หน่วยจอประสาทตาและน้ำวุ้นตา (Retina and Vitreous Unit)

หน่วยจอประสาทตาและน้ำวุ้นตา (Retina and Vitreous Unit) ให้บริการตรวจและรักษาเกี่ยวกับโรคของจอประสาทตาและน้ำวุ้นตา อาทิเช่น เบาหวานขึ้นตา (Diabetic retinopathy), จอตาเสื่อมจากอายุ (Age-related macular degeneration), โรคหลอดเลือดโป่งพองในชั้นคอรอยด์ (Polypoidal choroidal vasculopathy), เส้นเลือดดำอุดตัน (Retinal vein occlusion), โรคเส้นเลือดแดงจอตาอุดตัน (Retinal artery occlusion), โรคจอรับภาพผิดปกติในผู้ป่วยสายตาสั้น (Myopic maculopathy), จอตาหลุดลอก (Retinal detachment), จุดรับภาพเป็นรู (Macular hole), พังผืดที่จุดรับภาพ (Epimacular membrane), โรคการอักเสบของจอตาจากการติดเชื้อ (Infectious retinitis) หรือโรคจอตาติดเชื้อไวรัสในผู้ป่วยเอดส์ (Cytomegalovirus retinitis) เป็นต้น นอกจากนี้ยังให้บริการตรวจโรคทางจอตาและต้อกระจกที่มีความซับซ้อน เช่น โรคจอประสาทตาผิดปกติจากกรรมพันธุ์ (Congenital retinal dystrophy), อุบัติเหตุทางตา (Ocular trauma), อุบัติเหตุทางตาที่มีลูกตาแตกชนิดรุนแรง (Severe penetrating ocular injury), สิ่งแปลกปลอมฝังในลูกตาจากอุบัติเหตุ (Intraocular foreign body), ต้อกระจกชนิดที่ต้องการเครื่องมือหรืออุปกรณ์พิเศษในการผ่าตัด (Complicated cataract) และโรคทางจอประสาทตาที่ซับซ้อนอื่นๆ (Complex retinal diseases) เป็นต้น

ในการรักษา ทางหน่วยจอประสาทตาและน้ำวุ้นตาให้บริการรักษาหลากหลายวิธีตามความเหมาะสมของโรคและผู้ป่วย เช่น ยิงเลเซอร์ (Laser photocoagulation) ฉายแสงเย็น (Photodynamic therapy) จี้ความเย็น (Cryotherapy) และการฉีดยาลดการเจริญเติบโตของหลอดเลือดเข้าสู่น้ำวุ้นตา (Intravitreal anti-vascular endothelial growth factor) เป็นต้น นอกจากนี้ ทางหน่วยจอประสาทตาและน้ำวุ้นตายังให้บริการผ่าตัดโรคทางจอประสาทตา น้ำวุ้นตาและต้อกระจกด้วยคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ ทีมพยาบาล กล้องผ่าตัดและเครื่องมือที่ทันสมัย และให้บริการการผ่าตัดแบบไม่นอนโรงพยาบาล (One day surgery) ในผู้ป่วยหลายโรค

ทางหน่วยจอประสาทตาและน้ำวุ้นตาได้รองรับการส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลต่างๆ ในเขตภาคเหนือมาร่วม 40 ปี มีผู้ป่วยนอกประมาณ 22000 รายต่อปี ทำหัตถการยิงเลเซอร์ประมาน 1500 รายต่อปี ผู้ป่วยผ่าตัดจอประสาทตาและน้ำวุ้นตาประมาณ 2000 รายต่อปี และผู้ป่วยฉีดยาเข้าตาประมาณ 6000 รายต่อปี

ทั้งนี้ ทางหน่วยจอประสาทตาและน้ำวุ้นตามีการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด (หลักสูตร 2 ปี) ปีละ 2 ตำแหน่ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551

คลินิกจอประสาทตาและน้ำวุ้นตาประกอบด้วยอาจารย์เฉพาะทางที่เชี่ยวชาญ โดยออกตรวจที่ห้องตรวจ จอประสาทตา ชั้น 6 อาคารศรีพัฒน์ ตามวันและเวลาดังนี้

วันออกตรวจ เวลาออกตรวจ ชื่ออาจารย์ คลินิกพิเศษ
วันจันทร์ 9.00-16.00 น. รศ.นพ.ดิเรก ผาติกุลศิลา Retina Clinic
รศ.พญ.วรพร ชัยกิจมงคล Retina Clinic
วันอังคาร 9.00-16.00 น. รศ.ดร.พญ.เจนจิต ชูวุฒยากร Retina Clinic
วันพุธ 9.00-16.00 น. อ.พญ.อรณิสา นาเนกรังสรรค์ Retina Clinic
วันพฤหัส 9.00-12.00 น. ศ.เกียรติคุณ พญ.สมสงวน อัษญคุณ CMV Retinitis Clinic
อ.พญ.อทิตยา อภิวรรธกกุล
ผศ.พญ.อัจฉรียา วิวัฒน์วงศ์วนา ROP Clinic
วันศุกร์ 9.00-16.00 น. ศ.พญ.ภารดี คุณาวิศรุต Retina Clinic
อ.พญ.อทิตยา อภิวรรธกกุล Uveitis & Retina Clinic

บริการตรวจโรคจอประสาทตาและน้ำวุ้นตา

หน่วยจอประสาทตาและน้ำวุ้นตา ให้บริการตรวจรักษาโรคของลูกตาที่เกิดความผิดปกติในส่วนจอประสาทตาและน้ำวุ้นตา อาทิเช่น

– โรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา (Diabetic retinopathy)
– โรคจอตาเสื่อมจากอายุ (Age-related macular degeneration)
– โรคหลอดเลือดโป่งพองในชั้นคอรอยด์ (Polypoidal choroidal vasculopathy)
– โรคเส้นเลือดดำจอตาอุดตัน (Retinal vein occlusion)
– โรคเส้นเลือดแดงจอตาอุดตัน (Retinal artery occlusion)
– โรคจอรับภาพผิดปกติในผู้ป่วยสายตาสั้น (Myopic maculopathy)
– โรคจอตาหลุดลอก (Retinal detachment)
– โรคจุดรับภาพเป็นรู (Macular hole)
– โรคพังผืดที่จุดรับภาพ (Epimacular membrane)
– โรคการอักเสบของจอตาจากการติดเชื้อ (Infectious retinitis) หรือโรคจอตาติดเชื้อไวรัสในผู้ป่วยเอดส์ (Cytomegalovirus retinitis)
– โรคจอประสาทตาผิดปกติจากกรรมพันธุ์ (Congenital retinal dystrophy)
– อุบัติเหตุทางตา (Ocular trauma)
– อุบัติเหตุทางตาที่มีลูกตาแตกชนิดรุนแรง (Severe penetrating ocular injury)
– สิ่งแปลกปลอมฝังในลูกตาจากอุบัติเหตุ (Intraocular foreign body)
– โรคต้อกระจกชนิดที่ต้องการเครื่องมือหรืออุปกรณ์พิเศษในการผ่าตัด (Complicated cataract)
– โรคทางจอประสาทตาที่ซับซ้อนอื่นๆ (Complex retinal diseases)


เครื่องมือพิเศษและเครื่องถ่ายภาพที่ให้บริการเพื่อประกอบการตรวจและรักษาโรคจอประสาทตาและน้ำวุ้นตา

หน่วยจอประสาทตาและน้ำวุ้นตามีการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษโดยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่เป็นมาตรฐาน เเม่นยำ เหมาะสม และทันสมัย ปัจจุบันมีเครื่องมือและเครื่องถ่ายภาพที่ให้บริการแก่ผู้ป่วยดังนี้

1. เครื่องตรวจสแกนจอประสาทตา (Optical coherence tomography [OCT])
– Heidelberg OCT Spectralis (Zeiss) version 1.10.4.0

2. เครื่องตรวจสแกนเส้นเลือดจอประสาทตาแบบไม่ต้องฉีดสี (optical coherence tomography angiography [OCTA])
– Heidelberg OCT Spectralis (Zeiss) version 1.10.4.0

– Plex Elite 9000 (Zeiss) version 2.1.0.55513

3. เครื่องถ่ายภาพจอประสาทตาแบบปกติและแบบมุมกว้าง (color fundus photography and wide field fundus photography)
– Kowa VX-20 version 5.8.0.0

– Clarus 500 (Zeiss) version 1.1.3.62215

4. เครื่องถ่ายภาพเส้นเลือดจอประสาทตาและชั้นคอรอยด์แบบฉีดสี (fundus fluorescein angiography [FFA] และ indocyanine green angiography [ICGA])
– Heidelberg HRA Spectralis (Zeiss) version 1.10.2.0

5. เครื่องถ่ายภาพฟลูออเรสเซนต์จอประสาทตา (fundus autofluorescence [FAF])
– Heidelberg HRA Spectralis (Zeiss) version 1.10.2.0

6. เครื่องตรวจลูกตาด้วยคลื่นความถี่สูง (B-scan ultrasonography)

7. เครื่องถ่ายรูปตาส่วนหน้า (Anterior segment photography)
– Topcon DC-4 version 3.0.1.16534


สถานที่

คลินิกจอประสาทตาและน้ำวุ้นตา: ชั้น 6  อาคารศรีพัฒน์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

ปัจจุบันคลินิกจอประสาทตาและน้ำวุ้นตาได้รองรับผู้ป่วยในจังหวัดเชียงใหม่และผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อมาจากโรงพยาบาลต่าง ๆ ในเขตภาคเหนือตอนบน ผู้ป่วยที่จะเข้ารับบริการในคลินิกพิเศษนี้จะต้องผ่านการตรวจประเมินจากคลินิกตาทั่วไป (ชั้น 7  อาคารศรีพัฒน์) ก่อน เมื่อแพทย์พิจารณาแล้วจึงสามารถนัดเข้าคลินิกพิเศษนี้ได้


thTH