คำนำ

คู่มือเล่มนี้ใช้ชื่อว่า “คู่มือช่วยการเรียนรู้”  เพราะเป็นคู่มือที่ “ครู” จัดทำขึ้นเพื่อช่วยให้นักศึกษา หรือ “ผู้เรียน”  เรียนได้ผลดี  ทั้งนี้เพราะ “การเรียน” นั้น โดยแท้จริงแล้วย่อมเป็นกิจการของผู้เรียน โดยมี “ครู” เป็นผู้ช่วยจัดกลไกในการเรียน  เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ในตัวผู้เรียน ไม่ว่าจะเรียนเรื่องใด ”  ครู”   มีหน้าที่ช่วยให้เกิดกลไกเหล่านั้นได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ประทับใจ ฯลฯ

กลไกในการเรียนรู้ เริ่มจากผู้เรียนได้สัมผัสกับประสบการณ์ใหม่  เมื่อบังเกิดความสนใจ จึงได้พินิจพิจารณา หาเหตุผลด้วยปัญญาของตนเอง ครั้นนำเอาเหตุผลนั้นไปทดลองกับปรากฏการณ์ในลักษณะเดียวกันต่อไป ก็ปรากฏว่าใช้ได้ เป็นการยืนยันว่าเหตุผลที่สรุปด้วยสติ ปัญญาของตนเองนั้นถูกต้อง จึงรับไว้เป็นแนวทางต่อไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าได้เรียนรู้แล้ว

” ครู ”     มีหน้าที่เร้าใจให้   ” ผู้เรียน ”   สนใจ  พยายามจัดหาอุปกรณ์     และสร้างบรรยากาศให้ ” ผู้เรียน ” สนุก ที่จะเรียน อยากเรียน ดังนั้นในกรณีที่  ”   ผู้เรียน ” มีความกระตือรือร้น หรือแรงดลใจอยู่แล้ว ก็ย่อมจะทำให้การเรียนได้ผลดียิ่งขึ้น

ที่ว่าการเรียนได้ผลดีนั้น  หมายความว่าอย่างไร ?

คำตอบ    คือ    เรียนจนได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

วัตถุประสงค์   คือ   อะไร  ?

วัตถุประสงค์ในความหมายในทางการศึกษา    หมายถึง  ลักษณะที่คาดหวังว่าเมื่อ ”  ผู้เรียน ” เรียนจบแล้วมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ?  ลักษณะดังกล่าวนี้  จำแนกออกเป็น 3   ประการ  คือ  ความรู้   ความชำนาญ  และ เจตคติ

คู่มือเล่มนี้    จะช่วยให้  ” ผู้เรียน ”   เรียนได้ บรรลุวัตถุประสงค์

รศ.นพ.กำจัด    สวัสดิโอ
อดีตหัวหน้าภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
คณะแพทยศาสตร์   มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


 

 

ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา    คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้กระบวนวิชา พ.สต.601 โดยอาศัยวัตถุประสงค์ของหลักสูตรสาขาวิชาแพทยศาสตร์ พ.ศ. 2553 และ เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา พ.ศ. 2555  เป็นแนวทางประกอบกัน

1.    วัตถุประสงค์ของหลักสูตร  สาขาวิชาแพทยศาสตร์  พ.ศ. 2553

เพื่อผลิตบัณฑิตแพทย์ให้มีคุณลักษณะดังนี้

  1. มีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติ ปฏิบัติตนถูกต้องตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพแพทย์
  2. มีร่างกายและจิตใจที่ไม่เป็นอุปสรรคในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
  3. มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพ สามารถแก้ไขปัญหาในเวชปฏิบัติปฐมภูมิ โดยคำนึงถึงปัญหา ทางร่างกาย จิตใจเศรษฐฐานะ สิทธิของผู้ป่วยและสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับตัวผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน สามารถใช้วิจารณญาณแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลเป็นระบบและรู้ขีดความสามารถของตนเอง
  4.  มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร สร้างมนุษยสัมพันธ์ และถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. มีนิสัยใฝ่รู้ และศึกษาอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม 6. มีภาวะความเป็นผู้นำ รู้หลักการและมีวิสัยทัศน์ในการบริหารจัดการด้านการแพทย์ให้ สอดคล้องกับระบบสาธารณสุขของประเทศและงานทั่วไป
  6. สามารถพัฒนาตนเองและปรับตัวให้เข้ากับขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณีและ สิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานของคุณธรรม

2.    วัตถุประสงค์ของกระบวนวิชา พ.วป. 603 (332603) : เวชปฏิบัติสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

นักศึกษาสามารถ

  1.  มีทักษะทางคลินำในการวินิจฉัยโรคทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาที่พบบ่อย
  2. รักษาผู้ป่วยอย่างเหมาะสม โดยอ้างอิงหลักฐานทางการแพทย์ หลักจริยเวชศาสตร์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  3. ทำหัตถการพื้นฐานทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
  4. แนะนำเรื่องโรค การรักษา และการสร้างเสริมสุขภาพแก่ผู้ป่วยและญาติ
  5. เข้าใจ และให้เหตุผลในการส่งต่อผู้ป่วย
  6. สื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่น

เกณฑ์ที่คาดหวังว่าจะได้รับ  เมื่อผ่านการเรียนการสอนของภาควิชาฯ

ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้ตามหลักการบริบาลที่ถูกต้อง คือ การส่งเสริมสุขภาพ  การป้องกันโรค  การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ ตลอดจนการปฏิบัติวิชาชีพตามกฎหมาย  โดยจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้ในเรื่องต่างๆ ตามเกณฑ์แพทยสภา ปี 2553 ดังนี้

กลุ่มที่ 1 : โรค/กลุ่มอาการ/ภาวะฉุกเฉินที่ต้องรู้กลไกการเกิดโรค สามารถให้การวินิจฉัยเบื้องต้น และให้การบำบัดการรักษาได้อย่างทันท่วงที ตามความเหมาะสมของสถาณการณ์ รู้ข้อจำกัดของตนเองและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์มากกว่าได้อย่างเหมาะสม

  1.  obstructed labor
  2.  threatened uterine rupture
  3. asphysxia of the newborn
  4. fetal distress
  5. antepartum and postpartum hemorrhage

กลุ่มที่ 2 : โรค/กลุ่มอาการ/ภาวะที่ต้องรู้กลไกการเกิดโรค สามารถให้การวินิจฉัย ให้การบำบัดการรักษาได้ด้วยตนเอง รวมทั้งการฟื้นฟูสภาพ การส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค ในกรณีที่โรครุนแรง หรือซับซ้อนเกินความสามารถให้พิจารณาแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และส่งผู้ป่วยต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญ

  1. cystitis, urethritis
  2. vulvovaginitis
  3. cervicitis
  4. Pelvic inflammatory disease (endometriits,salpingitis,oophoritis,tuboovarian abscess)
  5. menstrual disorder
  6. abnormal uterine or vaginal bleeding
  7.  menopausal & perimenopausal disorder
  8. abnormal findings on antenatal screening of mother  (biochemical,hematological,serological,cytological,chromasomal)
  9. abortion
  10.  hyperemesis gravidarum
  11. antepartum hemorrhage (placenta previa, abruption placenta)
  12. hypertensive disorder in pregnancy
  13.  other maternal disorders related to preganancy ( infection of genitourinary tract, diabetes mellitus, malnutrition)
  14. malposition and malpresentation of the fetus
  15. normal delivery
  16. preterm labor
  17. premature rupture of membrane , chorioamnionitis
  18. prolonged pregnancy (postdate, posterm)
  19. abnormal labor forces (prolonged labor)
  20. fetal distress
  21. trauma to birth canal during delivery & fetal injury
  22. complications during puerperium
  23. birth infection associated with childbirth
  24. hydratidiform mole
  25. birth asphysxia

กลุ่มที่ 3 : โรค/กลุ่มอาการ/ภาวะที่ต้องรู้กลไกการเกิดโรค สามารถให้การวินิจฉัยแยกโรค และรู้หลักในการดูแลรักษา แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ตัดสินใจส่งผู้ป่วยต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งการฟื้นฟูสภาพ การส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค

  1. endometriosis
  2. Bartholinitis & abscess, barthrolin cyst
  3. imperforated hymen
  4. female genital prolapsed (cystocele,rectocele,prolapsed uterus)
  5. fistula involving female genital tracts
  6. umbilical cord complication (prolapsed cord, vasa previa)
  7. obstructed labor
  8. ectopic pregnancy
  9. multiple gestation
  10. fetopelvic disproportion
  11. polyhydraminos, oligohydraminos
  12. benign and malignant neoplasm of genital tract

หัตถการ

1.  หัตถการพื้นฐานทางคลินิก เมื่อจบแพทยศาสตร์บัณฑิตแล้วสามารถบอกข้อบ่งชี้ ขั้นตอนวิธีการทำ บอกภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น และสามารถทำได้ด้วยตนเอง

  • Normal labor
  • Amniotomy
  • Episiotomy and perineorrhaphy
  • Pap smear preparation
  • Remove foreign body from vagina in adult

2. หัตถการที่มีความซับซ้อนกว่าหัตถการพื้นฐาน และมีความสำคัญต่อการรักษา เมื่อจบแพทยศาสตร์บัณฑิตแล้วสามารถบอกข้อบ่งชี้ ขั้นตอนวิธีการทำ บอกภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ถูกต้อง สามารถทำภายใต้การแนะนำได้ถูกต้อง และเมื่อผ่านการเพิ่มพูนทักษะแล้ว สามารถทำได้ด้วยตนเอง

  • Cervical dilatation and uterine curettage
  • Tubal ligation & resection
  • Insertion and removal of intrauterine device
  • Removal of foreign body from vagina
  • Biopsy of cervix

3.  หัตถการที่มีความซับซ้อน และ อาจทำในกรณีที่จำเป็น สามารถบอกข้อบ่งชี้ ขั้นตอนวิธีการทำ บอกภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ถูกต้อง เมื่อจบแพทยศาสตร์บัณฑิตต้องเคยเห็น เคยช่วย และเมื่อผ่านการเพิ่มพูนทักษะต้องได้ทำภายใต้คำแนะนำ

Low transverse cesarean section

4. หัตถการที่มีความซับซ้อน และ/หรือ อาจเกิดอันตรายที่ร้ายแรงได้ ถ้าปฏิบัติไม่เหมาะสม และ / หรือ ต้องอาศัยการฝึกฝนเพิ่มเติม สามารถบอกข้อบ่งชี้ หลักการ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิด สามารถให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้ป่วยได้ถูกต้อง เมื่อจบแพทยศาสตร์บัณฑิตและผ่านการเพิ่มพูนทักษะต้องเคยเห็นหรือเคยช่วย

  • Vacuum extraction
  • Low forcep extraction
  • Manual removal of placenta
  • Culdocentesis
  • Marsupilization of Bartholin cyst
  • Conization of uterine cervix
  • Salpingectomy and oophorectomy
  • Breech assisting and extraction
  • Contraceptive drug implantation and removal

5. หัตถการเฉพาะทาง สามารถบ่งชี้ หลักการ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิด สามารถให้คำแนะนำเพื่อเป็นแนวทางในการส่งต่อผู้ป่วยต่อไปได้อย่างเหมาะสม และสำหรับให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้ป่วย

Hysterectomy

ความสามารถพื้นฐานในการตรวจ และเลือกส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่

  • การทำ  Papanicolaou ‘s smear
  • การตรวจ อัลตร้าซาวด์ในหญิงตั้งครรภ์ และ ในท้องน้อย

ลักษณะงาน

ภาคบรรยาย :              

มีการบรรยาย 4 ชั่วโมง  เรื่อง Common problems in Gyne , Common problems in OB , Contraception & Family planning  และ Emergency OB: APH, PPH

ภาคปฏิบัติงาน  :        

ฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยทั้งสูติกรรมและนรีเวชกรรม  ร่วมกับแพทย์ประจำบ้าน และอาจารย์แพทย์ ประมาณ  50-70  ชั่วโมงต่อสัปดาห์  โดยภาควิชาฯยึดถือนโยบายว่า การปฏิบัติใดๆก็ตามต่อผู้ป่วย เป็นความรับผิดชอบอย่างสำคัญที่สุด จะละทิ้งไม่ได้

1. ด้านสูติกรรม

  • ฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยสูติกรรม  ดูแลสตรีมีครรภ์ที่ปกติ  ผิดปกติและมีโรคแทรกซ้อนในระยะก่อนเจ็บครรภ์  ระยะเจ็บครรภ์ และระยะหลังคลอด
  • ฝึกปฏิบัติงานในห้องคลอด ดูแลสตรีมีครรภ์ที่ปกติ  ผิดปกติ และมีโรคแทรกซ้อนในระยะเจ็บครรภ์  รวมทั้งการคลอด ทำคลอดในรายปกติ  ช่วยทำคลอดในรายผิดปกติและรายที่มีโรคแทรกซ้อน
  • ฝึกปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด ช่วยผ่าตัดทำหมัน   ช่วยผ่าตัดในรายผ่าท้องทำคลอด ช่วยผ่าตัดโรคนรีเวชกรรมบางอย่าง
  • ฝึกปฏิบัติงานที่ห้องฝากครรภ์     ดูแลสตรีมีครรภ์   ตรวจวินิจฉัย  ให้การรักษา  และให้คำแนะนำแก่สตรีที่มีครรภ์ปกติ  ผิดปกติ  และมีโรคแทรกซ้อน
  • ฝึกปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในห้องคลอด ตามที่ภาควิชา ฯ   จัดให้
  • เป็นพี่เลี้ยงแก่นักศึกษาแพทย์ปีที่  5
  • ตรวจ  เช็ค และ/หรือ  กรอกรายละเอียดต่างๆ  ในแบบรายงานผู้ป่วยให้ครบถ้วนสมบูรณ์

2. ด้านนรีเวชกรรมและวางแผนครอบครัว

  • ฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยนรีเวชกรรม  ตรวจ วินิจฉัย  และดูแลผู้ป่วยนรีเวชกรรม  ก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัด
  • ฝึกปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด  ช่วยผ่าตัด ทั้งผ่าตัดเล็กและผ่าตัดใหญ่  ช่วยขูดมดลูกในรายที่ไม่ติดเชื้อ
  •  ฝึกปฏิบัติงานที่หน่วยผู้ป่วยนอก   ตรวจ วินิจฉัย   และให้การรักษาแก่ผู้ป่วยหลังคลอด  ให้คำแนะนำ  และ
  • ให้การรักษาแก่สตรีที่มารับบริการวางแผนครอบครัว
  • ฝึกปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ   ตามที่ภาควิชา ฯ  จัดให้
  • เป็นพี่เลี้ยงแก่นักศึกษาแพทย์ปีที่  4
  • ตรวจ  เช็ค และ/หรือ  กรอกรายละเอียดต่างๆ  ในแบบรายงานผู้ป่วยให้ครบถ้วนสมบูรณ์

3.  การอภิปราย หรือการสัมมนา และการบรรยายพิเศษ

(เฉพาะนักศึกษาแพทย์ที่ผ่านการปฏิบัติงานในคณะแพทยศาสตร์ )

  • Morning Conference  :    การอภิปรายผู้ป่วยที่รับไว้ในความดูแลในเวลานอกราชการ ของทุกวัน  โดยแพทย์ประจำบ้านที่อยู่เวรประจำวันนั้นๆ  ทุกวันเวลา  7.00-8.00  น.  ห้องเรียน อ.กำจัด
  • Interesting Case Conference :  การอภิปรายเกี่ยวกับผู้ป่วยที่มีปัญหา  หรือน่าสนใจประจำสัปดาห์
  • ทุกวันจันทร์  เวลา  13.00-14.30   น.  ห้องประชุมหม่อมเจ้าอำนอร์สวัสดิ์ – ศุภร
  • Topic  or  Journal  Club  :     เรื่องที่น่าสนใจและเรื่องน่ารู้จากวารสารทางการแพทย์ ทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา  ทุกวันอังคารและพฤหัสบดี  เวลา   15.30 -16.30  น. ห้องเรียน อ.กำจัด
  • Special  Lecture   :   การบรรยายพิเศษโดยอาจารย์ในภาควิชา ฯ  หรือเรียนเชิญจากต่างภาควิชา ในหัวข้อที่น่าสนใจหรือเป็นปัญหาที่พบบ่อย ที่เกี่ยวข้องกับทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ทุกวันอังคารและพฤหัสบดี  เวลา   15.30 -16.30  น.  (  เป็นครั้งคราว  )  ห้องเรียน อ.กำจัด
  • Specialty Lecture  :  เวลา  13.00 – 14.30 น. วันศุกร์ เรื่องที่น่าสนใจของหน่วยงานต่าง ๆ สลับกันไป
    • Perinatal  conference
    • Onco  conference
    • Endocrine  conference
    • Family  Planing conference
  • Hand on U/S &Critical U/S for extern โดย ศ.นพ.ธีระ  ทองสง และทีมคณาจารย์  วันอังคาร เวลา 13.00 – 15.00 น. ห้องตรวจฝากครรภ์ ผู้ป่วยนอก (OPD 4)

สถานที่ฝึกปฏิบัติงาน/  ระยะเวลา

จัดแบ่งการฝึกปฏิบัติงานนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่  6  ออกเป็น  2   กลุ่มใหญ่  คือ

  • กลุ่มที่  1  ปฏิบัติงานตลอด 2  เดือน  ณ  โรงพยาบาลสมทบ  แห่งใดแห่งหนึ่งคือ   โรงพยาบาลลำปาง  โรงพยาบาลน่าน  โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์  โรงพยาบาลพะเยา  โรงพยาบาลตากสินมหาราช โรงพยาบาลแม่สอด โรงพยาบาลสุโขทัย โรงพยาบาลศรีสังวร โรงพยาบาลลำพูน
  • กลุ่มที่ 2  ปฏิบัติงานที่คณะแพทยศาสตร์ฯ  1  เดือน และที่โรงพยาบาลนครพิงค์อีก  1  เดือน ได้แก่  รวมทั้งหมดเป็น  10   สถาบัน

  

ทำอย่างไรจึงจะบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียน

1.  หลักการเรียนรู้   ดังได้กล่าวมาแล้วในคำนำว่า  ผลของ ”  การเรียน  ” ย่อมขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนเป็น สำคัญ

อย่างไรก็ดีการเรียนรู้   ”  วิธีเรียน  ”   ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการศึกษาก็จะยิ่งช่วยให้เรียนรู้ได้ผลดี ยิ่งขึ้น

วงจรของการเรียนรู้อาจจะสรุปได้ดังนี้

วัตถุประสงค์


การประเมินผล                                                      การจัดประสบการณ์การเรียนรู้

2. การเรียนภาคปฏิบัติ

ตามหลักการเรียนรู้ภาคปฏิบัตินั้น มีขั้นตอนนับแต่การใช้มือ ใช้เครื่องมือ ทดลองทำตามคำแนะนำ และลงมือทำด้วยตนเอง ความชำนาญจึงจะบังเกิดขึ้นได้

”  ไม่มีใครเกิดความชำนาญได้โดยไม่ลงมือทำ “

3. การทำงานและการเรียนร่วมกัน

เป็นที่ยอมรับว่าผู้ประกอบวิชาชีพไม่ว่าแขนงใด  จะให้ได้รับผลสำเร็จด้วยดีนั้น ต้องมีความสามารถ 2  ด้านประกอบกัน คือ  ความรู้ความสามารถในงานวิชาชีพโดยตรง  และความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ

หลักสูตรสาขาวิชาชีพแพทยศาสตร์  ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  กำหนดไว้ชัดเจนว่า ” บัณฑิตที่จบหลักสูตรนี้จะต้องมีความกระตือรือร้น  ความสามารถที่จะศึกษาต่อด้วยตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาชุมชน “

ดังนั้นในการปฏิบัติงาน ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงเน้นเรื่องมนุษยสัมพันธ์ และการทำงานร่วมกันเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง  โดยจะมอบหมายให้ผู้เรียน ร่วมกันรับผิดชอบ ในการปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย  เพื่อผู้เรียนจะได้มีโอกาสฝึกการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพไปด้วยในเวลาเดียวกัน