- ค่านิยม
สามัคคี มีน้ำใจ มีวินัย ร่วมใจรับผิดชอบ กอปรด้วยคุณธรรม
- วิสัยทัศน์ / VISION
เป็นภาควิชาชั้นนำ มีผลงานเป็นที่ยกย่องในระดับสากล เป็นที่รักและศรัทธาของปวงชน
- พันธกิจ / MISSION
ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ คุณธรรม และเป็นสากล สร้างสรรค์งานวิจัยทางจักษุวิทยาตามมาตรฐานสากลเพื่อชี้นำด้านสุขภาพ ให้บริการสุขภาพที่ได้มาตรฐานระดับสากล
- CORE COMPETENCY
1. ความสามารถในการบูรณาการบริการสุขภาพที่เป็นเลิศ กับการศึกษาและงานวิจัย
2. ความสามารถในการดำเนินการส่งมอบหลักสูตร งานวิจัย และการบริการสุขภาพที่เป็นเลิศ
3. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการศึกษา การวิจัยและการให้บริการสุขภาพแบบสหสาขา

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัฐ นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี จัดตั้งทีมงานเพื่อมองหา Location ที่จะเป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่ 3 ของประเทศ พบว่าตรงที่ตีนดอยใกล้สวนสัตว์เชียงใหม่และสวนรุกชาติ มีสมญานามภายหลังว่า “สวนสัก” ส่วนบริเวณโรงพยาบาลนครเชียงใหม่ (ชื่อสมัยนั้น) ให้เป็นที่ตั้งสมญานามว่า “สวนดอก” อันประกอบด้วย คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทย์ศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ คณะพยาบาลศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์ได้เริ่มต้นกำเนิด ณ ช่วงเวลานี้ มี นพ.ระเบียบ ฤกษ์เกษม เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล และมีอาจารย์นายแพทย์บุญสม มาร์ติน เป็นคณบดีคนแรกของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โอนมาจากอธิบดีกรมพละศึกษา กล่าวถึงภาควิชาจักษุวิทยาแล้ว ภาควิชาจักษุฯ และโสต ศอ นาสิก รวมตัวอยู่ในภาควิชาศัลย์ มีอาจารย์โอกาส พลางกูร เป็นหัวหน้าภาควิชา มีอาจารย์: อ.นพ. ชลอ รุจิรวัฒน์ จาก รพ.พิษณุโลก เป็นหัวหน้า แพทย์ประจำบ้าน : นพ.เทอดศักดิ์ ชุตินันท์ เป็นแพทย์ประจำบ้าน ทำหน้าที่ทั้ง Eye & ENT

นพ.สุรพงษ์ ดวงรัตน์ จบจากศิริราช พร้อมเพื่อนร่วมรุ่น ทั้งศิริราชและจุฬาลงกรณ์ รวม 39 คน เดินทางมาปฏิบัติงานเป็น INTERN ที่ รพ. นครเชียงใหม่ กับเงินเดือน ๆ ละ 700 บาท พอเลื่อนเป็นแพทย์ประจำบ้านได้เพิ่มเป็น 1,800 บาท/เดือน

ภาควิชาจักษุฯ ยังอยู่ในภาควิชาศัลย์ มีอาจารย์: อ.นพ. ชลอ รุจิรวัฒน์ รักษาการหัวหน้าแผนก ตา & หู คอ จมูก ส่วนนพ.เทอดศักดิ์ ชุตินันท์ เป็นแพทย์ประจำบ้าน ประมาณ 3-4 เดือน ก็ลาไปศึกษาต่อต่างประเทศ USA

แผนกตายังอยู่ในแผนกศัลย์ เช่นเดียวกับ หู คอ จมูก อ.นพ.ทองท้วม กลับจากศึกษาต่อต่างประเทศ จาก Tulane Univ., Louisianna, USA อ.นพ.กอบเกียรติ์ รักเผ่าพันธุ์ กลับจากศึกษาต่อต่างประเทศจาก Chicago Univ., Illinois, USA อ.นพ.ทองท้วม รักษาการหัวหน้าแผนกตา และหู คอ จมูก อ.นพ.กอบเกียรติ์ รักษาการแผนก หู คอ จมูก ยังไม่แยก นพ.สุรพงษ์ เป็นแพทย์ประจำบ้านปีที่ 2 ทั้งตา & หู คอ จมูก นพ.ชิต ภูเก้าล้วน เป็นแพทย์ประจำบ้านปีที่ 1 ทั้งตา & หู คอ จมูก

แผนกตา & หู คอ จมูก ยังอยู่ในแผนกศัลย์ ของ อ.นพ.โอกาส พลางกูร โดยมี อ.นพ.ทองท้วม มหาสุวรรณ รักษาการหัวหน้าแผนกตาอย่างเดียว (แยกจากกันแล้ว) อ.นพ.กอบเกียรติ์ รักเผ่าพันธุ์ รักษาการหัวหน้าแผนก หู คอ จมูกอย่างเดียว (แยกจากกันแล้ว) นพ.สุรพงษ์ ดวงรัตน์ แพทย์ประจำบ้านปีที่ 2 นพ.ชิต ภูเก้าล้วน แพทย์ประจำบ้านปีที่ 1 ทั้ง 2 แผนก

จุดกำเนิดของภาคจักษุวิทยาอย่างเป็นทางการคือ พ.ศ.2508 ต่อพ.ศ. 2509 จึงทำให้ภาควิชาจักษุวิทยา ตั้งต้นตั้งแต่บัดนั้น โดยที 3 ทหารเสือเป็นหัวขบวนเริ่มต้น คือ 1. อ.นพ.ทองท้วม มหาสุวรรณ หัวหน้าภาควิชาจักษุวิทยา 2. อ.นพ.ชลอ อาจารย์ประจำ 3. อ.นพ.สุรพงษ์ ดวงรัตน์ อาจารย์ประจำ


พ.ศ.2505 – 2515 ที่ตั้งภาควิชาจักษุ: 1. สมัยเมื่อเริ่มต้น ผู้รักษาการหัวหน้าภาควิชานั้น แบ่งห้องคนไข้บน ward เป็นที่ทำการไปก่อน ต้องรอจนกว่าอาคารเจ็ดชั้นหลังแรกจะก่อสร้างเสร็จ ของแผนก ENT คงอยู่ที่อาคาร ward ผู้ป่วยศัลย์ ห้องตรวจ OPD อยู่ที่อาคารตึกธุรการด้านหน้า ปลายสุดด้านทิศตะวันออกเป็น OPD ตา หู จมูก คอ 2. อาคารเจ็ดชั้น (อาคารตะวัน กังวานพงศ์ ปัจจุบัน) เสร็จ จึงแบ่งห้องเป็นสำนักงานต่าง ๆ ตั้งแต่ศัลยศาสตร์, ตา หู คอ จมูก (ได้อยู่คนละห้อง ตา-หนึ่งห้อง, หู คอ จมูก 1 ห้อง) ด้านหลังทางไป Lab Dog

5. อีก 2-3 ปี ย้ายไป OPD ไปที่อาคารเจ็ดชั้น อยู่ปลายสุดของตัวอาคารด้านทิศตะวันออก กว้างกว่าเก่าเล็กน้อย จึงพอแบ่งแยกกันระหว่างคนไข้ตาตรวจซีกหนึ่ง คนไข้ หู คอ จมูก ตรวจอีกซีก แต่ก็อยู่ในพื้นที่ติดๆ กัน ดุจพี่-น้อง คนไข้ตาดูจะมากกว่า ต้องตั้งโต๊ะตรวจสำหรับแพทย์ที่มาออก OPD ตามทางเดินระเบียงด้านชิดของกำแพงตึกด้านตะวันออกดังกล่าว6. Ward ผู้ป่วยทั้งตา, หู คอ จมูก ย้ายจากตึกผู้ป่วยศัลย์ชาย & หญิง ไปอยู่ที่ชั้น 4 อาคารเจ็ดชั้นที่สร้างใหม่เช่นกัน ซีกด้านตะวันตก ส่วนซีกด้านตะวันออกเป็นของ ORTHO กว้างขึ้นกว่าเก่ามาก ซีกที่เป็น Ward คนไข้ตา แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคนไข้ตาหญิง – อีกส่วนตาชาย7. ในแต่ละส่วนของตา และหู คอ จมูก ก็จัดห้องทำงาน ห้องประชุม ห้องเรียน ห้องสอบกันเอง รวมทั้งห้องพักอาจารย์และห้องพักแพทย์ประจำบ้าน แต่ละแผนกไม่เกี่ยวข้องกัน

ประมาณ พ.ศ. 2527 อาคารสุจิณโณ สูง 15 ชั้นสร้างเสร็จ ภาควิชาจักษุได้รับส่วนแบ่งจากคณะแพทยศาสตร์ให้อยู่ชั้น 9 ทั้ง Floor ภาควิชา หู คอ จมูก อยู่ชั้น 10 ทั้ง Floor เช่นกัน ห่างกันเพียงชั้นเดียว เป็นทั้งห้องทำงาน สำนักงานภาควิชาด้วยจึงสามารถจะจัดแบ่งห้องต่าง ๆ เป็นห้องหัวหน้าภาคฯ ห้องธุรการภาควิชา ห้องพักอาจารย์ ห้องพักแพทย์ประจำบ้าน และห้องประชุม ห้องดื่มชา-กาแฟ รวมทั้งห้องเก็บเอกสาร

หลังจากนี้ ไม่กี่ปี อาคารใหม่คือ ” อาคารศรีพัฒน์ ” สร้างเสร็จ OPD ตา, หู คอ จมูก ที่อาศัยทางเดินผ่านไปห้องอื่น ก็ได้ย้ายไปอยู่ชั้น 7 ณ อาคารศรีพัฒน์ จัดห้องตรวจได้สะดวกสบายมาจนกระทั่งปัจจุบัน

พ.ศ.2513 – 2515 : อ.นพ.สุรพงษ์ สอบชิงทุนรัฐบาล Austria ไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแห่งกรุงเวียนนา (Vienna University Austria) โรงพยาบาล Hanus KRANKEN House มีกำหนด 1 ปี ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2513 – 30 กันยายน 2514 กลับมาปฏิบัติงาน 1 ตุลาคม 2514 ที่ภาควิชาอย่างเดิม ได้วุฒิบัตรจากมหาวิทยาลัยกรุง Vienna Diploma in Ophthalmic Medicine ane Surgery (D.O.M.S.-Vienna) เป็นทุนการศึกษาสำหรับประเทศกำลังพัฒนาโพ้นทะเล มีทั้ง อินเดีย อิหร่าน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย บราซิล Maxico ตุรกี และอื่นๆ เป็นทุนที่ให้เพื่อมาศึกษาต่อทางการแพทย์ จะสาขาไหนก็ได้ เป็นทุนที่ฝ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ชดใช้สินไหมสงครามแก่ฝ่ายพันธมิตร คือ อเมริกา อังกฤษ ฯลฯ

พ.ศ.2509 – 2517 : อาจารย์ประจำสามท่ายทำงานในภาควิชาจักษุฯ ทั้งออก OPD, IPD, ผ่าตัด OR ใหญ่, OR เล็ก บรการตรวจโรคทางตาที่ OPD ทุกวันเวลาราชการ พร้อมทั้งรับปรึกษาจากภาควิชาอื่น ๆ โรคตาในโรคทางกาย วันเวลาผ่านไป มีแพทย์มาสมัครเป็นแพทย์ประจำบ้านน้อยมาก มี – นายแพทย์สุวิท อุปถัมภ์ – นายแพทย์ยุคลธร อรรถวิภาคไพศาล – นายแพทย์ประเสริฐ ลีอังกูรเสถียร – แพทย์หญิงโสภา วัฒนานิกร (สุกัณศีล)

พ.ศ.2512 – 2520 : ช่วง 5 ปีจากนี้มีแพทย์มาสมัครเพิ่มขึ้น ภาควิชาฯ บรรจุอาจารย์ใหม่ 2 ท่านคือ 1. อ.นพ.โสภา วัฒนานิกร (สุกัณศีล) 2. อ.นพ.ประเสริฐ ลีอังกูรเสถียร





พ.ศ.2520 – 2530 : ภาควิชาตั้งมา 30 ปีกว่าแล้ว ความเจริญรุดไปข้างหน้าไม่หยุดยั้ง หัวหน้าภาควิชาคือ อ.นพ.สุรพงษ์ ดวงรัตน์ – พญ.สมสงวน พุทธสอน ได้รับการคัดเลือกให้บรรจุเป็นอาจารย์คนใหม่ต่อไป – ต่อมา นพ.ธาดา มาร์ติน ได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์เพิ่มอีก 1 คน ภาควิชาได้รับเลือกให้เป็นสถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านและสอบวุฒิบัตร อนุมัติบัตร เช่นเดียวกับภาควิชาจักษุฯ โรงเรียนแพทย์ในกรุงเทพมหานคร หัวหน้าภาควิชา หรือรองหัวหน้าภาควิชา เป็นหนึ่งในกรรมการสอบวุฒิบัตรดังกล่าว – นพ.นิมิตร อิทธิพันธุ์กุล ได้รับเลือกให้เป็นอาจารย์ภาควิชาเพิ่มอีก 1 คน ต่อมาระยะหลังอีก 4 ปี นพ.สุรพงษ์ ได้ขอสิทธิกรรมการฯ เพิ่ม 1 คน จึงขอให้ อ.พญ.โสภา วัฒนานิกร ไปร่วมเป็นกรรมการอีก 1 คน รวมเป็น 2 คน จากเชียงใหม่ เท่าๆ กับของศิริราช จุฬาฯ และรามา – ต่อมา พญ.จุรีย์ เชื้อรัตนพงษ์ ได้รับเลือกให้เป็นอาจารย์ภาควิชาเพิ่มอีก 1 คน – ต่อมา นพ.วินัย ชัยดรุณ ได้รับเลือกให้เป็นอาจารย์ภาควิชาเพิ่มอีก 1 คน









































