คู่มือการเรียน Extern 2561

การเรียนการสอน extern ของภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
ประจำปีการศึกษา 2561


การจัด rotation

แบ่งเป็น ภาควิชาฯ 4 สัปดาห์
รพ. สมทบ 4 สัปดาห์

การเรียนการสอนเมื่อ นศพ. มาฝึกปฏิบัติงานที่ภาควิชาสูติฯ (จำนวน นศพ. 19-20 คน ต่อกลุ่ม ต่อ 4 สัปดาห์)

จะแบ่ง นศพ. เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่ม A : รพ.ฝาง = 2-3 คน และ รพ. จอมทอง = 2-3 คน รวม 4-6 คน
กลุ่ม B : ในภาควิชา 14-16 คน

Activity กลุ่ม A&B

  1. Orientation รวมวันแรกที่ขึ้น (7:30-8:00)
  2. lecture จัดรวมทั้ง กลุ่ม A&B (8:00-12:00)
    • จัดสอนรวมวันแรกที่ orientate
    • พักเบรกช่วง 10.00- 10.20 น. (หลังชั่วโมงที่สอง)
      1. Common problems in OB   อ. เฟื่องลดา ทองประเสริฐ
      2. Common problems in GYN   อ. ประภาพร สู่ประเสริฐ
      3. Emergency OB   อ. เกษมศรี ศรีสุพรรณดิฐ
      4. Family planning & HRT   อ. อุษณีย์ แสนหมี่ (มีเอกสารขึ้น website ภาควิชา)
      5. Basic OB-GYN procedure อ. เศรษฐวัฒก์ เศรษฐเสถียร
        หัวข้อที่ 1-3 มีอยู่ในหนังสือ emergency extern แล้ว หาดูได้จาก Website ภาควิชา
  3. การสอบ MEQ ลงกอง 2 ข้อ (นรีเวชวิทยา 1 ข้อ สูติศาสตร์ 1 ข้อ) วันศุกร์สุดท้ายของการปฏิบัติงาน (8.00-9.00)
  4. การสาธิตหัตถการ วันศุกร์สุดท้ายของการปฏิบัติงาน (9:00-12:00) ควบคุมโดย อ. อุบล แสงอนันต์
    โดยแบ่งกลุ่มให้นักศึกษา (2-3 คน ต่อกลุ่ม) และจับฉลากหัตถการในวันแรกที่ orientate และกลับมาแสดงหัตถการหน้าชั้นตามที่จับสลากได้ โดยใช้เวลาหัตถการละ 5 – 10 นาที หัวข้อสำหรับสาธิตหัตถการ ได้แก่
    1. Pap smear preparation and pelvic examination
    2.  Leopold maneuver
    3. Cervical dilatation assessment and amniotomy
    4. Vacuum extraction
    5. Manual removal of placenta
    6. Shoulder dystocia
    7. Nuchal cord
    8. Removal of FB from vaginal in adult
    9. Vaginal packing
    10. Marsupialization of Bartholin abcess
    11. Multiload IUD insertion
    12. Implant contraception (Jardell®)
    13. Advise how to use oral contraceptive pills
    14. Cervical polypectomy
    15. Placental delivery and perineorrhaphy

Activity เฉพาะกลุ่ม A (รพ.ฝาง และ จอมทอง)

1. จัดกิจกรรมให้ นศพ. ได้ทำ อย่างน้อยตาม Log book ดังนี้

  1. ได้ทำ PV / Pap smear 3 ราย
  2. ได้ตรวจ ANC 3 ราย
  3. ได้ทำหรือช่วย normal labor 2 ราย
  4. ได้ทำหรือช่วย amniotomy 1 ราย
  5. ได้ช่วยผ่าตัดคลอด 1 ราย
  6. ได้ทำหรือช่วย ATR 1 ราย
  7. ได้ทำ D&C หรือ F/C หรือ endometrial sampling หรือ MVA 1 ราย
  8.  ได้ช่วยการผ่าตัดทางนรีเวช 1 ราย
  9. ได้ทำหรือช่วยทำหัตถการอื่น ๆ เช่น V/E, F/E, biopsy, marsupialization, polypectomy, gynecologic surgery, ใส่ห่วง, ฉีดยาคุม, ฝังยาคุม เป็นต้น 2 ราย

2. จัดทำ topic presentation 2-3 คนต่อเรื่อง (อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม)

3. เขียนรายงานสูติ หรือ gyne 1 ฉบับ (ส่งอาจารย์ที่ภาควิชาฯประเมิน) ให้เขียนในกระดาษ A4 ส่งพร้อม log book วันศุกร์สุดท้าย ที่เข้ามาสอบ MEQ โดยให้เซ็นในสมุดรับ ส่ง ไว้เป็นหลักฐาน โดยมีรูปแบบดังนี้ : patient profile, chief complaint, present illness, past history, family history, physical exam, pelvic exam, impression, discussion (เช่น differential diagnosis, plan of investigation, plan of management)

4. ภาควิชาจัดเวรให้ โดยถ้ามีความจำเป็นต้องแลกเวร ให้แจ้งอาจารย์ รพ. สมทบ ให้เรียบร้อย

5. ส่ง log book และรายงานที่ภาควิชาฯ ในวันศุกร์สุดท้ายของการฝึกปฏิบัติงานหรือวันที่กำหนดตามความเหมาะสม โดยให้เซ็นในสมุดรับ ส่ง ไว้เป็นหลักฐาน

6. รายละเอียดการให้คะแนน

{tabulizer:style[gr.alterora.elemental_1_blue.css]}

Knowledge (subjective) Skill Attitude
การปฏิบัติงานในจุดต่างๆ  และอยู่เวร 25
การทำ topic presentation 10 5
การนำเสนอหัตถการ 5 10
การประเมินจำนวนหัตถการจาก Logbook 30
การประเมินคุณภาพหัตถการ 5
การเขียนรายงาน 1 ฉบับ 10
รวม 25 45 30

7. การลา

  • ไม่เกินร้อยละ 20 ของเวลาเรียน
  • กรณีลาป่วยตั้งแต่ 2 วันขึ้นไปให้ส่งใบรับรองแพทย์ด้วย
  • กรณีลากิจต้องแจ้งอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อเซ็นรับรองอย่างน้อย 1 สัปดาห์ และต้องแลกเวรให้เรียบร้อยก่อน (ในกรณีฉุกเฉิน อนุโลมให้โทรศัพท์แจ้งก่อนได้)

กิจกรรมทีทาง รพ. ฝาง และ จอมทอง ต้องจัดให้คือ

  1. จัด orientation เพื่อทำความเข้าใจ การเรียน การสอน
  2. จัดสอน ultrasound OB&GYN
  3. คุม topic (อาจจะทำเป็น case presentation) และให้คะแนน
  4. ตรวจสอบว่า นศพ. ทำกิจกรรมตาม log book โดยเซ็นชื่อกำกับทุกครั้ง
  5.  ตรวจสอบการอยู่เวรจัดเวรของ นศพ
  6. ประเมิน
    • คุณภาพหัตถการ
    • คะแนน topic presentation
    • ประเมินจิตพิสัยรวม (ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ฯลฯ)
  7. จัดที่พัก
  8. ให้ นศพ. ส่งงานที่ภาควิชา (โดยให้เซ็นชื่อรับส่งที่คุณสุรพรด้วย)
    • รายงานผู้ป่วยสูติหรือนรีเวชคนละ 1 ฉบับ
    • log book
  9. รพ.ฝางและจอมทอง รับผิดชอบส่ง (fax/ scan)
    • ใบคะแนน นศพ.
  10. วันก่อนสอบลงกอง MEQ ภาควิชา นศพ.ที่ จอมทอง และ ฝางให้เดินทางกลับภาควิชาได้ตั้งแต่ 15.00 น. เป็นต้นไป

Activity เฉพาะกลุ่ม B (ในภาควิชาฯ)

1. การปฏิบัติงานในจุดต่างๆ
จำนวนนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 ปฏิบัติงานในภาควิชา 14-16 คนต่อกลุ่มต่อ 4 สัปดาห์ แบ่งเป็นกลุ่มย่อย 4 กลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน หมุนเวียนปฏิบัติงานตามจุดต่างๆ ทุกสัปดาห์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1. Ward OB-LR

  • รับผิดชอบ round ward OB, LR, ER-OB, OR (C/S,TR) วันจันทร์ถึงศุกร์
  • Round ward OB วันหยุดราชการ
  • ทำงานตามที่ได้รับมอบหมายจากแพทย์ประจำบ้าน
  • ต้องมีลายเซ็น หัวหน้าแพทย์ประจำบ้าน/ ผู้แทน ของ ward OB เซ็นชื่อทุกวันที่ไป round ward ในสมุดนี้
  • เขียนรายงานผู้ป่วยสูติกรรม 1 ฉบับ
  • ตรงเวลา

2. OPD ANC

  • รับผิดชอบออกตรวจ OPD ANC (OPD 4) วันจันทร์ถึงศุกร์ (9:00-16:00 น.)
  • Teaching U/S คนละ 1 ครั้ง ในวันอังคาร (14.00 – 15.00) หรือ วันพฤหัสบดี (13.00 – 14.00 น.) หมุนวนตามตารางที่แนบให้
  • Observe ultrasound คนละ 1 ครั้ง ช่วง 9.00 – 12.00 น. หมุนวนตามตารางที่แนบให้
  • ตรงเวลา

3. Ward GYN

  • รับผิดชอบ round ward GYN, OR วันจันทร์ถึงศุกร์
  • Round ward GYN วันหยุดราชการ
  • ทำงานตามที่ได้รับมอบหมายจากแพทย์ประจำบ้าน
  • ต้องมีลายเซ็น หัวหน้าแพทย์ประจำบ้าน/ ผู้แทน ของ ward gyne เซ็นชื่อทุกวันที่ไป round ward ในสมุดนี้
  • ตรงเวลา

4. OPD GYN

  • รับผิดชอบออกตรวจ OPD GYN (OPD 3) ในวันจันทร์ถึงศุกร์ (9.00-16.00 น.) ยกเว้นได้รับมอบหมายให้ไปอยู่จุดอื่นตามตารางที่แนบให้
  • Observe OPD menopause (OPD 5) ในวันพุธเช้า และศุกร์เช้า (8.00 – 12.00น.)
  • Observe onco clinic (OPD 3) และ observe infertility and endocrine clinic (OPD 5) ในวันอังคาร หรือ วันพฤหัสบดี (13.00–15.30 น.) ตามตารางที่แนบให้
  • ตรงเวลา

หมายเหตุ
กรณีที่มีวันหยุดราชการเพิ่มเติม นอกเหนือจากวันเสาร์-อาทิตย์ อาจมีการเปลี่ยนแปลงการหมุนเวียนภายในแต่ละจุดได้ตามความเหมาะสม

2. การฝึกปฏิบัติกับหุ่นจำลอง (sim-mom) ในหัวข้อเรื่อง emergency in OB และการฝึกเย็บ perineum ในวันพุธ (13.00-15.00 น.) โดยให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมตามวันและเวลาที่ภาควิชาฯ กำหนด

3. การทำ case conference  

ให้นักศึกษาแบ่ง 2 กลุ่มเพื่อทำ case conference จำนวน 2 เคส (สูติ 1 เคส และ นรีเวช 1 เคส) โดยเตรียมนำเสนอและอภิปรายให้อาจารย์ที่ orientate ประจำกลุ่มนั้นๆ ประเมินตามวันและเวลาที่กำหนด (ประมาณสัปดาห์ที่ 3 ใช้เวลาประมาณ ½ – 1 ชั่วโมงต่อกลุ่ม)

Extern corner

(ไม่คิดเป็นคะแนน) เพื่อเปิดโอกาสให้ extern สอบถามข้อสงสัยทางวิชาการและแสดงความเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนและการทำงานในภาควิชา จัดในวันทำ case conference

 

4. การอยู่เวร

  • เวรวันทำการและวันหยุด วันละ 4 คน
  1. ER-OB 2 คน
  2. LR 2 คน
    • การแลกเวรให้แจ้งอาจารย์ที่ orientation รับทราบก่อนทุกครั้ง ไม่อนุญาตให้อยู่เวรติดกัน
    • วันราชการรับ-ส่งเวร เวลา 16.00 น. (จันทร์,พุธ,ศุกร์) และ 16.30 น. (อังคาร,พฤหัสบดี)และ วันหยุดราชการ รับ-ส่งเวร เวลา 8.00 น. ในห้องคลอด
    • วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือน ถ้าต้องย้ายไปอยู่ภาควิชาอื่น (ในคณะ) ให้ลงเวรเวลา 6.00 น.ของวันจันทร์ แต่ถ้าต้องย้ายไปอยู่รพ.สมทบ ให้ลงเวรเวลา 24.00 น. (ให้ตรวจสอบในวัน orientation อีกที และแลกเวรให้เรียบร้อย)
    • ต้องมีลายเซ็นหัวหน้าแพทย์ประจำบ้านที่อยู่เวรวันนั้น
    • การอยู่เวร กรณีพิเศษ (กำหนดการนี้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม)
      1.  อยู่เวรก่อนสอบลง loop ให้อยู่ถึงเที่ยงคืน วันก่อนสอบ และในวันสอบไม่ต้องอยู่เวร (เนื่องจากวันรุ่งขึ้นจะต้องมีการสอบ loop ภาคอื่นด้วย) หลังจากสอบลง loop ครบ ต้องกลับมาอยู่เวรต่อ
      2. อยู่เวรก่อนสอบ MEQ ศรว, OSCE ศรว, OSCE ซ้อมสอบ ให้งดเวรวันก่อนสอบตั้งแต่ 16:00 น. และในวันสอบไม่ต้องอยู่เวร
      3. วัน bye grand ให้งดเวรตั้งแต่ 16:00 น. กลับมาอยู่เวรตามปกติในวันถัดไป
      4. งดเวรวัน OSCE camp
      5. วันปัจฉิมนิเทศให้ลงเวร 6.00 น เช้า

5. Activity ของภาควิชา ที่กำหนดให้ต้องเข้าร่วม

  • Morning conference ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 7.00-8.00 น.
  • ICC/MM conference ทุกวันจันทร์ เวลา 13.00-14.30 น.
  • Journals/Topic reviews ทุกวันอังคารและพฤหัสบดี เวลา 15.30-16.30 น.
  • RM/MFM/ONCO conference, Research ทุกวันศุกร์ เวลา 13.00-14.30 น.
  • ต้องมีลายเซ็นแพทย์ประจำบ้านที่เข้า conference วันนั้นๆ

กรณีไม่ได้เข้าร่วม activity เช่น เข้าห้องผ่าตัด หรือทำคลอด ให้แจ้งเหตุผลพร้อมลายเซ็นของอาจารย์หรือแพทย์ประจำบ้านที่ควบคุมในช่วงเวลานั้นๆ ด้วย

6. การเขียนรายงาน

ให้เขียนรายงานผู้ป่วยรับใหม่สูติหรือนรีเวชจำนวน 1 ฉบับ โดยเขียนในกระดาษรายงานหรือกระดาษ A4 ไม่เกิน 3 แผ่น หรือ 6 หน้ากระดาษ (ไม่รวม partogram, ANC record) โดยมีรูปแบบดังนี้ : patient profile, chief complaint, present illness, past history, family history, physical exam, pelvic exam, problem lists, discussion (เช่น differential diagnosis, plan of investigation, plan of management), สรุป progression

7. การลา

  • ไม่เกินร้อยละ 20 ของเวลาเรียน
  • กรณีลาป่วยตั้งแต่ 2 วันขึ้นไปให้ส่งใบรับรองแพทย์ด้วย
  • กรณีลากิจต้องแจ้งอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อเซ็นรับรองอย่างน้อย 1 สัปดาห์ และต้องแลกเวรให้เรียบร้อยก่อน (ในกรณีฉุกเฉิน อนุโลมให้โทรศัพท์แจ้งก่อนได้)

8. การประเมินหัตถการจาก logbook

• ให้นักศึกษาทำหัตถการตาม minimal requirement ดังต่อไปนี้

  1.  ได้ทำ PV / Pap smear 3 ราย
  2.  ได้ตรวจ ANC 3 ราย
  3. ได้ทำหรือช่วย normal labor 2 ราย
  4.  ได้ทำ amniotomy 1 ราย
  5.  ได้ช่วยผ่าตัดคลอด 1 ราย
  6. ได้ทำหรือช่วย ATR 1 ราย
  7. ได้ทำ D&C หรือ F/C หรือ endometrial sampling หรือ MVA 1 ราย
  8. ได้ช่วยการผ่าตัดทางนรีเวช 1 ราย
  9.  ได้ทำหรือช่วยทำหัตถการอื่น ๆ เช่น V/E, F/E, biopsy, marsupialization, polypectomy, gynecologic surgery, ใส่ห่วง, ฉีดยาคุม, ฝังยาคุม เป็นต้น 2 ราย

กรณีที่ไม่มีหัตถการที่ระบุในช่วงผึกปฎิบัติงาน จะพิจารณาเพิ่มคะแนนตามจำนวนหัตถการที่ได้ทำเพิ่มเติมจากที่ระบุในข้อ 3-9

ส่งสมุดบันทึกการปฏิบัติงาน (log book) และรายงานไม่เกิน 3 วัน (วันพุธ) นับจากสิ้นสุดการปฏิบัติงานในภาควิชาสูติฯ ที่คุณสุรพร โดยต้องมีการเซ็นชื่อในสมุดรับส่ง เพื่อยืนยันว่าส่งจริง ส่งช้ากว่ากำหนด หักคะแนนวันละ 1 คะแนน ส่งช้าเกิน 2 เดือนให้ 0 คะแนน (จะโทรตามสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพียง 2 สัปดาห์ เท่านั้น)

9. รายละเอียดการให้คะแนน

การประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) แบ่งเป็นการประเมินในหัวข้อดังต่อไปนี้ โดยสัดส่วนคะแนนที่ได้มาจากการเรียนการสอน การสอบ และการเข้าร่วมกิจกรรมของภาควิชา ดังแสดงในตาราง

{tabulizer:style[gr.alterora.elemental_1_blue.css]}

Knowledge (subjective) Skill Attitude
การปฏิบัติงานในจุดต่างๆ  และอยู่เวร 25
การเข้า conference 5 5
การนำเสนอหัตถการ 5 10
การเขียนรายงาน 2 ฉบับ 20
การประเมินจำนวนหัตถการจาก Logbook 30
รวม 25 45 30

หมายเหตุ:

  • เจตคติ ถ้าระหว่างปฏิบัติงาน มีเรื่องร้องเรียน เช่น ทุจริต ไม่ซื่อสัตย์ มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม อาจจะถือว่าไม่ผ่านการประเมิน และ นำเรื่องเข้าพิจารณาในที่ประชุมภาควิชาฯ อีกที
  • ในวันสอบลงกองของภาควิชาสูติฯ ให้ปฏิบัติงานและเข้า conference ตามปกติ และมาสอบในเวลาที่กำหนด

การฝึกปฏิบัติงาน ณ โรงพยาบาลสมทบ

รายนาม รพ. สมทบ

  • รพ. เชียงรายประชานุเคราะห์
  • รพ. ลำพูน
  • รพ. ลำปาง
  • รพ. นครพิงค์
  • รพ. น่าน
  • รพ. แม่สอด

1. การจัดการเรียน การสอน

• ให้ นศพ. ได้มีการหมุนเวียนในการดูแลผู้ป่วย สูติกรรม และ นรีเวชกรรม โดยมีโอกาสได้ทำ minimal requirement ตามที่กำหนดไว้ดังนี้ โดยนศพ. จะต้องจดบันทึกการทำหัตถการในแผ่นพับ log book และขอให้อาจารย์ผู้ควบคุมเซ็นชื่อด้วยเพื่อยืนยันว่า นศพ. ทำจริงๆ

1. PV (pap) 5 ราย
2. ตรวจ ANC 2 ราย
3. ช่วยผ่าตัด gyne 3 ราย
4. ช่วยหรือทำ normal labor 3 ราย
5. ช่วยหรือทำ amniotomy 3 ราย
6. ช่วยหรือทำ curette (FC หรือ D&C หรือ endometrial sampling) 3 ราย
7. ช่วยทำหมัน 3 ราย
8. ช่วยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง 5 ราย
9. หัตถการอื่นๆ (เช่น V/E, F/E, ใส่ห่วง ฉีดยาคุม cervical biopsy, polypectomy เป็นต้น) 3 ราย

• จัดทำ case discussion หรือ Journal club เดือนละ 1 ครั้ง
• ทางภาควิชาฯ มีตัวอย่างลายเซ็นอาจารย์ รพ. สมทบ ทุกท่าน เพื่อใช้ตรวจสอบกับลายเซ็นในแผ่นพับ log book
• ทางภาควิชาฯ จะแจก log book รพ. สมทบให้ในวัน orientation รวม ของคณะ กรณีที่ นศพ. ทำ แผ่นพับ log book หาย ให้ download ได้จาก website ภาควิชาสูติศาสตร์ฯ

2. ทางรพ. สมทบ จะจัดทำสมุด รับ ส่ง แผ่นพับ log book เพื่อป้องกันปัญหาว่า นศพ. ได้ส่งจริงหรือไม่ ขอให้ทาง นศพ เซ็นชื่อ ร่วมกับ เจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นหลักฐานว่าส่งใน วัน เวลา ดังกล่าว จริงๆ และขอให้ทาง นศพ.ถ่ายรูปเก็บไว้เป็นหลักฐานกรณี log book สูญหาย

3. เกณฑ์การประเมิน

  • คะแนนส่วน skill 50 คะแนน

ประเมินจาก การทำ / ช่วย หัตถการต่างๆ

  • คะแนนส่วน attitude 20 คะแนน

ประเมินจาก

    • ความรับผิดชอบ
    • การตรงต่อเวลา (การออก OPD, OR, on call, etc)
    • ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
    • เจตคติ เช่น มนุษยสัมพันธ์กับผู้ป่วย , ญาติผู้ป่วย และผู้ร่วมงานทุกระดับ,จริยธรรม
    • คะแนนอีก 30 คะแนน จะมาจากการนับ case ใน log book (attitude) ที่มีลายเซ็นอาจารย์ โดยถ้าทำได้ครบตาม minimal requirement จะได้เต็ม 30 คะแนน โดยทางภาควิชาฯ จะเป็นผู้นับคะแนนส่วนนี้เอง

*ถ้ามีปัญหาขณะฝึกอบรมที่ รพ. สมทบ ให้ติดต่อ คุณ สุรพร ที่ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา โทร 053-935552-5, 081-7467187

การประเมินผลรวม

การประเมินเพื่อตัดเกรดปลายปี มีคะแนนมาจาก 4 ส่วน

{tabulizer:style[gr.alterora.elemental_1_blue.css]}

ที่มาของคะแนน เกณฑ์การตัดเกรด (น้ำหนักคะแนน) ถ้าไม่ผ่าน ทำอย่างไร
1. ภาควิชาเอง MPL 60%, T score (40%) ปฏิบัติงานเพิ่ม 10-14 วัน
2. รพ สมทบ MPL 60%, T score (40%) ปฏิบัติงานเพิ่ม 10-14 วัน
3.  MCQ ตกคือ mean < -2SD (15%) สอบ MCQ
4. MEQ ตกคือ mean < -2SD (5%) ของแต่ละกลุ่ม สอบ MEQ *

หมายเหตุ
ถ้าซ่อม ข้อ 1-3 ผ่านให้เกรด C ,ซ่อมไม่ผ่าน (อันใดอันหนึ่ง หรือ ทั้ง 2 อัน)ให้ D+, ถ้าไม่ซ่อมให้ F
การซ่อม MEQ ให้ตามมาซ่อมช่วงที่มาสอบลง loop โดยสอบข้อสอบเดิมที่เคยสอบ 2 ข้อ หากผ่าน เกณฑ์ MPL ที่กำหนดไว้เดิมจะได้คะแนนเท่ากับคะแนนดิบเดิมที่ได้ไปคิด T-score

แหล่งความรู้

คู่มือด้านความรู้ สามารถ download ได้ที่ website ของภาควิชาฯ


บทส่งท้าย

1. มีผู้กล่าวว่า “ในโลกนี้ไม่มีใครสอนอะไรใครได้” เพราะการเรียนรู้นั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้เรียนมีความสนใจอยากรู้ ครูจึงมีหน้าที่เร้าใจให้ผู้เรียนอยากเรียน

2. สิ่งที่ผู้เรียนควรจะได้เรียนไปพร้อมกัน คือ “วิธีเรียน” เนื้อหาของวิชาการต่างๆในโลกนี้มีปริมาณมาก และนับวันจะเพิ่มขึ้นทุกขณะ ถ้าผู้เรียนไม่รู้วิธีเรียน ก็จะไม่สามารถเรียนด้วยตนเองต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังคำกล่าวที่ว่า “ครูจะช่วยให้นักเรียนรู้วิธีตกปลา แต่มิใช่จับปลามาให้นักเรียน”

3. ความสำเร็จในการเรียน ก็ยังคงอาศัยหลักง่ายๆ ถ้าเพียงผู้เรียนได้ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ คือ

  • ความพอใจ ความสนุกที่จะเรียน
  • ความมานะพยายาม ขยันหมั่นเพียร หนักเอา เบาสู้
  • ความสนใจ เอาใจใส่สม่ำเสมอ ไม่ทอดทิ้ง
  • ความใคร่ครวญพินิจพิจารณาด้วยปัญญาอยู่เสมอ โดยปราศจาก “อคติ” ทั้งปวง

“ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการเรียนรู้วิชานี้ และวิชาอื่นๆ ต่อไป”

ปรับปรุงโดยกลุ่มคณาจารย์ปี 6
เมษายน 2561

Read More

คู่มือการเรียน Extern 2561

การเรียนการสอน extern ของภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
ประจำปีการศึกษา 2561


การจัด rotation

แบ่งเป็น ภาควิชาฯ 4 สัปดาห์
รพ. สมทบ 4 สัปดาห์

การเรียนการสอนเมื่อ นศพ. มาฝึกปฏิบัติงานที่ภาควิชาสูติฯ (จำนวน นศพ. 19-20 คน ต่อกลุ่ม ต่อ 4 สัปดาห์)

จะแบ่ง นศพ. เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่ม A : รพ.ฝาง = 2-3 คน และ รพ. จอมทอง = 2-3 คน รวม 4-6 คน
กลุ่ม B : ในภาควิชา 14-16 คน

Activity กลุ่ม A&B

  1. Orientation รวมวันแรกที่ขึ้น (7:30-8:00)
  2. lecture จัดรวมทั้ง กลุ่ม A&B (8:00-12:00)
    • จัดสอนรวมวันแรกที่ orientate
    • พักเบรกช่วง 10.00- 10.20 น. (หลังชั่วโมงที่สอง)
      1. Common problems in OB   อ. เฟื่องลดา ทองประเสริฐ
      2. Common problems in GYN   อ. ประภาพร สู่ประเสริฐ
      3. Emergency OB   อ. เกษมศรี ศรีสุพรรณดิฐ
      4. Family planning & HRT   อ. อุษณีย์ แสนหมี่ (มีเอกสารขึ้น website ภาควิชา)
      5. Basic OB-GYN procedure อ. เศรษฐวัฒก์ เศรษฐเสถียร
        หัวข้อที่ 1-3 มีอยู่ในหนังสือ emergency extern แล้ว หาดูได้จาก Website ภาควิชา
  3. การสอบ MEQ ลงกอง 2 ข้อ (นรีเวชวิทยา 1 ข้อ สูติศาสตร์ 1 ข้อ) วันศุกร์สุดท้ายของการปฏิบัติงาน (8.00-9.00)
  4. การสาธิตหัตถการ วันศุกร์สุดท้ายของการปฏิบัติงาน (9:00-12:00) ควบคุมโดย อ. อุบล แสงอนันต์
    โดยแบ่งกลุ่มให้นักศึกษา (2-3 คน ต่อกลุ่ม) และจับฉลากหัตถการในวันแรกที่ orientate และกลับมาแสดงหัตถการหน้าชั้นตามที่จับสลากได้ โดยใช้เวลาหัตถการละ 5 – 10 นาที หัวข้อสำหรับสาธิตหัตถการ ได้แก่
    1. Pap smear preparation and pelvic examination
    2.  Leopold maneuver
    3. Cervical dilatation assessment and amniotomy
    4. Vacuum extraction
    5. Manual removal of placenta
    6. Shoulder dystocia
    7. Nuchal cord
    8. Removal of FB from vaginal in adult
    9. Vaginal packing
    10. Marsupialization of Bartholin abcess
    11. Multiload IUD insertion
    12. Implant contraception (Jardell®)
    13. Advise how to use oral contraceptive pills
    14. Cervical polypectomy
    15. Placental delivery and perineorrhaphy

Activity เฉพาะกลุ่ม A (รพ.ฝาง และ จอมทอง)

1. จัดกิจกรรมให้ นศพ. ได้ทำ อย่างน้อยตาม Log book ดังนี้

  1. ได้ทำ PV / Pap smear 3 ราย
  2. ได้ตรวจ ANC 3 ราย
  3. ได้ทำหรือช่วย normal labor 2 ราย
  4. ได้ทำหรือช่วย amniotomy 1 ราย
  5. ได้ช่วยผ่าตัดคลอด 1 ราย
  6. ได้ทำหรือช่วย ATR 1 ราย
  7. ได้ทำ D&C หรือ F/C หรือ endometrial sampling หรือ MVA 1 ราย
  8.  ได้ช่วยการผ่าตัดทางนรีเวช 1 ราย
  9. ได้ทำหรือช่วยทำหัตถการอื่น ๆ เช่น V/E, F/E, biopsy, marsupialization, polypectomy, gynecologic surgery, ใส่ห่วง, ฉีดยาคุม, ฝังยาคุม เป็นต้น 2 ราย

2. จัดทำ topic presentation 2-3 คนต่อเรื่อง (อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม)

3. เขียนรายงานสูติ หรือ gyne 1 ฉบับ (ส่งอาจารย์ที่ภาควิชาฯประเมิน) ให้เขียนในกระดาษ A4 ส่งพร้อม log book วันศุกร์สุดท้าย ที่เข้ามาสอบ MEQ โดยให้เซ็นในสมุดรับ ส่ง ไว้เป็นหลักฐาน โดยมีรูปแบบดังนี้ : patient profile, chief complaint, present illness, past history, family history, physical exam, pelvic exam, impression, discussion (เช่น differential diagnosis, plan of investigation, plan of management)

4. ภาควิชาจัดเวรให้ โดยถ้ามีความจำเป็นต้องแลกเวร ให้แจ้งอาจารย์ รพ. สมทบ ให้เรียบร้อย

5. ส่ง log book และรายงานที่ภาควิชาฯ ในวันศุกร์สุดท้ายของการฝึกปฏิบัติงานหรือวันที่กำหนดตามความเหมาะสม โดยให้เซ็นในสมุดรับ ส่ง ไว้เป็นหลักฐาน

6. รายละเอียดการให้คะแนน

{tabulizer:style[gr.alterora.elemental_1_blue.css]}

Knowledge (subjective) Skill Attitude
การปฏิบัติงานในจุดต่างๆ  และอยู่เวร 25
การทำ topic presentation 10 5
การนำเสนอหัตถการ 5 10
การประเมินจำนวนหัตถการจาก Logbook 30
การประเมินคุณภาพหัตถการ 5
การเขียนรายงาน 1 ฉบับ 10
รวม 25 45 30

7. การลา

  • ไม่เกินร้อยละ 20 ของเวลาเรียน
  • กรณีลาป่วยตั้งแต่ 2 วันขึ้นไปให้ส่งใบรับรองแพทย์ด้วย
  • กรณีลากิจต้องแจ้งอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อเซ็นรับรองอย่างน้อย 1 สัปดาห์ และต้องแลกเวรให้เรียบร้อยก่อน (ในกรณีฉุกเฉิน อนุโลมให้โทรศัพท์แจ้งก่อนได้)

กิจกรรมทีทาง รพ. ฝาง และ จอมทอง ต้องจัดให้คือ

  1. จัด orientation เพื่อทำความเข้าใจ การเรียน การสอน
  2. จัดสอน ultrasound OB&GYN
  3. คุม topic (อาจจะทำเป็น case presentation) และให้คะแนน
  4. ตรวจสอบว่า นศพ. ทำกิจกรรมตาม log book โดยเซ็นชื่อกำกับทุกครั้ง
  5.  ตรวจสอบการอยู่เวรจัดเวรของ นศพ
  6. ประเมิน
    • คุณภาพหัตถการ
    • คะแนน topic presentation
    • ประเมินจิตพิสัยรวม (ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ฯลฯ)
  7. จัดที่พัก
  8. ให้ นศพ. ส่งงานที่ภาควิชา (โดยให้เซ็นชื่อรับส่งที่คุณสุรพรด้วย)
    • รายงานผู้ป่วยสูติหรือนรีเวชคนละ 1 ฉบับ
    • log book
  9. รพ.ฝางและจอมทอง รับผิดชอบส่ง (fax/ scan)
    • ใบคะแนน นศพ.
  10. วันก่อนสอบลงกอง MEQ ภาควิชา นศพ.ที่ จอมทอง และ ฝางให้เดินทางกลับภาควิชาได้ตั้งแต่ 15.00 น. เป็นต้นไป

Activity เฉพาะกลุ่ม B (ในภาควิชาฯ)

1. การปฏิบัติงานในจุดต่างๆ
จำนวนนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 ปฏิบัติงานในภาควิชา 14-16 คนต่อกลุ่มต่อ 4 สัปดาห์ แบ่งเป็นกลุ่มย่อย 4 กลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน หมุนเวียนปฏิบัติงานตามจุดต่างๆ ทุกสัปดาห์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1. Ward OB-LR

  • รับผิดชอบ round ward OB, LR, ER-OB, OR (C/S,TR) วันจันทร์ถึงศุกร์
  • Round ward OB วันหยุดราชการ
  • ทำงานตามที่ได้รับมอบหมายจากแพทย์ประจำบ้าน
  • ต้องมีลายเซ็น หัวหน้าแพทย์ประจำบ้าน/ ผู้แทน ของ ward OB เซ็นชื่อทุกวันที่ไป round ward ในสมุดนี้
  • เขียนรายงานผู้ป่วยสูติกรรม 1 ฉบับ
  • ตรงเวลา

2. OPD ANC

  • รับผิดชอบออกตรวจ OPD ANC (OPD 4) วันจันทร์ถึงศุกร์ (9:00-16:00 น.)
  • Teaching U/S คนละ 1 ครั้ง ในวันอังคาร (14.00 – 15.00) หรือ วันพฤหัสบดี (13.00 – 14.00 น.) หมุนวนตามตารางที่แนบให้
  • Observe ultrasound คนละ 1 ครั้ง ช่วง 9.00 – 12.00 น. หมุนวนตามตารางที่แนบให้
  • ตรงเวลา

3. Ward GYN

  • รับผิดชอบ round ward GYN, OR วันจันทร์ถึงศุกร์
  • Round ward GYN วันหยุดราชการ
  • ทำงานตามที่ได้รับมอบหมายจากแพทย์ประจำบ้าน
  • ต้องมีลายเซ็น หัวหน้าแพทย์ประจำบ้าน/ ผู้แทน ของ ward gyne เซ็นชื่อทุกวันที่ไป round ward ในสมุดนี้
  • ตรงเวลา

4. OPD GYN

  • รับผิดชอบออกตรวจ OPD GYN (OPD 3) ในวันจันทร์ถึงศุกร์ (9.00-16.00 น.) ยกเว้นได้รับมอบหมายให้ไปอยู่จุดอื่นตามตารางที่แนบให้
  • Observe OPD menopause (OPD 5) ในวันพุธเช้า และศุกร์เช้า (8.00 – 12.00น.)
  • Observe onco clinic (OPD 3) และ observe infertility and endocrine clinic (OPD 5) ในวันอังคาร หรือ วันพฤหัสบดี (13.00–15.30 น.) ตามตารางที่แนบให้
  • ตรงเวลา

หมายเหตุ
กรณีที่มีวันหยุดราชการเพิ่มเติม นอกเหนือจากวันเสาร์-อาทิตย์ อาจมีการเปลี่ยนแปลงการหมุนเวียนภายในแต่ละจุดได้ตามความเหมาะสม

2. การฝึกปฏิบัติกับหุ่นจำลอง (sim-mom) ในหัวข้อเรื่อง emergency in OB และการฝึกเย็บ perineum ในวันพุธ (13.00-15.00 น.) โดยให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมตามวันและเวลาที่ภาควิชาฯ กำหนด

3. การทำ case conference  

ให้นักศึกษาแบ่ง 2 กลุ่มเพื่อทำ case conference จำนวน 2 เคส (สูติ 1 เคส และ นรีเวช 1 เคส) โดยเตรียมนำเสนอและอภิปรายให้อาจารย์ที่ orientate ประจำกลุ่มนั้นๆ ประเมินตามวันและเวลาที่กำหนด (ประมาณสัปดาห์ที่ 3 ใช้เวลาประมาณ ½ – 1 ชั่วโมงต่อกลุ่ม)

Extern corner

(ไม่คิดเป็นคะแนน) เพื่อเปิดโอกาสให้ extern สอบถามข้อสงสัยทางวิชาการและแสดงความเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนและการทำงานในภาควิชา จัดในวันทำ case conference

 

4. การอยู่เวร

  • เวรวันทำการและวันหยุด วันละ 4 คน
  1. ER-OB 2 คน
  2. LR 2 คน
    • การแลกเวรให้แจ้งอาจารย์ที่ orientation รับทราบก่อนทุกครั้ง ไม่อนุญาตให้อยู่เวรติดกัน
    • วันราชการรับ-ส่งเวร เวลา 16.00 น. (จันทร์,พุธ,ศุกร์) และ 16.30 น. (อังคาร,พฤหัสบดี)และ วันหยุดราชการ รับ-ส่งเวร เวลา 8.00 น. ในห้องคลอด
    • วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือน ถ้าต้องย้ายไปอยู่ภาควิชาอื่น (ในคณะ) ให้ลงเวรเวลา 6.00 น.ของวันจันทร์ แต่ถ้าต้องย้ายไปอยู่รพ.สมทบ ให้ลงเวรเวลา 24.00 น. (ให้ตรวจสอบในวัน orientation อีกที และแลกเวรให้เรียบร้อย)
    • ต้องมีลายเซ็นหัวหน้าแพทย์ประจำบ้านที่อยู่เวรวันนั้น
    • การอยู่เวร กรณีพิเศษ (กำหนดการนี้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม)
      1.  อยู่เวรก่อนสอบลง loop ให้อยู่ถึงเที่ยงคืน วันก่อนสอบ และในวันสอบไม่ต้องอยู่เวร (เนื่องจากวันรุ่งขึ้นจะต้องมีการสอบ loop ภาคอื่นด้วย) หลังจากสอบลง loop ครบ ต้องกลับมาอยู่เวรต่อ
      2. อยู่เวรก่อนสอบ MEQ ศรว, OSCE ศรว, OSCE ซ้อมสอบ ให้งดเวรวันก่อนสอบตั้งแต่ 16:00 น. และในวันสอบไม่ต้องอยู่เวร
      3. วัน bye grand ให้งดเวรตั้งแต่ 16:00 น. กลับมาอยู่เวรตามปกติในวันถัดไป
      4. งดเวรวัน OSCE camp
      5. วันปัจฉิมนิเทศให้ลงเวร 6.00 น เช้า

5. Activity ของภาควิชา ที่กำหนดให้ต้องเข้าร่วม

  • Morning conference ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 7.00-8.00 น.
  • ICC/MM conference ทุกวันจันทร์ เวลา 13.00-14.30 น.
  • Journals/Topic reviews ทุกวันอังคารและพฤหัสบดี เวลา 15.30-16.30 น.
  • RM/MFM/ONCO conference, Research ทุกวันศุกร์ เวลา 13.00-14.30 น.
  • ต้องมีลายเซ็นแพทย์ประจำบ้านที่เข้า conference วันนั้นๆ

กรณีไม่ได้เข้าร่วม activity เช่น เข้าห้องผ่าตัด หรือทำคลอด ให้แจ้งเหตุผลพร้อมลายเซ็นของอาจารย์หรือแพทย์ประจำบ้านที่ควบคุมในช่วงเวลานั้นๆ ด้วย

6. การเขียนรายงาน

ให้เขียนรายงานผู้ป่วยรับใหม่สูติหรือนรีเวชจำนวน 1 ฉบับ โดยเขียนในกระดาษรายงานหรือกระดาษ A4 ไม่เกิน 3 แผ่น หรือ 6 หน้ากระดาษ (ไม่รวม partogram, ANC record) โดยมีรูปแบบดังนี้ : patient profile, chief complaint, present illness, past history, family history, physical exam, pelvic exam, problem lists, discussion (เช่น differential diagnosis, plan of investigation, plan of management), สรุป progression

7. การลา

  • ไม่เกินร้อยละ 20 ของเวลาเรียน
  • กรณีลาป่วยตั้งแต่ 2 วันขึ้นไปให้ส่งใบรับรองแพทย์ด้วย
  • กรณีลากิจต้องแจ้งอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อเซ็นรับรองอย่างน้อย 1 สัปดาห์ และต้องแลกเวรให้เรียบร้อยก่อน (ในกรณีฉุกเฉิน อนุโลมให้โทรศัพท์แจ้งก่อนได้)

8. การประเมินหัตถการจาก logbook

• ให้นักศึกษาทำหัตถการตาม minimal requirement ดังต่อไปนี้

  1.  ได้ทำ PV / Pap smear 3 ราย
  2.  ได้ตรวจ ANC 3 ราย
  3. ได้ทำหรือช่วย normal labor 2 ราย
  4.  ได้ทำ amniotomy 1 ราย
  5.  ได้ช่วยผ่าตัดคลอด 1 ราย
  6. ได้ทำหรือช่วย ATR 1 ราย
  7. ได้ทำ D&C หรือ F/C หรือ endometrial sampling หรือ MVA 1 ราย
  8. ได้ช่วยการผ่าตัดทางนรีเวช 1 ราย
  9.  ได้ทำหรือช่วยทำหัตถการอื่น ๆ เช่น V/E, F/E, biopsy, marsupialization, polypectomy, gynecologic surgery, ใส่ห่วง, ฉีดยาคุม, ฝังยาคุม เป็นต้น 2 ราย

กรณีที่ไม่มีหัตถการที่ระบุในช่วงผึกปฎิบัติงาน จะพิจารณาเพิ่มคะแนนตามจำนวนหัตถการที่ได้ทำเพิ่มเติมจากที่ระบุในข้อ 3-9

ส่งสมุดบันทึกการปฏิบัติงาน (log book) และรายงานไม่เกิน 3 วัน (วันพุธ) นับจากสิ้นสุดการปฏิบัติงานในภาควิชาสูติฯ ที่คุณสุรพร โดยต้องมีการเซ็นชื่อในสมุดรับส่ง เพื่อยืนยันว่าส่งจริง ส่งช้ากว่ากำหนด หักคะแนนวันละ 1 คะแนน ส่งช้าเกิน 2 เดือนให้ 0 คะแนน (จะโทรตามสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพียง 2 สัปดาห์ เท่านั้น)

9. รายละเอียดการให้คะแนน

การประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) แบ่งเป็นการประเมินในหัวข้อดังต่อไปนี้ โดยสัดส่วนคะแนนที่ได้มาจากการเรียนการสอน การสอบ และการเข้าร่วมกิจกรรมของภาควิชา ดังแสดงในตาราง

{tabulizer:style[gr.alterora.elemental_1_blue.css]}

Knowledge (subjective) Skill Attitude
การปฏิบัติงานในจุดต่างๆ  และอยู่เวร 25
การเข้า conference 5 5
การนำเสนอหัตถการ 5 10
การเขียนรายงาน 2 ฉบับ 20
การประเมินจำนวนหัตถการจาก Logbook 30
รวม 25 45 30

หมายเหตุ:

  • เจตคติ ถ้าระหว่างปฏิบัติงาน มีเรื่องร้องเรียน เช่น ทุจริต ไม่ซื่อสัตย์ มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม อาจจะถือว่าไม่ผ่านการประเมิน และ นำเรื่องเข้าพิจารณาในที่ประชุมภาควิชาฯ อีกที
  • ในวันสอบลงกองของภาควิชาสูติฯ ให้ปฏิบัติงานและเข้า conference ตามปกติ และมาสอบในเวลาที่กำหนด

การฝึกปฏิบัติงาน ณ โรงพยาบาลสมทบ

รายนาม รพ. สมทบ

  • รพ. เชียงรายประชานุเคราะห์
  • รพ. ลำพูน
  • รพ. ลำปาง
  • รพ. นครพิงค์
  • รพ. น่าน
  • รพ. แม่สอด

1. การจัดการเรียน การสอน

• ให้ นศพ. ได้มีการหมุนเวียนในการดูแลผู้ป่วย สูติกรรม และ นรีเวชกรรม โดยมีโอกาสได้ทำ minimal requirement ตามที่กำหนดไว้ดังนี้ โดยนศพ. จะต้องจดบันทึกการทำหัตถการในแผ่นพับ log book และขอให้อาจารย์ผู้ควบคุมเซ็นชื่อด้วยเพื่อยืนยันว่า นศพ. ทำจริงๆ

1. PV (pap) 5 ราย
2. ตรวจ ANC 2 ราย
3. ช่วยผ่าตัด gyne 3 ราย
4. ช่วยหรือทำ normal labor 3 ราย
5. ช่วยหรือทำ amniotomy 3 ราย
6. ช่วยหรือทำ curette (FC หรือ D&C หรือ endometrial sampling) 3 ราย
7. ช่วยทำหมัน 3 ราย
8. ช่วยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง 5 ราย
9. หัตถการอื่นๆ (เช่น V/E, F/E, ใส่ห่วง ฉีดยาคุม cervical biopsy, polypectomy เป็นต้น) 3 ราย

• จัดทำ case discussion หรือ Journal club เดือนละ 1 ครั้ง
• ทางภาควิชาฯ มีตัวอย่างลายเซ็นอาจารย์ รพ. สมทบ ทุกท่าน เพื่อใช้ตรวจสอบกับลายเซ็นในแผ่นพับ log book
• ทางภาควิชาฯ จะแจก log book รพ. สมทบให้ในวัน orientation รวม ของคณะ กรณีที่ นศพ. ทำ แผ่นพับ log book หาย ให้ download ได้จาก website ภาควิชาสูติศาสตร์ฯ

2. ทางรพ. สมทบ จะจัดทำสมุด รับ ส่ง แผ่นพับ log book เพื่อป้องกันปัญหาว่า นศพ. ได้ส่งจริงหรือไม่ ขอให้ทาง นศพ เซ็นชื่อ ร่วมกับ เจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นหลักฐานว่าส่งใน วัน เวลา ดังกล่าว จริงๆ และขอให้ทาง นศพ.ถ่ายรูปเก็บไว้เป็นหลักฐานกรณี log book สูญหาย

3. เกณฑ์การประเมิน

  • คะแนนส่วน skill 50 คะแนน

ประเมินจาก การทำ / ช่วย หัตถการต่างๆ

  • คะแนนส่วน attitude 20 คะแนน

ประเมินจาก

    • ความรับผิดชอบ
    • การตรงต่อเวลา (การออก OPD, OR, on call, etc)
    • ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
    • เจตคติ เช่น มนุษยสัมพันธ์กับผู้ป่วย , ญาติผู้ป่วย และผู้ร่วมงานทุกระดับ,จริยธรรม
    • คะแนนอีก 30 คะแนน จะมาจากการนับ case ใน log book (attitude) ที่มีลายเซ็นอาจารย์ โดยถ้าทำได้ครบตาม minimal requirement จะได้เต็ม 30 คะแนน โดยทางภาควิชาฯ จะเป็นผู้นับคะแนนส่วนนี้เอง

*ถ้ามีปัญหาขณะฝึกอบรมที่ รพ. สมทบ ให้ติดต่อ คุณ สุรพร ที่ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา โทร 053-935552-5, 081-7467187

การประเมินผลรวม

การประเมินเพื่อตัดเกรดปลายปี มีคะแนนมาจาก 4 ส่วน

{tabulizer:style[gr.alterora.elemental_1_blue.css]}

ที่มาของคะแนน เกณฑ์การตัดเกรด (น้ำหนักคะแนน) ถ้าไม่ผ่าน ทำอย่างไร
1. ภาควิชาเอง MPL 60%, T score (40%) ปฏิบัติงานเพิ่ม 10-14 วัน
2. รพ สมทบ MPL 60%, T score (40%) ปฏิบัติงานเพิ่ม 10-14 วัน
3.  MCQ ตกคือ mean < -2SD (15%) สอบ MCQ
4. MEQ ตกคือ mean < -2SD (5%) ของแต่ละกลุ่ม สอบ MEQ *

หมายเหตุ
ถ้าซ่อม ข้อ 1-3 ผ่านให้เกรด C ,ซ่อมไม่ผ่าน (อันใดอันหนึ่ง หรือ ทั้ง 2 อัน)ให้ D+, ถ้าไม่ซ่อมให้ F
การซ่อม MEQ ให้ตามมาซ่อมช่วงที่มาสอบลง loop โดยสอบข้อสอบเดิมที่เคยสอบ 2 ข้อ หากผ่าน เกณฑ์ MPL ที่กำหนดไว้เดิมจะได้คะแนนเท่ากับคะแนนดิบเดิมที่ได้ไปคิด T-score

แหล่งความรู้

คู่มือด้านความรู้ สามารถ download ได้ที่ website ของภาควิชาฯ


บทส่งท้าย

1. มีผู้กล่าวว่า “ในโลกนี้ไม่มีใครสอนอะไรใครได้” เพราะการเรียนรู้นั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้เรียนมีความสนใจอยากรู้ ครูจึงมีหน้าที่เร้าใจให้ผู้เรียนอยากเรียน

2. สิ่งที่ผู้เรียนควรจะได้เรียนไปพร้อมกัน คือ “วิธีเรียน” เนื้อหาของวิชาการต่างๆในโลกนี้มีปริมาณมาก และนับวันจะเพิ่มขึ้นทุกขณะ ถ้าผู้เรียนไม่รู้วิธีเรียน ก็จะไม่สามารถเรียนด้วยตนเองต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังคำกล่าวที่ว่า “ครูจะช่วยให้นักเรียนรู้วิธีตกปลา แต่มิใช่จับปลามาให้นักเรียน”

3. ความสำเร็จในการเรียน ก็ยังคงอาศัยหลักง่ายๆ ถ้าเพียงผู้เรียนได้ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ คือ

  • ความพอใจ ความสนุกที่จะเรียน
  • ความมานะพยายาม ขยันหมั่นเพียร หนักเอา เบาสู้
  • ความสนใจ เอาใจใส่สม่ำเสมอ ไม่ทอดทิ้ง
  • ความใคร่ครวญพินิจพิจารณาด้วยปัญญาอยู่เสมอ โดยปราศจาก “อคติ” ทั้งปวง

“ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการเรียนรู้วิชานี้ และวิชาอื่นๆ ต่อไป”

ปรับปรุงโดยกลุ่มคณาจารย์ปี 6
เมษายน 2561

Read More
9-1

Tubal ligation

Tubal ligation

ข้อบ่งชี้สำหรับการทำหมัน

ควรพิจารณาให้บริการในรายต่อไปนี้

  1. มีบุตรแข็งแรงดี 2 คนหรือมากกว่า
  2. มีปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม
  3. มีโรคประจำตัวที่การตั้งครรภ์จะทำให้การดำเนินโรคแย่ลง
    • โรคหัวใจ ( การทำหมันชายเป็นทางเลือกที่ดีกว่า )
    • โรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน
    • โรคความดันโลหิตสูง
    • โรคไตที่การทำงานของไตบกพร่อง
  4. โรคจิตหรือบกพร่องทางสติปัญญา ที่ไม่อาจรับผิดชอบต่อการเลี้ยงบุตรได้

ข้อบ่งห้ามต่อการทำหมัน

ควรหลีกเลี่ยงทำหมันในรายที่มีโรคหรือภาวะผิดปกติต่อไปนี้

  1. ติดเชื้อและไข้สูงควรรักษาไข้ให้หายก่อน
  2. โรคหัวใจที่ยังมีอาการรุนแรงอยู่ ในรายที่ควบคุมได้แล้วควรหลีกเลี่ยงการทำหมันหลังคลอดใหม่ๆ (เนื่องจากเป็นช่วงที่มีโอกาสเกิด heart failure ได้สูง)
  3. โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ เนื่องจากการผ่าตัดจะเกิดอาการแทรกซ้อนได้สูง
  4. โรคโลหิตจางที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข
  5. โรคปอดที่มีอาการมาก เช่น TB , asthma , pneumonia
  6.  มีแนวโน้มกลับมาขอแก้หมัน เช่น อายุน้อย สภาพชีวิตสมรสไม่มั่นคง

การเตรียมผู้มารับบริการ

คุณสมบัติ :

  • ต้องการและเต็มใจทำหมัน
  • ต้องไม่มีข้อห้ามของการทำหมัน
  • มีบุตรอย่างน้อย 2 คน ในการทำหมันหลังคลอดควรแน่ใจว่าบุตรที่เพิ่งคลอดแข็งแรงดี
  • ควรได้รับการยินยอมจากสามี
  • ถ้ามีประวัติหรือมีโรคทางอายุรกรรมร่วมด้วย ควรทบทวนประวัติและควบคุมโรคให้ได้ก่อน
  • คู่สมรสได้รับความรู้ คำแนะนำ ให้เข้าใจอย่างถูกต้องว่าการทำหมันคืออะไรต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ขั้นตอนในการทำหมัน การปฏิบัติตัวหลังทำหมัน
  • การเลือกเวลาในการทำหมัน
    • กรณีหมันเปียก ให้ทำหลังคลอดทันที ผู้คลอดต้องไม่มีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ตกเลือด
    • หลังคลอด เป็นต้น หรือ ทำ 1 – 4 วัน หลังคลอดซึ่งมีข้อดีที่เจ้าหน้าที่มีความพร้อมและผู้คลอดผ่านภาวะแทรกซ้อนซึ่งอาจเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอดมาแล้ว
    • อาจทำหมันทันทีภายหลังแท้งบุตรที่ไม่มีอาการแทรกซ้อน
    • กรณีหมันแห้งถ้าไม่ได้คุมกำเนิดมาก่อน ควรทำหมันหลังหมดประจำเดือนใหม่ๆ เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ขณะหรือก่อนวันทำหมัน

การทำหมันหลังคลอด (Abdominal tubal resection)

1. การเตรียมผู้ป่วย

  • งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมง หรือหลังเที่ยงคืนและทำในตอนเช้า
  • ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
  • ถ่ายปัสสาวะก่อนการผ่าตัดเพื่อทำหมันได้ง่ายและป้องกันภยันตรายต่อกระเพาะปัสสาวะ
  • ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงายทำความสะอาดบริเวณหน้าท้องจนถึงบริเวณหัวหน่าว

2. การให้ยาสลบ

ให้ neuroleptanalgesia เช่น Pethidine 75-100 mg. ร่วมกับ Droperidol 2.5 mg. หรือ Valium 5-10 mg. เข้าทางหลอดเลือดดำช้าๆ ก่อนทำประมาณ 10 นาทีโดยทำ local infiltration 1 % Xylocaine 10-20 ml.ร่วมด้วยบริเวณที่จะทำผ่าตัด

3. วิธีการทำ

การลงแผลที่หน้าท้อง มีหลายแบบ คือ
Infraumbilical : แผลใต้สะดือ กรีดตามแนวโค้งขอบล่างของสะดือประมาณ 3 ซม. ได้ประโยชน์ด้านความสวยงาม เมื่อแผลหายแล้วจะซ่อนอยู่ตามรอยย่นของสะดือ ข้อเสียคือ ถ้าทำหลังคลอดหลายวัน มดลูกลงมาอยู่ใต้ระดับสะดือมากแล้วจะหาท่อนำไข่ยาก
Vertical : แผลตามแนวกลางลำตัว ยาว 3 – 4 ซม. ต่ำกว่ายอดมดลูกประมาณ 2 ความกว้างนิ้วมือโดยใช้มือคลำหาตำแหน่งยอดมดลูก กรีดผ่านชั้นผิวหนัง ลงไปถึง subcutaneous tissue และถึง rectus sheath ใช้ tissue forceps จับ rectus sheathแล้วใช้มีดกรีดประมาณ 1 ซม. แยกกล้ามเนื้อ rectus ไปสองข้างใช้ arterial forceps จับ peritoneum ดึงขึ้นแล้วใช้มือคลำดูว่าไม่ได้จับติดอวัยวะภายในช่องท้อง หรือ omentum ติดมาด้วย ตัด peritoneum ตามแนวดิ่ง
Transverse : แผลตามแนวขวางยาวประมาณ 3 – 4 ซม. ต่ำกว่ายอดมดลูกประมาณ 2 ความกว้างนิ้วมือ

  • หลังจากเปิดเข้าช่องท้องแล้วใส่ retractor เข้าไปในช่องท้อง ดึงออกมาทางด้านข้างให้เห็นท่อนำไข่ ซึ่งจะอยู่ด้านหลังของ round ligament ถ้ามีลำไส้ หรือ omentum โผล่เข้ามาบริเวณที่จะทำผ่าตัดให้ใช้ผ้า gauze ยาวซึ่งมีหางใช้ clamps จับหางไว้แล้ว pack กันลำไส้ออกไปใช้ Babcock’s clamps จับท่อนำไข่ไว้
  • ใช้ Babcock’s clamp อีกอันค่อยๆ จับไล่ไปทางด้านปลายจน identified fimbriaeเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นท่อนำไข่ จึงขยับ Babcock มาจับท่อนำไข่บริเวณ ampulla ซึ่งจะห่างจาก cornue มาประมาณ 3-4 ซม. ยกขึ้นแต่อย่าดึงแรงและระมัดระวังอย่าไปจับโดน vessels บริเวณ mesosalpinx
  • ทำหมันตามแบบ Pomeroy’s ซึ่งนิยมทำกันมากที่สุดง่ายและใช้เวลาสั้น โดยผูก loop หรือ knuckle ที่ท่อนำไข่ ที่ยกขึ้นมานี้ด้วย chromic catgut เบอร์ 2/ 0 โดย loop นี้ยาวประมาณ 1-1.5 ซม. อาจใช้ arterial clamps บีบท่อนำไข่ 2 ข้างห่างจาก Babcock clamps ประมาณ1-1.5 ซม.ก่อนที่จะผูกก็ได้ หรืออาจจะเย็บmesosalpinx( ระวังอย่าให้โดน vessels) ด้วย chromic catgut เบอร์ 0 หรือ 2/ 0 ผูกท่อนำไข่ด้านหนึ่งแล้วอ้อมไปผูกอีกด้านหนึ่งเช่นกัน
  • ใช้ กรรไกร Metzenbaum ตัด loop ของท่อนำไข่เหนือรอยผูกประมาณ 3 มิลลิเมตรโดยเปิด mesosalpinx ระหว่าง loop ให้ทะลุก่อนจะตัด
  • หย่อน chromic catgut ลงและเช็คและจับจุดเลือดออกให้หมดก่อนแล้วจึงตัดไหมที่ปมให้เหลือปลายประมาณ 0.5 ซม. และปล่อยท่อนำไข่ลงไปในช่องท้อง
  • ทำเช่นเดียวกับท่อนำไข่อีกข้างหนึ่ง

4. การเย็บปิด
• เย็บปิด peritoneum รวมกับ sheath หรือแยกกันก็ได้ด้วย chromic catgut เบอร์ 2/ 0 หรือ Vicryl เบอร์ 3/ 0
• เย็บผิวหนังด้วย Nylon เบอร์ 3/ 0 แบบ vertical mattress หรือ interrupted suture หรือใช้ Vicryl เบอร์ 3/0 เย็บต่อแบบ subcuticular stitches
• ทาน้ำยาฆ่าเชื้อปิดแผลด้วยgauze หรือ plaster
• แนะนำผู้ป่วยไม่ให้แผลถูกน้ำ 7 วัน ถ้าไม่ได้เย็บด้วยไหมละลายให้ตัดไหม ร.พ. ใกล้บ้าน และต้องตามดูว่ามีภาวะแทรกซ้อนหรือไม่ เช่นเลือดออก มีการอักเสบ และให้ยาระงับปวด

Critical Error

  • ไม่ empty bladder
  • ทำโดยไม่ใช้ยาชาหรือยาระงับความรู้สึก
  • กรีดหรือตัดผนังหน้าท้องจนเป็นอันตรายต่ออวัยวะในช่องท้อง
  • หาและ/ หรือจับท่อนำไข่ไม่ได้
  • จับหรือดึงท่อนำไข่แรงเกินไปจนฉีกขาด
  • ผูกท่อนำไข่ไม่แน่นหรือหลุดภายหลังการตัดท่อนำไข่แล้ว
  • ผูกหรือตัดท่อนำไข่เพียงข้างเดียว
  • ไม่สำรวจจุดเลือดออกและห้ามเลือดก่อนปิดหน้าท้อง ไม่สำรวจเครื่องมือและผ้าซับก่อนเย็บปิด
  • เย็บไม่ระวังจนเกิดอันตรายต่ออวัยวะในช่องท้อง

 9-1

A

9-2

B

9-3

C

9-4

D

รูปแสดงการทำหมัน
A : ใช้ Babcock’s clamps จับท่อนำไข่ไว้บริเวณ ampulla ซึ่งจะห่างจาก cornue มาประมาณ 3-4 ซม ยกขึ้น
B: ผูก loop ที่ท่อนำไข่ที่ยกขึ้นด้วย chromic catgut เบอร์ 2-0 โดย loop นี้ยาวประมาณ 1-1.5 ซม. อาจใช้ arterial clamps บีบท่อนำไข่ 2 ข้าง ห่างจาก Babcock clamps ประมาณ 1-1.5 ซม. ก่อนที่จะผูกก็ได้ หรืออาจจะเย็บ mesosalpinx โยระวังไม่ให้ถูก vessels ด้วย chromic catgut เบอร์ 0 หรือ 2/0 ผูกท่อนำไข่ด้านหนึ่งแล้วอ้อมไปผูกอีกด้านหนึ่งเช่นกัน
C: ใช้กรรไกร Metzenbaum ตัด loop ของท่อนำไข่เหนือรอยผูกประมาณ 3 มม.
D: สภาพท่อนำไข่เมื่อไหมละลาย

 

Read More
9-1

Tubal ligation

Tubal ligation

ข้อบ่งชี้สำหรับการทำหมัน

ควรพิจารณาให้บริการในรายต่อไปนี้

  1. มีบุตรแข็งแรงดี 2 คนหรือมากกว่า
  2. มีปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม
  3. มีโรคประจำตัวที่การตั้งครรภ์จะทำให้การดำเนินโรคแย่ลง
    • โรคหัวใจ ( การทำหมันชายเป็นทางเลือกที่ดีกว่า )
    • โรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน
    • โรคความดันโลหิตสูง
    • โรคไตที่การทำงานของไตบกพร่อง
  4. โรคจิตหรือบกพร่องทางสติปัญญา ที่ไม่อาจรับผิดชอบต่อการเลี้ยงบุตรได้

ข้อบ่งห้ามต่อการทำหมัน

ควรหลีกเลี่ยงทำหมันในรายที่มีโรคหรือภาวะผิดปกติต่อไปนี้

  1. ติดเชื้อและไข้สูงควรรักษาไข้ให้หายก่อน
  2. โรคหัวใจที่ยังมีอาการรุนแรงอยู่ ในรายที่ควบคุมได้แล้วควรหลีกเลี่ยงการทำหมันหลังคลอดใหม่ๆ (เนื่องจากเป็นช่วงที่มีโอกาสเกิด heart failure ได้สูง)
  3. โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ เนื่องจากการผ่าตัดจะเกิดอาการแทรกซ้อนได้สูง
  4. โรคโลหิตจางที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข
  5. โรคปอดที่มีอาการมาก เช่น TB , asthma , pneumonia
  6.  มีแนวโน้มกลับมาขอแก้หมัน เช่น อายุน้อย สภาพชีวิตสมรสไม่มั่นคง

การเตรียมผู้มารับบริการ

คุณสมบัติ :

  • ต้องการและเต็มใจทำหมัน
  • ต้องไม่มีข้อห้ามของการทำหมัน
  • มีบุตรอย่างน้อย 2 คน ในการทำหมันหลังคลอดควรแน่ใจว่าบุตรที่เพิ่งคลอดแข็งแรงดี
  • ควรได้รับการยินยอมจากสามี
  • ถ้ามีประวัติหรือมีโรคทางอายุรกรรมร่วมด้วย ควรทบทวนประวัติและควบคุมโรคให้ได้ก่อน
  • คู่สมรสได้รับความรู้ คำแนะนำ ให้เข้าใจอย่างถูกต้องว่าการทำหมันคืออะไรต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ขั้นตอนในการทำหมัน การปฏิบัติตัวหลังทำหมัน
  • การเลือกเวลาในการทำหมัน
    • กรณีหมันเปียก ให้ทำหลังคลอดทันที ผู้คลอดต้องไม่มีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ตกเลือด
    • หลังคลอด เป็นต้น หรือ ทำ 1 – 4 วัน หลังคลอดซึ่งมีข้อดีที่เจ้าหน้าที่มีความพร้อมและผู้คลอดผ่านภาวะแทรกซ้อนซึ่งอาจเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอดมาแล้ว
    • อาจทำหมันทันทีภายหลังแท้งบุตรที่ไม่มีอาการแทรกซ้อน
    • กรณีหมันแห้งถ้าไม่ได้คุมกำเนิดมาก่อน ควรทำหมันหลังหมดประจำเดือนใหม่ๆ เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ขณะหรือก่อนวันทำหมัน

การทำหมันหลังคลอด (Abdominal tubal resection)

1. การเตรียมผู้ป่วย

  • งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมง หรือหลังเที่ยงคืนและทำในตอนเช้า
  • ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
  • ถ่ายปัสสาวะก่อนการผ่าตัดเพื่อทำหมันได้ง่ายและป้องกันภยันตรายต่อกระเพาะปัสสาวะ
  • ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงายทำความสะอาดบริเวณหน้าท้องจนถึงบริเวณหัวหน่าว

2. การให้ยาสลบ

ให้ neuroleptanalgesia เช่น Pethidine 75-100 mg. ร่วมกับ Droperidol 2.5 mg. หรือ Valium 5-10 mg. เข้าทางหลอดเลือดดำช้าๆ ก่อนทำประมาณ 10 นาทีโดยทำ local infiltration 1 % Xylocaine 10-20 ml.ร่วมด้วยบริเวณที่จะทำผ่าตัด

3. วิธีการทำ

การลงแผลที่หน้าท้อง มีหลายแบบ คือ
Infraumbilical : แผลใต้สะดือ กรีดตามแนวโค้งขอบล่างของสะดือประมาณ 3 ซม. ได้ประโยชน์ด้านความสวยงาม เมื่อแผลหายแล้วจะซ่อนอยู่ตามรอยย่นของสะดือ ข้อเสียคือ ถ้าทำหลังคลอดหลายวัน มดลูกลงมาอยู่ใต้ระดับสะดือมากแล้วจะหาท่อนำไข่ยาก
Vertical : แผลตามแนวกลางลำตัว ยาว 3 – 4 ซม. ต่ำกว่ายอดมดลูกประมาณ 2 ความกว้างนิ้วมือโดยใช้มือคลำหาตำแหน่งยอดมดลูก กรีดผ่านชั้นผิวหนัง ลงไปถึง subcutaneous tissue และถึง rectus sheath ใช้ tissue forceps จับ rectus sheathแล้วใช้มีดกรีดประมาณ 1 ซม. แยกกล้ามเนื้อ rectus ไปสองข้างใช้ arterial forceps จับ peritoneum ดึงขึ้นแล้วใช้มือคลำดูว่าไม่ได้จับติดอวัยวะภายในช่องท้อง หรือ omentum ติดมาด้วย ตัด peritoneum ตามแนวดิ่ง
Transverse : แผลตามแนวขวางยาวประมาณ 3 – 4 ซม. ต่ำกว่ายอดมดลูกประมาณ 2 ความกว้างนิ้วมือ

  • หลังจากเปิดเข้าช่องท้องแล้วใส่ retractor เข้าไปในช่องท้อง ดึงออกมาทางด้านข้างให้เห็นท่อนำไข่ ซึ่งจะอยู่ด้านหลังของ round ligament ถ้ามีลำไส้ หรือ omentum โผล่เข้ามาบริเวณที่จะทำผ่าตัดให้ใช้ผ้า gauze ยาวซึ่งมีหางใช้ clamps จับหางไว้แล้ว pack กันลำไส้ออกไปใช้ Babcock’s clamps จับท่อนำไข่ไว้
  • ใช้ Babcock’s clamp อีกอันค่อยๆ จับไล่ไปทางด้านปลายจน identified fimbriaeเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นท่อนำไข่ จึงขยับ Babcock มาจับท่อนำไข่บริเวณ ampulla ซึ่งจะห่างจาก cornue มาประมาณ 3-4 ซม. ยกขึ้นแต่อย่าดึงแรงและระมัดระวังอย่าไปจับโดน vessels บริเวณ mesosalpinx
  • ทำหมันตามแบบ Pomeroy’s ซึ่งนิยมทำกันมากที่สุดง่ายและใช้เวลาสั้น โดยผูก loop หรือ knuckle ที่ท่อนำไข่ ที่ยกขึ้นมานี้ด้วย chromic catgut เบอร์ 2/ 0 โดย loop นี้ยาวประมาณ 1-1.5 ซม. อาจใช้ arterial clamps บีบท่อนำไข่ 2 ข้างห่างจาก Babcock clamps ประมาณ1-1.5 ซม.ก่อนที่จะผูกก็ได้ หรืออาจจะเย็บmesosalpinx( ระวังอย่าให้โดน vessels) ด้วย chromic catgut เบอร์ 0 หรือ 2/ 0 ผูกท่อนำไข่ด้านหนึ่งแล้วอ้อมไปผูกอีกด้านหนึ่งเช่นกัน
  • ใช้ กรรไกร Metzenbaum ตัด loop ของท่อนำไข่เหนือรอยผูกประมาณ 3 มิลลิเมตรโดยเปิด mesosalpinx ระหว่าง loop ให้ทะลุก่อนจะตัด
  • หย่อน chromic catgut ลงและเช็คและจับจุดเลือดออกให้หมดก่อนแล้วจึงตัดไหมที่ปมให้เหลือปลายประมาณ 0.5 ซม. และปล่อยท่อนำไข่ลงไปในช่องท้อง
  • ทำเช่นเดียวกับท่อนำไข่อีกข้างหนึ่ง

4. การเย็บปิด
• เย็บปิด peritoneum รวมกับ sheath หรือแยกกันก็ได้ด้วย chromic catgut เบอร์ 2/ 0 หรือ Vicryl เบอร์ 3/ 0
• เย็บผิวหนังด้วย Nylon เบอร์ 3/ 0 แบบ vertical mattress หรือ interrupted suture หรือใช้ Vicryl เบอร์ 3/0 เย็บต่อแบบ subcuticular stitches
• ทาน้ำยาฆ่าเชื้อปิดแผลด้วยgauze หรือ plaster
• แนะนำผู้ป่วยไม่ให้แผลถูกน้ำ 7 วัน ถ้าไม่ได้เย็บด้วยไหมละลายให้ตัดไหม ร.พ. ใกล้บ้าน และต้องตามดูว่ามีภาวะแทรกซ้อนหรือไม่ เช่นเลือดออก มีการอักเสบ และให้ยาระงับปวด

Critical Error

  • ไม่ empty bladder
  • ทำโดยไม่ใช้ยาชาหรือยาระงับความรู้สึก
  • กรีดหรือตัดผนังหน้าท้องจนเป็นอันตรายต่ออวัยวะในช่องท้อง
  • หาและ/ หรือจับท่อนำไข่ไม่ได้
  • จับหรือดึงท่อนำไข่แรงเกินไปจนฉีกขาด
  • ผูกท่อนำไข่ไม่แน่นหรือหลุดภายหลังการตัดท่อนำไข่แล้ว
  • ผูกหรือตัดท่อนำไข่เพียงข้างเดียว
  • ไม่สำรวจจุดเลือดออกและห้ามเลือดก่อนปิดหน้าท้อง ไม่สำรวจเครื่องมือและผ้าซับก่อนเย็บปิด
  • เย็บไม่ระวังจนเกิดอันตรายต่ออวัยวะในช่องท้อง

 9-1

A

9-2

B

9-3

C

9-4

D

รูปแสดงการทำหมัน
A : ใช้ Babcock’s clamps จับท่อนำไข่ไว้บริเวณ ampulla ซึ่งจะห่างจาก cornue มาประมาณ 3-4 ซม ยกขึ้น
B: ผูก loop ที่ท่อนำไข่ที่ยกขึ้นด้วย chromic catgut เบอร์ 2-0 โดย loop นี้ยาวประมาณ 1-1.5 ซม. อาจใช้ arterial clamps บีบท่อนำไข่ 2 ข้าง ห่างจาก Babcock clamps ประมาณ 1-1.5 ซม. ก่อนที่จะผูกก็ได้ หรืออาจจะเย็บ mesosalpinx โยระวังไม่ให้ถูก vessels ด้วย chromic catgut เบอร์ 0 หรือ 2/0 ผูกท่อนำไข่ด้านหนึ่งแล้วอ้อมไปผูกอีกด้านหนึ่งเช่นกัน
C: ใช้กรรไกร Metzenbaum ตัด loop ของท่อนำไข่เหนือรอยผูกประมาณ 3 มม.
D: สภาพท่อนำไข่เมื่อไหมละลาย

 

Read More
0-1

ปกคู่มือ Extern : 2561

คู่มือช่วยการเรียนรู้และปฐมนิเทศ

กระบวนวิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

พ.วป 332603

0-1


ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม  เมษายน 2561

Read More
0-1

ปกคู่มือ Extern : 2561

คู่มือช่วยการเรียนรู้และปฐมนิเทศ

กระบวนวิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

พ.วป 332603

0-1


ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม  เมษายน 2561

Read More

บทนำ

คำนำ

คู่มือเล่มนี้ใช้ชื่อว่า “คู่มือช่วยการเรียนรู้”  เพราะเป็นคู่มือที่ “ครู” จัดทำขึ้นเพื่อช่วยให้นักศึกษา หรือ “ผู้เรียน”  เรียนได้ผลดี  ทั้งนี้เพราะ “การเรียน” นั้น โดยแท้จริงแล้วย่อมเป็นกิจการของผู้เรียน โดยมี “ครู” เป็นผู้ช่วยจัดกลไกในการเรียน  เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ในตัวผู้เรียน ไม่ว่าจะเรียนเรื่องใด ”  ครู”   มีหน้าที่ช่วยให้เกิดกลไกเหล่านั้นได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ประทับใจ ฯลฯ

กลไกในการเรียนรู้ เริ่มจากผู้เรียนได้สัมผัสกับประสบการณ์ใหม่  เมื่อบังเกิดความสนใจ จึงได้พินิจพิจารณา หาเหตุผลด้วยปัญญาของตนเอง ครั้นนำเอาเหตุผลนั้นไปทดลองกับปรากฏการณ์ในลักษณะเดียวกันต่อไป ก็ปรากฏว่าใช้ได้ เป็นการยืนยันว่าเหตุผลที่สรุปด้วยสติ ปัญญาของตนเองนั้นถูกต้อง จึงรับไว้เป็นแนวทางต่อไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าได้เรียนรู้แล้ว

” ครู ”     มีหน้าที่เร้าใจให้   ” ผู้เรียน ”   สนใจ  พยายามจัดหาอุปกรณ์     และสร้างบรรยากาศให้ ” ผู้เรียน ” สนุก ที่จะเรียน อยากเรียน ดังนั้นในกรณีที่  ”   ผู้เรียน ” มีความกระตือรือร้น หรือแรงดลใจอยู่แล้ว ก็ย่อมจะทำให้การเรียนได้ผลดียิ่งขึ้น

ที่ว่าการเรียนได้ผลดีนั้น  หมายความว่าอย่างไร ?

คำตอบ    คือ    เรียนจนได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

วัตถุประสงค์   คือ   อะไร  ?

วัตถุประสงค์ในความหมายในทางการศึกษา    หมายถึง  ลักษณะที่คาดหวังว่าเมื่อ ”  ผู้เรียน ” เรียนจบแล้วมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ?  ลักษณะดังกล่าวนี้  จำแนกออกเป็น 3   ประการ  คือ  ความรู้   ความชำนาญ  และ เจตคติ

คู่มือเล่มนี้    จะช่วยให้  ” ผู้เรียน ”   เรียนได้ บรรลุวัตถุประสงค์

รศ.นพ.กำจัด    สวัสดิโอ
อดีตหัวหน้าภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
คณะแพทยศาสตร์   มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


 

 

ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา    คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้กระบวนวิชา พ.สต.601 โดยอาศัยวัตถุประสงค์ของหลักสูตรสาขาวิชาแพทยศาสตร์ พ.ศ. 2553 และ เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา พ.ศ. 2555  เป็นแนวทางประกอบกัน

1.    วัตถุประสงค์ของหลักสูตร  สาขาวิชาแพทยศาสตร์  พ.ศ. 2553

เพื่อผลิตบัณฑิตแพทย์ให้มีคุณลักษณะดังนี้

  1. มีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติ ปฏิบัติตนถูกต้องตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพแพทย์
  2. มีร่างกายและจิตใจที่ไม่เป็นอุปสรรคในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
  3. มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพ สามารถแก้ไขปัญหาในเวชปฏิบัติปฐมภูมิ โดยคำนึงถึงปัญหา ทางร่างกาย จิตใจเศรษฐฐานะ สิทธิของผู้ป่วยและสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับตัวผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน สามารถใช้วิจารณญาณแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลเป็นระบบและรู้ขีดความสามารถของตนเอง
  4.  มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร สร้างมนุษยสัมพันธ์ และถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. มีนิสัยใฝ่รู้ และศึกษาอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม 6. มีภาวะความเป็นผู้นำ รู้หลักการและมีวิสัยทัศน์ในการบริหารจัดการด้านการแพทย์ให้ สอดคล้องกับระบบสาธารณสุขของประเทศและงานทั่วไป
  6. สามารถพัฒนาตนเองและปรับตัวให้เข้ากับขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณีและ สิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานของคุณธรรม

2.    วัตถุประสงค์ของกระบวนวิชา พ.วป. 603 (332603) : เวชปฏิบัติสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

นักศึกษาสามารถ

  1.  มีทักษะทางคลินำในการวินิจฉัยโรคทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาที่พบบ่อย
  2. รักษาผู้ป่วยอย่างเหมาะสม โดยอ้างอิงหลักฐานทางการแพทย์ หลักจริยเวชศาสตร์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  3. ทำหัตถการพื้นฐานทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
  4. แนะนำเรื่องโรค การรักษา และการสร้างเสริมสุขภาพแก่ผู้ป่วยและญาติ
  5. เข้าใจ และให้เหตุผลในการส่งต่อผู้ป่วย
  6. สื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่น

เกณฑ์ที่คาดหวังว่าจะได้รับ  เมื่อผ่านการเรียนการสอนของภาควิชาฯ

ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้ตามหลักการบริบาลที่ถูกต้อง คือ การส่งเสริมสุขภาพ  การป้องกันโรค  การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ ตลอดจนการปฏิบัติวิชาชีพตามกฎหมาย  โดยจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้ในเรื่องต่างๆ ตามเกณฑ์แพทยสภา ปี 2553 ดังนี้

กลุ่มที่ 1 : โรค/กลุ่มอาการ/ภาวะฉุกเฉินที่ต้องรู้กลไกการเกิดโรค สามารถให้การวินิจฉัยเบื้องต้น และให้การบำบัดการรักษาได้อย่างทันท่วงที ตามความเหมาะสมของสถาณการณ์ รู้ข้อจำกัดของตนเองและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์มากกว่าได้อย่างเหมาะสม

  1.  obstructed labor
  2.  threatened uterine rupture
  3. asphysxia of the newborn
  4. fetal distress
  5. antepartum and postpartum hemorrhage

กลุ่มที่ 2 : โรค/กลุ่มอาการ/ภาวะที่ต้องรู้กลไกการเกิดโรค สามารถให้การวินิจฉัย ให้การบำบัดการรักษาได้ด้วยตนเอง รวมทั้งการฟื้นฟูสภาพ การส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค ในกรณีที่โรครุนแรง หรือซับซ้อนเกินความสามารถให้พิจารณาแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และส่งผู้ป่วยต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญ

  1. cystitis, urethritis
  2. vulvovaginitis
  3. cervicitis
  4. Pelvic inflammatory disease (endometriits,salpingitis,oophoritis,tuboovarian abscess)
  5. menstrual disorder
  6. abnormal uterine or vaginal bleeding
  7.  menopausal & perimenopausal disorder
  8. abnormal findings on antenatal screening of mother  (biochemical,hematological,serological,cytological,chromasomal)
  9. abortion
  10.  hyperemesis gravidarum
  11. antepartum hemorrhage (placenta previa, abruption placenta)
  12. hypertensive disorder in pregnancy
  13.  other maternal disorders related to preganancy ( infection of genitourinary tract, diabetes mellitus, malnutrition)
  14. malposition and malpresentation of the fetus
  15. normal delivery
  16. preterm labor
  17. premature rupture of membrane , chorioamnionitis
  18. prolonged pregnancy (postdate, posterm)
  19. abnormal labor forces (prolonged labor)
  20. fetal distress
  21. trauma to birth canal during delivery & fetal injury
  22. complications during puerperium
  23. birth infection associated with childbirth
  24. hydratidiform mole
  25. birth asphysxia

กลุ่มที่ 3 : โรค/กลุ่มอาการ/ภาวะที่ต้องรู้กลไกการเกิดโรค สามารถให้การวินิจฉัยแยกโรค และรู้หลักในการดูแลรักษา แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ตัดสินใจส่งผู้ป่วยต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งการฟื้นฟูสภาพ การส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค

  1. endometriosis
  2. Bartholinitis & abscess, barthrolin cyst
  3. imperforated hymen
  4. female genital prolapsed (cystocele,rectocele,prolapsed uterus)
  5. fistula involving female genital tracts
  6. umbilical cord complication (prolapsed cord, vasa previa)
  7. obstructed labor
  8. ectopic pregnancy
  9. multiple gestation
  10. fetopelvic disproportion
  11. polyhydraminos, oligohydraminos
  12. benign and malignant neoplasm of genital tract

หัตถการ

1.  หัตถการพื้นฐานทางคลินิก เมื่อจบแพทยศาสตร์บัณฑิตแล้วสามารถบอกข้อบ่งชี้ ขั้นตอนวิธีการทำ บอกภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น และสามารถทำได้ด้วยตนเอง

  • Normal labor
  • Amniotomy
  • Episiotomy and perineorrhaphy
  • Pap smear preparation
  • Remove foreign body from vagina in adult

2. หัตถการที่มีความซับซ้อนกว่าหัตถการพื้นฐาน และมีความสำคัญต่อการรักษา เมื่อจบแพทยศาสตร์บัณฑิตแล้วสามารถบอกข้อบ่งชี้ ขั้นตอนวิธีการทำ บอกภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ถูกต้อง สามารถทำภายใต้การแนะนำได้ถูกต้อง และเมื่อผ่านการเพิ่มพูนทักษะแล้ว สามารถทำได้ด้วยตนเอง

  • Cervical dilatation and uterine curettage
  • Tubal ligation & resection
  • Insertion and removal of intrauterine device
  • Removal of foreign body from vagina
  • Biopsy of cervix

3.  หัตถการที่มีความซับซ้อน และ อาจทำในกรณีที่จำเป็น สามารถบอกข้อบ่งชี้ ขั้นตอนวิธีการทำ บอกภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ถูกต้อง เมื่อจบแพทยศาสตร์บัณฑิตต้องเคยเห็น เคยช่วย และเมื่อผ่านการเพิ่มพูนทักษะต้องได้ทำภายใต้คำแนะนำ

Low transverse cesarean section

4. หัตถการที่มีความซับซ้อน และ/หรือ อาจเกิดอันตรายที่ร้ายแรงได้ ถ้าปฏิบัติไม่เหมาะสม และ / หรือ ต้องอาศัยการฝึกฝนเพิ่มเติม สามารถบอกข้อบ่งชี้ หลักการ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิด สามารถให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้ป่วยได้ถูกต้อง เมื่อจบแพทยศาสตร์บัณฑิตและผ่านการเพิ่มพูนทักษะต้องเคยเห็นหรือเคยช่วย

  • Vacuum extraction
  • Low forcep extraction
  • Manual removal of placenta
  • Culdocentesis
  • Marsupilization of Bartholin cyst
  • Conization of uterine cervix
  • Salpingectomy and oophorectomy
  • Breech assisting and extraction
  • Contraceptive drug implantation and removal

5. หัตถการเฉพาะทาง สามารถบ่งชี้ หลักการ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิด สามารถให้คำแนะนำเพื่อเป็นแนวทางในการส่งต่อผู้ป่วยต่อไปได้อย่างเหมาะสม และสำหรับให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้ป่วย

Hysterectomy

ความสามารถพื้นฐานในการตรวจ และเลือกส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่

  • การทำ  Papanicolaou ‘s smear
  • การตรวจ อัลตร้าซาวด์ในหญิงตั้งครรภ์ และ ในท้องน้อย

ลักษณะงาน

ภาคบรรยาย :              

มีการบรรยาย 4 ชั่วโมง  เรื่อง Common problems in Gyne , Common problems in OB , Contraception & Family planning  และ Emergency OB: APH, PPH

ภาคปฏิบัติงาน  :        

ฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยทั้งสูติกรรมและนรีเวชกรรม  ร่วมกับแพทย์ประจำบ้าน และอาจารย์แพทย์ ประมาณ  50-70  ชั่วโมงต่อสัปดาห์  โดยภาควิชาฯยึดถือนโยบายว่า การปฏิบัติใดๆก็ตามต่อผู้ป่วย เป็นความรับผิดชอบอย่างสำคัญที่สุด จะละทิ้งไม่ได้

1. ด้านสูติกรรม

  • ฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยสูติกรรม  ดูแลสตรีมีครรภ์ที่ปกติ  ผิดปกติและมีโรคแทรกซ้อนในระยะก่อนเจ็บครรภ์  ระยะเจ็บครรภ์ และระยะหลังคลอด
  • ฝึกปฏิบัติงานในห้องคลอด ดูแลสตรีมีครรภ์ที่ปกติ  ผิดปกติ และมีโรคแทรกซ้อนในระยะเจ็บครรภ์  รวมทั้งการคลอด ทำคลอดในรายปกติ  ช่วยทำคลอดในรายผิดปกติและรายที่มีโรคแทรกซ้อน
  • ฝึกปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด ช่วยผ่าตัดทำหมัน   ช่วยผ่าตัดในรายผ่าท้องทำคลอด ช่วยผ่าตัดโรคนรีเวชกรรมบางอย่าง
  • ฝึกปฏิบัติงานที่ห้องฝากครรภ์     ดูแลสตรีมีครรภ์   ตรวจวินิจฉัย  ให้การรักษา  และให้คำแนะนำแก่สตรีที่มีครรภ์ปกติ  ผิดปกติ  และมีโรคแทรกซ้อน
  • ฝึกปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในห้องคลอด ตามที่ภาควิชา ฯ   จัดให้
  • เป็นพี่เลี้ยงแก่นักศึกษาแพทย์ปีที่  5
  • ตรวจ  เช็ค และ/หรือ  กรอกรายละเอียดต่างๆ  ในแบบรายงานผู้ป่วยให้ครบถ้วนสมบูรณ์

2. ด้านนรีเวชกรรมและวางแผนครอบครัว

  • ฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยนรีเวชกรรม  ตรวจ วินิจฉัย  และดูแลผู้ป่วยนรีเวชกรรม  ก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัด
  • ฝึกปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด  ช่วยผ่าตัด ทั้งผ่าตัดเล็กและผ่าตัดใหญ่  ช่วยขูดมดลูกในรายที่ไม่ติดเชื้อ
  •  ฝึกปฏิบัติงานที่หน่วยผู้ป่วยนอก   ตรวจ วินิจฉัย   และให้การรักษาแก่ผู้ป่วยหลังคลอด  ให้คำแนะนำ  และ
  • ให้การรักษาแก่สตรีที่มารับบริการวางแผนครอบครัว
  • ฝึกปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ   ตามที่ภาควิชา ฯ  จัดให้
  • เป็นพี่เลี้ยงแก่นักศึกษาแพทย์ปีที่  4
  • ตรวจ  เช็ค และ/หรือ  กรอกรายละเอียดต่างๆ  ในแบบรายงานผู้ป่วยให้ครบถ้วนสมบูรณ์

3.  การอภิปราย หรือการสัมมนา และการบรรยายพิเศษ

(เฉพาะนักศึกษาแพทย์ที่ผ่านการปฏิบัติงานในคณะแพทยศาสตร์ )

  • Morning Conference  :    การอภิปรายผู้ป่วยที่รับไว้ในความดูแลในเวลานอกราชการ ของทุกวัน  โดยแพทย์ประจำบ้านที่อยู่เวรประจำวันนั้นๆ  ทุกวันเวลา  7.00-8.00  น.  ห้องเรียน อ.กำจัด
  • Interesting Case Conference :  การอภิปรายเกี่ยวกับผู้ป่วยที่มีปัญหา  หรือน่าสนใจประจำสัปดาห์
  • ทุกวันจันทร์  เวลา  13.00-14.30   น.  ห้องประชุมหม่อมเจ้าอำนอร์สวัสดิ์ – ศุภร
  • Topic  or  Journal  Club  :     เรื่องที่น่าสนใจและเรื่องน่ารู้จากวารสารทางการแพทย์ ทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา  ทุกวันอังคารและพฤหัสบดี  เวลา   15.30 -16.30  น. ห้องเรียน อ.กำจัด
  • Special  Lecture   :   การบรรยายพิเศษโดยอาจารย์ในภาควิชา ฯ  หรือเรียนเชิญจากต่างภาควิชา ในหัวข้อที่น่าสนใจหรือเป็นปัญหาที่พบบ่อย ที่เกี่ยวข้องกับทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ทุกวันอังคารและพฤหัสบดี  เวลา   15.30 -16.30  น.  (  เป็นครั้งคราว  )  ห้องเรียน อ.กำจัด
  • Specialty Lecture  :  เวลา  13.00 – 14.30 น. วันศุกร์ เรื่องที่น่าสนใจของหน่วยงานต่าง ๆ สลับกันไป
    • Perinatal  conference
    • Onco  conference
    • Endocrine  conference
    • Family  Planing conference
  • Hand on U/S &Critical U/S for extern โดย ศ.นพ.ธีระ  ทองสง และทีมคณาจารย์  วันอังคาร เวลา 13.00 – 15.00 น. ห้องตรวจฝากครรภ์ ผู้ป่วยนอก (OPD 4)

สถานที่ฝึกปฏิบัติงาน/  ระยะเวลา

จัดแบ่งการฝึกปฏิบัติงานนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่  6  ออกเป็น  2   กลุ่มใหญ่  คือ

  • กลุ่มที่  1  ปฏิบัติงานตลอด 2  เดือน  ณ  โรงพยาบาลสมทบ  แห่งใดแห่งหนึ่งคือ   โรงพยาบาลลำปาง  โรงพยาบาลน่าน  โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์  โรงพยาบาลพะเยา  โรงพยาบาลตากสินมหาราช โรงพยาบาลแม่สอด โรงพยาบาลสุโขทัย โรงพยาบาลศรีสังวร โรงพยาบาลลำพูน
  • กลุ่มที่ 2  ปฏิบัติงานที่คณะแพทยศาสตร์ฯ  1  เดือน และที่โรงพยาบาลนครพิงค์อีก  1  เดือน ได้แก่  รวมทั้งหมดเป็น  10   สถาบัน

  

ทำอย่างไรจึงจะบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียน

1.  หลักการเรียนรู้   ดังได้กล่าวมาแล้วในคำนำว่า  ผลของ ”  การเรียน  ” ย่อมขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนเป็น สำคัญ

อย่างไรก็ดีการเรียนรู้   ”  วิธีเรียน  ”   ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการศึกษาก็จะยิ่งช่วยให้เรียนรู้ได้ผลดี ยิ่งขึ้น

วงจรของการเรียนรู้อาจจะสรุปได้ดังนี้

วัตถุประสงค์


การประเมินผล                                                      การจัดประสบการณ์การเรียนรู้

2. การเรียนภาคปฏิบัติ

ตามหลักการเรียนรู้ภาคปฏิบัตินั้น มีขั้นตอนนับแต่การใช้มือ ใช้เครื่องมือ ทดลองทำตามคำแนะนำ และลงมือทำด้วยตนเอง ความชำนาญจึงจะบังเกิดขึ้นได้

”  ไม่มีใครเกิดความชำนาญได้โดยไม่ลงมือทำ “

3. การทำงานและการเรียนร่วมกัน

เป็นที่ยอมรับว่าผู้ประกอบวิชาชีพไม่ว่าแขนงใด  จะให้ได้รับผลสำเร็จด้วยดีนั้น ต้องมีความสามารถ 2  ด้านประกอบกัน คือ  ความรู้ความสามารถในงานวิชาชีพโดยตรง  และความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ

หลักสูตรสาขาวิชาชีพแพทยศาสตร์  ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  กำหนดไว้ชัดเจนว่า ” บัณฑิตที่จบหลักสูตรนี้จะต้องมีความกระตือรือร้น  ความสามารถที่จะศึกษาต่อด้วยตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาชุมชน “

ดังนั้นในการปฏิบัติงาน ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงเน้นเรื่องมนุษยสัมพันธ์ และการทำงานร่วมกันเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง  โดยจะมอบหมายให้ผู้เรียน ร่วมกันรับผิดชอบ ในการปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย  เพื่อผู้เรียนจะได้มีโอกาสฝึกการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพไปด้วยในเวลาเดียวกัน

 

Read More