Service RH

Menopausal Clinic
คลีนิกวัยทอง
ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ให้บริการทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา 08.00 -12.00 น.

ผู้ป่วยใหม่ เฉพาะวันศุกร์ เวลา 09.00 น.

ขั้นตอนการรับบริการ

ยื่นบัตรที่เวชระเบียนผู้ป่วยนอก
เข้าฟังการให้สุขศึกษาที่ห้องตรวจเบอร์ 5 อาคารศรีพัฒน์ ชั้น 5
นัดตรวจ Mamography ที่หน่วยรังสีวินิจฉัย ชั้น 2 ศรีพัฒน์
ตรวจ EKG ที่ห้องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ(ข้างห้องยาเบอร์ 12)
Chest X-ray ที่ห้องเบอร์ 33
เจาะเลือด CBC, Glu, BUN, Cr, LFT, Lipid profiles ก่อนทำ Mamogram ตามนัด
ทำ Ultrasound ที่ห้องคลอด ชั้น 3 ตึก 7 ชั้น
นำผลการตรวจมาพบแพทย์เพื่อทำประวัติรับฮอร์โมน/ รับคำแนะนำ

ผู้ป่วยเก่า

ทุกจันทร์, ศุกร์ 08.00 -12.00 น. รับผู้ป่วยที่หมดประจำเดือนจากการผ่าตัด (Surgical Menopause)
วันพุธ 08.00 -12.00 น. รับผู้ป่วยที่หมดประจำเดือนตามธรรมชาติ (Physiological menopause)

ยื่นบัตรผู้ป่วยวัยทองที่ห้องตรวจเบอร์ 5 โดยไม่ต้องผ่านเวชระเบียน

คลินิกเตรียมความพร้อมก่อนสมรสและก่อนตั้งครรภ์


ให้บริการส่งเสริมสุขภาพและให้คำปรึกษาแก่หญิง-ชาย เพื่อการเตรียมตัวก่อนสมรสหรือก่อนการตั้งครรภ์ เป็นการช่วยส่งเสริมให้หญิงชายพร้อมที่จะสร้างครอบครัวที่มีคุณภาพมีความสุขในชีวิตการครองเรือน

สถานที่ :

ห้องตรวจเบอร์ 4 ชั้น 5 ตึกศรีพัฒน์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

เวลาให้บริการ :

ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.00-15.00 น.

การให้บริการ :

ให้การปรึกษาทางการแพทย์ และให้บริการตรวจร่างกายและการรับวัคซีน

ให้การปรึกษาด้านการปรับตัวต่อชีวิตคู่

ให้การปรึกษาด้านเพศ

ให้การปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนการตั้งครรภ์และการคุมกำเนิด

ให้การปรึกษาแก่สตรีที่มีปัญหาโรคประจำตัวที่การตั้งครรภ์มีผลต่อโรคที่เป็นอยู่ ได้แก่ โรคไต โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไทรอยด์ โรคเอสแอลอี และอื่น ๆ

บุคลากร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์.นพ.เฉลิมชาติ สุจริตรักษ์

รองศาสตราจารย์.นพ.ชัยรัตน์ คุณาวิกติกุล

นางนันทนา มรกต พยาบาล

นางนริสา ศรีบัณฑิตมงคล พยาบาล

ขั้นตอนการมารับบริการ

ผู้มารับบริการทำบัตรหรือยื่นบัตรที่ศูนย์คัดกรองผู้ป่วย ชั้น 1 ตึกศรีพัฒน์

ขึ้นมาที่ห้องตรวจเบอร์ 4 ชั้น 5 ตึกศรีพัฒน์ (ห้องฝากครรภ์)

Read More

Service RM

 

Reproductive Endocrinology Clinic


ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาได้ให้บริการตรวจและรักษา แก่ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของต่อมไร้ท่อทางระบบสืบพันธุ์โดยแพทย์ที่มีความรู้ ความชำนาญ โดยให้บริการที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกหมายเลข 5 ชั้น 5 อาคารศรีพัฒน์ ในวันอังคาร และ วันพฤหัสบดี เวลา 13:00 น. ถึง15:00 น. หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-5394-5743 และ 0-5394-6642 ในวันและเวลาราชการ

สถานที่ตั้ง : ห้องตรวจผู้ป่วยนอกหมายเลข 5 ชั้น 5 อาคารศรีพัฒน์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
เวลาทำการ : วันอังคาร และ วันพฤหัสบดี เวลา 13:00 น. ถึง15:00 น.
ติดต่อ โทรศัพท์ 0-5394-5743 และ 0-5394-6642 ในวันและเวลาราชการ

 Infertility Clinic


ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาได้ให้บริการให้คำปรึกษา ตรวจและรักษา แก่คู่สมรสที่มีปัญหามีบุตรยาก โดยแพทย์ที่มีความรู้ ความชำนาญในด้านนี้ โดยให้บริการที่คลินิกมีบุตรยาก บริการที่ให้มีตั้งแต่ การตรวจหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยากทั้งทางฝ่ายชายและฝ่ายหญิง เช่น การตรวจคุณภาพของน้ำอสุจิ การตรวจหาความผิดปกติของการตกไข่ การเจาะท้องส่องกล้องเพื่อตรวจพยาธิสภาพในอุ้งเชิงกรานและในโพรงมดลูก เป็นต้น ตรวจจนการรักษาภาวะมีบุตรยากโดยวิธีต่างๆ อาทิเช่น การผ่าตัดในอุ้งเชิงกรานโดยวิธีจุลศัลยกรรม การกระตุ้นการตกไข่ การฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกหรือ IUI (intrauterine insemination) การทำกิ๊ฟท์ (GIFT; gamete intrafallopian transfer) การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF-ET ; invitro fertilization and embryo transfer) การฉีดอสุจิเข้าไปในเซลล์ไข่ หรืออิกซี่ (ICSI ; intracytoplasmic sperm injection) และการผสมเทียม ส่วนบริการอื่นที่อยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยและคาดว่าจะเปิดให้บริการในอนาคต เช่น การตรวจวินิจฉัยก่อนการตั้งครรภ์ (PGD ; preimplantation genetics diagnosis) ของโรคที่พบได้บ่อย เช่น โรคเลือดธาลัสซีเมีย เป็นต้น

คู่สมรสที่มีปัญหามีบุตรยากสามารถมารับบริการได้ที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกหมายเลข 5 ชั้น 5 อาคารศรีพัฒน์ ในวันอังคาร และ วันพฤหัสบดี เวลา 13:00 น. ถึง15:00 น. หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-5394-5743 และ 0-5394-6642 ในวันและเวลาราชการ

สถานที่ตั้ง : ห้องตรวจผู้ป่วยนอกหมายเลข 5 ชั้น 5 อาคารศรีพัฒน์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
เวลาทำการ : วันอังคาร และ วันพฤหัสบดี เวลา 13:00 น. ถึง15:00 น.
ติดต่อ โทรศัพท์ 0-5394-5743 และ 0-5394-6642 ในวันและเวลาราชการ

 

เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (Assisted Reproductive Technologies หรือ ART)


คณะอนุกรรมการอนามัยเจริญพันธุ์
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย
(เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวันวันที่ 27 เมษายน 2547 หน้าที่ 10)

“เด็กหลอดแก้ว” หมายถึงเทคนิคช่วยการเจริญพันธุ์ที่มีการเก็บไข่ออกมานอกร่างกายของฝ่ายหญิง นำมาผสมกับตัวอสุจิของฝ่ายชายเพื่อให้เกิดตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการ จากนั้นอีก 2-3 วันจึงนำตัวอ่อนใส่กลับเข้าในโพรงมดลูกของฝ่ายหญิง เพื่อให้ฝังตัวและเจริญต่อไปเป็นทารกในครรภ์ สำหรับกิ๊ฟเป็นเทคนิคที่มีขั้นตอนคล้ายกับเด็กหลอดแก้วมาก กล่าวคือมีการกระตุ้นไข่เพื่อให้ได้ไข่หลายใบ ติดตามการเจริญเติบโตของไข่ และเก็บไข่ออกมานอกร่างกายของฝ่ายหญิง โดยใช้เข็มแทงผ่านทางช่องคลอด เหมือนกับการทำเด็กหลอดแก้วทุกประการ แต่หลังจากได้ไข่ออกมาแล้วจะนำไข่ที่เก็บได้ใส่คืนเข้าไปในท่อนำไข่พร้อมกับตัวอสุจิในทันที เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิภายในท่อนำไข่ของฝ่ายหญิง ในอดีตการทำกิ๊ฟได้รับความนิยมมากเพราะมีอัตราความสำเร็จสูงกว่าการทำเด็กหลอดแก้ว เนื่องจากไม่มีการเลี้ยงตัวอ่อนภายนอกร่างกายเลย แต่การทำกิ๊ฟได้รับความนิยมน้อยลงมาก เพราะในปัจจุบันอัตราการตั้งครรภ์ของกิ๊ฟและเด็กหลอดแก้วไม่ต่างกัน เนื่องจากเทคนิคในการเลี้ยงตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการพัฒนาไปมาก จนถึงขั้นที่สามารถเลี้ยงตัวอ่อนนอกร่างกายจนถึงระยะฝังตัว (เรียกตัวอ่อนระยะ “บลาสโตซิส”) ซึ่งต้องใช้เวลาในการเพาะเลี้ยงนาน 5-6 วัน การทำกิ๊ฟยังมีข้อจำกัดที่ว่าฝ่ายหญิงจะต้องมีท่อนำไข่ปกติอย่างน้อย 1 ข้าง และในการนำไข่และตัวอสุจิกลับเข้าสู่ท่อนำไข่จะต้องมีการผ่าตัด เช่นการเจาะท้องส่องกล้อง ทำให้มีแผลเป็นและเจ็บตัวมากกว่าการทำเด็กหลอดแก้ว อย่างไรก็ตามการทำกิ๊ฟอาจมีที่ใช้อยู่บ้างในบางกรณีเช่น ในสถานที่ๆมีปัญหาในการเลี้ยงตัวอ่อน ในคู่สมรสบางรายที่ต้องการให้การปฏิสนธิเกิดขึ้นในร่างกายเพราะความเชื่อทางศาสนาหรือเหตุผลอื่น แนวโน้มในการทำกิ๊ฟลดลงเรื่อยๆในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่นในรายงานของสมาคมเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์แห่งสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1999 พบว่ามีการกระตุ้นไข่ทำกิ๊ฟเพียง 838 รอบ จากจำนวนรอบที่ทำเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทั้งสิ้น 88,077 รอบ (0.95%) สำหรับตัวเลขในบ้านเราในปี พ.ศ. 2544 พบว่ามีการทำกิ๊ฟ 137 รอบหรือคิดเป็น 7.64% ของการทำเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทั้งหมด

นอกจากกิ๊ฟและเด็กหลอดแก้วแล้ว ยังมีเทคนิคอื่นๆที่พัฒนาขึ้นมาอีกหลายวิธีเพื่อช่วยคู่สมรสที่มีบุตรยาก เช่นการฉีดตัวอสุจิเข้าผสมกับไข่ (อิกซี่) การเลี้ยงไข่อ่อนภายนอกร่างกายให้เจริญเป็นไข่ที่พัฒนาเต็มที่และพร้อมจะผสมกับตัวอสุจิ การเลี้ยงตัวอ่อนระยะบลาสโตซิส การแช่แข็งไข่ และชิ้นเนื้อจากรังไข่ การวินิจฉัยตัวอ่อนก่อนการย้ายฝากเข้าโพรงมดลูก ฯลฯ เทคนิคเหล่านี้ทั้งหมดปัจจุบันเรียกรวมๆว่า “เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์”

แรกเริ่มเมื่อมีการคิดค้นเทคนิคของเด็กหลอดแก้วนั้น ข้อบ่งชี้ในการทำก็จำกัดอยู่เพียงคู่สมรสที่มีปัญหามีบุตรยากเนื่องจากท่อนำไข่ตันทั้งสองข้าง ซึ่งท่อเสียหายมากเกินกว่าจะผ่าตัดแก้ไขได้หรือทำผ่าตัดแล้วแต่ไม่สำเร็จ แต่ในระยะต่อๆมาเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์มีการพัฒนาขึ้นอย่างมาก จนมีความสำเร็จในเกณฑ์ค่อนข้างสูง ทำให้ข้อบ่งชี้ในการรักษาด้วยวิธีนี้ขยายวงกว้างออกไปมาก ในปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่า ภาวะมีบุตรยากจากทุกสาเหตุล้วนเป็นข้อบ่งชี้ในการทำเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทั้งสิ้น หากให้การรักษาด้วยวิธีธรรมดาแล้วไม่ได้ผล นอกจากใช้รักษาภาวะมีบุตรยากแล้วยังมีการนำเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์มาใช้กับคู่สมรสมี่ไม่ได้มีปัญหามีบุตรยากด้วย ตัวอย่างเช่นคู่สมรสที่มีโรคทางพันธุกรรมในครอบครัว ดังเช่นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย แทนที่จะปล่อยให้คู่สมรสตั้งครรภ์ แล้วค่อยมาทำการวินิจฉัยก่อนคลอด โดยการเจาะเลือดจากสายสะดือทารกเพื่อวินิจฉัยโรค และทำแท้งในกรณีที่พบว่าเด็กผิดปกติ คู่สมรสดังกล่าวก็มีอีกทางเลือกคือการมาทำเด็กหลอดแก้ว และตัดเซลล์จากตัวอ่อน 1-2 เซลล์ เพื่อนำมาวินิจฉัยโรคก่อนการฝังตัว หากพบว่าเป็นตัวอ่อนปกติจึงค่อนนำกลับไปย้ายฝากเข้าโพรงมดลูก

สถานที่ให้บริการด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ต้องได้รับใบอนุญาตจากแพทยสภา โดยมีข้อกำหนดว่าแพทย์ผู้รับผิดชอบจะต้องเป็นแพทย์ที่ได้รับวุฒิบัตรทางด้านสูตินรีเวชจากแพทยสภา และมีทีมที่ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาลและนักวิทยาศาสตร์ที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ มีกรรมการควบคุมคุณภาพและจริยธรรม และอย่างน้อยต้องมีห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงตัวอ่อน ห้องผ่าตัดที่ใช้ในการเก็บไข่ เครื่องมือที่เกี่ยวกับการเตรียมอสุจิ ตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อน อุปกรณ์แช่แข็งตัวอ่อน และอุปกรณ์กู้ชีวิต ในปัจจุบันมีสถานบริการที่ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินงานด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทั้งหมด 30 แห่ง โดย 20 แห่งอยู่ในกรุงเทพมหานคร, 4 แห่งในหาดใหญ่, 3 แห่งในจังหวัดเชียงใหม่, 2 แห่งในจังหวัดขอนแก่น และ 1 แห่งในจังหวัดอุดร ในจำนวนนี้มีเพียง 12 แห่งที่เป็นสถานบริการของรัฐ ที่เหลือ 18 แห่งเป็นสถานบริการของเอกชน ผู้ที่ต้องการทราบรายชื่อสถานบริการด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ที่อยู่ใกล้ตัวท่านสามารถสอบถามได้ที่ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย โดยทั่วไปแล้วสถานบริการดังกล่าวมักอยู่ในโรงพยาบาลของโรงเรียนแพทย์ทุกแห่ง และในโรงพยาบาลเอกชนใหญ่ๆ

สำหรับค่าใช้จ่ายในการรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์มีความแตกต่างกันได้มาก เราอาจแบ่งค่าใช้จ่ายได้เป็นส่วนย่อยๆ คือค่ายากระตุ้นไข่และค่าตามไข่, ค่าเก็บไข่และค่ายาระงับความรู้สึกในขณะเก็บไข่, ค่าเตรียมอสุจิ และทำให้เกิดการปฏิสนธิ, ค่าเลี้ยงตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการ ค่าใช้จ่ายในการย้ายตัวอ่อน และค่ายาที่ใช้ในการพยุงการตั้งครรภ์หลังการย้ายตัวอ่อน ซึ่งประมาณอย่างหยาบๆคงตกราว 50,000 – 100,000 กว่าบาท ขึ้นอยู่กับอายุของผู้รับบริการ เทคนิคช่วยการเจริญพันธุ์ที่ใช้ และสถานพยาบาลว่าเป็นของรัฐหรือเอกชน ตัวอย่างเช่นคนที่อายุน้อยจะไวต่อยากระตุ้นไข่ทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการกระตุ้นไข่น้อยกว่าคนอายุมาก ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้อาจต่างกันได้เป็นหมื่นเพราะยามีราคาแพงมาก ถ้ามีการใช้เทคโนโลยีอย่างอื่นเพิ่มเติมค่าใช้จ่ายก็จะเพิ่มขึ้นด้วย เช่นถ้าอสุจิอ่อนจำเป็นต้องใช้วิธีจุลศัลยกรรมมาช่วยการปฏิสนธิก็จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มราว 7,000 – 10,000 บาท ถ้ามีตัวอ่อนเหลือเยอะต้องมีการแช่แข็งเก็บไว้ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มราว 5,000 – 10,000 บาท หรือถ้ามีการวินิจฉัยตัวอ่อนก่อนการย้ายฝากเข้าโพรงมดลูก ก็จะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกราว 40,000 บาทขึ้นไป ดังนั้นผู้รับบริการควรสอบถามและให้แพทย์ที่ดูแลรักษาช่วยประเมินค่าใช้จ่ายคร่าวๆให้ก่อนการตัดสินใจ

โดยเฉลี่ยแล้วอัตราความสำเร็จในการรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์จะตกราว 30% ต่อการเก็บไข่แต่ละครั้ง แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุของผู้มารับบริการด้วย กล่าวคือคนที่อายุน้อยกว่า 35 ปีอาจมีอัตราความสำเร็จสูงกว่านี้ในขณะที่คนอายุมากกว่า 35 ปีจะน้อยกว่านี้ และในคนที่อายุเกิน 40 ปีอาจมีอัตราความสำเร็จเพียง 20% หรือน้อยกว่า คนที่ไม่ตั้งครรภ์จากการรักษาครั้งแรกถ้ามาทำซ้ำก็จะมีอัตราการตั้งครรภ์เช่นครั้งแรก ดังนั้นถ้ามารับการรักษาจำนวนหลายครั้งก็จะมีโอการสตั้งครรภ์สะสมได้สูงขึ้น เช่น 60-70% ถ้ารับการรักษา 4 รอบ

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ แบ่งได้กว้างๆเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มแรกเกิดจากผลข้างเคียงของยา และจากภาวะที่รังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป กลุ่มที่สองเป็นผลข้างเคียงจากการทำหัตถการ เช่นการดมยาสลบ การเก็บไข่ การใส่ตัวอ่อนกลับเข้าโพรงมดลูก และสุดท้ายเป็นภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ เช่นตั้งครรภ์แฝด ท้องนอกมดลูก ฯลฯ โดยทั่วไปแล้วภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้พบได้น้อยหากได้รับการดูแลจากแพทย์โดยใกล้ชิด สำหรับทารกที่คลอดจากกรรมวิธีช่วยการเจริญพันธุ์ ไม่พบว่ามีอัตราเสี่ยงที่จะมีความพิการหรือความผิดปกติสูงกว่าทารกที่คลอดโดยวิธีธรรมชาติ ถึงปัจจุบันมีทารกที่คลอดจากเทคนิคนี้แล้วมากกว่า 1 ล้านคนทั่วโลก และในบางประเทศเช่นสหรัฐอเมริกามีทารกที่คลอดจากขบวนการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์สูงถึง 1 ใน 200 ของทารกแรกเกิดทั้งหมด ในสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส สแกนดิเนเวีย และอิสลาเอลก็มีจำนวนมากกว่า 1 ใน 50 ของทารกแรกเกิดทั้งหมดในแต่ละปี สำหรับในบ้านเราน่าจะมีทารกคลอดจากขบวนการนี้ราว 500 รายต่อปี


แหล่งข้อมูล : สูตินรีแพทย์สัมพันธ์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 6 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2547 หน้า 9-10

Sperm Bank
ธนาคารอสุจิ


ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาได้จัดตั้งธนาคารอสุจิขึ้นในปี พ.ศ. 2542 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการเก็บรักษาอสุจิจากผู้บริจาคเพื่อใช้ในการรักษาคู่สมรสที่มีปัญหามีบุตรยากที่จำเป็นต้องได้รับการผสมเทียม โดยจะทำการตรวจคัดกรองโรคต่างๆที่อาจถ่ายทอดทางอสุจิโดยเฉพาะโรคติดเชื้อ เช่น โรคเอดส์ โรคซิฟิลิส โรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัสบี และโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ได้แก่ โรคเลือดธาลัสซีเมีย เพื่อให้การรักษาโดยการผสมเทียมมีความปลอดภัยสูง
นอกจากนี้ธนาคารอสุจิยังให้บริการรับแช่แข็งอสุจิให้คู่สมรสที่มีบุตรยากที่ฝ่ายชายมีความจำเป็นที่ไม่สามารถมาเก็บอสุจิตามวันที่กำหนดได้ และยังรับแช่แข็งอสุจิให้กับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการฉายแสง หรือเคมีบำบัดที่อาจมีผลกระทบต่อการสร้างอสุจิในภายหลัง
คู่สมรสที่มีปัญหามีบุตรยากสามารถสอบถามรายละเอียดการให้บริการได้ที่คลินิกมีบุตรยาก ในวันอังคาร และ วันพฤหัสบดี เวลา 13:00 น. ถึง15:00 น. ส่วนผู้ที่สนใจจะบริจาคอสุจิสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-5394-5559 และ 0-5394-6438 ในวันและเวลาราชการ หรือ e-mail มาที่ osreshth@mail.med.cmu.ac.th

สถานที่ตั้ง : ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ชั้น 3 อาคารบุญสม มาร์ติน
เวลาทำการ : วันและเวลาราชการ
ติดต่อ โทรศัพท์ 0-5394-5559 และ 0-5394-66438 ในวันและเวลาราชการ

 ธนาคารอสุจิ (sperm bank) ทางเลือกสำหรับผู้มีบุตรยาก


ภาวะมีบุตรยาก หมายถึง การที่คู่สมรสไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ หลังจากที่อยู่ร่วมกันและมีเพศสัมพันธ์กันอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ได้คุมกำเนิดเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี ภาวะมีบุตรยากนี้แม้ว่าจะไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพทางกายมากเหมือนกับปัญหาด้านอื่นๆ แต่ก็มีผลกระทบอย่างมากต่อจิตใจของคู่สมรส และยังมีผลทางด้านสังคมอีกด้วย อุบัติการณ์ของภาวะมีบุตรยากเท่าที่มีรายงานในวารสารทางการแพทย์พบได้ร้อยละ 8.4 ถึง 21.5 ของคู่สมรสทั้งหมด โดยรายงานส่วนใหญ่จะพบประมาณร้อยละ 13 – 14 ของคู่สมรส ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกลุ่มประชากร ความแตกต่างทางสังคม และที่สำคัญคืออายุของคู่สมรสฝ่ายหญิง ส่วนสาเหตุของภาวะมีบุตรยากนั้นพบว่าร้อยละ 30 – 40 เกิดจากความผิดปกติของคู่สมรสฝ่ายชาย ร้อยละ 30 – 40 เกิดจากพยาธิสภาพในอุ้งเชิงกรานของฝ่ายหญิง ร้อยละ 10 – 15 เกิดจากความผิดปกติของการตกไข่ และยังมีอีกร้อยละ 10 – 15 ที่ตรวจไม่พบสาเหตุ ซึ่งในที่นี้จะเน้นถึงภาวะมีบุตรยากเฉพาะที่เกิดจากความผิดปกติทางฝ่ายชายเท่านั้น ภาวะมีบุตรยากเฉพาะที่เกิดจากความผิดปกติทางฝ่ายชายนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากการที่น้ำอสุจิมีคุณภาพไม่ดี ทำให้ตัวอสุจิไม่สามารถปฏิสนธิกับไข่ได้ องค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่าปกติของน้ำอสุจิไว้ดังนี้ คือมีปริมาตรตั้งแต่ 2 มิลลิลิตรขึ้นไป มีความเป็นกรด-ด่างหรือ pH เท่ากับ 7.2 – 8.0 มีความเข้มข้นของตัวอสุจิตั้งแต่ 20 ล้านตัวต่อมิลลิลิตรขึ้นไปหรือมีจำนวนตัวอสุจิทั้งหมดตั้งแต่ 40 ล้านตัวขึ้นไปต่อการหลั่งอสุจิหนึ่งครั้ง ส่วนการเคลื่อนที่ของตัวอสุจินั้นจะต้องมีตัวอสุจิที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ร้อยละ 50 ขึ้นไป หรือมีตัวอสุจิที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างเร็วร้อยละ 25 ขึ้นไป การตรวจลักษณะของตัวอสุจิต้องพบตัวอสุจิที่ปกติร้อยละ 30 ขึ้นไป และการตรวจการมีชีวิตของตัวอสุจิต้องพบอสุจิที่มีชีวิตอย่างน้อยร้อยละ 50 ซึ่งจากเกณฑ์ดังกล่าวทำให้สามารถให้การวินิจฉัยความผิดปกติทางฝ่ายชายได้เป็น ภาวะเป็นหมัน คือไม่พบตัวอสุจิในน้ำอสุจิเลย และภาวะน้ำเชื้ออ่อน คือยังตรวจพบตัวอสุจิในน้ำอสุจิได้แต่มีปริมาณน้อย มีการเคลื่อนไหวน้อย มีจำนวนตัวอสุจิที่มีลักษณะปกติน้อย หรือมีความผิดปกติมากกว่าหนึ่งอย่าง สำหรับการรักษาคู่สมรสที่มีบุตรยากซึ่งเกิดจากความผิดปกติทางฝ่ายชายนั้น ทำได้โดยพยายามเพิ่มโอกาสให้อสุจิที่มีอยู่น้อยนั้นสามารถปฏิสนธิกับไข่ได้ เช่น การคัดเลือกตัวอสุจิที่มีคุณภาพดี แล้วทำการฉีดเข้าไปในโพรงมดลูก (intrauterine insemination; IUI) ซึ่งจะได้ผลก็ต่อเมื่อยังมีอสุจิที่เคลื่อนไหวดี ปริมาณเพียงพอ แต่ในรายที่อสุจิมีจำนวนน้อย ก็อาจจำเป็นต้องได้รับการรับการรักษาโดยการทำเด็กหลอดแก้ว (in vitro fertilization and embryo transfer; IVF-ET) หรือการทำเด็กหลอดแก้วร่วมกับการช่วยการปฏิสนธิโดยวิธีการฉีดอสุจิเข้าไปในเซลล์ไข่หรืออิกซี่ (intracytoplasmic sperm injection; ICSI) ส่วนในรายที่ตรวจไม่พบตัวอสุจิในน้ำอสุจิเลยนั้น อาจจะต้องมีการดูดตัวอสุจิจากท่อนำอสุจิส่วนต้น หรือที่อัณฑะ (surgical sperm recovery) ซึ่งอสุจิเหล่านี้จะไม่สามารถปฏิสนธิกับไข่ได้เอง จะต้องผ่านการทำเด็กหลอดแก้วร่วมกับการทำอิ๊กซี่เท่านั้น นอกจากนี้ในรายที่สาเหตุของความผิดปกติของคุณภาพของอสุจิเกิดจากความผิดปกติของหน่วยพันธุกรรมหรือโครโมโซม หรือในรายที่ตรวจไม่พบตัวอสุจิจากการดูดจากท่อนำอสุจิส่วนต้นหรือลูกอัณฑะ ในผู้ป่วยเหล่านี้ไม่สามารถที่จะรักษาโดยวิธีการทำอิ๊กซี่ได้ ซึ่งการผสมเทียมโดยใช้อสุจิจากผู้บริจาคจะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยในกลุ่มนี้ให้สามารถมีบุตรได้ตามที่ต้องการ นอกจากนี้ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญ เนื่องจากการรักษาโดยวิธีการทำเด็กหลอดแก้วร่วมกับการทำอิกซี่นั้นต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง (จำนวนหลายหมื่นบาทต่อหนึ่งรอบของการรักษา และมีโอกาสประสบความสำเร็จเพียงหนึ่งในสามเท่านั้น) ทำให้คู่สมรสหลายรายไม่สามารถที่จะได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้เนื่องจากมีปัญหาทางเศรษฐกิจ การรักษาด้วยวิธีการผสมเทียมซึ่งมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าหลายเท่าตัว จะสามารถช่วยเหลือให้ครอบครัวเหล่านี้สามารถมีทายาทได้ตามความต้องการ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ได้มีการให้บริการให้คำปรึกษา ตรวจหาสาเหตุและให้การรักษาแก่คู่สมรสที่มีปัญหามีบุตรยากมาเป็นเวลานาน โดยได้เปิดคลินิกมีบุตรยากซึ่งให้บริการโดยแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถ และมีคู่สมรสที่มีปัญหามารับการตรวจรักษาเป็นจำนวนมาก ในปี พ.ศ. 2543 ได้มีผู้มารับคำปรึกษาทางด้านมีบุตรยากเป็นจำนวนถึง 403 ราย ได้มีการตรวจน้ำอสุจิในคู่สมรสฝ่ายชาย 238 ราย ซึ่งในจำนวนนี้พบว่ามีความผิดปกติของน้ำอสุจิ 89 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 37 โดยมีอยู่ 19 รายที่ผลการตรวจพบว่าเป็นหมัน คือไม่พบตัวอสุจิในน้ำอสุจิเลย และอีกสองรายคู่สมรสฝ่ายชายเคยผ่านการทำหมันมาแล้ว ซึ่งในคู่สมรสเหล่านี้มีหลายรายที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยวิธีการผสมเทียม ทางโรงพยาบาลมหาราช ได้ตระหนักถึงความสำคัญนี้จึงได้ทำการจัดตั้งธนาคารอสุจิขึ้นในปี พ.ศ.2542 เพื่อทำการจัดหาอสุจิสำหรับใช้ในการรักษาด้วยวิธีการผสมเทียมแก่คู่สมรสที่มีปัญหามีบุตรยาก โดยทางธนาคารอสุจิได้มีการตั้งแนวทางปฏิบัติเพื่อที่จะทำการตรวจคัดกรองผู้บริจาค โดยเฉพาะโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่ โรคเอดส์ นอกจากนี้ทางธนาคารอสุจิยังได้ทำการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้ออื่นๆ ได้แก่ โรคซิฟิลิส ตับอักเสบไวรัสบี และโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม คือโรคเลือดธาลัสซีเมีย ทั้งนี้เพื่อให้แน่ได้ว่า อสุจิที่จะนำมาใช้ในการรักษาคู่สมรสที่มีปัญหาจะมีความปลอดภัยจริงๆ ในการดำเนินการของธนาคารอสุจินั้น นอกจากจะได้รับการสนับสนุนด้านการดำเนินการจากภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์แล้ว ทางธนาคารอสุจิยังมีความต้องการที่จะรับผู้บริจาครายใหม่ๆ เพื่อให้มีจำนวนอสุจิเพียงพอต่อการที่จะนำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหามีบุตรยากต่อไป จึงขอประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่ต้องการจะบริจาคอสุจิเพื่อช่วยเหลือคู่สมรสที่มีปัญหามีบุตรยาก ติดต่อกลับมาได้ที่ โครงการธนาคารอสุจิ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หมายเลขโทรศัพท์ 0-5394-6438 ในวันและเวลาราชการ หรืออีเมล์มาที่ osreshth@mail.med.cmu.ac.th

Read More

Endocrinology Clinic

Reproductive Endocrinology Clinic

ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาได้ให้บริการตรวจและรักษา แก่ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของต่อมไร้ท่อทางระบบสืบพันธุ์โดยแพทย์ที่มีความรู้ ความชำนาญ โดยให้บริการที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกหมายเลข 5 ชั้น 5 อาคารศรีพัฒน์ ในวันอังคาร และ วันพฤหัสบดี เวลา 13:00 น. ถึง15:00 น. หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-5394-5743 และ 0-5394-6642 ในวันและเวลาราชการ

 

สถานที่ตั้ง : ห้องตรวจผู้ป่วยนอกหมายเลข 5 ชั้น 5 อาคารศรีพัฒน์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
เวลาทำการ :
วันอังคาร และ วันพฤหัสบดี เวลา 13:00 น. ถึง15:00 น.
ติดต่อ โทรศัพท์ 0-5394-5743 และ 0-5394-6642 ในวันและเวลาราชการ


 

 

Read More

Fellow Training

ดาวน์โหลด หลักสูตรอบรมต่อยอดสาขาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์

ดาวน์โหลด คู่มือการปฏิบัติงานของแพทย์ต่อยอด

รายชื่อแพทย์ต่อยอดสาขาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์

ลำดับที

ชื่อ

ปีที่ฝึกอบรม (พ.ศ.)

ที่อยู่

1. แพทย์หญิง สุชาดา    มงคลชัยภักดิ์  

2542

รพ.พญาไทศรีราชา จ. ชลบุรี              
2. แพทย์หญิง พัชรดา    อมาตยกุล

2544

ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา  คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร  จ.พิษณุโลก
Tel. 089-755-9932
E-mail: pamatyakul@hotmail.com
3. นายแพทย์ ศุภชัย      ศิริสุขเกษม

2545

รพ.เชียงใหม่-ราม  เมือง   เชียงใหม่
E-mail: sirisun@mail.med.cmu.ac.th   
4. แพทย์หญิง  ทองทวี    ศุภาคม

2546

รพ.ส่งเสริมสุขภาพ เขต 10 เชียงใหม่
Tel. 053-276856
E-mail:  gold fusant@yahoo.com
5. ผศ. พญ. ทวิวัน      พันธศรี 

2548

ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Tel.  089-637-7763
E-mail:  noktawi@yahoo.com    
6. แพทย์หญิง อุบล   แสงอนันต์

2550

ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา  คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Tel. 081-530-5646
E-mail: ubol.saeng@cmu.ac.th
7. แพทย์หญิง นัทธ์ชนัน  ปรีชาพรกุล

2550

(ลาออก)

รพ. บางกอกเนสสิ่งโฮม กรุงเทพ
8. แพทย์หญิง วรชร  ลัทธิวงศกร

2551

ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา  คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Tel. 081-387-0485
E-mail:  dew_113@hotmail.com               
9. แพทย์หญิง  อุษณีย์  แสนหมี่  

2551

ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา  คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Tel: 086-192-2191
E-mail:  usanee.s@cmu.ac.th    
10. แพทย์หญิง  วนากานต์  สิงหเสนา

2552

รพ.เวชธานี กรุงเทพ
Tel. 085-0315-453
E-mail: kankaws@gmail.com
11. นายแพทย์   ชาญชัย  ไชยเลิศ                                                   

2552

รพ.พญาไทศรีราชา    ชลบุรี
Tel. 081-961-8638
E-mail: cchailert@hotmail.com
12. แพทย์หญิง  ศรมน      ทรงวีรธรรม

2554

รพ.กรุงเทพ
Tel. 081-424-8787
E-mail: zorarnasky@hotmail.com
13. แพทย์หญิง ศศิญา    เมธาธราธิป 

2554

รพ.กรุงเทพ-ภูเก็ต
Tel. 084-611-5092

E-mail: sasiyanose@hotmail.com
14. แพทย์หญิง  ณัฐนิตา  มัทวานนท์

2555

545/4-5 ถ.ราชทัณฑ์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ081-547-3355      m.nath@hotmail.com   
15. แพทย์หญิง น้ำฝน      อินนา

2555

รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์
Tel. 081-952-4592
E-mail: namfon_inna@yahoo.com
16. นายแพทย์ วรวัฒน์   ศิริปุณย์  

2556

รพ.เวชธานี
Tel. 081-7336919
E-mail:worawat.ra096@hotmail.com
17. นายแพทย์  เอกชัย  ลีอังกูรเสถียร

2556

โรงพยาบาลโอเวอร์บุค เชียงราย
Tel. 053-700-187; 053-754-445; 089-175-4641
18. แพทย์หญิง  ศิริเพ็ญ  องค์สุพรรณ

2557

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Tel. 081-929-8814
E-mail: mr.silvertail@hotmail.co
 19. แพทย์หญิง  อัมภิวัลย์   บุญช่วย   

2557

รพ. อุตรดิตถ์
Tel.  053-839-338;  081-678-3419
E-mail: Pangeee@hotmail.com               
20. นายแพทย์  ธนัท   จิรโชติชื่นทวีชัย

2558

ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Tel. 086-892-0244

E-mail: tanut_ball@gmail.com
21. นายแพทย์  พิชญ์  จันทร์ดียิ่ง

2558

ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Tel. 085-081-8488,081-720-8809
E-mail: pchandeying@gmail.com            
22. นายแพทย์  เถลิงศักดิ์  เนตรศิรินิลกุล

2559

รพ.ศูนย์ลำปาง
Tel. 082-889-9105
E-mail: rosenthaltopz@gmail.com
23. แพทย์หญิง   ดวงฤดี   ปิตินารักษ์

2559

รพ. ราชวิถี
Tel. 086-535-9995
E-mail: duang325@hotmail.com
24. นายแพทย์  ณัฐพัชร์  จันทรสกา

2560

340/102 ถนนสวรรค์วิถี ตำบลปากน้ำโพ  อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 6000
Tel. 056-2226-752; 086-927-7011
E-mail: neiw190@hotmail.com
Read More

A.R.T. Lab

A.R.T Laboratory

ห้องปฏิบัติการเด็กหลอดแก้ว

เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ เป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง นับจากหลุยส์ บราวน์ ทารกที่เกิดจากกระบวนการเด็กหลอดแก้วได้กำเนิดเมื่อปี ค.ศ.1978 ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการที่จะติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางด้านนี้ จึงได้มีการพัฒนาด้านความรู้ความสามารถของบุคลากร และได้จัดตั้งห้องปฏิบัติการเด็กหลอดแก้วขึ้น เพื่อให้บริการแก่คู่สมรสที่มีปัญหามีบุตรยาก และประสบความสำเร็จโดยมีการตั้งครรภ์จากการทำเด็กหลอดแก้วครั้งแรกในปี พ.ศ.2535 หลังจากนั้นก็ได้มีการพัฒนามาโดยตลอด ในปี พ.ศ.2544 ห้องปฏิบัติการเด็กหลอดแก้วของภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ได้รับการตรวจสอบและรับรองจากราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ว่ามีมาตรฐานตามที่กำหนดไว้โดยแพทยสภา

บริการทางด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ที่ห้องปฏิบัติการเด็กหลอดแก้วของภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ได้เปิดให้บริการแก่คู่สมรสที่มีปัญหามีบุตรยาก โดยวิธีการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF-ET; in vitro fertilization and embryo transfer) การทำกิฟท์ (GIFT; gamete intrafallopian transfer) การช่วยปฏิสนธิโดยฉีดอสุจิเข้าใน เซลไข่หรืออิ๊กซี่ (ICSI; intracytoplasmic sperm injection) การแช่แข็งอสุจิและตัวอ่อน ตลอดจนการรักษาภาวะมีบุตรยากโดยวิธีอื่นๆ เช่น การฉีดอสุจิเข้าโพรงมดลูก (IUI; intrauterine insemination) นอกจากนี้ ยังมีการให้บริการที่อยู่ระหว่างการค้นคว้าวิจัย ซึ่งจะสามารถให้บริการได้ในอนาคตอันใกล้ เช่น การตรวจวินิจฉัยก่อนการตั้งครรภ์ (PGD; preimplantation genetics diagnosis) เพื่อตรวจหาโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ เช่น โรคเลือดธาลัสซีเมีย เป็นต้น

คู่สมรสที่มีปัญหามีบุตรยากสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ คลินิกมีบุตรยาก ห้องตรวจเบอร์ 5 ชั้น 5 อาคารศรีพัฒน์ ในวันอังคาร และพฤหัสบดี เวลา 13:00 – 15:00 น.หรือที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-5394-5743 หรือ 0-5394-6642

 

สถานที่ตั้ง : ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ชั้น 3 อาคารบุญสม มาร์ติน
เวลาทำการ :
วันและเวลาราชการ
ติดต่อ โทรศัพท์ 0-5394-5559 และ 0-5394-66438 ในวันและเวลาราชการ


 

 

Read More

Sperm Bank

Sperm Bank

ธนาคารอสุจิ

ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาได้จัดตั้งธนาคารอสุจิขึ้นในปี พ.ศ. 2542 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการเก็บรักษาอสุจิจากผู้บริจาคเพื่อใช้ในการรักษาคู่สมรสที่มีปัญหามีบุตรยากที่จำเป็นต้องได้รับการผสมเทียม โดยจะทำการตรวจคัดกรองโรคต่างๆที่อาจถ่ายทอดทางอสุจิโดยเฉพาะโรคติดเชื้อ เช่น โรคเอดส์ โรคซิฟิลิส โรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัสบี และโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ได้แก่ โรคเลือดธาลัสซีเมีย เพื่อให้การรักษาโดยการผสมเทียมมีความปลอดภัยสูง
          นอกจากนี้ธนาคารอสุจิยังให้บริการรับแช่แข็งอสุจิให้คู่สมรสที่มีบุตรยากที่ฝ่ายชายมีความจำเป็นที่ไม่สามารถมาเก็บอสุจิตามวันที่กำหนดได้ และยังรับแช่แข็งอสุจิให้กับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการฉายแสง หรือเคมีบำบัดที่อาจมีผลกระทบต่อการสร้างอสุจิในภายหลัง
        คู่สมรสที่มีปัญหามีบุตรยากสามารถสอบถามรายละเอียดการให้บริการได้ที่คลินิกมีบุตรยาก ในวันอังคาร และ วันพฤหัสบดี เวลา 13:00 น. ถึง15:00 น. ส่วนผู้ที่สนใจจะบริจาคอสุจิสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-5394-5559 และ 0-5394-6438 ในวันและเวลาราชการ หรือ e-mail มาที่ osreshth@mail.med.cmu.ac.th

 

สถานที่ตั้ง : ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ชั้น 3 อาคารบุญสม มาร์ติน
เวลาทำการ :
วันและเวลาราชการ
ติดต่อ โทรศัพท์ 0-5394-5559 และ 0-5394-66438 ในวันและเวลาราชการ


ธนาคารอสุจิ (sperm bank) ทางเลือกสำหรับผู้มีบุตรยาก

ภาวะมีบุตรยาก หมายถึง การที่คู่สมรสไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ หลังจากที่อยู่ร่วมกันและมีเพศสัมพันธ์กันอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ได้คุมกำเนิดเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี ภาวะมีบุตรยากนี้แม้ว่าจะไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพทางกายมากเหมือนกับปัญหาด้านอื่นๆ แต่ก็มีผลกระทบอย่างมากต่อจิตใจของคู่สมรส และยังมีผลทางด้านสังคมอีกด้วย อุบัติการณ์ของภาวะมีบุตรยากเท่าที่มีรายงานในวารสารทางการแพทย์พบได้ร้อยละ 8.4 ถึง 21.5 ของคู่สมรสทั้งหมด โดยรายงานส่วนใหญ่จะพบประมาณร้อยละ 13 – 14 ของคู่สมรส ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกลุ่มประชากร ความแตกต่างทางสังคม และที่สำคัญคืออายุของคู่สมรสฝ่ายหญิง ส่วนสาเหตุของภาวะมีบุตรยากนั้นพบว่าร้อยละ 30 – 40 เกิดจากความผิดปกติของคู่สมรสฝ่ายชาย ร้อยละ 30 – 40 เกิดจากพยาธิสภาพในอุ้งเชิงกรานของฝ่ายหญิง ร้อยละ 10 – 15 เกิดจากความผิดปกติของการตกไข่ และยังมีอีกร้อยละ 10 – 15 ที่ตรวจไม่พบสาเหตุ ซึ่งในที่นี้จะเน้นถึงภาวะมีบุตรยากเฉพาะที่เกิดจากความผิดปกติทางฝ่ายชายเท่านั้น ภาวะมีบุตรยากเฉพาะที่เกิดจากความผิดปกติทางฝ่ายชายนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากการที่น้ำอสุจิมีคุณภาพไม่ดี ทำให้ตัวอสุจิไม่สามารถปฏิสนธิกับไข่ได้ องค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่าปกติของน้ำอสุจิไว้ดังนี้ คือมีปริมาตรตั้งแต่ 2 มิลลิลิตรขึ้นไป มีความเป็นกรด-ด่างหรือ pH เท่ากับ 7.2 – 8.0 มีความเข้มข้นของตัวอสุจิตั้งแต่ 20 ล้านตัวต่อมิลลิลิตรขึ้นไปหรือมีจำนวนตัวอสุจิทั้งหมดตั้งแต่ 40 ล้านตัวขึ้นไปต่อการหลั่งอสุจิหนึ่งครั้ง ส่วนการเคลื่อนที่ของตัวอสุจินั้นจะต้องมีตัวอสุจิที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ร้อยละ 50 ขึ้นไป หรือมีตัวอสุจิที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างเร็วร้อยละ 25 ขึ้นไป การตรวจลักษณะของตัวอสุจิต้องพบตัวอสุจิที่ปกติร้อยละ 30 ขึ้นไป และการตรวจการมีชีวิตของตัวอสุจิต้องพบอสุจิที่มีชีวิตอย่างน้อยร้อยละ 50 ซึ่งจากเกณฑ์ดังกล่าวทำให้สามารถให้การวินิจฉัยความผิดปกติทางฝ่ายชายได้เป็น ภาวะเป็นหมัน คือไม่พบตัวอสุจิในน้ำอสุจิเลย และภาวะน้ำเชื้ออ่อน คือยังตรวจพบตัวอสุจิในน้ำอสุจิได้แต่มีปริมาณน้อย มีการเคลื่อนไหวน้อย มีจำนวนตัวอสุจิที่มีลักษณะปกติน้อย หรือมีความผิดปกติมากกว่าหนึ่งอย่าง สำหรับการรักษาคู่สมรสที่มีบุตรยากซึ่งเกิดจากความผิดปกติทางฝ่ายชายนั้น ทำได้โดยพยายามเพิ่มโอกาสให้อสุจิที่มีอยู่น้อยนั้นสามารถปฏิสนธิกับไข่ได้ เช่น การคัดเลือกตัวอสุจิที่มีคุณภาพดี แล้วทำการฉีดเข้าไปในโพรงมดลูก (intrauterine insemination; IUI) ซึ่งจะได้ผลก็ต่อเมื่อยังมีอสุจิที่เคลื่อนไหวดี ปริมาณเพียงพอ แต่ในรายที่อสุจิมีจำนวนน้อย ก็อาจจำเป็นต้องได้รับการรับการรักษาโดยการทำเด็กหลอดแก้ว (in vitro fertilization and embryo transfer; IVF-ET) หรือการทำเด็กหลอดแก้วร่วมกับการช่วยการปฏิสนธิโดยวิธีการฉีดอสุจิเข้าไปในเซลล์ไข่หรืออิกซี่ (intracytoplasmic sperm injection; ICSI) ส่วนในรายที่ตรวจไม่พบตัวอสุจิในน้ำอสุจิเลยนั้น อาจจะต้องมีการดูดตัวอสุจิจากท่อนำอสุจิส่วนต้น หรือที่อัณฑะ (surgical sperm recovery) ซึ่งอสุจิเหล่านี้จะไม่สามารถปฏิสนธิกับไข่ได้เอง จะต้องผ่านการทำเด็กหลอดแก้วร่วมกับการทำอิ๊กซี่เท่านั้น นอกจากนี้ในรายที่สาเหตุของความผิดปกติของคุณภาพของอสุจิเกิดจากความผิดปกติของหน่วยพันธุกรรมหรือโครโมโซม หรือในรายที่ตรวจไม่พบตัวอสุจิจากการดูดจากท่อนำอสุจิส่วนต้นหรือลูกอัณฑะ ในผู้ป่วยเหล่านี้ไม่สามารถที่จะรักษาโดยวิธีการทำอิ๊กซี่ได้ ซึ่งการผสมเทียมโดยใช้อสุจิจากผู้บริจาคจะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยในกลุ่มนี้ให้สามารถมีบุตรได้ตามที่ต้องการ นอกจากนี้ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญ เนื่องจากการรักษาโดยวิธีการทำเด็กหลอดแก้วร่วมกับการทำอิกซี่นั้นต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง (จำนวนหลายหมื่นบาทต่อหนึ่งรอบของการรักษา และมีโอกาสประสบความสำเร็จเพียงหนึ่งในสามเท่านั้น) ทำให้คู่สมรสหลายรายไม่สามารถที่จะได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้เนื่องจากมีปัญหาทางเศรษฐกิจ การรักษาด้วยวิธีการผสมเทียมซึ่งมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าหลายเท่าตัว จะสามารถช่วยเหลือให้ครอบครัวเหล่านี้สามารถมีทายาทได้ตามความต้องการ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ได้มีการให้บริการให้คำปรึกษา ตรวจหาสาเหตุและให้การรักษาแก่คู่สมรสที่มีปัญหามีบุตรยากมาเป็นเวลานาน โดยได้เปิดคลินิกมีบุตรยากซึ่งให้บริการโดยแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถ และมีคู่สมรสที่มีปัญหามารับการตรวจรักษาเป็นจำนวนมาก ในปี พ.ศ. 2543 ได้มีผู้มารับคำปรึกษาทางด้านมีบุตรยากเป็นจำนวนถึง 403 ราย ได้มีการตรวจน้ำอสุจิในคู่สมรสฝ่ายชาย 238 ราย ซึ่งในจำนวนนี้พบว่ามีความผิดปกติของน้ำอสุจิ 89 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 37 โดยมีอยู่ 19 รายที่ผลการตรวจพบว่าเป็นหมัน คือไม่พบตัวอสุจิในน้ำอสุจิเลย และอีกสองรายคู่สมรสฝ่ายชายเคยผ่านการทำหมันมาแล้ว ซึ่งในคู่สมรสเหล่านี้มีหลายรายที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยวิธีการผสมเทียม ทางโรงพยาบาลมหาราช ได้ตระหนักถึงความสำคัญนี้จึงได้ทำการจัดตั้งธนาคารอสุจิขึ้นในปี พ.ศ.2542 เพื่อทำการจัดหาอสุจิสำหรับใช้ในการรักษาด้วยวิธีการผสมเทียมแก่คู่สมรสที่มีปัญหามีบุตรยาก โดยทางธนาคารอสุจิได้มีการตั้งแนวทางปฏิบัติเพื่อที่จะทำการตรวจคัดกรองผู้บริจาค โดยเฉพาะโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่ โรคเอดส์ นอกจากนี้ทางธนาคารอสุจิยังได้ทำการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้ออื่นๆ ได้แก่ โรคซิฟิลิส ตับอักเสบไวรัสบี และโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม คือโรคเลือดธาลัสซีเมีย ทั้งนี้เพื่อให้แน่ได้ว่า อสุจิที่จะนำมาใช้ในการรักษาคู่สมรสที่มีปัญหาจะมีความปลอดภัยจริงๆ ในการดำเนินการของธนาคารอสุจินั้น นอกจากจะได้รับการสนับสนุนด้านการดำเนินการจากภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์แล้ว ทางธนาคารอสุจิยังมีความต้องการที่จะรับผู้บริจาครายใหม่ๆ เพื่อให้มีจำนวนอสุจิเพียงพอต่อการที่จะนำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหามีบุตรยากต่อไป จึงขอประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่ต้องการจะบริจาคอสุจิเพื่อช่วยเหลือคู่สมรสที่มีปัญหามีบุตรยาก ติดต่อกลับมาได้ที่ โครงการธนาคารอสุจิ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หมายเลขโทรศัพท์ 0-5394-6438 ในวันและเวลาราชการ หรืออีเมล์มาที่ osreshth@mail.med.cmu.ac.th

Read More

About RH

Family Planning & Menopause

Faculty of Medicine Chiang Mai University, THAILAND

ศ. พญ. สายพิณ พงษธา

(หัวหน้าหน่วยอนามัยเจริญพันธุ์และวัยทอง)

Read More
โอภาส เศรษฐบุตร

About RM

Reproductive Medicine Unit

Faculty of Medicine Chiang Mai University, Thailand

Infertility-Endocrinology & Endoscopy StaffFamily Planning & Menopause Staff

Scientists

Waraporn Piromlertamorn, M.Sc.
นส.วราภรณ์ ภิรมย์เลิศอมร

Sudarat Samchimchom, B.Sc.
นส.สุดารัตน์ สามฉิมโฉม

Warinda Poontaweerat, B.Sc.
นส.วรินดา พูนทวีรัตน์

Nurses

Rung-Aroon Sreshthaputra, M.Sc. (Co-Ordinator nurse)
นาง รุ่งอรุณ เศรษฐบุตร

Kalya Sangjan, B.Sc. (OPD nurse)
นส. กัลยา แสงจันทร์

Nuchanat Suntornlimsiri , B.Sc. (OPD nurse)
นาง นุชนาต สุนทรลิ้มศิริ

Sayamon Cotchapanya, Master of Nursing. (OPD nurse)
นส. ศยามล คชปัญญา

Interesting Topics

Sperm Bank

 

Books

Read More