สัมนาภาควิชาประจำปี 2553

สัมนาภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 28-29 สิงหาคม 2553 Natural Wellness Resort & Spa อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

ภาควิชามีการจัดการสัมนานอกสถานที่ทุกปี ปีละครั้ง เป็นการพบปะกันแบบพร้อมหน้าพร้อมตาภายในครอบครัวสูติ-นรีเวช มช. มีคณาจารย์ แพทย์ประจำบ้าน เจ้าหน้าที่ระดับต่าง ๆ ในภาควิชา ซึ่งจะมีการพักค้างคืน 1 คืน มีการจัดกิจกรรมเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงภาควิชาในทางที่ดีขึ้น ปีที่แล้วจัดกันที่รีสอร์ทเก๊าไม้ล้านนา สำหรับปีนี้จะจัดที่ Natural Wellness Resort & Spa อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ โดยปีนี้หัวข้อสัมนาจะเน้นเรื่องแนวทางในการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรเป็นหลัก

Read More

โครงการวิจัยดีเด่นแห่งปี

รางวัลโครงการวิจัยดีเด่นแห่งปี 2552 จากสกว: ยุทธวิธีในการควบคุมธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงด้วยวิธีก่อนคลอด

โครงการควบคุมโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงด้วยวิธีก่อนคลอด ได้รับการคัดเลือกจากกว่า 1000 โครงการวิจัยของสกว. ในปี 2552 จากการพิจารณาถึงโครงการที่มีผลกระทบต่อสังคมอย่างเป็นรูปธรรม และสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่ก่อเกิดประโยชน์ที่นำไปใช้ได้จริง

โรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง ทั้งโรคเบต้าธาลัสซีเมียเมเจอร์ โรคเบต้าธาลัสซีเมีย/ฮีโมโกลบินอี (beta-thal/HbE) และโรคฮีโมโกลบินบาร์ท เป็นปัญหาสำคัญของสาธารณสุขไทยที่ส่งผลลบในด้านเศรษฐศาสตร์สุขภาพของประเทศเป็นอย่างยิ่ง และจำเป็นต้องได้รับการควบคุม ทีมเวชศาสตร์มารดาและทารกจึงได้ร่วมมือกับห้องปฏิบัติการกุมารเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำการวิจัยค้นหาวิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการประยุกต์ใช้ในการควบคุมโรคนี้ในประชากรภูมิภาคที่มีโรคนี้ชุกชุม

การควบคุมด้วยวิธีก่อนคลอดประกอบด้วยการคัดกรองค้นหาคู่สมรสที่มีความเสี่ยงและวินิจฉัยทารกในครรภ์ ซึ่งมีหลากหลายวิธี บางวิธีมีข้อเสียที่ราคาแพง เทคโนโลยีซับซ้อน ไม่สามารถทำได้ในวงกว้าง คณะวิจัยจึงศึกษาแนวทางและทดสอบยุทธวิธีก่อนคลอดที่ดีที่สุด โดยคำนึงถึงความถูกต้องและความคุ้มทุน ราคาถูก สะดวกต่อการประยุกต์ใช้ในวงกว้าง ผลการทดสอบคัดกรองที่ได้จะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการวิเคราะห์ความถูกต้องของทั้งระบบในการค้นหาโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นรูปแบบการศึกษาที่ไม่เคยมีการทำมาก่อน และนำไปสู่ยุทธวิธีการควบคุม (เชิงนโยบาย) วิเคราะห์ความคุ้มค่า เพื่อการประยุกต์ใช้ในวงกว้าง

ตัวอย่างการพัฒนายุทธวิธีในการควบคุมโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงแบบครบวงจร ได้แก่ ศึกษาวิจัยหาวิธีคัดกรองค้นหาคู่เสี่ยง (คู่สมรสที่ต่างเป็นพาหะ) ด้วยวิธีต่าง ๆ ที่ประสิทธิภาพสูง ราคาถูก ใช้ได้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เช่น ศึกษาประสิทธิภาพการคัดกรองด้วย osmotic fragility test (0.45% glycerine), พัฒนา HbE screen อย่างง่าย ทดสอบนวัตกรรมใหม่ๆ สำหรับพาหะแอลฟ่าธาลัสซีเมีย เช่น IC strip test เป็นต้น ศึกษาวิธีการยืนยันพาหะด้วยการตรวจระดับ HbA2 (สำหรับพาหะ beta-thal และ HbE)  และ PCR (สำหรับ alpha-thal-1 SEA type) วิจัยเทคนิคและความปลอดภัยของการวินิจฉัยก่อนคลอด โดยเฉพาะการเจาะเลือดจากสายสะดือทารก และศึกษาวิจัยการวินิจฉัยจากการตรวจเลือดทารก เป็นต้น

นอกจากนี้ยังศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคฮีโมโกลบินบาร์ทด้วยอัลตราซาวด์ โดยตรวจวัดการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือดของทารกในครรภ์ ทั้งในแง่การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและสรีรวิทยาของทารกในครรภ์ ทำให้ทราบถึงลักษณะจำเพาะและมาร์คเกอร์ทางอัลตราซาวด์หลายพารามิเตอร์ ซึ่งนำมาช่วยในการวินิจฉัยให้เร็วขึ้น

ผลงานวิจัยนี้เป็นแนวทางและต้นแบบในการกำหนดเป็นนโยบายระดับชาติ เพื่อนำไปใช้ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ ซึ่งมีผลทำให้อุบัติการณ์ของโรคธาลัสซีเมียรายใหม่ในภูมิภาคแถบนี้ลดลงอย่างมากในปัจจุบัน เด็กรายใหม่ที่ต้องมาเติมเลือดจากโรคธาลัสซีเมียลดลงอย่างมาก และเป็นครั้งแรกในวงการสาธารณสุขไทยที่อันตรายจากภาวะทารกบวมน้ำจากโรคฮีโมโกลบินบาร์ทได้ลดลงอย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่นภาวะนี้ได้หายไปเลยจากกลุ่มสตรีที่มาฝากครรภ์และคัดกรองที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ผลดังกล่าวได้นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูผู้เป็นโรคลงได้ในจำนวนมหาศาล นอกจากนี้ยังสามารถสร้างบุคลากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิจัยรุ่นใหม่ เพื่อเป็นกำลังสำคัญของการวิจัยเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมียในประเทศไทยอีกด้วย

ดำเนินการวิจัยโดย: ทีมงานเวชศาสตร์มารดาและทารก สูติ-นรีเวช มช.

Read More

ข่าวดีในภาควิชาปี 53

มีเรื่องที่น่ายินดีเกิดขึ้นมากมายในภาควิชาในปีที่ผ่านมา เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักที่จะมีหน่วยงานใดได้รับรางวัลช้างทองคำทั้งสองประเภทในปีเดียวกัน เหมือนกับเราได้รับในปีนี้

นักวิจัยดีเด่นสาขาวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2552

รศ.นพ.ชเนนทร์ วนาภิรักษ์  ได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “ช้างทองคำ”

นักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่นสาขาวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2552

ผศ.นพ.กิตติภัต เจริญขวัญ  ได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่“ช้างทองคำ”

โล่รางวัลผลงานวิจัยเด่น สกว.ประจำปี 2552

คณาจารย์ประจำหน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารก ได้รับโล่รางวัลผลงานวิจัยเด่น สกว.ประจำปี 2552
เรื่อง “ยุทธวิธีการควบคุมโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงก่อนคลอด” จาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

  • ศ.นพ.ธีระ ทองสง
  • รศ.พญ.พรรณี ศิริวรรธนาภา
  • รศ.นพ.ชเนนทร์ วนาภิรักษ์
  • รศ.พญ.สุพัตรา ศิริโชติยะกุล
  • รศ.นพ.วีรวิทย์ ปิยะมงคล
  • ผศ.พญ.เฟื่องลดา ทองประเสริฐ
  • อ.พญ.เกษมศรี ศรีสุพรรณดิฐ
  • อ.พญ.สุชยา ลือวรรณ

IJGO Prize Paper Award Honorable Mention 2009

อ.พญ.สุชยา  ลือวรรณ  อ.พญ.เกษมศรี  ศรีสุพรรณดิฐ  ศ.นพ.ธีระ ทองสง ได้รับรางวัล International Journal of GYNECOLOGY & OBSTETRICS John J. Sciarra IJGO Prize Paper Award Honorable Mention 2009  จากผลงานวิจัย “Outcomes of pregnancies complicated by beta-thalassemia/hemoglobin E disease”

(Best Clinical Research Article from a Low/Middle-Income Country)

Read More

ปรับปรุงเว็บไซต์ภาควิชา

Big Move: ทีมงานด้านสารสนเทศของภาควิชาได้ทำการปรับปรุงเว็บไซต์ของภาควิชาเสียใหม่ ซึ่งเปลี่ยนไปสู่เว็บไดนามิค โดยมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างดังนี้

  • มีระบบ login เพื่อให้คณาจารย์ แพทย์ประจำบ้าน หรือเจ้าหน้าที่ ได้เข้าสู่ระบบที่เข้าถึงข้อมูลสำคัญภายในภาควิชา
  • คณาจารย์สามารถ submit บทความสำคัญ เอกสารคำสอน หรือ powerpoints ให้นักศึกษาแพทย์ดาวน์โหลดผ่านเว็บได้อย่างรวดเร็ว
  • มีฐานข้อมูลสำคัญของภาควิชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าถึง fulltext ของงานวิจัยที่ภาควิชาทำมาตลอดอายุภาควิชาได้ตลอดเวลา (ผ่านระบบ login) ซึ่งผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกจะเห็นเพียงหัวข้องานวิจัย
  • มีระบบ update ข่าวคราวอย่างรวดเร็ว
  • หนังสือแจ้งเวียนภายในภาคที่นำไปสู่ระบบ paperless มากขึ้น
  • มีระบบเว็บบอร์ด ที่เชิญชวนมาให้พี่น้องแสดงความคิดเห็นเพื่อสร้างสรรค์ภาควิชา
  • เพิ่มข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับภาควิชา เช่น ประวัติความเป็นมา ประวัติอาจารย์อาวุโส
Read More