รศ.พญ. สุรีย์  สิมารักษ์

ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พ.ศ. 2512 – 2536

Suree Simarak

รศ.พญ.สุรีย์ สิมารักษ์

วัน/เดือน/ปีเกิด : มีนาคม 2475

สถานที่เกิด : จ.กรุงเทพมหานคร

การศึกษา :

  • พ.ศ. 2581-2492 – รร.อัสสัมชัญคอนแวนต์ – มัธยมศึกษา ปีที่ 6
  • พ.ศ. 2493-2494 – รร. เตรียมอุดมศึกษา – มัธยมศึกษา ปีที่ 7-8
  • พ.ศ. 2495-2496 – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – วิทยาศาสตร์การแพทย์ 2 ปี
  • พ.ศ. 2497-2501 – คณะแพทยศาสตร์ รพ.จุฬาฯ – ปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต
  • พ.ศ. 2506 – Post graduate in OB & GYN จาก pennsylvania University Phillaeletplia U.S.A. (Cert in Basic Seiure and OB & GYN)
  • พ.ศ. 2511 – University of Chicago, Illinois (Certificate American Board of OB & GYN)
  • พ.ศ. 2514-2515 – Vanderbilt University Tennessee, USA. (Certificate in Cytology)

เกษียณอายุราชการ (ปี พ.ศ.) 30 กันยายน 2536

ประวัติการทำงานในภาควิชาฯ :

  • พ.ศ.2501 – Rotating internships in Chulalonkor Hospital Med School
  • พ.ศ.2502 – Resident in OB-GYN Dept of Chulalonkor Hospital School
  • พ.ศ.2503 – อาจารย์ประจำ แผนกสูติศาสตร์-นรีเวชฯ คณะแพทยศาสตร์
  • พ.ศ.2506 – Post graduate in OB-GYN Pennsylvania pensively (Philadelphia U.S.A.)
  • พ.ศ.2510 – Complete Rerisleney Training in OB-GYN com Lying In Hospital Chicago University U.S.A.
  • พ.ศ.2511 – Certificate American Board of OB-GYN
  • พ.ศ. 2514 – ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชฯ
  • พ.ศ.2515 – Vanderbilt University, Tennessee-Certificate in Cytology
  • พ.ศ. 2530 – รองศาสตราจารย์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชฯ
  • – หัวหน้าหน่วย Perinato
  • พ.ศ. 2536→ – อาจารย์พิเศษ ประจำภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

  • พ.ศ. 2508 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)
  • พ.ศ. 2511 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)
  • พ.ศ. 2514 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
  • พ.ศ. 2518 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
  • พ.ศ. 2521 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
  • พ.ศ. 2525 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
  • พ.ศ. 2528 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
  • พ.ศ. 2531 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)

ผลงานที่สำคัญ

  1. คณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัครขอรับทุนอุดหนุนการศึกษา จากกองทุนพัฒนาคณะแพทยศาสตร์ ส่วนศึกษาต่อต่างประเทศ (พ.ศ.2526- 2528)
  2. คณะกรรมการดำเนินงานโครงการโรคมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  3. คณะกรรมการส่งเสริมการสงเคราะห์เด็กปัญญาอ่อน คณะแพทยศาสตร์
  4. คณะอนุกรรมการพิจารณาการปฏิบัติงานห้องผ่าตัดผู้ป่วยโรคเอดส์

ข้อความที่ควรบันทึกในประวัติของภาควิชาฯ 

ดีใจมากที่ได้มาเป็นอาจารย์รุ่นบุกเบิกคณะแพทย์เชียงใหม่ (ไม่ได้ใช้คำว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพราะตอนนั้นยังขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยแพทย์) ได้มีโอกาสได้มาช่วยเหลือคนยากคนจน คนด้อยโอกาส ในสมัยเริ่มแรกนั้นทุกคนที่มาสนิทสนมกลมเกลียว และช่วยเหลือเกื้อกูลกันเป็นอย่างดี ยากที่จะลืมวันเก่า ๆ นั้นได้ ซึ่งจะแตกต่างกันจากตอนนี้มาก ขอให้รักกันไว้และช่วยเหลือกันให้มาก

สิ่งที่ดีใจที่มีโอกาสได้ทำ คือ ตอนที่ได้โอกาสจาก อาจารย์ศุภร ซึ่งเปรียบเสมือนพี่สาว ซึ่งคอยช่วยเหลือให้กำลังใจและให้โอกาสในการทำงานอย่างที่อยากจะทำ เพราะก่อนนั้นการดูแลผู้ป่วยของเรายังไม่ดีที่ควร โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มเรื่อง OB ทั้งหลาย อัตราการตายของมารดาจากการตกเลือดยังมีมาก และจากครรภ์เป็นพิษยังมีมาก เพราะการรักษายังไม่มีระบบนัก อาจารย์ศุภรให้โอกาสทำงานนี้ จึงได้รับหน้าที่ดูแลคลินิกหญิงมีครรภ์ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงขั้น High Risk Clinic ร่วมกับอาจารย์ท่านอื่น ๆ และ Resident ด้วย ซึ่งทำให้ผลการดูแลรักษาของเราดีขึ้น และต้องขอขอบคุณ อาจารย์กำจัด ที่ให้การสนับสนุนต่อมาในสมัยท่านเป็นหัวหน้าภาควิชาฯ จนกระทั่ง เราสามารถตั้งเป็นหน่วย Maternal-Fetal Medicineได้

ตอนนี้ภาควิชาเราก็สร้างมาได้มาก ด้วยน้ำพักน้ำแรงของพวกน้อง ๆ ลูก ๆ ทุกคน ขอให้ดูแลภาควิชาให้เจริญก้าวหน้าต่อไป