บทนำ

คำนำ

คู่มือเล่มนี้ใช้ชื่อว่า “คู่มือช่วยการเรียนรู้”  เพราะเป็นคู่มือที่ “ครู” จัดทำขึ้นเพื่อช่วยให้นักศึกษา หรือ “ผู้เรียน”  เรียนได้ผลดี  ทั้งนี้เพราะ “การเรียน” นั้น โดยแท้จริงแล้วย่อมเป็นกิจการของผู้เรียน โดยมี “ครู” เป็นผู้ช่วยจัดกลไกในการเรียน  เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ในตัวผู้เรียน ไม่ว่าจะเรียนเรื่องใด ”  ครู”   มีหน้าที่ช่วยให้เกิดกลไกเหล่านั้นได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ประทับใจ ฯลฯ

กลไกในการเรียนรู้ เริ่มจากผู้เรียนได้สัมผัสกับประสบการณ์ใหม่  เมื่อบังเกิดความสนใจ จึงได้พินิจพิจารณา หาเหตุผลด้วยปัญญาของตนเอง ครั้นนำเอาเหตุผลนั้นไปทดลองกับปรากฏการณ์ในลักษณะเดียวกันต่อไป ก็ปรากฏว่าใช้ได้ เป็นการยืนยันว่าเหตุผลที่สรุปด้วยสติ ปัญญาของตนเองนั้นถูกต้อง จึงรับไว้เป็นแนวทางต่อไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าได้เรียนรู้แล้ว

” ครู ”     มีหน้าที่เร้าใจให้   ” ผู้เรียน ”   สนใจ  พยายามจัดหาอุปกรณ์     และสร้างบรรยากาศให้ ” ผู้เรียน ” สนุก ที่จะเรียน อยากเรียน ดังนั้นในกรณีที่  ”   ผู้เรียน ” มีความกระตือรือร้น หรือแรงดลใจอยู่แล้ว ก็ย่อมจะทำให้การเรียนได้ผลดียิ่งขึ้น

ที่ว่าการเรียนได้ผลดีนั้น  หมายความว่าอย่างไร ?

คำตอบ    คือ    เรียนจนได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

วัตถุประสงค์   คือ   อะไร  ?

วัตถุประสงค์ในความหมายในทางการศึกษา    หมายถึง  ลักษณะที่คาดหวังว่าเมื่อ ”  ผู้เรียน ” เรียนจบแล้วมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ?  ลักษณะดังกล่าวนี้  จำแนกออกเป็น 3   ประการ  คือ  ความรู้   ความชำนาญ  และ เจตคติ

คู่มือเล่มนี้    จะช่วยให้  ” ผู้เรียน ”   เรียนได้ บรรลุวัตถุประสงค์

รศ.นพ.กำจัด    สวัสดิโอ
อดีตหัวหน้าภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
คณะแพทยศาสตร์   มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


 

 

ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา    คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้กระบวนวิชา พ.สต.601 โดยอาศัยวัตถุประสงค์ของหลักสูตรสาขาวิชาแพทยศาสตร์ พ.ศ. 2553 และ เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา พ.ศ. 2555  เป็นแนวทางประกอบกัน

1.    วัตถุประสงค์ของหลักสูตร  สาขาวิชาแพทยศาสตร์  พ.ศ. 2553

เพื่อผลิตบัณฑิตแพทย์ให้มีคุณลักษณะดังนี้

  1. มีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติ ปฏิบัติตนถูกต้องตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพแพทย์
  2. มีร่างกายและจิตใจที่ไม่เป็นอุปสรรคในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
  3. มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพ สามารถแก้ไขปัญหาในเวชปฏิบัติปฐมภูมิ โดยคำนึงถึงปัญหา ทางร่างกาย จิตใจเศรษฐฐานะ สิทธิของผู้ป่วยและสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับตัวผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน สามารถใช้วิจารณญาณแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลเป็นระบบและรู้ขีดความสามารถของตนเอง
  4.  มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร สร้างมนุษยสัมพันธ์ และถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. มีนิสัยใฝ่รู้ และศึกษาอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม 6. มีภาวะความเป็นผู้นำ รู้หลักการและมีวิสัยทัศน์ในการบริหารจัดการด้านการแพทย์ให้ สอดคล้องกับระบบสาธารณสุขของประเทศและงานทั่วไป
  6. สามารถพัฒนาตนเองและปรับตัวให้เข้ากับขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณีและ สิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานของคุณธรรม

2.    วัตถุประสงค์ของกระบวนวิชา พ.วป. 603 (332603) : เวชปฏิบัติสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

นักศึกษาสามารถ

  1.  มีทักษะทางคลินำในการวินิจฉัยโรคทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาที่พบบ่อย
  2. รักษาผู้ป่วยอย่างเหมาะสม โดยอ้างอิงหลักฐานทางการแพทย์ หลักจริยเวชศาสตร์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  3. ทำหัตถการพื้นฐานทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
  4. แนะนำเรื่องโรค การรักษา และการสร้างเสริมสุขภาพแก่ผู้ป่วยและญาติ
  5. เข้าใจ และให้เหตุผลในการส่งต่อผู้ป่วย
  6. สื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่น

เกณฑ์ที่คาดหวังว่าจะได้รับ  เมื่อผ่านการเรียนการสอนของภาควิชาฯ

ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้ตามหลักการบริบาลที่ถูกต้อง คือ การส่งเสริมสุขภาพ  การป้องกันโรค  การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ ตลอดจนการปฏิบัติวิชาชีพตามกฎหมาย  โดยจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้ในเรื่องต่างๆ ตามเกณฑ์แพทยสภา ปี 2553 ดังนี้

กลุ่มที่ 1 : โรค/กลุ่มอาการ/ภาวะฉุกเฉินที่ต้องรู้กลไกการเกิดโรค สามารถให้การวินิจฉัยเบื้องต้น และให้การบำบัดการรักษาได้อย่างทันท่วงที ตามความเหมาะสมของสถาณการณ์ รู้ข้อจำกัดของตนเองและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์มากกว่าได้อย่างเหมาะสม

  1.  obstructed labor
  2.  threatened uterine rupture
  3. asphysxia of the newborn
  4. fetal distress
  5. antepartum and postpartum hemorrhage

กลุ่มที่ 2 : โรค/กลุ่มอาการ/ภาวะที่ต้องรู้กลไกการเกิดโรค สามารถให้การวินิจฉัย ให้การบำบัดการรักษาได้ด้วยตนเอง รวมทั้งการฟื้นฟูสภาพ การส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค ในกรณีที่โรครุนแรง หรือซับซ้อนเกินความสามารถให้พิจารณาแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และส่งผู้ป่วยต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญ

  1. cystitis, urethritis
  2. vulvovaginitis
  3. cervicitis
  4. Pelvic inflammatory disease (endometriits,salpingitis,oophoritis,tuboovarian abscess)
  5. menstrual disorder
  6. abnormal uterine or vaginal bleeding
  7.  menopausal & perimenopausal disorder
  8. abnormal findings on antenatal screening of mother  (biochemical,hematological,serological,cytological,chromasomal)
  9. abortion
  10.  hyperemesis gravidarum
  11. antepartum hemorrhage (placenta previa, abruption placenta)
  12. hypertensive disorder in pregnancy
  13.  other maternal disorders related to preganancy ( infection of genitourinary tract, diabetes mellitus, malnutrition)
  14. malposition and malpresentation of the fetus
  15. normal delivery
  16. preterm labor
  17. premature rupture of membrane , chorioamnionitis
  18. prolonged pregnancy (postdate, posterm)
  19. abnormal labor forces (prolonged labor)
  20. fetal distress
  21. trauma to birth canal during delivery & fetal injury
  22. complications during puerperium
  23. birth infection associated with childbirth
  24. hydratidiform mole
  25. birth asphysxia

กลุ่มที่ 3 : โรค/กลุ่มอาการ/ภาวะที่ต้องรู้กลไกการเกิดโรค สามารถให้การวินิจฉัยแยกโรค และรู้หลักในการดูแลรักษา แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ตัดสินใจส่งผู้ป่วยต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งการฟื้นฟูสภาพ การส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค

  1. endometriosis
  2. Bartholinitis & abscess, barthrolin cyst
  3. imperforated hymen
  4. female genital prolapsed (cystocele,rectocele,prolapsed uterus)
  5. fistula involving female genital tracts
  6. umbilical cord complication (prolapsed cord, vasa previa)
  7. obstructed labor
  8. ectopic pregnancy
  9. multiple gestation
  10. fetopelvic disproportion
  11. polyhydraminos, oligohydraminos
  12. benign and malignant neoplasm of genital tract

หัตถการ

1.  หัตถการพื้นฐานทางคลินิก เมื่อจบแพทยศาสตร์บัณฑิตแล้วสามารถบอกข้อบ่งชี้ ขั้นตอนวิธีการทำ บอกภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น และสามารถทำได้ด้วยตนเอง

  • Normal labor
  • Amniotomy
  • Episiotomy and perineorrhaphy
  • Pap smear preparation
  • Remove foreign body from vagina in adult

2. หัตถการที่มีความซับซ้อนกว่าหัตถการพื้นฐาน และมีความสำคัญต่อการรักษา เมื่อจบแพทยศาสตร์บัณฑิตแล้วสามารถบอกข้อบ่งชี้ ขั้นตอนวิธีการทำ บอกภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ถูกต้อง สามารถทำภายใต้การแนะนำได้ถูกต้อง และเมื่อผ่านการเพิ่มพูนทักษะแล้ว สามารถทำได้ด้วยตนเอง

  • Cervical dilatation and uterine curettage
  • Tubal ligation & resection
  • Insertion and removal of intrauterine device
  • Removal of foreign body from vagina
  • Biopsy of cervix

3.  หัตถการที่มีความซับซ้อน และ อาจทำในกรณีที่จำเป็น สามารถบอกข้อบ่งชี้ ขั้นตอนวิธีการทำ บอกภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ถูกต้อง เมื่อจบแพทยศาสตร์บัณฑิตต้องเคยเห็น เคยช่วย และเมื่อผ่านการเพิ่มพูนทักษะต้องได้ทำภายใต้คำแนะนำ

Low transverse cesarean section

4. หัตถการที่มีความซับซ้อน และ/หรือ อาจเกิดอันตรายที่ร้ายแรงได้ ถ้าปฏิบัติไม่เหมาะสม และ / หรือ ต้องอาศัยการฝึกฝนเพิ่มเติม สามารถบอกข้อบ่งชี้ หลักการ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิด สามารถให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้ป่วยได้ถูกต้อง เมื่อจบแพทยศาสตร์บัณฑิตและผ่านการเพิ่มพูนทักษะต้องเคยเห็นหรือเคยช่วย

  • Vacuum extraction
  • Low forcep extraction
  • Manual removal of placenta
  • Culdocentesis
  • Marsupilization of Bartholin cyst
  • Conization of uterine cervix
  • Salpingectomy and oophorectomy
  • Breech assisting and extraction
  • Contraceptive drug implantation and removal

5. หัตถการเฉพาะทาง สามารถบ่งชี้ หลักการ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิด สามารถให้คำแนะนำเพื่อเป็นแนวทางในการส่งต่อผู้ป่วยต่อไปได้อย่างเหมาะสม และสำหรับให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้ป่วย

Hysterectomy

ความสามารถพื้นฐานในการตรวจ และเลือกส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่

  • การทำ  Papanicolaou ‘s smear
  • การตรวจ อัลตร้าซาวด์ในหญิงตั้งครรภ์ และ ในท้องน้อย

ลักษณะงาน

ภาคบรรยาย :              

มีการบรรยาย 4 ชั่วโมง  เรื่อง Common problems in Gyne , Common problems in OB , Contraception & Family planning  และ Emergency OB: APH, PPH

ภาคปฏิบัติงาน  :        

ฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยทั้งสูติกรรมและนรีเวชกรรม  ร่วมกับแพทย์ประจำบ้าน และอาจารย์แพทย์ ประมาณ  50-70  ชั่วโมงต่อสัปดาห์  โดยภาควิชาฯยึดถือนโยบายว่า การปฏิบัติใดๆก็ตามต่อผู้ป่วย เป็นความรับผิดชอบอย่างสำคัญที่สุด จะละทิ้งไม่ได้

1. ด้านสูติกรรม

  • ฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยสูติกรรม  ดูแลสตรีมีครรภ์ที่ปกติ  ผิดปกติและมีโรคแทรกซ้อนในระยะก่อนเจ็บครรภ์  ระยะเจ็บครรภ์ และระยะหลังคลอด
  • ฝึกปฏิบัติงานในห้องคลอด ดูแลสตรีมีครรภ์ที่ปกติ  ผิดปกติ และมีโรคแทรกซ้อนในระยะเจ็บครรภ์  รวมทั้งการคลอด ทำคลอดในรายปกติ  ช่วยทำคลอดในรายผิดปกติและรายที่มีโรคแทรกซ้อน
  • ฝึกปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด ช่วยผ่าตัดทำหมัน   ช่วยผ่าตัดในรายผ่าท้องทำคลอด ช่วยผ่าตัดโรคนรีเวชกรรมบางอย่าง
  • ฝึกปฏิบัติงานที่ห้องฝากครรภ์     ดูแลสตรีมีครรภ์   ตรวจวินิจฉัย  ให้การรักษา  และให้คำแนะนำแก่สตรีที่มีครรภ์ปกติ  ผิดปกติ  และมีโรคแทรกซ้อน
  • ฝึกปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในห้องคลอด ตามที่ภาควิชา ฯ   จัดให้
  • เป็นพี่เลี้ยงแก่นักศึกษาแพทย์ปีที่  5
  • ตรวจ  เช็ค และ/หรือ  กรอกรายละเอียดต่างๆ  ในแบบรายงานผู้ป่วยให้ครบถ้วนสมบูรณ์

2. ด้านนรีเวชกรรมและวางแผนครอบครัว

  • ฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยนรีเวชกรรม  ตรวจ วินิจฉัย  และดูแลผู้ป่วยนรีเวชกรรม  ก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัด
  • ฝึกปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด  ช่วยผ่าตัด ทั้งผ่าตัดเล็กและผ่าตัดใหญ่  ช่วยขูดมดลูกในรายที่ไม่ติดเชื้อ
  •  ฝึกปฏิบัติงานที่หน่วยผู้ป่วยนอก   ตรวจ วินิจฉัย   และให้การรักษาแก่ผู้ป่วยหลังคลอด  ให้คำแนะนำ  และ
  • ให้การรักษาแก่สตรีที่มารับบริการวางแผนครอบครัว
  • ฝึกปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ   ตามที่ภาควิชา ฯ  จัดให้
  • เป็นพี่เลี้ยงแก่นักศึกษาแพทย์ปีที่  4
  • ตรวจ  เช็ค และ/หรือ  กรอกรายละเอียดต่างๆ  ในแบบรายงานผู้ป่วยให้ครบถ้วนสมบูรณ์

3.  การอภิปราย หรือการสัมมนา และการบรรยายพิเศษ

(เฉพาะนักศึกษาแพทย์ที่ผ่านการปฏิบัติงานในคณะแพทยศาสตร์ )

  • Morning Conference  :    การอภิปรายผู้ป่วยที่รับไว้ในความดูแลในเวลานอกราชการ ของทุกวัน  โดยแพทย์ประจำบ้านที่อยู่เวรประจำวันนั้นๆ  ทุกวันเวลา  7.00-8.00  น.  ห้องเรียน อ.กำจัด
  • Interesting Case Conference :  การอภิปรายเกี่ยวกับผู้ป่วยที่มีปัญหา  หรือน่าสนใจประจำสัปดาห์
  • ทุกวันจันทร์  เวลา  13.00-14.30   น.  ห้องประชุมหม่อมเจ้าอำนอร์สวัสดิ์ – ศุภร
  • Topic  or  Journal  Club  :     เรื่องที่น่าสนใจและเรื่องน่ารู้จากวารสารทางการแพทย์ ทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา  ทุกวันอังคารและพฤหัสบดี  เวลา   15.30 -16.30  น. ห้องเรียน อ.กำจัด
  • Special  Lecture   :   การบรรยายพิเศษโดยอาจารย์ในภาควิชา ฯ  หรือเรียนเชิญจากต่างภาควิชา ในหัวข้อที่น่าสนใจหรือเป็นปัญหาที่พบบ่อย ที่เกี่ยวข้องกับทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ทุกวันอังคารและพฤหัสบดี  เวลา   15.30 -16.30  น.  (  เป็นครั้งคราว  )  ห้องเรียน อ.กำจัด
  • Specialty Lecture  :  เวลา  13.00 – 14.30 น. วันศุกร์ เรื่องที่น่าสนใจของหน่วยงานต่าง ๆ สลับกันไป
    • Perinatal  conference
    • Onco  conference
    • Endocrine  conference
    • Family  Planing conference
  • Hand on U/S &Critical U/S for extern โดย ศ.นพ.ธีระ  ทองสง และทีมคณาจารย์  วันอังคาร เวลา 13.00 – 15.00 น. ห้องตรวจฝากครรภ์ ผู้ป่วยนอก (OPD 4)

สถานที่ฝึกปฏิบัติงาน/  ระยะเวลา

จัดแบ่งการฝึกปฏิบัติงานนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่  6  ออกเป็น  2   กลุ่มใหญ่  คือ

  • กลุ่มที่  1  ปฏิบัติงานตลอด 2  เดือน  ณ  โรงพยาบาลสมทบ  แห่งใดแห่งหนึ่งคือ   โรงพยาบาลลำปาง  โรงพยาบาลน่าน  โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์  โรงพยาบาลพะเยา  โรงพยาบาลตากสินมหาราช โรงพยาบาลแม่สอด โรงพยาบาลสุโขทัย โรงพยาบาลศรีสังวร โรงพยาบาลลำพูน
  • กลุ่มที่ 2  ปฏิบัติงานที่คณะแพทยศาสตร์ฯ  1  เดือน และที่โรงพยาบาลนครพิงค์อีก  1  เดือน ได้แก่  รวมทั้งหมดเป็น  10   สถาบัน

  

ทำอย่างไรจึงจะบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียน

1.  หลักการเรียนรู้   ดังได้กล่าวมาแล้วในคำนำว่า  ผลของ ”  การเรียน  ” ย่อมขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนเป็น สำคัญ

อย่างไรก็ดีการเรียนรู้   ”  วิธีเรียน  ”   ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการศึกษาก็จะยิ่งช่วยให้เรียนรู้ได้ผลดี ยิ่งขึ้น

วงจรของการเรียนรู้อาจจะสรุปได้ดังนี้

วัตถุประสงค์


การประเมินผล                                                      การจัดประสบการณ์การเรียนรู้

2. การเรียนภาคปฏิบัติ

ตามหลักการเรียนรู้ภาคปฏิบัตินั้น มีขั้นตอนนับแต่การใช้มือ ใช้เครื่องมือ ทดลองทำตามคำแนะนำ และลงมือทำด้วยตนเอง ความชำนาญจึงจะบังเกิดขึ้นได้

”  ไม่มีใครเกิดความชำนาญได้โดยไม่ลงมือทำ “

3. การทำงานและการเรียนร่วมกัน

เป็นที่ยอมรับว่าผู้ประกอบวิชาชีพไม่ว่าแขนงใด  จะให้ได้รับผลสำเร็จด้วยดีนั้น ต้องมีความสามารถ 2  ด้านประกอบกัน คือ  ความรู้ความสามารถในงานวิชาชีพโดยตรง  และความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ

หลักสูตรสาขาวิชาชีพแพทยศาสตร์  ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  กำหนดไว้ชัดเจนว่า ” บัณฑิตที่จบหลักสูตรนี้จะต้องมีความกระตือรือร้น  ความสามารถที่จะศึกษาต่อด้วยตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาชุมชน “

ดังนั้นในการปฏิบัติงาน ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงเน้นเรื่องมนุษยสัมพันธ์ และการทำงานร่วมกันเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง  โดยจะมอบหมายให้ผู้เรียน ร่วมกันรับผิดชอบ ในการปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย  เพื่อผู้เรียนจะได้มีโอกาสฝึกการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพไปด้วยในเวลาเดียวกัน

 

Read More

บทส่งท้าย

บทส่งท้าย

1. มีผู้กล่าวว่า ” ในโลกนี้ไม่มีใครสอนอะไรใครได้ ” เพราะการเรียนรู้นั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้เรียนมีความสนใจอยากรู้ ครูจึงมีหน้าที่เร้าใจให้ผู้เรียนอยากเรียน

2. สิ่งที่ผู้เรียนควรจะได้เรียนไปพร้อมกัน คือ ” วิธีเรียน ” เนื้อหาของวิชาการต่างๆในโลกนี้มีปริมาณมาก และนับวันจะเพิ่มขึ้นทุกขณะ ถ้าผู้เรียนไม่รู้วิธีเรียน ก็จะไม่สามารถเรียนด้วยตนเองต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังคำกล่าวที่ว่า ” ครูจะช่วยให้นักเรียนรู้วิธีตกปลา แต่มิใช่จับปลามาให้นักเรียน “

3. ความสำเร็จในการเรียน ก็ยังคงอาศัยหลักง่ายๆ ถ้าเพียงผู้เรียนได้ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ คือ

  • ความพอใจ ความสนุกที่จะเรียน
  • ความมานะพยายาม ขยันหมั่นเพียร หนักเอา เบาสู้
  • ความสนใจ เอาใจใส่สม่ำเสมอ ไม่ทอดทิ้ง
  • ความใคร่ครวญพินิจพิจารณาด้วยปัญญาอยู่เสมอ โดยปราศจาก ” อคติ ” ทั้งปวง

” ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการเรียนรู้วิชานี้ และวิชาอื่นๆ ต่อไป “

ปรับปรุงใหม่กลุ่มคณาจารย์ปี 6
เมษายน 2561

 

Read More

บทส่งท้าย

บทส่งท้าย

1. มีผู้กล่าวว่า ” ในโลกนี้ไม่มีใครสอนอะไรใครได้ ” เพราะการเรียนรู้นั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้เรียนมีความสนใจอยากรู้ ครูจึงมีหน้าที่เร้าใจให้ผู้เรียนอยากเรียน

2. สิ่งที่ผู้เรียนควรจะได้เรียนไปพร้อมกัน คือ ” วิธีเรียน ” เนื้อหาของวิชาการต่างๆในโลกนี้มีปริมาณมาก และนับวันจะเพิ่มขึ้นทุกขณะ ถ้าผู้เรียนไม่รู้วิธีเรียน ก็จะไม่สามารถเรียนด้วยตนเองต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังคำกล่าวที่ว่า ” ครูจะช่วยให้นักเรียนรู้วิธีตกปลา แต่มิใช่จับปลามาให้นักเรียน “

3. ความสำเร็จในการเรียน ก็ยังคงอาศัยหลักง่ายๆ ถ้าเพียงผู้เรียนได้ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ คือ

  • ความพอใจ ความสนุกที่จะเรียน
  • ความมานะพยายาม ขยันหมั่นเพียร หนักเอา เบาสู้
  • ความสนใจ เอาใจใส่สม่ำเสมอ ไม่ทอดทิ้ง
  • ความใคร่ครวญพินิจพิจารณาด้วยปัญญาอยู่เสมอ โดยปราศจาก ” อคติ ” ทั้งปวง

” ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการเรียนรู้วิชานี้ และวิชาอื่นๆ ต่อไป “

ปรับปรุงใหม่กลุ่มคณาจารย์ปี 6
เมษายน 2561

 

Read More
FC15-1

Gynecologic oncology

Gynecologic oncology

Abnormal PAP smear

 

ตั้งแต่ ASCUS (Atypical Squamous Cell of Undetermined Significance ) ขึ้นไปให้ตรวจภายในก่อน ถ้าเห็น lesion ให้ทำ cervical plunch biopsy ถ้าไม่เห็น lesion ให้ส่งตรวจ colposcopy

ถ้าไม่สามารถส่งตรวจ colposcoy ให้ทำตาม flow chart นี้

FC15-1

 

ถ้ามี colposcope จะทำตาม flow chart นี้

FC15-2

 

ในบางรายที่ unsatisfied colposcopy หรือ lesion สงสัย HSIL หรือ AIS มักต้องทำ conization ซึ่งอาจทำโยช้ห่วงไฟฟ้าตัด (loop electrosurgical excision procedure : LEEP) หรือ อาจทำเป็น cold knife conization (CKC)

ขั้นตอนการทำ cold knife conization

1.       Block หลัง หรือดมยา

2.       นอนท่า lithotomy

3.       สวนปัสสาวะทิ้ง และตรวจภายในอีกครั้ง

4.       วิธีทำ

  • ใส่ posterior และ anterior retractor ให้ผู้ช่วยดึง posterior retractor
  • ใช้ผ้า gauze ชุบน้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดช่องคลอดและปากมดลูก
  • ใช้ Lugol solution ทาให้ทั่ว ตำแหน่งที่ไม่ติดสีมักเป็นตำแหน่งรอยโรค
  • ใช้ tenaculum จับที่ปากมดลูก 3 กับ 9 นาฬิกา นอกบริเวณที่ไม่ติดสี
  • เย็บบริเวณ 3 และ 9 นาฬิกาทางด้านข้าง
  • ของปากมดลูก ระดับ fornix ลึกประมาณ 0.5 cm. ผูกให้แน่น เพื่อช่วยดึงปากมดลูก และผูก cervical branch ของ uterine arteries ด้วย chromic cat gut No.1
  • ใช้ไหมดำเย็บบริเวณ 12 นาฬิกาใกล้ os เพื่อเป็นเครื่องหมาย ทำให้ทราบว่าด้านใดของปากมดลูกเป็นด้านบน
  • อาจใส่ uterine sound เข้าไปในโพรงมดลูกและคาไว้ เพื่อให้ทราบตำแหน่งของ endocervical canal
  • ใช้มีดปลายแหลมกรีดเป็นวงกลมโดยรอบปากมดลูก ให้อยู่นอกบริเวณที่ไม่ติดสี เริ่มจากด้านล่างของปากมดลูกก่อน ให้ปลายมีดชี้เข้าหา sound ที่อยู่ใน endocervical canal จนได้ชิ้นเนื้อปากมดลูกเป็นรูปกรวยออกมา
  • ส่งชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิสภาพ
  • ขูดบริเวณ endocervix ส่วนที่เหลือ ส่งตรวจทางพยาธิสภาพ
  • ขูดมดลูกให้ทั่ว เพื่อดูว่าไม่มีพยาธิสภาพใดๆเหลือ
  • เย็บ sturmdorf เพื่อ stop bleed บริเวณปากมดลูก โดยใช้ chromic catgut หรือ Dexon เบอร์ 1 เย็บ ดังรูป
  • ถ้ายังมีจุดเลือดออกให้เย็บเพิ่มทางด้านข้างทั้ง 2 เป็นรูป figure of eigth
  • ตรวจดูว่า cervical canal ปกติ ไม่ตีบ
  •  ถอด uterine sound, tenaculum ออก เอา retractor ออก ถ้ามีเลือดออกอยู่เล็กน้อย อาจใส่ vaginal packing
  • retrained Foley’s cath ไว้ประมาณ 1 วันถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อน

รูปขั้นตอนการทำ conization

15-1

รูปที่ 1 เย็บด้านข้างของ cervix

15-2

รูปที่ 2  ใช้มีดกรีดเป็นรูป วงกลม

15-3

รูปที่ 3 ใช้มีดเฉาะเป็นรูกกรวย

15-4

รูปที่ 4-5 แสดงการเย็บ Sturmdorf

รูปที่ 4   เริ่มปักเข็มจากด้านนอก ectocervix (ด้านขวามือ) เข้ามาใน endocervix (outside-in)
จากนั้นปักออกจาก endocervix ไป ectocervix อีกที (inside-out) ดดยให้ห่างจากรอยเข็มเข้าประมาณ
1 cm จากนั้นปักเข็มเข้าจาก ectocervix ถัดจากรอยออกเดิมประมาณ 1 cm
เข้ามาใน endocervix แล้วปักออกไป ectocarvix อีกครั้งห่างจากรอยเข้าเดิมไปทางซ้ายประมาณ 1 cm

15-5

รูปที่ 5

1 = suture ที่ผูกเสร็จแล้ว
2 = suture ที่ยังไม่ได้ผูก
3 = suture ที่เย็บเพิ่มด้าน กรณียังมีเลือดออกหลังเย็บ sturmdorf

CERVICAL CANCER

  • Microinvasive : สามารถรักษาโดยการทำ extrafascial hysterectomy (simple hysterectomy) จะต้อง invade ไม่เกิน 3 mm. และไม่มี lymph vascular space invasion, ลักษณะของ invasion ไม่เป็น confluence pattern หลังจากผ่าตัดแล้วต้อง follow-up ผู้ป่วยกลุ่มนี้ด้วย
  • Frank invasive: ส่งต่อการรักษา
  • Inadvertent hysterectomy: กรณีที่ผ่าตัด hysterectomy แบบธรรมดา แล้วมาทราบภายหลังว่าเป็น CA cervix ให้ส่งต่อผู้ป่วยมาทันที อาจต้องมารับการฉายแสง หรือผ่าตัดเพิ่มเติมต่อ

ENDOMETRIAL CANCER

ผู้ป่วยมักจะมาด้วยเรื่อง postmenopausal bleeding ควรทำ fractional curettage ในผู้ป่วยอายุมากที่มีปัญหา abnormal bleeding

Fractional curettage: ทำคล้าย dilated &curettageเพียงแต่ต้องขูดชิ้นเนื้อบริเวณ endocervix ก่อนแล้วจึงขูดบริเวณ endometrium แยกชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิสภาพ

OVARIAN CANCER

ผู้ป่วยมักมาด้วยเรื่องก้อนในท้อง มี ascites ตรวจภายในพบ ovarian mass solid-cystic อาจจะค่อนข้าง fixed ควรส่งต่อ แต่ถ้าบังเอิญจำเป็นต้องผ่าตัด หรือจะผ่าตัด ovarian tumor ในกรณีไม่มั่นใจว่าเป็น benign หรือ malignancy ขอให้ทำตามขั้นตอนนี้

  • ลงแผลเป็น lower midline incision
  • เก็บ ascites หรือถ้าไม่มีให้ใช้ NSS ไม่ต้องอุ่นประมาณ 200 ml. ใส่เข้าไปล้างบริเวณ cul de sac , paracolic gutter ทั้ง 2 ข้าง แล้วดูดกลับ ส่งตรวจทาง cytology
  • สำรวจอวัยวะในช่องท้องให้ละเอียดดูว่ามีก้อนผิดปกติอะไรหรือไม่ โดยเฉพาะบริเวณตับ ม้าม กระเพาะอาหาร ลำไส้ mesentery รวมทั้งคลำดูต่อมน้ำเหลืองบริเวณอุ้งเชิงกรานและข้าง aorta
  • ผ่าตัด TAH&BSO ยกเว้นกรณีอายุน้อย ยังมีความต้องการมีบุตร และรังไข่อีกข้างและมดลูกยังดีอาจพิจารณาทำแค่ salpingo-oophorectomy ข้างที่เป็นออกข้างเดียว
  • ทำ infracolic omentectomy
  • Appendectomy
  • อาจทำ peritoneal biopsy บริเวณ cul de sac, paracolic gutter 2 ข้าง
  • ส่งชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิสภาพทั้งหมด
  • เขียนรายละเอียด finding & operation ในการผ่าตัดมาให้หมดถ้าต้องส่งต่อ

VULVAR CANCER

ผู้ป่วยมักมีอายุมากๆ มาด้วยอาการคันเรื้อรังบริเวณปากช่องคลอด ตรวจภายในจะพบรอยโรคได้ 3 ลักษณะ คือ

  • เป็นก้อนยื่นออกมา (exophytic lesion)
  • เป็นเนื้อนูนฝังข้างใน อาจมีสีเข้ม หรือจางกว่าได้ (infiltrative lesion)
  • เป็นแผล ( ulcerative)

บางครั้งผู้ป่วยอาจมาด้วยก้อนที่ขาหนีบโต จะต้องสงสัยไว้ว่าอาจมีแผลบริเวณ vulva

ถ้าสงสัยก้อนบริเวณนี้ต้องทำ biopsy โดยให้ผู้ป่วยอยู่ในท่า lithotomy ทำความสะอาดบริเวณ lesion ฉีดยาชาใต้และรอบๆ lesion ใช้มีดกรีดตัดรอยโรคให้ติดส่วนเนื้อที่ดูปกติไปด้วย และตัดลึกเข้าไปในชั้น dermis ถ้าแผลกว้างอาจต้องเย็บ ถ้า lesion มีขนาดเล็ก อาจทำเป็น excisional biopsy เลยคือเอาออกมาทั้งหมด ส่งชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิสภาพ

Gestational trophoblastic disease (GTD)

Molar pregnancy

ผู้ป่วยมักจะมาด้วย second trimester bleeding , size มากกว่า,น้อยกว่าหรือ เท่ากับ date ก็ได้ ฟัง FHS ไม่ได้ยิน ยืนยันการวินิจฉัยได้ด้วย ultrasound

ถ้ายังมีลูกไม่พอรักษาโดยทำ suctional curettage ถ้าลุกพอแล้ว อายุมากอาจพิจารณาตัดมดลูกเลย โดยก่อนรักษาต้องดูว่ามีภาวะแทรกซ้อนเช่น PIH, hyperthyroidism ,DIC,emboli ร่วมหรือไม่ ถ้ามีต้องควบคุมภาวะเหล่านี้ก่อน

ส่งตรวจ B-hCG เป็น baseline ก่อนรักษาด้วย

ขั้นตอนการทำ suction curettage

  • ให้ผู้ป่วยปัสสาวะก่อนทำ
  • จัดท่า lithotomy
  • ให้ IV เป็น 5%D/NSS 1,000 ml.+oxytocin 20 unit IV 125 ml/hr
  • ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ภายนอกและช่องคลอด ปูผ้าสะอาด
  • พิจารณา epidural block ถ้าไม่ได้ valium &pethidine
  • ตรวจภายในซ้ำ
  • ใส่ posterior &anterior retractor เพื่อให้เห็นปากมดลูกชัด
  • ใช้ sponge holder หรือ tenaculum (ถ้ามดลูกใหญ่ต้องระวัง ปากมดลูกฉีกขาด) จับ anterior lip ของ cervix
  • ขยาย cervix โดยใช้ Hegar dilator ขนาดที่พอคับรูปากมดลูก คาไว้สักครู่ ค่อยๆเปลี่ยนขนาดให้ใหญ่ขึ้น จนคิดว่าสามารถสอด suction tip เข้าไปได้
  • สอด suction tip เข้าไปในโพรงมดลูก อย่าให้ลึกมาก แล้วต่อปลายเข้ากับ suction tube จากนั้นต่อเข้ากับเครื่องดูดสูญญากาศอีกที
  • เปิดเครื่องดูดสูญญากาศจนถึงความดัน 60 mmHg. หมุน suction tip 360 องศา และขึ้น ลงจนไม่มีชิ้นเนื้อ
  • ใส่ sharp curette เข้าไปในโพรงมดลูก ขูดโดยรอบอีกครั้ง
  • เก็บชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิสภาพ
  • ปลด tenaculum ออก ถ้ามีเลือดออก ใช้สำลีกดไว้จนหยุด
  • เอา retractor ออก

การติดตาม B-hCG

  • ตรวจ B-hCG ในเลือด สัปดาห์ละ 1 ครั้ง จนปกติ ( < 5 mIU/ml ) 3 ครั้งติดต่อกัน จากนั้นตรวจ
    • ทุก 1 เดือน จนครบ 1 ปี
    • ทุก 3 เดือน ในปีที่ 2
    • ทุก 6 เดือนจนครบ 5 ปี
    • ต่อไปตรวจปีละ 1 คร้ง
  • แนะนำให้คุมกำเนิดด้วยยาเม็ดคุมกำเนิดชนิด combined pill อย่างน้อย 1 ปีหลังจาก B-hCG ปกติ
  • PV สัปดาห์ที่ 1 และ 4 จากนั้นตรวจทุก 2-4 สัปดาห์ ถ้าพบ theca lutein cyst หรือตรวจทุก 3 เดือนถ้าไม่พบ theca lutein cyst
  • ส่งมารับการรักษาต่อถ้าระดับ B-hCG สูงขึ้น ไม่ลดลง คงที่ หรือลดแล้วสูงขึ้น

ผู้หญิงที่มาด้วยเลือดออกในอวัยวะภายใน เช่น  hemoptysis , hematuria ควรต้องนึกถึง ภาวะ GTD ไว้ด้วย

Read More
FC15-1

Gynecologic oncology

Gynecologic oncology

Abnormal PAP smear

 

ตั้งแต่ ASCUS (Atypical Squamous Cell of Undetermined Significance ) ขึ้นไปให้ตรวจภายในก่อน ถ้าเห็น lesion ให้ทำ cervical plunch biopsy ถ้าไม่เห็น lesion ให้ส่งตรวจ colposcopy

ถ้าไม่สามารถส่งตรวจ colposcoy ให้ทำตาม flow chart นี้

FC15-1

 

ถ้ามี colposcope จะทำตาม flow chart นี้

FC15-2

 

ในบางรายที่ unsatisfied colposcopy หรือ lesion สงสัย HSIL หรือ AIS มักต้องทำ conization ซึ่งอาจทำโยช้ห่วงไฟฟ้าตัด (loop electrosurgical excision procedure : LEEP) หรือ อาจทำเป็น cold knife conization (CKC)

ขั้นตอนการทำ cold knife conization

1.       Block หลัง หรือดมยา

2.       นอนท่า lithotomy

3.       สวนปัสสาวะทิ้ง และตรวจภายในอีกครั้ง

4.       วิธีทำ

  • ใส่ posterior และ anterior retractor ให้ผู้ช่วยดึง posterior retractor
  • ใช้ผ้า gauze ชุบน้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดช่องคลอดและปากมดลูก
  • ใช้ Lugol solution ทาให้ทั่ว ตำแหน่งที่ไม่ติดสีมักเป็นตำแหน่งรอยโรค
  • ใช้ tenaculum จับที่ปากมดลูก 3 กับ 9 นาฬิกา นอกบริเวณที่ไม่ติดสี
  • เย็บบริเวณ 3 และ 9 นาฬิกาทางด้านข้าง
  • ของปากมดลูก ระดับ fornix ลึกประมาณ 0.5 cm. ผูกให้แน่น เพื่อช่วยดึงปากมดลูก และผูก cervical branch ของ uterine arteries ด้วย chromic cat gut No.1
  • ใช้ไหมดำเย็บบริเวณ 12 นาฬิกาใกล้ os เพื่อเป็นเครื่องหมาย ทำให้ทราบว่าด้านใดของปากมดลูกเป็นด้านบน
  • อาจใส่ uterine sound เข้าไปในโพรงมดลูกและคาไว้ เพื่อให้ทราบตำแหน่งของ endocervical canal
  • ใช้มีดปลายแหลมกรีดเป็นวงกลมโดยรอบปากมดลูก ให้อยู่นอกบริเวณที่ไม่ติดสี เริ่มจากด้านล่างของปากมดลูกก่อน ให้ปลายมีดชี้เข้าหา sound ที่อยู่ใน endocervical canal จนได้ชิ้นเนื้อปากมดลูกเป็นรูปกรวยออกมา
  • ส่งชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิสภาพ
  • ขูดบริเวณ endocervix ส่วนที่เหลือ ส่งตรวจทางพยาธิสภาพ
  • ขูดมดลูกให้ทั่ว เพื่อดูว่าไม่มีพยาธิสภาพใดๆเหลือ
  • เย็บ sturmdorf เพื่อ stop bleed บริเวณปากมดลูก โดยใช้ chromic catgut หรือ Dexon เบอร์ 1 เย็บ ดังรูป
  • ถ้ายังมีจุดเลือดออกให้เย็บเพิ่มทางด้านข้างทั้ง 2 เป็นรูป figure of eigth
  • ตรวจดูว่า cervical canal ปกติ ไม่ตีบ
  •  ถอด uterine sound, tenaculum ออก เอา retractor ออก ถ้ามีเลือดออกอยู่เล็กน้อย อาจใส่ vaginal packing
  • retrained Foley’s cath ไว้ประมาณ 1 วันถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อน

รูปขั้นตอนการทำ conization

15-1

รูปที่ 1 เย็บด้านข้างของ cervix

15-2

รูปที่ 2  ใช้มีดกรีดเป็นรูป วงกลม

15-3

รูปที่ 3 ใช้มีดเฉาะเป็นรูกกรวย

15-4

รูปที่ 4-5 แสดงการเย็บ Sturmdorf

รูปที่ 4   เริ่มปักเข็มจากด้านนอก ectocervix (ด้านขวามือ) เข้ามาใน endocervix (outside-in)
จากนั้นปักออกจาก endocervix ไป ectocervix อีกที (inside-out) ดดยให้ห่างจากรอยเข็มเข้าประมาณ
1 cm จากนั้นปักเข็มเข้าจาก ectocervix ถัดจากรอยออกเดิมประมาณ 1 cm
เข้ามาใน endocervix แล้วปักออกไป ectocarvix อีกครั้งห่างจากรอยเข้าเดิมไปทางซ้ายประมาณ 1 cm

15-5

รูปที่ 5

1 = suture ที่ผูกเสร็จแล้ว
2 = suture ที่ยังไม่ได้ผูก
3 = suture ที่เย็บเพิ่มด้าน กรณียังมีเลือดออกหลังเย็บ sturmdorf

CERVICAL CANCER

  • Microinvasive : สามารถรักษาโดยการทำ extrafascial hysterectomy (simple hysterectomy) จะต้อง invade ไม่เกิน 3 mm. และไม่มี lymph vascular space invasion, ลักษณะของ invasion ไม่เป็น confluence pattern หลังจากผ่าตัดแล้วต้อง follow-up ผู้ป่วยกลุ่มนี้ด้วย
  • Frank invasive: ส่งต่อการรักษา
  • Inadvertent hysterectomy: กรณีที่ผ่าตัด hysterectomy แบบธรรมดา แล้วมาทราบภายหลังว่าเป็น CA cervix ให้ส่งต่อผู้ป่วยมาทันที อาจต้องมารับการฉายแสง หรือผ่าตัดเพิ่มเติมต่อ

ENDOMETRIAL CANCER

ผู้ป่วยมักจะมาด้วยเรื่อง postmenopausal bleeding ควรทำ fractional curettage ในผู้ป่วยอายุมากที่มีปัญหา abnormal bleeding

Fractional curettage: ทำคล้าย dilated &curettageเพียงแต่ต้องขูดชิ้นเนื้อบริเวณ endocervix ก่อนแล้วจึงขูดบริเวณ endometrium แยกชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิสภาพ

OVARIAN CANCER

ผู้ป่วยมักมาด้วยเรื่องก้อนในท้อง มี ascites ตรวจภายในพบ ovarian mass solid-cystic อาจจะค่อนข้าง fixed ควรส่งต่อ แต่ถ้าบังเอิญจำเป็นต้องผ่าตัด หรือจะผ่าตัด ovarian tumor ในกรณีไม่มั่นใจว่าเป็น benign หรือ malignancy ขอให้ทำตามขั้นตอนนี้

  • ลงแผลเป็น lower midline incision
  • เก็บ ascites หรือถ้าไม่มีให้ใช้ NSS ไม่ต้องอุ่นประมาณ 200 ml. ใส่เข้าไปล้างบริเวณ cul de sac , paracolic gutter ทั้ง 2 ข้าง แล้วดูดกลับ ส่งตรวจทาง cytology
  • สำรวจอวัยวะในช่องท้องให้ละเอียดดูว่ามีก้อนผิดปกติอะไรหรือไม่ โดยเฉพาะบริเวณตับ ม้าม กระเพาะอาหาร ลำไส้ mesentery รวมทั้งคลำดูต่อมน้ำเหลืองบริเวณอุ้งเชิงกรานและข้าง aorta
  • ผ่าตัด TAH&BSO ยกเว้นกรณีอายุน้อย ยังมีความต้องการมีบุตร และรังไข่อีกข้างและมดลูกยังดีอาจพิจารณาทำแค่ salpingo-oophorectomy ข้างที่เป็นออกข้างเดียว
  • ทำ infracolic omentectomy
  • Appendectomy
  • อาจทำ peritoneal biopsy บริเวณ cul de sac, paracolic gutter 2 ข้าง
  • ส่งชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิสภาพทั้งหมด
  • เขียนรายละเอียด finding & operation ในการผ่าตัดมาให้หมดถ้าต้องส่งต่อ

VULVAR CANCER

ผู้ป่วยมักมีอายุมากๆ มาด้วยอาการคันเรื้อรังบริเวณปากช่องคลอด ตรวจภายในจะพบรอยโรคได้ 3 ลักษณะ คือ

  • เป็นก้อนยื่นออกมา (exophytic lesion)
  • เป็นเนื้อนูนฝังข้างใน อาจมีสีเข้ม หรือจางกว่าได้ (infiltrative lesion)
  • เป็นแผล ( ulcerative)

บางครั้งผู้ป่วยอาจมาด้วยก้อนที่ขาหนีบโต จะต้องสงสัยไว้ว่าอาจมีแผลบริเวณ vulva

ถ้าสงสัยก้อนบริเวณนี้ต้องทำ biopsy โดยให้ผู้ป่วยอยู่ในท่า lithotomy ทำความสะอาดบริเวณ lesion ฉีดยาชาใต้และรอบๆ lesion ใช้มีดกรีดตัดรอยโรคให้ติดส่วนเนื้อที่ดูปกติไปด้วย และตัดลึกเข้าไปในชั้น dermis ถ้าแผลกว้างอาจต้องเย็บ ถ้า lesion มีขนาดเล็ก อาจทำเป็น excisional biopsy เลยคือเอาออกมาทั้งหมด ส่งชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิสภาพ

Gestational trophoblastic disease (GTD)

Molar pregnancy

ผู้ป่วยมักจะมาด้วย second trimester bleeding , size มากกว่า,น้อยกว่าหรือ เท่ากับ date ก็ได้ ฟัง FHS ไม่ได้ยิน ยืนยันการวินิจฉัยได้ด้วย ultrasound

ถ้ายังมีลูกไม่พอรักษาโดยทำ suctional curettage ถ้าลุกพอแล้ว อายุมากอาจพิจารณาตัดมดลูกเลย โดยก่อนรักษาต้องดูว่ามีภาวะแทรกซ้อนเช่น PIH, hyperthyroidism ,DIC,emboli ร่วมหรือไม่ ถ้ามีต้องควบคุมภาวะเหล่านี้ก่อน

ส่งตรวจ B-hCG เป็น baseline ก่อนรักษาด้วย

ขั้นตอนการทำ suction curettage

  • ให้ผู้ป่วยปัสสาวะก่อนทำ
  • จัดท่า lithotomy
  • ให้ IV เป็น 5%D/NSS 1,000 ml.+oxytocin 20 unit IV 125 ml/hr
  • ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ภายนอกและช่องคลอด ปูผ้าสะอาด
  • พิจารณา epidural block ถ้าไม่ได้ valium &pethidine
  • ตรวจภายในซ้ำ
  • ใส่ posterior &anterior retractor เพื่อให้เห็นปากมดลูกชัด
  • ใช้ sponge holder หรือ tenaculum (ถ้ามดลูกใหญ่ต้องระวัง ปากมดลูกฉีกขาด) จับ anterior lip ของ cervix
  • ขยาย cervix โดยใช้ Hegar dilator ขนาดที่พอคับรูปากมดลูก คาไว้สักครู่ ค่อยๆเปลี่ยนขนาดให้ใหญ่ขึ้น จนคิดว่าสามารถสอด suction tip เข้าไปได้
  • สอด suction tip เข้าไปในโพรงมดลูก อย่าให้ลึกมาก แล้วต่อปลายเข้ากับ suction tube จากนั้นต่อเข้ากับเครื่องดูดสูญญากาศอีกที
  • เปิดเครื่องดูดสูญญากาศจนถึงความดัน 60 mmHg. หมุน suction tip 360 องศา และขึ้น ลงจนไม่มีชิ้นเนื้อ
  • ใส่ sharp curette เข้าไปในโพรงมดลูก ขูดโดยรอบอีกครั้ง
  • เก็บชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิสภาพ
  • ปลด tenaculum ออก ถ้ามีเลือดออก ใช้สำลีกดไว้จนหยุด
  • เอา retractor ออก

การติดตาม B-hCG

  • ตรวจ B-hCG ในเลือด สัปดาห์ละ 1 ครั้ง จนปกติ ( < 5 mIU/ml ) 3 ครั้งติดต่อกัน จากนั้นตรวจ
    • ทุก 1 เดือน จนครบ 1 ปี
    • ทุก 3 เดือน ในปีที่ 2
    • ทุก 6 เดือนจนครบ 5 ปี
    • ต่อไปตรวจปีละ 1 คร้ง
  • แนะนำให้คุมกำเนิดด้วยยาเม็ดคุมกำเนิดชนิด combined pill อย่างน้อย 1 ปีหลังจาก B-hCG ปกติ
  • PV สัปดาห์ที่ 1 และ 4 จากนั้นตรวจทุก 2-4 สัปดาห์ ถ้าพบ theca lutein cyst หรือตรวจทุก 3 เดือนถ้าไม่พบ theca lutein cyst
  • ส่งมารับการรักษาต่อถ้าระดับ B-hCG สูงขึ้น ไม่ลดลง คงที่ หรือลดแล้วสูงขึ้น

ผู้หญิงที่มาด้วยเลือดออกในอวัยวะภายใน เช่น  hemoptysis , hematuria ควรต้องนึกถึง ภาวะ GTD ไว้ด้วย

Read More

Drugs Commonly Used in OB-GYN

Drugs Commonly Used in OB-GYN

Oxytocin  (Syntocinon)

 การบริหารยา oxytocin แก่มารดาเพื่อก่อให้เกิดการเจ็บครรภ์ (induction of labour) หรือช่วยเพิ่มการหดรัดตัวของมดลูก (augmentation) อย่างปลอดภัยคือ การให้ยา oxytocin หยดเข้าทางหลอดเลือดดำ  โดยผสมในสารละลาย  5% dextrose   จุดมุ่งหมายคือการใช้  oxytocin   จำนวนน้อยที่สุดสำหรับมารดาแต่ละราย  เพื่อให้ได้การหดรัดตัวที่คล้ายคลึงกับการเจ็บครรภ์ตามธรรมชาติ  ทั้งนี้เป็นเพราะการตอบสนองของมดลูกต่อขนาดของ  oxytocin  ในมารดาแต่ละรายแตกต่างกัน

เริ่มต้นด้วยการใช้ยาขนาดต่ำที่สุด  แล้วปรับเพิ่มขนาดยาให้เหมาะสมกับมารดาแต่ละราย   การบริหารยามีหลายวิธี  แต่ละเทคนิคมีข้อแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย  คือ ในแง่ของขนาดของยาที่ปรับเพิ่มในแต่ละครั้ง ช่วงเวลาในการปรับและขนาดของยาสูงสุดที่ควรให้แก่ผู้ป่วย   เนื่องจากการใช้ยา  oxytocin ต้องการความแน่นอนของยาต่อนาที  ดังนั้นจึงควรใช้เครื่องมือ  automatic  infusion  pump

ก่อนการให้ยาต้องพิจารณา และประเมินว่าไม่มีข้อบ่งห้ามของการให้ oxytocin เช่น  cephalopelvic disproportion  ( CPD )  ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ เช่น  ท่าขวาง , marked  overdistention uterus :  polyhydramnios ,  excessive large fetus , multiple fetus  หรือเคยมี  previous  uterine scar,  high  parity , thick meconium stained amniotic fluid  ในกรณีที่มี some degree ของ CPD โดยกลไกของธรรมชาติที่จะป้องกัน  uterine rupture จะทำให้มี  hypotonic  uterine dysfunction  จึงเป็นข้อที่พึงระวังไว้ด้วย

*Syntocinon (synthetic oxytocin 5,10 unit/amp )

  • Syntocinon 10 units + 5%D/W หรือ 5%D/NSS 1,000 ml  IV drip ด้วย rate  2mU-40mU/min ( 3-60 drops/min )  มักใช้ไม่เกิน 20 mU/min ( 30 d/min )
  • ปรับ rate ทุก 15-30 นาทีโดยเพิ่มครั้งละ 2 mu/min หรือ 3 d/min เพื่อให้ได้  adequate uterine contraction คือ duration 40-60  second , interval 2-3 minutes, intensity แรงดี
  • ควรมี  main tube IV ด้วยเสมอเป็น 5%D/NSS  หรือ LRS  โดย oxytocin เป็น side tube  เนื่องจากผู้ป่วย NPO และเพื่อในกรณีฉุกเฉินที่ต้องให้สารน้ำผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเสียเลือดมากหรือเพื่อทำ  intrauterine resuscitation และป้องกันการให้  bolus dose oxytocin  ซึ่งถ้าให้ IV bolus dose  จะทำให้เกิด hypotension ได้
  • half life of oxytocin ประมาณ 5 นาที
  • ACOG ( 1995 )  แนะนำให้  monitor uterine  contraction และ fetal heart rate เช่นเดียวกับ high risk pregnancy   แต่อย่างไรก็ดี  การคลำ  uterine contraction และการฟัง  FHS  บ่อยๆ ก็ได้การยอมรับว่าดีพอๆ กับการติด electronic monitor
  • สิ่งที่สำคัญ คือ  แพทย์จะต้องเฝ้าผู้คลอดขณะให้ยา oxytocin ตลอดอย่างใกล้ชิด ห้ามทิ้งผู้ป่วยไว้ตามลำพังอย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะในช่วง 15-30 นาทีแรก  เพื่อสังเกตการตอบสนองของมดลูก และควบคุมการหยดของยาให้ได้จำนวนที่เหมาะสม  ฟังอัตราการเต้นของหัวใจทารกทุก 30 นาที  ( ในรายที่ไม่ใช่ high risk หรือทุก 15 นาที ในรายที่เป็นhigh  risk )  รวมทั้งวัดความดันโลหิต  ชีพจรของผู้คลอดทุกชั่วโมง (  ถ้ามี risk ควรตรวจทุก 30 นาที ) วัดอุณหภูมิร่างกายทุก  4 ชั่วโมง  และสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ  เช่น  เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด, meconium   เป้าหมายคือ ให้ได้ uterine contraction  ที่พอเหมาะเพื่อให้มีความก้าวหน้าของปากมดลูก และการเคลื่อนลงมาของส่วนนำและหลีกเลี่ยงการเกิด uterine hyperstimulation  และ  fetal distress
  • ถ้า FHR  เป็นแบบ  late deceleration  หรือ significant variable deceleration ควรหยุดให้ยา และทำ  Intrauterine resuscitation
  • ถ้ามีการหดรัดตัวของมดลูกนานกว่า 90 วินาที หรือ ความถี่ของการหดรัดตัวมากกว่าทุก  2  นาที (  หรือมี 6 ครั้งใน 10 นาที ) ถือว่าเป็น  hyperstimulation  ให้หยุดให้ oxytocin ทันที  มิฉะนั้นจะเกิด  tetanic uterine  contraction  ซึ่งเป็นอันตรายต่อทั้งมารดาและทารกในครรภ์ ให้เฝ้าสังเกต  fetal heart rate pattern  และอาจพิจารณาให้ tocolytic drugs
  • ถ้าให้ยา oxytocin  อย่างถูกต้องนาน 4-6 ชั่วโมงแล้วยังไม่เกิดการเจ็บครรภ์หรือ uterine contraction ตามต้องการ ควรพิจารณาหยุดให้ยา
  • ภายหลังทารกคลอดต้องให้ยา  oxytocin  ต่อไปอีกอย่างน้อย 2 ชั่วโมงและอาจให้ขนาดของยาสูงขึ้นเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดจากมดลูกไม่หดรัดตัว
  • ภาวะแทรกซ้อนจากการให้  oxytocin ได้แก่
    1. ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน มักเกิดจากมดลูกถูกกระตุ้นในหดรัดตัวรุนแรงถี่เกินไป หรือเกิดภาวะการตึงตัวมากกว่าปกติของกล้ามเนื้อมดลูกในช่วงคลายตัว
    2. ruptured uterus   เกิดจากการไม่ระมัดระวังในการให้ oxytocin  และเลือกผู้ป่วยไม่เหมาะสม
    3. precipitated labour
    4. abruptio placentae
    5. amniotic fluid  embolism
    6.  postpartum hemorrhage จาก uterine atony
    7. water intoxication จากฤทธิ์  antidiuretic effect เมื่อใช้ยาขนาดเกินกว่า 20 mu/min  เป็นเวลานาน โดยเฉพาะเมื่อให้ร่วมกับ  electrolyte free solution  ทำให้มี  dilutional hyponatremia  ผู้ป่วยจะมีอาการ weakness,  lethargy ,  mental  confusion ,  convulsion , coma  และอาจถึงแก่ชีวิตได้

 


 

Drug Used in Pre-eclampsia

MgSO4 (Magnesium sulfate)

ใช้ระงับและป้องกันการชักได้โดยลดการหลั่ง acetylcholine จาก motor nerve impulse และลดความไว ( sensitivity ) ใน  motor  end plate  ที่จะตอบสนองต่อ  acetylcholine  ด้วยการทำให้เกิด peripheral  neuromuscular blockade  อย่างไรก็ตามในปัจจุบันกลไกที่เชื่อกันมากที่สุด คือ การออกฤทธิ์  inhibit  ที่  central nervous system

ยานี้ไม่ทำให้ผู้ป่วยหมดสติแต่มีฤทธิ์เป็น mild sedativeและทำให้มี vasodilatation  จึงมีฤทธิ์  antihypertensive  effect  ด้วย  แต่อย่างไรก็ตามจะไม่ใช้  MgSO4   เพื่อลดความดันโลหิตในผู้ป่วย

ข้อควรระวังในการใช้ยานี้คือ หากมีระดับ   MgSO4   สูงถึง 10 mEq/L   reflex จะหายไป สูงถึง 12 mEq/L จะหยุดหายใจ     ประมาณ 15 mEq/L    หัวใจจะหยุดทำงานในระยะ diastolic

Plasma Mg++ level

  • 4 -7  mEq/L     :   prevent  eclamptic convulsion
  • 8 -10 mEq/L     :  loss of  patellar reflex
  • 12   mEq/L       :  severe respiratory depression and arrest
  • 15   mEq/L       :  cardiac arrest

MgSO4  ที่ใช้มี  3  concentration คือ

  • 10% MgSO4  10 ml     =  1 gm
  • 20% MgSO4    5 ml    =  1 gm
  • 50% MgSO4    2 ml    =  1 gm

ในร.พ.มหาราชนครเชียงใหม่มีชนิด  10% , 50%

การบริหารยา

1.  ก่อนให้ยาทุกครั้งต้องตรวจผู้ป่วยและเช็ค

สภาพต่างๆ  ดังนี้คือ

  • patellar  reflex  ยังคงมีอยู่
  • urine  output  4  ชั่วโมง  ไม่น้อยกว่า 100  ml  หรือ  30  ml/hr   เนื่องจาก  Mg++  เกือบทั้งหมดขับออกทางไต  ถ้าปัสสาวะออกน้อยลง  ระดับยาจะยังคงสูงอยู่ในเลือด จะทำให้เกิด  MgSO4  toxicity  ได้
  • ไม่มี  respiratory depression  อัตราการหายใจไม่ควรน้อยกว่า  14  ครั้งต่อนาที
  • ต้องเตรียม  10 % calcium  gluconate  10 ml (1 gm) เป็นantidote ให้พร้อมไว้เสมอ สำหรับฉีดเพื่อแก้ Mg++ toxicity  ถ้ามี  respiratory   depression  ก็ให้  calcium  gluconate 1  gm IV ช้าๆ ร่วมกับให้  oxygen  แต่ถ้าเกิด respiratory arrest  ต้อง  endotracheal  intubation  และ  artificial  ventilation

2.  Dose  แรกให้  MgSO4  4  gm  IV  ฉีด  ช้าๆ ด้วยอัตรา 1gm /min ( ใช้ 10% MgSO4 40 ml )

3.   ต่อมามีวิธีการให้  2  แบบ คือ

Zuspan  method ( แบบที่ใช้ในร.พ. มหาราชนครเชียงใหม่ )

  • หลังจากเริ่มต้นให้   MgSO4  IV  4  gm  เป็น  loading  dose เช่นกันแล้วให้หยดเข้าหลอดเลือดดำในอัตรา 2 gm / hr  (ผสม  50 % MgSO4  40  ml (20 gm)    +   5% D/NSS  or  5%D/W  1,000  ml  IV  drip rate  25  d/min )
  • หยด MgSO4 ไปจนครบ 24  ชั่วโมงหลังคลอด

การให้  MgSO4  ทางหลอดเลือดดำมีข้อดีคือ สะดวก และผู้ป่วยไม่เจ็บ สามารถหยุดยาได้ทันทีที่เกิด  toxicity

Prichard method (เช่น การรักษาที่  Parkland  Memorial  Hospital)

  • 50 % MgSO4   10  gm  IM. (โดยแบ่งฉีดสะโพกข้างละ  5  gm  :   deeply in  the upper  outer quadrant  of both bottocks   โดยใช้เข็มยาว  3   นิ้ว  เบอร์ 20   อาจผสม 2 % xylocaine  1.0  ml   เพื่อลดความเจ็บปวดได้บ้าง
  • ในกรณีที่ชัก ถ้ายังมีอาการชักอยู่หลังฉีด  15  นาที ให้ฉีด  MgSO4  ได้อีก 2  gm   ด้วยอัตรา 1  gm / min  ถ้าผู้ป่วยตัวใหญ่มากอาจใช้ถึง  4  gm
  • ฉีด  50 % MgSO4 5  gm IM  ทุก 4  ชั่วโมง
  • หยุดให้  MgSO4 หลังคลอด 24  ชั่วโมง

การฉีดยาเข้ากล้ามมีข้อเสียอยู่บ้างคือ

  1. discomfort  บริเวณที่ฉีดยา  ซึ่งอาจจะมากจนกระตุ้นให้เกิดการชักได้
  2. absorption  ของยาไม่แน่นอน  เนื่องจากผู้ป่วยมัก  edema
  3. เมื่อฉีดเข้ากล้ามแล้วไม่สามารถจะหยุดยาได้เหมือน  intravenous  drug ในกรณีที่มี toxicity  เกิดขึ้น
  4. การ  monitor  ผู้ป่วย
  •  ควรเฝ้าระวังการหายใจ และปริมาณปัสสาวะที่ออกแต่ละชั่วโมง   ถ้าพบว่าหายใจ  น้อยกว่า 14  ครั้งต่อนาที   ปัสสาวะออกน้อยกว่า  25  ml/hr   ไม่มี   patellar  reflex   ควรหยุดให้  MgSO4  ทันที  และเตรียม  calcium  gluconate   และพร้อมที่จะใส่ท่อช่วยหายใจทันที

ยา  Anticonvulsant  อื่นๆ

Diazepam

นิยมใช้ในประเทศอังกฤษเพื่อป้องกันและหยุดอาการชัก  เป็นยากล่อมประสาทและป้องกันการชักที่มี  safety  margin  กว้าง   ใช้  dose  5-10  mg IV  ให้ซ้ำได้จนถึง   maximum  30  mg  แต่มีผลเสียต่อทารก  คือ  อาจทำให้เกิด  apnea ,  hypotonia ,  poor  feeding  และ  temperature regulation imbalance  ในทารกแรกคลอดได้   จึงแนะนำให้ใช้  diazepam   เพียงในรายหลังคลอด  หรือเพียงเพื่อหยุดอาการชักครั้งแรกที่เริ่มรักษา

ยาลดความดัน

Dihydralazine (NepresolÒ ) ( 25 mg / amp )

เป็น  direct  arteriolar vasodilator  ออกฤทธิ์โดยตรงต่อกล้ามเนื้อหลอดเลือด เป็นยาลดความดันโลหิตที่มีประสิทธิภาพสูงในการรักษา PIH สามารถลด  cerebral  hemorrhage  ในแม่ได้และยังมีผลดีต่อ placental  perfusion   ด้วย  แต่อย่างไรก็ตาม  ถ้าหากความดันโลหิตลดลงมากเกินไปจะทำให้ placental  perfusion  แย่ลง และ เป็นอันตรายต่อทารกได้

  • ใช้เมื่อ   systolic  BP  >  160  mmHg  และ/หรือ  diastolic  BP  > 110  mmHg
  • การบริหารยา
  • initial  dose   5  mg  IV  แล้ววัด  BP  ทุก  5  นาที  x  4 ครั้ง  ถ้า  Pd  ยังลดไม่ถึง  90-100  mmHg ใน 20 นาที จะให้อีก 10 mg  IV แล้ววัด BP ทุก 5  นาที x 4 ครั้ง ห้ามให้ large dose เป็น  initial  dose
  • Repeat  dose  ได้ทุก  20  นาที  จนกว่า  Pd  ประมาณ 90-100 mmHg  มักใช้  Hydralazine  5-20  mg
  • ระดับของความดันโลหิตที่พอใจคือ Pd  ประมาณ  90- 100  mmHg
  • ถ้า blood pressure ยังคงสูงอยู่ตลอดอาจใช้  intravenous  drip   โดยผสม  Nepresol  25  mg + 5% D/W  500 ml IV  drip  titrate dose  ตาม  BP   หรือฉีดเป็น  single  dose  ได้ถ้า  Pd  กลับสูงเกิน  100  mmHg    อย่างไรก็ดี ควรอยู่ในความดูแลแลบริหารโดยอายุรแพทย์จะดีกว่า
  •  ถ้าให้ IV form  
    • onset  10-20 min
    • maximum 20-40 min
    • duration  4-8  hrs.
  • ก่อนฉีดต้องมี IVfluid keep veinไว้เสมอ
  • Side effect :  tachycardia , palpitation, headache ,  flushing ,  nausea, vomiting , hypotension
  • Pd  ไม่ควรน้อยกว่า  90  mmHg  เพราะจะทำให้  placental perfusion ลดลงอาจเกิด FHE  deceleration  ได้

Calcium channel blockers

Nifedipine (soft capsule) เช่น adalat, nelapine 10 mg sublingual

Nifedipine (film-coated tablet) เช่น nifecard 10 mg oral

การเฝ้าระวัง

  • วัดความดันโลหิตทุก 5 นาที หลังได้รับยา (ระวังภาวะ hypotension ในกรณีได้ยาแบบ sublingual)
  • หากความดันโลหิตไม่ลดลงภายใน 30 นาที  พิจารณาให้ยาลดความดันโลหิตซ้ำ (ขนาดยาสูงสุดไม่เกิน 40 mg)
  • ปรับความดันโลหิตให้อยู่ในช่วง 140/90 – 155/105 mmHg

Antihypertensive  drug  ตัวอื่นๆ   เช่น Diazoxide ( Hyperstat )  ซึ่งเป็น  very potent  antihypertensive  ให้ทางหลอดเลือดดำมีผลเสีย    คือ     arrest labour ,  retention  of  water ;sodium , uric acid ,  serious  hyperglycemia in mother  and  newborn ,  อาจทำให้เกิด  irreversible and  lethal  hypotension

ส่วน   Sodium nitroprusside  ซึ่งให้  intravenous  drip  ยาสามารถผ่าน  placenta  ได้  อาจทำให้เกิด  cyanide  poisoning  ได้ใน  fetus  และยังเพิ่ม  intracranial  pressure ด้วย

Analgesia and sedation during  labor

การให้ยาระงับปวดและยากล่อมประสาท นิยมให้ในช่วง  first stage of labour เพื่อลดอาการปวดและช่วยให้มารดาสงบลงและพักได้มากขึ้น ยาที่นิยมใช้ได้แก่  narcotic analgesia เช่น meperidine ( Pethidine Ò) ร่วมกับ transquilizer  drugs เช่น promethazine ( PhenerganÒ)

Pethidine

  • เป็น narcotic analgesia ที่มี sedative effect ด้วย กด respiratory center น้อยกว่า morphine เพราะผ่าน blood brain barrier ได้น้อยกว่า ขนาดยาที่ใช้กันทั่วไป คือ 50 – 100 mg   โดย
  • Intramuscular : onset 10-15 min , duration 3-4 hrs. peak analgesic  effect  45 mins
  • Intravenous  : onset 5-10 min ,  duration 3-4 hrs
  • การฉีดเข้ากล้ามให้ฉีดซ้ำได้ทุก 3-4 ชั่วโมง การให้ยาขนาดน้อยๆ แต่บ่อยครั้งจะดีกว่าการให้ยาในขนาดสูงแต่นานๆ ครั้ง
  • ถ้าการคลอดเกิดขึ้นเร็วทารกจะถูกกดด้วยยาน้อยกว่า กล่าวคือ จะกดเด็กมากถ้าคลอดชั่วโมงที่ 2-3 หลังได้ยา แต่มีผลน้อยถ้าเด็กคลอดภายใน 1 ชั่วโมงหรือหลังจากฉีดยาไปแล้ว 4 ชั่วโมง
  • การให้ meperidine เข้าทางหลอดเลือดดำ ยาจะออกฤทธิ์เร็วกว่าแต่ก็หมดฤทธิ์เร็วขึ้นด้วย  บางท่านแนะนำให้ฉีดเข้าเส้นเลือดดำขณะที่มดลูกหดรัดตัวเพื่อที่ยาจะได้ผ่านไปยังทารกน้อยลงด้วย  อย่างไรก็ดีในทารกที่มีอัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติแบบต่างๆ เช่น variable deceleration, late deceleration, bradycardia  เป็นต้น ควรต้องระมัดระวังในการให้ยา เนื่องจากอาจมีผลต่อเด็กได้
  •  ผลของยา meperidine นั้น เดิมเคยเชื่อกันว่าจะทำให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดี แต่จากหลักฐานในปัจจุบันพบว่า meperidine อย่างเดียวหรือร่วมกับ promethazine  ในขนาดที่กำหนด ไม่ลดการหดรัดตัวของมดลูก แต่อาจเพิ่มการหดรัดตัวได้เล็กน้อยด้วยซ้ำ  อย่างไรก็ดีควรให้ยาเมื่อเข้าสู่  active phase of labour

Promethazine ( Phenergan)

มีฤทธิ์      antiemetic & sedative นิยมใช้ร่วมกับ analgesia  เพื่อ control pain ทำให้ใช้ขนาดของ meperidine ได้น้อยลงและป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน จากผลของ meperidine  ขนาดของยาที่ใช้  25 mg IM   or IV

Narcotic antagosist   (Narcan)

เนื่องจากยา  meperidine ผ่านรกไปยังทารกได้ และมีฤทธิ์กดการหายใจของทารก โดยกดศูนย์การหายใจโดยตรง ดังนั้นถ้าทารกคลอดมาในขณะที่ยายังออกฤทธิ์อยู่ จึงจำเป็นต้องให้ยาแก้ฤทธิ์กดการหายใจ  ยาที่นิยมใช้มากที่สุดคือ  naloxone hydrochloride ( NarcanÒ)   ซึ่งเป็น narcotic antagonist ที่สามารถแก้ฤทธิ์กดการหายใจได้ แต่ยาก็จะไปต้านฤทธิ์ระงับปวดด้วยเหมือนกัน ในกรณีที่ให้ยาแก่แม่ก่อนเพื่อหวังผลแก้ฤทธิ์กดเด็กนิยมให้ 15 นาทีก่อนคลอด  ฉีดเข้าเส้นเลือดดำมารดา  ยาจะผ่านรกได้เร็วมาก ตรวจพบ naloxone ในเลือดลูกภายใน 2 นาที และมีระดับสูงภายใน 10-30 นาที    อย่างไรก็ดีควรให้ยานี้แก่เด็กโดยตรงถ้ามีการกดการหายใจหลังคลอดเกิดขึ้น

ขนาดยาที่ใช้

Narcan (1 amp = 0.4 mg )  0.1 mg/kg ของทารกฉีดเข้าumbilical vein หรือเข้ากล้ามเนื้อต้นขา

( ACOG 1996 )  ถ้าไม่มี response อาจให้ซ้ำได้อีก เนื่องจาก naloxone  มีระยะเวลาออกฤทธิ์สั้นกว่า meperidine จึงต้องดูแลทารกใกล้ชิดหลังคลอด ถ้าการหายใจถูกกดก็ให้ยาซ้ำได้อีก  สำหรับ narcotic antagonist อื่นๆ เช่น levallorphan (Lorphan)  , nalorphine ( Nalline ) สามารถใช้แทน naloxone ได้ แต่ต้องระวังเพราะยาอาจเพิ่มการกดการหายใจของทารกได้  ถ้าให้ยาเกินขนาด แต่ naloxone ไม่กดการหายใจแม้จะได้รับยาเกินขนาด

Suppress  Lactation

ในมารดาที่ไม่ต้องการให้นมบุตรหรือ คลอดบุตร  stillbirth  หรือมีโรคร้ายแรงที่ไม่ควรให้นมบุตรจำเป็นต้องยับยั้งการหลั่งน้ำนม  และลดภาวะ  breast  engorgement  การรักษาแบ่งเป็น

1. Symptomatic and supportive  treatment

·        งด  suckling  stimuli  อย่าให้ทารกดูดนมหรือ ห้ามทำ  breast  pumping  จะทำให้หยุด  lactation  ใน 1 สัปดาห์  โดยไม่ต้องใช้ยาใดๆเลย

·        support  เต้านมด้วย  breast   binder

·        ประคบน้ำเย็น ( cold pack ) จะช่วยลด  venous congestion  ได้บ้าง

·        ให้ยาแก้ปวด เช่น  paracetamol

2. Medical  treatment

Estrogen   จะให้ผลดีที่สุดเมื่อให้ก่อนคลอด  แต่อาจมีผลเสียในระยะยาวต่อทารกได้  จึงนิยมให้หลังคลอดทันที  ต้องให้ยาในขนาดสูงเป็นเวลานานๆ  หรือใช้ยาที่มีฤทธิ์นานขนาดสูง  เดิมนิยมใช้เป็นแบบ  estrogen เดี่ยวๆ หรือร่วมกับ testosterone ( Ablacton â : Estrogen +Progesterone + Testosterone ) แต่ปัจจุบันไม่นิยมแล้วเนื่องจากอาจทำให้เกิด thromboembolism  ได้

Dopamine agonist

bromocriptine  or Parlodel â  ออกฤทธิ์กระตุ้น PIF ทำให้ลดการหลั่งของ  prolactin ใช้ได้ผลดีแม้มี  lactation  แล้วขนาดยา Parlodel â 2.5 mg/tab orally 1 x 2 x 14  days   ได้ผล  95-100%   ปัญหาที่พบในระยะเริ่มแรกของการใช้ยา  คือ  คลื่นไส้  อาเจียน  ปวดศีรษะ และหน้ามืดเป็นลม  เนื่องจากความดันโลหิตต่ำ  นอกจากนี้อาจพบอาการวิงเวียน อ่อนเพลีย  ท้องบิด คัดจมูก หรืออาการทางจิตได้แต่น้อย   อย่างไรก็ดีมีรายงานการใช้ bromocriptine ในการ  suppress postpartum lactation  ว่าทำให้เกิด  hypertension ,seizure, stroke และ myocardial infarction ได้ (  Katz,1985; Ruch and Duhring,1989; Watson and associated,1989)     Morgan (1995) ได้รวบรวมรายงานและสรุปว่าถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีหลักฐานว่า bromocriptine เป็นสาเหตุอย่างแน่ชัดต่อภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวแต่ก็ให้ตัด postpartum lactation suppression ออกจาก indication ในการใช้ bromocriptine(Physicians’ Desk Reference,1996 )

อย่างไรก็ดีปัจจุบันก็ยังนิยมใช้  bromocriptine ในการ suppress lactation  เพียงแต่จากข้อมูลดังกล่าวทำให้เพิ่มความระมัดระวังในการใช้ยามากขึ้น

Lisulide (Dopergine)

ให้ขนาด 0.2 mg 1 x 2 x 14 days เริ่มภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอดแต่ถ้าผู้ป่วยมีน้ำนมแล้วให้ 1 x 3 โดยให้ยานานจนกระทั่งน้ำนมหยุดแล้ว 4 วันจึงหยุดยา

Read More

Drugs Commonly Used in OB-GYN

Drugs Commonly Used in OB-GYN

Oxytocin  (Syntocinon)

 การบริหารยา oxytocin แก่มารดาเพื่อก่อให้เกิดการเจ็บครรภ์ (induction of labour) หรือช่วยเพิ่มการหดรัดตัวของมดลูก (augmentation) อย่างปลอดภัยคือ การให้ยา oxytocin หยดเข้าทางหลอดเลือดดำ  โดยผสมในสารละลาย  5% dextrose   จุดมุ่งหมายคือการใช้  oxytocin   จำนวนน้อยที่สุดสำหรับมารดาแต่ละราย  เพื่อให้ได้การหดรัดตัวที่คล้ายคลึงกับการเจ็บครรภ์ตามธรรมชาติ  ทั้งนี้เป็นเพราะการตอบสนองของมดลูกต่อขนาดของ  oxytocin  ในมารดาแต่ละรายแตกต่างกัน

เริ่มต้นด้วยการใช้ยาขนาดต่ำที่สุด  แล้วปรับเพิ่มขนาดยาให้เหมาะสมกับมารดาแต่ละราย   การบริหารยามีหลายวิธี  แต่ละเทคนิคมีข้อแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย  คือ ในแง่ของขนาดของยาที่ปรับเพิ่มในแต่ละครั้ง ช่วงเวลาในการปรับและขนาดของยาสูงสุดที่ควรให้แก่ผู้ป่วย   เนื่องจากการใช้ยา  oxytocin ต้องการความแน่นอนของยาต่อนาที  ดังนั้นจึงควรใช้เครื่องมือ  automatic  infusion  pump

ก่อนการให้ยาต้องพิจารณา และประเมินว่าไม่มีข้อบ่งห้ามของการให้ oxytocin เช่น  cephalopelvic disproportion  ( CPD )  ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ เช่น  ท่าขวาง , marked  overdistention uterus :  polyhydramnios ,  excessive large fetus , multiple fetus  หรือเคยมี  previous  uterine scar,  high  parity , thick meconium stained amniotic fluid  ในกรณีที่มี some degree ของ CPD โดยกลไกของธรรมชาติที่จะป้องกัน  uterine rupture จะทำให้มี  hypotonic  uterine dysfunction  จึงเป็นข้อที่พึงระวังไว้ด้วย

*Syntocinon (synthetic oxytocin 5,10 unit/amp )

  • Syntocinon 10 units + 5%D/W หรือ 5%D/NSS 1,000 ml  IV drip ด้วย rate  2mU-40mU/min ( 3-60 drops/min )  มักใช้ไม่เกิน 20 mU/min ( 30 d/min )
  • ปรับ rate ทุก 15-30 นาทีโดยเพิ่มครั้งละ 2 mu/min หรือ 3 d/min เพื่อให้ได้  adequate uterine contraction คือ duration 40-60  second , interval 2-3 minutes, intensity แรงดี
  • ควรมี  main tube IV ด้วยเสมอเป็น 5%D/NSS  หรือ LRS  โดย oxytocin เป็น side tube  เนื่องจากผู้ป่วย NPO และเพื่อในกรณีฉุกเฉินที่ต้องให้สารน้ำผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเสียเลือดมากหรือเพื่อทำ  intrauterine resuscitation และป้องกันการให้  bolus dose oxytocin  ซึ่งถ้าให้ IV bolus dose  จะทำให้เกิด hypotension ได้
  • half life of oxytocin ประมาณ 5 นาที
  • ACOG ( 1995 )  แนะนำให้  monitor uterine  contraction และ fetal heart rate เช่นเดียวกับ high risk pregnancy   แต่อย่างไรก็ดี  การคลำ  uterine contraction และการฟัง  FHS  บ่อยๆ ก็ได้การยอมรับว่าดีพอๆ กับการติด electronic monitor
  • สิ่งที่สำคัญ คือ  แพทย์จะต้องเฝ้าผู้คลอดขณะให้ยา oxytocin ตลอดอย่างใกล้ชิด ห้ามทิ้งผู้ป่วยไว้ตามลำพังอย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะในช่วง 15-30 นาทีแรก  เพื่อสังเกตการตอบสนองของมดลูก และควบคุมการหยดของยาให้ได้จำนวนที่เหมาะสม  ฟังอัตราการเต้นของหัวใจทารกทุก 30 นาที  ( ในรายที่ไม่ใช่ high risk หรือทุก 15 นาที ในรายที่เป็นhigh  risk )  รวมทั้งวัดความดันโลหิต  ชีพจรของผู้คลอดทุกชั่วโมง (  ถ้ามี risk ควรตรวจทุก 30 นาที ) วัดอุณหภูมิร่างกายทุก  4 ชั่วโมง  และสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ  เช่น  เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด, meconium   เป้าหมายคือ ให้ได้ uterine contraction  ที่พอเหมาะเพื่อให้มีความก้าวหน้าของปากมดลูก และการเคลื่อนลงมาของส่วนนำและหลีกเลี่ยงการเกิด uterine hyperstimulation  และ  fetal distress
  • ถ้า FHR  เป็นแบบ  late deceleration  หรือ significant variable deceleration ควรหยุดให้ยา และทำ  Intrauterine resuscitation
  • ถ้ามีการหดรัดตัวของมดลูกนานกว่า 90 วินาที หรือ ความถี่ของการหดรัดตัวมากกว่าทุก  2  นาที (  หรือมี 6 ครั้งใน 10 นาที ) ถือว่าเป็น  hyperstimulation  ให้หยุดให้ oxytocin ทันที  มิฉะนั้นจะเกิด  tetanic uterine  contraction  ซึ่งเป็นอันตรายต่อทั้งมารดาและทารกในครรภ์ ให้เฝ้าสังเกต  fetal heart rate pattern  และอาจพิจารณาให้ tocolytic drugs
  • ถ้าให้ยา oxytocin  อย่างถูกต้องนาน 4-6 ชั่วโมงแล้วยังไม่เกิดการเจ็บครรภ์หรือ uterine contraction ตามต้องการ ควรพิจารณาหยุดให้ยา
  • ภายหลังทารกคลอดต้องให้ยา  oxytocin  ต่อไปอีกอย่างน้อย 2 ชั่วโมงและอาจให้ขนาดของยาสูงขึ้นเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดจากมดลูกไม่หดรัดตัว
  • ภาวะแทรกซ้อนจากการให้  oxytocin ได้แก่
    1. ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน มักเกิดจากมดลูกถูกกระตุ้นในหดรัดตัวรุนแรงถี่เกินไป หรือเกิดภาวะการตึงตัวมากกว่าปกติของกล้ามเนื้อมดลูกในช่วงคลายตัว
    2. ruptured uterus   เกิดจากการไม่ระมัดระวังในการให้ oxytocin  และเลือกผู้ป่วยไม่เหมาะสม
    3. precipitated labour
    4. abruptio placentae
    5. amniotic fluid  embolism
    6.  postpartum hemorrhage จาก uterine atony
    7. water intoxication จากฤทธิ์  antidiuretic effect เมื่อใช้ยาขนาดเกินกว่า 20 mu/min  เป็นเวลานาน โดยเฉพาะเมื่อให้ร่วมกับ  electrolyte free solution  ทำให้มี  dilutional hyponatremia  ผู้ป่วยจะมีอาการ weakness,  lethargy ,  mental  confusion ,  convulsion , coma  และอาจถึงแก่ชีวิตได้

 


 

Drug Used in Pre-eclampsia

MgSO4 (Magnesium sulfate)

ใช้ระงับและป้องกันการชักได้โดยลดการหลั่ง acetylcholine จาก motor nerve impulse และลดความไว ( sensitivity ) ใน  motor  end plate  ที่จะตอบสนองต่อ  acetylcholine  ด้วยการทำให้เกิด peripheral  neuromuscular blockade  อย่างไรก็ตามในปัจจุบันกลไกที่เชื่อกันมากที่สุด คือ การออกฤทธิ์  inhibit  ที่  central nervous system

ยานี้ไม่ทำให้ผู้ป่วยหมดสติแต่มีฤทธิ์เป็น mild sedativeและทำให้มี vasodilatation  จึงมีฤทธิ์  antihypertensive  effect  ด้วย  แต่อย่างไรก็ตามจะไม่ใช้  MgSO4   เพื่อลดความดันโลหิตในผู้ป่วย

ข้อควรระวังในการใช้ยานี้คือ หากมีระดับ   MgSO4   สูงถึง 10 mEq/L   reflex จะหายไป สูงถึง 12 mEq/L จะหยุดหายใจ     ประมาณ 15 mEq/L    หัวใจจะหยุดทำงานในระยะ diastolic

Plasma Mg++ level

  • 4 -7  mEq/L     :   prevent  eclamptic convulsion
  • 8 -10 mEq/L     :  loss of  patellar reflex
  • 12   mEq/L       :  severe respiratory depression and arrest
  • 15   mEq/L       :  cardiac arrest

MgSO4  ที่ใช้มี  3  concentration คือ

  • 10% MgSO4  10 ml     =  1 gm
  • 20% MgSO4    5 ml    =  1 gm
  • 50% MgSO4    2 ml    =  1 gm

ในร.พ.มหาราชนครเชียงใหม่มีชนิด  10% , 50%

การบริหารยา

1.  ก่อนให้ยาทุกครั้งต้องตรวจผู้ป่วยและเช็ค

สภาพต่างๆ  ดังนี้คือ

  • patellar  reflex  ยังคงมีอยู่
  • urine  output  4  ชั่วโมง  ไม่น้อยกว่า 100  ml  หรือ  30  ml/hr   เนื่องจาก  Mg++  เกือบทั้งหมดขับออกทางไต  ถ้าปัสสาวะออกน้อยลง  ระดับยาจะยังคงสูงอยู่ในเลือด จะทำให้เกิด  MgSO4  toxicity  ได้
  • ไม่มี  respiratory depression  อัตราการหายใจไม่ควรน้อยกว่า  14  ครั้งต่อนาที
  • ต้องเตรียม  10 % calcium  gluconate  10 ml (1 gm) เป็นantidote ให้พร้อมไว้เสมอ สำหรับฉีดเพื่อแก้ Mg++ toxicity  ถ้ามี  respiratory   depression  ก็ให้  calcium  gluconate 1  gm IV ช้าๆ ร่วมกับให้  oxygen  แต่ถ้าเกิด respiratory arrest  ต้อง  endotracheal  intubation  และ  artificial  ventilation

2.  Dose  แรกให้  MgSO4  4  gm  IV  ฉีด  ช้าๆ ด้วยอัตรา 1gm /min ( ใช้ 10% MgSO4 40 ml )

3.   ต่อมามีวิธีการให้  2  แบบ คือ

Zuspan  method ( แบบที่ใช้ในร.พ. มหาราชนครเชียงใหม่ )

  • หลังจากเริ่มต้นให้   MgSO4  IV  4  gm  เป็น  loading  dose เช่นกันแล้วให้หยดเข้าหลอดเลือดดำในอัตรา 2 gm / hr  (ผสม  50 % MgSO4  40  ml (20 gm)    +   5% D/NSS  or  5%D/W  1,000  ml  IV  drip rate  25  d/min )
  • หยด MgSO4 ไปจนครบ 24  ชั่วโมงหลังคลอด

การให้  MgSO4  ทางหลอดเลือดดำมีข้อดีคือ สะดวก และผู้ป่วยไม่เจ็บ สามารถหยุดยาได้ทันทีที่เกิด  toxicity

Prichard method (เช่น การรักษาที่  Parkland  Memorial  Hospital)

  • 50 % MgSO4   10  gm  IM. (โดยแบ่งฉีดสะโพกข้างละ  5  gm  :   deeply in  the upper  outer quadrant  of both bottocks   โดยใช้เข็มยาว  3   นิ้ว  เบอร์ 20   อาจผสม 2 % xylocaine  1.0  ml   เพื่อลดความเจ็บปวดได้บ้าง
  • ในกรณีที่ชัก ถ้ายังมีอาการชักอยู่หลังฉีด  15  นาที ให้ฉีด  MgSO4  ได้อีก 2  gm   ด้วยอัตรา 1  gm / min  ถ้าผู้ป่วยตัวใหญ่มากอาจใช้ถึง  4  gm
  • ฉีด  50 % MgSO4 5  gm IM  ทุก 4  ชั่วโมง
  • หยุดให้  MgSO4 หลังคลอด 24  ชั่วโมง

การฉีดยาเข้ากล้ามมีข้อเสียอยู่บ้างคือ

  1. discomfort  บริเวณที่ฉีดยา  ซึ่งอาจจะมากจนกระตุ้นให้เกิดการชักได้
  2. absorption  ของยาไม่แน่นอน  เนื่องจากผู้ป่วยมัก  edema
  3. เมื่อฉีดเข้ากล้ามแล้วไม่สามารถจะหยุดยาได้เหมือน  intravenous  drug ในกรณีที่มี toxicity  เกิดขึ้น
  4. การ  monitor  ผู้ป่วย
  •  ควรเฝ้าระวังการหายใจ และปริมาณปัสสาวะที่ออกแต่ละชั่วโมง   ถ้าพบว่าหายใจ  น้อยกว่า 14  ครั้งต่อนาที   ปัสสาวะออกน้อยกว่า  25  ml/hr   ไม่มี   patellar  reflex   ควรหยุดให้  MgSO4  ทันที  และเตรียม  calcium  gluconate   และพร้อมที่จะใส่ท่อช่วยหายใจทันที

ยา  Anticonvulsant  อื่นๆ

Diazepam

นิยมใช้ในประเทศอังกฤษเพื่อป้องกันและหยุดอาการชัก  เป็นยากล่อมประสาทและป้องกันการชักที่มี  safety  margin  กว้าง   ใช้  dose  5-10  mg IV  ให้ซ้ำได้จนถึง   maximum  30  mg  แต่มีผลเสียต่อทารก  คือ  อาจทำให้เกิด  apnea ,  hypotonia ,  poor  feeding  และ  temperature regulation imbalance  ในทารกแรกคลอดได้   จึงแนะนำให้ใช้  diazepam   เพียงในรายหลังคลอด  หรือเพียงเพื่อหยุดอาการชักครั้งแรกที่เริ่มรักษา

ยาลดความดัน

Dihydralazine (NepresolÒ ) ( 25 mg / amp )

เป็น  direct  arteriolar vasodilator  ออกฤทธิ์โดยตรงต่อกล้ามเนื้อหลอดเลือด เป็นยาลดความดันโลหิตที่มีประสิทธิภาพสูงในการรักษา PIH สามารถลด  cerebral  hemorrhage  ในแม่ได้และยังมีผลดีต่อ placental  perfusion   ด้วย  แต่อย่างไรก็ตาม  ถ้าหากความดันโลหิตลดลงมากเกินไปจะทำให้ placental  perfusion  แย่ลง และ เป็นอันตรายต่อทารกได้

  • ใช้เมื่อ   systolic  BP  >  160  mmHg  และ/หรือ  diastolic  BP  > 110  mmHg
  • การบริหารยา
  • initial  dose   5  mg  IV  แล้ววัด  BP  ทุก  5  นาที  x  4 ครั้ง  ถ้า  Pd  ยังลดไม่ถึง  90-100  mmHg ใน 20 นาที จะให้อีก 10 mg  IV แล้ววัด BP ทุก 5  นาที x 4 ครั้ง ห้ามให้ large dose เป็น  initial  dose
  • Repeat  dose  ได้ทุก  20  นาที  จนกว่า  Pd  ประมาณ 90-100 mmHg  มักใช้  Hydralazine  5-20  mg
  • ระดับของความดันโลหิตที่พอใจคือ Pd  ประมาณ  90- 100  mmHg
  • ถ้า blood pressure ยังคงสูงอยู่ตลอดอาจใช้  intravenous  drip   โดยผสม  Nepresol  25  mg + 5% D/W  500 ml IV  drip  titrate dose  ตาม  BP   หรือฉีดเป็น  single  dose  ได้ถ้า  Pd  กลับสูงเกิน  100  mmHg    อย่างไรก็ดี ควรอยู่ในความดูแลแลบริหารโดยอายุรแพทย์จะดีกว่า
  •  ถ้าให้ IV form  
    • onset  10-20 min
    • maximum 20-40 min
    • duration  4-8  hrs.
  • ก่อนฉีดต้องมี IVfluid keep veinไว้เสมอ
  • Side effect :  tachycardia , palpitation, headache ,  flushing ,  nausea, vomiting , hypotension
  • Pd  ไม่ควรน้อยกว่า  90  mmHg  เพราะจะทำให้  placental perfusion ลดลงอาจเกิด FHE  deceleration  ได้

Calcium channel blockers

Nifedipine (soft capsule) เช่น adalat, nelapine 10 mg sublingual

Nifedipine (film-coated tablet) เช่น nifecard 10 mg oral

การเฝ้าระวัง

  • วัดความดันโลหิตทุก 5 นาที หลังได้รับยา (ระวังภาวะ hypotension ในกรณีได้ยาแบบ sublingual)
  • หากความดันโลหิตไม่ลดลงภายใน 30 นาที  พิจารณาให้ยาลดความดันโลหิตซ้ำ (ขนาดยาสูงสุดไม่เกิน 40 mg)
  • ปรับความดันโลหิตให้อยู่ในช่วง 140/90 – 155/105 mmHg

Antihypertensive  drug  ตัวอื่นๆ   เช่น Diazoxide ( Hyperstat )  ซึ่งเป็น  very potent  antihypertensive  ให้ทางหลอดเลือดดำมีผลเสีย    คือ     arrest labour ,  retention  of  water ;sodium , uric acid ,  serious  hyperglycemia in mother  and  newborn ,  อาจทำให้เกิด  irreversible and  lethal  hypotension

ส่วน   Sodium nitroprusside  ซึ่งให้  intravenous  drip  ยาสามารถผ่าน  placenta  ได้  อาจทำให้เกิด  cyanide  poisoning  ได้ใน  fetus  และยังเพิ่ม  intracranial  pressure ด้วย

Analgesia and sedation during  labor

การให้ยาระงับปวดและยากล่อมประสาท นิยมให้ในช่วง  first stage of labour เพื่อลดอาการปวดและช่วยให้มารดาสงบลงและพักได้มากขึ้น ยาที่นิยมใช้ได้แก่  narcotic analgesia เช่น meperidine ( Pethidine Ò) ร่วมกับ transquilizer  drugs เช่น promethazine ( PhenerganÒ)

Pethidine

  • เป็น narcotic analgesia ที่มี sedative effect ด้วย กด respiratory center น้อยกว่า morphine เพราะผ่าน blood brain barrier ได้น้อยกว่า ขนาดยาที่ใช้กันทั่วไป คือ 50 – 100 mg   โดย
  • Intramuscular : onset 10-15 min , duration 3-4 hrs. peak analgesic  effect  45 mins
  • Intravenous  : onset 5-10 min ,  duration 3-4 hrs
  • การฉีดเข้ากล้ามให้ฉีดซ้ำได้ทุก 3-4 ชั่วโมง การให้ยาขนาดน้อยๆ แต่บ่อยครั้งจะดีกว่าการให้ยาในขนาดสูงแต่นานๆ ครั้ง
  • ถ้าการคลอดเกิดขึ้นเร็วทารกจะถูกกดด้วยยาน้อยกว่า กล่าวคือ จะกดเด็กมากถ้าคลอดชั่วโมงที่ 2-3 หลังได้ยา แต่มีผลน้อยถ้าเด็กคลอดภายใน 1 ชั่วโมงหรือหลังจากฉีดยาไปแล้ว 4 ชั่วโมง
  • การให้ meperidine เข้าทางหลอดเลือดดำ ยาจะออกฤทธิ์เร็วกว่าแต่ก็หมดฤทธิ์เร็วขึ้นด้วย  บางท่านแนะนำให้ฉีดเข้าเส้นเลือดดำขณะที่มดลูกหดรัดตัวเพื่อที่ยาจะได้ผ่านไปยังทารกน้อยลงด้วย  อย่างไรก็ดีในทารกที่มีอัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติแบบต่างๆ เช่น variable deceleration, late deceleration, bradycardia  เป็นต้น ควรต้องระมัดระวังในการให้ยา เนื่องจากอาจมีผลต่อเด็กได้
  •  ผลของยา meperidine นั้น เดิมเคยเชื่อกันว่าจะทำให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดี แต่จากหลักฐานในปัจจุบันพบว่า meperidine อย่างเดียวหรือร่วมกับ promethazine  ในขนาดที่กำหนด ไม่ลดการหดรัดตัวของมดลูก แต่อาจเพิ่มการหดรัดตัวได้เล็กน้อยด้วยซ้ำ  อย่างไรก็ดีควรให้ยาเมื่อเข้าสู่  active phase of labour

Promethazine ( Phenergan)

มีฤทธิ์      antiemetic & sedative นิยมใช้ร่วมกับ analgesia  เพื่อ control pain ทำให้ใช้ขนาดของ meperidine ได้น้อยลงและป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน จากผลของ meperidine  ขนาดของยาที่ใช้  25 mg IM   or IV

Narcotic antagosist   (Narcan)

เนื่องจากยา  meperidine ผ่านรกไปยังทารกได้ และมีฤทธิ์กดการหายใจของทารก โดยกดศูนย์การหายใจโดยตรง ดังนั้นถ้าทารกคลอดมาในขณะที่ยายังออกฤทธิ์อยู่ จึงจำเป็นต้องให้ยาแก้ฤทธิ์กดการหายใจ  ยาที่นิยมใช้มากที่สุดคือ  naloxone hydrochloride ( NarcanÒ)   ซึ่งเป็น narcotic antagonist ที่สามารถแก้ฤทธิ์กดการหายใจได้ แต่ยาก็จะไปต้านฤทธิ์ระงับปวดด้วยเหมือนกัน ในกรณีที่ให้ยาแก่แม่ก่อนเพื่อหวังผลแก้ฤทธิ์กดเด็กนิยมให้ 15 นาทีก่อนคลอด  ฉีดเข้าเส้นเลือดดำมารดา  ยาจะผ่านรกได้เร็วมาก ตรวจพบ naloxone ในเลือดลูกภายใน 2 นาที และมีระดับสูงภายใน 10-30 นาที    อย่างไรก็ดีควรให้ยานี้แก่เด็กโดยตรงถ้ามีการกดการหายใจหลังคลอดเกิดขึ้น

ขนาดยาที่ใช้

Narcan (1 amp = 0.4 mg )  0.1 mg/kg ของทารกฉีดเข้าumbilical vein หรือเข้ากล้ามเนื้อต้นขา

( ACOG 1996 )  ถ้าไม่มี response อาจให้ซ้ำได้อีก เนื่องจาก naloxone  มีระยะเวลาออกฤทธิ์สั้นกว่า meperidine จึงต้องดูแลทารกใกล้ชิดหลังคลอด ถ้าการหายใจถูกกดก็ให้ยาซ้ำได้อีก  สำหรับ narcotic antagonist อื่นๆ เช่น levallorphan (Lorphan)  , nalorphine ( Nalline ) สามารถใช้แทน naloxone ได้ แต่ต้องระวังเพราะยาอาจเพิ่มการกดการหายใจของทารกได้  ถ้าให้ยาเกินขนาด แต่ naloxone ไม่กดการหายใจแม้จะได้รับยาเกินขนาด

Suppress  Lactation

ในมารดาที่ไม่ต้องการให้นมบุตรหรือ คลอดบุตร  stillbirth  หรือมีโรคร้ายแรงที่ไม่ควรให้นมบุตรจำเป็นต้องยับยั้งการหลั่งน้ำนม  และลดภาวะ  breast  engorgement  การรักษาแบ่งเป็น

1. Symptomatic and supportive  treatment

·        งด  suckling  stimuli  อย่าให้ทารกดูดนมหรือ ห้ามทำ  breast  pumping  จะทำให้หยุด  lactation  ใน 1 สัปดาห์  โดยไม่ต้องใช้ยาใดๆเลย

·        support  เต้านมด้วย  breast   binder

·        ประคบน้ำเย็น ( cold pack ) จะช่วยลด  venous congestion  ได้บ้าง

·        ให้ยาแก้ปวด เช่น  paracetamol

2. Medical  treatment

Estrogen   จะให้ผลดีที่สุดเมื่อให้ก่อนคลอด  แต่อาจมีผลเสียในระยะยาวต่อทารกได้  จึงนิยมให้หลังคลอดทันที  ต้องให้ยาในขนาดสูงเป็นเวลานานๆ  หรือใช้ยาที่มีฤทธิ์นานขนาดสูง  เดิมนิยมใช้เป็นแบบ  estrogen เดี่ยวๆ หรือร่วมกับ testosterone ( Ablacton â : Estrogen +Progesterone + Testosterone ) แต่ปัจจุบันไม่นิยมแล้วเนื่องจากอาจทำให้เกิด thromboembolism  ได้

Dopamine agonist

bromocriptine  or Parlodel â  ออกฤทธิ์กระตุ้น PIF ทำให้ลดการหลั่งของ  prolactin ใช้ได้ผลดีแม้มี  lactation  แล้วขนาดยา Parlodel â 2.5 mg/tab orally 1 x 2 x 14  days   ได้ผล  95-100%   ปัญหาที่พบในระยะเริ่มแรกของการใช้ยา  คือ  คลื่นไส้  อาเจียน  ปวดศีรษะ และหน้ามืดเป็นลม  เนื่องจากความดันโลหิตต่ำ  นอกจากนี้อาจพบอาการวิงเวียน อ่อนเพลีย  ท้องบิด คัดจมูก หรืออาการทางจิตได้แต่น้อย   อย่างไรก็ดีมีรายงานการใช้ bromocriptine ในการ  suppress postpartum lactation  ว่าทำให้เกิด  hypertension ,seizure, stroke และ myocardial infarction ได้ (  Katz,1985; Ruch and Duhring,1989; Watson and associated,1989)     Morgan (1995) ได้รวบรวมรายงานและสรุปว่าถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีหลักฐานว่า bromocriptine เป็นสาเหตุอย่างแน่ชัดต่อภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวแต่ก็ให้ตัด postpartum lactation suppression ออกจาก indication ในการใช้ bromocriptine(Physicians’ Desk Reference,1996 )

อย่างไรก็ดีปัจจุบันก็ยังนิยมใช้  bromocriptine ในการ suppress lactation  เพียงแต่จากข้อมูลดังกล่าวทำให้เพิ่มความระมัดระวังในการใช้ยามากขึ้น

Lisulide (Dopergine)

ให้ขนาด 0.2 mg 1 x 2 x 14 days เริ่มภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอดแต่ถ้าผู้ป่วยมีน้ำนมแล้วให้ 1 x 3 โดยให้ยานานจนกระทั่งน้ำนมหยุดแล้ว 4 วันจึงหยุดยา

Read More

Dysfunction Uterine Bleeding (DUB)

Dysfunction Uterine Bleeding (DUB)

DUB  หมายถึง เลือดออกผิดปกติจากเยื่อบุโพรงมดลูก โดยตรวจภายในแล้วไม่พบพยาธิสภาพใดๆของมดลูกในทางปฏิบัติทางนรีเวช ถือเอาภาวะที่ไม่เกี่ยวข้องกับโรคหรือพยาธิสภาพใดๆเช่น เนื้องอก มะเร็ง การอักเสบหรือการตั้งครรภ์ ซึ่งการวินิจฉัยขึ้นอยู่กับการแยกโรคของอวัยวะต่างๆ ออกไป รวมทั้งแยกโรคที่ไม่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ออกไปด้วย  เช่น ภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ  พบว่าร้อยละ 80 ของ DUB  เกิดในรอบเดือนที่ไม่มีการตกไข่

 

หลักการรักษา (anovulatory DUB)

 

1. ผู้ป่วยวัยรุ่น  ( adolescent )

  • การขูดมดลูกไม่ใช่แนวทางอันดับแรกของการรักษา DUB  แต่เป็นทางเลือกหลังสุด
  • ตรวจร่างกายและตรวจภายใน(อาจต้องกระทำภายใต้ยาสลบ) หรือตรวจทางทวารหนักอย่างรอบคอบถ้าไม่พบความผิดปกติ พิจารณาเลือกใช้ฮอร์โมนรักษาเป็นอันดับแรก
  • ทำให้เลือดหยุดด้วย progestin  หรือ ยาเม็ดคุมกำเนิด
    • การให้ progestin นิยมให้   provera  10 mg /day x 10-14 days หลังหยุดยาจะเกิด  progestin withdrawal bleeding ( medical curettage )
    • การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด ( ประกอบด้วย estrogen และ  progestogen ) รับประทานครั้งละ  1 เม็ด วันละ 2-3 ครั้ง  เป็นเวลา  5-7 วัน ( ใช้ยาเฉพาะที่เป็นเม็ดฮอร์โมน ไม่ใช้  placebo ) เลือดจะหยุดใน 12-24 ชั่วโมงและหลังหยุดยาจะมี  withdrawal bleeding ภายใน 1 สัปดาห์
  • หลังจากที่มี  withdrawal bleeding แล้ว ต้องป้องกันการเกิดซ้ำโดย ประมาณวันที่ 5 ของรอบเดือนให้เริ่มต้นรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด  รับประทานต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน
  • ถ้าผู้ป่วยแต่งงานแล้วแต่ไม่ต้องการตั้งครรภ์ให้รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดไปเรื่อยๆ
  • ถ้าผู้ป่วยไม่แต่งงาน และไม่ต้องการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด ให้รับประทาน  provera วันละ 10 mg  เป็นเวลา 10 วันของทุกรอบเดือน
  • ในกรณีที่ผู้ป่วยมีเลือดออกมานาน เนื้อเยื่อของเยื่อบุโพรงมดลูกเหลือน้อย หรือกรณีขูดมดลูกแล้วพบเยื่อบุโพรงมดลูกน้อยมาก หรือผู้ป่วยมีเลือดออกผิดปกติจาก progestin breakthrough bleeding ( เช่น DMPA ) แนะนำให้ estrogen แล้วตามด้วย progestin
    • ในรายที่ฉุกเฉิน เลือดออกมาก ให้ใช้ premarin 25 mg ให้ทางหลอดเลือดดำ ทุก 4 ชั่วโมงจนอาการดีขึ้น หรือ premarin 1.25 mgต่อวัน รับประทานทุก 4 ชั่วโมงนาน 1 วัน ตามด้วยวันละครั้งเป็นเวลา 7-10 วัน
    • ในรายที่เลือดออกไม่มาก ใช้ premarin 1.25 mg ต่อวัน รับประทานนาน 7-10 วัน
  • รายที่เลือดออกมากและไม่มีการตอบสนองต่อฮอร์โมนบำบัด ใน 12-24 ชั่วโมงหรือประเมินผู้ป่วยซ้ำ ค้นหาข้อวินิจฉัยที่ถูกต้อง โดยมีผู้พบว่า DUB ในวัยรุ่นมีความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือดถึงร้อยละ 20 ถ้าจำเป็นให้ทำการขูดมดลูก

2. ผู้ป่วยในวัยเจริญพันธุ์

การห้ามเลือดใช้ได้ทั้งฮอร์โมนบำบัดหรือการขูดมดลูกแต่ควรใช้ฮอร์โมนบำบัดเป็นอันดับแรก ถ้าตรวจภายในพบว่าขนาดมดลูกปกติ ไม่พบความผิดปกติอื่นๆ  ถ้าการรักษาด้วยฮอร์โมนไม่ได้ผล ก็พิจารณาขูดมดลูก ซึ่งถ้าต้องขูดซ้ำๆหลายๆครั้งและมีบุตรพอแล้ว  อาจพิจารณาตัดมดลูกได้ ผู้ป่วยบางรายที่มีปัญหามีบุตรยากร่วมด้วย (จากการไม่ตกไข่) หรือมี  polycystic ovary syndrome การรักษา DUB  ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรชักนำให้เกิดการตกไข่ เช่นให้  clomiphene  โยส่งพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่อไป

ในกรณีที่รักษาด้วยฮอร์โมนแล้วไม่ได้ผลอาจเกิดจากการมีพยาธิสภาพในตัวมดลูก เช่น submucous myoma หรือ endometrial polyp ให้พิจารณาส่งไปทำ hysteroscopy

3.  ในผู้ป่วยวัยใกล้หมดระดู

ต้องขูดมดลูกแยกส่วน (F/C : Fractional dilatation and curettage)  เพื่อแยกโรคมะเร็งทุกราย การให้การรักษาต่อไปอย่างไรขึ้นกับผลทางพยาธิวิทยา ถ้าไม่มีการหนาตัวที่ผิดปกติก็ให้ฮอร์โมนบำบัดรักษาป้องกันการเกิดซ้ำเช่น progestin เป็นรอบๆ  แต่ถ้าพบการหนาตัวผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง atypical hyperplasia  ควรพิจารณาตัดมดลูกออกพร้อมรังไข่ทั้งสองข้าง

4. ในผู้ป่วยวัยหมดระดู

สาเหตุของเลือดออกผิดปกติส่วนใหญ่เกิดจากความบงตัวของเยื่อบุโพรงมดลูก อาจส่งตรวจอัลตร้าซาวด์เพื่อดูความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูก ถ้ามีความหนาเกิน 5 มม. จึงพิจารณาขูดมดลูกแบบแยกส่วน แล้วรักษาตามผลพยาธิสภาพต่อไป

Read More

Dysfunction Uterine Bleeding (DUB)

Dysfunction Uterine Bleeding (DUB)

DUB  หมายถึง เลือดออกผิดปกติจากเยื่อบุโพรงมดลูก โดยตรวจภายในแล้วไม่พบพยาธิสภาพใดๆของมดลูกในทางปฏิบัติทางนรีเวช ถือเอาภาวะที่ไม่เกี่ยวข้องกับโรคหรือพยาธิสภาพใดๆเช่น เนื้องอก มะเร็ง การอักเสบหรือการตั้งครรภ์ ซึ่งการวินิจฉัยขึ้นอยู่กับการแยกโรคของอวัยวะต่างๆ ออกไป รวมทั้งแยกโรคที่ไม่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ออกไปด้วย  เช่น ภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ  พบว่าร้อยละ 80 ของ DUB  เกิดในรอบเดือนที่ไม่มีการตกไข่

 

หลักการรักษา (anovulatory DUB)

 

1. ผู้ป่วยวัยรุ่น  ( adolescent )

  • การขูดมดลูกไม่ใช่แนวทางอันดับแรกของการรักษา DUB  แต่เป็นทางเลือกหลังสุด
  • ตรวจร่างกายและตรวจภายใน(อาจต้องกระทำภายใต้ยาสลบ) หรือตรวจทางทวารหนักอย่างรอบคอบถ้าไม่พบความผิดปกติ พิจารณาเลือกใช้ฮอร์โมนรักษาเป็นอันดับแรก
  • ทำให้เลือดหยุดด้วย progestin  หรือ ยาเม็ดคุมกำเนิด
    • การให้ progestin นิยมให้   provera  10 mg /day x 10-14 days หลังหยุดยาจะเกิด  progestin withdrawal bleeding ( medical curettage )
    • การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด ( ประกอบด้วย estrogen และ  progestogen ) รับประทานครั้งละ  1 เม็ด วันละ 2-3 ครั้ง  เป็นเวลา  5-7 วัน ( ใช้ยาเฉพาะที่เป็นเม็ดฮอร์โมน ไม่ใช้  placebo ) เลือดจะหยุดใน 12-24 ชั่วโมงและหลังหยุดยาจะมี  withdrawal bleeding ภายใน 1 สัปดาห์
  • หลังจากที่มี  withdrawal bleeding แล้ว ต้องป้องกันการเกิดซ้ำโดย ประมาณวันที่ 5 ของรอบเดือนให้เริ่มต้นรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด  รับประทานต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน
  • ถ้าผู้ป่วยแต่งงานแล้วแต่ไม่ต้องการตั้งครรภ์ให้รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดไปเรื่อยๆ
  • ถ้าผู้ป่วยไม่แต่งงาน และไม่ต้องการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด ให้รับประทาน  provera วันละ 10 mg  เป็นเวลา 10 วันของทุกรอบเดือน
  • ในกรณีที่ผู้ป่วยมีเลือดออกมานาน เนื้อเยื่อของเยื่อบุโพรงมดลูกเหลือน้อย หรือกรณีขูดมดลูกแล้วพบเยื่อบุโพรงมดลูกน้อยมาก หรือผู้ป่วยมีเลือดออกผิดปกติจาก progestin breakthrough bleeding ( เช่น DMPA ) แนะนำให้ estrogen แล้วตามด้วย progestin
    • ในรายที่ฉุกเฉิน เลือดออกมาก ให้ใช้ premarin 25 mg ให้ทางหลอดเลือดดำ ทุก 4 ชั่วโมงจนอาการดีขึ้น หรือ premarin 1.25 mgต่อวัน รับประทานทุก 4 ชั่วโมงนาน 1 วัน ตามด้วยวันละครั้งเป็นเวลา 7-10 วัน
    • ในรายที่เลือดออกไม่มาก ใช้ premarin 1.25 mg ต่อวัน รับประทานนาน 7-10 วัน
  • รายที่เลือดออกมากและไม่มีการตอบสนองต่อฮอร์โมนบำบัด ใน 12-24 ชั่วโมงหรือประเมินผู้ป่วยซ้ำ ค้นหาข้อวินิจฉัยที่ถูกต้อง โดยมีผู้พบว่า DUB ในวัยรุ่นมีความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือดถึงร้อยละ 20 ถ้าจำเป็นให้ทำการขูดมดลูก

2. ผู้ป่วยในวัยเจริญพันธุ์

การห้ามเลือดใช้ได้ทั้งฮอร์โมนบำบัดหรือการขูดมดลูกแต่ควรใช้ฮอร์โมนบำบัดเป็นอันดับแรก ถ้าตรวจภายในพบว่าขนาดมดลูกปกติ ไม่พบความผิดปกติอื่นๆ  ถ้าการรักษาด้วยฮอร์โมนไม่ได้ผล ก็พิจารณาขูดมดลูก ซึ่งถ้าต้องขูดซ้ำๆหลายๆครั้งและมีบุตรพอแล้ว  อาจพิจารณาตัดมดลูกได้ ผู้ป่วยบางรายที่มีปัญหามีบุตรยากร่วมด้วย (จากการไม่ตกไข่) หรือมี  polycystic ovary syndrome การรักษา DUB  ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรชักนำให้เกิดการตกไข่ เช่นให้  clomiphene  โยส่งพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่อไป

ในกรณีที่รักษาด้วยฮอร์โมนแล้วไม่ได้ผลอาจเกิดจากการมีพยาธิสภาพในตัวมดลูก เช่น submucous myoma หรือ endometrial polyp ให้พิจารณาส่งไปทำ hysteroscopy

3.  ในผู้ป่วยวัยใกล้หมดระดู

ต้องขูดมดลูกแยกส่วน (F/C : Fractional dilatation and curettage)  เพื่อแยกโรคมะเร็งทุกราย การให้การรักษาต่อไปอย่างไรขึ้นกับผลทางพยาธิวิทยา ถ้าไม่มีการหนาตัวที่ผิดปกติก็ให้ฮอร์โมนบำบัดรักษาป้องกันการเกิดซ้ำเช่น progestin เป็นรอบๆ  แต่ถ้าพบการหนาตัวผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง atypical hyperplasia  ควรพิจารณาตัดมดลูกออกพร้อมรังไข่ทั้งสองข้าง

4. ในผู้ป่วยวัยหมดระดู

สาเหตุของเลือดออกผิดปกติส่วนใหญ่เกิดจากความบงตัวของเยื่อบุโพรงมดลูก อาจส่งตรวจอัลตร้าซาวด์เพื่อดูความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูก ถ้ามีความหนาเกิน 5 มม. จึงพิจารณาขูดมดลูกแบบแยกส่วน แล้วรักษาตามผลพยาธิสภาพต่อไป

Read More

ยาที่ใช้รักษาตกขาวและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์

ยาที่ใช้รักษาตกขาวและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์


Bacterial  Vaginosis (BV)

เป็น clinical syndrome  เกิดจากการที่มี  bacteria  อื่น ๆ มาแทนที่   lactobacillus spp.  ซึ่งพบเป็นปกติใน  vagina  อยู่แล้ว เช่น  Bacteroides  spp.,  Mobiluncus  spp. ,  G. vaginalis  และ   Mycoplasma hominis  เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของผู้ป่วยที่มาด้วยเรื่องตกขาว หรือภาวะกลิ่นเหม็น อย่างไรก็ตาม ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่มี   clinical criteria  ของ BV  ครบ จะไม่มีอาการใดๆ  เลย   การเปลี่ยนแปลงของ  bacteria  นี้ยังไม่เป็นที่เข้าใจกันนัก  ถึงแม้ว่า  BV  จะสัมพันธ์กับ  sexual activity  และมักไม่พบในคนที่ไม่มี   sexually active  แต่ก็ไม่ถือว่าเป็น  STD  และการรักษา    male  partner  ก็ไม่พบว่ามีประโยชน์ในการป้องกันการเกิดซ้ำ

หลักเกณฑ์ในการวินิจฉัย  (Clinical  criteria)    

จะต้องมีอย่างน้อย    3  เกณฑ์การวินิจฉัย

  1. Homogeneous  , thin, white discharge เคลือบบางๆที่ผนังช่องคลอด
  2. การพบ  clue cell  จากการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์
  3. vaginal pH  >  4.5
  4. positive amine odor  เมื่อผสมกับ 10% KOH  (  whiff test  )

ใน  wet  mount  preparetion  จะมี  WBC  น้อย     ถ้ามี  WBC  มากให้นึกถึง  การติดเชื้ออื่นๆ  เช่น  TV หรือ  GC  ร่วมด้วย

การรักษา   

หลักการ  คือการบรรเทาอาการ   ดังนั้นถ้าไม่มีอาการก็ไม่จำเป็นต้องรักษา

Recommended Regimens

Metronidazole 500 mg orally twice a day for 7 days หรือ

Metronidazole gel, 0.75%, one full applicator (5 g) intravaginally, once a day for 5 days หรือ

Clindamycin cream, 2%, one full applicator (5 g) intravaginally at bedtime for 7 days

Alternative Regimens

Clindamycin 300 mg orally twice a day for 7 days หรือ

Clindamycin ovules 100 mg intravaginally once at bedtime for 3 days

 

แนะนำให้ผู้ป่วยงดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของalcohol ระหว่างที่รับประทานยา metronidazole  และหลังจากหยุดยา  24  ชั่วโมง  เนื่องจากทำให้คลื่นไส้อาเจียนมาก

ไม่พบหลักฐานในมนุษย์ว่าmetronidazole  มีฤทธิ์  mutagenicity  แต่อย่างไรก็ตามมักแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ oral form ในหญิงตั้งครรภ์ไตรมาสแรก

พบว่า  BV สัมพันธ์กับการเกิด  PROM  , preterm  labour ในหญิงตั้งครรภ์

การ  follow  up  ไม่จำเป็นถ้าไม่มีอาการแล้ว  แต่การ  recurrent  พบได้บ่อย   ให้การรักษาซ้ำแบบเดิม  หรืออาจใช้  alternative treatment  ไม่มี  long-term  maintenance  regimen

ไม่แนะนำให้รักษา sex partner


 

Trichomoniasis

เกิดจากเชื้อ  Trichomonas  vaginalis  ในผู้ชายส่วนมากไม่มีอาการ  แต่จะเป็นผู้นำเชื้อ ในผู้หญิงจะเป็นแหล่งของเชื้อ     อาการแสดงคือ  ตกขาวสีเหลืองเขียว  มีฟอง มีกลิ่นเหม็น และมีการอักเสบบวมแดง และคันของปากช่องคลอด ผนังช่องคลอด  ปากมดลูกอาจมีลักษณะบวมแดงคล้ายผิวสตรอเบอรี่   แต่พบได้น้อย  อย่างไรก็ตามตากขาวเป็นฟอง (frothy)  นี้ไม่จำเพาะต่อเชื้อ  TV  เท่านั้น  อาจพบในช่องคลอดอักเสบอื่นๆ ได้ด้วย  บางรายมีปัสสาวะแสบขัด    ลักษณะของเชื้อ คล้ายลูกแพร์  เคลื่อนไหวแบบกระตุก  มีหนวด  4  เส้น  ขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดขาวเล็กน้อย  ถ้าตายรูปร่างคล้ายเม็ดเลือดขาว   ติดต่อทางเพศสัมพันธ์

การรักษา

Recommended Regimens

Metronidazole 2 g orally in a single dose หรือ

Tinidazole 2 g orally in a single dose

Alternative Regimen

Metronidazole 500 mg orally twice a day for 7 days

 

แนะนำให้ผู้ป่วยงดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของalcohol ระหว่างที่รับประทานยา และหลังจากหยุดยา  24  ชั่วโมง สำหรับ metronidazole และ 72 ชม สำหรับยา tinidazole  เนื่องจากทำให้คลื่นไส้อาเจียนมาก

ควรรักษา  sexual  partners  ด้วย เนื่องจากจะช่วยลดอาการ และการแพร่กระจายเชื้อ และแนะนำให้งดเพศสัมพันธ์จนกว่าไม่มีอาการแล้วทั้งคู่

การ  follow  up  ไม่จำเป็นถ้าไม่มีอาการแต่ถ้า  treatment failure  ควรรักษาซ้ำด้วย  metronidazole  500  mg orally x2 x 7  days  และถ้ายังไม่หายใช้  metronidazole 2 gm orally  นาน 5 วัน

หลีกเลี่ยงการใช้  metronidazole  ในช่วงตั้งครรภ์  แต่หลังจาก  first  trimester  อาจใช้  2  gm  metronidazole  single dose  ได้

การรักษา trichomoniasis ด้วยยาเหน็บอย่างเดียวจะไม่สามารถทำลายเชื้อที่อยู่นอกช่องคลอดได้  เช่น  urethra ,  skene’s glands,  Bartholin’s  glands  ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดซ้ำ


 

Vulvovaginal Candidiasis

ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ Candida albican  หรืออาจจะจาก spp. อื่น เช่น  C. glabata , C tropicalis  อาการที่เฉพาะคือ อาการตกขาวคัน แต่อาจมีอาการอื่นๆ ร่วม เช่น  vaginal soreness, vulvar burning, dyspareunia และ external dysuria ไม่ใช่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

การวินิจฉัย

มักจะอาศัยจากประวัติ ตกขาวคัน ร่วมกับตรวจพบ  erythema  บริเวณ vagina   ตกขาวมีลักษณะ curd’s like discharge จาก wet smear หรือ 10 % KOH preparation พบ  pseudohyphae หรือ yeast cell การที่พบ yeast cell ในช่องคลอดอย่างเดียวโดยไม่มีอาการไม่จำเป็นต้องรักษา  เนื่องจากอาจพบได้ใน 10-20 % ของช่องคลอดปกติ

การรักษา

Intravaginal Agents:

Butoconazole 2% cream 5 g intravaginally for 3 days* หรือ

Butoconazole 2% cream 5 g (Butaconazole1-sustained release), single intravaginal application หรือ

Clotrimazole 1% cream 5 g intravaginally for 7–14 days* หรือ

Clotrimazole 100 mg vaginal tablet for 7 days หรือ

Clotrimazole 100 mg vaginal tablet, two tablets for 3 days หรือ

Miconazole 2% cream 5 g intravaginally for 7 days* หรือ

Miconazole 100 mg vaginal suppository, one suppository for 7 days* หรือ

Miconazole 200 mg vaginal suppository, one suppository for 3 days* หรือ

Miconazole 1,200 mg vaginal suppository, one suppository for 1 day* หรือ

Nystatin 100,000-unit vaginal tablet, one tablet for 14 days หรือ

Tioconazole 6.5% ointment 5 g intravaginally in a single application* หรือ

Terconazole 0.4% cream 5 g intravaginally for 7 days หรือ

Terconazole 0.8% cream 5 g intravaginally for 3 days หรือ

Terconazole 80 mg vaginal suppository, one suppository for 3 days

Oral Agent:

Fluconazole 150 mg oral tablet, one tablet in single

ในกรณีที่มีอาการอยู่หลังการรักษาครบควรมาพบแพทย์  และถ้าเกิดบ่อยมากกว่า 4  ครั้ง ใน 1 ปี ควรหาสาเหตุของการเกิดซ้ำบ่อยๆ ด้วยเช่น เบาหวานการได้รับยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน  immunocompromised host สุขอนามัยส่วนตัว อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้มักไม่พบโรคประจำตัว แนะนำให้เพาะเชื้อดู เพราะมีประมาณร้อยละ 10-20 ที่ไม่ใช่เชื้อ c.albicans สำหรับการรักษาแนะนำให้ใช้ยานานขึ้น เช่นสอดยานาน 7-14 วัน หรือให้ยารับประทาน fluconazole 100,150 หรือ 200 mg ทุก 3 วัน จำนวน 3 doses และให้ maintenance dose ทุกสัปดาห์นาน 6 เดือน หรือใช้เป็นยาเหน็บ ด้วย

clotrimazole 200 mg สัปดาห์ละ 2 ครั้ง หรือ clotrimazole 500-mg เหน็บสัปดาห์ละครั้ง

สำหรับการรักษา  sex partner  พบว่าไม่ป้องกันการเกิดซ้ำ แต่อย่างไรก็ตาม ในpartner ที่มีอาการของ  balanitis  หรือ penile dermatitis ควรรักษาด้วย  topical agent


 

Pelvic Inflammatory Disease (PID)

อาการและอาการแสดงที่พบบ่อย  ได้แก่  ปวดท้อง  กดเจ็บบริเวณปีกมดลูก  ไข้  อาจร่วมกับหนาวสั่น  ปัสสาวะแสบ  มีการอักเสบของท่อปัสสาวะ  มี discharge  เป็นหนองมีกลิ่นเหม็นจากช่องคลอด  ตรวจพบก้อนที่ปีกมดลูก  WBC  และ  ESR  สูงขึ้น            อาการที่พบบ่อยที่สุดของ  acute  PID  คือ  ปวดท้องน้อย  ซึ่งพบได้ร้อยละ 90 ของผู้ป่วย

  • ร้อยละ 75  ของผู้ป่วย มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อใน  endocervix  และมีตกขาวคล้ายหนองจากช่องคลอด
  • ใน  acute PID  อาการคลื่นไส้  อาเจียน มักเป็นอาการที่เกิดตอนหลังๆ  ต่างจาก  acute  appendicitis  ซึ่งมักมีอาการทางลำไส้ นำมาก่อน
  • Fitz – Hugh -Curtis  syndrome  หรือการอักเสบรอบๆตับ ที่เกิดจาก  acute PID  ทั่วไป พบได้ร้อยละ  5-10  ของโรคนี้  แต่การรักษาก็เหมือน  acute  PID   ทั่วไป
  • ประมาณ  1 ใน  3  ของผู้ป่วย มีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส
  • น้อยกว่าร้อยละ 50  ของผู้ป่วย มีจำนวน  WBC   มากกว่า 10,000  cells/cu.mm.

การวินิจฉัย

อาศัยลักษณะทางคลินิก และการตรวจทางห้องปฏิบัติการพื้นฐาน  เช่น  การย้อมกรัมของ  discharge  ที่ปากมดลูก  โดยทั่วไปยอมรับกันว่า  การตรวจทางกล้อง   laparoscope  เป็นมาตรฐานของการวินิจฉัย  (gold  standard)  การวินิจฉัยทางคลินิกของ PID  ถูกต้องเพียงร้อยละ  65-70  เนื่องจากมีลักษณะทางคลินิกที่ไม่ค่อยจำเพาะ  มีรายงานพบว่า  ร้อยละ 12  ที่ให้การวินิจฉัย  PID  แต่เมื่อตรวจด้วย  laparoscope  พบมีพยาธิสภาพอย่างอื่น  และร้อยละ 23  พบว่าอวัยวะในเชิงกรานปกติ   ผู้ป่วยบางรายอาจมีการอักเสบอยู่เฉพาะภายในเยื่อบุท่อนำไข่ หรือภายในเยื่อบุโพรงมดลูก ทำให้การส่อง  laparoscope  เห็นว่าปกติก็ได้    นอกจากนี้การทำ  laparoscope  ทุกรายย่อมไม่สะดวกในทางปฏิบัติ  ต้องอาศัยเครื่องมือราคาแพง  และความชำนาญ ดังนั้น  CDC   (Center for disease control)   จึงได้กำหนดเกณฑ์การวินิจฉัยทางคลินิก  ของ  PID  ดังนี้

Minimum Criteria :   เกณฑ์ขั้นต่ำ

  • Lower abdominal tenderness  กดเจ็บโดยตรงที่ท้องน้อย
  • Adnexal  tenderness  กดเจ็บบริเวณปีกมดลูก
  • Cervical  motion tenderness  โยกปากมดลูกเจ็บ

ควรให้การรักษาแบบ  empirical  treatment  ในกรณีที่มีเกณฑ์การวินิจฉัยครบ 3  ข้อ โดยยังไม่สามารถให้การวินิจฉัยหรือหาสาเหตุอื่นที่อาจเป็นไปได้

Additional  Criteria :  เกณฑ์เสริมการวินิจฉัย

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการทางคลินิกมากควรจะต้องมีการประเมินทางคลินิกอื่นๆ อีกเพิ่มเติมเพื่อหลีกเลี่ยงการวินิจฉัยผิดพลาดและการรักษาที่ไม่จำเป็น  เกณฑ์การวินิจฉัยที่เพิ่มเติมนี้ก็เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัย

  • Oral  temperature  >  38.3  c
  • Abnormal cervical or vaginal mucopurulent discharge
  • ตรวจพบปริมาณเม็ดเลือดขาวจำนวนมากจาก vaginal discharge smear
  • ESR  เพิ่มขี้น
  • C – reactive protein  เพิ่มขึ้น
  • ตรวจทางห้องปฏิบัติการพบการติดเชื้อหนองใน (N. gonorrhoeae) หรือ  คลามิเดีย  (C. trachomatis)

Elaborate Criteria: เกณฑ์ละเอียดปลีกย่อย

  • หลักฐานทางพยาธิวิทยาของเยื่อบุโพรงมดลูกพบการอักเสบ
  • ลักษณะทางคลื่นเสียงความถี่สูงหรือเทคนิคทางรังสีอื่นๆ   เห็น  TOA
  • ลักษณะทาง  laparoscope  เข้าได้กับ  PID

การวินิจฉัย  PID    จะต้องมีเกณฑ์ขั้นต่ำครบทุกข้อ  และมีเกณฑ์วินิจฉัยอื่นๆ  ไม่ต่ำกว่า 1 ข้อ ขึ้นไป

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

พิจารณาตามความเหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป

  • Basic lab :  CBC,  Urinalysis
  • Beta – hCG  จาก  serum หรือ  urine  กรณีที่ต้องการแยกจากครรภ์นอกมดลูก
  • culdocentesis  ได้หนอง ย้อมกรัมพบแบคทีเรียและ WBC   การเพาะเชื้ออาจช่วยในการเลือกยาปฏิชีวนะ แต่ในปัจจุบันลดความจำเป็นลงมาก
  • Ultrasound  ช่วยในการแยกโรคอื่นที่สงสัยร่วมด้วย  หรือแยกกันยาก เช่น ครรภ์นอกมดลูก หรือในกรณีที่ไม่สามารถได้ข้อมูลจากการตรวจภายใน เนื่องจากผู้ป่วยเกร็งหน้าท้องทำให้ตรวจได้ยากลำบาก
  • laparoscopy   มักทำในรายที่ไม่แน่ใจในการวินิจฉัย  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  เพื่อแยกภาวะที่ต้องผ่าตัด

การวินิจฉัยแยกโรค

  • Ectopic pregnancy
  • Ruptured ovarian cyst
  • Acute appendicitis
  • Endometriosis
  • Inflammatory bowel disease
  • Myoma with degeneration
  • Abortion (  threatened , septic )
  • Diverticulitis

การรักษา

แนะนำให้รับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลในกรณีต่อไปนี้คือ

  • Uncertained diagnosis  ถ้ายังไม่ทราบการวินิจฉัยที่แน่นอน หรือไม่สามารถแยกภาวะฉุกเฉินทางศัลยกรรมที่ต้องผ่าตัดได้  เช่น ectopic  pregnancy  หรือ acute appendicitis
  • สงสัยภาวะ  pelvic abscess หรือ  TOA
  • ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์
  • ผู้ป่วยที่อยู่ในวัยรุ่น ( adolescent )  เนื่องจาก  compliance ในการรักษาอาจจะไม่ดี ทำให้การรักษาไม่ครบ
  • ผู้ป่วยมีการติดเชื้อไวรัส  HIV  เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะมี   leukopenia  หรือ  leukocytosis  น้อยกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้ติดเชื้อ HIV  และมีแนวโน้มที่จะได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด  ดังนั้นจึงควรได้รับการรักษาอย่างเต็มที่แบบผู้ป่วยใน
  • ผู้ป่วยมีอาการมาก  ไข้สูงมากกว่า  38  C  คลื่นไส้ อาเจียนมากจนไม่สามารถรับประทานยาได้
  • ผู้ป่วยที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหรือทนต่อการรักษาในขนานยาแบบผู้ป่วยนอกได้
  • ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบผู้ป่วยนอกใน 24  ชั่วโมง  เช่น มีไข้  ปวดท้อง
  • ไม่แน่ใจในการติดตามผลการรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้  หรือ ไม่สามารถกลับมา  follow up  ภายหลังการรักษา  72   ชั่วโมง

หลักการรักษา

1.  ให้การรักษาประคับประคอง และตามอาการ  ได้แก่

  • จัดผู้ป่วยนอนในท่า  Fowler’s position
  • ให้ยาแก้ปวด
  • ให้น้ำเกลือทางหลอดเลือด เพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปจากการที่มีไข้   หรือในกรณีที่อาเจียนมาก  ทานอาหารไม่ได้  และบางกรณีอาจต้องให้ผู้ป่วยงดน้ำและอาหารทางปาก  เพื่อสังเกตอาการของโรคอื่นที่อาจจำเป็นต้องผ่าตัด

2. ให้ยาปฏิชีวนะ

ควรให้ยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อที่เป็นสาเหตุ  และได้ผลต่อ  N. gonorrhoeae,  C. trachomatis ,   Gram negative facultative bacteria , anerobe และ  streptococci   โดยไม่ต้องรอผลเพาะเชื้อเพราะใช้เวลานาน   อย่างไรก็ดีการพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ   ควรคำนึงถึงค่าใช้จ่าย   การยอมรับของผู้ป่วย  และ  susceptibility   ต่อเชื้อด้วย    ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาในแง่ของภาวะแทรกซ้อนระยะยาว  เช่น   การมีบุตรยากจากท่อนำไข่ตีบตัน   การตั้งครรภ์นอกมดลูก

Center for Disease Control ( 2006 )  ได้แนะนำแนวทางการรักษา  PID  ดังนี้คือ

Recommended Parenteral Regimen A

Cefotetan 2 g IV every 12 hours

หรือ

Cefoxitin 2 g IV every 6 hours

PLUS

Doxycycline 100 mg orally or IV every 12 hours

Regimen นี้ให้ไปอย่างน้อย  48  ชั่วโมง จนกว่าลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยดีขึ้น  เช่น ไข้ลดลง    direct or rebound tenderness  ลดลง  ตรวจภายใน   cervical motion,  uterus, adnexal tenderness  ลดลง    และหลังจากที่จำหน่ายผู้ป่วยแล้วให้รับประทาน  Doxycycline  ต่อในขนาด 100 mg วันละ  2  ครั้ง จนได้ครบ  course  รวมทั้งหมด  14  วัน

Recommmended Parenteral Regimen B

Clindamycin 900 mg IV every 8 hours

PLUS

Gentamicin loading dose IV or IM (2 mg/kg of body weight), followed by a maintenance dose (1.5 mg/kg) every 8 hours. Single daily dosing may be substituted.

ให้ regimen นี้ไปอย่างน้อย 48  ชั่วโมง จนกว่าลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยดีขึ้น   และหลังจากที่จำหน่ายผู้ป่วยแล้วให้รับประทาน  Doxycycline  ต่อในขนาด 100 mg วันละ  2  ครั้ง จนได้ครบ  course  รวมทั้งหมด  14  วัน

หรืออาจพิจารณาเลือกให้รับประทาน  clindamycin  ขนาด  450 mg วันละ 4  ครั้ง  จนครบ  course  14  วัน

กรณีที่เป็น  TOA  หลายท่านแนะนำให้เลือก  Clindamycin  มากกว่า  Doxycline  เนื่องจากครอบคลุม  anaerobes   ได้ดีกว่า   แต่มีการศึกษาที่แนะนำ  alternative  regimen  ที่แนะนำคือ  Ampicillin / salbactam  ร่วมกับ  Doxycycline ก็ได้ผลดีใน  TOA

  • Clindamycin  เมื่อให้  IV  พบว่ามีประสิทธิภาพในการรักษา  C. trachomatis   แต่สำหรับใน  oral form ยังไม่มีรายงานที่แน่ชัด
  • ถ้าใส่ห่วงอนามัยอยู่  ควรเอาออกหลังเริ่มยาปฏิชีวนะไปแล้ว  24-48  ชั่วโมง  ควรตรวจประเมินผู้ป่วยซ้ำภายใน  2-3 วัน  และเมื่อครบ 7  วัน และ 21  วัน เพื่อให้แน่ใจว่าหายจากโรค
  • อย่างไรก็ดี ทั้ง  regimen A และ B  ก็ไม่ได้มีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยทุกรายเสมอไป

Alternative Parenteral Regimens

มีข้อมูลที่จำกัด แต่อย่างน้อยมีการศึกษาอยู่ 1 รายงานว่าได้ผล

Levofloxacin 500 mg IV once daily* WITH OR WITHOUT

Metronidazole 500 mg IV every 8 hours หรือ

Ofloxacin 400 mg IV every 12 hours*  WITH OR WITHOUT

Metronidazole 500 mg IV every 8 hours หรือ

Ampicillin/Sulbactam 3 g IV every 6 hours PLUS

Doxycycline 100 mg orally or IV every 12 hours

การรักษาแบบผู้ป่วยนอก

Recommended Regimen A

Levofloxacin 500 mg orally once daily for 14 days* หรือ

Ofloxacin 400 mg orally twice daily for 14 days* WITH OR WITHOUT

Metronidazole 500 mg orally twice a day for 14 days

Regimen B

Ceftriaxone 250 mg IM in a single dose PLUS

Doxycycline 100 mg orally twice a day for 14 days WITH OR WITHOUT

Metronidazole 500 mg orally twice a day for 14 days หรือ

Cefoxitin 2 g IM in a single dose and Probenecid,  1 g orally administered concurrently in a single dose PLUS

Doxycycline 100 mg orally twice a day for 14 days WITH OR WITHOUT

Metronidazole 500 mg orally twice a day for 14 days หรือ

Other parenteral third-generation cephalosporin (e.g., ceftizoxime or cefotaxime) PLUS

Doxycycline 100 mg orally twice a day for 14 days

WITH OR WITHOUT

Metronidazole 500 mg orally twice a day for 14 days

3.  การรักษาด้วยการผ่าตัด

การผ่าตัดโดยทั่วไปมักจะตัดมดลูกออกพร้อมรังไข่ทั้งสองข้าง  แต่ก็สามารถเก็บมดลูกและรังไข่อีกข้างไว้ได้ในกรณีที่เป็น TOA ข้างเดียวและในรายที่ยังต้องการมีบุตรต่อไปในอนาคต  อย่างไรก็ดีต้องพิจารณาตามพยาธิสภาพและความรุนแรงในผู้ป่วยเป็นราย ๆ ไป  โดยสรุปแนะนำให้ผ่าตัดในรายต่อไปนี้  คือ

  • มีการแตกของก้อนหนอง (  TOA )  เกิดขึ้น  ซึ่งในกรณีนี้ถ้ารักษาด้วยยาอย่างเดียว จะมีอัตราตายสูงร้อยละ 50-90  แต่ถ้าทำผ่าตัดเอามดลูก   ก้อนหนอง  และปีกมดลูกออกทั้งสองข้าง  พบว่าสามารถลดอัตราตายได้  7  เท่า
  • รายที่ไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้แน่นอน และแยกภาวะฉุกเฉินทางศัลยกรรม  เช่น  acute appendicitis  ไม่ได้  ก็อาจจำเป็นต้องทำผ่าตัด  ดีกว่าวินิจฉัยผิดและไส้ติ่งแตก
  • ในรายที่สามารถทำการ   drainage  ก้อนหนองผ่านทางช่องคลอดได้  ( colpotomy )
  • ในรายที่มีการอุดตันของลำไส้  เนื่องจากส่วนของลำไส้ไปติดกับก้อนหนอง
  • Failure medical treatment   เช่น  กรณี  TOA  ให้ยาปฏิชีวนะไปแล้ว 48-72  ชั่วโมง อาการยังไม่ดีขึ้น  มีไข้สูง และปวดท้องมากอยู่  ก้อนโตขึ้น
  • สำหรับ  chronic  PID  ควรทำผ่าตัดเมื่อ  มีอาการปวดแบบ  persistent  หรือปวดรุนแรงมากขึ้น  มีการอักเสบซ้ำบ่อยๆ  ทำให้นอนในโรงพยาบาลหลายครั้ง  ก้อนหนองมีขนาดโตขึ้น  มี  dyspareunia  จากการอักเสบเรื้อรังของอุ้งเชิงกราน  มีการกดหลอดไตทั้งสองข้าง จาก  pelvic  cellulitis
  • งดร่วมเพศจนกว่ามา  follow up  หลังการรักษาแล้วปกติ

4.  ควรตามคู่นอนของผู้ป่วยมาตรวจด้วย  บางท่านแนะนำให้รักษาฝ่ายชายไปเลย  ด้วยยาที่สามารถคลุมเชิ้อ  N. gonorrhoeae,  C. trachomatis  ทั้งนี้เพื่อป้องกันอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อซ้ำ  เพราะร้อยละ 40  ของคู่นอนจะสามารถแยกเชื้อได้โดยไม่มีอาการ

5.  ควร   screening  โรคอื่นๆ ด้วย เช่น  ซิฟิลิส      ( VDRL ) ,  เอดส์ (  Anti HIV ) ,  HBsAg

6. แนะนำการตั้งครรภ์ต่อไปให้รีบมาฝากครรภ์  หรือรีบมาตรวจทันทีที่สงสัยว่าตั้งครรภ์  เพื่อแยกภาวะครรภ์นอกมดลูก  โดยการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง

 


 Gonorrhea

สาเหตุเกิดจากเชื้อ  Neisseria  gonorrhea  การวินิจฉัย อาศัยประวัติการสัมผัสโรค อาการและอาการแสดงของผู้ป่วยและการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ  ได้แก่

Gram stain : ควรเก็บตัวอย่างจากในท่อปัสสาวะและ ใน endocervical canal  อย่างไรก็ตาม อาจตรวจไม่พบเชื้อได้ถึง  30-50 %

Culture :  โดยใช้ Thayer-Martin media ให้ใช้ไม้พันสำลีหมุนป้ายออกมาจาก endocervix 2 ครั้งติดกัน

การรักษา

ยาที่จะใช้รักษาโรคหนองในควรจะได้ผลทั้งชนิด PPNG ( Penicillinase – Producing Neisseria Gonorrhea ) และ Non PPNG  มีประสิทธิภาพสูง ได้ผลดี  มีอัตราการหายจากโรคไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 เพื่อป้องกันการกระจายโรค  นอกจากนี้ควรจะคำนึงถึง toxicity ของยา  ความร่วมมือของผู้ป่วย ซึ่งควรใช้การรักษาที่สั้นที่สุด คือ ยาใช้เพียงครั้งเดียว

ยารักษาโรคหนองใน CDC ( 2006 )

ประเภทที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน

Recommended Regimens*

Ceftriaxone 125 mg IM in a single dose หรือ

Cefixime 400 mg orally in a single dose หรือ

Ciprofloxacin 500 mg orally in a single dose* หรือ

Ofloxacin 400 mg orally in a single dose* หรือ

Levofloxacin 250 mg orally in a single dose* PLUS

TREATMENT FOR CHLAMYDIA IF CHLAMYDIAL INFECTION IS NOT RULED OUT

Alternative Regimens

Spectinomycin 2 g in a single IM dose หรือ

Single-dose cephalosporin regimens หรือ

Single-dose quinolone regimens

  • สำหรับสตรีตั้งครรภ์ เลือกขนาดข้างต้นชนิด  cephalosporin หรือ spectinomycin  2 gm IM Single dose ( โดยเฉพาะรายที่แพ้  penicillin )
  • ไม่ว่าจะเป็นขนานใดที่กล่าวมาควรตามด้วยการรับประทาน  Doxycycline 100 mg  วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลานาน 7 วัน เพื่อรักษา  Chlamydia ซึ่งพบร่วมด้วยบ่อย
  • ผู้ที่สัมผัสโรคที่ควรได้รับการประเมินและรักษาคือ
  • มีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยภายใน 30 วันของการมีอาการ
  • มีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยที่ไม่มีอาการใน  60 วันของการวินิจฉัย  เนื่องจากผู้ที่สัมผัสโรคมีโอกาสติดเชื้อสูงถึงร้อยละ 78 จึงควรได้รับการตรวจเชื้อ ถ้าตรวจไม่พบเชื้อในการตรวจครั้งแรก และไม่แน่ใจว่าผู้ป่วยจะมาติดตามผล  อาจพิจารณาให้การรักษาไปเลย เป็นการรักษาทางระบาดวิทยา
  • ควรงดมีเพศสัมพันธ์จนกว่าอาการจะหายเป็นปกติ
  • ควรทำการประเมินผลการรักษาโดยการเพาะเชื้อจากตำแหน่งที่เกิดโรค ภายใน 5-7 วันหลังสิ้นสุดการรักษา

 


 

Chlamydial Infection

Chlamydia  เชื่อว่าเป็นเชื้อที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่พบบ่อยที่สุดในทางนรีเวช มีบทบาทในภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ  ปากมดลูกอักเสบ ท่อปัสสาวะอักเสบ   หนองในเทียม : Nongonococcal urethritis-NGU  เป็นคำที่ใช้เรียกในผู้ชายที่มีอาการปวดแสบปัสสาวะและมีหนองไหลจากท่อปัสสาวะ แต่ตรวจไม่พบเชื้อหนองในจากการย้อมและการเพาะเชื้อ  พบแต่เม็ดเลือดขาวจำนวนมาก ในผู้หญิงจะใช้คำว่า nonspecific genital infection : NSGI

อาการและอาการแสดง   

โดยทั่วไปจะไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยตรวจภายในอาจพบปากมดลูกบวมแดง มีมูกปนหนองออกมา ( mucopurulent cervicitis )  บางรายมี urethritis และ proctitis ร่วมด้วย

Gram stain specimen จาก endocervix จะพบเม็ดเลือดขาวชนิด PMN มากกว่า 10 เซลล์ต่อกำลังขยาย 1,000 เท่า  โดยไม่พบเชื้ออื่น เช่นเชื้อหนองใน เชื้อเริม หรือ Trichomonas  ซึ่งปัจจุบันถือเป็นเกณฑ์ในการวินิจฉัยหนองในเทียมในผู้หญิง

แนวทางการรักษา  (CDC  2006)

Recommended Regimens

Azithromycin 1 g orally in a single dose หรือ

Doxycycline 100 mg orally twice a day for 7 days

Alternative Regimens

Erythromycin base 500 mg orally four times a day for 7 days หรือ

Erythromycin ethylsuccinate  800 mg orally four times a day for 7 days หรือ

Ofloxacin 300 mg orally twice a day for 7 days หรือ

Levofloxacin 500 mg orally once daily for 7 days

  • ควรงดเพศสัมพันธ์จนกว่าอาการจะหายเป็นปกติ
  • ควรรักษา sexual partner ด้วย
  • ถ้าผู้ป่วยได้รับยาอย่างถูกต้องจะได้ผลสูงมาก อัตราหายมากกว่าร้อยละ 95 ถ้าไม่หายอาจเกิดจากมี  Trichomonas vaginalis หรือ anaerobic infection อื่นๆร่วมด้วย

 


 

Genital Herpes

สาเหตุของโรคเกิดได้ทั้งจาก HSV type 1 และ type 2 อย่างไรก็ตามลักษณะทางคลินิกไม่แตกต่างกัน ภายหลังจากการที่มีการติดเชื้อแล้วร่างกายไม่สามารถทำลายเชื้อไวรัสให้หมดไปได้ เชื้อไวรัสสามารถแฝงตัวอยู่ที่  nerve ganglion ได้ จึงทำให้เกิดโรคซ้ำอยู่ได้เรื่อยๆ  และบางส่วนไม่มีอาการแสดง

อาการและอาการแสดง   

ผู้ที่เริ่มเป็นครั้งแรก( primary ) มักมี  constitutional symptoms  ร่วมด้วย คือ มีไข้  ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว และอ่อนเพลียมาก อาการดังกล่าวจะเป็นมากใน 3-4 วันแรก และค่อยๆ หายไปภายใน 3-4 วัน  มีการอักเสบที่ช่องคลอด ปากมดลูก และท่อปัสสาวะรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแสบปวดร้อนมาก  ถ่ายปัสสาวะลำบาก บริเวณที่อักเสบจะมีตุ่มน้ำเล็กๆเกิดขึ้นมากมาย และจะแตกออกภายใน24-48 ชั่วโมง เห็นเป็นรอยถลอกมีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม อวัยวะเพศบวมแดง และมีตกขาวได้ ถ้าไม่มีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติมแผลจะค่อยๆ ตกสะเก็ดและหายไปโดยไม่เกิดแผลเป็นในเวลาประมาณ 3 สัปดาห์

ผู้ป่วย 2 ใน 3 จะเกิดโรคซ้ำได้อีก แต่ความรุนแรงของอาการจะน้อยลง

การวินิจฉัย       

อาศัยอาการและอาการแสดงทางคลินิก เป็นตุ่มน้ำใส อยู่กันเป็นกลุ่มๆ เมื่อทำ Tzanck test  โดยทำให้ตุ่มน้ำใสแตก แล้วขูดบริเวณก้นแผลป้ายบน slide แล้วย้อมด้วย wright’s stain หรือ Giemsa stain เพื่อดู  multinucleated giant cell ซึ่งให้ผลบวกร้อยละ 70-85  หรือย้อม pap smear จากก้นแผลพบ multinucleated  giant cell และ eosinophillic intranuclear inclusion bodies  ให้ผลบวกเพียงร้อยละ 50-60  มีผลบวกเทียมจากการติดเชื้อไวรัสอื่นและมีผลลบเทียมได้

การรักษา 

ไม่มีการรักษาให้หายขาด  acyclovir มีประโยชน์ในการช่วยลดระยะเวลาของการมีแผลเริมและลดเวลาของการแยกเชื้อไวรัสจากแผล

สำหรับรายที่มีลักษณะทางคลินิกครั้งแรก

Recommended Regimens*

Acyclovir 400 mg orally three times a day for 7–10 days หรือ

Acyclovir 200 mg orally five times a day for 7–10 days หรือ

Famciclovir 250 mg orally three times a day for 7–10 days หรือ

Valacyclovir 1 g orally twice a day for 7–10 days

* สามารถยืดการรักษาออกไปได้ถ้าแผลไม่หายดี

การให้เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

(Suppressive Therapy for Recurrent Genital Herpes)

Recommended Regimens

Acyclovir 400 mg orally twice a day หรือ

Famiciclovir 250 mg orally twice a day หรือ

Valacyclovir 500 mg orally once a day หรือ

Valacyclovir 1.0 g orally once a day

การดูแลรักษาเพื่อบรรเทาอาการ

  1. Topical treatment ใช้ 0.9 % NSS  หรือ Zinc sulphate solution 0.25-1 % ล้างแผลวันละ 2-3 ครั้งให้สะอาด  อาจใช้น้ำเย็นประคบแผลหรือนั่งแช่ sitz bath ด้วยน้ำอุ่นสะอาด บางคนชอบ   cold saline sitz bath
  2. ให้ยาแก้ปวดบรรเทาอาการปวด
  3. ถ้ามีอาการปัสสาวะลำบากใช้  xylocaine jelly ทา ถ้าจำเป็นอาจต้องใส่สายสวนปัสสาวะคาไว้ถ้าปัสสาวะไม่ออก
  4. ถ้ามี secondary bacterial infection  ให้ยาปฏิชีวนะรักษา
    • งดมีเพศสัมพันธ์ขณะที่มีรอยโรค เพื่อลดการแพร่กระจายโรคไปยังผู้อื่น
    • เน้นให้เช็คมะเร็งปากมดลูกปีละครั้ง
    • ถ้าตั้งครรภ์ควรแจ้งให้สูติแพทย์ทราบเมื่อมาฝากครรภ์เพื่อที่จะวางแผนการดูแลรักษาต่อไปในระยะใกล้คลอด

 


 

Chancroid

แผลริมอ่อน  เกิดจากเชื้อ  Hemophilus decreyi  ในประเทศไทยพบบ่อยเป็นอันดับ 3 รองจากหนองในเทียมและหนองในและพบบ่อยที่สุดในกลุ่มของแผลที่อวัยวะเพศ  โดยแผลส่วนใหญ่จะอยู่ที่ปากช่องคลอด fourchette, labia, vestibule, clitoris ,รอบๆ urethra อาจลามไปถึงรอบ anus, vagina และ cervix ได้ อาจทำให้ปวดเวลาถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ เจ็บเวลาร่วมเพศหรือมีตกขาว แผลจะเริ่มด้วย macule หรือ papule หลังจากนี้ 1-2 วัน จะกลายเป็น papule แล้วแตกออกเป็นแผลซึ่งมีลักษณะนุ่ม ขอบไม่แข็ง มีขอบเขตชัดเจน แต่ขอบแผลกะรุ่งกะริ่ง  แผลตื้นประมาณ 1-2 มม. มีสีแดงรอบๆแผล  ที่พื้นแผลมีเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว ปนหนองขูดแล้วมีเลือดออก    อาจพบ  bubo ได้ที่ขาหนีบร้อยละ 30-50 ซึ่งส่วนใหญ่จะยุบเองไม่แตกออก   แต่ถ้าแตกออกจะทำให้เกิด  auto-inoculation และต่อมาเป็นแผลเป็น

การวินิจฉัย

ต้องแยกจากและซิฟิลิส ซึ่งขอบแข็งไม่เจ็บ การวินิจฉัยที่แน่นอนต้องเพาะเชื้อจากแผลหรือหนองที่ bubo ย้อม gram stain จากแผลจะเห็น gram negative bacillus มีลักษณะเป็นสายคล้ายฝูงปลา( school of fish ) แต่เห็นได้ยากเนื่องจากมี bacteria หลายชนิดปะปนกัน

การรักษา

  • ใช้ NSS  ทำความสะอาดแผล
  • ถ้า  bubo ขนาดใหญ่ควรใช้เข็มขนาดใหญ่เบอร์ 18 ดูดหนองออก โดยดูดจากผิวหนังที่ปกติ ห้ามใช้มีดกรีดเพราะจะเกิดแผลใหญ่ รักษายาก

แนวทางการรักษา  ( CDC  2006 )

Recommended Regimens*

Azithromycin 1 g orally in a single dose หรือ

Ceftriaxone 250 mg intramuscularly (IM) in a single dose หรือ

Ciprofloxacin 500 mg orally twice a day for 3 days หรือ

Erythromycin base 500 mg orally three times a day for 7 days

*Ciprofloxacin  ห้ามให้ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร

ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยภายใน 10 วัน ก่อนผู้ป่วยมีอาการควรได้รับการตรวจและรักษาด้วย ไม่ว่าจะมีแผลหรือไม่ เนื่องจากบางคนมีเชื้อแต่ไม่มีอาการ

 


 

หูดหงอนไก่ (Condyloma Accuminata)

เกิดจากเชื้อ  Human  papilloma  virus ( HPV) ซึ่งมีหลาย  subtype  เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พบได้ทุกส่วนของอวัยวะเพศที่มีเยื่อบุ squamous epithelium

การวินิจฉัย    

อาศัยลักษณะทางคลินิกของโรคและยืนยันโดยผลตรวจทางพยาธิวิทยา ต้องแยกจากแผลมะเร็ง แผลซิฟิลิส และแผลที่อวัยวะเพศอื่นๆ

แนวทางการรักษา  ( CDC  2006 )

Recommended Regimens for External Genital Warts

ผู้ป่วยใช้เอง

Podofilox 0.5% solution หรือ gel

ใช้ได้กับแผลที่มีขนาดพื้นที่โดยรวมไม่เกิน 10 ตารางซม. และปริมาณยาที่ใช้ทั้งหมดไม่เกิน 0.5 ml ต่อวันให้ผู้ป่วยทาบริเวณ โดยใช้ไม้พันสำลีขนาดเล็กจุ่มน้ำยา หรือถ้าเป็นชนิดเจล ให้ใช้นิ้วทา บริเวณแผลหูดวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 3 วัน แล้วหยุดยา 4 วัน นับเน 1 รอบ  ถ้า lesion ยังมีอยู่ จึงทาซ้ำอีก 1 รอบ  สามารถทำซ้ำแบบนี้ได้ 4 รอบ

หรือ

Imiquimod 5% cream.

ให้ผู้ป่วยทา  imiquimod cream วันละครั้งก่อนนอน โดยทา 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ทาติดต่อกันได้นาน 16 สัปดาห์ ต้องล้างบริเวณที่ทาด้วยน้ำสบู่หลังจากทายาแล้ว 6-10 ชม.

แพทย์เป็นผู้รักษา (Provider-Administered)

Cryotherapy with liquid nitrogen หรรือ cryoprobe สามารถทำซ้ำได้ทุก 1-2 สัปดาห์

หรือ

Podophyllin resin 10%–25% ผสมกับ tincture of benzoin.

ใช้ทาปริมาณเล็กน้อยที่ lesion แล้วปล่อยให้แห้ง ทำซ้ำได้ทุกสัปดาห์ และเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการดูดซึมยา ควรทาครั้งหนึ่งไม่เกิน 0.5 ml และทาเป็นบริเวณกว้างไม่เกิน 10 ตารางซม. บริเวณที่ทาไม่ควรมีแผลเปิด และควรล้างออกหลังจากทาไปนาน 1-4 ชม. เพื่อเป็นการลดความระคายเคือง อาจใช้วาสลินทาบริเวณรอบๆ lesion ก่อนทายาเพื่อไม่ให้ยาไหลไประคายเคองบริเวณเนื้อโดยรอบ

หรือ

Trichloroacetic acid (TCA) or Bichloroacetic acid (BCA) 80%–90%.

ใช้ทาปริมาณเล็กน้อยบริเวณหูด แล้วปล่อยให้แห้ง ซึ่งจะเกิดสีขาวปกคลุม สามารถทำซ้ำได้สัปดาห์ละครั้ง ถ้าทามากไป ให้ใช้แป้งทาผสมเพื่อเอากรดที่มากเกินออก

หรือ

Surgical removal

โดยใช้วิธี excision , curettage หรือจี้ไฟฟ้าตัดแต่  ห้ามใช้ในผู้ที่ใส่  cardiac pacemaker และห้ามใช้ใกล้ปากทวารหนัก

Alternative Regimens

Intralesional interferon หรือ

Laser surgery

Recommended Regimens for Cervical Warts

ควรส่งตรวจ colposcopy เพื่อตรวจละเอียดว่าไม่มี high grade squamous intraepithelial lesion ซ่อนอยู่

Recommended Regimens for Vaginal Warts

Cryotherapy with liquid nitrogen หรือ

TCA or BCA 80%–90%

ใช้ทาปริมาณเล็กน้อยบริเวณหูด แล้วปล่อยให้แห้ง ซึ่งจะเกิดสีขาวปกคลุม สามารถทำซ้ำได้สัปดาห์ละครั้ง ถ้าทามากไป ให้ใช้แป้งทาผสมเพื่อเอากรดที่มากเกินออก

Recommended Regimens for Urethral Meatus Warts

Cryotherapy with liquid nitrogen หรือ

Podophyllin 10%–25% in compound tincture of benzoin.

บริเวณที่ทาต้องแห้งก่อน ทาซ้ำได้สัปดาห์ ละครั้ง

Recommended Regimens for Anal Warts

Cryotherapy with liquid nitrogen หรือ

TCA or BCA 80%–90% ใช้ทาปริมาณเล็กน้อยบริเวณหูด แล้วปล่อยให้แห้ง ซึ่งจะเกิดสีขาวปกคลุม สามารถทำซ้ำได้สัปดาห์ละครั้ง ถ้าทามากไป ให้ใช้แป้งทาผสมเพื่อเอากรดที่มากเกินออก หรือ

Surgical removal โดยผู้เชี่ยวชาญ

หญิงตั้งครรภ์ ถ้าพบหูดที่ช่องคลอดหรือปากมดลูก ให้คลอดได้ทางช่องคลอดถ้าไม่มี  obstructed labour จากหูดที่ใหญ่มากหรือ มี  obstetric indication  ทารกที่คลอดทางช่องคลอด อาจจะเกิด  laryngeal papilloma ได้

 

Read More