หุ่นจำลองหูชั้นในเชียงใหม่ (Chiang Mai inner ear model – I)

         โรคหินปูนหูชั้นในหลุด หรือ โรคนิ่วในหูชั้นใน (benign paroxysmal positional vertigo, BPPV) เป็นโรคที่พบได้บ่อยผู้ป่วยที่มาด้วยอาการเวียนศีรษะหมุน การจัดหินปูนถือเป็นการรักษาหลักของโรคนี้ อย่างไรก็ตามลักษณะทางกายวิภาคของหูชั้นในมีความซับซ้อน ทำให้ยากต่อการอธิบายให้เข้าใจในลักษณะของตัวโรคและการรักษาด้วยการจัดหินปูน

 

         ในปี พ.ศ. 2545 ทางภาควิชาฯ โดย รศ.พญ.นิรมล นาวาเจริญ ร่วมกับงานโสตทัศนศึกษา ได้ทำการประดิษฐ์ชุดหุ่นจำลองหูชั้นในขึ้น เพื่อใช้ประกอบการอธิบายผู้ป่วยและญาติให้เข้าใจถึงตัวโรคและในการรักษา รวมถึงยังเป็นใช้ในการสอนนักศึกษาแพทย์ให้เข้าใจการดำเนินโรคที่สัมพันธ์กับกายวิภาคของหูชั้นในและสามารถฝึกทักษะก่อนรักษาจริงได้ โดยตัวหุ่นจำลองฯ ทำมาจากหมวกนิรภัยที่มีหุ่นหูชั้นในติดตั้งอยู่ในระดับเดียวกับหูทั้ง 2 ข้าง ภายในบรรจุลูกปัดที่ใช้เป็นตัวแทนของหินปูนหรือก้อนนิ่วในหูชั้นใน ที่เคลื่อนไปมาตามการเคลื่อนไหวของศีรษะ วัสดุที่ใช้สำหรับผลิตหุ่นจำลองฯ เป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในประเทศไทย มีราคาต้นทุนเฉลี่ยประมาณ 600 บาท ซึ่งถือว่ามีราคาถูกกว่าหุ่นจำลองหูชั้นในที่ประดิษฐ์โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหูชาวอังกฤษก่อนหน้านี้ในปี พ.ศ. 2544 หลายเท่า

  รายละเอียดของหุ่นจำลองหูชั้นในเชียงใหม่ (Chiang Mai inner ear model-I) ที่ได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ ที่ 4 มกราคม พ.ศ.2551

Picture3
Picture2
Picture4

ภาพแสดงหุ่นจำลองหูชั้นในเชียงใหม่ (Chiang Mai inner ear model – I) ขณะสวมใส่จริงบนศีรษะ