ต้อกระจก

โดย นพ.ณวัฒน์ วัฒนชัย

คือการมัวของตาซึ่งเกิดจากความขุ่นในเนื้อเลนส์ในดวงตา ซึ่งมีหลายสาเหตุให้เกิด เช่น จากอายุที่มากขึ้น, โรคติดเชื้อในครรภ์มารดา, อุบัติเหตุ, การอักเสบทั้งจากการติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ, การรับรังสี, โรคที่เกิดจากการขาดอาหาร, โรคทางพันธุกรรมบางอย่าง, โรคทาง metabolic อีกเยอะ

ต้อกระจก เป็นปัญหาทางสายตาที่มีผลต่อประชาคมโลกมานานครับ WHO ประเมินว่าทั่วโลก หกพันล้าน มีคนตาบอดประมาณ 35-40 ล้าน ซึ่งเป็นผลงานของต้อกระจกและโรคแทรกของมันถึง 45% โดยเฉพาะในแถบประเทศที่ไม่ร่ำรวยนักซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณที่มีแสงแดดจัด (คุ้นๆเหมือนประเทศไทยไหมครับ)

นอกจากนี้ หากเกิดร่วมกับบางโรคอาจทำให้เลนส์ขุ่นขึ้นได้เร็วกว่าปกติ เช่น เบาหวาน เป็นต้น

อาการ

  • ตามัวลง โดยมากจะค่อยๆมัวลงช้าๆทีละน้อย นอกจากกรณีอุบัติเหตุ หรือโรคอื่นๆบางชนิด อาจมัวได้อย่างรวดเร็ว
  • การลดลงของ contrast sensitivity (การแยกความแตกต่างของความมืด-สว่าง) เมื่ออยู่ในที่แสงจ้า หรือการมองดวงไฟในเวลากลางคืน
  • myopic shift คือ การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เป็น ‘สายตาสั้น’ มากขึ้น คือการมองไกลจะ ไม่ค่อยชัด และการมองระยะใกล้จะชัดเจนกว่า พบในต้อกระจกบางชนิด
  • monocular diplopia คือ เห็นภาพซ้อนเหมือนมีวัตถุปกติใดใดมากกว่าหนึ่งอัน ทั้งที่มองด้วยตาข้างเดียว
  • ปวดตา และมีต้อหินแทรก อันนี้อันตรายครับ เพราะจะมัวไปเรื่อยๆ และแก้ไขให้มองเห็นใหม่ ได้ยาก หรือบางครั้ง ไม่ได้เลย

 

การรักษา

การรักษาด้วยยา :
ตอนนี้มียาหยอดที่ใช้หลายยี่ห้อครับ โดยมากจะเคลมว่า สามารถทำให้เลนส์ ที่ขุ่นใสขึ้นได้ หรืออย่างน้อยก็ทำให้การขุ่นที่ค่อยๆมากขึ้นนั้น ขุ่นช้าลงกว่าเดิมครับ เท่าที่ลองๆ ใช้กันดู ปรากฏว่ายาบางตัวก็ได้ผลจริงอย่างที่เค้าโฆษณา คือ ในผู้ป่วยบางคนมองเห็นได้ชัด ขึ้นจริง  อ่านตัวหนังสือที่มีขนาดเล็กลงได้มากกว่าก่อนใช้ยาแต่ไม่ค่อยได้ผลเท่าไหร่ถ้าเป็นมาก เลนส์ขุ่นมากแล้ว มักใช้ในกรณีที่เริ่มเป็นน้อยๆมากกว่า โดยมักจะต้องหยอดยากัน วันละสามสี่ครั้งเป็นเวลาหลายๆเดือน ผู้ใช้ยาบางท่านเข้าใจผิดว่า หยอดแค่สองสามอาทิตย์แล้ว จะเห็นชัดดีเลย เหมือนกับการกินยา แก้หวัด หรือโรคปวดหัว ตัวร้อนทั่วไป ซึ่งก็คงต้องอธิบายกัน ตรงนี้ว่า ยานี้เห็นผลช้ามากครับ และในบางคน ถึงหยอดไปก็ไม่ได้ช่วยให้เห็นชัดขึ้นเลยเมื่อพูดคำว่า ‘ตาบอดสี’ หลายท่านคงเข้าใจว่า คนที่เป็นไม่สามารถรับรู้สีอะไรได้เลย เหมือนกับดูโลกในบรรยากาศของ Casablanca, Saving private Ryan หรือ Schindler’s list อยู่ตลอดเวลา (ภาพขาวดำไม่มี subtitle) แต่จริงๆแล้วมักไม่เป็นอย่างนั้นครับ คนที่บอดสีจนมองเห็นโลกเป็นภาพขาว-เทา-ดำนั้นพบได้น้อยมาก และมักมีปัญหาสายตาบกพร่องอื่นๆร่วมด้วย คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคตาบอดสีมักจะรับรู้สีได้ แต่แยกแยะสีที่มีความคล้ายกันได้น้อยลง เช่น คนที่ตาบอดสีแดง-เขียว จะแยกสีชมพูกับเหลืองได้ยาก แต่เมื่อเห็นสีแดง หรือสีเขียวก็สามารถแยกแยะกันได้ทันที, คนที่ตาบอดสีน้ำเงิน-เหลือง จะแยกสีน้ำเงินเข้มกับสีเขียวได้ยากกว่าปกติ แต่ไม่มีปัญหาเมื่อวางสีเขียวเทียบกับสีแดง เป็นต้นครับ ดังนั้น ในคนที่เป็นตาบอดสีแทบทั้งหมด จะไม่มีปัญหาในการแยกแยะสัญญาณจราจร และมักไม่มีปัญหาในการประกอบอาชีพทั่วไป หรือมีปัญหาบ้างก็น้อยมาก ไม่ถึงกับทำงานอะไรไม่ได้เลย

การรักษาด้วยการผ่าตัด :

1. Couching
เป็นวิธีโบราณที่ไม่มีใครทำกันแล้ว (อินเดียทำกันมาหลายร้อยปี) จะใช้วิธีเอาเข็มจิ้ม เข้าไปในตาผ่านบริเวณตาขาวเพื่อเขี่ยให้เลนส์ที่ขุ่นหลุดร่วงจาก ตำแหน่งเดิมลงไปใน ช่องลูกตาด้านหลัง ซึ่งคนไข้จะเห็นชัดขึ้นไม่มากนัก และต้องใช้แว่นที่มีเลนส์อันเท่า ขนมครก เพื่อรวมแสงให้ได้โฟกัสแทนเลนส์ที่หลุดออกไป วิธีนี้มีโรคแทรกซ้อนได้เยอะแยะ ปัจจุบันวิธีนี้ยังพบได้ตามบ้านนอกบ้างเหมือนกัน (โดยแพทย์ไม่มีปริญญาใดใด – เท่าที่ผมเจอ บางรายคิดค่าทำแพงกว่าแพทย์แผน ปัจจุบันในโรงพยาบาลรัฐซะอีก แต่สุดท้าย ก็ต้องมาโรงพยาบาลเพื่อแก้โรคแทรกซ้อน กันจนได้ครับ)

2. Intracapsular cataract extraction with/without intraocular lens implantation
อันนี้นิยมกันในแพทย์แผนปัจจุบันเมื่อกว่าสิบปีก่อน คือการผ่าตัดเข้าไปในลูกตา และดึงเอาเลนส์ออกมาทั้งอัน แล้วค่อยใส่เลนส์เทียมเข้าไปแทน หรือไม่ใส่ก็ได้ แล้วเย็บปิดแผล ซึ่งจะลดโรคแทรกซ้อนอันเกิดจากเลนส์ที่คงค้างอยู่ในกรรมวิธี couching ไปได้ แต่ก็ยังมีผลข้างเคียงเยอะอยู่ ปัจจุบันแทบไม่มีใครทำ ยกเว้นในผู้ป่วยบางรายเช่น ผู้ป่วยที่เยื่อยึดเลนส์หย่อน หรือฉีกขาด หรือผู้ได้รับอุบัติเหตุกระทบกระแทกที่ตาอย่างรุนแรงเท่านั้น ดังภาพด้านล่าง

3. Extracapsular cataract extraction with/without intraocular lens implantation
นิยมกันในปัจจุบัน เป็นการผ่าตัดเข้าไปในลูกตา เจาะถุงหุ้มเลนส์เอาเลนส์ที่ขุ่นออกทั้งอัน โดยเหลือถุงหุ้มเลนส์เอาไว้ และใส่เลนส์เทียมเข้าไปในถุงหุ้มเลนส์นั้น แล้วจึงเย็บปิดแผล ซึ่งจะปลอดภัยในระหว่างการผ่าตัดมากกว่า และมีโรคแทรกซ้อนในภายหลังน้อยกว่ามาก ปัจจุบันนิยมทำวิธีนี้ ในรายที่เลนส์แข็งๆขุ่นๆครับ แต่แนวโน้มก็ลดลงเรื่อยๆแล้ว

4. Phacoemulsification and aspiration with/without intraocular lens implantation
วิธีนี้กำลังนิยมมากขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบัน เป็นการผ่าตัดด้วยแผลขนาดเล็กกว่าวิธีที่ 2.2, 2.3 แผลที่ผ่าตัดเข้าในตาอาจมีขนาดไม่ถึงครึ่งเซ็นต์ และจะเจาะถุงหุ้มเลนส์ด้านหน้า แล้วใช้เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูงเป็นตัวสลายเนื้อเลนส์ให้เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วค่อยดูดออกมาในภายหลัง (วิธีอื่นๆ เป็นการผ่าตัดเอาเลนส์ออกมาเป็นชิ้นใหญ่ ชิ้นเดียว ขนาดของแผลจึงกว้างกว่าวิธีนี้มาก) จากนั้นจึงใส่เลนส์เทียม และอาจจะ เย็บปิดแผลหรือไม่เย็บก็ได้ ขึ้นอยู่กับขนาดของแผล วิธีนี้ปลอดภัยมากขึ้นไปอีก และกำลังนิยมกันมากขึ้นเรื่อยๆครับ ปัจจุบันทำกันอย่างแพร่หลายตามโรงพยาบาลศูนย์ และโรคพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีเครื่องมือ (โรงพยาบาลขนาดเล็ก รวมถึงโรงพยาบาล ประจำจังหวัดหลายๆแห่งยังไม่มีเครื่องมือนี้ใช้ แต่ในจังหวัดใหญ่ๆ เช่นกรุงเทพ คงมีเป็นสิบๆ)

5. วิธีอื่นๆ
อาจช่วยการมองเห็นด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การใช้แว่นสายตา เพื่อแก้ไขภาวะสายตาสั้น /ยาว/เอียง โดยไม่แก้ไขที่เรื่องต้อกระจกโดยตรง เพราะการมองไม่ชัดของคนเราแต่ละคน อาจมาจากหลายปัจจัยร่วมกัน เช่น มีต้อกระจกร่วมกับสายตาสั้น เป็นต้น ถ้ายังไม่ต้องการผ่า หรือผ่าไม่ได้ด้วยสาเหตุหรือภาวะใดใด แต่ต้องการมองเห็นชัดขึ้น ก็อาจใช้แว่นแก้ในส่วนของสายตาสั้นไปก่อน แล้วเรื่องต้อกระจกค่อยว่ากันวันหลัง ซึ่งในระยะยาว เมื่อต้อกระจกขุ่นมัวมากขึ้น ก็ต้องมารักษากันที่โรคต้อกระจกอยู่ดี

เลนส์เทียม (ภาพ IOL) : เป็นอุปกรณ์สังเคราะห์ที่ทำขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อทำงานแทนเลนส์ธรรมชาติในดวงตาของเราที่ขุ่นมัวและต้องถูกเอาออกไป โดยจะทำหน้าที่รวมแสงให้ได้โฟกัสภาพสู่จอประสาทตาปัจจุบัน มีเลนส์หลายสิบ ชนิดวางขายในท้องตลาด แต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติเฉพาะตัว ซึ่งการเลือกใช้ชนิดใดนั้น ขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วย และการพิจารณาของแพทย์ที่วางแผนการรักษาให้ครับ

แนวโน้มในอนาคต

  • กำลังหวังกันว่าจะมียาหยอด หรือยากินที่ทำให้เลนส์ที่ขุ่น ใสขึ้นมาได้เองในคนไข้ทุกคน โดยไม่ต้องผ่าตัดครับ แต่คงอีกไกล(มากๆ)

มีการใช้วิธีอื่นๆ โดยมากอยู่ในระหว่างการศึกษา เช่น การใช้เลเซอร์เป็นตัวสลายเนื้อเลนส์ที่ขุ่น เป็นต้อกระจก แล้วค่อยดูดเอาเนื้อเลนส์ที่ถูกสลายแล้วออกมาอีกที

thTH