พฤศจิกายน 9, 2023

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการอบรมหัวข้อ Neuromodulation: A basic approach to TMS วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2566 เวลา 9.00 ถึง 16.00 น ณ ห้องเรียนภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู โดยการสนันสนุนจาก บริษัท GETZ healthcare วิทยากร ได้แก่ Dr. Matthias Kienle วิศวกรผู้เชี่ยวชาญในเครื่อง TMS ผศ.นพ. ปกรณ์ วิวัฒนวงศ์วนา นพ. สุกรีย์ สมานไทย และ รศ.พญ. เบญจลักษณ์ มณีทอน มีผู้ร่วมอบรมได้แก่ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู จิตแพทย์ และแพทย์อายุรกรรมระบบประสาท รวมทั้งบุคลากรสายสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการอบรมหัวข้อ Neuromodulation: A basic approach to TMS วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2566 เวลา 9.00 ถึง 16.00 น ณ ห้องเรียนภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
โดยการสนันสนุนจาก บริษัท GETZ healthcare วิทยากร ได้แก่ Dr. Matthias Kienle วิศวกรผู้เชี่ยวชาญในเครื่อง TMS ผศ.นพ. ปกรณ์ วิวัฒนวงศ์วนา นพ. สุกรีย์ สมานไทย และ รศ.พญ. เบญจลักษณ์ มณีทอน มีผู้ร่วมอบรมได้แก่ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู จิตแพทย์ และแพทย์อายุรกรรมระบบประสาท รวมทั้งบุคลากรสายสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง

Transcranial magnetic stimulation (TMS) เป็นวิธีการบำบัดฟื้นฟูโดยใช้เครื่องมือมากระตุ้นสมองและระบบประสาทด้วยสนามแม่เหล็ก โดยสร้างกระแสไฟฟ้าในสมองผ่านการเหนี่ยวนำตามหลักฟิสิกส์ อาจเรียกว่าเป็นการกระตุ้นสมองแบบไม่ต้องผ่าตัด (non-invasive brain stimulation) องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้อนุญาตให้มีการใช้ transcranial magnetic stimulation (TMS) ในทางการแพทย์เพื่อใช้ในรักษาโรคต่างๆ เช่น โรคไมเกรนชนิดมีออร่า โรคซึมเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ และอาการปวดจาก Fibromyalgia ปัจจุบันได้มีการศึกษาวิจัยและนำมาใช้ในการรักษาในอีกหลายๆ กลุ่มโรค ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมองระยะกึ่งเฉียบพลัน (subacute stroke) การบาดเจ็บของไขสันหลัง (spinal cord injury) กล้ามเนื้อหดเกร็ง (spasticity) เป็นต้น

กลไกการออกฤทธิ์ของเครื่องกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ายังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาวิจัย แต่มีรายงานว่าการกระตุ้นสมองซ้ำๆ ด้วย repetitive pulse transcranial magnetic stimulation (rTMS) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของวงจรกระแสประสาท และปรับเปลี่ยนสารสื่อประสาท

สำหรับกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง พบว่าสมองส่วนที่มีพยาธิสภาพจะทำงานลดลง แต่สมองส่วนปกติจะทำงานมากขึ้น (hyperactive) ดังนั้นจึงมีการนำเครื่องกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามาใช้ในการรักษา เพื่อกระตุ้นให้สมองส่วนที่มีพยาธิสภาพเกิดการทำงานเพิ่มขึ้น และกระตุ้นด้านดีเพื่อช่วยลดการทำการมากเกินไปในการส่งสัญญาณไปควบคุมสมองข้างที่มีพยาธิสภาพ

ปัจจุบันมีการนำเครื่องกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็ก (transcranial magnetic stimulation: TMS) มาใช้ในการฟื้นฟูปัญหาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉพาะด้าน เช่น ภาวะอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนและขา อาการพูดลำบาก อาการกลืนผิดปกติ พบว่ามีความปลอดภัย ผู้ป่วยสามารถทนต่อการรักษาได้และมีประสิทธิภาพสูงเมื่อทำควบคู่กับการทำกายภาพบำบัด