ภาวะเสียงแหบ (Hoarseness)

               โดย นพ.ฐาปณัฐ อริยานนท์

           เสียงแหบถือเป็นอาการที่พบได้ค่อนข้างบ่อย และเป็นหนึ่งในอาการหลักของผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก นอกจากนี้เสียงยังมีความสำคัญที่ใช้ในการสื่อสาร ทำงานกับผู้อื่นในชีวิตประจำวันเช่นกัน เพราะฉะนั้นภาวะเสียงแหบจึงส่งผลต่อคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมาก และนอกจากนั้นสาเหตุของการเกิดเสียงแหบก็ยังเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการที่จะหาคำตอบด้วยเช่นกัน ีการศึกษาพบว่าในช่วงชีวิตหนึ่งนั้นประชากรทั่วไปประมาณหนึ่งใสามจะเผชิญกับปัญหาเรื่องเสียงแหบ และในกลุ่มนั้นอีกประมาณ 6-7% จำเป็นต้องตรวจเพื่อรับการรักษา/หาสาเหตุเพิ่มเติมi 

หน้าที่ และการทำงานของกล่องเสียง (Laryngeal function) 

โดยปกติแล้วกล่องเสียงอยู่ตำแหน่งด้านหน้าของกระดูกสันหลังส่วนคอตั้งแต่ตำแหน่งที่ 4 ถึง 6 (4th – 6th Cervical vertebrae) ประกอบด้วย กระดูก กระดูกอ่อน กล้ามเนื้อ และเอ็นยึดเกาะกระดูก และกระดูกอ่อนกับกล้ามเนื้อมากมายดังภาพ

  1. กระดูกไฮออยด์ (Hyoid bone) รูปร่างคล้ายเกือกม้าเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อระหว่างโคนลิ้น ไหปลาร้า และกล่องเสียง
  2. กระดูกอ่อนไทรอยด์ (Thyroid cartilage) เป็นกระดูกอ่อนที่ใหญ่ที่สุด ลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมประกบกันทั้ง 2 ข้าง
  3. กระดูอ่อนคริคอยด์ (Cricoid cartilage) เป็นกระดูกอ่อนที่เป็นรูปวงแหวนโดยส่วนด้านล่างจะสูงกว่าด้านหน้าเป็นฐานของกล่องเสียง โดยส่วนล่างจะต่อกับหลอดลม (Trachea)
  4. กระดูกอ่อนอาริทีนอยด์ (Arytenoid cartilage) ตั้งอยู่ส่วนบนด้านหลังของกระดูกอ่อนคริคอยด์ โดยมีเส้นเสียง (Vocal card) มายึดเกาะจากด้านหน้า และไปยึดกับกระดูกอ่อนไทรอยด์
  5. ฝาปิดกล่องเสียง (Epiglottis) ยึดติดกับบริเวณโคนลิ้น โดยมีหน้าป้องกันไม่ให้อาหารไหลลงไปในกล่องเสียง 

สาเหตุของเสียงแหบ (Causes of hoarseness) 

การเปล่งเสียงที่ผิดปกติ (Dysphonia) สามารถเกิดจากหลากหลายสาเหตุ และหลายตำแหน่งในบริเวณทางเดินหายใจ แต่อาการเสียงแหบ (Hoarseness) หลัก ๆ แล้วจะมาจากตำแหน่งของเส้นเสียงเป็นหลัก ซึ่งสาเหตุมีดังนี้

  1. การอักเสบ หรือ ระคายเคือง (Inflammatory/ Irritant) การอักเสบของเส้นเสียง นั่นถือเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด (most common) ในภาวะเสียงแหบโดยเกิดได้ตั้งแต่ การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน (upper respiratory tract infection) การใช้เสียงผิดวิธี (Vocal abuse) ซึ่งสามารถทำให้เสียงเส้นบวม (Vocal cord edema) ได้ นอกจากนั้นผู้ป่วยที่มีอาการเสียงแหบเป็น ๆ หาย ๆ มานาน อาจจะเกิดจากกลุ่มโรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบ (Allergic rhinitis) หรือไซนัสอักเสบ (Sinusitis) ที่พบว่ามีน้ำมูกไหลลงคอทำให้เกิดการระคายเคืองของกล่องเสียงก็จะทำให้เกิดภาวะเสียงแหบได้ และอีกกลุ่มหนึ่งคือ ยา (Medications) การใช้ยาบางกลุ่มอาจส่งผลทำให้เสียงแหบได้เช่นเดียวกัน
  2. รอยโรค หรือ ก้อน/กลุ่มเนื้องอก บริเวณเส้นเสียง (Neoplasia/Vocal fold lesions) สามารถแบ่งได้เป็นรอยโรคที่ไม่อันตราย (benign) โดยกลุ่มนี้สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เสียงที่ผิดวิธี การตะโกน การเกร็งของเส้นเสียง การสูบุหรี่ ภาวะกรดไหลย้อนที่กระทบต่อกล่องเสียง หรือไอเรื้อรัง ซึ่งสามารถทำให้เกิดรอยโรคเกิดขึ้นบริเวณเส้นเสียงได้ เช่น เส้นเสียงบวมน้ำ (Reinke’s edema), Vocal polyp (ถุงน้ำที่เส้นเสียงตุ่มที่เส้นเสียง (Vocal nodules) หรือ ติ่งเนื้ออักเสบ (Vocal granuloma) กลุ่มโรคต่อไปที่พบได้คือ หูดบริเวณกล่องเสียง (Laryngeal papillomatosis) ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อ Human papilloma virus (HPV) ทำให้เซลล์เยื่อบุผิวบริเวณกล่องเสียงมีการเปลี่ยนรูปกลายเป็นก้อนขึ้นมา ส่วนรอยโรคที่เป็นอันตราย (malignant) เกือบทั้งหมดจะพบในกลุ่มที่มีประวัติ ดื่มสุรา สูบบุหรี่ เป็นเวลานาน และมีประวัติเสียงแหบที่เป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ และมักจะพบอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยเช่น กลืนเจ็บ กลืนติด/ลำบาก ไอเป็นเลือด น้ำหนักลด 

มะเร็งกล่องเสียง (laryngeal cancer)

ตุ่มที่เส้นเสียง (Vocal nodules)

Function

               4. ความผิดปกติของกล้ามเนื้อ และระบบประสาท หรือที่เกี่ยวข้องกับทาง จิตเวช (Neuromuscular / Psychiatric)  ในกลุ่มนี้ความผิดปกติที่พบบ่อยคือ เส้นเสียงอัมพาต (vocal cord paralysis) ซึ่งมักจะเกิดจากการผ่าตัด (iatrogenic) เนื้องอกกดเส้นประสาท (tumor invasion/ compression) หรือไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic) นอกจากเหนือจากเส้นเสียงอัมพาตแล้ว ภาวะเสียงแหบในกลุ่มนี้ยังรวมไปถึงโรคทางสมองที่เกี่ยวกับการควบคุมเส้นประสาทที่มาเลี้ยงเส้นเสียงด้วยเช่นกัน เช่น โรคพาร์กินสัน (parkinson-disease) โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง MG (Myasthenia gravis) หรือนอกจานี้ยังมีโรคอื่น ๆ ที่เกิดได้อีกเช่น โรคเส้นเสียงตึง (Spasmodic dysphonia) ซึ่งปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด และกลุ่มที่เสียงผิดปกติจากการตึงตัวของกล้ามเนื้อ (Muscular tension dysphonia) ซึ่งมักจะตรวจร่างกายพบว่าเส้นเสียงรูปร่าง และการทำงานนั้นปกติดี

               5. เสียงแหบที่พบร่วมกับโรคร่วมกับระบบอื่น ๆ ของร่างกาย (associated with systemic disease) ในกลุ่มนี้มักพบได้ไม่บ่อยโดยส่วนมากจะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง (Autoimmune diesease) เช่น โรคเอสแอลอี (SLE) ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid) เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้มีส่วนทำให้ข้อต่อในการขยับของเส้นเสียงมีความผิดปกติไป 

 

วิธีการดูแล รักษา (Management and Treatment) 

โดยทั่วไปนั้นการพัก/งดการใช้เสียง และการดื่มน้ำให้ร่างกายปราศจากภาวะขาดน้ำ (dehydration) เป็นการรักษาแรกเนื่องจากสาเหตุโดยส่วนใหญ่นั้นพบว่าเกิดจากการอักเสบ/ระคายเคืองของเส้นเสียง ส่วนในกลุ่มผู้ป่วยที่พบว่ามีปัญหาเสียงแหบไม่หายเป็นเวลานานอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินรับการส่องกล้องดูเส้นเสียง (laryngoscopy) เพราะดังที่กล่าวไปข้างต้นแล้วว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดเสียงแหบพบว่ามีมากมาย และการรักษาในแต่ละโรคมีการใช้ยารักษารวมไปถึงวิธีการปฏิบัติตัวที่แตกต่างกัน 

References

  1. Roy N, et al. Voice disorders in the general population:  prevalence, risk factors, and occupational impact.  Laryngoscope. 2005; 115(11): 1988-199 
  2. House SA, Fisher EL. Hoarseness in AdultsAm Fam Physician. 2017 Dec 1;96(11):720-728.
  3. Adapted with permission from Feierabend RH, Malik SN. Hoarseness in adults. Am Fam Physician. 2009;80(4):365.