ขอจัดตั้งรายการครุภัณฑ์ประจำปี 2555

เรียน  อาจารย์ทุกท่าน

 
เนื่องด้วยทางคณะฯ  ได้มีหนังสือขอให้ทางภาควิชาฯ  เสนอขอจัดตั้งซื้องบประมาณครุภัณฑ์ประจำปี  2555  จากงบประมาณดังต่อไปนี้
                                        
 1.  งบประมาณแผ่นดิน                    (ขอจัดตั้งได้ไม่จำกัดวงเงิน)
2.  งบรายได้หน่วยกิต                     จำนวนงบที่ได้รับ   48,000  บาท
3.  งบเร่งรัดการผลิตแพทย์เพิ่ม         จำนวนงบที่ได้รับ   338,000  บาท 
 
อาจารย์ท่านใดต้องการเสนอขอครุภัณฑ์จากงบดังกล่าว  กรุณาส่งรายละเอียดของครุภัณฑ์  ได้แก่ ใบเสนอราคา และสเปคของครุภํณฑ์ที่จะขอได้ที่คุณรัตติยา  ก่อนวันที่  22  พย. 53
                                                                                                                              
                                                                                                                              รัตติยา
Read More

เราคว้าหลายรางวัล RTCOG 2010

การประชุมวิชาการประจำปี 2553 ของราชวิทยาลัย ทีมงานของเชียงใหม่เรา คว้ารางวัลที่น่ายินดีมาเพียบ เช่น อ.จารุวรรณ อ.มนัสวี พ.ญ.อินทิรา พ.ญ.เหมย เป็นต้น รายละเอียดดังนี้

การประกวดรางวัลวิจัยดีเด่นของ RTCOG ด้านมะเร็งนรีเวช

อ.พ.ญ. จารุวรรณ แซ่เต็ง ได้รับรางวัลชนะเลิศ

การประกวดรางวัลเฟลโลว์ (GSK awards)

พ.ญ. ปิยรัตน์ อุดมวรรณ รางวัลชนะเลิศด้านเวชศาสตร์มารดาและทารก

พ.ญ. อุษณีย์ แสนหมี่ รางวัลชนะเลิศด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์

น.พ. มนัสวี มะโนปัญญา รางวัลที่สอง ด้านมะเร็งนรีเวชวิทยา

การประกวดผลงานวิจัยแพทย์ประจำบ้าน ปรากฏว่า

พ.ญ. อินทิรา ศรีประเสริฐ (อุ้ม) คว้ารางวัลที่ 1 ชนะเลิศ

พ.ญ. ศรุตา ช่อไสว (ต้า) คว้ารางวัลชมเชย

Read More

โครงการคัดกรองดาวน์

Workshop การคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์

ข่าวดีสำหรับสตรีตั้งครรภ์ในภาคเหนือ: หน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ กำลังเริ่มโครงการคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์

การประชุมวิชาการเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับโครงการคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ ที่ผ่านมา (กันยายน 2553) ได้รับความนิยมอย่างมาก คาดว่าเราจะมีเครือข่ายในภาคเหนือตอนบนกว่า 20 โรงพยาบาล ขณะนี้โครงการได้ผ่านการพิจารณาและได้รับอนุมัติในโครงการไทยเข้มแข็งของมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว พี่ๆ น้องๆ ในภูมิภาคแถบนี้เตรียมตัวเข้าร่วมโปรแกรม workshop ครั้งต่อไปได้เลย เรามีโครงการร่วมกันในการคัดกรองดาวน์ให้แก่ประชากรไทยภาคเหนือตอนบน 40,000 – 50,000 คน โดยผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย (ซึ่งราคาปกติประมาณ 1500-3000 บาท)

Read More

อ.มนัสวี มะโนปัญญา

ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ขอแสดงความยินดีและต้อนรับ อ.น.พ. มนัสวี มะโนปัญญา (อาจารย์เอ) เข้าสู่ตำแหน่งอาจารย์ในภาควิชา นับเป็นข่าวดี และน่าภูมิใจอีกครั้งหนึ่งของทั้งภาควิชา และหน่วย gynecologic oncology

Read More

ด่วน! เปลี่ยนวันเวลาเยี่ยมสำรวจ TQA

ด่วน! เปลี่ยนวันเวลาเยี่ยมสำรวจ TQA

เปลี่ยนวันเวลาจากกำหนดการเดิมวันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม 2553 มาเป็นวันพุธที่ 25 สิงหาคม 2553

การเยี่ยมสำรวจ TQA ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนวันเวลาจากกำหนดการเดิมวันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม 2553 มาเป็นวันพุธที่ 25 สิงหาคม 2553 ทางภาควิชาจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะขอความร่วมมือจากคณาจารย์ในการงดกิจกรรมทางวิชาการในตอนบ่ายวันพุธของทุกหน่วย subspecialty และให้ความร่วมมือกับทีมผู้เยี่ยมสำรวจ

Read More

ขอต้อนรับคณะผู้เยี่ยมสำรวจ TQA

ยินดีต้อนรับคณะผู้เยี่ยมสำรวจการประกันคุณภาพการศึกษา

คณะกรรมการตรวจสอบ TQA จะมาเยี่ยมสำรวจภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553 พี่ๆ น้อง ๆ อาจารย์ แพทย์ประจำบ้าน นักศึกษาแพทย์ และเจ้าหน้าที่ทุกระดับ มีความยินดีต้อนรับคณะผู้เยี่ยมสำรวจ

Read More
bouquet2

รางวัลวิจัยแพทย์ประจำบ้าน

bouquet2จากการประกวดการนำเสนอผลงานวิจัยราชวิทยาลัยสูตินรีแพทยแห่งประเทศไทยที่ผ่านมา

แพทย์ประจำบ้านของเรา ได้รับ 3 รางวัล ได้แก่

  • นพ.กฤดา คุณาวิกติกุล ได้รับรางวัลที่สอง จากการนำเสนอเรื่อง Sensitivity and specificity of Wallach Endo-cellTM endometrial cell sampler in diagnosing
  • นพ.พลวัฒน์ สุทธิชล ได้รับรางวัลชมเชย จากการนำเสนอเรื่อง  Perioperative complications of an outpatient loop electrosurgical excision procedure: a review of 857 consecutive cases
  • พญ.กุณฑรี ไตรศรีศิลป์  ได้รับรางวัลชมเชย จากการนำเสนอเรื่อง  Pregnancy outcomes in women complicated with thalassemia syndrome at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital
  • พญ.เปรมจิต เจริญวีรกุล ได้รับรางวัลชมเชย จากการนำเสนอเรื่อง Maternal Death at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital: 17-year experience
Read More

Workshop: คัดกรองดาวน์

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ
เรื่อง “การวินิจฉัยก่อนคลอดและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์”
วันที่ 9 – 10 กันยายน 2553
ณ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ จังหวัดเชียงใหม่ 

1.      หลักการและเหตุผล

กลุ่มอาการดาวน์ เป็นความผิดปกติโดยกำเนิดของโครโมโซม ที่พบได้บ่อยที่สุดในทารกแรกคลอด การวินิจฉัยก่อนคลอด เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดอุบัติการณ์ของทารกกลุ่มอาการดาวน์ได้ โดยการเจาะตรวจโครโมโซมของทารกในครรภ์ ซึ่งแนะนำในสตรีตั้งครรภ์ที่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 35 ปี ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้ตรวจพบทารกกลุ่มอาการดาวน์ได้เพียงร้อยละ 20 ของทารกกลุ่มอาการดาวน์ที่คลอดทั้งหมดและยังมีความเสี่ยงต่อการแท้งจึงไม่เหมาะสมที่จะตรวจในสตรีตั้งครรภ์ทุกราย ปัจจุบันได้มีผู้พยายามค้นหาเทคนิคการคัดกรองอื่น ๆ มาช่วยเสริม เช่นการตรวจซีรั่มมาร์คเกอร์ และการใช้ลักษณะความผิดปกติบางประการของทารกที่สามารถตรวจพบได้ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เป็นต้น จึงมีความจำเป็นที่แพทย์ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลทั่วไปจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้เทคนิคการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยกลุ่มอาการดาวน์ รวมถึงให้คำแนะนำแก่สตรีตั้งครรภ์และคู่สมรสได้อย่างถูกต้อง หน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารก ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในด้านนี้ และเป็นโอกาสอันดีในการเผยแพร่องค์ความรู้จากงานวิจัยจากการที่อาจารย์ประจำหน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารกได้รับทุนจากงบประมาณโครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติในหัวข้อเรื่อง “การวินิจฉัยก่อนคลอดและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์” จึงได้กำหนดจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การวินิจฉัยก่อนคลอดและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์” ขึ้นเพื่อให้แพทย์และพยาบาลที่มีหน้าที่ในการดูแลรักษาสตรีตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลทั่วไป สามารถตรวจคัดกรองและวินิจฉัยรวมถึงให้คำปรึกษาเพื่อค้นหาคู่สมรสที่มีความเสี่ยงต่อการมีลูกเป็นโรคกลุ่มอาการดาวน์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และได้รับความรู้จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่อไป

2.       วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม

2.1        มีความรู้ความเข้าใจในโครงสร้างของโครงการเรื่องการวินิจฉัยก่อนคลอดและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์

2.2        สามารถประยุกต์ใช้การตรวจคัดกรองรวมถึงเทคนิคในการวินิจฉัยทารกกลุ่มอาการดาวน์ในสตรีตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

3.      ผู้เข้าร่วมโครงการ

3.1  วิทยากร                                                                    8        คน

3.2  สูติแพทย์ แพทย์ต่อยอดสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารก  30 คน
3.3  พยาบาลสูติศาสตร์ และ ผู้สนใจ   70 คน
3.4  แพทย์ประจำบ้านสาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 30 คน
3.5  เจ้าหน้าที่  7 คน
รวม 145 คน

4.      วิทยากร

  1. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระ ทองสง
  2. รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงพรรณี ศิริวรรธนาภา
  3. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชเนนทร์ วนาภิรักษ์
  4. รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสุพัตรา ศิริโชติยะกุล
  5. รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์วีรวิทย์ ปิยะมงคล
  6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงเฟื่องลดา ทองประเสริฐ
  7. อาจารย์ แพทย์หญิงเกษมศรี ศรีสุพรรณดิฐ
  8. อาจารย์ แพทย์หญิงสุชยา ลือวรรณ

 

5.  สถานที่

โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ จังหวัด เชียงใหม่

6.  ระยะเวลา

วันที่ 9 – 10 กันยายน 2553

7.   ผู้รับผิดชอบโครงการ

  • หน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารก ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • งบประมาณโครงการมหาวิทยาลัยแห่งชาติ

8.   การลงทะเบียน

ไม่เก็บค่าลงทะเบียน

9.  งบประมาณ

9.1  ประมาณการรายรับ

  • ได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณโครงการมหาวิทยาล้ยแห่งชาติ      100,000.- บาท

9.2  ประมาณการรายจ่าย

  • ค่าอาหารว่างและอาหารกลางวัน (???- x 145 คน x 2 วัน)                       .- บาท
  • ค่าเอกสารและซีดีประกอบการอบรม (100.- x 145 ชุด)                  14,500.- บาท
  • ค่าแผ่นพับ (10.- x 500 แผ่น)                                                 5,000.- บาท
  • ค่าแสตมป์และซองจดหมาย                                                    2,000.- บาท

รวม                                           100,000.- บาท

 

10.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการให้บริการการตรวจคัดกรอเพื่อค้นหาและวินิจฉัยทารกในครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการดาวน์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  2. ข้อมูลความรู้จากงานวิจัยได้รับการเผยแพร่

กำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการ
เรื่อง “การวินิจฉัยก่อนคลอดและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์”
วันที่ 9 – 10 กันยายน 2553
ณ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ จังหวัดเชียงใหม่

วันที่ 9 กันยายน 2553

08.15 – 08.45 น.       —————-ลงทะเบียน——————–

08.45 – 09.00 น.       ——————พิธีเปิด———————–

09.00 – 09.30 น.       สถานการณ์กลุ่มอาการดาวน์ในประเทศไทย       รศ. พญ. พรรณี ศิริวรรธนาภา

09.30 – 10.15 น.       หลักการของการตรวจคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์   รศ. ดร. นพ. วีรวิทย์ ปิยะมงคล

10.15 – 10.30 น.       ———————-พัก———————–

10.30 – 12.00 น.       การตรวจคัดกรองโดยใช้ซีรั่มมาร์คเกอร์            ผศ. พญ. เฟื่องลดา ทองประเสริฐ

12.00 – 13.00 น.       ———รับประทานอาหารกลางวัน———-

13.00 – 14.15 น.       ความหนาของถุงน้ำใต้ต้นคอทารก                  รศ. พญ. สุพัตรา ศิริโชติยะกุล

                              (Nuchal translucency, NT)    

14.15 – 14.30 น.       ———————-พัก———————–

14.30 – 16.00 น.       อัลตราซาวน์มาร์คเกอร์ในทารกกลุ่มอาการดาวน์  ศ. นพ. ธีระ ทองสง

 

วันที่ 10 กันยายน 2553

09.00 – 10.30 น.       การวินิจฉัยก่อนคลอดของกลุ่มอาการดาวน์        อ. พญ. เกษมศรี ศรีสุพรรณดิฐ

10.30 – 10.45 น.       ———————-พัก———————–

10.45 – 12.00 น.       การให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์                    รศ. นพ. ชเนนทร์ วนาภิรักษ์

                              เกี่ยวกับกลุ่มอาการดาวน์

12.00 – 13.00 น.       ———รับประทานอาหารกลางวัน———-

13.00 – 14.30 น.       การอบรมเชิงปฏิบัติการ                              ทีมวิทยากร

                             – การวัด NT, อัลตราซาวน์มาร์คเกอร์ (แพทย์)    ศ. นพ. ธีระ ทองสง และคณะ

                             – การให้คำปรึกษาแก่คู่สมรส (พยาบาล)           รศ.นพ.ชเนนทร์ วนาภิรักษ์ และคณะ

14.30 – 14.45 น.       ———————-พัก———————–

14.45 – 16.00 น.       แนวทางปฏิบัติในการเข้าถึงระบบตรวจคัดกรอง  อ. พญ. สุชยา ลือวรรณ และคณะ 

                              กลุ่มอาการดาวน์ ของ รพ มหาราชนครเชียงใหม่

                             และปัญหาที่พบบ่อยในทางปฏิบัติ

                              (อภิปรายร่วมกันกับผู้เข้าร่วมประชุม)

 

Read More

รับสมัครแพทย์ประจำบ้าน

สูติฯ มช.

รับสมัครแพทย์ประจำบ้านสูติ-นรีเวช

ประกาศข่าวประชาสัมพันธ์!!…ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดรับสมัครแพทย์ทั่วไปผู้สนใจเข้ารับการฝึกอบรมเป็นสูตินรีแพทย์ประจำปีการศึกษา 2554

จำนวนทั้งสิ้น 9-10 ตำแหน่ง (แพทย์ใช้ทุน 3-4 ตำแหน่ง, แพทย์ประจำบ้าน 6 ตำแหน่ง) ระยะเวลาการฝึกอบรม 3 ปี (สำหรับแพทย์ใช้ทุน รวมเวลาทั้งสิ้น 4 ปี) ตามหลักสูตรของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับการรับรองจากแพทยสภา โดยเริ่มเปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หมดเขตรับสมัคร 31 สิงหาคม 2553 กำหนดวันสัมภาษณ์และประกาศผล ต้นเดือนกันยายน 2553 ผู้สนใจกรุณาติดต่อ พญ. เกษมศรี ศรีสุพรรณดิฐ โทรศัพท์ 053-945552, 053-946429 (ในเวลาราชการ) โทรสาร 053-946112 หรือ e-mail: ksrisupu@med.cmu.ac.th Download ใบสมัครได้ที่ด้านล่างของ website ภาควิชาฯ (ใบสมัครแพทย์ประจำบ้าน)

Read More