การล้วงรก (Manual removal of placenta)

การล้วงรก (Manual removal of placenta)

1. การเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์

 

·        ถุงมือยาวถึงข้อศอกปราศจากเชื้อ 2  คู่  เสื้อคลุมและผ้าช่องสะอาดปราศจากเชื้อ

·        อุปกรณ์สำหรับ  general anesthesia, endotracheal tube,  oxygen, nitrous  oxide, halothane

·        เตรียมเลือดเต็มส่วน (whole blood) อย่างน้อย  2  ยูนิต  และเตรียมพร้อมที่จะให้ได้ทันที

2.  เตรียมผู้คลอด

·        ผู้คลอดอยู่ในท่า lithotomy และบอกผู้ป่วยทราบสาเหตุที่ต้องล้วงรก และขั้นตอนในการล้วงรก

·        ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ  ควรเป็น  LRS 1,000 mL IV drip ด้วยอัตราที่เหมาะสมทดแทนเลือดที่เสียไป และขึ้นกับ  vital  sign  ของผู้ป่วยถ้าเสียเลือดมากอาจเปิดเส้น 2  เส้น เตรียมพร้อมนำเลือดมาให้

·        ให้เจ้าหน้าที่ตรวจวัดความดันโลหิต และชีพจรเป็นระยะๆ  ขณะปฏิบัติหัตถการ

·        ทำความสะอาดอวัยวะเพศภายนอกใหม่อีกครั้งหนึ่ง และคลุมผ้าช่องเปิดไว้เฉพาะบริเวณปากช่องคลอด

·        ให้  general  anesthesia with  endotracheal  intubation เพื่อให้ผู้คลอดไม่เจ็บและ relax (ถ้าเป็นไปได้ควรให้วิสัญญีแพทย์เป็นผู้ให้ยาสลบ)

3.  การเตรียมผู้ทำ

·        ผู้ทำสวมหมวก mask  ล้างมือด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ  สวมเสื้อสะอาดปราศจากเชื้อ

·        ถ้าใส่ถุงมือสั้นที่ทำคลอดอยู่แล้วให้เปลี่ยนมาใส่ถุงมือยาวถึงข้อศอก

4.  ขั้นตอนการล้วงรก

·        สวนปัสสาวะ

·        ถามวิสัญญีแพทย์ว่าจะทำหัตถการได้หรือยัง

·        ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดสายสะดือ

·        ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดตรึงสายสะดือไว้ อีกมือหนึ่งตามสายสะดือเข้าไปในโพรงมดลูก โดยห่อมือเป็นรูปกรวย เมื่อเข้าไปถึงโพรงมดลูกแล้วย้ายมือข้างที่จับสายสะดือมาวางไว้ที่หน้าท้อง และจับยอดมดลูกตรึงไว้เพื่อให้อยู่กับที่  ใช้มือข้างที่อยู่ในโพรงมดลูกคลำหาขอบรก เมื่อพบขอบรกแล้วใช้สันมือทางด้านนิ้วก้อย (ไม่ใช้ปลายนิ้วตะกุย) เซาะรกแยกจากผนังโพรงมดลูกจนรกหลุดทั้งอัน แล้วจึงดึงรกออกมาทั้งหมดทีเดียว ถ้าเซาะไม่ได้ให้หยุด อย่าพยายามดึงเซาะแยกออกมา เนื่องจากจะทำให้เสียเลือดมากได้  ให้ตามแพทย์เวรมาโดยด่วน

5. การตรวจรกหลังคลอด

·        ตรวจโพรงมดลูกซ้ำ โดยสอดมือเข้าไปในมดลูกซ้ำอีกครั้ง มือข้างที่ไม่ถนัดตรึงมดลูกทางหน้าท้อง  มือที่อยู่ในโพรงมดลูกคลำให้ทั่วว่ามีส่วนของรกค้างหรือมีการฉีกขาดของมดลูกหรือไม่  อาจใช้ sterile  gauze  พันปลายนิ้วชี้และนิ้วกลางและนิ้วนางเช็ดโพรงมดลูก  ระวังอย่าให้ gauze ตกค้างอยู่ในโพรงมดลูก

·        แจ้งวิสัญญีแพทย์แพทย์ว่าสิ้นสุดหัตถการแล้ว

6.  ป้องกันการตกเลือด

·        คลึงมดลูกให้แข็งตัว

·        ให้ยาช่วยการหดรัดตัวของมดลูก

7.  ตรวจรกและเยื่อหุ้มเด็กให้ถี่ถ้วนอีกครั้งหนึ่ง

8.  ตรวจช่องทางคลอด

รวมทั้งปากมดลูก ถ้ามีการฉีกขาดต้องเย็บซ่อมให้เรียบร้อย เย็บซ่อมฝีเย็บ

9. ให้ยาปฏิชีวนะ

10. วัดความดันโลหิต ชีพจร   และตรวจดูอาการทั่วไปจนผู้คลอดรู้สึกตัวดี

Critical errors

  • มือไม่ผ่าน internal os เข้าในโพรงมดลูก
  • มือที่อยู่บนหน้าท้องไม่อยู่ที่ยอดมดลูก
  • ไม่ตรวจรกและ / หรือเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำ
  • ไม่คลึงมดลูกให้แข็งตัวหลังการล้วงรก
Read More

การล้วงรก (Manual removal of placenta)

การล้วงรก (Manual removal of placenta)

1. การเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์

 

·        ถุงมือยาวถึงข้อศอกปราศจากเชื้อ 2  คู่  เสื้อคลุมและผ้าช่องสะอาดปราศจากเชื้อ

·        อุปกรณ์สำหรับ  general anesthesia, endotracheal tube,  oxygen, nitrous  oxide, halothane

·        เตรียมเลือดเต็มส่วน (whole blood) อย่างน้อย  2  ยูนิต  และเตรียมพร้อมที่จะให้ได้ทันที

2.  เตรียมผู้คลอด

·        ผู้คลอดอยู่ในท่า lithotomy และบอกผู้ป่วยทราบสาเหตุที่ต้องล้วงรก และขั้นตอนในการล้วงรก

·        ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ  ควรเป็น  LRS 1,000 mL IV drip ด้วยอัตราที่เหมาะสมทดแทนเลือดที่เสียไป และขึ้นกับ  vital  sign  ของผู้ป่วยถ้าเสียเลือดมากอาจเปิดเส้น 2  เส้น เตรียมพร้อมนำเลือดมาให้

·        ให้เจ้าหน้าที่ตรวจวัดความดันโลหิต และชีพจรเป็นระยะๆ  ขณะปฏิบัติหัตถการ

·        ทำความสะอาดอวัยวะเพศภายนอกใหม่อีกครั้งหนึ่ง และคลุมผ้าช่องเปิดไว้เฉพาะบริเวณปากช่องคลอด

·        ให้  general  anesthesia with  endotracheal  intubation เพื่อให้ผู้คลอดไม่เจ็บและ relax (ถ้าเป็นไปได้ควรให้วิสัญญีแพทย์เป็นผู้ให้ยาสลบ)

3.  การเตรียมผู้ทำ

·        ผู้ทำสวมหมวก mask  ล้างมือด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ  สวมเสื้อสะอาดปราศจากเชื้อ

·        ถ้าใส่ถุงมือสั้นที่ทำคลอดอยู่แล้วให้เปลี่ยนมาใส่ถุงมือยาวถึงข้อศอก

4.  ขั้นตอนการล้วงรก

·        สวนปัสสาวะ

·        ถามวิสัญญีแพทย์ว่าจะทำหัตถการได้หรือยัง

·        ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดสายสะดือ

·        ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดตรึงสายสะดือไว้ อีกมือหนึ่งตามสายสะดือเข้าไปในโพรงมดลูก โดยห่อมือเป็นรูปกรวย เมื่อเข้าไปถึงโพรงมดลูกแล้วย้ายมือข้างที่จับสายสะดือมาวางไว้ที่หน้าท้อง และจับยอดมดลูกตรึงไว้เพื่อให้อยู่กับที่  ใช้มือข้างที่อยู่ในโพรงมดลูกคลำหาขอบรก เมื่อพบขอบรกแล้วใช้สันมือทางด้านนิ้วก้อย (ไม่ใช้ปลายนิ้วตะกุย) เซาะรกแยกจากผนังโพรงมดลูกจนรกหลุดทั้งอัน แล้วจึงดึงรกออกมาทั้งหมดทีเดียว ถ้าเซาะไม่ได้ให้หยุด อย่าพยายามดึงเซาะแยกออกมา เนื่องจากจะทำให้เสียเลือดมากได้  ให้ตามแพทย์เวรมาโดยด่วน

5. การตรวจรกหลังคลอด

·        ตรวจโพรงมดลูกซ้ำ โดยสอดมือเข้าไปในมดลูกซ้ำอีกครั้ง มือข้างที่ไม่ถนัดตรึงมดลูกทางหน้าท้อง  มือที่อยู่ในโพรงมดลูกคลำให้ทั่วว่ามีส่วนของรกค้างหรือมีการฉีกขาดของมดลูกหรือไม่  อาจใช้ sterile  gauze  พันปลายนิ้วชี้และนิ้วกลางและนิ้วนางเช็ดโพรงมดลูก  ระวังอย่าให้ gauze ตกค้างอยู่ในโพรงมดลูก

·        แจ้งวิสัญญีแพทย์แพทย์ว่าสิ้นสุดหัตถการแล้ว

6.  ป้องกันการตกเลือด

·        คลึงมดลูกให้แข็งตัว

·        ให้ยาช่วยการหดรัดตัวของมดลูก

7.  ตรวจรกและเยื่อหุ้มเด็กให้ถี่ถ้วนอีกครั้งหนึ่ง

8.  ตรวจช่องทางคลอด

รวมทั้งปากมดลูก ถ้ามีการฉีกขาดต้องเย็บซ่อมให้เรียบร้อย เย็บซ่อมฝีเย็บ

9. ให้ยาปฏิชีวนะ

10. วัดความดันโลหิต ชีพจร   และตรวจดูอาการทั่วไปจนผู้คลอดรู้สึกตัวดี

Critical errors

  • มือไม่ผ่าน internal os เข้าในโพรงมดลูก
  • มือที่อยู่บนหน้าท้องไม่อยู่ที่ยอดมดลูก
  • ไม่ตรวจรกและ / หรือเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำ
  • ไม่คลึงมดลูกให้แข็งตัวหลังการล้วงรก
Read More

Transvaginal pudendal nerve block

Transvaginal pudendal nerve block

1. เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ปราศจากเชื้อ

 

  • เข็มเจาะน้ำไขสันหลังขนาดเบอร์ 20-22 ยาว 12-15 ซม.
  • Needle  guide (ที่ใช้กันคือ Iowa  thrumpet)  1  ชุด
  • หลอดฉีดยา (syringe) ขนาด 10-20 mL
  • ยาชาเฉพาะที่ เช่น  xylocaine  1 %  จำนวน 20  ml.

2.  เลือกผู้คลอดที่อยู่ในภาวะที่เหมาะสม

  • อยู่ในระยะที่ 2 ของการคลอด และศีรษะเด็กต่ำกว่า ischial spine แต่ยังไม่ต่ำมากจนตุงที่ vulva outlet
  • ไม่มีการอักเสบติดเชื้อหรือมี  varicose vein  มากๆ ที่บริเวณ perineum หรือรอบๆ ทวารหนัก
  • ไม่มีประวัติแพ้ยาชาเฉพาะที่

3.  วิธีการทำ

  • จัดท่าผู้คลอด ผู้ทำคลอดเตรียมตัว ทำความสะอาด ปูผ้าปราศจากเชื้อเช่นเดียวกับการคลอดปกติ
  • ใช้  syringe ดูด  xylocaine 1 %  ปริมาณ 10 mL  ต่อกับเข็มให้พร้อม  ไล่อากาศออกให้หมด
  • การหาตำแหน่ง :  ถ้า block  ข้างซ้าย ใช้มือซ้ายจับ  Iowa  thrumpet ให้ guide  ทาบยาวอยู่ระหว่างนิ้วชี้และนิ้วกลาง  ส่วนนิ้วหัวแม่มือสอดอยู่ในห่วงของ  thrumpet  แล้วสอดเข้าในช่องคลอด คลำ  ischial spine  ด้านซ้ายของผู้คลอดแล้วถือ  guide ในแนวที่เกือบขนานกับเตียงคลอด  ให้ปลายของ  guide   อยู่ด้านในของด้านหลัง (postero-medial)  ต่อ  tip  ของ  ischial  spine  ข้างซ้าย
  • แทงเข็มเข้าไปใน  Alcock canal   มือขวาหยิบหลอดฉีดยาต่อกับเข็มซึ่งมียาชาอยู่เรียบร้อยแล้ว สอดเข้าใน Iowa thrumpet, infiltrate ที่ชั้นใต้เยื่อบุช่องคลอด 1 mL
  • ต่อมาแทงเข็มลงไปอีกประมาณ  1-1.5 ซม. ที่ตำแหน่ง sacrospinous  ligament  ดึง  piston  ของหลอดฉีดยาก่อนเพื่อให้แน่ใจว่าเข็มไม่ได้แทงเข้าหลอดเลือดถ้าได้เลือดให้ถอนเข็มแล้วแทงใหม่ห่างจากจุดเดิมเล็กน้อย ทดสอบใหม่ว่าไม่เข้าหลอดเลือดinfiltrateที่บริเวณนี้ 3  mL
  • แทงเข็มลึกเข้าไปอีกจนทะลุผ่าน sacrospinous ligament จนถึง loose areolar tissue ทดสอบว่าไม่เข้าหลอดเลือด   infiltrate  ยาชาอีก  3  mL
  • ถอยเข็มให้ปลายเข้าอยู่ใน  guide  เพื่อไม่ให้เกิดการบาดเจ็บต่อช่องคลอด เลื่อนตำแหน่งของ  Iowa  thrumpet  ขึ้นไปอีกเล็กน้อยเหนือ  ischial  spine  แทงเข็มลึกประมาณ  1-1.5  ซม.  ทดสอบว่าไม่เข้าหลอดเลือดแล้วจึงฉีดยาชาอีก  3 mL
  • ถอยเข็มให้ปลายอยู่ใน  guide  อีกครั้ง ก่อนเอาออกจากช่องคลอด   ทำในทำนองเดียวกันกับข้างขวา   โดยใช้มือขวาเป็นตัวนำ  Iowa  thrumpet  เข้าไป

4.  ทดสอบว่าได้ผลหรือไม่

 

โดยภายหลังฉีดยา 3-5 นาที ใช้ปลายเข็มจิ้มทดสอบบริเวณ perineum ว่าชาหรือไม่ หรือดูจากการหดรัดตัวของ spincter anal muscle โดย anal reflex จะหายไป

ภาพแสดงการทำ tansvaginal pudendal nerve block

การหาตำแหน่ง: ถ้า block ข้างซ้าย ใช้มือซ้ายจับ Iowa trumpet ให้ guide ทาบยาวอยู่ระหว่างนิ้วชี้ และนิ้วกลาง ส่วนนิ้วหัวแม่มือสอดอยู่ในห่วงของ trumpet แล้วสอดเข้าในช่องคลอด คลำ ischial spine ด้านซ้ายของผู้คลอด แล้วถือ guide ในแนวที่เกือบขนานกับเตียงคลอด ให้ปลายของ guide อยู่ด้านในของด้านหลัง (postero-medial) ต่อ tip ของ ischial spine ข้างซ้าย

การแทงเข็ม: แทงเข็มเข้าไปใน Alclock canal มือขวาหยิบหลอดฉีดยาต่อกับเข็มซึ่งมียาชาอยู่เรียบร้อยแล้วสอดเข้าใน Iowa trumpet

Read More

Transvaginal pudendal nerve block

Transvaginal pudendal nerve block

1. เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ปราศจากเชื้อ

 

  • เข็มเจาะน้ำไขสันหลังขนาดเบอร์ 20-22 ยาว 12-15 ซม.
  • Needle  guide (ที่ใช้กันคือ Iowa  thrumpet)  1  ชุด
  • หลอดฉีดยา (syringe) ขนาด 10-20 mL
  • ยาชาเฉพาะที่ เช่น  xylocaine  1 %  จำนวน 20  ml.

2.  เลือกผู้คลอดที่อยู่ในภาวะที่เหมาะสม

  • อยู่ในระยะที่ 2 ของการคลอด และศีรษะเด็กต่ำกว่า ischial spine แต่ยังไม่ต่ำมากจนตุงที่ vulva outlet
  • ไม่มีการอักเสบติดเชื้อหรือมี  varicose vein  มากๆ ที่บริเวณ perineum หรือรอบๆ ทวารหนัก
  • ไม่มีประวัติแพ้ยาชาเฉพาะที่

3.  วิธีการทำ

  • จัดท่าผู้คลอด ผู้ทำคลอดเตรียมตัว ทำความสะอาด ปูผ้าปราศจากเชื้อเช่นเดียวกับการคลอดปกติ
  • ใช้  syringe ดูด  xylocaine 1 %  ปริมาณ 10 mL  ต่อกับเข็มให้พร้อม  ไล่อากาศออกให้หมด
  • การหาตำแหน่ง :  ถ้า block  ข้างซ้าย ใช้มือซ้ายจับ  Iowa  thrumpet ให้ guide  ทาบยาวอยู่ระหว่างนิ้วชี้และนิ้วกลาง  ส่วนนิ้วหัวแม่มือสอดอยู่ในห่วงของ  thrumpet  แล้วสอดเข้าในช่องคลอด คลำ  ischial spine  ด้านซ้ายของผู้คลอดแล้วถือ  guide ในแนวที่เกือบขนานกับเตียงคลอด  ให้ปลายของ  guide   อยู่ด้านในของด้านหลัง (postero-medial)  ต่อ  tip  ของ  ischial  spine  ข้างซ้าย
  • แทงเข็มเข้าไปใน  Alcock canal   มือขวาหยิบหลอดฉีดยาต่อกับเข็มซึ่งมียาชาอยู่เรียบร้อยแล้ว สอดเข้าใน Iowa thrumpet, infiltrate ที่ชั้นใต้เยื่อบุช่องคลอด 1 mL
  • ต่อมาแทงเข็มลงไปอีกประมาณ  1-1.5 ซม. ที่ตำแหน่ง sacrospinous  ligament  ดึง  piston  ของหลอดฉีดยาก่อนเพื่อให้แน่ใจว่าเข็มไม่ได้แทงเข้าหลอดเลือดถ้าได้เลือดให้ถอนเข็มแล้วแทงใหม่ห่างจากจุดเดิมเล็กน้อย ทดสอบใหม่ว่าไม่เข้าหลอดเลือดinfiltrateที่บริเวณนี้ 3  mL
  • แทงเข็มลึกเข้าไปอีกจนทะลุผ่าน sacrospinous ligament จนถึง loose areolar tissue ทดสอบว่าไม่เข้าหลอดเลือด   infiltrate  ยาชาอีก  3  mL
  • ถอยเข็มให้ปลายเข้าอยู่ใน  guide  เพื่อไม่ให้เกิดการบาดเจ็บต่อช่องคลอด เลื่อนตำแหน่งของ  Iowa  thrumpet  ขึ้นไปอีกเล็กน้อยเหนือ  ischial  spine  แทงเข็มลึกประมาณ  1-1.5  ซม.  ทดสอบว่าไม่เข้าหลอดเลือดแล้วจึงฉีดยาชาอีก  3 mL
  • ถอยเข็มให้ปลายอยู่ใน  guide  อีกครั้ง ก่อนเอาออกจากช่องคลอด   ทำในทำนองเดียวกันกับข้างขวา   โดยใช้มือขวาเป็นตัวนำ  Iowa  thrumpet  เข้าไป

4.  ทดสอบว่าได้ผลหรือไม่

 

โดยภายหลังฉีดยา 3-5 นาที ใช้ปลายเข็มจิ้มทดสอบบริเวณ perineum ว่าชาหรือไม่ หรือดูจากการหดรัดตัวของ spincter anal muscle โดย anal reflex จะหายไป

ภาพแสดงการทำ tansvaginal pudendal nerve block

การหาตำแหน่ง: ถ้า block ข้างซ้าย ใช้มือซ้ายจับ Iowa trumpet ให้ guide ทาบยาวอยู่ระหว่างนิ้วชี้ และนิ้วกลาง ส่วนนิ้วหัวแม่มือสอดอยู่ในห่วงของ trumpet แล้วสอดเข้าในช่องคลอด คลำ ischial spine ด้านซ้ายของผู้คลอด แล้วถือ guide ในแนวที่เกือบขนานกับเตียงคลอด ให้ปลายของ guide อยู่ด้านในของด้านหลัง (postero-medial) ต่อ tip ของ ischial spine ข้างซ้าย

การแทงเข็ม: แทงเข็มเข้าไปใน Alclock canal มือขวาหยิบหลอดฉีดยาต่อกับเข็มซึ่งมียาชาอยู่เรียบร้อยแล้วสอดเข้าใน Iowa trumpet

Read More

การเจาะถุงน้ำคร่ำ (Amniotomy

การเจาะถุงน้ำคร่ำ  (Amniotomy)

1.  เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือ

 

  • เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือปราศจากเชื้อเช่นเดียวกับการตรวจภายในสตรีเจ็บครรภ์คลอด
  • เตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการเจาะถุงน้ำคร่ำ เช่น Vasellum
  • เตรียม antiseptic lubricant เช่น Hibitane cream

2.  เตรียมผู้เจาะถุงน้ำคร่ำ

  • สวมหมวกและ  mask  ล้างมือให้สะอาดสวมถุงมือสะอาดปราศจากเชื้อ

3. เตรียมผู้ป่วย

  • อธิบายให้ทราบถึงประโยชน์และความรู้สึกขณะถูกเจาะถุงน้ำ ให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการสอดใส่เครื่องมือ และการมีน้ำไหลออกมาภายหลังการเจาะแล้ว
  • ให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะก่อน
  • จัดท่าผู้ป่วยให้นอนตั้งเข่าชันแยกปลายขาออกโดยนอนบน  bed  pan  เพื่อป้องกันการเปื้อนน้ำคร่ำ
  • ตรวจทางหน้าท้องและตรวจภายในให้แน่ใจว่าศีรษะทารกเข้าสู่ช่องเชิงกรานแล้ว (engaged) และอยู่ตั้งแต่ระดับ 0 ลงมา  ปากมดลูกเปิดพอสมควรที่จะใส่เครื่องมือเข้าไปได้

4. วิธีการเจาะ

  • ทำความสะอาดบริเวณปากช่องคลอดด้วย  aseptic  technique
  • แหวก  labia  ก่อนสอดนิ้วเข้าไปในช่องคลอด
  • ตรวจภายในเพื่อให้แน่ใจว่าสภาพปากมดลูกและส่วนนำของทารกอยู่ในภาวะที่เหมาะสมต่อการเจาะถุงน้ำคร่ำ ทำ  fornix  test  ก่อน โดยคลำรอบๆ  fornix  ให้แน่ใจว่าได้ศีรษะทารกโดยตลอดไม่มีภาวะรกเกาะต่ำ
  • สัมผัสลักษณะผิวเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำจากการสอดนิ้วผ่านปากมดลูกว่า  ไม่มีเส้นเลือดพาดผ่านหรือมี  pulse  (vasa previa)
  • สำรวจว่าไม่มี forelying  cord

5. การทำ  membrane  stripping

 

·        ทำการเซาะเยื่อหุ้มเด็กที่มดลูกส่วนล่าง โดยสอดนิ้วชี้และนิ้วกลางเข้าไปในปากมดลูกจนคลำได้มดลูกส่วนล่าง เซาะแยกเยื่อหุ้มเด็กออกจากส่วนล่างของผนังด้านในมดลูก 360 องศา ขณะเดียวกันก็ตรวจหา  forelying cord  ด้วย  ซึ่งถ้าพบ ห้าม ทำการเจาะถุงน้ำเพราะจะทำให้เกิด  prolapsed cord  ได้

6.  การเจาะถุงน้ำคร่ำ

·        ให้ผู้ช่วยฟังเสียงหัวใจทารก

·        บอกผู้ป่วยว่าอาจจะรู้สึกอึดอัด หรือเจ็บเล็กน้อย ให้อยู่นิ่งๆ อย่าขยับตัว

·        จับ vasellum ซึ่งที่ปลายมีเขี้ยวเล็กๆ อยู่เข้าไปในช่องคลอดให้เครื่องมืออยู่ระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วกลางที่ตรวจภายในอยู่ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บต่อช่องทางคลอดระมัดระวังอย่าให้ปลายเครื่องมือโดนและเป็นอันตรายต่ออวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก

·        คีบจับเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำเบาๆ โดยต้องแน่ใจว่าไม่ได้จับส่วนของปากมดลูกออกมาด้วย

·        ดึงถุงน้ำคร่ำให้แตก ในขณะที่มดลูกไม่หดรัดตัว ป้องกัน prolapsed cord

·        ระวังการบาดเจ็บต่อศีรษะทารก

·        ฟังเสียงหัวใจทารกหลังจากเจาะถุงน้ำแล้ว * เพื่อแยกภาวะ  occult prolapsed cord

·        ค่อยๆ เอา vasellum ออกจากช่องคลอด โดยยังคามือที่ตรวจภายในไว้ในช่องคลอด ค่อยๆ ปล่อยน้ำคร่ำออกทีละน้อย อย่าให้ไหลออกเร็วเกินไป  พร้อมกับให้ผู้ช่วยหรือผู้เจาะเองเอามือซ้ายดันบริเวณ fundus ให้ศีรษะเด็กลงมา  fix กับปากมดลูก

·        ให้ผู้ช่วยฟังเสียงหัวใจทารกอีกครั้ง

·        สังเกตสีของน้ำคร่ำและถอนมือออกจากช่องคลอด

·        บอกผลการตรวจภายใน และแนะนำการปฏิบัติตัวหลังการเจาะถุงน้ำ

8.  ฟังเสียงหัวใจทารกต่อไปอีกระยะหนึ่ง

Critical errors

  • ไม่ได้สำรวจหาข้อห้ามในการเจาะถุงน้ำ จากประวัติ และการตรวจร่างกาย
  • ไม่ได้ตรวจภายในเพื่อสำรวจหาข้อห้ามในการเจาะถุงน้ำ
  • เจาะถุงน้ำคร่ำไม่ได้
  • เกิดสายสะดือย้อยหลังเจาะถุงน้ำคร่ำ
  • ทำให้ปากมดลูกฉีกขาดจนมีเลือดออกมาก
  • ไม่ได้ฟังเสียงหัวใจเด็กก่อนและหลังเจาะถุงน้ำคร่ำ
Read More

การเจาะถุงน้ำคร่ำ (Amniotomy

การเจาะถุงน้ำคร่ำ  (Amniotomy)

1.  เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือ

 

  • เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือปราศจากเชื้อเช่นเดียวกับการตรวจภายในสตรีเจ็บครรภ์คลอด
  • เตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการเจาะถุงน้ำคร่ำ เช่น Vasellum
  • เตรียม antiseptic lubricant เช่น Hibitane cream

2.  เตรียมผู้เจาะถุงน้ำคร่ำ

  • สวมหมวกและ  mask  ล้างมือให้สะอาดสวมถุงมือสะอาดปราศจากเชื้อ

3. เตรียมผู้ป่วย

  • อธิบายให้ทราบถึงประโยชน์และความรู้สึกขณะถูกเจาะถุงน้ำ ให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการสอดใส่เครื่องมือ และการมีน้ำไหลออกมาภายหลังการเจาะแล้ว
  • ให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะก่อน
  • จัดท่าผู้ป่วยให้นอนตั้งเข่าชันแยกปลายขาออกโดยนอนบน  bed  pan  เพื่อป้องกันการเปื้อนน้ำคร่ำ
  • ตรวจทางหน้าท้องและตรวจภายในให้แน่ใจว่าศีรษะทารกเข้าสู่ช่องเชิงกรานแล้ว (engaged) และอยู่ตั้งแต่ระดับ 0 ลงมา  ปากมดลูกเปิดพอสมควรที่จะใส่เครื่องมือเข้าไปได้

4. วิธีการเจาะ

  • ทำความสะอาดบริเวณปากช่องคลอดด้วย  aseptic  technique
  • แหวก  labia  ก่อนสอดนิ้วเข้าไปในช่องคลอด
  • ตรวจภายในเพื่อให้แน่ใจว่าสภาพปากมดลูกและส่วนนำของทารกอยู่ในภาวะที่เหมาะสมต่อการเจาะถุงน้ำคร่ำ ทำ  fornix  test  ก่อน โดยคลำรอบๆ  fornix  ให้แน่ใจว่าได้ศีรษะทารกโดยตลอดไม่มีภาวะรกเกาะต่ำ
  • สัมผัสลักษณะผิวเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำจากการสอดนิ้วผ่านปากมดลูกว่า  ไม่มีเส้นเลือดพาดผ่านหรือมี  pulse  (vasa previa)
  • สำรวจว่าไม่มี forelying  cord

5. การทำ  membrane  stripping

 

·        ทำการเซาะเยื่อหุ้มเด็กที่มดลูกส่วนล่าง โดยสอดนิ้วชี้และนิ้วกลางเข้าไปในปากมดลูกจนคลำได้มดลูกส่วนล่าง เซาะแยกเยื่อหุ้มเด็กออกจากส่วนล่างของผนังด้านในมดลูก 360 องศา ขณะเดียวกันก็ตรวจหา  forelying cord  ด้วย  ซึ่งถ้าพบ ห้าม ทำการเจาะถุงน้ำเพราะจะทำให้เกิด  prolapsed cord  ได้

6.  การเจาะถุงน้ำคร่ำ

·        ให้ผู้ช่วยฟังเสียงหัวใจทารก

·        บอกผู้ป่วยว่าอาจจะรู้สึกอึดอัด หรือเจ็บเล็กน้อย ให้อยู่นิ่งๆ อย่าขยับตัว

·        จับ vasellum ซึ่งที่ปลายมีเขี้ยวเล็กๆ อยู่เข้าไปในช่องคลอดให้เครื่องมืออยู่ระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วกลางที่ตรวจภายในอยู่ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บต่อช่องทางคลอดระมัดระวังอย่าให้ปลายเครื่องมือโดนและเป็นอันตรายต่ออวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก

·        คีบจับเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำเบาๆ โดยต้องแน่ใจว่าไม่ได้จับส่วนของปากมดลูกออกมาด้วย

·        ดึงถุงน้ำคร่ำให้แตก ในขณะที่มดลูกไม่หดรัดตัว ป้องกัน prolapsed cord

·        ระวังการบาดเจ็บต่อศีรษะทารก

·        ฟังเสียงหัวใจทารกหลังจากเจาะถุงน้ำแล้ว * เพื่อแยกภาวะ  occult prolapsed cord

·        ค่อยๆ เอา vasellum ออกจากช่องคลอด โดยยังคามือที่ตรวจภายในไว้ในช่องคลอด ค่อยๆ ปล่อยน้ำคร่ำออกทีละน้อย อย่าให้ไหลออกเร็วเกินไป  พร้อมกับให้ผู้ช่วยหรือผู้เจาะเองเอามือซ้ายดันบริเวณ fundus ให้ศีรษะเด็กลงมา  fix กับปากมดลูก

·        ให้ผู้ช่วยฟังเสียงหัวใจทารกอีกครั้ง

·        สังเกตสีของน้ำคร่ำและถอนมือออกจากช่องคลอด

·        บอกผลการตรวจภายใน และแนะนำการปฏิบัติตัวหลังการเจาะถุงน้ำ

8.  ฟังเสียงหัวใจทารกต่อไปอีกระยะหนึ่ง

Critical errors

  • ไม่ได้สำรวจหาข้อห้ามในการเจาะถุงน้ำ จากประวัติ และการตรวจร่างกาย
  • ไม่ได้ตรวจภายในเพื่อสำรวจหาข้อห้ามในการเจาะถุงน้ำ
  • เจาะถุงน้ำคร่ำไม่ได้
  • เกิดสายสะดือย้อยหลังเจาะถุงน้ำคร่ำ
  • ทำให้ปากมดลูกฉีกขาดจนมีเลือดออกมาก
  • ไม่ได้ฟังเสียงหัวใจเด็กก่อนและหลังเจาะถุงน้ำคร่ำ
Read More
4-1

Assisted Breech Delivery

Assisted Breech Delivery

1. เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์

  • เตรียมจัดท่าคลอด เช่นเดียวกับการคลอดปกติ
  • เตรียม Piper forceps  สำหรับช่วยคลอดศีรษะ  aftercoming  head
  • เตรียมเครื่องดมยาสลบ oxygen,  nitrous  oxide,  thiopenthal,  halothane
  • เตรียมอุปกรณ์สำหรับทำ  pudendal  nerve  block
  • เตรียม  vaginal  retractor

2.  รายงานแพทย์ผู้เกี่ยวข้อง

  • ตามกุมารแพทย์มาเพื่อรับทารกแรกคลอดและดูแลรักษาทารกต่อไป
  • ตามวิสัญญีแพทย์หรือรายงานไว้เพื่อให้ยาสลบในขณะคลอดบางกรณีเช่น ต้องช่วยคลอดด้วยคีมอย่างยาก  ติดหัว หรือทำการตัดปากมดลูก (Duhrsen  incision)  หรือการถ่างขยายปากมดลูกด้วย retractor  เป็นต้น

3.  เตรียมผู้คลอด

  • พิจารณาเลือกผู้คลอดให้เหมาะสมกับการคลอดทางช่องคลอด ทบทวนประวัติการตั้งครรภ์และการคลอด ประเมินสัดส่วนระหว่างเด็กกับช่องเชิงกราน
  • จัดท่าผู้ป่วยให้อยู่ในท่า lithotomy ทำความสะอาด ปูผ้าสะอาดปราศจากเชื้อ
  • ให้น้ำเกลือ และ  oxygen  mask  แก่มารดา
  • ให้ผู้ช่วยฟังเสียงหัวใจทารกเป็นระยะ

4.  การให้ยาชา

  • ทำ  pudendal  nerve block  และ  local infiltration บริเวณฝีเย็บ ซึ่งจำเป็นต้องตัด episiotomy ให้กว้างเพียงพอและทดสอบว่ายาชาออกฤทธิ์ดี

5.  การตรวจท่าและด้านของก้นทารก

โดยการตรวจภายในให้แน่ใจเมื่อปากมดลูกเปิดหมดแล้ว

6.  วิธีช่วยคลอด

  • ให้ผู้คลอดเบ่งพร้อมกับการหดรัดตัวของมดลูกจนกระทั่งก้นผ่านมายันใต้ pubic symphysis
  • เมื่อก้นมาตุงที่ perineum จนบางแล้ว และคิดว่ามดลูกหดรัดตัวอีก 2-3 ครั้ง  ก้นก็จะคลอดพ้น  vulvar ring   ให้ตัด deep  mediolateral  episiotomy   เสมอ
  • ให้มารดาเบ่งจนส่วนนำของทารกพ้น  vulva  ออกมาถึงระดับสะดือทารก  จึงให้เริ่มทำ  assisted  breech  delivery ผู้ทำคลอดอาจช่วยปัดหรือเขี่ยให้ส่วนของขาหรือเท้าเด็กพ้นปากช่องคลอดก็ได้โดยใช้มือปัดด้านในของข้อเข่า (popliteal  fossa) ให้ส่วนของต้นขาเด็กพลิกกางออก (external rotation and abduction of thigh)  และคอยระวังให้ด้านหลังเด็กอยู่ด้านบนหรือทางด้านหน้าของเชิงกรานของมารดาตลอดเวลา
  • ขอผ้าโอบรอบสะโพกทารก  จับ  pelvis  ของทารกโดยให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างทาบอยู่บนกระดูก  sacrum  และใช้นิ้วชี้วางบน  anterior  superior  iliac spine  นิ้วที่เหลืออ้อมไปทางด้านหน้าต้นขา  ระวังอย่าให้กดหน้าท้องเด็ก  เนื่องจากเป็นอันตรายต่ออวัยวะในช่องท้องได้
  • ดึงตัวเด็กลงมาตามแนวทางคลอดด้วยแรงสม่ำเสมอ  พร้อมกับหมุนให้สะโพกอยู่ในแนว  A-P  diameter  จนกระทั่งเห็น  scapula
  • ทำคลอดไหล่ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง  ได้แก่  Cat’s paw,   Muller’s  method, Classical  หรือ  Lovset
  • ปล่อยตัวทารกถ่วงไว้  1/2 – 1  นาทีก่อน  เพื่อให้ศีรษะทารกผ่านช่องเชิงกรานลงมาในช่องคลอด  จนเห็นชายผมบริเวณ  subocciput อยู่ใต้  pubic symphysis และให้ศีรษะอยู่ในแนว  A-P
  • ช่วยเหลือคลอดศีรษะด้วยวิธี  Mauriceau-Smellie-Veit  หรือการช่วยคลอดด้วยคีม  Piper  โดยวิธี Mauriceau-Smellie-Veit  นั้นให้ตัวเด็กทาบคร่อมอยู่บนฝ่ามือและท่อนแขนซ้ายของผู้ทำคลอด  ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมือซ้ายแตะที่บริเวณกระดูก maxilla เพื่อช่วยให้ศีรษะเด็กก้มลง  ส่วนมือขวาช่วยเหนี่ยวรั้งบริเวณไหล่ทั้งสองข้างโดยคว่ำมือคร่อมจับหัวไหล่ ใช้นิ้วนางและนิ้วก้อยอยู่ที่ไหล่ขวาของเด็ก นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้อยู่ที่ไหล่ซ้าย นิ้วกลางเหยียดตรงเพื่อทาบกับกระดูกคอของเด็ก  และอาจช่วยกดบริเวณท้ายทอยให้ศีรษะเด็กก้มด้วย  ในรายที่ศีรษะเด็กยังไม่ก้มให้ดึงเด็กลงมาตรงๆ  ในแนวดิ่งส่วนท้ายทอยจะกดกับกระดูกหัวหน่าวทำให้เด็กศีรษะก้มได้  แล้วจึงดึงให้คลอดศีรษะต่อไป  ส่วนใหญ่ให้ออกแรงด้วยมือขวา  มือซ้ายพยายามก้มหน้าเด็กให้มากที่สุด จากนั้นค่อยๆยกตัวเด็กขึ้นไปทางหน้าท้องของมารดา
  • ดูดมูกจากปากและจมูกทารกเมื่อคลอดผ่านพ้น perineum ออกมา
  • ให้ผู้ช่วยทำการ clamp และตัดสายสะดือ
  • ส่งทารกให้กุมารแพทย์ จากนั้นทำคลอดรกและเย็บแผลฝีเย็บต่อไป

ในกรณีเกิด  Extended arm คือแขนเด็กเหยียดขึ้นไปอยู่ข้างศีรษะ หรือเกิด Nuchal arm  คือ แขนเหยียดขึ้นข้างบน และข้อศอกงอพับเอาส่วนปลายแขนไปพาดไว้ที่ด้านหลังของคอเด็ก  วิธีการช่วยคลอดคือการใช้วิธีคลอดไหล่แบบ  Lovset maneuver   โดยอาศัยหลักการที่ว่าเมื่อไหล่เด็กเข้าสู่ช่องเชิงกราน  ไหล่หลังจะผ่านเข้าช่องเชิงกรานก่อนไหล่หน้า    ดังนั้นเมื่อช่วยคลอดไหล่คือในขณะที่เห็นขอบล่างของกระดูกสะบักแล้ว ให้หมุนตัวเด็กไป  180 องศาพร้อมๆ กับดึงเด็กลงมาโดยให้หลังเด็กอยู่ทางด้านหน้าช่องเชิงกรานเสมอ จากไหล่หลังซึ่งเดิมอยู่ต่ำกว่า  promontary of sacrum  จะกลับมาอยู่ทางด้านหน้า  ต่ำกว่าใต้  pubic symphysis  และคลอดออกมา  เมื่อไหล่คลอดออกมาแล้วให้หมุนเด็กกลับอีก 180 องศา ให้หลังเด็กผ่านทางด้านหน้าช่องเชิงกรานเช่นเดิม แขนและข้อศอกที่พับอยู่ก็จะหลุดออกมาได้

Critical errors

  • ไม่ได้ฉีดยาชาก่อนตัดฝีเย็บ
  • ไม่รอให้คลอดเองจนถึงระดับสะดือ
  • ไม่จับบริเวณสะโพกและต้นขาเด็กแต่บีบหน้าท้องเด็ก
  • คลอดไหล่และแขนไม่ได้  หรือไม่ถูกวิธี
  • ทำคลอดศีรษะเด็กก่อนเห็นชายผม

ภาพแสดงการช่วยคลอดศีรษะทารกท่าก้นด้วย Mauriceau-Smellie-Veit   สังเกตการทำให้ศีรษะทารกก้มโดยให้ผู้ช่วยกดบริเวณ suprapubic ร่วมกับแรงกดบริเวณ maxilla ทารก

4-1

 

Read More
4-1

Assisted Breech Delivery

Assisted Breech Delivery

1. เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์

  • เตรียมจัดท่าคลอด เช่นเดียวกับการคลอดปกติ
  • เตรียม Piper forceps  สำหรับช่วยคลอดศีรษะ  aftercoming  head
  • เตรียมเครื่องดมยาสลบ oxygen,  nitrous  oxide,  thiopenthal,  halothane
  • เตรียมอุปกรณ์สำหรับทำ  pudendal  nerve  block
  • เตรียม  vaginal  retractor

2.  รายงานแพทย์ผู้เกี่ยวข้อง

  • ตามกุมารแพทย์มาเพื่อรับทารกแรกคลอดและดูแลรักษาทารกต่อไป
  • ตามวิสัญญีแพทย์หรือรายงานไว้เพื่อให้ยาสลบในขณะคลอดบางกรณีเช่น ต้องช่วยคลอดด้วยคีมอย่างยาก  ติดหัว หรือทำการตัดปากมดลูก (Duhrsen  incision)  หรือการถ่างขยายปากมดลูกด้วย retractor  เป็นต้น

3.  เตรียมผู้คลอด

  • พิจารณาเลือกผู้คลอดให้เหมาะสมกับการคลอดทางช่องคลอด ทบทวนประวัติการตั้งครรภ์และการคลอด ประเมินสัดส่วนระหว่างเด็กกับช่องเชิงกราน
  • จัดท่าผู้ป่วยให้อยู่ในท่า lithotomy ทำความสะอาด ปูผ้าสะอาดปราศจากเชื้อ
  • ให้น้ำเกลือ และ  oxygen  mask  แก่มารดา
  • ให้ผู้ช่วยฟังเสียงหัวใจทารกเป็นระยะ

4.  การให้ยาชา

  • ทำ  pudendal  nerve block  และ  local infiltration บริเวณฝีเย็บ ซึ่งจำเป็นต้องตัด episiotomy ให้กว้างเพียงพอและทดสอบว่ายาชาออกฤทธิ์ดี

5.  การตรวจท่าและด้านของก้นทารก

โดยการตรวจภายในให้แน่ใจเมื่อปากมดลูกเปิดหมดแล้ว

6.  วิธีช่วยคลอด

  • ให้ผู้คลอดเบ่งพร้อมกับการหดรัดตัวของมดลูกจนกระทั่งก้นผ่านมายันใต้ pubic symphysis
  • เมื่อก้นมาตุงที่ perineum จนบางแล้ว และคิดว่ามดลูกหดรัดตัวอีก 2-3 ครั้ง  ก้นก็จะคลอดพ้น  vulvar ring   ให้ตัด deep  mediolateral  episiotomy   เสมอ
  • ให้มารดาเบ่งจนส่วนนำของทารกพ้น  vulva  ออกมาถึงระดับสะดือทารก  จึงให้เริ่มทำ  assisted  breech  delivery ผู้ทำคลอดอาจช่วยปัดหรือเขี่ยให้ส่วนของขาหรือเท้าเด็กพ้นปากช่องคลอดก็ได้โดยใช้มือปัดด้านในของข้อเข่า (popliteal  fossa) ให้ส่วนของต้นขาเด็กพลิกกางออก (external rotation and abduction of thigh)  และคอยระวังให้ด้านหลังเด็กอยู่ด้านบนหรือทางด้านหน้าของเชิงกรานของมารดาตลอดเวลา
  • ขอผ้าโอบรอบสะโพกทารก  จับ  pelvis  ของทารกโดยให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างทาบอยู่บนกระดูก  sacrum  และใช้นิ้วชี้วางบน  anterior  superior  iliac spine  นิ้วที่เหลืออ้อมไปทางด้านหน้าต้นขา  ระวังอย่าให้กดหน้าท้องเด็ก  เนื่องจากเป็นอันตรายต่ออวัยวะในช่องท้องได้
  • ดึงตัวเด็กลงมาตามแนวทางคลอดด้วยแรงสม่ำเสมอ  พร้อมกับหมุนให้สะโพกอยู่ในแนว  A-P  diameter  จนกระทั่งเห็น  scapula
  • ทำคลอดไหล่ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง  ได้แก่  Cat’s paw,   Muller’s  method, Classical  หรือ  Lovset
  • ปล่อยตัวทารกถ่วงไว้  1/2 – 1  นาทีก่อน  เพื่อให้ศีรษะทารกผ่านช่องเชิงกรานลงมาในช่องคลอด  จนเห็นชายผมบริเวณ  subocciput อยู่ใต้  pubic symphysis และให้ศีรษะอยู่ในแนว  A-P
  • ช่วยเหลือคลอดศีรษะด้วยวิธี  Mauriceau-Smellie-Veit  หรือการช่วยคลอดด้วยคีม  Piper  โดยวิธี Mauriceau-Smellie-Veit  นั้นให้ตัวเด็กทาบคร่อมอยู่บนฝ่ามือและท่อนแขนซ้ายของผู้ทำคลอด  ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมือซ้ายแตะที่บริเวณกระดูก maxilla เพื่อช่วยให้ศีรษะเด็กก้มลง  ส่วนมือขวาช่วยเหนี่ยวรั้งบริเวณไหล่ทั้งสองข้างโดยคว่ำมือคร่อมจับหัวไหล่ ใช้นิ้วนางและนิ้วก้อยอยู่ที่ไหล่ขวาของเด็ก นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้อยู่ที่ไหล่ซ้าย นิ้วกลางเหยียดตรงเพื่อทาบกับกระดูกคอของเด็ก  และอาจช่วยกดบริเวณท้ายทอยให้ศีรษะเด็กก้มด้วย  ในรายที่ศีรษะเด็กยังไม่ก้มให้ดึงเด็กลงมาตรงๆ  ในแนวดิ่งส่วนท้ายทอยจะกดกับกระดูกหัวหน่าวทำให้เด็กศีรษะก้มได้  แล้วจึงดึงให้คลอดศีรษะต่อไป  ส่วนใหญ่ให้ออกแรงด้วยมือขวา  มือซ้ายพยายามก้มหน้าเด็กให้มากที่สุด จากนั้นค่อยๆยกตัวเด็กขึ้นไปทางหน้าท้องของมารดา
  • ดูดมูกจากปากและจมูกทารกเมื่อคลอดผ่านพ้น perineum ออกมา
  • ให้ผู้ช่วยทำการ clamp และตัดสายสะดือ
  • ส่งทารกให้กุมารแพทย์ จากนั้นทำคลอดรกและเย็บแผลฝีเย็บต่อไป

ในกรณีเกิด  Extended arm คือแขนเด็กเหยียดขึ้นไปอยู่ข้างศีรษะ หรือเกิด Nuchal arm  คือ แขนเหยียดขึ้นข้างบน และข้อศอกงอพับเอาส่วนปลายแขนไปพาดไว้ที่ด้านหลังของคอเด็ก  วิธีการช่วยคลอดคือการใช้วิธีคลอดไหล่แบบ  Lovset maneuver   โดยอาศัยหลักการที่ว่าเมื่อไหล่เด็กเข้าสู่ช่องเชิงกราน  ไหล่หลังจะผ่านเข้าช่องเชิงกรานก่อนไหล่หน้า    ดังนั้นเมื่อช่วยคลอดไหล่คือในขณะที่เห็นขอบล่างของกระดูกสะบักแล้ว ให้หมุนตัวเด็กไป  180 องศาพร้อมๆ กับดึงเด็กลงมาโดยให้หลังเด็กอยู่ทางด้านหน้าช่องเชิงกรานเสมอ จากไหล่หลังซึ่งเดิมอยู่ต่ำกว่า  promontary of sacrum  จะกลับมาอยู่ทางด้านหน้า  ต่ำกว่าใต้  pubic symphysis  และคลอดออกมา  เมื่อไหล่คลอดออกมาแล้วให้หมุนเด็กกลับอีก 180 องศา ให้หลังเด็กผ่านทางด้านหน้าช่องเชิงกรานเช่นเดิม แขนและข้อศอกที่พับอยู่ก็จะหลุดออกมาได้

Critical errors

  • ไม่ได้ฉีดยาชาก่อนตัดฝีเย็บ
  • ไม่รอให้คลอดเองจนถึงระดับสะดือ
  • ไม่จับบริเวณสะโพกและต้นขาเด็กแต่บีบหน้าท้องเด็ก
  • คลอดไหล่และแขนไม่ได้  หรือไม่ถูกวิธี
  • ทำคลอดศีรษะเด็กก่อนเห็นชายผม

ภาพแสดงการช่วยคลอดศีรษะทารกท่าก้นด้วย Mauriceau-Smellie-Veit   สังเกตการทำให้ศีรษะทารกก้มโดยให้ผู้ช่วยกดบริเวณ suprapubic ร่วมกับแรงกดบริเวณ maxilla ทารก

4-1

 

Read More
3-01

Low Forceps Extraction

Low Forceps Extraction

ACOG (1988) แบ่งชนิดการคลอดด้วยคีมออกเป็น

1.  Outlet Forceps คือการช่วยคลอดด้วยคีมเมื่อศีรษะทารกลงมาต่ำถึงบริเวณฝีเย็บและสามารถมองเห็นศีรษะทารกได้โดยไม่ต้องแหวก labia  แนว sagittal suture ต้องอยู่ในแนวตรงหน้าหลัง ( A-P ) หรือเอียงไปจากแนวกลางไปด้านซ้ายหรือขวาได้แต่ไม่เกิน 45 องศา

2. Low Forceps คือการคลอดด้วยคีมเมื่อศีรษะเด็กลงมาถึงระดับ +2 หรือต่ำกว่า แบ่งเป็นศีรษะเอียงทำมุมน้อยกว่า 45 องศา และเอียงมากกว่า 45 องศา

3. Mid Forceps คือการคลอดด้วยคีมเมื่อศีรษะทารกลงสู่ช่องเชิงกรานแล้ว (engaged head) แต่ยังอยู่สูงกว่า +2 สำหรับ high forceps คือการคลอดด้วยคีมในรายที่ศีรษะยังไม่ลงสู่ช่องเชิงกราน (unengaged head) ซึ่งไม่มีที่ใช้แล้วในสูติศาสตร์ปัจจุบัน

ขั้นตอนการทำคลอดด้วยคีมแบบ Low Forceps

1. เตรียมผู้ป่วย อธิบายเหตุผล และขั้นตอนในการทำคลอดด้วยคีม

  • ผู้ป่วยอยู่ในท่า  dorsal lithotomy ก้นชิดขอบเตียง
  • ทำความสะอาด perineum ทาน้ำยาฆ่าเชื้อ ปูผ้าปราศจากเชื้อ
  • สวนปัสสาวะออกให้หมดและถ้าตรวจพบว่ามีอุจจาระอยู่ rectum ควรรีดเอาอุจจาระออกให้มากที่สุด และทำความสะอาดอีกครั้ง
  • ให้สารน้ำโดยเปิดเส้นเลือดดำไว้
  •  เช็ค  condition to be fulfilled  คือ
    • เชิงกรานไม่แคบ (adequate pelvis) ไม่มี  CPD
    • ทารกเป็นท่าศีรษะ (vertex)  และศีรษะทารกลงสู่อุ้งเชิงกรานแล้ว (engaged head)
    • ปากมดลูกเปิดหมดแล้ว (full dilation)
    • ต้องทราบ  position  และ  station  ของศีรษะทารกอย่างถูกต้อง
    • ไม่มีเนื้องอกในอุ้งเชิงกรานที่จะขัดขวางการคลอด
    • ถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว (ruptured membrane)
    • กระเพาะปัสสาวะและ rectum  ว่างเปล่า
    • ต้องให้การระงับความเจ็บปวดที่เหมาะสม และพอเพียงในกรณีที่จะช่วยคลอดด้วยคีม เช่น pudendal nerve block  หรือ epidural  nerve block
    • สูติแพทย์ต้องมีความรู้ความชำนาญในการคลอดด้วยคีม และสามารถแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

2. ตรวจภายใน   ดูท่าของศีรษะทารก

  • คลำหา sagittal suture ให้อยู่ในแนวหน้าหลังและตรงกลาง, posterior fontanelle อยู่ด้านหน้าใต้ pubic symphysis และระดับศีรษะลงต่ำกว่า +2

3. ให้ยาชาระงับความรู้สึก โดยทำ pudendal nerve block หรือ epidural anesthesia หรืออาจใช้ general anesthesia ในรายที่จำเป็น ทดสอบว่ายาชาออกฤทธิ์ดี

4.  การใส่คีม (application of blades)

  • orientation of blades  คือการจัดคีมที่ล็อคเข้าด้วยกันแล้ว ถือตามแนวราบไว้ที่ปากช่องคลอด โดยให้ pelvic curve หงายขึ้น, cephalic curve ขนานกับ sagittal suture  หรือใบหูทั้งสองข้างของทารก, transverse process อยู่ในแนวราบ
  • lubrication of forceps
  • แยกคีมทั้งสองข้างออกจากกัน ใส่ blade ซ้ายก่อน โดยจับคีมด้วยมือซ้าย เช่นเดียวกับจับปากกา คือจับด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ ให้ blade ห้อยลงตรงๆ
  • บอกผู้ป่วยว่ากำลังจะใส่คีมเพื่อไม่ให้ดิ้นหรือขยับ ใส่คีมในช่วงที่ไม่มีการหดรัดตัวของมดลูก ใช้นิ้วมือขวานวดบริเวณ  perineum  และสอดนิ้วชี้และนิ้วกลางของมือขวาเข้าไปในช่องคลอด ค่อยๆ สอดคีมข้างซ้ายเข้าไปในช่องคลอดตรงตำแหน่ง 5 นาฬิกา โดยให้คีมอยู่ระหว่างนิ้วมือด้านขวาและศีรษะทารก ใช้นิ้วหัวแม่มือข้างขวาค่อยๆ ดันขอบล่างของ  pelvic curve (heel) ให้คีมค่อยๆ เลื่อนเข้าไปด้านใน ซึ่งขณะที่คีมเคลื่อนเข้าไปด้ามคีมจะค่อยๆ ลดระดับต่ำลง มือซ้ายที่ปลายด้ามคีมจึงใช้เพียงเพื่อพยุง หรือดันเพียงเบาๆ เท่านั้น  การดัน blades  ที่ถูกต้องมักไม่ต้องใช้แรงมาก ถ้าต้องออกแรงมาก พึงตระหนักว่าทิศทางการใส่คงผิดพลาด  และอาจเกิดอันตรายและการบาดเจ็บต่อทารกได้ ตำแหน่งที่เหมาะสมคือ คีมจะอยู่ในแนว occipitomental (OM) เมื่ออยู่ในตำแหน่งเหมาะสมให้ปล่อยคีมและให้ผู้ช่วยถือด้ามคีมไว้
  • ใส่คีมข้างขวาเช่นเดียวกับคีมข้างซ้าย  แต่สลับมือกัน โดยสอดคีมที่ตำแหน่ง 7 นาฬิกา ถ้าสอด  blade ถูกต้องตาม  cephalic  และ pelvic application แล้วเมื่อสอดคีมด้านขวาลงมาจะล็อคเข้ากับด้านซ้ายได้พอดี หรือได้หลังจากการจัดเล็กน้อย  ถ้าล็อคไม่ได้ควรจะถอด blade  ออก แล้วใส่ใหม่
  • ให้ผู้ช่วยฟังเสียงหัวใจเด็ก ถ้าเสียงหัวใจผิดปกติ แสดงว่าคีมอาจจะจับสายสะดือเข้าไปด้วย  ควรถอดคีมออกแล้วสอดใหม่  หรือช่วยคลอดทารกโดยเร็ว

5. การตรวจสอบว่าคีมอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง (check for proper application) เป็นสิ่งที่สำคัญต้องกระทำก่อนการดึงหรือหมุนคีม ตำแหน่งของคีมที่ถูกต้องคือ

  • sagittal suture อยู่ตรงกลางและขนานกับ blade ทั้งสองตลอดความยาว
  • posterior fontanelle อยู่กึ่งกลางระหว่าง blade โดยอยู่เหนือระดับของ shank ประมาณ 1 FB ถ้า posterior fontanelle อยู่สูงกว่านั้นแสดงว่าศีรษะก้มไม่ดี หรือถ้าต่ำกว่านั้นแสดงว่าศีรษะก้มมากเกินไป
  • คลำช่องของคีมที่มี fenestration ได้เพียงปลายนิ้วถ้าคลำได้มากเกินไปแสดงว่า blade จับได้ไม่ลึกพอ  เวลาดึงคีมอาจหลุดได้

6.  การดึงคีม

  • ควรใช้ผ้า gauze หรือสำลีดันแทรกระหว่างคีมเพื่อไม่ให้คีมบีบศีรษะทารกมากเกินไป
  • Trial  traction  เพื่อทดสอบว่าคีมจับศีรษะทารกแน่นหรือไม่  โดยการดึงเบาๆ  ขณะดึงใช้นิ้วชี้เหยียดไปแตะที่ศีรษะทารกดูว่าศีรษะทารกเคลื่อนตามลงมาหรือไม่ ถ้าศีรษะเคลื่อนลงมาได้ให้ดึงต่อไปได้และฟังเสียงหัวใจทารกหลังการดึง
  • นั่งในท่าที่ถนัดเพื่อจะออกแรงดึงได้ดี  จับ handle  ดึงในแนวลงล่าง  โดยมือข้างหนึ่งออกแรงดึงในแนวดิ่งลง และมืออีกข้างหนึ่งดึงในแนวราบ เพื่อให้ผลของแรงลัพธ์พุ่งไปตามแนวของ pelvic  axis  โดยใช้มือขวาจับ handle ในลักษณะหงายมือให้ handle และ transverse  process อยู่ระหว่างนิ้วชี้และนิ้วกลาง  และมือซ้ายจับ  shank  เหนือ transverse  process  จากด้านบน  มือขวาออกแรงดึงมาทางด้านหน้าตรงๆ และมือซ้ายออกแรงดึงลงล่าง ตั้งฉากกับแนวราบ  ขณะดึงควรงอข้อศอกออกแรงเฉพาะกล้ามเนื้อ biceps ควรออกแรงดึงเหมือนการหดรัดตัวของมดลูก คือค่อยๆ เพิ่มแรงดึงจนเต็มที่แล้วหน่วงไว้ ถ้าดึงพร้อมแรงหดรัดตัวของมดลูก จะช่วยให้คลอดง่ายขึ้นแต่ไม่จำเป็นเสมอไปใช้แรงดึงน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ควรหมุนหรือโยกคีมเวลาดึง
  • หลังการดึงแต่ละครั้ง ปล่อยคีมให้หลวม แต่ไม่ควรแยกด้ามเพราะสายสะดือจะหลุดไปอยู่ระหว่าง  blade  ได้

7.  การตัดฝีเย็บ

  • เมื่อศีรษะทารกตุงฝีเย็บแล้ว  จะตัดฝีเย็บ (ซึ่งการตัดฝีเย็บนี้จะทำตั้งแต่ก่อนใส่คีมก็ได้) โดยจะตัด medianหรือ  mediolateral  ก็ได้กะให้กว้างเพียงพอ  โดยใช้มือข้างที่ถนัดจับกรรไกร  ถ้าตัด  median  ระวังอย่าให้ถูก  rectum

8. การถอดคีม (Removal of forceps)

  • เมื่อ  subocciput  มายันใต้  pubic symphysis  แล้วให้เปลี่ยนทิศทางการดึงโดยดึงขึ้นจนกระทั่งเห็นรอยต่อระหว่างหน้าผากและเส้นผมทารก  จึงถอดคีม
  • ปลด  blade ของ forceps ที่ล็อคไว้ออกจากกัน
  • ถอดคีมด้านขวาก่อน โดยดึงคีมปาดไปทางด้านหน้าขาซ้ายของมารดา แล้วถอดคีมซ้ายในทำนองเดียวกัน  หรืออาจจะคลอดศีรษะทารกออกมาพร้อมกับ  blade  ก็ได้  ซึ่งมีข้อดีคือ  สามารถควบคุมการเคลื่อนของศีรษะทารกได้  แต่จะมีการฉีกขาดของช่องทางคลอดและฝีเย็บได้มากกว่าขณะถอดคีมนี้บอกให้ผู้คลอดทราบว่าศีรษะเด็กคลอดแล้วผู้คลอดไม่ต้องเบ่ง

9.  ทำคลอดศีรษะ ไหล่ ลำตัว และรก เช่นเดียวกับการคลอดปกติ

10. ตรวจช่องทางคลอด  ปากมดลูกโดยใช้  anterior  และ  posterior  retractor  ช่วยถ่างขยายช่องคลอดให้เห็นปากมดลูกชัดเจน  แล้วใช้  ovum forceps  หรือ  sponge holder  จับปากมดลูก  ตรวจไล่ดูตั้งแต่  anterior  lip  ด้านข้างและ  posterior  lip  จนครบวง จนแน่ใจว่าไม่มีการฉีกขาดมาก  และมี  active  bleeding  ถ้าฉีกขาดมากหรือฉีกขาดโดนเส้นเลือด ( cervical  branch of uterine vessels )  ให้เย็บซ่อมแซมด้วย  chromic  catgut  เบอร์  1 หรือ 0  แบบ   figure  of  eight  เพื่อห้ามเลือด แล้วเย็บซ่อมฝีเย็บตามปกติ

11. ติดตามดูแลหลังคลอด ว่ามีภาวะแทรกซ้อนหรือไม่ เช่น ปัสสาวะไม่ออก หรือ ติดเชื้อ เป็นต้น

Critical errors

  • ไม่ได้ฉีดยาชาก่อนตัดฝีเย็บ
  • ไม่ได้ตรวจหา  condition to be fulfilled  ก่อนใส่เครื่องมือ  เช่น ตรวจท่าของเด็ก, ปากมดลูกเปิดหมดหรือไม่, A-P suture, bladder  empty  หรือไม่
  • ใส่  blade ไม่ได้ หรือล๊อคไม่ได้
  • ดึงศีรษะไม่ออก
  • ไม่ได้ตรวจช่องทางคลอดภายหลังทำคลอดรกแล้ว
  • มีภยันตรายที่ร้ายแรงต่อแม่และเด็กขณะนั้น

ภาพแสดงการทำ forcep extraction

3-01

สอดนิ้วชี้และนิ้วกลางของมือขวาเข้าไปในช่องคลอด ค่อย ๆ สอดคีมข้างซ้ายเข้าไปในช่องคลอดตรงตำแหน่ง 5 นาฬิกา โดยให้คีมอยู่ระหว่างนิ้วมือด้านขวาและศีรษะทารก ใช้นิ้วหัวแม่มือข้างขวาค่อย ๆ ดันขอบล่างของ pelvic curve (heel) ให้ค่อย ๆ เลื่อนเข้าไปด้านใน

3-02

3-03

ใส่คีมข้างขวาเช่นเดียวกับคีมข้างซ้าย แต่สลับมือกัน โดยสอดคีมที่ตำแหน่ง 7 นาฬิกา ถ้าสอด blade ถูกต้องตาม pelvic application แล้ว เมื่อสอดคีมด้านขวาลงมาจะล็อคเข้ากับด้านซ้ายได้พอดี

3-04

Cephalic application of forceps ตำแหน่งที่เหมาะสมคือ คีมจะอยู่ในแนว occito-mentum (OM)

3-05

Read More
3-01

Low Forceps Extraction

Low Forceps Extraction

ACOG (1988) แบ่งชนิดการคลอดด้วยคีมออกเป็น

1.  Outlet Forceps คือการช่วยคลอดด้วยคีมเมื่อศีรษะทารกลงมาต่ำถึงบริเวณฝีเย็บและสามารถมองเห็นศีรษะทารกได้โดยไม่ต้องแหวก labia  แนว sagittal suture ต้องอยู่ในแนวตรงหน้าหลัง ( A-P ) หรือเอียงไปจากแนวกลางไปด้านซ้ายหรือขวาได้แต่ไม่เกิน 45 องศา

2. Low Forceps คือการคลอดด้วยคีมเมื่อศีรษะเด็กลงมาถึงระดับ +2 หรือต่ำกว่า แบ่งเป็นศีรษะเอียงทำมุมน้อยกว่า 45 องศา และเอียงมากกว่า 45 องศา

3. Mid Forceps คือการคลอดด้วยคีมเมื่อศีรษะทารกลงสู่ช่องเชิงกรานแล้ว (engaged head) แต่ยังอยู่สูงกว่า +2 สำหรับ high forceps คือการคลอดด้วยคีมในรายที่ศีรษะยังไม่ลงสู่ช่องเชิงกราน (unengaged head) ซึ่งไม่มีที่ใช้แล้วในสูติศาสตร์ปัจจุบัน

ขั้นตอนการทำคลอดด้วยคีมแบบ Low Forceps

1. เตรียมผู้ป่วย อธิบายเหตุผล และขั้นตอนในการทำคลอดด้วยคีม

  • ผู้ป่วยอยู่ในท่า  dorsal lithotomy ก้นชิดขอบเตียง
  • ทำความสะอาด perineum ทาน้ำยาฆ่าเชื้อ ปูผ้าปราศจากเชื้อ
  • สวนปัสสาวะออกให้หมดและถ้าตรวจพบว่ามีอุจจาระอยู่ rectum ควรรีดเอาอุจจาระออกให้มากที่สุด และทำความสะอาดอีกครั้ง
  • ให้สารน้ำโดยเปิดเส้นเลือดดำไว้
  •  เช็ค  condition to be fulfilled  คือ
    • เชิงกรานไม่แคบ (adequate pelvis) ไม่มี  CPD
    • ทารกเป็นท่าศีรษะ (vertex)  และศีรษะทารกลงสู่อุ้งเชิงกรานแล้ว (engaged head)
    • ปากมดลูกเปิดหมดแล้ว (full dilation)
    • ต้องทราบ  position  และ  station  ของศีรษะทารกอย่างถูกต้อง
    • ไม่มีเนื้องอกในอุ้งเชิงกรานที่จะขัดขวางการคลอด
    • ถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว (ruptured membrane)
    • กระเพาะปัสสาวะและ rectum  ว่างเปล่า
    • ต้องให้การระงับความเจ็บปวดที่เหมาะสม และพอเพียงในกรณีที่จะช่วยคลอดด้วยคีม เช่น pudendal nerve block  หรือ epidural  nerve block
    • สูติแพทย์ต้องมีความรู้ความชำนาญในการคลอดด้วยคีม และสามารถแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

2. ตรวจภายใน   ดูท่าของศีรษะทารก

  • คลำหา sagittal suture ให้อยู่ในแนวหน้าหลังและตรงกลาง, posterior fontanelle อยู่ด้านหน้าใต้ pubic symphysis และระดับศีรษะลงต่ำกว่า +2

3. ให้ยาชาระงับความรู้สึก โดยทำ pudendal nerve block หรือ epidural anesthesia หรืออาจใช้ general anesthesia ในรายที่จำเป็น ทดสอบว่ายาชาออกฤทธิ์ดี

4.  การใส่คีม (application of blades)

  • orientation of blades  คือการจัดคีมที่ล็อคเข้าด้วยกันแล้ว ถือตามแนวราบไว้ที่ปากช่องคลอด โดยให้ pelvic curve หงายขึ้น, cephalic curve ขนานกับ sagittal suture  หรือใบหูทั้งสองข้างของทารก, transverse process อยู่ในแนวราบ
  • lubrication of forceps
  • แยกคีมทั้งสองข้างออกจากกัน ใส่ blade ซ้ายก่อน โดยจับคีมด้วยมือซ้าย เช่นเดียวกับจับปากกา คือจับด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ ให้ blade ห้อยลงตรงๆ
  • บอกผู้ป่วยว่ากำลังจะใส่คีมเพื่อไม่ให้ดิ้นหรือขยับ ใส่คีมในช่วงที่ไม่มีการหดรัดตัวของมดลูก ใช้นิ้วมือขวานวดบริเวณ  perineum  และสอดนิ้วชี้และนิ้วกลางของมือขวาเข้าไปในช่องคลอด ค่อยๆ สอดคีมข้างซ้ายเข้าไปในช่องคลอดตรงตำแหน่ง 5 นาฬิกา โดยให้คีมอยู่ระหว่างนิ้วมือด้านขวาและศีรษะทารก ใช้นิ้วหัวแม่มือข้างขวาค่อยๆ ดันขอบล่างของ  pelvic curve (heel) ให้คีมค่อยๆ เลื่อนเข้าไปด้านใน ซึ่งขณะที่คีมเคลื่อนเข้าไปด้ามคีมจะค่อยๆ ลดระดับต่ำลง มือซ้ายที่ปลายด้ามคีมจึงใช้เพียงเพื่อพยุง หรือดันเพียงเบาๆ เท่านั้น  การดัน blades  ที่ถูกต้องมักไม่ต้องใช้แรงมาก ถ้าต้องออกแรงมาก พึงตระหนักว่าทิศทางการใส่คงผิดพลาด  และอาจเกิดอันตรายและการบาดเจ็บต่อทารกได้ ตำแหน่งที่เหมาะสมคือ คีมจะอยู่ในแนว occipitomental (OM) เมื่ออยู่ในตำแหน่งเหมาะสมให้ปล่อยคีมและให้ผู้ช่วยถือด้ามคีมไว้
  • ใส่คีมข้างขวาเช่นเดียวกับคีมข้างซ้าย  แต่สลับมือกัน โดยสอดคีมที่ตำแหน่ง 7 นาฬิกา ถ้าสอด  blade ถูกต้องตาม  cephalic  และ pelvic application แล้วเมื่อสอดคีมด้านขวาลงมาจะล็อคเข้ากับด้านซ้ายได้พอดี หรือได้หลังจากการจัดเล็กน้อย  ถ้าล็อคไม่ได้ควรจะถอด blade  ออก แล้วใส่ใหม่
  • ให้ผู้ช่วยฟังเสียงหัวใจเด็ก ถ้าเสียงหัวใจผิดปกติ แสดงว่าคีมอาจจะจับสายสะดือเข้าไปด้วย  ควรถอดคีมออกแล้วสอดใหม่  หรือช่วยคลอดทารกโดยเร็ว

5. การตรวจสอบว่าคีมอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง (check for proper application) เป็นสิ่งที่สำคัญต้องกระทำก่อนการดึงหรือหมุนคีม ตำแหน่งของคีมที่ถูกต้องคือ

  • sagittal suture อยู่ตรงกลางและขนานกับ blade ทั้งสองตลอดความยาว
  • posterior fontanelle อยู่กึ่งกลางระหว่าง blade โดยอยู่เหนือระดับของ shank ประมาณ 1 FB ถ้า posterior fontanelle อยู่สูงกว่านั้นแสดงว่าศีรษะก้มไม่ดี หรือถ้าต่ำกว่านั้นแสดงว่าศีรษะก้มมากเกินไป
  • คลำช่องของคีมที่มี fenestration ได้เพียงปลายนิ้วถ้าคลำได้มากเกินไปแสดงว่า blade จับได้ไม่ลึกพอ  เวลาดึงคีมอาจหลุดได้

6.  การดึงคีม

  • ควรใช้ผ้า gauze หรือสำลีดันแทรกระหว่างคีมเพื่อไม่ให้คีมบีบศีรษะทารกมากเกินไป
  • Trial  traction  เพื่อทดสอบว่าคีมจับศีรษะทารกแน่นหรือไม่  โดยการดึงเบาๆ  ขณะดึงใช้นิ้วชี้เหยียดไปแตะที่ศีรษะทารกดูว่าศีรษะทารกเคลื่อนตามลงมาหรือไม่ ถ้าศีรษะเคลื่อนลงมาได้ให้ดึงต่อไปได้และฟังเสียงหัวใจทารกหลังการดึง
  • นั่งในท่าที่ถนัดเพื่อจะออกแรงดึงได้ดี  จับ handle  ดึงในแนวลงล่าง  โดยมือข้างหนึ่งออกแรงดึงในแนวดิ่งลง และมืออีกข้างหนึ่งดึงในแนวราบ เพื่อให้ผลของแรงลัพธ์พุ่งไปตามแนวของ pelvic  axis  โดยใช้มือขวาจับ handle ในลักษณะหงายมือให้ handle และ transverse  process อยู่ระหว่างนิ้วชี้และนิ้วกลาง  และมือซ้ายจับ  shank  เหนือ transverse  process  จากด้านบน  มือขวาออกแรงดึงมาทางด้านหน้าตรงๆ และมือซ้ายออกแรงดึงลงล่าง ตั้งฉากกับแนวราบ  ขณะดึงควรงอข้อศอกออกแรงเฉพาะกล้ามเนื้อ biceps ควรออกแรงดึงเหมือนการหดรัดตัวของมดลูก คือค่อยๆ เพิ่มแรงดึงจนเต็มที่แล้วหน่วงไว้ ถ้าดึงพร้อมแรงหดรัดตัวของมดลูก จะช่วยให้คลอดง่ายขึ้นแต่ไม่จำเป็นเสมอไปใช้แรงดึงน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ควรหมุนหรือโยกคีมเวลาดึง
  • หลังการดึงแต่ละครั้ง ปล่อยคีมให้หลวม แต่ไม่ควรแยกด้ามเพราะสายสะดือจะหลุดไปอยู่ระหว่าง  blade  ได้

7.  การตัดฝีเย็บ

  • เมื่อศีรษะทารกตุงฝีเย็บแล้ว  จะตัดฝีเย็บ (ซึ่งการตัดฝีเย็บนี้จะทำตั้งแต่ก่อนใส่คีมก็ได้) โดยจะตัด medianหรือ  mediolateral  ก็ได้กะให้กว้างเพียงพอ  โดยใช้มือข้างที่ถนัดจับกรรไกร  ถ้าตัด  median  ระวังอย่าให้ถูก  rectum

8. การถอดคีม (Removal of forceps)

  • เมื่อ  subocciput  มายันใต้  pubic symphysis  แล้วให้เปลี่ยนทิศทางการดึงโดยดึงขึ้นจนกระทั่งเห็นรอยต่อระหว่างหน้าผากและเส้นผมทารก  จึงถอดคีม
  • ปลด  blade ของ forceps ที่ล็อคไว้ออกจากกัน
  • ถอดคีมด้านขวาก่อน โดยดึงคีมปาดไปทางด้านหน้าขาซ้ายของมารดา แล้วถอดคีมซ้ายในทำนองเดียวกัน  หรืออาจจะคลอดศีรษะทารกออกมาพร้อมกับ  blade  ก็ได้  ซึ่งมีข้อดีคือ  สามารถควบคุมการเคลื่อนของศีรษะทารกได้  แต่จะมีการฉีกขาดของช่องทางคลอดและฝีเย็บได้มากกว่าขณะถอดคีมนี้บอกให้ผู้คลอดทราบว่าศีรษะเด็กคลอดแล้วผู้คลอดไม่ต้องเบ่ง

9.  ทำคลอดศีรษะ ไหล่ ลำตัว และรก เช่นเดียวกับการคลอดปกติ

10. ตรวจช่องทางคลอด  ปากมดลูกโดยใช้  anterior  และ  posterior  retractor  ช่วยถ่างขยายช่องคลอดให้เห็นปากมดลูกชัดเจน  แล้วใช้  ovum forceps  หรือ  sponge holder  จับปากมดลูก  ตรวจไล่ดูตั้งแต่  anterior  lip  ด้านข้างและ  posterior  lip  จนครบวง จนแน่ใจว่าไม่มีการฉีกขาดมาก  และมี  active  bleeding  ถ้าฉีกขาดมากหรือฉีกขาดโดนเส้นเลือด ( cervical  branch of uterine vessels )  ให้เย็บซ่อมแซมด้วย  chromic  catgut  เบอร์  1 หรือ 0  แบบ   figure  of  eight  เพื่อห้ามเลือด แล้วเย็บซ่อมฝีเย็บตามปกติ

11. ติดตามดูแลหลังคลอด ว่ามีภาวะแทรกซ้อนหรือไม่ เช่น ปัสสาวะไม่ออก หรือ ติดเชื้อ เป็นต้น

Critical errors

  • ไม่ได้ฉีดยาชาก่อนตัดฝีเย็บ
  • ไม่ได้ตรวจหา  condition to be fulfilled  ก่อนใส่เครื่องมือ  เช่น ตรวจท่าของเด็ก, ปากมดลูกเปิดหมดหรือไม่, A-P suture, bladder  empty  หรือไม่
  • ใส่  blade ไม่ได้ หรือล๊อคไม่ได้
  • ดึงศีรษะไม่ออก
  • ไม่ได้ตรวจช่องทางคลอดภายหลังทำคลอดรกแล้ว
  • มีภยันตรายที่ร้ายแรงต่อแม่และเด็กขณะนั้น

ภาพแสดงการทำ forcep extraction

3-01

สอดนิ้วชี้และนิ้วกลางของมือขวาเข้าไปในช่องคลอด ค่อย ๆ สอดคีมข้างซ้ายเข้าไปในช่องคลอดตรงตำแหน่ง 5 นาฬิกา โดยให้คีมอยู่ระหว่างนิ้วมือด้านขวาและศีรษะทารก ใช้นิ้วหัวแม่มือข้างขวาค่อย ๆ ดันขอบล่างของ pelvic curve (heel) ให้ค่อย ๆ เลื่อนเข้าไปด้านใน

3-02

3-03

ใส่คีมข้างขวาเช่นเดียวกับคีมข้างซ้าย แต่สลับมือกัน โดยสอดคีมที่ตำแหน่ง 7 นาฬิกา ถ้าสอด blade ถูกต้องตาม pelvic application แล้ว เมื่อสอดคีมด้านขวาลงมาจะล็อคเข้ากับด้านซ้ายได้พอดี

3-04

Cephalic application of forceps ตำแหน่งที่เหมาะสมคือ คีมจะอยู่ในแนว occito-mentum (OM)

3-05

Read More