แนวปฏิบัติสำหรับแพทย์ประจำบ้านประจำคลินิกตาเข

แนวปฏิบัติสำหรับแพทย์ประจำบ้านประจำคลินิกตาเข
https://w1.med.cmu.ac.th/ophthalmology/files/2023/06/Guideline_Stabismus_2564.pdf

• จันทร์เช้า แพทย์ประจำบ้านตรวจวัดมุมเขร่วมกับ orthoptist (resident 2D) ทุกรายที่นัดมา เลือกรายที่มีปัญหา หรือจะเข้าคิวผ่าตัด ไว้ comment ภาคบ่าย โดยเตรียมข้อมูลให้ครบถ้วน ดังนี้
• ทบทวน ประวัติการรักษาใน digicard (Diagnosis, การผ่าตัดที่ผ่านมา, มุมเขเดิม และครั้งล่าสุด, การรักษาครั้งล่าสุด, plan ที่เขียนไว้ครั้งล่าสุด เป็นต้น)
• อาจทำการบ้านมาก่อนออกตรวจ มีรายชื่อคนไข้นัดอยู่แล้ว
• เขียนบันทึกใน OPD card วันที่มาตรวจนั้น ๆ ซึ่งต้องมีข้อมูลที่สำคัญเช่น ตาเขเข้าทุกวัน/เป็นบางครั้ง ข้างไหน มีคนทักหรือไม่ สวมแว่นตาได้มากน้อยเพียงใด ปิดตาข้างไหน ได้ประมาณวันละกี่ชั่วโมง
• เขียนบันทึกการตรวจตาเข สิ่งที่ต้องมีคือ VA, muscle balance (MB) at distance (D) , at near (N), with correction (ถ้าไม่มีแว่นมา ให้วัดมุม with trial frame)
• -และให้วัดมุม 9 ท่า หากเป็น incomitant strabismus เช่น SO palsy เป็นต้น ตรวจ sensory โดยใช้ Worth four dot เป็นหลัก หากเป็น intermittent strabismus ก็ให้ตรวจ Titmus stereotest ด้วย
• จันทร์บ่าย Resident 2D และ 2B และอาจารย์ ร่วมกันพิจารณาผู้ป่วยที่เข้าคลินิก โดยมีข้อมูลครบถ้วนไม่ต้องไปเปิดดูใน digicard อีก
• รายที่ไม่ผ่าตัด ให้นัดตรวจต่อ โดยลงในสมุดนัดตรวจตาเข (วันจันทร์ สำหรับรายที่มีปัญหา วันอังคาร สำหรับรายที่ไม่มีปัญหา)
• รายที่จะนัดผ่าตัด ให้ลงคิว SMI ถ้า GA วันอังคารสาย D ลงได้วันละ 2 ราย
• ถ้าเป็น LA ลงวันอังคารที่สาย D เป็นห้อง LA (emergency อาจ set วันพฤหัสบดี ห้องresident?)
• journal ตาเข พูดจบภายใน 10 นาที ดูโพยได้ไม่เกิน 10%
• ** เวลาเข้าคลินิกตาเขเช้า ให้ไปถึงตรงเวลา 9.30 น. บ่าย 13.00 น. (ไปถึงก่อนอาจารย์)
• **ถ้าว่างจากคลินิกตาเขแล้ว ไม่ว่าเช้าหรือบ่าย ให้ช่วยตรวจ case OPD

ประภัสสร ผาติกุลศิลา
31 พฤษภาคม 2564

thTH