Renal Agenesis

Renal Agenesis

บทนำ

ไตฝ่อ (renal agenesis) ทั้งสองข้างพบได้ประมาณ 1:4,000 ของการคลอด ถ่ายทอดแบบ multifactorial มีโอกาสเกิดซ้ำในครรภ์ต่อไปร้อยละ 3 แต่ก็มีบางส่วนที่ถ่ายทอดแบบ autosomal recessive หรือ dominant ประมาณร้อยละ 4-5 มีประวัติในครอบครัว เป็นภาวะที่ไม่อาจมีชีวิตรอดได้ มีความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วยได้บ่อย กล้ามเนื้อและกระดูก หัวใจ ระบบประสาท และทางเดินอาหาร

Potter’s syndrome ประกอบด้วยภาวะไตฝ่อทั้งสองข้าง ร่วมกับปอดไม่เจริญ แขนขาผิดรูปร่าง และมีลักษณะใบหน้าที่เป็นแบบจำเพาะ แขนขาที่ผิดปกติบ่อยคือ รูปร่างผิดปกติ โก่ง บิด ข้อเคลื่อน clubfoot, Potter’s facies หูติดต่ำ ผิวหนังย่น จมูกงุ้ม คางเล็ก มีสันนูนเด่นที่หัวคิ้วทั้งสองข้าง เชื่อว่าน่าจะเป็นผลตามมาจากภาวะน้ำคร่ำน้อยมาก

ภาวะน้ำคร่ำน้อยมากตรวจพบได้ตั้งแต่อายุครรภ์น้อย มีรายงานแม้เพียง 14 สัปดาห์ ถึงแม้ว่าไตสามารถทำงานได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ แต่ก็ทำหน้าที่หลักของการสร้างน้ำคร่ำหลังอายุครรภ์ 14 สัปดาห์ ดังนั้นการพบน้ำคร่ำปกติก่อน 14 สัปดาห์ก็ไม่อาจตัดภาวะไตฝ่อออกไปได้

ส่วนไตฝ่อข้างเดียวพบได้บ่อยกว่าสองข้าง 4-20 เท่า มีปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ ปริมาณน้ำคร่ำปกติ และพยากรณ์โรคดีกว่า

ลักษณะทางคลื่นเสียงความถี่สูง

  • ลักษณะสำคัญทางคลื่นเสียงความถี่สูงของภาวะไตฝ่อทั้งสองข้าง ประกอบด้วย
  • ไม่สามารถแสดงให้เห็นไตในตำแหน่งปกติ แต่ต่อมหมวกไตอาจเคลื่อนลงไปอยู่แทน
  • น้ำคร่ำน้อยมากเนื่องจากการสร้างปัสสาวะไม่ได้ หรือได้น้อยมาก
  • ไม่สามารถตรวจเห็นกระเพาะปัสสาวะได้เนื่องจากไม่มีปัสสาวะภายใน (หลังอายุครรภ์ 13 สัปดาห์)
  • การตรวจพบกระเพาะปัสสาวะปกติ สามารถแยกภาวะไตฝ่อทั้งสองข้างออกไปได้
  • ถ้าตรวจไม่พบกระเพาะปัสสาวะในการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงครั้งแรก ควรตรวจซ้ำอีกครั้งใน 60-90 นาทีต่อมา ซึ่งถ้าพบเหมือนเดิมจึงอาจสรุปได้ว่าไม่พบกระเพาะปัสสาวะ
  • ในรายที่น้ำคร่ำน้อยมาก ร่วมกับทารกอยู่ในท่าก้น อาจทำให้ตรวจกระเพาะปัสสาวะได้ยากขึ้น จึงต้องระมัดระวังในการแปลผลเป็นพิเศษ
  • มีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ตรวจไม่พบกระเพาะปัสสาวะอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้
    • ความผิดปกติที่ไต
    • ไตฝ่อทั้งสองข้าง
    • UPJ (ureteral pelvic junction) อุดตันสองข้าง
    • Multicystic dysplastic kidney ทั้งสองข้าง
    • Infantile polycystic kidney
    • ความผิดปกติที่กระเพาะปัสสาวะ
    • Cloacal (หรือ bladder) exstrophy
    • Persistent cloaca
    • ภาวะทารกโตช้าในครรภ์bs}

Bilateral renal agenesis
Sagittal scan of the abdomen: absent kidneys with oligohydramnios and adrenal gland replacement (arrow)

Bilateral renal agenesis
Coronal scan of the abdomen: absent kidneys with oligohydramnios and adrenal gland replacement

Classic Images


Read More

Bladder Outlet Obstruction

{tab=Clinical Review}

Bladder Outlet Obstruction

บทนำ

Bladder outlet obstruction ส่วนมากเกิดจาก posterior urethral valve (PUV) ซึ่งนับเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด ของกระเพาะปัสสาวะโป่งขยาย มักไม่อุดตันโดยสมบูรณ์ จึงมีน้ำคร่ำในระดับใกล้เคียงปกติ แต่มีการคั่งของปัสสาวะย้อนกลับขึ้นไปส่วนบน ทำให้มีการโป่งขยายขึ้นตลอดแนว อุดตันสนิทก็จะมีน้ำคร่ำน้อยมาก กระบังลมสูง ปอดแฟบ พยากรณ์โดยทั่วไปดี

ประมาณร้อยละ 20-25 ของ PUV จะมีความผิดปกติอื่น ๆ ของระบบทางเดินปัสสาวะ-ท่อสืบพันธุ์ร่วมด้วย ซึ่งได้แก่ ท่อปัสสาวะสองอัน ท่อปัสสาวะโต อัณฑะไม่เคลื่อนลง และ hypospadias ความผิดปกติอื่น ๆ ที่พบได้ ได้แก่ patent ductus arteriosus หลอดลมเล็ก mitral stenosis รูทวารหนักไม่เปิด หลังคด

ลักษณะทางคลื่นเสียงความถี่สูง

  • กระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะส่วนต้นโป่งขยายตลอดเวลา
  • ผนังกระเพาะปัสสาวะหนาตัวขึ้น กระเพาะปัสสาวะมักเป็นรูปลูกแพร์
  • น้ำคร่ำน้อย (ร้อยละ 50)
  • กรวยไตและหลอดไตขยาย (ร้อยละ 40) ถ้าเป็นนานไตอาจฝ่อ (ขนาดเล็กลงและทึบเสียงมากขึ้น)
  • ส่วนมากเป็นทารกเพศชาย

Early bladder outlet obstruction
Sagittal scan of the trunk: marked dilatation of the bladder, amniotic fluid is present

Bladder outlet obstruction
Sagittal scan of the trunk: marked dilatation of the bladder (solid circle) with protrusion of the lower abdomen (arrow = diaphragm)

Bladder outlet obstruction
Coronal scan of the lower abdomen: dilatation of the bladder (solid circle) with thickened wall; dilatation of the proximal urethra giving the key-hole appearance (*)

Bladder outlet obstruction
Coronal scan of the lower abdomen: dilatation of the bladder (solid circle) with marked dilatation of the proximal urethra giving the key-hole appearance (*)

Bladder outlet obstruction
Cross-sectional scan of the abdomen: marked dilatation of the bladder (solid circle) and ureter (*)with protrusion of the lower abdomen (* arrowhead = spine)

Bladder outlet obstruction
Sagittal scan of the trunk: marked dilatation of the bladder (*) with protrusion into the umbilical cord to form urachal cyst (arrow = echogenic real dysplasia)

Classic Images 


Read More

Infantile Polycystic Kidney Disease

Infantile Polycystic Kidney Disease

บทนำ

Infantile polycystic kidney disease (Potter Type I) (IPKD) ถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosomal recessive พบได้ประมาณ 1:40,000-1:60,000 ของทารกแรกคลอด ไตโตทั้งสองข้างอย่างสมมาตร เกิดจากความผิดปกติของ collecting tubules และกลายเป็นถุงน้ำเล็ก ๆ มีขนาด 1-2 มม. แทรกอยู่ในเนื้อไตจำนวนมาก โดยที่ calyces, papillae และกรวยไตปกติ ชนิดที่เป็นตั้งแต่ในครรภ์จะสามารถวินิจฉัยได้ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ซึ่งกรณีนี้จะไม่สามารถเลี้ยงรอดได้

ลักษณะทางคลื่นเสียงความถี่สูง

  • ไตขนาดโตขึ้นทั้งสองข้าง และยังคงรูปร่างลักษณะของไตอยู่ แต่ความเข้มเสียงเพิ่มมากขึ้น
  • เนื้อไตดูเป็นถุงน้ำขนาดเล็ก ๆ จำนวนมากทำดูเป็นก้อนเนื้อที่มีความเข้มเสียงเพิ่มมากขึ้น มักจะไม่เห็นเป็นถุงน้ำใหญ่ ๆ แบบ multicystic kidney (Potter type II)
  • ภาวะน้ำคร่ำน้อย และไม่เห็นกระเพาะปัสสาวะ หรือเห็นก็เพียงเล็กน้อย
  • มักจะวินิจฉัยได้หลังอายุครรภ์ 24 สัปดาห์

Polycystic kidneys
Oblique coronal scan of the abdomen: symmetrical enlarged echogenic kidneys containing numerous microcystic lesions (* = renal pelvis)

Polycystic kidneys
Coronal scan of the abdomen: symmetrical markedly enlarged echogenic kidneys (* = renal pelvis)

Polycystic kidneys
Cross-sectional scan of the abdomen: symmetrical markedly enlarged echogenic kidneys (* = renal pelvis, arrowhead = spine)

Polycystic kidneys
Coronal scan of the abdomen: symmetrical markedly enlarged echogenic kidneys

Classic Images


Read More

Multicystic Kidney Disease

Multicystic Kidney Disease

บทนำ

Multicystic kidney disease (MCKD : Potter Type II) เป็นภาวะมีถุงน้ำเกิดขึ้นในไตจำนวนมาก ซึ่งเกิดขึ้นมาจากการขยายของ collecting tubules พบเป็นสองข้างได้ร้อยละ 20 ไม่มี parenchyma ปกติ แต่บางรายอาจเป็นเพียงบางส่วนของไตก็ได้ เชื่อว่าเกิดจากการฝ่อไปของระบบ ureteral bud ตั้งแต่เป็นตัวอ่อน ไตข้างตรงข้ามมีความผิดปกติได้ร้อยละ 40 มีความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วยได้บ่อย ที่สำคัญคือ ความผิดปกติของหัวใจ หัวบาตร ศีรษะเล็ก spina bifida ไส้เลื่อนกระบังลม เพดานโหว่ ดูโอดีนั่มตีบตัน กระดูกเรเดียสและหัวแม่มือหายไปทั้งสองข้าง รายที่เป็นสองข้างหรือมีความผิดปกติอื่นร่วมด้วยพยากรณ์แย่ แต่รายที่เป็นข้างเดียวจะมีพยากรณ์ค่อนข้างดี

ลักษณะทางคลื่นเสียงความถี่สูง

  • ไตมีถุงน้ำหลาย ๆ ขนาดจำนวนมาก รวมกลุ่มกันอยู่ดูคล้ายพวงองุ่น อยู่ที่ตำแหน่งด้านหลังของช่องท้อง ใกล้กับกระดูกไขสันหลังทั้งสองข้าง
  • ถุงน้ำขนาดใหญ่จะทำให้ไตผิดรูปร่างไป
  • มักจะเห็นเป็นก้อนถุงน้ำตั้งแต่อายุครรภ์ 16 สัปดาห์เป็นต้นไป
  • ส่วนใหญ่แล้วจะตรวจไม่พบเนื้อไตปกติ
  • ปริมาณน้ำคร่ำ และการตรวจเห็นกระเพาะปัสสาวะ ขึ้นอยู่กับการทำงานของไตด้านตรงข้าม ถ้าไตข้างตรงข้ามปกตินั้นปริมาณน้ำคร่ำมักจะปกติ และเห็นกระเพาะปัสสาวะ แต่ถ้าเป็นทั้งสองข้างจะพบว่าน้ำคร่ำน้อยมาก และไม่เห็นกระเพาะปัสสาวะ
  • อาจแยกยากระหว่าง MCDK ที่มี hydronephrosis กับ hydronephrosis ที่ calyces ขยายแต่ไม่มีถุงน้ำ แต่ในกรณีหลังจะคงรูปร่างของไตอยู่ เนื่องจากมีเนื้อไตปกติอยู่บริเวณรอบนอก
  • การวินิจฉัยแยกจาก UPJ obstruction ซึ่งบางรายอาจแยกกันยาก แต่อาจอาศัยข้อมูลจากภาพคลื่นเสียงความถี่สูง ดังต่อไปนี้ช่วยในการวินิจฉัยแยกโรค
UPJ Obstruction MCDK
เห็นเนื้อไต (parenchyma) พบบ่อย ไม่พบ
ลักษณะถุงน้ำ กลมรี ไม่สม่ำเสมอ กลม ไม่เชื่อมต่อกันและกัน
แต่ละถุงเชื่อมต่อกันและ ไม่เชื่อมต่อกับกรวยไต
เชื่อมต่อกับกรวยไต กระจุกรวมกันเป็นพวงองุ่น
กระจายอยู่รอบกรวยไต
หลอดไตโต พบบ่อย ไม่พบ
ไตข้างตรงข้าม มี UPJ obstruction ร้อยละ 10-40 ผิดปกติร้อยละ 40, ฝ่อร้อยละ 10
เป็นสองข้างร้อยละ 20
UPJ obstruction ร้อยละ 10

Multicystic kidney
Sagittal scan of the abdomen: multiple cysts varying in size in the kidney

Multicystic kidney
Cross-sectional scan of the abdomen: multiple cysts varying in size in the kidney (arrow = spine)

Normal kidney
The kidneys consisting of multiple normal pyramids (arrow), looking like multicystic kidney (* = renal pelvis)

Small multicystic kidney
Oblique cross-sectional scan of the abdomen: multiple cysts varying in size in the kidney (arrow)

Multicystic kidney
Left : normal kidney; Right : multiple cysts varying in size in the kidney

Multicystic kidney
Sagittal scan of the abdomen: multiple cysts varying in size in the kidney (*)

Multicystic kidney
Sagittal scan of the abdomen: multiple cysts varying in size in the kidney (*)

Multicystic kidney
Coronal scan of the abdomen: multiple cysts varying in size in the kidney (*) (arrow = bifurcation of spine)

Multicystic kidney
Cross-sectional scan of the abdomen: multiple cysts varying in size in the kidney

Cystic renal dysplasia
The echogenic kidney with multiple small cysts

Classic Images


Read More

Ectopic Kidney

Ectopic Kidney

บทนำ

ไตอยู่ผิดที่ (ectopic kidney) : อุบัติการโดยรวมประมาณ 1 ต่อ 1,000 เป็นภาวะที่ทำให้วินิจฉัยผิดเป็นไตฝ่อข้างเดียวได้บ่อย ไตอยู่ผิดที่พบได้บ่อยในรายที่มีความพิการโดยกำเนิดอื่น ๆ ร่วมด้วย

ลักษณะทางคลื่นเสียงความถี่สูง

  • ไตย้ายข้าง : พบไตข้างหนึ่งใหญ่และรูปร่างผิดปกติ ถ้าตรวจละเอียดจะพบมี renal pelvis สองอัน และไตอีกข้างหนึ่งจะตรวจไม่พบ
  • ไตในอุ้งเชิงกราน เห็นไตข้างหนึ่งอยู่ในตำแหน่งปกติ และอีกข้างหนึ่งอยู่ต่ำลงไป ควรระวังในการตรวจให้มาก เนื่องจากในตำแหน่งไตปกตินั้นอาจแปลผลต่อมหมวกไตซึ่งมีลักษณะรูปไข่คล้ายไตได้ ไตที่อยู่ในอุ้งเชิงกรานอาจตรวจได้ยาก
  • ไตรูปเกือกม้า จะเห็นไตทั้งสองข้างเชื่อมติดกันในแนวกลาง เห็นได้ดีในการตรวจตัดขวาง และมักจะเห็นอยู่ในตำแหน่งต่ำกว่าไตปกติ

Abnormal shaped kidney
Cross-sectional scan of the abdomen: abnormal hypoecho of the fused kidney (solid circle) located anterior to the spine (arrow), finally proven to be horseshoe kidney (arrowhead = umbilicus)

Horseshoe kidneys
Cross-sectional oblique scan of the abdomen: abnormal fused kidneys with mild hydronephrosis in the both kidneys

Classic Images


Read More

Ovarian Cysts

Ovarian Cysts

บทนำ

ถุงน้ำรังไข่ของทารกในครรภ์ เป็นถุงน้ำในช่องท้องที่พบได้บ่อยที่สุดที่รายงานในการวินิจฉัยก่อนคลอด ซึ่งเป็นถุงน้ำธรรมดา (functional cyst) เกิดจากฟอลลิเคิลในทำนองเดียวกับที่ตรวจพบได้ในระยะหลังคลอด ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากการกระตุ้นโดยฮอร์โมนจากรกหรือมารดา ส่วนใหญ่วินิจฉัยได้ในไตรมาสที่สาม พยากรณ์โดยรวมดีมาก มักจะฝ่อหายไปเองใน 6 เดือนหลังคลอด ในน้อยรายที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น บิดขั้ว

ลักษณะทางคลื่นเสียงความถี่สูง

ส่วนมากภาพจากคลื่นเสียงเห็นเป็นถุงน้ำในส่วนท้องน้อย เป็นถุงเดี่ยว ๆ ไม่มีแผ่นกั้นแยกช่อง มักเป็นข้างเดียว ในบางรายที่ก้อนโตอาจขยายเข้าไปอยู่ในท้องส่วนบน ครรภ์แฝดน้ำพบร่วมประมาณร้อยละ 10 บางรายอาจเห็นเศษเนื้อเยื่อ ก้อนเลือด หรือแผ่นเยื่อกั้นในก้อนได้ ในรายที่มีภาวะแทรกซ้อน คือบิดขั้วลักษณะก้อนจะมีลักษณะซับซ้อนขึ้น หรือเป็นเนื้อตัน

การเห็นถุงน้ำในท้องน้อยจากคลื่นเสียงความถี่สูง ควรวินิจฉัยแยกโรคดังในตาราง mesenteric หรือ enteric duplication cyst อาจแยกจากถุงน้ำรังไข่ไม่ได้

การตรวจพบทารกเป็นเพศชาย มีประโยชน์ในการช่วยแยกถุงน้ำรังไข่ออกไปได้

Fetal ovarian cyst
Cross-sectional scan of the abdomen: Simple anechoic cyst (*) in the rightside of the abdomen, note normal kidney and adrenal gland (arrowhead)

Fetal dermoid cyst
Cross-section at the upper abdomen: cystic mass (*) containing echogenic debris or sebum (arrowhead = spine, circle = liver)

Fetal ovarian cyst
Coronal scan of the abdomen: Simple large anechoic cyst in the lower abdomen of a female fetus

Fetal ovarian cyst
Cross-sectional scan of the abdomen: Simple large anechoic cyst

Classic Images


Read More

Meconium Ileus / Peritonitis

Meconium Ileus / Peritonitis

บทนำ

Meconium ileus เกิดจากการอัดแน่นของขี้เทาที่เหนียวข้นในส่วนปลายของไอเลียม อุบัติการราว 1:2,000 การคลอดของชาวคอเคเซียน ส่วนใหญ่เกิดกับทารกที่เป็น cystic fibrosis ไอเลียมโป่งขยาย แต่โคลอนแฟบเป็นส่วนใหญ่ แต่บางรายขี้เทาอาจอุดตันในโคลอนด้วย ซึ่งทำให้เกิด ภาวะ meconium plug syndrome ประมาณครึ่งหนึ่งจะมีภาวะแทรกซ้อนทางลำไส้ เช่น volvulus ลำไส้ตันหรือทะลุ meconium peritonitis

ลักษณะทางคลื่นเสียงความถี่สูง

  • การตรวจพบ echogenic meconium อยู่ในลำไส้ซึ่งโป่งขยายขึ้น
  • ลำไส้เล็กขยาย ซึ่งเป็นผลตามมาจากการอุดตัน
  • ครรภ์แฝดน้ำ พบในรายลำไส้โป่งขยายได้บ่อย
  • ก้อนลำไส้ทึบเสียง อาจพบได้ในบางราย ซึ่งเกิดจากก้อนขี้เทาที่อัดแน่น

Meconium Ileus
Dilated bowel with outlining echogenic meconium

Meconium Peritonitis
Echogenic calcifications outling the hepatic rim

Classic Images


Read More

Jejunoileal Atresia

Jejunoileal Atresia

บทนำ

ลำไส้เล็กตีบตัน (นอกจากดูโอดีนั่ม) พบได้ราว 1:3,000-1:5,000 ของการคลอด ซึ่งตำแหน่งที่ตีบตันคือ เจจูนั่มส่วนต้น (ร้อยละ 31) เจจูนั่มส่วนปลาย (ร้อยละ 20) ไอเลียมส่วนต้น (ร้อยละ 13) และไอเลียมส่วนปลาย (ร้อยละ 6) ร้อยละ 33 ของลำไส้เล็กขยายจากการตีบตันเกิดจาก cystic fibrosis มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติอื่น ๆ นอกทางเดินอาหารได้น้อย (น้อยกว่าร้อยละ 7) ไม่สัมพันธ์กับความผิดปกติทางโครโมโซม

ลักษณะทางคลื่นเสียงความถี่สูง

ลักษณะทางคลื่นเสียงของลำไส้เล็กตีบตันที่พบได้บ่อย ๆ

  • ครรภ์แฝดน้ำ
  • ลำไส้เล็กหลาย ๆ ขดขยายขนาดโตขึ้น (มากกว่า 7 มม.)
  • พบการบีบตัวลำไส้เพิ่มขึ้น

การขยายของลำไส้เล็กอาจตรวจพบได้ในภาวะอื่นนอกจากลำไส้เล็กตีบตัน คือ volvulus และ meconium ileus สำหรับภาวะอื่นที่อาจสับสนกับการขยายของลำไส้ได้ ได้แก่ การขยายของหลอดไตในบางราย ถุงน้ำรังไข่ หรือ mesenteric cyst ซึ่งการตรวจอย่างรอบคอบจะช่วยแยกกันได้

Small bowel obstruction
Coronal scan of the abdomen: Multiple loop of small bowel loops with marked dilatation (*) (arrow = diaphragm)

Small bowel obstruction
Coronal scan of the abdomen: Multiple dilated loops of small bowel

Small bowel obstruction
Cross-sectional scan of the abdomen: Multiple dilated loops of small bowel (arrowhead = spine)

Small bowel obstruction
Cross-sectional scan of the abdomen: Multiple loops of small bowel with marked dilatation (arrowhead = spine)

Small bowel obstruction
Cross-sectional scan of the abdomen: Markedly dilated loops of small bowel (solid circle) (arrowhead = spine)

Small bowel obstruction
Coronal scan of the fetal abdomen: markedly dilated loops of the small bowels

Classic Images


Read More

Hepatosplenomegaly

Hepatosplenomegaly

บทนำ

ความผิดปกติของตับและม้ามของทารกในครรภ์พบได้น้อย ที่รายงานบ่อยที่สุดคือภาวะตับโตม้ามโต ซึ่งเกิดได้จากภาวะทารกบวมน้ำ ความผิดปกติของตับและม้ามที่พบได้มีดังนี้

  • ถุงน้ำในตับและม้าม
  • hemangioma ของตับ อาจมีได้ทั้งลักษณะความทึบเสียงทั้งเข้มและต่ำ หรือผสม และบางครั้งก็พบหินปูนจับด้วย
  • mesenchymal hamartoma โดยแบบฉบับแล้วจะเป็นก้อนถุงน้ำมีหลายช่องภายใน
  • hepatoblastoma เป็นมะเร็งตับของทารกที่อาจพบได้ในระยะก่อนคลอด เป็นก้อนเนื้อตัน ทึบเสียง อาจมีหินปูนจับ มีน้อยรายที่จะเป็นถุงน้ำ ถ้าตรวจด้วย Doppler จะพบว่ามีการไหลเวียนเลือดสูงมาก
  • ตับโตม้ามโต ส่วนใหญ่สัมพันธ์กับทารกบวมน้ำ โดยเฉพาะในประเทศไทยพบได้บ่อยที่สุดจาก Hb Bart’s disease หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อในครรภ์ ตับโตที่เป็นแบบเดี่ยว ๆ (ไม่บวมน้ำ หรือบวมน้ำ) อาจเป็นมาร์คเกอร์ของ trisomy 21 ได้

สำหรับตับโตม้ามโตซึ่งเป็นความผิดปกติที่พบบ่อยที่สุดเกิดได้จากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้

ที่พบได้บ่อย

  • ทารกบวมน้ำ (ชนิด immune และ non-immune)
  • ติดเชื้อ (TORCH, ตับอักเสบ)
  • หัวใจล้มเหลว
  • โลหิตจาง

ที่พบได้ไม่บ่อย

  • กลุ่มอาการดาวน์
  • ความผิดปกติทางเมตาบอลิซึม
  • เนื้องอก (hepatoblastoma, hemangioendothelioma)
  • Beckwith-Wiedemann syndrome
  • มะเร็งบางอย่าง (neuroblastoma, มะเร็งเม็ดเลือดขาว)

Hepatomegaly
Coronal scan of the abdomen: Enlarged Liver

Splenomegaly
Cross-sectional scan of the upper abdomen: The enlarged spleen (solid circle) behind the stomach

Classic Images


Read More

Hyperechoic Bowel

Hyperechoic Bowel

บทนำ

ลำไส้ทึบเสียง (hyperechoic bowel) มีความสัมพันธ์กับหลายสภาวะ คือนับตั้งแต่ภาวะปกติ ไปจนถึงความพิการรุนแรง และมิได้หมายความว่าจะต้องมีหินปูนมาจับ ซึ่งอาจสรุปการวินิจฉัยแยกสาเหตุได้ดังนี้

  • ภาวะปกติในทารกบางรายในระยะไตรมาสที่สอง
  • High gain และ/หรือ dynamic range settings
  • น้ำคร่ำมีเลือดปนอยู่
  • Meconium ileus (cystic fibrosis)
  • Down’s syndrome

ลักษณะทางคลื่นเสียงความถี่สูง

ลำไส้มีความเข้มเสียงสูงกว่าปกติ แต่อย่างไรก็ตามการบอกระดับความเข้มเสียงจะต้องระมัดระวังในการแปลผล ปัญหาประการหนึ่งของการวินิจฉัยคือ การบอกความทึบเสียงมักเป็นความรู้สึกส่วนตัว (subjective) ที่ไม่มีมาตรฐาน ความเข้มขนาดใดจึงจะถือว่าผิดปกติ เป็นสิ่งที่กำหนดได้ยาก บางท่านแนะนำว่าให้ใช้ความเข้มระดับเดียวกับกระดูกเชิงกราน แต่แม้ใช้เกณฑ์เช่นนี้ก็ยังพบได้ในทารกปกติบางรายในไตรมาสที่สอง

Meconium ileus (cystic fibrosis) และ meconium peritonitis ให้ภาพลำไส้ทึบเสียงได้บ่อย แม้ว่าส่วนใหญ่จะพบในไตรมาสที่สาม แต่บางรายก็อาจพบได้ในไตรมาสที่สอง และบางท่านแนะนำให้ทดสอบตรวจหา cystic fibrosis ในรายที่ตรวจพบลำไส้ทึบเสียงในไตรมาสที่สอง

ส่วนมากของลำไส้ทึบเสียงในไตรมาสที่สองเป็นภาวะปกติซึ่งจะหายไปได้เอง และแม้ยังคงอยู่ถึงไตรมาสที่สามก็มิได้ผิดปกติเสมอไป

HB หมายถึงความเข้มเสียงของลำไส้มากเท่า ๆ กับความเข้มเสียงของกระดูก เพิ่มความเสี่ยงของกลุ่มอาการดาวน์ ประมาณร้อยละ 14-16 ของทารกที่มี HB จะมีความผิดปกติของโครโมโซม (ส่วนใหญ่เป็นดาวน์) แต่โครโมโซมผิดปกติร้อยละ 1.4 ของ isolated HB

ข้อสังเกต

HB ยังพบบ่อยขึ้นในรายทารกติดเชื้อ CMV เป็น cystic fibrosis, early-onset FGR นอกจากนั้นยังพบบ่อยขึ้นในรายเลือดออกในน้ำคร่ำซึ่งบ่งชี้ว่าทารกที่กลืนน้ำคร่ำแต้มเลือดเข้าไปจะทำให้เกิด HB

Hyperechoic bowel
Coronal scan of the abdomen: hyperechogenic bowel (*)

Hyperechoic bowel
Sagittal scan of the abdomen: hyperechoic bowel (*)

Hyperechoic bowel
Cross-sectional scan of the abdomen: hyperechoic bowel (*) (arrowhead = spine)

Hyperechoic colon
Coronal scan of the abdomen: hyperechogenic colon (*) (arrow = aorta)

Classic Images


Read More