตามขั้นตอนดังนี้

1. ใข้มือปิดตาซ้าย ถือตารางแอมสเลอร์ในระยะอ่าน หนังสือ ห่างจากตาประมาณ 1 ฟุต (ให้สวมแว่น สายตา แว่นอ่านหนังสือ หรือคอนแทคเลนส์ได้ตาม ปกติ)

2. ใช้ตาขวามองที่จุดดําเล็กๆกลางภาพ พยายามเพ่ง มองที่จุดนี้ตลอดเวลา

3. สังเกตดูว่ามีตารางส่วนใดที่บิดเบี้ยว หรือมีเงาดําบัง หรือไม่ ถ้ามี…แสดงว่าคุณอาจจะเริ่มมีอาการของโรค AMD ควรรีบไปพบจักษุแพทย์โดยเร็ว

4. ทดสอบตาซ้าย โดยเอามือปิดตาขวา และปฏิบัติตาม ขั้นตอนข้างต้นอีกครั้ง

**การทดสอบนี้แม้จะมีประโยชน์ในการทดสอบความผิด ปกติของตาเบื้องต้น แต่ไม่สามารถนํามาใช้ทดแทน การตรวจตาเป็นประจําทุกปีโดยจักษุแพทย์ โดยเฉพาะ ในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปได้

**ท่านสามารถปรินท์ตารางแอมสเลอร์นี้ และนําไปติดไว้ที่ผนังห้อง เพื่อใช้ทดสอบ การมองเห็นเป็นประจําทุกวัน

 

วิธีการรักษาวิธีการรักษาโรคเอเอ็มดีชนิดเปียกที่มีในปัจจุบัน ได้แก่ การฉายแสงเลเซอร์ การรักษา ด้วยโฟโต้ไดนามิก และการฉีดยา Anti-VEGF เข้าน้ําวุ้นลูกตา เป็นต้น โดยจักษุแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาและ แนะนําแนวทางการรักษาที่เหมาะสมสําหรับผู้ป่วยแต่ละราย

การป้องกัน

1. ควรสวมแว่นกันแดดเมืื่ออยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน

2. ควรรับประทานอาหารจําพวกผักใบเขียว ผลไม้สด และอาหารจําพวกปลา โดยหลีกเลี่ยงอาหารจําพวกไขมัน

3. ควรงดสูบบุหรี่

4. ควรออกกําลังกาย ควบคุมน้ําหนักและความดันโลหิต

 

ทั้งนี้ การรับประทานวิตามินเสริมอาจช่วยป้องกันหรือชะลอความรุนแรงของโรคเอเอ็มดีได้แต่ควร ปรึกษาจักษุแพทย์ เพราะการรับประทานเป็นเวลานานอาจเกิดผลข้างเคียงได้ หากสงสัยว่ามีอาการของโรค เอเอ็มดี ควรรีบไปพบจักษุแพทย์เพื่อรับการขยายม่านตาตรวจอย่างละเอียด ซึ่งขั้นตอนการตรวจนี้จะส่งผล ให้ตามัวลงชั่วคราว ไม่สามารถอ่านหนังสือหรือขับรถได้ราว 4-6 ชั่วโมงก่อนคืนสู่ภาวะปกติ จึงควรพาญาติ หรือผู้ใกล้ชิดไปโรงพยาบาลด้วย เพื่อช่วยดูแลท่านขณะเดินทางกลับบ้าน

thTH