การรักษาสายตาด้วยแสง laser (LASIK)

การรักษาสายตาด้วยแสง laser (LASIK)

โดย นพ.ณวัฒน์ วัฒนชัย

มาว่ากันด้วย LASIK เลยละกันครับ

LASIK คือ Laser In-situ  Keratomileusis ครับ
คือการแก้ไขการหักเหของแสงของ กระจกตาดำ (cornea) ด้วยการใช้ laser beam
ดังนั้นจะเหมาะอย่างยิ่งในกรณีผู้ป่วยสายตาสั้น ยาว เอียง
จะไม่เหมาะกับคนที่ กระจกตา (cornea) ไม่ค่อยเรียบ เช่น หลังผ่า ต้อเนื้อ(pterygium)
ที่เป็นมากๆ หรือคนที่มีแผลเป็นที่กระจกตาดำ หรืออื่นๆครับ             

LASIK มีพื้นฐานมาจากวิธีอื่นเช่น lamellar rafractive keartoplasty, excimer laser photoablation ซึ่งโดยมากก็เป็นการฝานกระจกตาดำออกไป แช่แข็ง ฝนให้แบนเป็นรูปร่างที่ต้องการ แล้วแปะกลับเข้าไปใหม่ แต่ปัญหาก็คือ กระจกตาดำที่ผ่านการแช่แข็ง มีการสมานแผลที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เยื่อบุผิวกระจกตาดำ (corneal epithelial cell) จะลดลง

 

LASIK จึงพัฒนามาโดยมีวิธีการทำ คือ 
– นำผู้ป่วยมาวัดสายตา กำหนดวิธีการผ่า
– เครียมก่อนการผ่า เช่นยาชา หรือยาสลบ
ถ้าผู้ป่วยดูท่าจะชักกระดุ๊กชักกระดิ๊ก
– ฝานกระจกตาดำ แต่ไม่ฝานออกมาทั้งหมด
เหลือไว้ด้านหนึ่งที่ยังติดกับฐานอยู่ แล้วพลิกตลบออกมา
– ใช้ laser หรือ keratome (เครื่องฝานกระจกตาด้วยการไถที่กำหนดความลึกได้) คล้ายๆ มีด(dermatome) ของ orthopedics, plastic surgery  นั่นแหละครับ)  ฝานกระจกตาอันที่ตลบออกมาให้บางลงในรูปแบบที่คำนวณไว้แล้ว
– ตลบปิดกลับไปเหมือนเดิม ไม่ต้องเย็บ ไม่ต้องแปะกาว   หลักง่ายๆก็ยังเงี้ยแหละครับ
ข้อดี
ทำแล้วกลับบ้านได้เลย
– ไม่เจ็บมาก
– หลังผ่าไม่ต้องมีการดูแลรักษามากเท่าไหร่
– คุณเลิกเบื่อหน้าสวมแว่นกับการดูแล contact lens ไปเลย
– ไม่พบ complication โหดๆอย่าง ตาบอด หรือ glaucoma โหดๆ อะไรพวกเนี้ย

ข้อเสีย
– FDA ยังไม่ approve ครับ
– บางคนต้องทำซ้ำ 2-3 ครั้งเพราะของพวกนี้มันไม่ 100 %
– ไม่เหมาะกับคนที่สายตาไม่อยู่ในช่วง 300-800 เพราะถ้าน้อยกว่า 300  ความคลาดเคลื่อนที่มีจะทำให้ผลที่ได้ไม่คุ้มครับ ส่วนคนที่มากกว่า 800 จะได้ผลไม่พอเพียง
– บางคนมี ภาวะแทรกซ้อน(complication) เช่น มีเศษอะไรซักอย่าง (precipitate  จะใช้ภาษาไทยว่าอะไรดี) มาเกาะที่ cornea แต่ก็ไม่มากนักหรอกครับ บางคนมี กระจกตาเหี่ยว (flap wrinking), เห็นภาพแตกเวลามีแสงจ้าๆ (glare) และอื่นๆ

ภาวะแทรกซ้อน(complication) ที่โหดที่สุด (ผมเคยเจอใน review article  แต่ไม่เห็นในเมืองไทย) คือ กระจกตาขุ่นทั้งหมด ( total cornea opaque) ต้องเอามาทำ PK คือรอ cornea บริจาคมาผ่าเปลี่ยนกันเลย ซึ่ง การหักเห(refraction) หลังทำ PK จะแย่ครับ  มีเอียงเยอะไปหมด ก็ขู่ไว้นะครับ…

– หลังทำ บางคนจะเหลือ refractive error อีก 25-50-75   ซึ่งก็ไม่ต้องใช้แว่นหรือคอนแทค แต่จะไม่ได้ sharp vision ดังนั้น จึงไม่ค่อยเหมาะกับบุคลากรที่ต้องการสมบัตินี้ เช่น ศัลยแพทย์ทางหลอดเลือด(vascular surgeon), จักษุแพทย์(ophthalmic surgeon) เป็นต้นครับ

 

เกี่ยวกับเรื่อง LASIK มีเสริมหน่อยครับ 

1. กรณีสายตาสั้นน้อยกว่า 300 ควรใช้อุปกรณ์ภายนอก เช่น แว่นตา หรือคอนแทคเลนส์ครับ
2. กรณีที่สายตาสั้นมากกว่า 800 หรือพวกที่สั้นเป็นพันๆขึ้นไป การใช้ LASIK อาจช่วยบ้างในแง่ที่
-ลดความหนาของเลนส์แว่นตาที่คุณต้องใช้ลงได้ (ได้เยอะ)
-อาจใช้ร่วมกับการผ่าตัดเปลี่ยนใช้เลนส์เทียม (ผ่าตัดเอาเลนส์ธรรมชาติในลูกตาออกเอาเลนส์เทียมที่มีกำลังหักเหแสงเหมาะสมมาใส่แทน)  อันนี้ใช้กรณีที่สายตาสั้นมากๆ ว่ากันเป็นพัน

 

แถมหน่อยครับ 

กรณี presbyopia คือสายตาของคนมีอายุ (คือ เมื่ออายุมากขึ้น เลนส์ปกติที่เคยปรับตัวเองเพื่อโฟกัสภาพที่อยู่ใกล้ได้ชัดเจน ในตอนหนุ่มสาวจะหมดสภาพลง  ทำให้ไม่สามารถโฟกัสภาพที่อยู่ใกล้ได้ชัดเจน ป็นเหตุผลที่คนแก่จำนวนมากจ้องใช้แว่น อ่านหนังสือครับ) LASIK จะแก้ไขตรงนี้ไม่ได้ครับ

     ความคืบหน้าของกรณี presbyopia นี้ กำลังมีการวิจัยหลายๆแห่ง เช่นในบราซิล หรือที่รามาของไทยเราเอง 
โดยทำ Scleral expansion  หรือวิธีอื่นๆ อันนี้คงใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะทำกันเป็นที่แพร่หลายครับ 

 

แถม (ไม่ยอมจบง่ายๆ อิอิ…)

การใช้วิธีใดใดที่ช่วยให้มองเห็นชัดในคนสายตาผิดปกติ   วิธีที่ปลอดภัยที่สุดคือการใช้แว่นตาครับ…..

ส่วนการใช้ contact lens (CL) นั้นจะมีโอกาสเสี่ยง โดยเฉพาะถ้าใช้ไม่ถูกวิธี เช่น ใส่ค้างคืน – บางทีอาจไม่เป็นอะไร แต่บางทีถ้าคุณโชคร้ายมีการติดเชื้อที่กระจกตาดำ (เชื้อที่พบบ่อยคือ Pseudomonas)

ถ้าแพทย์ทั่วไปพบผู้ป่วยที่ใช้ CL แล้วมี corneal ulcer กรุณาส่งต่อพบจักษุแพทย์ทันทีครับ

    ถ้าช้ามีโอกาสเกิดโศกนาฏกรรมทีเดียว เป็นเรื่องเศร้าที่แก้ไขกันยากเอาการ ดังนั้น ทางที่ดีที่สุดในการใช้อุปกรณ์เหล่านี้  คือปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้อย่างเคร่งครัดครับ
thTH