การผ่าตัดรีแพร์หรือซ่อมเสริมผนังช่องคลอดด้านหน้า

การผ่าตัดรีแพร์หรือซ่อมเสริมผนังช่องคลอดด้านหน้า

เรื่องที่คุณผู้หญิงควรรู้เมื่อมีปัญหาช่องคลอดและการขับถ่ายปัสสาวะ

โดย ผศ. ชัยเลิศ พงษ์นริศร

  1. การยื่นย้อยของผนังช่องคลอดด้านหน้าคืออะไร?
  2. การผ่าตัดรีแพร์ผนังช่องคลอดด้านหน้า (กระเพาะปัสสาวะ) คืออะไร?
  3.  เพราะเหตุใดจึงควรทำการผ่าตัดนี้?
  4. การผ่าตัดรีแพร์ผนังช่องคลอดด้านหน้านี้ทำอย่างไร?
  5. ก่อนการผ่าตัดคุณจะประสบกับอะไรบ้าง?
  6. หลังการผ่าตัดคุณจะประสบกับอะไรบ้าง?
  7. การผ่าตัดมีผลสำเร็จเป็นอย่างไร?
  8. มีภาวะแทรกซ้อนอะไรเกิดขึ้นได้บ้าง?
  9. สิ่งที่ควรและไม่ควรทำหลังผ่าตัดคืออะไร?

การยื่นย้อยของผนังช่องคลอดด้านหน้าคืออะไร?

ประมาณ 1 ใน 10 ของสตรีที่เคยคลอดบุตรต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อแก้ไขช่องคลอดหย่อน การยื่นย้อยของผนังช่องคลอดด้านหน้ามักเกิดจากการอ่อนแอของชั้นเนื้อเยื่อ(พังผืด)ที่พยุงและแยกช่องคลอดจากกระเพาะปัสสาวะ การอ่อนแอนี้อาจเป็นสาเหตุของความรู้สึกถ่วงหรือหน่วงลงช่องคลอด หรือการมีก้อนยื่นพ้นปากช่องคลอดออกมา และอาจทำให้เกิดอาการปัสสาวะลำบาก ลำปัสสาวะไหลช้า หรือไหลๆหยุดๆ หรือปัสสาวะบ่อย หรือปวดปัสสาวะรีบ (urgency) ความผิดปกติของผนังช่องคลอดด้านหน้านี้อาจเรียกอีกชื่อว่า กระเพาะปัสสาวะหย่อน (cystocele) รูปที่ 1

รูปที่ 1 แสดงกายวิภาคของอุ้งเชิงกรานในสตรีปกติและในผู้ป่วยที่มีกระเพาะปัสสาวะหย่อน

การผ่าตัดรีแพร์ผนังช่องคลอดด้านหน้าคืออะไร?

ผ่าตัดรีแพร์ผนังช่องคลอดด้านหน้า หรือ anterior colporrhaphy คือ หัตถการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมหรือเสริมความแข็งแรงของชั้นเนื้อเยื่อซึ่งอยู่ระหว่างช่องคลอดและกระเพาะปัสสาวะ เพื่อทำหน้าที่พยุงช่องคลอดไว้

เพราะเหตุใดจึงควรท3การผ่าตัดนี้?

เป้าหมายของการผ่าตัดรีแพร์ผนังช่องคลอดด้านหน้า คือ เพื่อแก้ไขอาการที่มีก้อนยื่นลงมาในช่องคลอด และ/หรือช่องคลอดไม่กระชับ และเพื่อทำให้การท3งานของกระเพาะปัสสาวะดีขึ้น และไม่รบกวนต่อการมีเพศสัมพันธ์

การผ่าตัดรีแพร์ผนังช่องคลอดด้านหน้านี้ท3อย่างไร?

การผ่าตัดนี้สามารถทำได้ภายใต้การให้ยาสลบทั่วไป การให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน หรือการให้ยาชาเฉพาะที่ แพทย์ผู้ดูแลคุณจะอภิปรายถึงวิธีที่เหมาะสมกับคุณ การผ่าตัดรีแพร์ผนังช่องคลอดด้านหน้ามีหลากหลายวิธี ต่อไปนี้จะกล่าวถึงวิธีที่นิยมใช้กันทั่วไป รูปที่ 2 ก, ข, และ ค

  1. กรีดแผลเปิดในแนวกึ่งกลางของผนังช่องคลอดด้านหน้า เริ่มจากปากช่องคลอดขึ้นไปจนเกือบถึงช่องคลอดส่วนยอด
  2. เลาะแยกผิวช่องคลอดออกจากชั้นเนื้อเยื่อ (พังผืด) ที่พยุงอยู่ทางด้านล่าง จากนั้นเย็บซ่อมชั้นเนื้อเยื่อส่วนที่อ่อนแอนี้ด้วยวัสดุเย็บที่ละลายได้ ซึ่งจะถูกดูดซึมหายไปภายในเวลา 4 สัปดาห์ – 5 เดือนขึ้นกับชนิดของวัสดุเย็บที่ใช้
  3. บางครั้งผิวช่องคลอดส่วนเกินที่ยื่นย้อยอาจได้รับการตัดออก แล้วเย็บปิดผิวช่องคลอดด้วยวัสดุเย็บที่ละลายได้ ซึ่งจะถูกดูดซึมหายไปภายในเวลา 4-6 สัปดาห์ โดยไม่ต้องตัดไหมออก
  4. ในบางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้วัสดุเสริมความแข็งแรงในบริเวณที่ผ่าตัดซ่อมเสริม ได้แก่ แผ่นตาข่ายทำจากใยสังเคราะห์ถาวร (ไม่ถูกดูดซึม) หรือชีวภาพ (ถูกดูดซึมได้) ตาข่ายดังกล่าวนี้มักใช้ในรายที่เคยผ่าตัดมาก่อนหรือมีการยื่นย้อยลงมาอย่างมาก
  5. ทำการส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ (cystoscopy) เพื่อตรวจภายในกระเพาะปัสสาวะว่าปกติหรือไม่ และตรวจยืนยันว่าไม่มีการบาดเจ็บของกระเพาะปัสสาวะหรือท่อไตจากการผ่าตัด
  6. หลังผ่าตัดเสร็จ อาจมีการใส่ผ้ากอซในช่องคลอดเพื่อกดห้ามเลือดและลดรอยฟกชํ้าหลังผ่าตัด ร่วมกับใส่สายสวนปัสสาวะคาไว้ ซึ่งทั้งหมดจะถูกถอดออกภายใน 3- 48 ชั่วโมงหลังผ่าตัด
  7. อาจมีการผ่าตัดอื่นที่ทำร่วมกับการผ่าตัดรีแพร์ผนังช่องคลอดด้านหน้าอยู่บ่อยๆ เช่น การผ่าตัดมดลูกทางช่องคลอด การผ่าตัดรีแพร์ผนังช่องคลอดด้านหลัง หรือ การผ่าตัดเพื่อแก้ไขภาวะปัสสาวะเล็ด

รูปที่ 2 ก. การยื่นย้อยของผนังช่องคลอดด้านหน้า ข. การเย็บซ่อมแซมชั้นเนื้อเยื่อพังผืด ค. การเย็บซ่อมแซมผิวช่องคลอด

ก่อนการผ่าตัดคุณจะประสบกับอะไรบ้าง?

คุณจะได้รับการซักประวัติถามถึงสุขภาพทั่วไปและยาที่รับประทานเป็นประจำ รวมทั้งการสืบค้นต่างๆที่จะจ3เป็น ตัวอย่างเช่น การตรวจเลือด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การเอ็กซเรย์ทรวงอก นอกจากนั้น คุณจะได้รับสารสนเทศเกี่ยวกับการรับเข้าโรงพยาบาล การพักในโรงพยาบาล การผ่าตัด การดูแลก่อนและหลังผ่าตัด

หลังการผ่าตัดคุณจะประสบกับอะไรบ้าง?

เมื่อคุณตื่นฟื้นจากยาระงับความรู้สึก คุณจะได้รับการให้สารนํ้าหยดเข้าทางหลอดเลือดด3 และอาจใส่สายสวนปัสสาวะ แพทย์อาจใส่ผ้ากอซไว้ในช่องคลอดเพื่อช่วยกดห้ามเลือดออกในเนื้อเยื่อ ซึ่งทั้งผ้ากอซและสายสวนปัสสาวะจะได้รับการถอดออกภายในเวลา 48 ชั่วโมงหลังผ่าตัด

ในช่วง 4 – 6 สัปดาห์หลังผ่าตัด อาจมีตกขาวเป็นสีขาวอมเหลืองคล้ายครีมได้เป็นปกติ เกิดขึ้นได้เพราะว่ามีวัสดุเย็บแผลในช่องคลอด โดยตกขาวนี้จะมีปริมาณลดลงไปเรื่อยๆและหายไปในที่สุดเมื่อวัสดุเย็บถูกดูดซึมหายไป หากตกขาวของคุณมีกลิ่นเหม็นผิดปกติให้กลับมาพบแพทย์ นอกจากนี้ คุณอาจมีตกขาวปนเลือดเล็กน้อยหลังผ่าตัดทันที หรือเริ่มเกิดขึ้นหลังผ่าตัดประมาณ 1 สัปดาห์ เลือดที่เห็นมักมีลักษณะจางๆและมีสีนํ้าตาลแบบเลือดเก่าๆ ซึ่งเป็นผลจากการสลายตัวของลิ่มเลือดที่ค้างอยู่ใต้ผิวช่องคลอดไหลปนตกขาวออกมาซึ่งจะหยุดได้เอง

การผ่าตัดมีผลส3เร็จเป็นอย่างไร?

กล่าวโดยทั่วไปผลการผ่าตัดมีอัตราส3เร็จอยู่ที่ร้อยละ 70-90 แต่มีโอกาสที่จะกลับมาเป็นซํ้าในอนาคต หรือมีช่องคลอดด้านอื่นยื่นย้อยเกิดขึ้นใหม่ซึ่งคุณอาจจ3เป็นต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขอีกต่อไป

มีภาวะแทรกซ้อนอะไรเกิดขึ้นได้บ้าง?

การผ่าตัดรีแพร์ผนังช่องคลอดด้านหลังนั้นย่อมมีความเสี่ยงเช่นเดียวกับการผ่าตัดทุกชนิดที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้เสมอ ต่อไปนี้คือภาวะแทรกซ้อนทั่วไปที่สามารถเกิดขึ้นตามหลังการผ่าตัดใดๆก็ตาม

  • ปัญหาทางวิสัญญี ซึ่งพบน้อยมากในปัจจุบัน เนื่องจากเครื่องดมยาสลบ ยาที่ใช้ในการระงับความรู้สึกและเครื่องมือที่ใช้เฝ้าสังเกตผู้ป่วยมีความทันสมัยขึ้นกว่าในอดีต
  • เลือดออก ภาวะเลือดออกที่รุนแรงและจ3เป็นต้องได้รับเลือดนั้นพบไม่บ่อย เกิดขึ้นน้อยกว่าร้อยละ 1 ของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดทางช่องคลอด
  • การติดเชื้อหลังผ่าตัด แม้ว่าจะให้ยาปฏิชีวนะก่อนผ่าตัดและพยายามทุกวิถีทางที่จะให้การผ่าตัดปลอดเชื้ออย่างที่สุด แต่มีโอกาสเล็กน้อยที่จะเกิดการติดเชื้อในช่องคลอดและอุ้งเชิงกรานอยู่บ้าง
  • การติดเชื้อของกระเพาะปัสสาวะ (กระเพาะปัสสาวะอักเสบ) เกิดขึ้นประมาณร้อยละ 6 ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดและพบบ่อยยิ่งขึ้นในผู้ป่วยที่ใส่สายสวนปัสสาวะ อาการที่พบได้แก่ อาการปัสสาวะแสบหรือเจ็บเหมือนเข็มต3 ปัสสาวะบ่อยและบางครั้งนํ้าปัสสาวะมีเลือดปนได้ โรคนี้สามารถรักษาให้หายได้ง่ายด้วยยาปฏิชีวนะ

ต่อไปนี้คือภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องเฉพาะกับการผ่าตัดรีแพร์ผนังช่องคลอดด้านหน้า

  • ท้องผูก เป็นปัญหาที่พบบ่อยหลังผ่าตัด และแพทย์อาจสั่งยาระบายเพื่อรักษา พยายามรับประทานอาหารที่มีเส้นใยและดื่มนํ้าปริมาณมากจะช่วยให้อาการดีขึ้น
  • เจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ (dyspareunia) สตรีบางรายอาจมีอาการเจ็บปวดหรือรู้สึกไม่สบายในอุ้งเชิงกรานขณะมีเพศสัมพันธ์หลังผ่าตัด แม้ว่าจะได้พยายามป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นทุกวิถีทางแล้วก็ตาม อย่างไรก็ดี สตรีบางรายพบว่าการร่วมเพศนั้นสะดวกสบายมากขึ้นหลังผ่าตัด
  • การบาดเจ็บต่อกระเพาะปัสสาวะหรือท่อไตขณะผ่าตัด เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อยอย่างยิ่ง
  • อาการปัสสาวะเล็ดราด ภายหลังการผ่าตัดรีแพร์หรือซ่อมเสริมผนังช่องคลอดด้านหน้าที่ยื่นย้อยลงมากๆ อาจท3ให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ดขณะออกแรงขึ้นในผู้ป่วยบางคน เนื่องจากการผ่าตัดนี้ไปแก้ไขการพับงอของท่อปัสสาวะซึ่งต่อออกจากกระเพาะปัสสาวะให้กลับมาตรงเช่นปกติ จึงท3ให้อาการปัสสาวะเล็ดที่ซ่อนเร้นอยู่ปรากฏออกมา อย่างไรก็ดี ภาวะนี้สามารถแก้ไขได้ง่ายๆโดยการผ่าตัดใส่สายคล้องท่อปัสสาวะ (กรุณาอ่านบทความเรื่อง “ภาวะปัสสาวะเล็ดขณะออกแรงในสตรี” หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม)
  • ภาวะแทรกซ้อนจากตาข่าย ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดซ่อมเสริมโดยใช้วัสดุเช่นแผ่นตาข่ายเสริมความแข็งแรง พบว่าร้อยละ 5-10 มีความเสี่ยงของการเกิดตาข่ายโผล่ออกมาในช่องคลอด (mesh exposure) ซึ่งจ3เป็นต้องได้รับการผ่าตัดเลาะออกซึ่งสามารถท3ได้แบบผู้ป่วยนอกหรือท3ภายในห้องผ่าตัด บางกรณีที่พบได้น้อยมากคือผู้ป่วยอาจเกิดความเจ็บปวดจากตาข่ายที่ใส่ไว้จนจ3เป็นต้องผ่าตัดเลาะตาข่ายบางส่วนหรือทั้งหมดออก

เมื่อไรคุณจึงจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติประจำ?

ในช่วงหลังผ่าตัดใหม่ๆ คุณควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมต่างๆที่ส่งผลให้มีแรงกดดันไปยังบริเวณที่ผ่าตัดซ่อมแซม เช่น การยกของหนัก การออกแรงเบ่งมาก การออกก3ลังกายหนัก การไอ ท้องผูก แผลผ่าตัดจะหายดีและมีความแข็งแรงสูงสุดต้องใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ในช่วงดังกล่าวนี้จึงไม่ควรยกของที่มีนํ้าหนักเกิน 10 กิโลกรัมหรือ 25 ปอนด์

โดยทั่วไปแนะน3ให้วางแผนหยุดงานนาน 2-6 สัปดาห์หลังผ่าตัด แพทย์จะเป็นผู้แนะนำเรื่องนี้แก่คุณขึ้นกับประเภทของงานและชนิดของการผ่าตัดที่คุณได้รับ

หลังผ่าตัด 3-4 สัปดาห์ คุณควรจะสามารถขับขี่และท3กิจกรรมเบาๆ เช่น การเดินเป็นระยะทางสั้นๆ ได้เป็นอย่างดี

คุณควรรอเป็นเวลา 5-6 สัปดาห์ ก่อนที่เริ่มมีเพศสัมพันธ์ สตรีบางคนอาจจำเป็นต้องใช้สารหล่อลื่นช่วยขณะมีเพศสัมพันธ์ สารหล่อลื่นนี้สามารถซื้อหาได้ตามร้านขายยาหรือซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป

ผศ. นพ. ชัยเลิศ พงษ์นริศร
หัวหน้าหน่วยนรีเวชทางเดินปัสสาวะและอุ้งเชิงกราน
ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
28 สิงหาคม 2556

ปรับปรุงแก้ไข 7 มีนาคม 2557

เอกสารอ้างอิง International Urogynecological Association (IUGA). Anterior Vaginal Repair (Bladder Repair): A Guide for Women. 2011

Read More

UG Service

การผ่าตัดรักษา
Surgical Treatments


ตัวอย่างของการผ่าตัดที่ให้บริการมีดังต่อไปนี้

  • การผ่าตัดผ่านกล้องส่องช่องท้อง และการใช้หุ่นยนต์ช่วย โดยอนุรักษ์มดลูกเพื่อรักษาภาวะอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อน เช่น การผ่าตัดเย็บแขวนมดลูก (laparoscopic/robotic sacrohysteropexy) การผ่าตัดเย็บแขวนเอ็นยึดมดลูก (laparoscopic/robotic uterosacral uterine suspension) เป็นต้น
  • การผ่าตัดเย็บแขวนช่องคลอดผ่านกล้อง (laparoscopic sacrocolpopexy) หรือผ่านแผลเปิดหน้าท้อง (open sacrocolpopexy)
  • การผ่าตัดใส่สายคล้องท่อปัสสาวะส่วนกลาง (mid-urethral slings) เพื่อรักษาภาวะปัสสาวะเล็ดขณะออกแรง
  • การผ่าตัดแก้ไขอวัยวะในอุ้งเชิงกรานยื่นย้อย โดยทำผ่าตัดผ่านช่องคลอดหรือผ่านแผลเปิดหน้าท้อง เช่น การผ่าตัดมดลูก การรีแพร์หรือซ่อมเสริมช่องคลอด การผ่าตัดเย็บแขวนช่องคลอดกับเอ็นยึดกระดูก (sacrospinous colposuspension) เป็นต้น
  • การผ่าตัดซ่อมเสริมช่องคลอดโดยใช้แผ่นตาข่ายใยสังเคราะห์ (synthetic grafts) เสริมความแข็งแรง ในผู้ป่วยที่มีภาวะยื่นย้อยรุนแรงมากหรือเกิดเป็นซ้ำ
  • การผ่าตัดซ่อมรูรั่วของช่องคลอดและทางเดินปัสสาวะ, รูรั่วของช่องคลอดและไส้ตรง

Diagnostic & Non-surgical Treatments


ตัวอย่างการตรวจ สืบค้นเพื่อวินิจฉัย และการรักษาโดยไม่ผ่าตัดที่ให้บริการมีดังต่อไปนี้

  • ภาวะกระเพาะปัสสาวะยื่นย้อย (cystocele), ไส้เลื่อน (enterocele), ไส้ตรงเลื่อน (rectocele)
  • กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน (overactive bladder) และปัสสาวะเล็ดกลั้นไม่อยู่ (urge urinary incontinence)
  • อุจจาระเล็ด (fecal incontinence)
  • ปัสสาวะเล็ดตลอดเวลา (overflow incontinence)
  • ปัสสาวะเล็ดขณะออกแรง (stress urinary incontinence)
  • มดลูกยื่นย้อย (uterine prolapse)
  • ช่องคลอดยื่นย้อย (vaginal vault prolapse)
  • รูรั่วระหว่างช่องคลอดและไส้ตรง (rectovaginal fistulas)
  • รูรั่วระหว่างช่องคลอดและกระเพาะปัสสาวะ (vesicovaginal fistulas) หรือท่อปัสสาวะ urethrovaginal fistulas)
  • การใช้อุปกรณ์พยุงในช่องคลอด (pessaries)
  • การตรวจวัดปริมาณปัสสาวะตกค้างในกระเพาะปัสสาวะ (bladder scan)
  • การฟื้นฟูสภาพของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (pelvic muscle rehabilitation) โดยวิธี biofeedback
  • การตรวจทางยูโรพลศาสตร์ (urodynamic study) ส่งปรึกษาเพื่อตรวจที่ภาควิชาที่เกี่ยวข้อง
  • การส่องกล้องตรวจในกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ (cystourethroscopy) ส่งปรึกษาเพื่อตรวจที่ภาควิชาที่เกี่ยวข้อง
  • การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (sonography)

ข่าวสาร

urostym

ผู้แทนนายแพทย์วิชัย ชัยชูชนะภัย พร้อมด้วยศิษย์เก่าแพทย์เชียงใหม่ รุ่น ๑๔ บริจาคเครื่อง Urostym จำนวน ๑ เครื่อง มูลค่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งเป็นเครื่องช่วยสอนผู้ป่วยฝึกบริหารกล้ามเนื้อพื้นอุ้งเชิงกราน ให้แก่คลินิกสตรีปัสสาวะเล็ดและอุ้งเชิงกราน ห้องตรวจผู้ป่วยนอกโอพีดี ๕ ชั้น ๕ อาคารศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี รศ.ดร.นพ.วีรวิทย์ ปิยะมงคล หัวหน้าภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับมอบ เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ณ ห้องตรวจผู้ป่วยนอกโอพีดี ๕ ชั้น ๕ อาคารศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Read More

สตรีที่มีอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนหรือยื่นย้อย

สตรีที่มีอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนหรือยื่นย้อย

ชัยเลิศ พงษ์นริศร


  1. อวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนคืออะไร?
  2. สาเหตุของอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนคืออะไร?
  3. อวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนเกิดได้บริเวณใดบ้าง?
  4. อวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนมีความรุนแรงเพียงใด?
  5. อวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนรักษาได้อย่างไร?
  6. .การผ่าตัดทางไหนเหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ?
  7. มีความจำเป็นต้องใช้วัสดุที่เป็นแผ่นตาข่ายเสริมในการผ่าตัดหรือไม่?
  8. .ถ้าหากยังต้องการมีบุตรควรทำอย่างไร?

 อวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนคืออะไร

 การเคลื่อนตํ่าลงมาจากตำแหน่งปกติของผนังช่องคลอด ทำให้อวัยวะในอุ้งเชิงกรานยื่นย้อยลงมา เกิดเป็นก้อนนูนออกในช่องคลอดหรือโผล่พ้นออกมานอกช่องคลอด ปกติอวัยวะในอุ้งเชิงกรานประกอบด้วย มดลูก ช่องคลอด กระเพาะปัสสาวะและลำไส้ รูปที่ 1

รูปที่ 1 แสดงกายวิภาคปกติไม่มีอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อน 

สตรีที่มีอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนอาจมีอาการดังต่อไปนี้:

  • รู้สึกหน่วงในช่องคลอดหรือบริเวณหลังส่วนล่าง
  • รู้สึกว่ามีก้อนภายในหรือภายนอกช่องคลอด
  • อาการเกี่ยวกับระบบขับถ่ายปัสสาวะ เช่น ลำปัสสาวะไหลช้า รู้สึกว่าปัสสาวะไม่สุด ต้องกดบริเวณผนังช่องคลอดเพื่อช่วยในการปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อยๆหรือปวดปัสสาวะอย่างมากจนรอไม่ได้ และปัสสาวะเล็ดเมื่อมีการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง เช่น ขณะออกแรง, วิ่ง, ไอ, จาม เป็นต้น
  • อาการเกี่ยวกับลำไส้ เช่น ขับถ่ายอุจจาระลำบาก รู้สึกว่าถ่ายอุจจาระไม่สุดหรือต้องกดบริเวณผนังช่องคลอดเพื่อช่วยในการถ่ายอุจจาระ
  • รู้สึกไม่สบายขณะร่วมเพศหรือไม่สามารถร่วมเพศได้ เพราะว่ามีก้อนยื่นมาขวาง

สาเหตุของอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนคืออะไร?

อวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อ เอ็น และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ซึ่งยึดเหนี่ยวอวัยวะเหล่านี้ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม มีการอ่อนแอลง สาเหตุหลักคือการที่เส้นประสาท เอ็น และกล้ามเนื้อที่พยุงอวัยวะในอุ้งเชิงกรานถูกทำลาย ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยต่างๆต่อไปนี้

  • การตั้งครรภ์และการคลอดบุตร เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ช่องคลอดและเนื้อเยื่อที่พยุงช่องคลอดอ่อนแอลง พบภาวะนี้ได้หนึ่งในสามของสตรีที่มีบุตรแล้วอย่างน้อย 1 คน อวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนนี้อาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยขณะตั้งครรภ์หรือภายหลังคลอดไม่นาน ไปจนกระทั่งหลายปีผ่านไป อย่างไรก็ตาม มีเพียง 1 ใน 9 ของสตรีที่มีอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดรักษา
  • อายุที่มากขึ้นและการหมดระดู อาจเป็นเหตุให้โครงสร้างที่พยุงอุ้งเชิงกรานอ่อนแอลงได้
  • ภาวะที่มีแรงดันกระทำต่ออุ้งเชิงกรานอย่างมาก เช่น โรคอ้วน ไอเรื้อรัง ท้องผูกเรื้อรัง การยกของหนัก และการออกแรงเบ่งมาก – สตรีบางรายอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนโดยโรคทางพันธุกรรม ที่อาจมีผลต่อความแข็งแรงของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เช่น มาร์แฟนซินโดรม (Marfan syndrome) และโรคหนังยืดผิดปกติ (Ehlers-Danlos syndrome)

อวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนเกิดได้บริเวณใดบ้าง?

อวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนอาจเกิดขึ้นบริเวณผนังช่องคลอดด้านหน้า ผนังช่องคลอดด้านหลัง มดลูกหรือผนังช่องคลอดด้านบน (ส่วนยอดของช่องคลอดภายหลังการผ่าตัดมดลูก) ก็ได้ สตรีจำนวนมากอาจมีการหย่อนของอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหลายๆตำแหน่งพร้อมกัน

1. การหย่อนของผนังช่องคลอดด้านหน้า

เป็นตำแหน่งที่พบการหย่อนของอวัยวะในอุ้งเชิงกรานบ่อยที่สุด จะพบการยื่นนูนของกระเพาะปัสสาวะและ/หรือท่อปัสสาวะลงมาในช่องคลอดได้ แพทย์อาจเรียกลักษณะเช่นนี้ว่า กระเพาะปัสสาวะหย่อนและ/หรือท่อปัสสาวะหย่อน รูปที่ 2

รูปที่ 2 การหย่อนของผนังช่องคลอดด้านหน้า

2. การหย่อนของผนังช่องคลอดด้านหลัง

เป็นภาวะที่มีส่วนปลายของลำไส้ใหญ่ที่เรียกว่าไส้ตรงยื่นนูนออกมาทางผนังช่องคลอดด้านหลัง แพทย์อาจภาวะนี้เรียกว่าไส้ตรงเลื่อน และ/หรือมีส่วนใดส่วนหนึ่งของลำไส้เล็กยื่นนูนออกมาที่บริเวณส่วนบนของผนังช่องคลอดด้านหลัง ซึ่งแพทย์อาจเรียกภาวะนี้ว่าไส้เลื่อน รูปที่ 3

รูปที่ 3 การหย่อนของผนังช่องคลอดด้านหลัง

3. การหย่อนของมดลูกและผนังช่องคลอดส่วนยอด (ด้านบน)

– มดลูกหย่อน เกิดขึ้นเมื่อมดลูกยื่นย้อยหรือเคลื่อนตํ่าลงมาในช่องคลอด พบมากเป็นอันดับสองของอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อน รูปที่ 4 

รูปที่ 4 มดลูกหย่อน

– ช่องคลอดส่วนยอดหย่อนภายหลังการผ่าตัดมดลูก ผนังด้านบนของช่องคลอดอาจหย่อนลงมา (คล้ายการปลิ้นกลับปลายถุงเท้าด้านในออกมา) และเคลื่อนลงมาที่ปากช่องคลอด หรือยื่นย้อยพ้นปากช่องคลอดออกมา รูปที่ 5

รูปที่ 5 ช่องคลอดด้านบนหย่อนในสตรีที่ได้เคยผ่าตัดมดลูก

อวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนมีความรุนแรงเพียงใด?

สตรีจำนวนมากประมาณร้อยละ 40 มีอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนซึ่งมีความรุนแรงต่างๆกัน ตั้งแต่มีอาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีอาการเลย ไปจนกระทั่งมีก้อนยื่นพ้นปากช่องคลอดออกมาตลอดเวลา และมีอาการร่วมต่างๆ แพทย์จะซักประวัติและตรวจภายในอย่างละเอียด เพื่อวินิจฉัยว่าภาวะนี้มีความรุนแรงอยู่ในระยะใด ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้อธิบายข้อมูลเหล่านี้ให้คุณทราบ

อวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนรักษาได้อย่างไร?

ทางเลือกในการรักษาแบ่งออกเป็น 2 วิธีใหญ่ๆ ได้แก่ การรักษาวิธีไม่ต้องผ่าตัดและการรักษาวิธีผ่าตัด

การรักษาเชิงอนุรักษ์หรือวิธีไม่ต้องผ่าตัด ได้แก่

  • สังเกตอาการ:
    อวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนไม่ได้เป็นภาวะที่มีอันตรายร้ายแรงต่อชีวิต สตรีที่ไม่มีอาการหรือไม่มีปัญหาใดๆจากการหย่อนนี้มักเลือกที่จะไม่รับการรักษา อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณได้รับการวินิจฉัยว่ามีอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อน ให้พยายามหลีกเลี่ยงการยกของหนัก การออกแรงเบ่งมากๆ เช่น ท้องผูก และการที่มีนํ้าหนักตัวเพิ่มขึ้นมากเกินไป เพราะปัจจัยเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้อวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนรุนแรงมากยิ่งขึ้น
  • ใช้อุปกรณ์พยุงในช่องคลอด (Pessary):
    เป็นอุปกรณ์ที่ผู้ป่วยใช้สำหรับสอดเข้าไปในช่องคลอดเพื่อพยุงอวัยวะในอุ้งเชิงกราน รูปที่ 5 จึงช่วยบรรเทาอาการที่เป็นอยู่ได้ อุปกรณ์เหล่านี้มีหลากหลายรูปทรงและขนาด ให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ชนิดที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดคือ แบบรูปร่างเป็นวงแหวนเหมือนห่วง บางครั้งจึงเรียกว่า ห่วงพยุงในช่องคลอด การใช้อุปกรณ์พยุงในช่องคลอดเป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงการผ่าตัด หรือชะลอการผ่าตัดออกไป เช่น ในกรณีที่ยังต้องการมีบุตร หรือมีปัญหาสุขภาพที่ไม่อาจผ่าตัดได้เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง ผู้ป่วยที่จะใช้อุปกรณ์พยุงในช่องคลอดต้องได้รับการตรวจวัดและประเมินความรุนแรงของการหย่อน โดยผู้ให้บริการทางการแพทย์ก่อน และอาจต้องมีการทดลองใส่เพื่อหาขนาดและชนิดที่เหมาะสมที่สุดก่อนนำไปใช้จริงที่บ้าน อุปกรณ์พยุงในช่องคลอดบางชนิดเท่านั้นที่ผู้ใช้ยังสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ขณะใส่อยู่ในช่องคลอด ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำในรายละเอียด

 

รูปที่ 5 อุปกรณ์พยุงในช่องคลอดชนิดวงแหวน 

  • การบริหารกล้ามเนื้อพื้นอุ้งเชิงกราน (Kegel exercise)
    การบริหารกล้ามเนื้อพื้นอุ้งเชิงกรานที่อ่อนแอลง อาจช่วยฟื้นฟู หรือป้องกันอวัยวะในอุ้งเชิงกรานที่หย่อนเล็กน้อย ไม่ให้เป็นรุนแรงมากขึ้น การบริหารกล้ามเนื้อพื้นอุ้งเชิงกรานต้องอาศัยเวลา แรงจูงใจและเทคนิคที่ถูกต้อง (กรุณาอ่านบทความเรื่อง “การบริหารกล้ามเนื้อพื้นอุ้งเชิงกรานที่ถูกต้อง ใครว่ายาก?” หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม)

การรักษาวิธีผ่าตัด

สำหรับสตรีที่มีอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนที่มีอาการมาก อาจเลือกรักษาด้วยการผ่าตัด แพทย์จะแนะนำรูปแบบการผ่าตัดที่เหมาะสมกับคุณที่สุด โดยพิจารณาจากปัจจัยหลายประการ ได้แก่ อายุ ประวัติการผ่าตัดที่ผ่านมา ความรุนแรงของการหย่อนของอวัยวะในอุ้งเชิงกราน และสุขภาพโดยรวมของคุณ การผ่าตัดมี 2 ประเภทใหญ่ๆได้แก่ การผ่าตัดซ่อมเสริมและการผ่าตัดเย็บปิดช่องคลอด ดังนี้

การผ่าตัดซ่อมเสริม (reconstructive surgery)

จุดประสงค์ของการผ่าตัดซ่อมเสริมอุ้งเชิงกรานคือ การทำให้อวัยวะในอุ้งเชิงกรานกลับเข้าสู่ตำแหน่งปกติทางกายวิภาค และยังคงมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ วิธีการผ่าตัดซ่อมเสริมสามารถทำได้สองทางดังนี้

  1. การผ่าตัดทางช่องคลอด
  2. การผ่าตัดทางหน้าท้อง ซึ่งทำได้หลายวิธี ได้แก่
    • การผ่าตัดผ่านแผลเปิดหน้าท้อง
    • การผ่าตัดผ่านกล้องฯ (ด้วยการเจาะรูเล็กๆบริเวณหน้าท้อง)
    • การผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์ (เป็นการผ่าตัดผ่านกล้องฯที่แพทย์ควบคุมการผ่าตัดผ่านทางหุ่นยนต์)

การผ่าตัดเย็บปิดช่องคลอด (colpocleisis)

แพทย์อาจแนะนำให้คุณรับการผ่าตัดแบบนี้ หากการหย่อนของอวัยวะในอุ้งเชิงกรานอยู่ในขั้นรุนแรง หรือในกรณีที่คุณไม่ได้มีเพศสัมพันธ์แล้ว และไม่ต้องการมีเพศสัมพันธ์อีกในอนาคต หรือในกรณีที่สุขภาพของคุณไม่เหมาะสมกับวิธีการผ่าตัดซ่อมเสริม วิธีการนี้แพทย์จะเย็บผนังช่องคลอดเข้าหากันเพื่อป้องกันไม่ให้ภาวะอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนกลับเป็นซํ้าอีก ข้อดีของการเย็บปิดช่องคลอด คือใช้เวลาผ่าตัดน้อยและผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว ข้อเสียคือช่องคลอดจะตื้นและไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้อีก อัตราความสำเร็จของการผ่าตัดด้วยวิธีนี้เท่ากับร้อยละ 90-95

การผ่าตัดทางไหนเหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ?

ไม่มีการผ่าตัดทางไหนดีที่สุดสาหรับผู้ป่วยทุกราย การเลือกทางผ่าตัดที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ประวัติการเป็นโรคของคุณ ความเชี่ยวชาญในวิธีผ่าตัดแบบต่างๆและประสบการณ์ของแพทย์ ตลอดจนความต้องการของคุณเอง

แพทย์จะให้คำปรึกษาเกี่ยวกับวิธีการรักษาแบบต่างๆ และแนะนำวิธีการผ่าตัดที่เหมาะสมกับภาวะและความต้องการของคุณ ทั้งนี้ การผ่าตัดจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แม้แต่ในกรณีของสตรีสองรายที่มีอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนลักษณะเดียวกัน ยังอาจต้องการวิธีการรักษาที่แตกต่างกันได้

การผ่าตัดทางช่องคลอด

การผ่าตัดวิธีนี้ทำโดยการกรีดแผลที่ผิวภายในช่องคลอด แล้วเลาะแยกอวัยวะที่หย่อนออกจากผนังช่องคลอด จากนั้นจึงเย็บเนื้อเยื่อที่มีอยู่เดิมและ/หรือใส่วัสดุที่เป็นแผ่นตาข่ายเพื่อเสริมความแข็งแรงและซ่อมแซมช่องคลอด อาจใช้วัสดุเย็บที่ไม่ละลายเย็บส่วนบนของช่องคลอดหรือปากมดลูกเข้ากับเอ็นที่แข็งแรงกว่าในบริเวณอุ้งเชิงกรานเพื่อพยุงมดลูกหรือส่วนยอดของช่องคลอดหลังการผ่าตัดมดลูก เช่น การผ่าตัดเย็บแขวนช่องคลอดกับเอ็นยึดกระดูก (sacrospinous ligament suspension) หรือ การผ่าตัดเย็บแขวนช่องคลอดกับเอ็นยึดมดลูก ( uterosacral ligament suspension)

การผ่าตัดทางแผลเปิดหน้าท้อง

การผ่าตัดวิธีนี้ทำโดยกรีดแผลทางหน้าท้องเข้าไป ตัวอย่างเช่น การผ่าตัดเย็บแขวนช่องคลอดกับกระดูกใต้กระเบนเหน็บ (sacrocolpopexy) รูปที่ 6 ส่วนยอดของช่องคลอดหลังการผ่าตัดมดลูกที่หย่อนจะได้รับการพยุงไว้ โดยการเย็บแขวนด้วยวัสดุเสริมที่เป็นแผ่นตาข่ายไปยึดกับกระดูกสันหลังใต้กระเบนเหน็บ (กรุณาอ่านบทความเรื่อง “การผ่าตัดเย็บแขวนช่องคลอดในสตรีที่มีอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อน ใครว่าเป็นเรื่องไกลตัว? หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม) อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดทางหน้าท้องสามารถทำได้อีกหลายวิธี แพทย์จะอธิบายรายละเอียดเหล่านี้ให้คุณทราบ

รูปที่ 6 การผ่าตัดเย็บแขวนช่องคลอดกับกระดูกใต้กระเบนเหน็บ (sacrocolpopexy)

การผ่าตัดผ่านกล้องและการผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์ช่วย

วิธีการผ่าตัดนี้คล้ายคลึงกับวิธีการผ่าตัดผ่านแผลเปิดหน้าท้องทุกประการ ต่างกันที่ผ่าตัดผ่านแผลเล็กๆบริเวณหน้าท้อง ทำให้ผู้ป่วยเจ็บแผลน้อย ฟื้นตัวได้เร็วกว่า และแผลเป็นจากการผ่าตัดจะมีขนาดเล็กกว่า ในปัจจุบันการผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์ช่วย มีบริการในศูนย์ผ่าตัดใหญ่ๆเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น เช่น คณะแพทยศาสตร์เชียงใหม่ เป็นต้น

มีความจำเป็นต้องใช้วัสดุที่เป็นแผ่นตาข่ายเสริมในการผ่าตัดหรือไม่?

โดยทั่วไปการผ่าตัดซ่อมเสริมไม่จำเป็นต้องใช้วัสดุที่เป็นแผ่นตาข่ายเสริมเสมอไป จะเลือกใช้ในกรณีการผ่าตัดซํ้าและผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นซํ้าสูง วัสดุที่เป็นแผ่นตาข่ายเสริมอาจเป็นแบบละลายได้ทำจากเนื้อเยื่อสัตว์ (ชีวภาพ) ซึ่งจะค่อยๆสลายไปเองเมื่อเวลาผ่านไป หรือเป็นวัสดุสังเคราะห์ที่ไม่สามารถละลายได้ซึ่งจะคงอยู่ในร่างกายตลอดไป วัสดุที่เป็นแผ่นตาข่ายเสริมบางชนิดอาจมีส่วนผสมของวัสดุทั้งที่ละลายได้และ ละลายไม่ได้ คุณควรปรึกษากับแพทย์ถึงข้อดีและข้อเสียของการใช้วัสดุเหล่านี้ก่อน

การผ่าตัดมีโอกาสประสบความสำเร็จเพียงใด?

ประมาณร้อยละ 75 ของสตรีที่ได้รับการผ่าตัดทางช่องคลอด และร้อยละ 90-95 ของสตรีที่ได้รับการผ่าตัดทางหน้าท้อง จะหายจากอาการหย่อนของอวัยวะในอุ้ง เชิงกรานได้เป็นเวลานาน การกลับเป็นซํ้าของอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนนั้น อาจเกิดจากปัจจัยเดิมที่เป็นสาเหตุของอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนในครั้งแรก เช่น ท้องผูกและเนื้อเยื่อที่อ่อนแออยู่เดิม

ถ้าหากยังต้องการมีบุตรควรทำอย่างไร?

ปกติแนะนำให้หลีกเลี่ยงการผ่าตัดเพื่อการรักษาอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อน ไปจนกว่าผู้ป่วยจะมีบุตรเพียงพอแล้ว ในระหว่างนั้นอาจใช้วิธีการรักษาเชิงอนุรักษ์ เช่น การบริหารกล้ามเนื้อพื้นอุ้งเชิงกรานหรือการใช้อุปกรณ์พยุงในช่องคลอดไปก่อน

ผศ. นพ. ชัยเลิศ พงษ์นริศร
หัวหน้าหน่วยนรีเวชทางเดินปัสสาวะและอุ้งเชิงกราน
ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์เชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

แก้ไขปรับปรุง 7 มกราคม 2557

เอกสารอ้างอิง

International Urogynecological Association (IUGA) Pelvic Organ Prolapse: A Guide for Women. 2011.

 

 

 

 

 

 

 

 

Read More

About Urogynecology

Female Pelvic Medicine and Reconstructive Surgery
หน่วยเวชศาสตร์เชิงกรานสตรีและศัลยกรรมซ่อมเสริม
Faculty of Medicine Chiang Mai University, Thailand

รู้จักกับ เวชศาสตร์เชิงกรานสตรีและศัลยกรรมซ่อมเสริม


ตลอดวัยของสตรีจะมีการเปลี่ยนแปลงของการพยุงพื้นอุ้งเชิงกราน (pelvic floor support) อันเนื่องมาจากการปัจจัยต่างๆ อาทิ เช่น การตั้งครรภ์และคลอดบุตร การเพิ่มขึ้นของวัย การออกกำลังกายอย่างหนัก ท้องผูกเรื้อรัง และการขาดฮอร์โมนจากวัยทอง เป็นต้น ภาวะที่มีการอ่อนแอของการพยุงพื้นอุ้งเชิงกรานนี้ เรียกรวมๆว่า การบกพร่องของพื้นอุ้งเชิงกราน ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาต่างๆในผู้ป่วยสตรี ได้แก่ อวัยวะในอุ้งเชิงกรานยื่นย้อย (มดลูกหรือช่องคลอดหย่อน) ขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระผิดปกติ ตลอดจนรบกวนการมีเพศสัมพันธ์ ทำให้ส่งผลลบต่อคุณภาพชีวิตของสตรีจำนวนมาก

คลินิกสตรีปัสสาวะและอุ้งเชิงกราน หน่วยนรีเวชทางเดินปัสสาวะและผ่าตัดซ่อมเสริมอุ้งเชิงกราน ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ได้รับการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการให้บริการทางด้านการวินิจฉัย รักษา และศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบ ในผู้ป่วยสตรีที่มีปัญหาจากความผิดปกติของพื้นอุ้งเชิงกราน เช่น ปัสสาวะเล็ด กลุ่มอาการกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน อวัยวะในอุ้งเชิงกรานยื่นย้อย (มดลูกหรือช่องคลอดหย่อน) อุจจาระเล็ด รูรั่วของช่องคลอดและกระเพาะปัสสาวะหรือไส้ตรง เป็นต้น นอกจากการผ่าตัดทางช่องคลอดและทางแผลเปิดหน้าท้องแล้ว หน่วยนรีเวชทางเดินปัสสาวะและผ่าตัดซ่อมเสริมอุ้งเชิงกราน ยังให้บริการโดยการผ่าตัดที่รุกล้ำน้อย (minimally invasive surgery) ซึ่งมีข้อดีตรงที่แผลเล็ก เจ็บปวดน้อย และระยะพักฟื้นสั้นกว่า เช่น การผ่าตัดผ่านกล้องส่องช่องทัอง (laparoscopy) และใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Robot) ตลอดจนการผ่าตัดแบบอนุรักษ์โดยไม่จำเป็นต้องตัดมดลูกเพื่อรักษาสตรีที่มีอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อน

Urogynecology Team

Medical Staff

Assistant Professor Chailert Phongnarisorn MD. (Head) ผศ.นพ.ชัยเลิศ พงษ์นริศร (หัวหน้าหน่วย)
Sasivimol Srisukho MD. อ.พญ.ศศิวิมล ศรีสุโข

OPD Register Nurse : พยาบาล

Narisa Sribanditmongkol Bsc. คุณนริสา ศรีบัณฑิตมงคล
Nuchanart Suntornlimsiri BN. คุณนุชนาต สุนทรลิ้มศิริ
Sayamon Cotchapanya M.N.S. คุณศยามล คชปัญญา
Sophita Phanchompoo Bsc. คุณโสภิตา ฝั้นชมภู

OPD Practical Nurse : ผู้ช่วยพยาบาล

Chaidao Jinasit : คุณฉายดาว จิณะสิทธิ์
Sunee Inchai : คุณสุนีย์ อินชัย

OPD Nurse Aids

Ubonwan Sangla : คุณอุบลวรรณ แสงหล้า

Contact information


ที่อยู่สำหรับติดต่อ

คลินิกสตรีปัสสาวะเล็ดและอุ้งเชิงกราน
หน่วยนรีเวชทางเดินปัสสาวะและผ่าตัดซ่อมเสริมอุ้งเชิงกราน
ภาควิชาสูติสาศาสตร์และนรีเวชวิทยา
คณะแพทยศาสตร์เชียงใหม่
110 ถนนอินทวโรรส ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง
จังหวัดเชียงใหม่ 50200

โทรศัพท์ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา (053) 945552-4

แฟกซ์ (053) 946112

สถานที่ตั้งคลินิก

ห้องตรวจผู้ป่วยนอกเบอร์ 5 ชั้น 5 อาคารศรีพัฒน์

เวลาที่คลินิกให้บริการ

ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 08.00-12.00 ยกเว้นวันหยุดราชการ
โทรศัพท์ คลินิกสตรีปัสสาวะและอุ้งเชิงกราน (053) 945743

Read More

UG Pt Education

Patient Education
ความรู้สำหรับผู้ป่วยและประชาชนทั่วไป


คลินิกสตรีปัสสาวะและอุ้งเชิงกราน หน่วยนรีเวชทางเดินปัสสาวะและผ่าตัดซ่อมเสริมอุ้งเชิงกราน ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ได้จัดทำสารสนเทศออนไลน์เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป เพื่อให้ผู้ป่วยและประชาชนทั่วไปใช้เป็นแหล่งศึกษาความรู้เบื้องต้น โปรดอย่าใช้สารสนเทศที่มีอยู่ในเว็บไซด์นี้ทดแทนคำแนะนำของแพทย์ผู้ดูแลรักษา เพราะไม่ได้เขียนขึ้นโดยมีเจตนารมณ์ให้ใช้ทดแทนการรักษาทางการแพทย์โดยผู้ประกอบวิขาชีพที่ให้บริการทางสุขภาพ

คลินิกสตรีปัสสาวะและอุ้งเชิงกรานไม่ได้วินิจฉัยความเจ็บป่วยของคุณ และไม่ได้ให้คำแนะนำถึงการรักษาใดๆที่จำเพาะกับสภาวะแวดล้อมของคุณจากสารสนเทศที่มีอยู่ในเว็บไซด์นี้ คุณจึงไม่ควรที่จะเพิกเฉยหรือล่าช้าต่อการไปปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาความเจ็บป่วยของคุณ เพียงเพราะว่าคุณได้อ่านข้อมูลที่อยู่ในเว็บไซด์นี้

บทความความรู้เกี่ยวกับเวชศาสตร์เชิงกรานสตรี

Read More
StatUro

Annual Report (UG)

StatUro

Urogynecologic Statistics

Annual Report : สถิติประจำปี (เวชศาสตร์เชิงกรานสตรีและศัลยกรรมซ่อมเสริม)

2015

2016

2017

2018

2019

2020

Read More