การผ่าตัดรักษา
Surgical Treatments


ตัวอย่างของการผ่าตัดที่ให้บริการมีดังต่อไปนี้

  • การผ่าตัดผ่านกล้องส่องช่องท้อง และการใช้หุ่นยนต์ช่วย โดยอนุรักษ์มดลูกเพื่อรักษาภาวะอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อน เช่น การผ่าตัดเย็บแขวนมดลูก (laparoscopic/robotic sacrohysteropexy) การผ่าตัดเย็บแขวนเอ็นยึดมดลูก (laparoscopic/robotic uterosacral uterine suspension) เป็นต้น
  • การผ่าตัดเย็บแขวนช่องคลอดผ่านกล้อง (laparoscopic sacrocolpopexy) หรือผ่านแผลเปิดหน้าท้อง (open sacrocolpopexy)
  • การผ่าตัดใส่สายคล้องท่อปัสสาวะส่วนกลาง (mid-urethral slings) เพื่อรักษาภาวะปัสสาวะเล็ดขณะออกแรง
  • การผ่าตัดแก้ไขอวัยวะในอุ้งเชิงกรานยื่นย้อย โดยทำผ่าตัดผ่านช่องคลอดหรือผ่านแผลเปิดหน้าท้อง เช่น การผ่าตัดมดลูก การรีแพร์หรือซ่อมเสริมช่องคลอด การผ่าตัดเย็บแขวนช่องคลอดกับเอ็นยึดกระดูก (sacrospinous colposuspension) เป็นต้น
  • การผ่าตัดซ่อมเสริมช่องคลอดโดยใช้แผ่นตาข่ายใยสังเคราะห์ (synthetic grafts) เสริมความแข็งแรง ในผู้ป่วยที่มีภาวะยื่นย้อยรุนแรงมากหรือเกิดเป็นซ้ำ
  • การผ่าตัดซ่อมรูรั่วของช่องคลอดและทางเดินปัสสาวะ, รูรั่วของช่องคลอดและไส้ตรง

Diagnostic & Non-surgical Treatments


ตัวอย่างการตรวจ สืบค้นเพื่อวินิจฉัย และการรักษาโดยไม่ผ่าตัดที่ให้บริการมีดังต่อไปนี้

  • ภาวะกระเพาะปัสสาวะยื่นย้อย (cystocele), ไส้เลื่อน (enterocele), ไส้ตรงเลื่อน (rectocele)
  • กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน (overactive bladder) และปัสสาวะเล็ดกลั้นไม่อยู่ (urge urinary incontinence)
  • อุจจาระเล็ด (fecal incontinence)
  • ปัสสาวะเล็ดตลอดเวลา (overflow incontinence)
  • ปัสสาวะเล็ดขณะออกแรง (stress urinary incontinence)
  • มดลูกยื่นย้อย (uterine prolapse)
  • ช่องคลอดยื่นย้อย (vaginal vault prolapse)
  • รูรั่วระหว่างช่องคลอดและไส้ตรง (rectovaginal fistulas)
  • รูรั่วระหว่างช่องคลอดและกระเพาะปัสสาวะ (vesicovaginal fistulas) หรือท่อปัสสาวะ urethrovaginal fistulas)
  • การใช้อุปกรณ์พยุงในช่องคลอด (pessaries)
  • การตรวจวัดปริมาณปัสสาวะตกค้างในกระเพาะปัสสาวะ (bladder scan)
  • การฟื้นฟูสภาพของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (pelvic muscle rehabilitation) โดยวิธี biofeedback
  • การตรวจทางยูโรพลศาสตร์ (urodynamic study) ส่งปรึกษาเพื่อตรวจที่ภาควิชาที่เกี่ยวข้อง
  • การส่องกล้องตรวจในกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ (cystourethroscopy) ส่งปรึกษาเพื่อตรวจที่ภาควิชาที่เกี่ยวข้อง
  • การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (sonography)

ข่าวสาร

urostym

ผู้แทนนายแพทย์วิชัย ชัยชูชนะภัย พร้อมด้วยศิษย์เก่าแพทย์เชียงใหม่ รุ่น ๑๔ บริจาคเครื่อง Urostym จำนวน ๑ เครื่อง มูลค่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งเป็นเครื่องช่วยสอนผู้ป่วยฝึกบริหารกล้ามเนื้อพื้นอุ้งเชิงกราน ให้แก่คลินิกสตรีปัสสาวะเล็ดและอุ้งเชิงกราน ห้องตรวจผู้ป่วยนอกโอพีดี ๕ ชั้น ๕ อาคารศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี รศ.ดร.นพ.วีรวิทย์ ปิยะมงคล หัวหน้าภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับมอบ เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ณ ห้องตรวจผู้ป่วยนอกโอพีดี ๕ ชั้น ๕ อาคารศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่