การผ่าตัดรีแพร์หรือซ่อมเสริมผนังช่องคลอดด้านหน้า

เรื่องที่คุณผู้หญิงควรรู้เมื่อมีปัญหาช่องคลอดและการขับถ่ายปัสสาวะ

โดย ผศ. ชัยเลิศ พงษ์นริศร

  1. การยื่นย้อยของผนังช่องคลอดด้านหน้าคืออะไร?
  2. การผ่าตัดรีแพร์ผนังช่องคลอดด้านหน้า (กระเพาะปัสสาวะ) คืออะไร?
  3.  เพราะเหตุใดจึงควรทำการผ่าตัดนี้?
  4. การผ่าตัดรีแพร์ผนังช่องคลอดด้านหน้านี้ทำอย่างไร?
  5. ก่อนการผ่าตัดคุณจะประสบกับอะไรบ้าง?
  6. หลังการผ่าตัดคุณจะประสบกับอะไรบ้าง?
  7. การผ่าตัดมีผลสำเร็จเป็นอย่างไร?
  8. มีภาวะแทรกซ้อนอะไรเกิดขึ้นได้บ้าง?
  9. สิ่งที่ควรและไม่ควรทำหลังผ่าตัดคืออะไร?

การยื่นย้อยของผนังช่องคลอดด้านหน้าคืออะไร?

ประมาณ 1 ใน 10 ของสตรีที่เคยคลอดบุตรต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อแก้ไขช่องคลอดหย่อน การยื่นย้อยของผนังช่องคลอดด้านหน้ามักเกิดจากการอ่อนแอของชั้นเนื้อเยื่อ(พังผืด)ที่พยุงและแยกช่องคลอดจากกระเพาะปัสสาวะ การอ่อนแอนี้อาจเป็นสาเหตุของความรู้สึกถ่วงหรือหน่วงลงช่องคลอด หรือการมีก้อนยื่นพ้นปากช่องคลอดออกมา และอาจทำให้เกิดอาการปัสสาวะลำบาก ลำปัสสาวะไหลช้า หรือไหลๆหยุดๆ หรือปัสสาวะบ่อย หรือปวดปัสสาวะรีบ (urgency) ความผิดปกติของผนังช่องคลอดด้านหน้านี้อาจเรียกอีกชื่อว่า กระเพาะปัสสาวะหย่อน (cystocele) รูปที่ 1

รูปที่ 1 แสดงกายวิภาคของอุ้งเชิงกรานในสตรีปกติและในผู้ป่วยที่มีกระเพาะปัสสาวะหย่อน

การผ่าตัดรีแพร์ผนังช่องคลอดด้านหน้าคืออะไร?

ผ่าตัดรีแพร์ผนังช่องคลอดด้านหน้า หรือ anterior colporrhaphy คือ หัตถการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมหรือเสริมความแข็งแรงของชั้นเนื้อเยื่อซึ่งอยู่ระหว่างช่องคลอดและกระเพาะปัสสาวะ เพื่อทำหน้าที่พยุงช่องคลอดไว้

เพราะเหตุใดจึงควรท3การผ่าตัดนี้?

เป้าหมายของการผ่าตัดรีแพร์ผนังช่องคลอดด้านหน้า คือ เพื่อแก้ไขอาการที่มีก้อนยื่นลงมาในช่องคลอด และ/หรือช่องคลอดไม่กระชับ และเพื่อทำให้การท3งานของกระเพาะปัสสาวะดีขึ้น และไม่รบกวนต่อการมีเพศสัมพันธ์

การผ่าตัดรีแพร์ผนังช่องคลอดด้านหน้านี้ท3อย่างไร?

การผ่าตัดนี้สามารถทำได้ภายใต้การให้ยาสลบทั่วไป การให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน หรือการให้ยาชาเฉพาะที่ แพทย์ผู้ดูแลคุณจะอภิปรายถึงวิธีที่เหมาะสมกับคุณ การผ่าตัดรีแพร์ผนังช่องคลอดด้านหน้ามีหลากหลายวิธี ต่อไปนี้จะกล่าวถึงวิธีที่นิยมใช้กันทั่วไป รูปที่ 2 ก, ข, และ ค

  1. กรีดแผลเปิดในแนวกึ่งกลางของผนังช่องคลอดด้านหน้า เริ่มจากปากช่องคลอดขึ้นไปจนเกือบถึงช่องคลอดส่วนยอด
  2. เลาะแยกผิวช่องคลอดออกจากชั้นเนื้อเยื่อ (พังผืด) ที่พยุงอยู่ทางด้านล่าง จากนั้นเย็บซ่อมชั้นเนื้อเยื่อส่วนที่อ่อนแอนี้ด้วยวัสดุเย็บที่ละลายได้ ซึ่งจะถูกดูดซึมหายไปภายในเวลา 4 สัปดาห์ – 5 เดือนขึ้นกับชนิดของวัสดุเย็บที่ใช้
  3. บางครั้งผิวช่องคลอดส่วนเกินที่ยื่นย้อยอาจได้รับการตัดออก แล้วเย็บปิดผิวช่องคลอดด้วยวัสดุเย็บที่ละลายได้ ซึ่งจะถูกดูดซึมหายไปภายในเวลา 4-6 สัปดาห์ โดยไม่ต้องตัดไหมออก
  4. ในบางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้วัสดุเสริมความแข็งแรงในบริเวณที่ผ่าตัดซ่อมเสริม ได้แก่ แผ่นตาข่ายทำจากใยสังเคราะห์ถาวร (ไม่ถูกดูดซึม) หรือชีวภาพ (ถูกดูดซึมได้) ตาข่ายดังกล่าวนี้มักใช้ในรายที่เคยผ่าตัดมาก่อนหรือมีการยื่นย้อยลงมาอย่างมาก
  5. ทำการส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ (cystoscopy) เพื่อตรวจภายในกระเพาะปัสสาวะว่าปกติหรือไม่ และตรวจยืนยันว่าไม่มีการบาดเจ็บของกระเพาะปัสสาวะหรือท่อไตจากการผ่าตัด
  6. หลังผ่าตัดเสร็จ อาจมีการใส่ผ้ากอซในช่องคลอดเพื่อกดห้ามเลือดและลดรอยฟกชํ้าหลังผ่าตัด ร่วมกับใส่สายสวนปัสสาวะคาไว้ ซึ่งทั้งหมดจะถูกถอดออกภายใน 3- 48 ชั่วโมงหลังผ่าตัด
  7. อาจมีการผ่าตัดอื่นที่ทำร่วมกับการผ่าตัดรีแพร์ผนังช่องคลอดด้านหน้าอยู่บ่อยๆ เช่น การผ่าตัดมดลูกทางช่องคลอด การผ่าตัดรีแพร์ผนังช่องคลอดด้านหลัง หรือ การผ่าตัดเพื่อแก้ไขภาวะปัสสาวะเล็ด

รูปที่ 2 ก. การยื่นย้อยของผนังช่องคลอดด้านหน้า ข. การเย็บซ่อมแซมชั้นเนื้อเยื่อพังผืด ค. การเย็บซ่อมแซมผิวช่องคลอด

ก่อนการผ่าตัดคุณจะประสบกับอะไรบ้าง?

คุณจะได้รับการซักประวัติถามถึงสุขภาพทั่วไปและยาที่รับประทานเป็นประจำ รวมทั้งการสืบค้นต่างๆที่จะจ3เป็น ตัวอย่างเช่น การตรวจเลือด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การเอ็กซเรย์ทรวงอก นอกจากนั้น คุณจะได้รับสารสนเทศเกี่ยวกับการรับเข้าโรงพยาบาล การพักในโรงพยาบาล การผ่าตัด การดูแลก่อนและหลังผ่าตัด

หลังการผ่าตัดคุณจะประสบกับอะไรบ้าง?

เมื่อคุณตื่นฟื้นจากยาระงับความรู้สึก คุณจะได้รับการให้สารนํ้าหยดเข้าทางหลอดเลือดด3 และอาจใส่สายสวนปัสสาวะ แพทย์อาจใส่ผ้ากอซไว้ในช่องคลอดเพื่อช่วยกดห้ามเลือดออกในเนื้อเยื่อ ซึ่งทั้งผ้ากอซและสายสวนปัสสาวะจะได้รับการถอดออกภายในเวลา 48 ชั่วโมงหลังผ่าตัด

ในช่วง 4 – 6 สัปดาห์หลังผ่าตัด อาจมีตกขาวเป็นสีขาวอมเหลืองคล้ายครีมได้เป็นปกติ เกิดขึ้นได้เพราะว่ามีวัสดุเย็บแผลในช่องคลอด โดยตกขาวนี้จะมีปริมาณลดลงไปเรื่อยๆและหายไปในที่สุดเมื่อวัสดุเย็บถูกดูดซึมหายไป หากตกขาวของคุณมีกลิ่นเหม็นผิดปกติให้กลับมาพบแพทย์ นอกจากนี้ คุณอาจมีตกขาวปนเลือดเล็กน้อยหลังผ่าตัดทันที หรือเริ่มเกิดขึ้นหลังผ่าตัดประมาณ 1 สัปดาห์ เลือดที่เห็นมักมีลักษณะจางๆและมีสีนํ้าตาลแบบเลือดเก่าๆ ซึ่งเป็นผลจากการสลายตัวของลิ่มเลือดที่ค้างอยู่ใต้ผิวช่องคลอดไหลปนตกขาวออกมาซึ่งจะหยุดได้เอง

การผ่าตัดมีผลส3เร็จเป็นอย่างไร?

กล่าวโดยทั่วไปผลการผ่าตัดมีอัตราส3เร็จอยู่ที่ร้อยละ 70-90 แต่มีโอกาสที่จะกลับมาเป็นซํ้าในอนาคต หรือมีช่องคลอดด้านอื่นยื่นย้อยเกิดขึ้นใหม่ซึ่งคุณอาจจ3เป็นต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขอีกต่อไป

มีภาวะแทรกซ้อนอะไรเกิดขึ้นได้บ้าง?

การผ่าตัดรีแพร์ผนังช่องคลอดด้านหลังนั้นย่อมมีความเสี่ยงเช่นเดียวกับการผ่าตัดทุกชนิดที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้เสมอ ต่อไปนี้คือภาวะแทรกซ้อนทั่วไปที่สามารถเกิดขึ้นตามหลังการผ่าตัดใดๆก็ตาม

  • ปัญหาทางวิสัญญี ซึ่งพบน้อยมากในปัจจุบัน เนื่องจากเครื่องดมยาสลบ ยาที่ใช้ในการระงับความรู้สึกและเครื่องมือที่ใช้เฝ้าสังเกตผู้ป่วยมีความทันสมัยขึ้นกว่าในอดีต
  • เลือดออก ภาวะเลือดออกที่รุนแรงและจ3เป็นต้องได้รับเลือดนั้นพบไม่บ่อย เกิดขึ้นน้อยกว่าร้อยละ 1 ของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดทางช่องคลอด
  • การติดเชื้อหลังผ่าตัด แม้ว่าจะให้ยาปฏิชีวนะก่อนผ่าตัดและพยายามทุกวิถีทางที่จะให้การผ่าตัดปลอดเชื้ออย่างที่สุด แต่มีโอกาสเล็กน้อยที่จะเกิดการติดเชื้อในช่องคลอดและอุ้งเชิงกรานอยู่บ้าง
  • การติดเชื้อของกระเพาะปัสสาวะ (กระเพาะปัสสาวะอักเสบ) เกิดขึ้นประมาณร้อยละ 6 ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดและพบบ่อยยิ่งขึ้นในผู้ป่วยที่ใส่สายสวนปัสสาวะ อาการที่พบได้แก่ อาการปัสสาวะแสบหรือเจ็บเหมือนเข็มต3 ปัสสาวะบ่อยและบางครั้งนํ้าปัสสาวะมีเลือดปนได้ โรคนี้สามารถรักษาให้หายได้ง่ายด้วยยาปฏิชีวนะ

ต่อไปนี้คือภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องเฉพาะกับการผ่าตัดรีแพร์ผนังช่องคลอดด้านหน้า

  • ท้องผูก เป็นปัญหาที่พบบ่อยหลังผ่าตัด และแพทย์อาจสั่งยาระบายเพื่อรักษา พยายามรับประทานอาหารที่มีเส้นใยและดื่มนํ้าปริมาณมากจะช่วยให้อาการดีขึ้น
  • เจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ (dyspareunia) สตรีบางรายอาจมีอาการเจ็บปวดหรือรู้สึกไม่สบายในอุ้งเชิงกรานขณะมีเพศสัมพันธ์หลังผ่าตัด แม้ว่าจะได้พยายามป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นทุกวิถีทางแล้วก็ตาม อย่างไรก็ดี สตรีบางรายพบว่าการร่วมเพศนั้นสะดวกสบายมากขึ้นหลังผ่าตัด
  • การบาดเจ็บต่อกระเพาะปัสสาวะหรือท่อไตขณะผ่าตัด เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อยอย่างยิ่ง
  • อาการปัสสาวะเล็ดราด ภายหลังการผ่าตัดรีแพร์หรือซ่อมเสริมผนังช่องคลอดด้านหน้าที่ยื่นย้อยลงมากๆ อาจท3ให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ดขณะออกแรงขึ้นในผู้ป่วยบางคน เนื่องจากการผ่าตัดนี้ไปแก้ไขการพับงอของท่อปัสสาวะซึ่งต่อออกจากกระเพาะปัสสาวะให้กลับมาตรงเช่นปกติ จึงท3ให้อาการปัสสาวะเล็ดที่ซ่อนเร้นอยู่ปรากฏออกมา อย่างไรก็ดี ภาวะนี้สามารถแก้ไขได้ง่ายๆโดยการผ่าตัดใส่สายคล้องท่อปัสสาวะ (กรุณาอ่านบทความเรื่อง “ภาวะปัสสาวะเล็ดขณะออกแรงในสตรี” หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม)
  • ภาวะแทรกซ้อนจากตาข่าย ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดซ่อมเสริมโดยใช้วัสดุเช่นแผ่นตาข่ายเสริมความแข็งแรง พบว่าร้อยละ 5-10 มีความเสี่ยงของการเกิดตาข่ายโผล่ออกมาในช่องคลอด (mesh exposure) ซึ่งจ3เป็นต้องได้รับการผ่าตัดเลาะออกซึ่งสามารถท3ได้แบบผู้ป่วยนอกหรือท3ภายในห้องผ่าตัด บางกรณีที่พบได้น้อยมากคือผู้ป่วยอาจเกิดความเจ็บปวดจากตาข่ายที่ใส่ไว้จนจ3เป็นต้องผ่าตัดเลาะตาข่ายบางส่วนหรือทั้งหมดออก

เมื่อไรคุณจึงจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติประจำ?

ในช่วงหลังผ่าตัดใหม่ๆ คุณควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมต่างๆที่ส่งผลให้มีแรงกดดันไปยังบริเวณที่ผ่าตัดซ่อมแซม เช่น การยกของหนัก การออกแรงเบ่งมาก การออกก3ลังกายหนัก การไอ ท้องผูก แผลผ่าตัดจะหายดีและมีความแข็งแรงสูงสุดต้องใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ในช่วงดังกล่าวนี้จึงไม่ควรยกของที่มีนํ้าหนักเกิน 10 กิโลกรัมหรือ 25 ปอนด์

โดยทั่วไปแนะน3ให้วางแผนหยุดงานนาน 2-6 สัปดาห์หลังผ่าตัด แพทย์จะเป็นผู้แนะนำเรื่องนี้แก่คุณขึ้นกับประเภทของงานและชนิดของการผ่าตัดที่คุณได้รับ

หลังผ่าตัด 3-4 สัปดาห์ คุณควรจะสามารถขับขี่และท3กิจกรรมเบาๆ เช่น การเดินเป็นระยะทางสั้นๆ ได้เป็นอย่างดี

คุณควรรอเป็นเวลา 5-6 สัปดาห์ ก่อนที่เริ่มมีเพศสัมพันธ์ สตรีบางคนอาจจำเป็นต้องใช้สารหล่อลื่นช่วยขณะมีเพศสัมพันธ์ สารหล่อลื่นนี้สามารถซื้อหาได้ตามร้านขายยาหรือซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป

ผศ. นพ. ชัยเลิศ พงษ์นริศร
หัวหน้าหน่วยนรีเวชทางเดินปัสสาวะและอุ้งเชิงกราน
ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
28 สิงหาคม 2556

ปรับปรุงแก้ไข 7 มีนาคม 2557

เอกสารอ้างอิง International Urogynecological Association (IUGA). Anterior Vaginal Repair (Bladder Repair): A Guide for Women. 2011