การเรียนการสอน extern ของภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
ประจำปีการศึกษา 2561


การจัด rotation

แบ่งเป็น ภาควิชาฯ 4 สัปดาห์
รพ. สมทบ 4 สัปดาห์

การเรียนการสอนเมื่อ นศพ. มาฝึกปฏิบัติงานที่ภาควิชาสูติฯ (จำนวน นศพ. 19-20 คน ต่อกลุ่ม ต่อ 4 สัปดาห์)

จะแบ่ง นศพ. เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่ม A : รพ.ฝาง = 2-3 คน และ รพ. จอมทอง = 2-3 คน รวม 4-6 คน
กลุ่ม B : ในภาควิชา 14-16 คน

Activity กลุ่ม A&B

  1. Orientation รวมวันแรกที่ขึ้น (7:30-8:00)
  2. lecture จัดรวมทั้ง กลุ่ม A&B (8:00-12:00)
    • จัดสอนรวมวันแรกที่ orientate
    • พักเบรกช่วง 10.00- 10.20 น. (หลังชั่วโมงที่สอง)
      1. Common problems in OB   อ. เฟื่องลดา ทองประเสริฐ
      2. Common problems in GYN   อ. ประภาพร สู่ประเสริฐ
      3. Emergency OB   อ. เกษมศรี ศรีสุพรรณดิฐ
      4. Family planning & HRT   อ. อุษณีย์ แสนหมี่ (มีเอกสารขึ้น website ภาควิชา)
      5. Basic OB-GYN procedure อ. เศรษฐวัฒก์ เศรษฐเสถียร
        หัวข้อที่ 1-3 มีอยู่ในหนังสือ emergency extern แล้ว หาดูได้จาก Website ภาควิชา
  3. การสอบ MEQ ลงกอง 2 ข้อ (นรีเวชวิทยา 1 ข้อ สูติศาสตร์ 1 ข้อ) วันศุกร์สุดท้ายของการปฏิบัติงาน (8.00-9.00)
  4. การสาธิตหัตถการ วันศุกร์สุดท้ายของการปฏิบัติงาน (9:00-12:00) ควบคุมโดย อ. อุบล แสงอนันต์
    โดยแบ่งกลุ่มให้นักศึกษา (2-3 คน ต่อกลุ่ม) และจับฉลากหัตถการในวันแรกที่ orientate และกลับมาแสดงหัตถการหน้าชั้นตามที่จับสลากได้ โดยใช้เวลาหัตถการละ 5 – 10 นาที หัวข้อสำหรับสาธิตหัตถการ ได้แก่
    1. Pap smear preparation and pelvic examination
    2.  Leopold maneuver
    3. Cervical dilatation assessment and amniotomy
    4. Vacuum extraction
    5. Manual removal of placenta
    6. Shoulder dystocia
    7. Nuchal cord
    8. Removal of FB from vaginal in adult
    9. Vaginal packing
    10. Marsupialization of Bartholin abcess
    11. Multiload IUD insertion
    12. Implant contraception (Jardell®)
    13. Advise how to use oral contraceptive pills
    14. Cervical polypectomy
    15. Placental delivery and perineorrhaphy

Activity เฉพาะกลุ่ม A (รพ.ฝาง และ จอมทอง)

1. จัดกิจกรรมให้ นศพ. ได้ทำ อย่างน้อยตาม Log book ดังนี้

  1. ได้ทำ PV / Pap smear 3 ราย
  2. ได้ตรวจ ANC 3 ราย
  3. ได้ทำหรือช่วย normal labor 2 ราย
  4. ได้ทำหรือช่วย amniotomy 1 ราย
  5. ได้ช่วยผ่าตัดคลอด 1 ราย
  6. ได้ทำหรือช่วย ATR 1 ราย
  7. ได้ทำ D&C หรือ F/C หรือ endometrial sampling หรือ MVA 1 ราย
  8.  ได้ช่วยการผ่าตัดทางนรีเวช 1 ราย
  9. ได้ทำหรือช่วยทำหัตถการอื่น ๆ เช่น V/E, F/E, biopsy, marsupialization, polypectomy, gynecologic surgery, ใส่ห่วง, ฉีดยาคุม, ฝังยาคุม เป็นต้น 2 ราย

2. จัดทำ topic presentation 2-3 คนต่อเรื่อง (อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม)

3. เขียนรายงานสูติ หรือ gyne 1 ฉบับ (ส่งอาจารย์ที่ภาควิชาฯประเมิน) ให้เขียนในกระดาษ A4 ส่งพร้อม log book วันศุกร์สุดท้าย ที่เข้ามาสอบ MEQ โดยให้เซ็นในสมุดรับ ส่ง ไว้เป็นหลักฐาน โดยมีรูปแบบดังนี้ : patient profile, chief complaint, present illness, past history, family history, physical exam, pelvic exam, impression, discussion (เช่น differential diagnosis, plan of investigation, plan of management)

4. ภาควิชาจัดเวรให้ โดยถ้ามีความจำเป็นต้องแลกเวร ให้แจ้งอาจารย์ รพ. สมทบ ให้เรียบร้อย

5. ส่ง log book และรายงานที่ภาควิชาฯ ในวันศุกร์สุดท้ายของการฝึกปฏิบัติงานหรือวันที่กำหนดตามความเหมาะสม โดยให้เซ็นในสมุดรับ ส่ง ไว้เป็นหลักฐาน

6. รายละเอียดการให้คะแนน

{tabulizer:style[gr.alterora.elemental_1_blue.css]}

Knowledge (subjective) Skill Attitude
การปฏิบัติงานในจุดต่างๆ  และอยู่เวร 25
การทำ topic presentation 10 5
การนำเสนอหัตถการ 5 10
การประเมินจำนวนหัตถการจาก Logbook 30
การประเมินคุณภาพหัตถการ 5
การเขียนรายงาน 1 ฉบับ 10
รวม 25 45 30

7. การลา

  • ไม่เกินร้อยละ 20 ของเวลาเรียน
  • กรณีลาป่วยตั้งแต่ 2 วันขึ้นไปให้ส่งใบรับรองแพทย์ด้วย
  • กรณีลากิจต้องแจ้งอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อเซ็นรับรองอย่างน้อย 1 สัปดาห์ และต้องแลกเวรให้เรียบร้อยก่อน (ในกรณีฉุกเฉิน อนุโลมให้โทรศัพท์แจ้งก่อนได้)

กิจกรรมทีทาง รพ. ฝาง และ จอมทอง ต้องจัดให้คือ

  1. จัด orientation เพื่อทำความเข้าใจ การเรียน การสอน
  2. จัดสอน ultrasound OB&GYN
  3. คุม topic (อาจจะทำเป็น case presentation) และให้คะแนน
  4. ตรวจสอบว่า นศพ. ทำกิจกรรมตาม log book โดยเซ็นชื่อกำกับทุกครั้ง
  5.  ตรวจสอบการอยู่เวรจัดเวรของ นศพ
  6. ประเมิน
    • คุณภาพหัตถการ
    • คะแนน topic presentation
    • ประเมินจิตพิสัยรวม (ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ฯลฯ)
  7. จัดที่พัก
  8. ให้ นศพ. ส่งงานที่ภาควิชา (โดยให้เซ็นชื่อรับส่งที่คุณสุรพรด้วย)
    • รายงานผู้ป่วยสูติหรือนรีเวชคนละ 1 ฉบับ
    • log book
  9. รพ.ฝางและจอมทอง รับผิดชอบส่ง (fax/ scan)
    • ใบคะแนน นศพ.
  10. วันก่อนสอบลงกอง MEQ ภาควิชา นศพ.ที่ จอมทอง และ ฝางให้เดินทางกลับภาควิชาได้ตั้งแต่ 15.00 น. เป็นต้นไป

Activity เฉพาะกลุ่ม B (ในภาควิชาฯ)

1. การปฏิบัติงานในจุดต่างๆ
จำนวนนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 ปฏิบัติงานในภาควิชา 14-16 คนต่อกลุ่มต่อ 4 สัปดาห์ แบ่งเป็นกลุ่มย่อย 4 กลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน หมุนเวียนปฏิบัติงานตามจุดต่างๆ ทุกสัปดาห์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1. Ward OB-LR

  • รับผิดชอบ round ward OB, LR, ER-OB, OR (C/S,TR) วันจันทร์ถึงศุกร์
  • Round ward OB วันหยุดราชการ
  • ทำงานตามที่ได้รับมอบหมายจากแพทย์ประจำบ้าน
  • ต้องมีลายเซ็น หัวหน้าแพทย์ประจำบ้าน/ ผู้แทน ของ ward OB เซ็นชื่อทุกวันที่ไป round ward ในสมุดนี้
  • เขียนรายงานผู้ป่วยสูติกรรม 1 ฉบับ
  • ตรงเวลา

2. OPD ANC

  • รับผิดชอบออกตรวจ OPD ANC (OPD 4) วันจันทร์ถึงศุกร์ (9:00-16:00 น.)
  • Teaching U/S คนละ 1 ครั้ง ในวันอังคาร (14.00 – 15.00) หรือ วันพฤหัสบดี (13.00 – 14.00 น.) หมุนวนตามตารางที่แนบให้
  • Observe ultrasound คนละ 1 ครั้ง ช่วง 9.00 – 12.00 น. หมุนวนตามตารางที่แนบให้
  • ตรงเวลา

3. Ward GYN

  • รับผิดชอบ round ward GYN, OR วันจันทร์ถึงศุกร์
  • Round ward GYN วันหยุดราชการ
  • ทำงานตามที่ได้รับมอบหมายจากแพทย์ประจำบ้าน
  • ต้องมีลายเซ็น หัวหน้าแพทย์ประจำบ้าน/ ผู้แทน ของ ward gyne เซ็นชื่อทุกวันที่ไป round ward ในสมุดนี้
  • ตรงเวลา

4. OPD GYN

  • รับผิดชอบออกตรวจ OPD GYN (OPD 3) ในวันจันทร์ถึงศุกร์ (9.00-16.00 น.) ยกเว้นได้รับมอบหมายให้ไปอยู่จุดอื่นตามตารางที่แนบให้
  • Observe OPD menopause (OPD 5) ในวันพุธเช้า และศุกร์เช้า (8.00 – 12.00น.)
  • Observe onco clinic (OPD 3) และ observe infertility and endocrine clinic (OPD 5) ในวันอังคาร หรือ วันพฤหัสบดี (13.00–15.30 น.) ตามตารางที่แนบให้
  • ตรงเวลา

หมายเหตุ
กรณีที่มีวันหยุดราชการเพิ่มเติม นอกเหนือจากวันเสาร์-อาทิตย์ อาจมีการเปลี่ยนแปลงการหมุนเวียนภายในแต่ละจุดได้ตามความเหมาะสม

2. การฝึกปฏิบัติกับหุ่นจำลอง (sim-mom) ในหัวข้อเรื่อง emergency in OB และการฝึกเย็บ perineum ในวันพุธ (13.00-15.00 น.) โดยให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมตามวันและเวลาที่ภาควิชาฯ กำหนด

3. การทำ case conference  

ให้นักศึกษาแบ่ง 2 กลุ่มเพื่อทำ case conference จำนวน 2 เคส (สูติ 1 เคส และ นรีเวช 1 เคส) โดยเตรียมนำเสนอและอภิปรายให้อาจารย์ที่ orientate ประจำกลุ่มนั้นๆ ประเมินตามวันและเวลาที่กำหนด (ประมาณสัปดาห์ที่ 3 ใช้เวลาประมาณ ½ – 1 ชั่วโมงต่อกลุ่ม)

Extern corner

(ไม่คิดเป็นคะแนน) เพื่อเปิดโอกาสให้ extern สอบถามข้อสงสัยทางวิชาการและแสดงความเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนและการทำงานในภาควิชา จัดในวันทำ case conference

 

4. การอยู่เวร

  • เวรวันทำการและวันหยุด วันละ 4 คน
  1. ER-OB 2 คน
  2. LR 2 คน
    • การแลกเวรให้แจ้งอาจารย์ที่ orientation รับทราบก่อนทุกครั้ง ไม่อนุญาตให้อยู่เวรติดกัน
    • วันราชการรับ-ส่งเวร เวลา 16.00 น. (จันทร์,พุธ,ศุกร์) และ 16.30 น. (อังคาร,พฤหัสบดี)และ วันหยุดราชการ รับ-ส่งเวร เวลา 8.00 น. ในห้องคลอด
    • วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือน ถ้าต้องย้ายไปอยู่ภาควิชาอื่น (ในคณะ) ให้ลงเวรเวลา 6.00 น.ของวันจันทร์ แต่ถ้าต้องย้ายไปอยู่รพ.สมทบ ให้ลงเวรเวลา 24.00 น. (ให้ตรวจสอบในวัน orientation อีกที และแลกเวรให้เรียบร้อย)
    • ต้องมีลายเซ็นหัวหน้าแพทย์ประจำบ้านที่อยู่เวรวันนั้น
    • การอยู่เวร กรณีพิเศษ (กำหนดการนี้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม)
      1.  อยู่เวรก่อนสอบลง loop ให้อยู่ถึงเที่ยงคืน วันก่อนสอบ และในวันสอบไม่ต้องอยู่เวร (เนื่องจากวันรุ่งขึ้นจะต้องมีการสอบ loop ภาคอื่นด้วย) หลังจากสอบลง loop ครบ ต้องกลับมาอยู่เวรต่อ
      2. อยู่เวรก่อนสอบ MEQ ศรว, OSCE ศรว, OSCE ซ้อมสอบ ให้งดเวรวันก่อนสอบตั้งแต่ 16:00 น. และในวันสอบไม่ต้องอยู่เวร
      3. วัน bye grand ให้งดเวรตั้งแต่ 16:00 น. กลับมาอยู่เวรตามปกติในวันถัดไป
      4. งดเวรวัน OSCE camp
      5. วันปัจฉิมนิเทศให้ลงเวร 6.00 น เช้า

5. Activity ของภาควิชา ที่กำหนดให้ต้องเข้าร่วม

  • Morning conference ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 7.00-8.00 น.
  • ICC/MM conference ทุกวันจันทร์ เวลา 13.00-14.30 น.
  • Journals/Topic reviews ทุกวันอังคารและพฤหัสบดี เวลา 15.30-16.30 น.
  • RM/MFM/ONCO conference, Research ทุกวันศุกร์ เวลา 13.00-14.30 น.
  • ต้องมีลายเซ็นแพทย์ประจำบ้านที่เข้า conference วันนั้นๆ

กรณีไม่ได้เข้าร่วม activity เช่น เข้าห้องผ่าตัด หรือทำคลอด ให้แจ้งเหตุผลพร้อมลายเซ็นของอาจารย์หรือแพทย์ประจำบ้านที่ควบคุมในช่วงเวลานั้นๆ ด้วย

6. การเขียนรายงาน

ให้เขียนรายงานผู้ป่วยรับใหม่สูติหรือนรีเวชจำนวน 1 ฉบับ โดยเขียนในกระดาษรายงานหรือกระดาษ A4 ไม่เกิน 3 แผ่น หรือ 6 หน้ากระดาษ (ไม่รวม partogram, ANC record) โดยมีรูปแบบดังนี้ : patient profile, chief complaint, present illness, past history, family history, physical exam, pelvic exam, problem lists, discussion (เช่น differential diagnosis, plan of investigation, plan of management), สรุป progression

7. การลา

  • ไม่เกินร้อยละ 20 ของเวลาเรียน
  • กรณีลาป่วยตั้งแต่ 2 วันขึ้นไปให้ส่งใบรับรองแพทย์ด้วย
  • กรณีลากิจต้องแจ้งอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อเซ็นรับรองอย่างน้อย 1 สัปดาห์ และต้องแลกเวรให้เรียบร้อยก่อน (ในกรณีฉุกเฉิน อนุโลมให้โทรศัพท์แจ้งก่อนได้)

8. การประเมินหัตถการจาก logbook

• ให้นักศึกษาทำหัตถการตาม minimal requirement ดังต่อไปนี้

  1.  ได้ทำ PV / Pap smear 3 ราย
  2.  ได้ตรวจ ANC 3 ราย
  3. ได้ทำหรือช่วย normal labor 2 ราย
  4.  ได้ทำ amniotomy 1 ราย
  5.  ได้ช่วยผ่าตัดคลอด 1 ราย
  6. ได้ทำหรือช่วย ATR 1 ราย
  7. ได้ทำ D&C หรือ F/C หรือ endometrial sampling หรือ MVA 1 ราย
  8. ได้ช่วยการผ่าตัดทางนรีเวช 1 ราย
  9.  ได้ทำหรือช่วยทำหัตถการอื่น ๆ เช่น V/E, F/E, biopsy, marsupialization, polypectomy, gynecologic surgery, ใส่ห่วง, ฉีดยาคุม, ฝังยาคุม เป็นต้น 2 ราย

กรณีที่ไม่มีหัตถการที่ระบุในช่วงผึกปฎิบัติงาน จะพิจารณาเพิ่มคะแนนตามจำนวนหัตถการที่ได้ทำเพิ่มเติมจากที่ระบุในข้อ 3-9

ส่งสมุดบันทึกการปฏิบัติงาน (log book) และรายงานไม่เกิน 3 วัน (วันพุธ) นับจากสิ้นสุดการปฏิบัติงานในภาควิชาสูติฯ ที่คุณสุรพร โดยต้องมีการเซ็นชื่อในสมุดรับส่ง เพื่อยืนยันว่าส่งจริง ส่งช้ากว่ากำหนด หักคะแนนวันละ 1 คะแนน ส่งช้าเกิน 2 เดือนให้ 0 คะแนน (จะโทรตามสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพียง 2 สัปดาห์ เท่านั้น)

9. รายละเอียดการให้คะแนน

การประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) แบ่งเป็นการประเมินในหัวข้อดังต่อไปนี้ โดยสัดส่วนคะแนนที่ได้มาจากการเรียนการสอน การสอบ และการเข้าร่วมกิจกรรมของภาควิชา ดังแสดงในตาราง

{tabulizer:style[gr.alterora.elemental_1_blue.css]}

Knowledge (subjective) Skill Attitude
การปฏิบัติงานในจุดต่างๆ  และอยู่เวร 25
การเข้า conference 5 5
การนำเสนอหัตถการ 5 10
การเขียนรายงาน 2 ฉบับ 20
การประเมินจำนวนหัตถการจาก Logbook 30
รวม 25 45 30

หมายเหตุ:

  • เจตคติ ถ้าระหว่างปฏิบัติงาน มีเรื่องร้องเรียน เช่น ทุจริต ไม่ซื่อสัตย์ มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม อาจจะถือว่าไม่ผ่านการประเมิน และ นำเรื่องเข้าพิจารณาในที่ประชุมภาควิชาฯ อีกที
  • ในวันสอบลงกองของภาควิชาสูติฯ ให้ปฏิบัติงานและเข้า conference ตามปกติ และมาสอบในเวลาที่กำหนด

การฝึกปฏิบัติงาน ณ โรงพยาบาลสมทบ

รายนาม รพ. สมทบ

  • รพ. เชียงรายประชานุเคราะห์
  • รพ. ลำพูน
  • รพ. ลำปาง
  • รพ. นครพิงค์
  • รพ. น่าน
  • รพ. แม่สอด

1. การจัดการเรียน การสอน

• ให้ นศพ. ได้มีการหมุนเวียนในการดูแลผู้ป่วย สูติกรรม และ นรีเวชกรรม โดยมีโอกาสได้ทำ minimal requirement ตามที่กำหนดไว้ดังนี้ โดยนศพ. จะต้องจดบันทึกการทำหัตถการในแผ่นพับ log book และขอให้อาจารย์ผู้ควบคุมเซ็นชื่อด้วยเพื่อยืนยันว่า นศพ. ทำจริงๆ

1. PV (pap) 5 ราย
2. ตรวจ ANC 2 ราย
3. ช่วยผ่าตัด gyne 3 ราย
4. ช่วยหรือทำ normal labor 3 ราย
5. ช่วยหรือทำ amniotomy 3 ราย
6. ช่วยหรือทำ curette (FC หรือ D&C หรือ endometrial sampling) 3 ราย
7. ช่วยทำหมัน 3 ราย
8. ช่วยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง 5 ราย
9. หัตถการอื่นๆ (เช่น V/E, F/E, ใส่ห่วง ฉีดยาคุม cervical biopsy, polypectomy เป็นต้น) 3 ราย

• จัดทำ case discussion หรือ Journal club เดือนละ 1 ครั้ง
• ทางภาควิชาฯ มีตัวอย่างลายเซ็นอาจารย์ รพ. สมทบ ทุกท่าน เพื่อใช้ตรวจสอบกับลายเซ็นในแผ่นพับ log book
• ทางภาควิชาฯ จะแจก log book รพ. สมทบให้ในวัน orientation รวม ของคณะ กรณีที่ นศพ. ทำ แผ่นพับ log book หาย ให้ download ได้จาก website ภาควิชาสูติศาสตร์ฯ

2. ทางรพ. สมทบ จะจัดทำสมุด รับ ส่ง แผ่นพับ log book เพื่อป้องกันปัญหาว่า นศพ. ได้ส่งจริงหรือไม่ ขอให้ทาง นศพ เซ็นชื่อ ร่วมกับ เจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นหลักฐานว่าส่งใน วัน เวลา ดังกล่าว จริงๆ และขอให้ทาง นศพ.ถ่ายรูปเก็บไว้เป็นหลักฐานกรณี log book สูญหาย

3. เกณฑ์การประเมิน

  • คะแนนส่วน skill 50 คะแนน

ประเมินจาก การทำ / ช่วย หัตถการต่างๆ

  • คะแนนส่วน attitude 20 คะแนน

ประเมินจาก

    • ความรับผิดชอบ
    • การตรงต่อเวลา (การออก OPD, OR, on call, etc)
    • ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
    • เจตคติ เช่น มนุษยสัมพันธ์กับผู้ป่วย , ญาติผู้ป่วย และผู้ร่วมงานทุกระดับ,จริยธรรม
    • คะแนนอีก 30 คะแนน จะมาจากการนับ case ใน log book (attitude) ที่มีลายเซ็นอาจารย์ โดยถ้าทำได้ครบตาม minimal requirement จะได้เต็ม 30 คะแนน โดยทางภาควิชาฯ จะเป็นผู้นับคะแนนส่วนนี้เอง

*ถ้ามีปัญหาขณะฝึกอบรมที่ รพ. สมทบ ให้ติดต่อ คุณ สุรพร ที่ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา โทร 053-935552-5, 081-7467187

การประเมินผลรวม

การประเมินเพื่อตัดเกรดปลายปี มีคะแนนมาจาก 4 ส่วน

{tabulizer:style[gr.alterora.elemental_1_blue.css]}

ที่มาของคะแนน เกณฑ์การตัดเกรด (น้ำหนักคะแนน) ถ้าไม่ผ่าน ทำอย่างไร
1. ภาควิชาเอง MPL 60%, T score (40%) ปฏิบัติงานเพิ่ม 10-14 วัน
2. รพ สมทบ MPL 60%, T score (40%) ปฏิบัติงานเพิ่ม 10-14 วัน
3.  MCQ ตกคือ mean < -2SD (15%) สอบ MCQ
4. MEQ ตกคือ mean < -2SD (5%) ของแต่ละกลุ่ม สอบ MEQ *

หมายเหตุ
ถ้าซ่อม ข้อ 1-3 ผ่านให้เกรด C ,ซ่อมไม่ผ่าน (อันใดอันหนึ่ง หรือ ทั้ง 2 อัน)ให้ D+, ถ้าไม่ซ่อมให้ F
การซ่อม MEQ ให้ตามมาซ่อมช่วงที่มาสอบลง loop โดยสอบข้อสอบเดิมที่เคยสอบ 2 ข้อ หากผ่าน เกณฑ์ MPL ที่กำหนดไว้เดิมจะได้คะแนนเท่ากับคะแนนดิบเดิมที่ได้ไปคิด T-score

แหล่งความรู้

คู่มือด้านความรู้ สามารถ download ได้ที่ website ของภาควิชาฯ


บทส่งท้าย

1. มีผู้กล่าวว่า “ในโลกนี้ไม่มีใครสอนอะไรใครได้” เพราะการเรียนรู้นั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้เรียนมีความสนใจอยากรู้ ครูจึงมีหน้าที่เร้าใจให้ผู้เรียนอยากเรียน

2. สิ่งที่ผู้เรียนควรจะได้เรียนไปพร้อมกัน คือ “วิธีเรียน” เนื้อหาของวิชาการต่างๆในโลกนี้มีปริมาณมาก และนับวันจะเพิ่มขึ้นทุกขณะ ถ้าผู้เรียนไม่รู้วิธีเรียน ก็จะไม่สามารถเรียนด้วยตนเองต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังคำกล่าวที่ว่า “ครูจะช่วยให้นักเรียนรู้วิธีตกปลา แต่มิใช่จับปลามาให้นักเรียน”

3. ความสำเร็จในการเรียน ก็ยังคงอาศัยหลักง่ายๆ ถ้าเพียงผู้เรียนได้ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ คือ

  • ความพอใจ ความสนุกที่จะเรียน
  • ความมานะพยายาม ขยันหมั่นเพียร หนักเอา เบาสู้
  • ความสนใจ เอาใจใส่สม่ำเสมอ ไม่ทอดทิ้ง
  • ความใคร่ครวญพินิจพิจารณาด้วยปัญญาอยู่เสมอ โดยปราศจาก “อคติ” ทั้งปวง

“ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการเรียนรู้วิชานี้ และวิชาอื่นๆ ต่อไป”

ปรับปรุงโดยกลุ่มคณาจารย์ปี 6
เมษายน 2561