P้hytoestrogen

สายพิณ พงษธา


Phytoestrogen

คือ สารธรรมชาติที่ได้มาจากพืช ซึ่งมีโครงสร้างและการออกฤทธิ์คล้ายคลึง estradiol โดยเมื่อเข้าสู่ลำไส้แล้วจึงจะมีฤทธิ์ของ Estradiol ปรากฎขึ้นมา ปัจจุบันจึงกล่าวถึง phytoestrogen  อย่างกว้าง ขวาง    เนื่องจากโครงสร้างและการออกฤทธิ์ที่คล้าย estrogen ดังกล่าวการที่ได้รับสารอาหารธรรมชาติชนิดนี้ จึงน่าจะมีบทบาทในการรักษา อาการที่เกิดขึ้น ในช่วงวัยหมดระดู   รวมถึงการปกป้องการเกิดโรคหัวใจและ หลอดเลือดรวมถึงโรคกระดูกพรุน   นอกจากนั้นพบว่าประชากรที่มีวิถีชีวิตการกินอยู่ที่สัมพันธ์กับ phytoestrogen อย่างแนบแน่น เช่น กลุ่มที่รับประทานมังสวิรัติ , ประชากรในแถบเอเชียโดยเฉพาะญี่ปุ่น พบว่ามีอัตราการเกิดโรคหัวใจ และมะเร็งต่ำ

Phytoestrogen พบในพืช 3 ประเภทดังนี้

  • Legume : พืชชนิดที่เป็นฝัก เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลันเตา ถั่วลิสง ทองหลาง กระถิน
  • Cereal : พืชชนิดที่เป็นเมล็ด เช่น ข้าว , เมล็ดของต้น flax ซึ่งใช้ทำผ้าลินิน ( Flaxseed หรือ Linseed)
  • Grasses : พืชจำพวกหญ้า

ซึ่ง Phytoestrogen ประกอบด้วยสารสำคัญดังนี้

  • Isoflavones
  • Lignans
  • Coumestans
  • Resorcyclic acid lactones

        โดย   lignans และ isoflavones ออกฤทธิ์ทางชีววิทยาได้ทั้งในคนและสัตว์ ส่วน coumestans  และ resorcyclic acid lactones ออกฤทธิ์ได้เฉพาะในสัตว์เท่านั้น ดังนั้น phytoestrogen  ที่จะกล่าวถึงเป็นพิเศษนี้ก็คือ   isoflavones  และ lignans ซึ่งทั้งสองชนิดออกฤทธิ์แบบ   weak  estrogenic activity   แต่ในขณะเดียวกันก็มี   antiestrogenic  activity  ด้วย    หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Tamoxifen like activity

การออกฤทธิ์ Isoflavones และ Lignans
–  antiviral
–  antifungal
–  bacteriocidal
–  anticarcinogenic
Flavones
–  antioxidant
–  antimutagen
–  antihypertensive
–  antiinflammatory
–  antiproliferative
แหล่งที่พบ Isoflavones พบมากใน legume เช่น ถั่วเขียว ถั่วลันเตา แต่ที่พบอุดมสมบูรณ์ที่สุด คือ ถั่วเหลือง สารหลักที่ได้จาก isoflavones คือ genistein และ daidzein ดังรายละเอียดในตารางที่ 1
Lignans  พบมากใน cereal โดยเฉพาะ flaxseed แต่ก็สามารถพบได้ใน cereal อื่น ๆ   และพืชประเภทผักสารหลักที่ได้จาก lignans คือ enterolactone และ enterodiol ซึ่งได้แสดงรายละเอียดที่ได้จากแหล่งต่าง ๆ ดังตารางที่ 2.

ตารางที่ 1 แสดงปริมาณสารที่ได้จาก Isoflavones ในแหล่งอาหารต่าง ๆ

ชนิดอาหาร

Daidzein(mg/100g.)

Genistein(mg/100g.)

Glycetein (mg/100g.)

Total
(mg/100g.)

Roasted soybeans

56.3

86.9

19.3

162.5

Textured vegetable protein

47.3

70.7

20.2

138.2

Green soybean

54.6

72.9

7.9

135.4

Soyflour

22.6

81.0

8.8

112.4

Tempen

27.3

32.0

3.2

62.5

Tofu

14.6

16.2

2.9

33.7

Tofu yogurt

5.7

9.4

1.2

16.4

Soy hot dog

3.4

8.2

3.4

15.0

Soy noodle (dry)

0.9

3.7

3.9

8.5

เมื่อมาแยกดูแหล่งของ isoflavones ที่สำคัญที่สุด คือ ถั่วเหลืองและดูปริมาณของ   isoflavones ต่ออาหารเหล่านี้ปริมาณ 100 g ได้ค่าดังที่แสดง

Isoflavones (gm)

Soy flours

178- 305

Soy protein isolate

103- 145

Soy protein concentrate

21- 317

Soy drink

26- 31.3

        ประมาณกันไว้ว่าการได้รับผลิตภัณฑ์อาหารถั่วเหลืองนั้น ในคนญี่ปุ่นได้รับสูงสุดคือ เป็น isoflavones 200  mg/Day  ส่วนคนเอเชียอื่น ๆ ได้รับ 25-45 mg/Day  และประเทศทางตะวันตกได้รับน้อยกว่า   5 mg/Day

ตารางที่ 2 แสดงสารที่ได้จาก lignans ในแหล่งอาหารต่าง ๆ

ชนิดอาหาร

Enterodiol (mg/100g.)

Enterolactone (mg/100g.)

Total (mg/100g.)

Flaxseed meal

59.02

8.52

67.51

Flaxseed flour

40.86

11.82

52.68

Lentil ( ถั่วแขก)

1.00

0.78

1.78

Dried seaweed

0.98

0.16

0.14

Soybeans

0.17

0.69

0.86

Oat bran

0.39

0.26

0.65

Kidney bean

0.23

0.33

0.56

Wheat

0.08

0.41

0.46

Garlic

0.33

0.08

0.41

Squash ( แตง , น้ำเต้า)

0.11

0.27

0.38

Asparagus ( หน่อไม้ฝรั่ง)

0.24

0.14

0.38

Pears

0.07

0.11

0.18

Rye

0.09

0.07

0.16

Plums

0.10

0.05

0.15

Phytoestrogen และ hot flush

อุบัติการของ Hot flush ในแต่ละแห่งมีความแปรปรวนมาก ซึ่งทางเอเชียพบน้อยกว่าทางยุโรปมาก
โดยเฉพาะในสตรีญี่ปุ่น พบน้อยมากน่าจะมีบทบาทของอาหารที่มี phytoestrogen เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง   ฤทธิ์ของ estrogen  มีผลต่อความถี่และความรุนแรงของอาการ   vasomotor symptom และการที่เสริมอาหารแป้งถั่วเหลือง ( soy flour) และ flaxseed เข้าไปซึ่งจะให้ isoflavones  และ   lignans  ซึ่งจาก   pilot study  พบว่าทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของ vaginal epithelium ได้ หรือเมื่อมีการสังเคราะห์ phytoestrogen จาก zearalenone และ resorcyclic acid  lactone  ซึ่งมีฤทธิ์ estrogen เหมือนกับ conjugated  estrogen  สามารถใช้รักษา   hot flush, dyspareunia, vaginitis ได้ และแตกต่างจากการใช้ placebo

Phytoestrogen และโรคมะเร็ง

ประชากรในภูมิภาคเอเซียและยุโรปตะวันออก   พบการเกิด   CA breast,  CA colon,   CA prostate gland, CA corpus, CA ovary และรวมถึง coronary heart disease  น้อยกว่าทางประเทศแถบตะวันตกมาก ทางระบาดวิทยาพบว่า phytoestrogen มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการป้องกันภาวะเหล่านี้ในคนเอเซียโดย เฉพาะอย่างยิ่งการบริโภคถั่วเหลือง   รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากถั่วเหลือง เป็นประจำซึ่งเป็นแหล่งหลักของ   isoflavones คนญี่ปุ่นซึ่งรับประทานอาหารประเภทนี้มาก   พบว่าพบอุบัติการของมะเร็งที่สัมพันธ์กับ hormone น้อยที่สุด   ในขณะที่คนญี่ปุ่น ซึ่งอพยพออกจากประเทศแล้วดำเนินวิถีชีวิตแบบชาวตะวันตก พบว่าความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

CA breast

คนญี่ปุ่นนอกจากจะพบ CA breast น้อยกว่าคนอังกฤษและอเมริกันแล้ว ยังพบว่ามีพยากรณ์โรคดี กว่าเนื่องจากพบในระยะไม่ลุกลามมากว่า และหากพบในระยะลุกลามก็พบว่ามีการกระจายไปต่อม น้ำเหลืองที่น้อยกว่าจึงมีอัตราการอยู่รอดมากกว่า
การศึกษาในสิงคโปร์พบว่าการรับประทานอาหารที่มีถั่วเหลืองมากจะช่วยลดความเสี่ยงของ   CA breast ในสตรีวัยก่อนหมดระดู โดยมี relative risk = 0.29
Allercreutz และคณะ พบว่าสตรีที่รับประทานมังสวิรัติและในภูมิภาคที่มี CA breast ต่ำ มีปริมาณของ lignans ในปัสสาวะมากกว่าในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง
การศึกษาในห้องทดลองสนับสนุนว่า phytoestrogen ยับยั้งการเจริญของ breast  cancer cell โดย enterolactone, enterodiol, synthetic mammalian lignan derivatives สามารถยับยั้งการเติบโตได้ 18-20%  และในขณะเดียวกัน ก็พบผลนี้เช่นกันทั้ง synthetic และ   natural flavonoid การศึกษายังพบอีกว่า phytoestrogen  นี้ไม่เพียงแต่ยับยั้งการเจริญเติบโตของ cell เท่านั้น แต่ยังทำลาย cell ให้ตายไปด้วย   ดังนั้นจึงมีบทบาทต่อการป้องกัน    การเกิด CA breast ได้

CA Colon

อุบัติการของ CA colon ก็พบแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคเช่นกัน เช่น ในคนญี่ปุ่นที่อาศัยใน ประเทศญี่ปุ่น พบ 8.1/100,000 คน (ผู้หญิง) 6.7/100,000 คน (ผู้ชาย) แต่ชายญี่ปุ่นที่อาศัยในฮาวาย กลับพบว่ามีอุบัติการมากกว่า ดังนี้
19.1/100,000 คนในปี 1962-1965 และเพิ่มเป็น 34.2/100,000 คนในปี ซึ่งสะท้อนว่า อาหารมีบทบาทต่อการเกิดโรคหรือป้องกันโรค ไม่ได้หมายความเฉพาะอาหารที่มีกากใย ( fiber) เพียงอย่างเดียว แต่รวมถึง phytoestrogen ด้วย      ปัจจุบันค้นพบแล้วว่า estradiol, progesterone, DHT receptors อธิบายถึง   primary colon  cancer ได้โดย estradiol ช่วยยับยั้งการเจริญของ colon cancer cell  ได้ 15-30 % ใน cell line culture
การศึกษาในห้องทดลองโดยใช้ biochanin A, genistein และ isoflavones สามารถยับยั้งการเจริญของ colon cancer cell ได้เช่นกัน
อาหารถั่วเหลืองสามารถช่วยป้องกันการเกิด CA colon ได้   โดยทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของ estrogen  level และ bile acid concentration ในลำไส้   รวมถึงการมีระดับความเข้มข้นที่สูงขึ้นของ fiber, soy และ phytoestrogen

Phytoestrogen และ Osteoporosis

ปัจจัยที่มีผลต่อการแข็งแรงของกระดูกมีหลายประการ เช่น รูปร่าง , เชื้อชาติ , เพศ , การออกกำลังกาย และอาหาร ซึ่งอาหารที่มีบทบาทสำคัญคือ calcium และ phytoestrogen   คนเอเชียพบภาวะ osteoporosis น้อย และสตรีญี่ปุ่นพบ hip fracture น้อยกว่าคนผิวขาวซึ่งแสดงว่า phytoestrogen เป็นปัจจัยที่สำคัญมากประการหนึ่งในรูป
ของอาหารที่มีในชีวิตประจำวัน มีการศึกษาหลาย ๆ อันที่สนับสนุนผลในการป้องกันของ phytoestrogen นี้ เช่น Genistein ในขนาดต่ำ ๆ มีฤทธิ์เท่ากับ conjugated equine estrogen และสามารถป้องกัน osteoporosis ในหนูที่ถูกตัดรังไข่ออกทั้งสองข้าง   Ipriflavone ( ซึ่งให้ main metabolite คือ daidzein) ใช้ป้องกัน osteoporosis ในผู้ป่วยที่ได้รับ   GnRH agonist, รักษาเนื้อกระดูก รวมถึงเพิ่มเนื้อกระดูกได้   ในสตรีที่หมดระดูโดยขนาดที่ใช้คือ 600 mg/Day ของ Ipriflavone ซึ่งเท่ากับ 60 mg/Day ของ daidzein

Phytoestrogen และ Cardiovascular Disease

เป็นที่ทราบอย่างชัดเจนว่าโรคนี้เกี่ยวข้องกับ hormone เพศหญิง โดยในผู้หญิงช่วงก่อนหมดระดู พบโรคนี้น้อยกว่าผู้ชาย และจะเพิ่มอย่างชัดเจนเมื่อหมดระดู แต่เมื่อใช้ hormone  ทดแทนก็สามารถลดความเสี่ยง
การเกิดโรคนี้ได้ถึง   50 % โดยการออกฤทธิ์เป็นไปในหลายกลไก ดังนั้น   phytoestrogen  ที่ออกฤทธิ์เหมือน estrogen ซึ่งมีความสามารถเช่นเดียวกับการใช้ hormone ทดแทน
การรับประทานอาหารถั่วเหลืองมีหลักฐานว่าช่วยเปลี่ยนแปลงไขมันในร่างกายได้โดยช่วยลด   total cholesterol, LDL, triglyceride โดยมีการเปลี่ยนแปลงได้ถึง 60-70 %
ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคหัวใจอีกประการหนึ่งคือ ระดับของ Lipoprotein (a)  ซึ่งเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ แต่ estrogen หรือ hormone เพศอื่น ๆ ก็สามารถช่วยลดระดับ lipoprotein (a) ได้ประมาณ   35 % ในขณะที่ยาที่ใช้รักษาเกี่ยวกับโรคหัวใจทั้งหลาย ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงค่านี้ได้   เนื่องจากโครงสร้างของ isoflavones ที่คล้าย estradiol และมีความสามารถในการจับ estrogen receptor ที่ดี ดังนั้นอาหารที่มี isoflavones จึงลดระดับของ lipoprotein (a) ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Knight DC, Eden JA. A review of the clinical effects of  phytoestrogens. Obstet Gynecol 1996; 87 : 897-904.
  2. Boulet MJ, Oddens BJ, Lehert P, Vemer HM, Visser A.   Climacteric  and menopause in seven south-east Asian countries. Maturitas 1994; 19:157-76.
  3. Kaldas R, Hughes Jnr CL. Reproductive and general metabolic effects  of phytoestrogens in mammals. Reprod Toxicol 1989; 3 : 81-9.
  4. Axelson M, Sjovall J, Gustafsson BE, Setchell KDR. Soya  –  A  dietary source  of  the  non-steroidal estrogen equol in man  and  animals.   J Endocrinol 1984; 102 : 49-56.
  5. Price KR, Fenwick GR. Naturally occurring estrogens in foods – A review. Food Addit Contam 1985;2 : 73-106.
  6. Adlercreutz H. Diet, breast cancer and sex hormone metabolism. Ann N  Y Acad Sci 1990; 595 :281-90.
  7. Wyman JG, Vanettan HD. Antibacterial activity of selected isoflavonoids. Phytopathology 1978; 68 : 583-9.
  8. MacRae WD, Hudson JB, Towers GHN. The antiviral  action  of  lignans. Planta Med 1989; 55 : 531-5
  9. Naim M, Gestetner B, Zilkah S, Birk Y, Bondi A. Soy  bean  isoflavones. Characterization,determination and antifungal activity. J  Agric  Food Chem 1974; 22 : 806-10.
  10. Hirano T, Oka K, Akiba M. Antipro ส iferative activity of  synthetic  and maturally  occurring flavonoids  on tumour cells  of  the  human  breast carcinoma cell line, ZR-75-1. Res Commun Chem Pathol pharmacol 1989;  64 : 69-78.
  11. Hartman PE , Shankel DM. Antimutagens and anticarcinogens : A survey  of putative interceptor molecules. Environ Mol Mutagen 1990; 15 : 145-82.
  12. Martin PM, Horwitz KB, Ryan DS, McGuire WL.  Phytoestrogen  interaction with  estrogen receptors in human breast cancer  cells.   Endocrinology 1978; 103 : 1860-7.
  13. Messina MJ, Persky V, Setchell KDR, Barnes S. Soy intake and cancer risk: A review of the in vitro and in vivo data. Nutr Cancer 1994; 21 : 113-31.
  14. Valente M, Bufalino L, Castiglione GN. Effects of 1-year treatment  with ipriflavone  on bone in postmenopausal women with low bone mass.  Calcif Tissue Int 1994; 54 : 377-80.
  15. Gambacciani M, Spinetti A, Piaggesi L. Ipriflavone prevents  the  bone mass   reduction  in  premeno-pausal  women  treated  with   gonadotropin hormone-releasing hormone agonists. Bone Miner 1994;6 : 19-26.
  16. Wilcox G, Wahlqvist ML, Burger HG, Medley G. O’estrogenic effects  of plant foods in postmenopausal women. BMJ 1990; 301 : 905-6.
  17. Nilsson K, Risberg B, Heimer G. The vaginal epithelium in the  postmenopause-cytology,  histology and pH as methods of assessment.   Maturitas 1995; 21 : 51-6.
  18. Rose DP, Boyer AP, Wynder EL. Internatinal comparison of mortality rates for  cancer  of the breast,ovary, prostate, and colon,  per  capita  fat consumption. Cancer 1986; 58 : 2363-71.
  19. Lee HP, Gourley L, Duffy SW. Dietary effects on breast cancer risk  in Singapore . Lancet 1991; 337:1197-200.
  20. Coward L, Barnes NC, Setchell KDR, Barnes S. The isoflavones  genistein and  daidzein in soy bean foods from American and Asain diets.  J  Agric Food Chem 1993; 41 : 1961-7.
  21. Adlercreutz  H,  Fotsis  T, Heikkinen R.   Excretion  of  the  lignans enterolactone  and enterodiol and of equol in omnivorous  and  vegetarian women and in women with breast cancer. Lancet 1982; 2 :1295-9.
  22. Cohen LA, Rose DP, Wynder EL. A rationale for dietary intervention  in postmenopausal breast cancer patients : An update. Nutr Cancer 1993;  19 : 1-10.
  23. Stemmerman GN, Catts A, Fukunaga FH, Horie A, Nomura AMY. Breast cancer in women of Japanese and Caucasian ancestry in Hawaii . Cancer 1985; 56 : 206-9.
  24. Nomura AMY, Le Marchand L, Kolonel LN, Hankin JH. The effect of  dietary fat  in  breast  cancer survival among Caucasian and  Japanese  women  in Hawaii . Breast Cancer Res treat 1991; 18 : 1355-415.
  25. Lointier P, Witdrisk DM, Boman BM. The effects of steroid hormones on  a human colon cancer cell line in vitro. Anticancer Res 1992; 12 : 1327-30.
  26. Sica V, Nola E, Contieri E. Estradiol and  progesterone  receptors  in malignant gastrointestinal tumours. Cancer Res 1984; 44 : 4670-4.
  27. Anderson JW, Johnstone BM, Cook-Newell ME. Meta-analysis of the  effects of soy protein intake on serum lipids. N Engl J Med 1995; 333 : 276-82.
  28. Stampfer MJ, Colditz GA. Estrogen replacement therapy and coronary heart disease : A quantitative assessment of the epidemiologic evidence.  Prev Med 1991; 20 : 47-63.
  29. Carroll KK. Review of clinical studies on cholesterol-lowering  response to soy protein. J Am Diet Assoc 1991; 91 : 820-7.