การเจาะถุงน้ำคร่ำ  (Amniotomy)

1.  เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือ

 

  • เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือปราศจากเชื้อเช่นเดียวกับการตรวจภายในสตรีเจ็บครรภ์คลอด
  • เตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการเจาะถุงน้ำคร่ำ เช่น Vasellum
  • เตรียม antiseptic lubricant เช่น Hibitane cream

2.  เตรียมผู้เจาะถุงน้ำคร่ำ

  • สวมหมวกและ  mask  ล้างมือให้สะอาดสวมถุงมือสะอาดปราศจากเชื้อ

3. เตรียมผู้ป่วย

  • อธิบายให้ทราบถึงประโยชน์และความรู้สึกขณะถูกเจาะถุงน้ำ ให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการสอดใส่เครื่องมือ และการมีน้ำไหลออกมาภายหลังการเจาะแล้ว
  • ให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะก่อน
  • จัดท่าผู้ป่วยให้นอนตั้งเข่าชันแยกปลายขาออกโดยนอนบน  bed  pan  เพื่อป้องกันการเปื้อนน้ำคร่ำ
  • ตรวจทางหน้าท้องและตรวจภายในให้แน่ใจว่าศีรษะทารกเข้าสู่ช่องเชิงกรานแล้ว (engaged) และอยู่ตั้งแต่ระดับ 0 ลงมา  ปากมดลูกเปิดพอสมควรที่จะใส่เครื่องมือเข้าไปได้

4. วิธีการเจาะ

  • ทำความสะอาดบริเวณปากช่องคลอดด้วย  aseptic  technique
  • แหวก  labia  ก่อนสอดนิ้วเข้าไปในช่องคลอด
  • ตรวจภายในเพื่อให้แน่ใจว่าสภาพปากมดลูกและส่วนนำของทารกอยู่ในภาวะที่เหมาะสมต่อการเจาะถุงน้ำคร่ำ ทำ  fornix  test  ก่อน โดยคลำรอบๆ  fornix  ให้แน่ใจว่าได้ศีรษะทารกโดยตลอดไม่มีภาวะรกเกาะต่ำ
  • สัมผัสลักษณะผิวเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำจากการสอดนิ้วผ่านปากมดลูกว่า  ไม่มีเส้นเลือดพาดผ่านหรือมี  pulse  (vasa previa)
  • สำรวจว่าไม่มี forelying  cord

5. การทำ  membrane  stripping

 

·        ทำการเซาะเยื่อหุ้มเด็กที่มดลูกส่วนล่าง โดยสอดนิ้วชี้และนิ้วกลางเข้าไปในปากมดลูกจนคลำได้มดลูกส่วนล่าง เซาะแยกเยื่อหุ้มเด็กออกจากส่วนล่างของผนังด้านในมดลูก 360 องศา ขณะเดียวกันก็ตรวจหา  forelying cord  ด้วย  ซึ่งถ้าพบ ห้าม ทำการเจาะถุงน้ำเพราะจะทำให้เกิด  prolapsed cord  ได้

6.  การเจาะถุงน้ำคร่ำ

·        ให้ผู้ช่วยฟังเสียงหัวใจทารก

·        บอกผู้ป่วยว่าอาจจะรู้สึกอึดอัด หรือเจ็บเล็กน้อย ให้อยู่นิ่งๆ อย่าขยับตัว

·        จับ vasellum ซึ่งที่ปลายมีเขี้ยวเล็กๆ อยู่เข้าไปในช่องคลอดให้เครื่องมืออยู่ระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วกลางที่ตรวจภายในอยู่ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บต่อช่องทางคลอดระมัดระวังอย่าให้ปลายเครื่องมือโดนและเป็นอันตรายต่ออวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก

·        คีบจับเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำเบาๆ โดยต้องแน่ใจว่าไม่ได้จับส่วนของปากมดลูกออกมาด้วย

·        ดึงถุงน้ำคร่ำให้แตก ในขณะที่มดลูกไม่หดรัดตัว ป้องกัน prolapsed cord

·        ระวังการบาดเจ็บต่อศีรษะทารก

·        ฟังเสียงหัวใจทารกหลังจากเจาะถุงน้ำแล้ว * เพื่อแยกภาวะ  occult prolapsed cord

·        ค่อยๆ เอา vasellum ออกจากช่องคลอด โดยยังคามือที่ตรวจภายในไว้ในช่องคลอด ค่อยๆ ปล่อยน้ำคร่ำออกทีละน้อย อย่าให้ไหลออกเร็วเกินไป  พร้อมกับให้ผู้ช่วยหรือผู้เจาะเองเอามือซ้ายดันบริเวณ fundus ให้ศีรษะเด็กลงมา  fix กับปากมดลูก

·        ให้ผู้ช่วยฟังเสียงหัวใจทารกอีกครั้ง

·        สังเกตสีของน้ำคร่ำและถอนมือออกจากช่องคลอด

·        บอกผลการตรวจภายใน และแนะนำการปฏิบัติตัวหลังการเจาะถุงน้ำ

8.  ฟังเสียงหัวใจทารกต่อไปอีกระยะหนึ่ง

Critical errors

  • ไม่ได้สำรวจหาข้อห้ามในการเจาะถุงน้ำ จากประวัติ และการตรวจร่างกาย
  • ไม่ได้ตรวจภายในเพื่อสำรวจหาข้อห้ามในการเจาะถุงน้ำ
  • เจาะถุงน้ำคร่ำไม่ได้
  • เกิดสายสะดือย้อยหลังเจาะถุงน้ำคร่ำ
  • ทำให้ปากมดลูกฉีกขาดจนมีเลือดออกมาก
  • ไม่ได้ฟังเสียงหัวใจเด็กก่อนและหลังเจาะถุงน้ำคร่ำ