Medical Nutrition Therapy in Pregnancy with Gestational Diabetes Mellitus

Medical Nutrition Therapy in Pregnancy with Gestational Diabetes Mellitus
โภชนบำบัดทางการแพทย์ในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์

นพ.ศิรวิทย์ ทองสุก
อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.พญ.เฟื่องลดา ทองประเสริฐ


โภชนบำบัดทางการแพทย์ หรือ medical nutritional therapy (MNT) คือ กระบวนการวางแผนการปรับเปลี่ยนอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานโดยขึ้นอยู่กับความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด รูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน และปัจจัยต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล เป็นต้น ซึ่งสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์นั้นควรต้องได้รับคำแนะนำทางด้านโภชนาการกับนักโภชนากรเพื่อให้ได้เป้าหมายดังนี้(1)

  1. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมาย
  2. ป้องกันการเกิดภาวะคีโตนในเลือดสูง
  3. ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนเพียงพอต่อความต้องการของมารดาและทารกในครรภ์
  4. น้ำหนักมารดาขึ้นตามเกณฑ์ของดัชนีมวลกาย
  5. ทารกในครรภ์และหลังคลอดมีสุขภาพที่ดี

จากการศึกษาแบบ meta-analysis พบว่าการให้คำแนะนำด้านโภชนบำบัดทางการแพทย์ให้แก่สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ช่วยลดระดับน้ำตาลหลังอดอาหาร (fasting glucose) ได้ 24.07 มก/ดล และลดระดับน้ำตาลหลังรับประทานอาหาร (postprandial glucose) ได้ 27.78 มก/ดล ซึ่งถือว่าลดได้อย่างมากและมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังช่วยลดความต้องการการรักษาด้วยยา ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักน้อยกว่า และลดอัตราการเกิดภาวะทารกน้ำหนักเกินเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม(2) นอกจากนี้ข้อแนะนำขององค์กรต่าง ๆ เช่น the Australasian Diabetes in Pregnancy Society (ADIPS), the American Dietetic Association (ADA)(3), the Canadian Diabetes Association (CDA), the National Institute for Health and Care Excellence (NICE)(4) และสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย(5) แนะนำให้ MNT เป็นทางเลือกแรกในการดูแลรักษาภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และ MNT ควรทำโดยนักกำหนดอาหาร (dietitian) หรือบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการรักษาภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (a qualified professional with experience in the management of GDM)(6)

ความสำคัญของภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์

ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes mellitus; GDM) เป็นภาวะแทรกซ้อนทางอายุรศาสตร์ที่พบได้บ่อยในเวชปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะอ้วน ทั้งนี้เนื่องจากในปัจจุบันโลกได้มีการพัฒนาไปมากในด้านการอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะทางด้านอุตสาหกรรมอาหาร ไม่ว่าจะเป็นการแปรรูปอาหารต่าง ๆ การยืดอายุอาหารได้นานขึ้น และมีความสะดวกสบายในการเข้าถึงแหล่งอาหารได้มากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารฟาสต์ฟู้ดย่อมส่งผลต่อสุขภาพตามมาอย่างแน่นอน จากการเก็บรวบรวมสถิติในปี ค.ศ. 2015 ทั่วโลกมีสตรีตั้งครรภ์มีภาวะเบาหวานจำนวน 199.5 ล้านคน และคาดว่าปี ค.ศ. 2030 อาจเพิ่มจำนวนสูงขึ้นถึง 313.3 ล้านคน(7)ในประเทศไทยจากการเก็บรวบรวมข้อมูลในปี ค.ศ. 2016 พบภาวะเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์ร้อยละ 16.2(8)

การที่สตรีตั้งครรภ์มีภาวะเบาหวานเกิดขึ้นนั้นย่อมส่งผลต่อการตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ตัวอย่างผลกระทบต่อมารดา เช่น เบาหวานเข้าจอประสาทตา โรคไตจากเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ ติดเชื้อง่าย และมีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคตด้วย ส่วนผลกระทบต่อทารก เช่น ภาวะแท้ง คลอดก่อนกำหนด มีความผิดปกติทางกายภาพ ภาวะทารกตัวโต ภาวะตายในครรภ์ไม่ทราบสาเหตุ เป็นต้น(9) อย่างไรก็ตามภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์เป็นภาวะที่สามารถตรวจพบได้จากการประเมินความเสี่ยงร่วมกับการตรวจคัดกรองโดยใช้น้ำตาลกลูโคส 50 กรัม(10) ซึ่งหากตรวจพบภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้เร็วก็จะสามารถให้การดูแลรักษาได้อย่างถูกต้องเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ดังตัวอย่างข้างต้น นำมาซึ่งการคลอดที่ปลอดภัยทั้งมารดาและทารก(11) เป้าหมายของการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานนั้นคือการควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติซึ่งสตรีตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะสามารถควบคุมได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและควบคุมอาหาร(12)

ดังนั้นสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ควรได้รับแนะนำในการปฏิบัติตัวเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและบริโภคอาหารในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามการควบคุมอาหารที่เคร่งครัดหรือจำกัดปริมาณมากเกินไปอาจนำไปสู่การเกิดภาวะคีโตนในร่างกายสูง ภาวะน้ำตาลต่ำในสตรีตั้งครรภ์ หรือเกิดภาวะการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ช้ากว่าเกณฑ์ได้(13) ดังนั้นการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่สตรีตั้งครรภ์มีภาวะเบาหวานจึงเป็นเรื่องสำคัญ

ในปัจจุบันมีการศึกษาและการใช้โภชนบำบัดทางการแพทย์มาช่วยในการให้ความรู้แก่สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวาน จากหลายการศึกษาพบว่าการใช้โภชนบำบัดทางการแพทย์ร่วมกับการออกกำลังกายและการตรวจวัดระดับน้ำตาลเป็นประจำ สามารถช่วยลดภาวะแทรกซ้อนในมารดาและในทารกได้ระหว่างตั้งครรภ์ได้ทั้งในเชิงระยะสั้นและระยะยาว (ตารางที่1)(14) แต่อย่างไรก็ตามการตระหนักถึงความสำคัญของภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ของสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวก็เป็นปัจจัยนึงที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการรักษาเช่นกัน

ตารางที่ 1 แสดงภาวะแทรกซ้อนต่อมารดาและทารกในสตรีที่มีภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์

ระยะเวลา ภาวะแทรกซ้อนต่อมารดา ภาวะแทรกซ้อนต่อทารก
ระยะสั้น
  • ภาวะครรภ์เป็นพิษ
  • ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
  • การคลอดก่อนกำหนด
  • ความเสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอด
  • ภาวะน้ำคร่ำเกิน
  • ภาวะตกเลือดหลังคลอด
  • การติดเชื้อขณะตั้งครรภ์
  • การบาดเจ็บจากการคลอด
  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • ภาวะเลือดข้น
  • ความผิดปกติของหัวใจ
  • ภาวะตายคลอด
ระยะยาว
  • ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ในครรภ์ต่อไป
  • โรคเบาหวานหลังคลอด
  • ความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคเบาหวานในอนาคต
  • ภาวะน้ำหนักเกิน

ข้อแนะนำในการใช้โภชนบำบัดการทางแพทย์ในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์

จากที่กล่าวไปข้างต้นการใช้โภชนบำบัดการทางแพทย์มาร่วมใช้ในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่เหมาะสมแก่สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์นั้นจึงมีความจำเป็นเพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งต่อมารดาและทารก โดยมีคำแนะนำเกี่ยวกับพลังงานและสารอาหารในแต่ละประเภทดังนี้(14)

  1. ปริมาณพลังงาน (calories intake) (6, 15, 16)

แม้ว่ามีข้อมูลการศึกษาที่จำกัดในการระบุปริมาณพลังงาน (แคลอรี่) ที่เหมาะสมที่สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ควรได้รับ แต่มีข้อมูลชัดเจนว่าไม่แนะนำให้มีการลดน้ำหนักในสตรีตั้งครรภ์ เนื่องจากการควบคุมและการจำกัดอาหารอย่างเข้มงวดนั้นอาจจะส่งผลต่อการเปลี่ยนไปใช้กรดไขมันปริมาณมาก ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะคีโตนสูงในร่างกายและส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านสมองของทารกในอนาคตได้ นอกจากนี้การเพิ่มน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์ให้เหมาะสมตามอายุครรภ์แต่ละไตรมาสเป็นสิ่งที่ควรแนะนำให้สตรีตั้งครรภ์ทุกรายรวมไปถึงสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ด้วย ปริมาณพลังงานที่สตรีตั้งครรภ์ควรได้รับและน้ำหนักที่ควรเพิ่มขึ้นแสดงในตารางที่ 2

ตารางที่ 2 แสดงปริมาณพลังงานที่สตรีตั้งครรภ์ควรได้รับและน้ำหนักที่ควรเพิ่มขึ้นในแต่ละไตรมาส

Table Description automatically generated

  1. คาร์โบไฮเดรต (carbohydrate) (17-19)

การควบคุมการบริโภคอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตถือเป็นเรื่องที่ยอมรับในสตรีตั้งครรภ์มีภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ เนื่องจากมีหลายการศึกษาสนับสนุนว่าการควบคุมอาหารจำพวกอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตสามารถลดภาวะเบาหวานในระยะยาวของสตรีตั้งครรภ์และลดภาวะการเกิดทารกตัวโตและการตายคลอดได้อย่างมีนัยสำคัญ จากการศึกษาของ Jovanovic-Peterson พบว่าการจำกัดคาร์โบไฮเดรตสำหรับการรักษาสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ลดความเสี่ยงต่อการกำเนิดทารกตัวโต (20) แต่ในปีค.ศ. 2018 มีการศึกษาการวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) จากการศึกษาวิจัยจำนวน 18 การศึกษาพบว่าการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารโดยที่ไม่ได้จำกัดการรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตก็สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลหลังอาหารในเลือดและน้ำหนักทารกได้ โดยชนิดของอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่แนะนำคือ คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีต เป็นต้น ซึ่งมีผลการศึกษาพบว่า สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการจำกัดปริมาณคาร์โบไฮเดรต(18)โดยสมาคมโรคเบาหวานประเทศสหรัฐอเมริกา (the american diabetes association, ADA) แนะนำให้สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้รับปริมาณคาร์โบไฮเดรตอย่างน้อย 175 กรัมต่อวันซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 35-50 ของปริมาณแคลอรี่ทั้งหมด(7)

การแบ่งมื้ออาหาร มีหลายการศึกษาสนับสนุนการแบ่งอาหารออกเป็นหลาย ๆ มื้อ เนื่องจากพบว่าการกระจายมื้ออาหารนั้นสามารถควบคุมระดับในตาลในกระแสเลือดมารดาซึ่งส่งผลต่อทารกเช่นเดียวกันได้ดีกว่าการไม่แบ่งมื้ออาหาร แต่ทั้งนี้จะแบ่งเป็นกี่มื้อนั้นขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย เช่น ดัชนีมวลกายของสตรีตั้งครรภ์ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ระดับน้ำตาลในเลือดทั้งก่อนและหลังอาหาร การเกิดภาวะคีโตนในเลือด เป็นต้น โดยคำแนะนำทั่วไปมักจะแบ่งมื้ออาหารออกเป็น 3 มื้อหลัก คือ มื้อเช้า กลางวัน และมื้อเย็น โดยแบ่งอัตราส่วนของอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่ต้องบริโภคต่อวันในแต่ละมื้อเป็นร้อยละ เช่น ร้อยละ 10-20 ในมื้อเช้า, ร้อยละ 20-30 ในมื้อกลางวัน และร้อยละ 30-40 ในมื้อเย็น ตามลำดับ และบริโภคอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตประมาณร้อยละ 5-10 ในมื้ออาหารว่างอีก 3 มื้อต่อวัน จากอัตราส่วนการแบ่งมื้ออาหารดังกล่าวจะเห็นได้ว่าในมื้อเช้ามีอัตราส่วนของการบริโภคอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับมื้ออื่น ๆ เนื่องจากในช่วงเช้าโดยทั่วไปร่างกายจะมีการผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) ซึ่งจะส่งผลเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดค่อนข้างมาก ดังนั้นการลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตลงประมาณ 15-30 กรัม จะช่วยลดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงของสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะหวานได้

อาหารประเภทค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ (low glycemic index food) การรับประทานอาหารประเภทค่าดัชนีน้ำตาลต่ำเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่แนะนำในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวาน การแบ่งชนิดของอาหารตามค่าดัชนีน้ำตาลต่ำนั้นเป็นการจัดลำดับอาหารกลุ่มแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตว่ามีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดมากน้อยเพียงใดหลังจากที่กินอาหารชนิดนั้น ๆ ไปแล้ว 1-2 ชั่วโมง โดยกำหนดค่าดัชนีน้ำตาล (glycemic index; GI) เป็นระดับตั้งแต่ 0-100 อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง (high glycemic index) หรือมีค่าดัชนีน้ำตาลมากกว่า 70 จะถูกดูดซึมได้เร็วและทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูงและเร็วกว่าอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ (low glycemic index) หรือมีมีค่าดัชนีน้ำตาลน้อยกว่า 55 ซึ่งจะถูกย่อยช้าและกลูโคสถูกดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือดอย่างช้า ๆ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นช้ากว่าและคงอยู่ในกระแสเลือดนานไปด้วย ชนิดของอาหารตามค่าดัชนีน้ำตาลแสดงในตารางที่ 3

ตารางที่ 3 แสดงชนิดของอาหารตามค่าดัชนีน้ำตาล

อาหารชนิดดัชนีน้ำตาลต่ำ

(< 55)

อาหารชนิดดัชนีน้ำตาลกลาง

(55-69)

อาหารชนิดดัชนีน้ำตาลสูง

(70-100)

นม โยเกิร์ต นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ น้ำมันมะกอก ข้าวกล้อง สตรอว์เบอร์รี แอปเปิล ชมพู่ แก้วมังกร แครอท มะเขือเทศ ข้าวโพด บรอกโคลี ดอกกะหล่ำ มันหวานต้ม เป็นต้น กล้วย สับปะรด ลูกเกด น้ำส้ม น้ำผึ้ง เป็นต้น ข้าวขัดสี ขนมปังขาว น้ำนมข้าว แตงโม มันฝรั่ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เค้ก คุ้กกี้ ของหวาน ลูกอม และน้ำหวาน เป็นต้น

จากการศึกษาของ Grant และคณะพบว่าการรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ง่ายและช่วยควบคุมระดับน้ำตาลหลังรับประทานอาหารให้ได้ตามเป้าหมายมากกว่ากลุ่มควบคุม(21) การศึกษาของ Mahajan และคณะพบว่าการรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาล สามารถช่วยให้ผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ต่อมารดาและทารกดี และยังทำให้สตรีตั้งครรภ์สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาวโดยไม่เกิดภาวะเครียดจากการควบคุมอาหารมากเกินไป(22) การศึกษาของ Louie และคณะพบว่าการรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่าการรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลปานกลาง (moderate glycemic index)(23) นอกจากนี้การรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำยังช่วยลดการใช้อินซูลินระหว่างตั้งครรภ์โดยไม่ทำให้ผลลัพธ์การตั้งครรภ์แย่ลง(24) และช่วยลดระดับไขมันในเลือดอีกด้วย(25)

อาหารประเภทกากใย (fiber) สมาคมโรคเบาหวานประเทศสหรัฐอเมริกา (the american diabetes association, ADA) แนะนำให้บริโภคอาหารประเภทกากใยอย่างน้อย 28 กรัมต่อวัน เนื่องจากอาหารประเภทกากใยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหารได้ดี มีการศึกษาพบว่าการบริโภคอาหารประเภทกากใยประมาณ 80 กรัมต่อวัน สามารถลดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะทารกตัวโต และมีผลต่อระบบทางเดินอาหารน้อย(26) ตัวอย่างอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ธัญพืช ผัก ผลไม้ เป็นต้น

  1. โปรตีน (protein)(14)

โปรตีนเป็นประเภทอาหารที่ความสำคัญอย่างมากต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ สมาคมโรคเบาหวานประเทศสหรัฐอเมริกา (the american diabetes association, ADA) แนะนำว่าสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ควรบริโภคโปรตีนอย่างน้อย 71 กรัมต่อวัน จากการศึกษาวิจัยความต้องการของโปรตีนของสตรีตั้งครรภ์ในแต่ละช่วงอายุครรภ์พบว่ามีการต้องการของโปรตีนเพิ่มขึ้นเมื่ออายุครรภ์เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 1.2 กรัม/กิโลกรัม/วัน ที่อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ เพิ่มเป็น 1.52 กรัม/กิโลกรัม/วัน เมื่ออายุครรภ์มากกว่านั้น ตัวอย่างอาหารประเภทโปรตีนที่แนะนำในสตรีตั้งครรภ์ เช่น ไข่ ถั่วเหลือง ถั่ว เนื้อที่ไร้มัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารทะเลและปลา ซึ่งอุดมไปด้วยเหล็ก โปรตีน โอเมกาสาม (omega 3) ซึ่งช่วยส่งเสริมเกี่ยวกับการพัฒนาสมองของทารกในครรภ์ด้วย แต่ทั้งนี้อาหารทะเลอาจจะต้องเลือกรับประทานอย่างระมัดระวังเนื่องจากอาจมีโลหะหนักปนมากับอาหารทะเล(27) ซึ่งส่งผลเสียต่อทั้งมารดาและทารกได้

  1. ไขมัน (fat)

การบริโภคอาหารประเภทไขมันนั้นแนะนำให้บริโภคเท่าที่จำเป็นโดยคิดเป็นร้อยละ 20-35 ของพลังงานทั้งหมดต่อวัน และไม่แนะนำให้บริโภคอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acid) และกรดไขมันทรานส์ (trans fatty acid) จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าควรบริโภคอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่เหมาะสมโดยไม่จำกัดปริมาณมากเกินไป ซึ่งจะทำให้สตรีตั้งครรภ์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปบริโภคอาหารประเภทไขมันแทนในปริมาณที่มากขึ้น และการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงปริมาณมากนั้นจะส่งผลทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินตามมา นอกจากนี้มีการศึกษาพบว่าการมีระดับไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) และกรดไขมันอิสระ (free fatty acid) ในเลือดสูงมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะทารกตัวโต เนื่องจากไตรกลีเซอไรด์และกรดไขมันอิสระสามารถส่งผ่านรกไปหาทารกได้(28)

อาหารประเภท DASH (Dietary Approaches to Stop Hypertension) เป็นการรับประทานอาหารที่ช่วยให้ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดียิ่งขึ้น โดยจะเน้นการกินผัก ผลไม้ ธัญพืช และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ซึ่งจากการศึกษาพบว่าการรับประทานอาหารประเภท DASH นั้นสามารถลดระดับไตรกลีเซอไรด์และกรดไขมันอิสระในเลือดลงได้ รวมถึงลดระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c) ลดความดันโลหิต และช่วยลดภาวะดื้อต่ออินซูลินได้ด้วย(29)

  1. วิตามินและแร่ธาตุ (vitamins and minerals)(30, 31)

ภาวะตั้งครรภ์นั้นถือเป็นช่วงเวลามีความต้องการวิตามินและแร่ธาตุสูงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาอื่น ๆ ในชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรดโฟลิค (folic acid) ซึ่งแนะนำให้สตรีตั้งครรภ์ทุกรายได้รับอย่างน้อย 0.4 มิลลิกรัมต่อวัน และ 4 มิลลิกรัมต่อวันในสตรีตั้งครรภ์ที่เคยมีลูกเป็นโรคในกลุ่ม neural tube defects (NTDs) เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเซลล์ต่าง ๆ รวมถึงการพัฒนาการด้านสมองของทารกในครรภ์ โดยแนะนำให้รับประทานก่อนการตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 เดือนจนถึงประมาณอายุครรภ์ 12 สัปดาห์

วิตามินซีและอี (vitamin C and E) จะมีส่วนช่วยในการต้านอนุมูลอิสระ คล้ายกับการทำลายสารพิษหรือของเสียที่เกิดขึ้นในตัวทารก และพบว่าวิตามันซีและอียังช่วยลดการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษได้อีกด้วย (เพิ่ม reference)

วิตามินดี (vitamin D) จากการศึกษาของ Asemmi และคณะศึกษาเปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างกลุ่มที่ได้รับวิตามินดีกับกลุ่มควบคุมพบว่ากลุ่มที่ได้รับวิตามินดี 50,000 IU ปริมาณ 2 โดส เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหาร และลดภาวะดื้อต่ออินซูลินได้อย่างมีนัยสำคัญ(32)

แคลเซียม (calcium) มีความจำเป็นอย่างมากในระยะตั้งครรภ์เนื่องจากมีประโยชน์ต่อการสร้างกระดูกของมารดาและทารกโดยแนะนำให้บริโภคอย่างน้อย 900-1000 มิลลิกรัมต่อวัน และรับประทานพร้อมกับมื้ออาหารเพื่อประสิทธิภาพในการดูดซึม

  1. สารอาหารประเภทอื่น ๆ

สารทดแทนความหวาน (sweeteners) สตรีตั้งครรภ์สามารถบริโภคสารทดแทนความหวานที่ผ่านการรับรองจากองค์กรอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา (United states food and drug administration, US-FDA) ได้ แต่ควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม โดยชนิดของสารทดแทนความหวานที่ได้รับการรับรองว่าสามารถใช้ได้และปลอดภัยต่อมารดาและทารก เช่น Aspartame, Sucralose, Neotame, Advantame, Xylitol, Sorbitol และ Stevia เป็นต้น ดังแสดงในตารางที่ 4

ตารางที่ 4 แสดงชนิดของสารทดแทนความหวานและปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวันในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์(33)

Table Description automatically generated with medium confidence

คาเฟอีน (caffeine) ในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานนั้นสามารถบริโภคได้แต่ควรจำกัดปริมาณไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อวัน

  1. อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
  2. ไม่กินเนื้อสัตว์ติดมัน เช่น หมูสามชั้น คอหมู หนังไก่ หนังเป็ด ไส้กรอก เป็นต้น
  3. ไม่กินขนมที่มีรสหวาน เช่น ไอศกรีม หวานเย็น ช็อคโกแลต หมากฝรั่ง ลูกอม เยลลี่ เป็นต้น
  4. ไม่ดื่มเครื่องดื่มรสหวาน เช่น น้ำอัดลม ชาเย็นน้ำปั่น น้ำผลไม้รสเปรี้ยว
  5. ไม่กินขนม เช่น เค้ก พายโดนัท
  6. ไม่เติมเครื่องปรุงรสเค็ม เช่น น้ำปลา ซีอิ๊วดำ แมกกี้
  7. ไม่เติมน้ำตาลในอาหาร
  8. ไม่กินของหมักดอง
  9. ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การติดตามระดับน้ำตาลและเป้าหมายของระดับน้ำตาลในเลือด(7)

การติดตามระดับน้ำตาลด้วยตัวเอง (self-monitoring of blood glucose; SMBG) เป็นสิ่งที่สตรีตั้งครรภ์สามารถทำได้เองที่บ้าน ทำได้โดยการเจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อตรวจระดับน้ำตาลก่อนรับประทานอาหาร และที่ 1 หรือ 2 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหาร โดยเป้าหมายของระดับน้ำตาลไม่ควรสูงกว่า 95, 140, 120 มก/ดล ตามลำดับ หรืออาจตรวจติดตามโดยการนัดเจาะเลือดในสถานพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ เช่น ทุก 2-4 สัปดาห์ เป็นต้น ขึ้นอยู่กับระดับการควบคุมน้ำตาลในเลือด และหากไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมาย ควรปรึกษาอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อ

นอกจากนี้การบันทึกอาหารที่รับประทานในสมุดบันทึกอาหาร (food record form) เป็นรูปแบบของการวัดผลของการควบคุมอาหารเพื่อที่จะได้ทราบถึงชนิดและปริมาณอาหารที่บริโภคกับผลลัพธ์ที่ได้จากการตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือด ส่งผลให้สตรีตั้งครรภ์สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายอย่างทันท่วงที

เอกสารอ้างอิง (References)

1. Bantle JP, Wylie-Rosett J, Albright AL, Apovian CM, Clark NG, Franz MJ, et al. Nutrition recommendations and interventions for diabetes: a position statement of the American Diabetes Association. Diabetes care. 2008;31:S61-S78.

2. Hernandez TL, Brand-Miller JC. Nutrition therapy in gestational diabetes mellitus: time to move forward. Diabetes Care. 2018;41(7):1343-5.

3. Rudland VL, Price SA, Hughes R, Barrett HL, Lagstrom J, Porter C, et al. ADIPS 2020 guideline for pre‐existing diabetes and pregnancy. Australian and New Zealand Journal of Obstetrics and Gynaecology. 2020;60(6):E18-E52.

4. Lazzerini M, Armocida B, Valente EP, Berdzuli N. Antenatal screening practices in the WHO European Region: a mixed methods study. Journal of Global Health. 2020;10(2).

5. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน ส. 2560.

6. Moreno-Castilla C, Mauricio D, Hernandez M. Role of medical nutrition therapy in the management of gestational diabetes mellitus. Current diabetes reports. 2016;16(4):22.

7. Association AD. 14. Management of diabetes in pregnancy: Standards of Medical Care in Diabetes—2021. Diabetes Care. 2021;44(Supplement 1):S200-S10.

8. ประภัทร วานิชพงษ์พันธุ์ ตเ. ตำราสูติศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: กรุงเทพฯ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2560.

9. Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Dashe JS, Hoffman BL, Casey BM, et al. Obstetrícia de Williams-25: McGraw Hill Brasil; 2021.

10. Mellitus GD. ACOG practice bulletin. ACOG: Washington, DC, USA. 2018.

11. Cao X, Wang Z, Yang C, Mo X, Xiu L, Li Y, et al. Comprehensive intensive therapy for Chinese gestational diabetes benefits both newborns and mothers. Diabetes technology & therapeutics. 2012;14(11):1002-7.

12. Dornhorst A, Nicholls JS, Probst F, Paterson CM, Hollier KL, Elkeles RS, et al. Calorie restriction for treatment of gestational diabetes. Diabetes. 1991;40(Supplement 2):161-4.

13. Magee MS, Knopp RH, Benedetti TJ. Metabolic effects of 1200-kcal diet in obese pregnant women with gestational diabetes. Diabetes. 1990;39(2):234-40.

14. Vasile FC, Preda A, Ștefan AG, Vladu MI, Forțofoiu M-C, Clenciu D, et al. An Update of Medical Nutrition Therapy in Gestational Diabetes Mellitus. Journal of Diabetes Research. 2021;2021.

15. Kleinwechter H, Schäfer-Graf U, Bührer C, Hoesli I, Kainer F, Kautzky-Willer A, et al. German Association for Gynaecology and Obstetrics. Gestational diabetes mellitus (GDM) diagnosis, therapy and follow-up care: Practice Guideline of the German Diabetes Association (DDG) and the German Association for Gynaecologyand Obstetrics (DGGG). Exp Clin Endocrinol Diabetes. 2014;122(7):395-405.

16. Qian M, Wu N, Li L, Yu W, Ouyang H, Liu X, et al. Effect of Elevated Ketone Body on Maternal and Infant Outcome of Pregnant Women with Abnormal Glucose Metabolism During Pregnancy. Diabetes, Metabolic Syndrome and Obesity: Targets and Therapy. 2020;13:4581.

17. Jovanovic-Peterson L, Peterson CM. Dietary manipulation as a primary treatment strategy for pregnancies complicated by diabetes. Journal of the American College of Nutrition. 1990;9(4):320-5.

18. Yamamoto JM, Kellett JE, Balsells M, Garcia-Patterson A, Hadar E, Solà I, et al. Gestational diabetes mellitus and diet: a systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials examining the impact of modified dietary interventions on maternal glucose control and neonatal birth weight. Diabetes Care. 2018;41(7):1346-61.

19. Louie JC-Y, Flood V, Turner N, Everingham C, Gwynn J. Methodology for adding glycemic index values to 24-hour recalls. Nutrition. 2011;27(1):59-64.

20. Jovanovic-Peterson L, Peterson CM, Reed GF, Metzger BE, Mills JL, Knopp RH, et al. Maternal postprandial glucose levels and infant birth weight: the Diabetes in Early Pregnancy Study. American journal of obstetrics and gynecology. 1991;164(1):103-11.

21. Grant SM, Wolever TM, O’Connor DL, Nisenbaum R, Josse RG. Effect of a low glycaemic index diet on blood glucose in women with gestational hyperglycaemia. Diabetes research and clinical practice. 2011;91(1):15-22.

22. Mahajan A, Donovan LE, Vallee R, Yamamoto JM. Evidenced-based nutrition for gestational diabetes mellitus. Current diabetes reports. 2019;19(10):1-10.

23. Louie JCY, Markovic TP, Perera N, Foote D, Petocz P, Ross GP, et al. A randomized controlled trial investigating the effects of a low–glycemic index diet on pregnancy outcomes in gestational diabetes mellitus. Diabetes care. 2011;34(11):2341-6.

24. Moses RG, Barker M, Winter M, Petocz P, Brand-Miller JC. Can a low–glycemic index diet reduce the need for insulin in gestational diabetes mellitus?: A randomized trial. Diabetes care. 2009;32(6):996-1000.

25. Ma W-J, Huang Z-H, Huang B-X, Qi B-H, Zhang Y-J, Xiao B-X, et al. Intensive low-glycaemic-load dietary intervention for the management of glycaemia and serum lipids among women with gestational diabetes: a randomized control trial. Public Health Nutrition. 2015;18(8):1506-13.

26. Reece E, Hagay Z, Gay L, Oconnor T, DeGennaro N, Homko C, et al. A RANDOMIZED CLINICAL-TRIAL OF A FIBER-ENRICHED DIABETIC DIET VS THE STANDARD AMERICAN-DIABETES-ASSOCIATION RECOMMENDED DIET IN THE MANAGEMENT OF DIABETES-MELLITUS IN PREGNANCY. Journal of Maternal-Fetal Investigation. 1995;5(1):8-12.

27. Storelli M, Marcotrigiano G. Fish for human consumption: risk of contamination by mercury. Food Additives & Contaminants. 2000;17(12):1007-11.

28. DiPietro L, Buchner DM, Marquez DX, Pate RR, Pescatello LS, Whitt-Glover MC. New scientific basis for the 2018 US Physical Activity Guidelines. Journal of sport and health science. 2019;8(3):197.

29. Asemi Z, Samimi M, Tabassi Z, Esmaillzadeh A. The effect of DASH diet on pregnancy outcomes in gestational diabetes: a randomized controlled clinical trial. European journal of clinical nutrition. 2014;68(4):490-5.

30. Blumer I, Hadar E, Hadden DR, Jovanovič L, Mestman JH, Murad MH, et al. Diabetes and pregnancy: an endocrine society clinical practice guideline. The journal of clinical endocrinology & Metabolism. 2013;98(11):4227-49.

31. Fu Z-m, Ma Z-z, Liu G-j, Wang L-l, Guo Y. Vitamins supplementation affects the onset of preeclampsia. Journal of the Formosan Medical Association. 2018;117(1):6-13.

32. Asemi Z, Tabassi Z, Samimi M, Fahiminejad T, Esmaillzadeh A. Favourable effects of the Dietary Approaches to Stop Hypertension diet on glucose tolerance and lipid profiles in gestational diabetes: a randomised clinical trial. British journal of nutrition. 2013;109(11):2024-30.

33. Food U, Administration D. Additional information about high-intensity sweeteners permitted for use in food in the United States. US Food and Drug Administration: Silver Spring, MD, USA. 2018.

 

Read More

การตรวจทางพันธุกรรมสำหรับทารกระหว่างการตั้งครรภ์ (Prenatal Genetic Test )

การตรวจทางพันธุกรรมสำหรับทารกระหว่างการตั้งครรภ์ (Prenatal Genetic Test )

พญ. พันธุ์ชิตา พงศ์ศุภสมิทธิ์
รศ.ดร.นพ.วีรวิทย์ ปิยะมงคล


ผู้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนควรได้รับทางเลือกในการตรวจสารทางพันธุกรรมของทารกเพื่อตรวจคัดกรองภาวะโครโมโซมมากกว่าหรือน้อยกว่าปกติ (Aneuploidy) และการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมก่อนคลอด (1) โดยการตรวจทางสารพันธุกรรมนั้นจะแบ่งเป็น การตรวจเพื่อคัดกรอง (Prenatal genetic screening) และ การตรวจเพื่อวินิจฉัย (Prenatal genetic diagnosis) ในปัจจุบันวิธีการตรวจเพื่อคัดกรองได้แก่ การตรวจ Cell free fetal DNA ซึ่งในเป็นวิธีที่นิยมใช้เนื่องจากมีความน่าเชื่อถือมาก และลดการทำหัตถการรุกล้ำแก่ทารกในครรภ์ ในส่วนการตรวจสารทางพันธุกรรมเพื่อการวินิจฉัยที่นิยมใช้ได้แก่ การตรวจ Cytogenetic analysis หรือ karyotyping (Classical cytogenetics/chromosome banding technique), การตรวจ Fluorescence In Situ Hybridization (Molecular cytogenetic), การตรวจ Quantitative fluorescence polymerase chain reaction (QF-PCR), การตรวจ Chromosomal microarray analysis และ การตรวจ Whole genome sequencing หรือ whole exome sequencing โดยการตรวจวิธีนี้จะถูกเลือกทำในบางกรณีเท่านั้น และ ไม่แนะนำให้ใช้เป็นวิธีการตรวจเป็นประจำ สิ่งส่งตรวจนั้นสามารถนำมาจากน้ำคร่ำหรือชิ้นเนื้อรก และทำการเพิ่มจำนวนสารทางพันธุกรรม(DNA) จากสิ่งส่งตรวจโดยใช้วิธีการ Polymerase chain reaction (PCR) (2)

สำหรับการเลือกใช้เทคนิคการตรวจนั้นขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการตรวจหาอะไร ซึ่งหลัก ๆ แล้วจะสามารถแบ่งการทดสอบเป็นสามอย่าง คือการตรวจหายีนส์กลายพันธุ์ (mutation detection), การตรวจหาโครโมโซมที่ผิดปกติ cytogenetic studies และ การตรวจ Genotyping method ซึ่งในที่นี่จะขอกล่าวถึงการตรวจที่มีการนำมาใช้กับการตรวจทางพันธุกรรมในทารกระหว่างตั้งครรภ์ (3)

เทคนิคการตรวจทางพันธุศาสตร์

การตรวจ Standard cytogenetic analysis หรือ Karyotype analysis

เป็นการตรวจที่ใช้บ่อยในการหาโครโมโซมที่ผิดปกติ โดยความผิดปกติ หรือการเปลี่ยนแปลงของโครโมโซมที่สามารถตรวจได้จากวิธีนี้มักจะต้องมีขนาดใหญ่ เช่น Translocation, Large deletion หรือ Aneuploidy โดยการทำ Karyotyping นั้นจะสามารถตรวจหาจำนวนโครโมโซมที่ผิดปกติ เช่น กลุ่มโรค Aneuploidy และสามารถตรวจหา Balanced หรือ Unbalanced structural rearrangement ของโครโมโซมที่มีขนาดอย่างน้อย 5-10 Mega base ขึ้นไป(1, 2) โดยความน่าเชื่อถืออยู่ที่ร้อยละ 99 โดยการตรวจควรจะใช้เนื้อเยื่อใดที่มีเซลล์ที่สามารถแบ่งตัวได้ หรือเซลล์ที่สามารถถูกกระตุ้นให้แบ่งเซลล์ได้ (2)

เซลล์ที่สามารถแบ่งตัวได้จะถูกสารเคมีทำให้หยุดค้างอยู่ที่ระยะ metaphase ซึ่งเป็นระยะที่โครโมโซมถูกทำให้หดตัวและหนาแน่น และสามารถมองเห็นลักษณะแถบของโครโมนโซมได้ชัดเจนที่สุด ซึ่งแต่ละโครโมโซมจะมีลักษณะแถบที่เป็นเอกลักษณ์จำเพาะของตัวเองทำให้สามารถแบ่งแยกโครโมโซมแต่ละคู่ได้ และ โครโมโซมที่ถูกย้อมจะเห็นเป็นลักษณะแถบสีสว่างและแถบสีเข้ม โดยเทคนิคการย้อมที่ใช้จะเป็นการย้อมโดย Giemsa staining ซึ่งจะทำให้เห็นเป็นลักษณะ G band และสามารถตรวจหาส่วนที่ขาดหายไป ส่วนที่เกิน หรือ ส่วนที่มีการสลับเรียงตัวใหม่ได้ ความน่าเชื่อของการตรวจ Cytogenetic analysis จะเพิ่มตามจำนวนแถบสีเข้มสว่าง (Bands) ที่ย้อมติด แถบสีเข้มสว่างที่มีความละเอียดสูงในช่วงระยะเมตาเฟส (High resolution metaphase banding) โดยปกติจะมีแถบให้เห็นได้ประมาณ 450-550 แถบต่อโครโมโซมชุดเดี่ยว (Haploid) 1 ชุด (2)

No description available.

รูปที่ 1 แสดงการตรวจ Standard Karyotype ที่พบว่ามีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง ในภาวะ Trisomy 21(2)

เนื่องจากเซลล์ที่สามารถแบ่งตัวได้เท่านั้นที่จะสามารถนำมาทดสอบได้ (Metaphase analysis of cultured cell)ดังนั้นความเร็วของผลตรวจจะขึ้นกับความเร็วในการเติบโตของเซลล์ที่นำเพาะเลี้ยง ในน้ำคร่ำจะประกอบไปด้วยเซลล์เยื่อบุ เซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร และ Amniocyte โดยผลตรวจจากเซลล์ดังกล่าวจะได้ภายใน 7-10 วัน ส่วนเซลล์เม็ดเลือดทารก อาจะให้ผลเร็วถึง 36-48 ชั่วโมงแต่ไม่ค่อยนำมาใช้ในทางคลินิก ส่วนในกรณีทารกหลังเสียชีวิต จะทำการตรวจจาก skin fibroblast ซึ่งอาจใช้เวลาถึง 2-3 สัปดาห์เนื่องจากการกระตุ้นให้เซลล์แบ่งตัวนั้นทำได้ยาก(2)

การตรวจ Fluorescence In Situ Hybridization (FISH)

เทคนิคนี้เป็นวิธีที่เร็วในการใช้เพื่อระบุความผิดปกติของโครโมโซมที่มีลักษณะจำเพาะ (Specific chromosome abnormality) และเพื่อยืนยัน Microdeletion หรือ Duplication ที่สงสัย เช่น ภาวะ 22q11.2 microdeletion (DiGorge syndrome) เนื่องจากการตรวจจะใช้เวลาในการทดสอบ 1-2 วัน จึงมักถูกเลือกใช้ในกรณีที่ผลการทดสอบจะเปลี่ยนแปลงแนวทางการรักษาในการตั้งครรภ์ (1, 2)

ในการตรวจ Fluorescence In Situ Hybridization หรือ FISH เซลล์จะถูกตรึงบนสไลด์แก้ว และ DNA probe ที่ถูกติดฉลากสีเรืองแสง (Fluorescent labeled DNA probe) จะไปจับกับโครโมโซมที่ถูก fixed ไว้ โดยที่แต่ละ DNA probe จะมีลำดับ DNA ที่เป็นคู่สมกับลำดับ DNA ของยีนที่สนใจบนโครโมนโซมที่ถูกนำมาทดสอบ หากบนโครโมโซมนั้นมีลำดับ DNAของยีนที่สนใจ probe ก็จะสามารถเข้าจับได้ และสามารถเห็นสีเรืองแสงได้จากกล้อง microscopy ซึ่งจำนวนของสีที่เห็นยังสามารถใช้ประโยชน์ในการเป็นตัวบอกจำนวนโครโมโซม หรือ จำนวนยีน ในเซลล์หนึ่งเซลล์ที่เอามาทดสอบ ว่ามีเกิน หรือ ขาด หรือไม่ โดยที่การตรวจนี้จะไม่ได้ให้ข้อมูลของยีนทั้งโครโมโซมแต่บอกแค่ข้อมูลของส่วนของโครโมโซม หรือยีนที่สนใจเท่านั้น (1-3)

บทบาทในการนำมาใช้ด้าน Prenatal genetic test ของ FISH นั้นคือ การตรวจโครโมโซมในระยะอินเตอร์เฟส(Interphase) ซึ่งเป็นระยะที่มีการสร้างส่วนประกอบต่าง ๆ ของเซลล์เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการแบ่งเซลล์ โดยใช้ลำดับดีเอ็นเอ (DNA sequenced) ที่จำเพาะกับโครโมโซมคู่ที่ 21 , 18, 13, X และ Y เพื่อตรวจจำนวนโครโมโซมเหล่านี้ว่ามีขาด หรือเกินหรือไม่ (2)

Graphical user interface Description automatically generated

รูปที่ 2 ภาพแสดง Interphase Fluorescence In Situ Hybridization (FISH) โดยการใช้ alpha satellite probe สำหรับ โครโมโซมคู่ที่ 18 (สีฟ้า) , X(สีเขียว) และ Y (สีแดง) ซึ่งในเคสนี้พบสีเขียวสองจุด และสีฟ้าสามจุดในหนึ่งเซลล์ ซึ่งหมายถึงการมีโครโมโซมคู่ที่ 18 เกิน และเป็นทารกเพศหญิง (2)

จากการทดสอบมากกว่า 45,000 ตัวอย่าง พบว่าผลของ FISH และ Standard cytogenetic karyotyping ตรงกันถึง ร้อยละ 99.8 (2) ACOG 2016 ไม่แนะนำให้ใช้ FISH เพียงอย่างเดียวในการวินิจฉัยหากพบผลตรวจผิดปกติ ควรใช้ข้อมูลจาก FISH ร่วมกับการตรวจอย่างน้อยข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ การตรวจวินิจฉัยทางพันธุกรรม Karyotyping หรือ การตรวจ Chromosomal microarray หรือ ข้อมูลทางคลินิกที่ช่วยส่งเสริม เช่น การตรวจคัดกรองภาวะ Aneuploidy ที่ผิดปกติ หรือ ภาพถ่ายอัลตราซาวด์ (1)

การตรวจ Quantitative fluorescence polymerase chain reaction (QF-PCR)

เป็นการทดสอบ Polymerase chain reaction ที่มีการสร้าง Amplicon หรือชิ้นส่วน DNA ที่มีลำดับทางพันธุกรรมแบบทำซ้ำโดยตรง (หัวต่อหาง) หรือการทำซ้ำแบบกลับหัว (แบบตัวต่อตัวหรือแบบหางถึงหาง) ซึ่งชิ้นส่วนนี้จะถูกติดฉลากเรืองเเสงไว้ และมีส่วนที่หางที่เป็นจุดสิ้นสุดของการสร้าง DNA และสามารถตรวจหาชิ้นส่วนเหล่านี้โดยใช้ Capillary electrophoresis เทคนิคที่มีการใช้อย่างมากในการทำ QF-PCR คือ การเพิ่มจำนวน Short tandem repeats (STRs) หรือส่วนของ DNA ที่มีลำดับนิวคลีโอไทด์ที่สั้นและที่มีความจำเพาะต่อโครโมโซมซึ่งลำดับนี้จะเป็นชุดซ้ำๆกัน และโดยปกติจะประกอบไปด้วย 2-5 คู่เบสต่อชุด (4)

QF-PCF จะทำโดยการสกัด DNA ออกมาจากน้ำคร่ำ หรือจากชิ้นเนื้อรก โดย DNA จากสิ่งส่งตรวจจะถูกเพิ่มจำนวนโดยใช้ Primer ที่ติดฉลากเรืองแสงไว้ โดย Primer ที่ใช้จะมีหลายตัวซึ่งออกมาแบบมาจำเพาะต่อตำแหน่งบนโครโมโซมคู่ที่ 13, 18, และ 21 โดยเลือกใช้ประมาณ 3-4 ตำแหน่งบนโครโมโซม 1 แท่ง เพื่อช่วยในการยืนยันผลหากพบโครโมโซมแท่งนั้นเกิน จากนั้นชิ้นส่วน DNA ที่ได้จากการสังเคราะห์จะถูกนำมาวิเคราะห์โดย Capillary electrophoresis ซึ่งจะทำการคัดแยกชิ้นส่วนเหล่านี้ตามขนาด โดยชิ้นส่วนขนาดเล็กจะผ่านไปได้ก่อน และขนาดเท่ากันจะผ่านไปพร้อมๆกัน และสามารถบอกได้ว่าเป็นชิ้นส่วนมาจากโครโมโซมคู่ใดจากฉลากเรืองแสงที่ติดไว้ ดังนั้นจะสามารถบอกขนาดและปริมาณของชิ้นส่วนนั้นๆ จากนั้นข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปวิเคราะห์เชิงปริมาณต่อ (Quantitative analysis) และแสดงผลออกมาในรูปแบบกราฟ (4)

การใช้ QF-PCR ในบทบาทการตรวจหา Aneuploidy จะให้ผลค่อนข้างเร็วภายใน 1-2 วัน เนื่องจากเซลล์ของทารกไม่จำเป็นต้องนำมาเพาะเลี้ยง อย่างไรการแปลผลนั้นจำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ และจำเป็นต้องมีการลงทุนทั้งทางด้านอุปกรณ์ และบุคลากรที่ผ่านการฝึกฝนมาแล้ว จากการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าการตรวจนี้มีความน่าเชื่อถือร้อยละ 100 และไม่มีผลลบลวง (False negative) (5) จากการเปรียบเทียระหว่าง Karyotype กับ การทำ QF-PCR พบว่า ผลไปในทิศทางเดียวกัน ร้อยละ 98.75 และ พบว่า Karyotypeที่ผิดปกตินั้นไม่สามารถตรวจพบได้อีกร้อยละ 0.05 ดังนั้น QF-PCR จำสามารถให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ทางคลินิก และลดขั้นตอนการทำงานของห้องปฏิบัติการ รวมไปถึงให้ผลที่เร็วกว่าสำหรับผู้ป่วยและแพทย์ผู้ดูแล (6)

ข้อเสียหลักๆของ QF-PCR คือ มีจุดอ่อนในการตรวจความผิดปกติของ Sex chromosome นั่นคือเมื่อ STRs ที่จำเพาะกับ Chromosome X ถูกใช้ QF-PCR อาจเเสดงผลออกมาเป็นลักษณะ Homozygous ของโครโมโซมเพศหญิงปกติ (XX) ซึ่งแยกไม่ได้กับลักษณะ Single X chromosome หรือ Monosomy X (XO) (5) อย่างไรก็ตามจุดอ่อนนี้สามารถแก้ไขโดยการใช้ Highly polymorphic marker ซึ่งมีความจำเพาะต่อ X แต่ละตัวแทนในการทดสอบ

การตรวจ Chromosomal microarray analysis หรือ CMA

การตรวจนี้มีความไวในการตรวจ (Sensitivity) มากกว่าการตรวจ Standard karyotyping ถึง 100 เท่า สามารถตรวจหา Microdeletion และ Microduplication ได้เล็กถึง 50-100 กิโลเบส การตรวจ Direct CMA ใช้เวลาออกผลประมาณ 3-5 วัน แต่ถ้าหากจำเป็นต้องเพาะเลี้ยงเซลล์เพิ่มอาจใช้เวลา 10-14 วัน(1) เทคนิคการตรวจ Microarray สามารถใช้ได้ทั้งวิธี Comparative genomic hybridization (CGH) platform และ วิธี Single nucleotide polymorphism (SNP) platform หรือใช้ทั้งสองวิธีร่วมกัน (2)

CGH microarray platform เป็นการเปรียบเทียบ DNA จากสิ่งส่งตรวจ กับ DNA ควบคุมที่เป็นปกติ โดยจะมีส่วนของชิป (CGH chip) ที่ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนของลำดับ DNA ที่เป็นคู่สมกับ DNA ที่สนใจ (Oligonucleotide) โดยที่ดีเอ็นเอของทารก (Fetal DNA) จากน้ำคร่ำหรือชิ้นส่วนของเนื้อรก (Chorionic villi sampling) จะถูกติดฉลากโดยสีเรืองแสง (Fluorescent) และจับเข้ากับ DNA ที่เป็นคู่สมที่อยู่บนชิป ส่วน DNA ควบคุมที่เป็นปกติจะถูกติดฉลากสีเรืองแสงอีกสี และก็จะเข้าจับกับ DNA ที่เป็นคู่สมบนชิปเช่นเดียวกัน จากนั้นความเข้มของสีเรืองแสง (Intensity of fluorescent signal) ที่ติดฉลากกับ DNA ของสิ่งส่งตรวจ และ ที่ติดฉลาดกับ DNA ควบคุมจะถูกเปรียบเทียบกัน ซึ่งปกติควรจะมีความเข้มแสงเท่ากัน หากความเข้มแสงของสิ่งส่งตรวจมีมากกว่า นั่นหมายความว่าโครโมโซมจากสิ่งส่งตรวจน่าจะมีชิ้นส่วนของโครโมโซมที่สนใจเกิน หากน้อยกว่า หรือไม่มี นั้นหมายถึงการขาดหายไปของชิ้นส่วนโครโมโซมที่สนใจ(2)

No description available. รูปที่ 3 ภาพแสดง Chromosomal microarray analysis
ภาพ A แสดงขนาดชิป
ภาพ B แสดงช่อง หรือที่เรียกว่าเซลล์ที่อยู่บนชิป
ภาพ C และ D แสดงภาพแต่ละช่อง ซึ่งภายในช่องจะมี Oligonucleotides นับพันที่เป็นคู่สมกับ DNA ที่สนใจที่หน้าตาเหมือนๆกันเคลือบอยู่บนผิว E แสดง DNA จากสิ่งส่งตรวจตัวอย่างที่ถูกติดฉลากและเข้าไปจับกับ DNA คู่สมบนชิป F เกิดการจับคู่กันจะเห็นสีที่ถูกติดฉลาก(2)

SNP array platform ในชิปจะประกอบไปด้วยลำดับ DNA ที่แตกต่างกัน โดยที่ปกติภายในสาย DNA ของสิ่งมีชีวิตสปีชีย์เดียวกันจะมีลำดับเบสบน DNA เหมือนกัน ยกเว้นเพียงตำแหน่ง SNP (Single nucleotide polymorphism)ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล เป็นตัวบอกอัตลักษณ์บุคคล โดยเมื่อ DNA ของทารกที่จับกับ DNA คู่สมบนชิป นิวคลีโอไทด์ที่ติดฉลากสีเรืองแสงจะเข้ามาจับกับตำแหน่ง DNA ทารกที่เป็นคู่สมกันตรงตำแหน่ง SNP ทำให้ทราบชนิดของ nucleotide ที่ตำแหน่ง SNP ของตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ และความเข้มของสัญญาณสีเรืองแสงจะเป็นตัวบ่งบอกจำนวนชุดของความแตกต่าง (7, 8)

Diagram Description automatically generated

รูปที่ 4 แสดงชิปของ SNP microarray platform (ภาพ A) แสดงในหนึ่ง DNA typing chip จะประกอบไปด้วย 12 ส่วน เพื่อที่สามารตรวจได้ 12 ตัวอย่างพร้อมกัน ซึ่งแต่ละส่วนจะประกอบไปด้วยช่องเล็กๆ ที่ภายในหนึ่งช่องจะมีเม็ดบีด (Bead) หลายแสนตัว ซึ่งผิวของแต่ละเม็ดบีดจะห่อหุ้มด้วย DNA Probe ซึ่งจะมีลำดับ DNA ที่เป็นคู่สมกับ DNA ที่สนใจ โดยลำดับเบสที่อยู่บนผิวเม็ดบีดนั้นจะถึงแค่ตำแหน่งก่อนที่จะเป็นตำแหน่ง SNP โดยที่หากอยู่ในช่องเดียวกัน DNA probe ก็จะเป็นลำดับเบสเดียวกัน แต่ต่างกันไปในแต่ละช่อง จึงทำให้สามารถตรวจยีนได้หลายตำแหน่งในเวลาเดียวกัน (ภาพ B) ชิ้นส่วน DNA จากสิ่งส่งตรวจจะถูกผสมเข้าไปในช่องละจับกับ DNA probe ที่เป็นคู่สม  (ภาพ C) ผสมนิวคลีโอไทด์ที่ติดฉลากสารเรืองแสงไว้เข้าไป โดย นิวคลีโอไทด์ที่เป็นคู่สมกับตำแหน่ง SNP จะเข้าไปจับกับตำแหน่ง SNP โดยมีเอนไซม์ DNA polymerase มาช่วยต่อเข้าไปในสาย (ภาพ D) จากบุคคลที่หนึ่งมี Genotype ที่ตำแหน่ง SNP เป็น heterozygous A/G ดังนั้น นิวคลีโอไทด์ที่เข้าไปจับจะมีสองส่วน และเห็นสีเรืองแสงสองสี ในขณะที่บุคคลที่สอง มีตำแหน่ง SNP เป็น homozygous A/A ดังนั้นก็จะแสดงสีเพียงแค่สีเขียว โดยที่ความเข้มของแสงจากแต่ละ bead จะแปลผลโดย high resolution scanning laser ดังนั้น เมื่อแปลผลทั้งชิป ซึ่งจะมีลำดับเบสที่แตกต่างกันไปในแต่ละช่อง จะสามารถรู้ลำดับเบสบน DNA ทั้งหมดของเกือบทุกโครโมโซมของสิ่งส่งตรวจ จึงสามารถบอกได้ว่ามีส่วนใดหายไป หรือส่วนใดเกิน โดยลำดับเบสที่จะทราบนั้นซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบชิปของบริษัทที่ผลิตชิปว่าใส่ DNA probe ครอบคลุมลำดับเบสมากแค่ไหน ซึ่งในปัจจุบันลำดับเบสที่สามารถผลิตออกมาได้มีความครอบคลุมตำแหน่งที่สำคัญของทุกโครโมโซม (7)

ซึ่งทั้งสองเทคนิคสามารถตรวจหา Aneuploidy, Unbalanced translocations, Microdeletion และ Microduplication ได้ แต่ทั้งสองแบบจะไม่สามารถตรวจหา Balanced chromosomal rearrangement ได้ ด้วยเหตุผลนี้คู่แต่งงานที่มีปัญหาแท้งซ้ำซาก (Recurrent pregnancy loss) ควรได้รับการตรวจ Karyotype เป็นอันดับแรกก่อน (First line test) (2, 9)

นอกจากนี้ SNP array สามารถตรวจหาภาวะ Triploidy และ ภาวะ Absence of heterogenous ที่เกิดในกรณี Uniparental disomy ซึ่งคือการที่ทั้งสองแท่งของโครโมโซมคู่ใดคู่หนึ่งได้รับมาจากพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งเท่านั้น เป็นภาวะที่มักขึ้นในภาวะ Trisomy rescue (2, 10)

การทำ Array อาจตรวจดูยีนโดยรวม (Genome-wide array) หรือการตรวจเพื่อพุ่งเป้าหมายไปที่กลุ่มโรคที่สงสัย (Targeted to known genetic syndrome) ก็ได้ ซึ่งการตรวจ Genome wide array มักใช้ในการศึกษาวิจัยมากกว่า ส่วนการตรวจ Targeted arrays จะมีบทบาทในการตรวจทารกในครรภ์ (Prenatal genetic test)(2, 11)

การประยุกต์ใช้ในทางคลินิก

ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิด Autosomal trisomy จากการตรวจคัดกรองโครโมโซมที่ผิดปกติ (Aneuploidy screening) ควรได้รับการตรวจ Karyotyping หรือ การตรวจ FISH ร่วมกันกับ Karyotyping หากพบว่าทารกมีความผิดปกติ (Fetal abnormalities) แล้วทำการตรวจ Karyotyping ผลออกมาเป็นปกติ พบว่า Chromosomal microarray สามารถตรวจพบความผิดปกติได้ถึงร้อยละ 6.5 และ ร้อยละ 1-2 หากทารกไม่พบความผิดปกติที่ชัดเจน (12) ดังนั้น ACOG และ SMFM จึงแนะนำให้สามารถพิจารณาทำการตรวจ CMA เป็นการตรวจแรก (First tier test ) ถ้าหากพบว่าทารกมีความผิดปกติทางโครงสร้าง (fetal structural abnormalities) แทนการตรวจ Karyotyping แต่ถ้าหากความผิดปกติที่พบค่อนข้างจำเพาะกับกลุ่มโรค Aneuploidy ชัดเจน เช่น การพบ Endocardial defect ที่พบในกลุ่มโรค Trisomy 21 หรือการมี Alobar holoprosencephaly ที่พบใน Trisomy 13 การตรวจขั้นต้นก็ควรทำเป็น Karyotyping และ หรือร่วมกับ FISH (1, 13) โดยจำเป็นต้องให้ข้อมูลข้อดีและข้อจำกัดในการตรวจแต่ละชนิดเพื่อให้มารดาใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือก CMA อาจสามารถช่วยในการระบุโรคทางพันธุกรรมที่เป็นยีนส์เด่น (Autosomal dominant genetic disorders) แต่ยังไม่แสดงอาการในรุ่นพ่อแม่ที่มียีนส์ดังกล่าว และยังสามารถบ่งชี้ในกรณีที่โรคไม่ได้ถ่ายทอดจากรุ่นพ่อแม่สู่ลูก (2)

สำหรับการตรวจทารกที่มีภาวะตายคลอด (Stillbirth) การตรวจ CMA มักถูกใช้เป็นการตรวจมาตราฐานมากกว่าการตรวจ Standard karyotyping หนึ่งในเหตุผลคือการตรวจ CMA ไม่จำเป็นต้องใช้เซลล์ที่สามารถแบ่งตัวได้ จากข้อมูล The Stillbirth Collaborative Research Network พบว่าประมาณร้อยละ 6 ของเคสที่การตรวจ Karyotyping ไม่สามารถให้ข้อมูลได้ การตรวจ CMA สามารถระบุได้ว่าเป็น Aneuploidy หรือมี Pathologic copy number variant โดยที่โดยรวมแล้วการตรวจ CMA สามารถให้ผลได้มากกว่าการตรวจ Karyotyping เพียงอย่างเดียวถึงร้อยละ 25 (1, 13, 14)

การตรวจ CMA สามารถตรวจหาชิ้นส่วนของ DNA ที่มีการเพิ่มเติมหรือขาดหายที่มีขนาดเล็กได้ถึงอย่างน้อย 1000 คู่เบส ซึ่งชิ้นส่วนขนาดเล็กเหล่านี้ที่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม หรือขาดหายไปจากตัวอย่างปกติจะถูกเรียกว่า Copy number variants ซึ่งชิ้นส่วนนี้อาจมีนัยยะสำคัญทางคลินิกซึ่งสัมพันธ์กับภาวะปกติ (Benign copy number variants ) หรือ ภาวะผิดปกติ (Pathologic Copy number variants) ที่สัมพันธ์กับโรคทางพันธุกรรมซึ่งพบได้ถึงร้อยละ 15 (15) แต่ก็ยังมีส่วนของ Copy number variants เหล่านี้ที่ปัจจุบันยังไม่ทราบว่ามีนัยยะสำคัญทางคลินิกหรือไม่เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลของตำแหน่งลำดับเบสเหล่านั้นว่าสัมพันธ์กับการแสดงออกทางพันธุกรรม (Phenotype) แบบใด ซึ่งจะถูกเรียกว่า Copy number variants of uncertain significance หรือ Variants of uncertain clinical significant (11)

การตรวจ CMA ยังสามารถระบุความผิดปกติของสารพันธุกรรมที่เป็นโรคที่เกิดในวัยผู้ใหญ่ (Adult onset disorder) เช่น โรค Charcot-Marie-Tooth disease ซึ่งเกิดจาก Duplication ที่อาจส่งต่อมาจากบิดา หรือ มารดาที่ไม่มีอาการ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องอธิบายภาวะเหล่านี้ให้ผู้ป่วยรับทราบก่อนการส่งตรวจ (11)

Whole Genome sequencing และ whole exome sequencing [next generation sequencing]

โดยส่วนมากทารกในครรภ์ที่มีความผิดปกติทางโครงสร้าง (Structural abnormalities) มักมีผล Karyotype หรือ CMA ที่ปกติ การตรวจ Whole Genome sequencing เป็นเทคนิคการตรวจ genome ทั้งหมด ส่วน Whole exome sequencing เป็นการตรวจเฉพาะส่วนของ genome ที่จะแปลเป็น DNA ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1 ของ genome ทั้งหมด (2, 11) โดยจากการศึกษาพบว่าสามารถระบุความผิดปกติของสารพันธุกรรมในรายที่ทารกมีภาวะผิดปกติหลายส่วน (Multiple anomalies) ซึ่งไม่พบความผิดปกติจากการตรวจมาตรฐาน เช่น Karyotype , Microarray หรือทั้งสองอย่างได้ถึงร้อยละ 20-30 (16)

การใช้สองเทคนิคนี้มีการใช้มากขึ้นกับในการตรวจหลังคลอด เพื่อประเมินในกรณีสงสัยโรคทางพันธุกรรม(Genetic syndrome) หรือมีปัญหาด้านการเรียนรู้ (Intellectual disability) ในปัจจุบันมีการแนะนำให้ใช้ในกรณีที่ทารกในครรภ์สงสัยภาวะโรคทางพันธุกรรมชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นพิเศษ ซึ่งไม่สามารถวินิจฉัยได้จากการตรวจ CMA ACOG แนะนำให้เลือกทำเป็นกรณีไป เช่น ในกรณีที่เด็กทารกมีลักษณะผิดปกติที่ไม่สามารถมีชีวิตรอดได้ หรือมีภาวะความผิดปกติที่ซ้ำกับทารกในครรภ์ก่อนหน้า (Lethal or recurrent anomalies) ที่การตรวจอื่นไม่สามารถให้ข้อมูลหรือวินิจฉัยได้(11) ข้อจำกัดของการตรวจเทคนิคนี้คือเวลาการตรวจที่อาจใช้เวลานาน ดังนั้น จึงยังไม่ได้มีการนำมาใช้ในส่วนของ Prenatal test มากนัก (2, 11)

อย่างไรก็ตามเนื่องจากผลการตรวจ CMA อาจพบผลที่เป็น Copy number variants of uncertain significance หรือ Variants of uncertain clinical significant ซึ่งจำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการแปลผล และผลนี้อาจทำให้เกิดความกังวลใจกับผู้ป่วยได้ ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการอธิบายรายละเอียดรวมถึงผลที่อาจเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยก่อนทำการส่งตรวจ (11)

Fetal DNA in maternal circulation

เซลล์ของทารก (Fetal cells) จะอยู่ในเลือดมารดาในอัตราส่วนความเข้มข้นที่ค่อนข้างต่ำ ประมาณ 2-6 เซลล์/มิลลิลิตรของเลือดมารดา ซึ่งบางครั้งเซลล์เหล่านี้อาจอยู่ในเลือดแม่ค้างนานกว่าสิบปีหลังคลอด โดยที่เซลล์ที่ยังคงค้างอยู่นั้นอาจการแฝงเข้าไปในเซลล์มารดา (Engraft) และทำให้เกิดภาวะ Microchimerism ซี่งเชื่อว่าเป็นสาเหตุของโรคภูมิคุ้มกันต่อตนของมารดา (Maternal autoimmune disease) เช่น Scleroderma, SLE และHashimoto thyroiditis ในเวลาต่อมา สำหรับการตรวจเพื่อวินิจฉัยจากเซลล์ทารกในเลือดมารดานั้นถูกจำกัดโดยความเข้มข้นของปริมาณเซลล์ที่น้อย เซลล์จากการตั้งครรภ์ก่อนหน้านี้ และความยากในการแยกเซลล์ทารกกับเซลล์มารดา แต่ Cell free DNA นั้นสามารถ ก้าวข้ามผ่านข้อจำกัดเหล่านี้ได้(2)

Cell free DNA คือ ชิ้นส่วนของ DNA นี้ได้จากเซลล์ของมารดา (maternal cell) และ เซลล์รกที่มีการตาย (Apoptotic placental trophoblastic cell) ซึ่งมักถูกเรียกว่าเป็น DNA ของทารก โดย Cell free DNA จะมีความน่าเชื่อถือเมื่ออายุครรภ์มากกว่า 9-10 สัปดาห์ สัดส่วนของ cell free DNA ซึ่งมาจากรกนั้น ถูกเรียกว่า Fetal fraction โดยถือเป็นส่วนประกอบประมาณร้อยละ10 ของ Cell free DNA ทั้งหมดในพลาสมาของมารดา

Cell free DNA ต่างกันกับ Intact fetal cell ตรงที่สามารถล้างออกมาจากเลือดของมารดาโดยใช้เวลาภายในไม่กี่นาที สำหรับการศึกษาวิจัย Cell free DNA สามารถใช้เพื่อตรวจหา Single gene disorder ได้หลากหลายโรค ซึ่งส่งผ่านมาทาง Alleles ของพ่อ หรือ แม่ ได้แก่ Myotonic dystrophy, Achondroplasia, Huntington disease, Congenital adrenal hyperplasia, Cystic fibrosis และ alpha thalassemia(9) การนำไปใช้ในทางคลินิกของ cell-free DNA ได้แก่ การตรวจคัดกรอง Aneuploidy, การบอกเพศทารก และการบอกหมู่เลือด Rh (Rh D genotyping) (2)

การคัดกรอง Aneuploidy

มี 2-3 วิธีที่แตกต่างในการตรวจคัดกรองเด็กทารก Trisomy และ Sex chromosomal aneuploidies โดยใช้ cell free fetal DNA ได้แก่ วิธีการ Sanger sequencing, Whole genome sequencing ที่มักถูกเรียกว่า Massive parallel หรือ Short gun sequencing วิธีการเลือกดูเฉพาะโครโมโซม (Chromosome selective) หรือ Targeted sequencing และ วิธี SNPs analysis (Allele analysis)โดยสามารถรู้สัดส่วนของชิ้นส่วนโครโมโซมแต่ละคู่ว่าสูงเกินที่ควรจะเป็นหรือไม่ ดังนั้น มารดาที่มีทารกในครรภ์เป็นโรคดาว์ซินโดรมจะมีสัดส่วนของ DNA จากโครโมโซมคู่ที่ 21 มากกว่าปกติ

การตรวจคัดกรองจาก Cell free DNA นั้นจาก 37 การศึกษาพบว่ามีความไว (Sensitivity) ในการตรวจพบ Down syndrome อยู่ที่ร้อยละ 99 และการตรวจหา trisomy 18 และ 13 อยู่ที่ ร้อยละ 96 และ 91 และ ความจำเพาะ (Specificity) อยู่ที่ ร้อยละ 99.9 ผลบวกลวง (False positive) ของการตรวจคัดกรอง Aneuploidy อยู่ที่น้อยกว่าร้อยละ 1 โดยในปัจจุบัน การตรวจ Cell free DNA เพื่อคัดกรอง ถูกแนะนำให้เป็นทางเลือกในมารดาที่มีความเสี่ยงมากขึ้นที่ทารกจะเป็น Fetal autosomal trisomy (2, 9)

ในบางครั้ง cell free DNA screen อาจไม่สามารถบอกผลได้ ในเคสร้อยละ 4-8 ซึ่งอาจจะเกิดจากความล้มเหลวของ assay, high assay variance หรือ low fetal fraction

การบอกเพศของเด็กทารก

ในมุมมองโรคทางพันธุกรรม การบอกเพศของเด็กทารกนั้นอาจมีประโยชน์หากทารกนั้นมีความเสี่ยงในการเกิดโรค X-linked disorder และ ยังมีประโยชน์หากทารกมีความเสี่ยงในการเป็น Congenital adrenal hyperplasia เนื่องจาก การให้ Corticosteroid ในแม่อาจหลีกเลี่ยงที่จะให้หากทารกนั้นเป็นเพศชาย ในการศึกษาในหญิงตั้งครรภ์มากกว่า 6,000 คน ความไว (Sensitivity) ในการบอกเพศจาก Cell free fetal DNA อยู่ที่ ร้อยละ 95 โดยตรวจช่วงอายุครรภ์ 7-12 สัปดาห์ และมากถึงร้อยละ 99 หากตรวจหลัง 20 สัปดาห์ ดังนั้นจึงถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่ใช้แทนการตรวจรุกล้ำ (Invasive testing ) (2)

การบอกหมู่เลือด Rh D Genotype

ในกลุ่มประชากรผิวขาวเกือบร้อยละ 40 ของเด็กทารกที่มารดาเป็น Rh D negative จะมีหมู่เลือดเป็น Rh D negative เช่นเดียวกัน การตรวจโดยใช้ cell free DNA สามารถทำได้โดยการใช้ real time PCR ต่อ exons ของ
RHD gene ซึ่งมักจะอยู่ที่ exon 4, 5 และ 7 ซึ่งการตรวจพบว่าทารกนั้นเป็น Rh D negative เช่นเดียวกันตั้งแต่ต้นจะช่วยหลีกเลี่ยงการตรวจ Middle cerebral artery doppler และการเจาะน้ำคร่ำที่ไม่จำเป็น และช่วยลดค่าใช่จ่ายรวมถึงความเสี่ยงจากการทำหัตถการ (2)

การตรวจหมู่เลือด Rh ด้วยวิธีการ Cell free DNA จะถูกทำเป็นปกติในประเทศเดนมาร์คและเนเธอร์แลนด์ ซึ่งจะคัดกรองในหญิงตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ 27 สัปดาห์ พบว่าผลลบลวง (False negative) อยู่ที่ร้อยละ 0.03 และ ผลบวกลวง (False positive) อยู่ที่น้อยกว่าร้อยละ 1 (2)

ตารางสรุปเปรียบเทียบเทคนิคการตรวจทางพันธุศาสตร์ของทารกในครรภ์แต่ละชนิด(1)

การทดสอบ เวลาที่ใช้ ภาวะที่ตรวจพบได้ หมายเหตุ
Conventional karyotype (Cultured cell – metaphase analysis) 7-14 วัน โครโมโซมที่ผิดปกติที่ขนาดมากว่า 5-10 เมกะเบส
FISH

-Direct preparation (Interphase) ไม่ต้องเพาะเลี้ยงเซลล์

24-48 ชั่วโมง การตรวจที่เร็วสำหรับ ภาวะ Aneuploidy หลัก ๆ เช่น โครโมโซม 13, 18, 21 , X และ Y การตรวจ FISH จากโดยวิธีไม่เพาะเลี้ยงเซลล์จากการเจาะชิ้นเนื้อรกมีความแม่นยำน้อยกว่าจากการเพาะเลี้ยงเซลล์ที่ได้จากชิ้นเนื้อรก หรือน้ำคร่ำ ดังนั้นหากพบความผิดปกติควรได้รับการยืนยันจาการทำ FISH จากเซลล์ที่เพาะเลี้ยงซ้ำ
FISH

-Cultured cells (Metaphase)

7-14 วัน Microdeletion และ duplication ใช้ในภาวะผิดปกติที่จำเพาะ (specific abnormalities) เมื่อมีข้อมูลทางคลินิกที่สงสัย
QF-PCR 1-2 วัน การตรวจที่เร็วสำหรับ ภาวะ Aneuploidy หลัก ๆ เช่น โครโมโซม 13, 18, 21 , X และ Y
Chromosomal microarrays 3-5 วัน (ไม่เพาะเลี้ยงเซลล์)

10-14 วัน (เพาะเลี้ยงเซลล์)

ชิ้นส่วนของDNA ที่เพิ่มขึ้น หรือ หายไป (copy number of variants) ที่มีขนาดมากกว่า 50-200 กิโลเบส เป็นการตรวจทั้งจีโนม เพื่อหา copy of variants โดยที่จะไม่สามารถตรวจหา Balanced rearrangement และ Triploidies การตรวจจะมีความหลากหลายเนื่องจาก microarray platform ที่ออกแบบมาต่างกัน
Molecular DNA testing 3-14 วัน เร็วกว่าหากไม่ได้มีการเพาะเลี้ยงเซลล์ ตรวจหา Genetic mutation ที่รู้ล่วงหน้าอยู่แล้ว หรือเคยมีการแสดงออกมาแล้วในครอบครัว หรือสงสัยจากการตรวจภาพอัลตราซาวด์ หรือจากสิ่งตรวจพบอื่นของทารกในครรภ์ Targeted test focusing on specific disorder ซึ่งส่วนใหญ่จะได้หลักฐานข้อมูลจากประวัติครอบครัว หรือลักษณะของทารกจาก
อัลตราซาวด์

ในปัจจุบันเทคนิคการตรวจเพื่อคัดกรองทางพันธุศาสตร์ซึ่งเป็นที่นิยมใช้คือ Cell free fetal DNA เนื่องจากมีความไวและความจำเพาะในการตรวจค่อนข้างสูงรวมถึงหลีกเลี่ยงการทำหัตการลุกล้ำโดยไม่จำเป็น อย่างไรก็ตามหากพบความผิดปกติจากการส่งตรวจข้างต้นก็จำเป็นที่จะต้องส่งตรวจทางพันธุศาสตร์เพิ่มเติมเพื่อการวินิจฉัย โดย ACOG แนะนำให้ทำการตรวจ CMA เป็นการตรวจแรกถ้าหากพบว่าทารกมีความผิดปกติทางโครงสร้างแทนการตรวจ Karyotyping เนื่องจากสามารถตรวจพบความผิดปกติได้ถึงร้อยละ 6.5 ในกรณีที่ทารกมีความผิดปกติทางโครงสร้างและตรวจ Karyotype ให้ผลปกติ แต่ถ้าหากความผิดปกติที่พบค่อนข้างจำเพาะกับกลุ่มโรค Aneuploidy ชัดเจนการตรวจขั้นต้นก็ควรทำเป็น Karyotyping และ หรือร่วมกับ FISH แต่ไม่แนะนำให้ทำการวินิจฉัยจากผลการตรวจ FISH เพียงอย่างเดียว การตัดสินใจควรมีองค์ประกอบของผลตรวจ FISH ร่วมกับการตรวจอย่างน้อยข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ การตรวจวินิจฉัยทางพันธุกรรม Karyotyping หรือ การตรวจ Chromosomal microarray หรือ ข้อมูลทางคลินิกที่ช่วยส่งเสริม เช่น การตรวจคัดกรองภาวะ Aneuploidy ที่ผิดปกติ หรือ ภาพถ่ายอัลตราซาวด์ เทคนิค QF-PCR ก็ถือเป็นอีกวิธีที่สามารถให้ผลที่มีความน่าเชื่อถือในกรณีสงสัยภาวะ Aneuploidy ของโครโมโซม 13,18,21 ซึ่งสามารถให้ผลตรวจที่เร็วภายใน 1-2 วัน แต่ก็จำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการแปลผล ส่วน Whole Genome sequencing และ whole exome sequencing [Next generation sequencing] ACOG แนะนำให้เลือกทำเป็นกรณีไป เช่น ในกรณีที่เด็กทารกมีลักษณะผิดปกติที่ไม่สามารถมีชีวิตรอดได้ หรือมีภาวะความผิดปกติที่ซ้ำกับทารกในครรภ์ก่อนหน้า (Lethal or recurrent anomalies) ที่การตรวจมาตรฐานอื่น เช่น Karyotype , CMA หรือทั้งสองอย่างไม่สามารถให้ข้อมูลหรือวินิจฉัยได้ และก่อนการส่งตรวจไม่ว่าจะเป็นการส่งตรวจใดทุกครั้งควรมีการให้คำอธิบายถึงวิธี ผลการตรวจที่อาจเกิดขึ้นได้ ข้อดีข้อเสีย และข้อจำกัดของแต่ละวิธีให้กับผู้ป่วยทุกครั้ง

เอกสารอ้างอิง

1. American College of Obstetricians, Gynecologists. Practice bulletin no. 162: Prenatal diagnostic testing for genetic disorders. Obstetrics and gynecology. 2016;127(5):e108-e22.

2. Cunningham FG, Leveno KJ, bloom SL, Dashe JS, Hoffman BL, Casey BM, et al. Williams Obstetrics. 25 ed: McGraw-Hill Education; 2018.

3. Schrijver I, Zehnder JL. Tools for genetics and genomics: Cytogenetics and molecular genetics.

4. Hixson L, Goel S, Schuber P, Faltas V, Lee J, Narayakkadan A, et al. An overview on prenatal screening for chromosomal aberrations. Journal of Laboratory Automation. 2015;20(5):562-73.

5. Brown L, Abigania M, Warburton D, Brown S. Validation of QF‐PCR for prenatal aneuploidy screening in the United States. Prenatal Diagnosis: 2006;26(11):1068-74.

6. Badenas C, Rodríguez-Revenga L, Morales C, Mediano C, Plaja A, Pérez-Iribarne MM, et al. Assessment of QF-PCR as the first approach in prenatal diagnosis. The Journal of Molecular Diagnostics. 2010;12(6):828-34.

7. Kim S, Misra A. SNP Genotyping: Technologies and Biomedical Applications. Annu Rev Biomed Eng. 2007;9:289-320.

8. He C, Holme J, Anthony J. SNP genotyping: the KASP Assay. Crop Breeding: Springer; 2014. p. 75-86.

9. Rose NC, Kaimal AJ, Dugoff L, Norton ME, American College of Obstetricians, Gynecologists. Screening for fetal chromosomal abnormalities: ACOG practice bulletin, number 226. Obstetrics & Gynecology. 2020;136(4):e48-e69.

10. Chau MHK, Choy KW. The role of chromosomal microarray and exome sequencing in prenatal diagnosis. Current Opinion in Obstetrics and Gynecology. 2021;33(2):148-55.

11. Obstetricians ACo, Gynecologists. Microarrays and next-generation sequencing technology: the use of advanced genetic diagnostic tools in obstetrics and gynecology. ACOG Committee opinion no. 682. American College of Obstetricians and Gynecologists. Obstet Gynecol. 2016;128:e262-e8.

12. Callaway JL, Shaffer LG, Chitty LS, Rosenfeld JA, Crolla JA. The clinical utility of microarray technologies applied to prenatal cytogenetics in the presence of a normal conventional karyotype: a review of the literature. Prenatal Diagnosis. 2013;33(12):1119-23.

13. Hay SB, Sahoo T, Travis MK, Hovanes K, Dzidic N, Doherty C, et al. ACOG and SMFM guidelines for prenatal diagnosis: Is karyotyping really sufficient? Prenatal diagnosis. 2018;38(3):184-9.

14. Levy B, Wapner R. Prenatal diagnosis by chromosomal microarray analysis. Fertility and Sterility. 2018;109(2):201-12.

15. Vissers LE, Veltman JA, van Kessel AG, Brunner HG. Identification of disease genes by whole genome CGH arrays. Human Molecular Genetics. 2005;14(suppl_2):R215-R23.

16. Drury S, Williams H, Trump N, Boustred C, GOSGene, Lench N, et al. Exome sequencing for prenatal diagnosis of fetuses with sonographic abnormalities. Prenatal Diagnosis. 2015;35(10):1010-7.

 

Read More

Calendar test

Week of Events

Read More

ภาวะ Female sexual dysfunction

ภาวะ Female sexual dysfunction

จัดทำโดย : พ.ญ.กานต์ทอง ศิริวัฒน์
อาจารย์ที่ปรึกษา : อ.พญ. ณัฐนิตา มัทวานนท์


ภาวะ Female Sexual Dysfunction คือสภาวะที่จิตใจมีความบกพร่องเรื่องความต้องการทางเพศ และไม่สามารถตอบสนองต่อการกระตุ้นทางเพศได้ตามปกติ ทำให้เกิดปัญหาในการร่วมเพศ หรือเกิดปัญหาในการถึงจุดสุดยอดทางเพศ (orgasm) เป็นผลให้เกิดความวิตกกังวล และความขัดแย้งในคู่สมรส โดยปัญหาทางเพศนี้พบได้มากถึงร้อยละ 40 ในประชากรหญิงทั้งหมดในโลก และพบว่าร้อยละ12 ของผู้ป่วยทั้งหมดเกิดสภาวะความเครียด(1) ความชุกของโรคนี้จะมากขึ้นในประชากรภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, สิงค์โปร์ และฟิลิปปินส์ เป็นต้น (2) โดยในบทความนี้จะขอกล่าวเฉพาะความบกพร่องทางเพศที่พบในเพศหญิงเท่านั้น

กายวิภาคของอวัยวะที่เกี่ยวข้อง

จุดที่มีความไวต่อการสัมผัสในอวัยวะเพศของสตรีนั้นคือ คลิตอริส (Clitoris) โดยคลิตอริส เป็นอวัยวะที่มีความอ่อนไหว ถ้าถูกกระตุ้นสามารถทำให้เกิดความรู้สึกทางเพศและเกิดความสุขสุดยอดได้ คลิตอริสประกอบไปด้วยส่วนของ head, shaft และ rami ซึ่งทอดตัวอยู่ในส่วนของ pubic arch นอกจากนี้ยังมีส่วนอื่น ๆ ที่ไวต่อการกระตุ้นอีก เช่น Periurethral tissue หรือเนื้อเยื่อรอบท่อปัสสาวะที่ทอดตัวอยู่หน้าของช่องคลอด, bulbar tissue เนื้อเยื่อที่อยู่ใต้ต่อ superficial perineal muscle ซึ่งเรียงตัวอยู่ด้านหน้าของช่องคลอดส่วนปลาย ซึ่งบริเวณดังกล่าวนี้หากได้รับการกระตุ้นที่เหมาะสมจะทำให้เกิดการตื่นตัวทางเพศได้ สำหรับ ช่องคลอด (Vagina) พบว่ามีความสำคัญเช่นกันโดยแบ่งส่วนเป็นช่องคลอดส่วนล่าง (lower thirds vagina)และ ช่องคลอดส่วนบน (upper two-thirds) กลไกการถูกกระตุ้นเพื่อการตอบสนองทางเพศจะแตกต่างกัน เมื่อมีการกระตุ้นช่องคลอดส่วนล่าง (lower thirds vagina)โดยการสัมผัสจะทำให้เกิดการตอบสนองทางเพศได้ดี ตรงข้ามกับช่องคลอดส่วนบน (upper two-thirds) จะเกิดการตอบสนองทางเพศได้ดีกว่าเมื่อเป็นการสัมผัสที่มีแรงกด

นอกจากนี้ยังมีบริเวณที่เรียกว่า G-spot เป็นบริเวณที่อยู่ในช่องคลอดส่วนหน้าตำแหน่งกึ่งกลางระหว่าง pubic symphysis และปากมดลูก การกระตุ้นตำแหน่งนี้สามารถทำให้เกิดความสุขสุดยอดได้ โดยในบางรายอาจมีการหลั่งสารคัดหลั่งจาก Skene gland ขณะ orgasm ได้ นอกจากนี้สตรีบางรายอาจมีประวัติปัสสาวะเล็ดเมื่อ orgasm ได้ด้วย เนื่องจากของกล้ามเนื้อ detrusor มีการหดตัว ร่วมกับ กล้ามเนื้อหูรูดกระเพาะปัสสาวะมีการคลายตัว ดังนั้นการมีปัสสาวะเล็ดเมื่อถึงจุดสุดยอดจึงเป็นเรื่องปกติที่ไม่มีความจำเป็นต้องรักษา (3)

วงจรการตอบสนองทางเพศ (Sexual response cycle)

เป็นกลไกที่เกี่ยวกับลำดับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับการกระตุ้นทางเพศ ในปี ค.ศ.1996 William Masters และ Virginia Johnson ได้คิดค้นรูปแบบของวงจรการตอบสนองทางเพศโดยมีชื่อเรียกว่า Master and Johnson’s model (4) โดยแบ่งวงจรของการตอบสนองทางเพศออกเป็น 4 ระยะ

  1. ระยะความต้องการทางเพศ (Desire or Excitement phase)
    • ระยะนี้อาจจะใช้เวลาตั้งแต่เป็นนาทีหรือหลายชั่วโมง
      • ระยะนี้จะเริ่มมีลักษณะที่จำเพาะหลายอย่าง เช่น กล้ามเนื้อมีการตึงตัวมากขึ้น, หัวใจเต้นเร็วขึ้น หายใจแรงและเร็วขึ้น, เกิด sex flush หรือการขยายตัวของหลอดเลือด (vasodilation) ที่ผิวหนังบริเวณเต้านมและใบหน้า ทำให้ผิวหนังดูแดงขึ้น, หัวนมแข็งและตั้งชันมากขึ้น, มีเลือดไปเลี้ยงบริเวณอวัยวะเพศมากขึ้นส่งผลให้เกิดการบวมบริเวณคลิตอริส/ช่องคลอด และมีน้ำหล่อลื่นบริเวณอวัยวะเพศ
  2. ระยะตื่นตัวทางเพศ (Arousal or Plateau phase)
  • ลักษณะทางกายภาพที่เปลี่ยนแปลงได้แก่
      • ผิวหนังมีความไวต่อการกระตุ้นทางเพศและชุ่มชื้นมากขึ้น
      • มีการเปลี่ยนแปลงของการเต้นหัวใจ ความดันโลหิต อุณหภูมิร่างกาย อัตราการหายใจ และ ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
      • อวัยวะเพศบวมและบริเวณแคมมีสีแดงเข้มขึ้น
      • คลิตอริสบวมและตั้งชัน
      • มีน้ำหล่อลื่นจากช่องคลอดเพิ่มขึ้น
      • ช่องคลอดส่วนล่างบวมและหนาขึ้นเกิดเป็น orgasmic platform
      • เต้านมและหัวนมแข็งตั้งชัน
      • Cervicomotor reflex เกิดขึ้นระหว่างมีเพศสัมพันธ์เมื่อองคชาติไปสัมผัสส่วนของปากมดลูกจะเกิดการหดตัวของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานทำให้เกิดการบีบรัดที่ส่วนล่างของช่องคลอดและช่องคลอดส่วนบนจะเกิดการโป่งลักษณะคล้ายบอลลูนเพื่อใช้ในการกักเก็บน้ำอสุจิ นอกจากนี้การหดตัวของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานจะช่วยให้คงการแข็งตัวของอวัยวะเพศชายได้ด้วย
      • มดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้นและลอยตัวสูงขึ้นมาจากบริเวณเชิงกราน (ballooning)
  1. ระยะสุดยอดทางเพศ (Orgasm phase)
    • เป็นระยะที่สูงสุดของวงจรการตอบสนองทางเพศ (Sexual Response cycle) โดยใช้เวลาสั้นที่สุดคือเพียงประมาณไม่กี่วินาที
  • ระยะนี้จะมีการส่งสัญญาณไปยังสมองกระตุ้นทำให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นดังนี้
      • การเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อลายทำให้เกิดการหดตัวของมดลูกเป็นจังหวะและเกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อบริเวณช่องคลอดและรูทวาร ในบางรายอาจมีการเกร็งของมือและเท้า
      • เต้านมมีขนาดใหญ่ ลานนมขนาดกว้างขึ้น
    • ในสตรีบางราย สามารถถึงจุดสุดยอดได้ง่ายเพียงแค่สัมผัสคลิตอริส หรือการกระตุ้นเต้านมเท่านั้น
  1. การกลับสู่ภาวะปกติ (Resolution phase)
  • หลังจากถึงจุดสุดยอดร่างกายจะเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ จะเริ่มรู้สึกผ่อนคลายและมีความสุข กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานจะคลายตัวลง ร่างกายจะกลับสู่ภาวะปกติใน 5-10 นาที
  • สตรีบางรายสามารถกลับเข้าสู่ระยะ Orgasm ได้อีกในระยะเวลาอันสั้น ถ้าได้รับการกระตุ้นทางเพศอย่างต่อเนื่อง และสามารถมี Orgasm ได้หลายๆ ครั้งติดกัน

รูปที่1 แสดงวงจรของการมีเพศสัมพันธ์อ้างอิงจากทฤษฎีของ Master and johnson’s model (4)ในปี ค.ศ.1996

จะเห็นได้ว่ากลไกของ William Masters และ Virginia Johnsonเป็นกลไกที่มีลักษณะเป็นเส้นตรงและกล่าวถึงเฉพาะลักษณะทางกายภาพ จนกระทั้งในปี ค.ศ. 2002 Rosemary Basson (5)ได้ปรับวงจรการตอบสนองทางเพศให้ครอบคลุมมากขึ้น โดยเสนอว่า การเกิดวงจรตอบสนองทางเพศนั้นไม่ได้ขึ้นจากความต้องการ (desire) ส่งสัญญาณกระตุ้นไปยังอวัยวะเพศเท่านั้น แต่วงจรทั้งหมดเกี่ยวเนื่องกับการทำงานร่วมกันระหว่างร่างกายและจิตใจ เช่น สภาวะจิตใจ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล วัฒนธรรม สภาพแวดล้อม ประสบการณ์เรื่องเพศ และลักษณะทางชีววิทยา (ฮอร์โมน, ระบบหลอดเลือด, กล้ามเนื้อ, ระบบสารสื่อประสาท)

ทฤษฎีของ Basson กล่าวว่า แรงจูงใจทางเพศนั้นเป็นสิ่งที่ซับซ้อน เพศสัมพันธ์ของสตรีส่วนใหญ่มักจะเกิดจากความใกล้ชิดและความสัมพันธ์อันดีระหว่างคู่รัก ก่อให้เกิดความเต็มใจที่จะมีเพศสัมพันธ์ นำไปสู่แรงกระตุ้นทางเพศ อย่างไรก็ตามความต้องการทางเพศที่เป็นสัญชาตญาณ สภาวะทางกายเช่นโรคประจำตัว และสภาวะทางจิตใจเช่น ความกลัว หรือประสบการณ์เลวร้ายจากการเคยมีเพศสัมพันธ์ครั้งก่อน ก็มีบทบาทสำคัญต่อความต้องการทางเพศในแต่ละบุคคลด้วย หรือในทางกลับกัน หากสตรีรายหนึ่งไม่มีความต้องการทางเพศ (Desire) ณ ช่วงเวลาหนึ่ง แต่ได้รับการเร้าอารมณ์ทางเพศอย่างเหมาะสม ก็อาจมีความต้องการขึ้นมาเพิ่มเติมในช่วงนี้ได้ สำหรับการถึงจุดสุดยอดนั้น Basson เสนอว่าแม้บางคนอาจมีความพึงพอใจจนถึงจุดสุดยอด แต่การถึงจุดสุดยอดก็ไม่ใช่เรื่องจำเป็นเสมอไปสำหรับผู้หญิงทุกคน หากแต่ประสบการณ์ที่ดีตลอดการมีเพศสัมพันธ์ต่างหากที่จะทำให้เกิดความพึงพอใจทางเพศ เช่น รู้สึกมีความใกล้ชิด มีความสุข และไม่เกิดความรู้สึกต่อต้านการมีเพศสัมพันธ์ จะนำไปสู่การตอบรับและเกิดแรงจูงใจในการมีเพศสัมพันธ์ในครั้งต่อไป ดังนั้นวงจรของ Bassen จึงเป็นวงกลมที่มีการตอบสนองกันไปเรื่อย ๆ ต่างจากของ Master and Johnson ที่เป็นแบบเส้นตรงทางเดียว

รูปที่1 แสดงวงจรของการมีเพศสัมพันธ์อ้างอิงจากทฤษฎีของ Basson model(5) ตีพิมพ์ในปี ค.ศ.2002

ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองทางเพศ

  1. เอสโตรเจน (Estrogen)

เอสโตรเจน เป็นฮอร์โมนที่มีส่วนสำคัญต่อวงจรการตอบสนองทางเพศ การลดลงของระดับเอสโตรเจนในช่วงวัยใกล้หมดประจำเดือนและหมดประจำเดือน ทำให้เยื่อบุผิวมีความบางลงและเลือดมาเลี้ยงน้อยลงในบริเวณ vulvovaginal tissue ได้แก่ แคม ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ และกระเพราะปัสสาวะ ทำให้เกิดความแห้งและระคายเคือง อาจรู้สึกแสบร้อนได้ นอกจากนี้การที่เลือดมาเลี้ยงน้อยลงทำให้ vasocongestion ในช่วงการเร้าอารมณ์ลดลง ทำให้สร้างสารคัดหลั่งได้น้อยลง จึงเกิดการแห้งและเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ได้ นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความผิดปกติของการปัสสาวะได้ เช่นปัสสาวะบ่อย ติดเชื้อที่ระบบปัสสาวะส่วนล่างง่ายเป็นต้น โดยภาวะ genitourinary syndromes of menopause (GSM) นี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะ female sexual dysfunction ที่พบได้บ่อย (6)

  1. แอนโดรเจน (Androgen)

แอนโดรเจนมีความสำคัญในเรื่องของเพศอย่างมาก โดยจะช่วยเรื่องความต้องการทางเพศ แต่ยังไม่ทราบกลไกที่แน่ชัด (7) ในสตรีนั้น ฮอร์โมนแอนโดรเจนจะถูกสร้างจากรังไข่และต่อมหมวกไต โดยปริมาณการสร้างจะลดลงตลอดช่วงอายุขัย โดยฮอร์โมนแอนโดรเจนหลักในร่างกายคือ testosterone

ร้อยละ 98 ของ Testosterone ในร่างกายจะอยู่ในรูปที่จับอยู่กับโปรตีน (Sex-hormone binding globulin or albumin) ซึ่งไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ เหลือเพียงเล็กน้อยที่อยู่ในรูปอิสระซึ่งเป็นรูปแบบที่ออกฤทธิ์ได้ ดังนั้นบางภาวะเช่น การตั้งครรภ์ หรือการรับประทานยาคุมกำเนิด ซึ่งลดระดับ free testosterone ลง จึงอาจมีผลกับความรู้สึกทางเพศได้

การประเมินผู้ป่วยที่มีภาวะบกพร่องทางเพศ

สตรีจำนวนมากไม่กล้าปรึกษา หรือ พูดคุยเรื่องปัญหาทางเพศกับแพทย์ผู้ให้การรักษา และในทางกลับกันแพทย์บางท่านก็มีความลำบากใจในการพูดคุยถึงเรื่องเพศกับผู้ป่วย แต่ในความเป็นจริงปัญหาทางเพศเป็นปัญหาที่พบบ่อยแพทย์จึงควรสอบถามเรื่องปัญหาทางเพศกับผู้ป่วยเสมอ นอกจากปัญหาเรื่องเพศแล้วแพทย์จะได้ข้อมูลเกี่ยวกันความเสี่ยงของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้แนะนำในเรื่องการคุมกำเนิด ได้ประเมินในเรื่องการมีเพศสัมพันธ์แบบปลอดภัย และได้ประเมินความคิดเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ รวมทั้งค้นหาภาวะความบกพร่องทางเพศที่อาจเกิดขึ้น (3, 8)

หลักการในการซักประวัติผู้ป่วยนั้นจะต้องมีการสร้างความเป็นมิตรแก่ผู้ป่วยและใช้คำถามปลายเปิดเช่น “คุณมีความกังวลในเรื่องเพศ มีปัญหาเช่นการเจ็บปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ หรือไม่มีความสุขขณะมีเพศสัมพันธ์หรือไม่” และจะต้องมีทักษะในการฟังที่ดี รวมทั้งการค้นหาตัวชี้นำจากท่าทางของผู้ป่วย โดยข้อมูลที่ต้องการทราบนั้นจะต้องประเมินแบบองค์รวมคือประเมินทั้งด้านชีววิทยา จิตวิทยา สังคมรวมถึงสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยและคู่นอน ให้ครอบคลุมสาเหตุของภาวะบกพร่องทางเพศดังแสดงใน ตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางเพศ (9)

Psychological
  • Depression or anxiety
  • Conflict within the relationship
  • Fatigue
  • Stress
  • Lack of privacy
  • Physical or sexual abuse
Gynecologic issues
  • Endometriosis
  • Genitourinary syndrome of menopause
  • Pregnancy and childbirth
  • Pelvic organ prolapse and incontinence
  • Uterine fibroids
  • Pregnancy
  • Postpartum
Medical conditions
  • Diabetes
  • Hyperthyroidism
  • Hyperprolactinemia
  • Hypertension
  • Neurologic disease
  • Obesity
Other
  • Home environment
  • Financial resources
  • Physical environment
  • Freedom
  • Security

หลักในการตรวจร่างกาย (3)

  1. ตรวจร่างกายครบทุกระบบ เช่น ลักษณะของโรคเรื้อรังเช่นโรคซีด โรคหัวใจเต้นช้า โรคไทรอยด์ต่ำ หรือโรคของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เช่น Sclerodema ที่อาจทำให้เกิดภาวะช่องคลอดแห้งได้ เป็นต้น
  2. ตรวจหาลักษณะภายนอกของอวัยวะเพศ เช่น ความเบาบางของขนหัวเหน่าที่แสดงถึงภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ การมองหาความผิดปกติบริเวณอวัยวะเพศภายนอกเช่น Lichen sclerosis ที่อาจทำให้เกิดการเจ็บช่วงมีเพศสัมพันธ์ การดูบาดแผลและความผิดปกติของรูปร่างของอวัยวะเพศเป็นต้น
  3. ตรวจลักษณะของปากช่องคลอด (introitus) คือการหาลักษณะความผิดปกติ ลักษณะของภาวะเอสโตรเจนต่ำ เช่น ผิวบริเวณอวัยวะเพศภายในมีสีซีด ขาดความยืดหยุ่น มีจุดจ้ำเลือด ดูความผิดปกติของเยื่อพรหมจรรย์ ดูว่ามีก้อนยื่นเช่น cystocele, rectocele หรือไม่ นอกจากนี้ควรดูสีของสารคัดหลั่งหรือตกขาวที่ออกมาจากช่องคลอดร่วมด้วย
  4. ตรวจภายใน ดูในเรื่องของความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน, คลำหาจุดกดเจ็บเมื่อกดลงไปที่กล้ามเนื้อ deep levator ani
  5. ตรวจ bimanual examination คลำหาก้อนหรือจุดกดเจ็บที่บริเวณ Cul de sac หรือ vagina fornix จนถึง uterosacral ligament เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดการปวดขณะมีเพศสัมพันธ์

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

การตรวจทางห้องปฏิบัติการนั้นทำเฉพาะในกรณีที่มีข้อบ่งชี้จากการซักประวัติและตรวจร่างกาย ไม่จำเป็นต้องทำในทุกกรณี การตรวจหาค่า Androgen levels, Estradiol level หรือค่าฮอร์โมนอื่น ๆ เช่น follicle-stimulating hormone ไม่สามารถใช้ในการวินิจฉัยโรคนี้ได้ (10)

การวินิจฉัยโรคความบกพร่องทางเพศ

อ้างอิงจาก American psychiatric association’s diagnostic and statistical manual of mental disorder : DSM-5 ได้แบ่งโรคในกลุ่มนี้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆได้แก่ (11)

  1. ความผิดปกติในระยะความต้องการและความตื่นตัวทางเพศ (Female Sexual Interest/ Arousal Disorder, FSIAD)

เกณฑ์วินิจฉัยต้องมีอาการเข้าได้อย่างน้อย 3 ข้อ จาก 6 ข้อ ดังนี้

    1. มีความสนใจในเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ลดลงหรือไม่มีความสนใจในการมีเพศสัมพันธ์เลย
    2. มีความคิดหรือจินตนาการเรื่องเพศสัมพันธ์ลดลงหรือไม่มีเลย
    3. มีการเริ่มต้นหรือตอบรับการมีเพศสัมพันธ์ลดลงหรือไม่มีเลย
    4. ความตื่นเต้นหรือความพึงพอใจระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ลดลงตลอดเวลา หรือลดลงประมาณร้อยละ 75 ระหว่างการมีเพศสัมพันธ์
    5. ความสนใจหรือความรู้สึกเร้าอารมณ์เมื่อมีการกระตุ้นทางเพศลดลง หรือขาดหายทั้งจากกการกระตุ้นภายในและภายนอก
    6. ความรู้สึกที่บริเวณอวัยวะเพศและบริเวณอื่น ๆ ลดลงระหว่างมีเพศสัมพันธ์ทั้งหมด หรือร้อยละ 75 ขณะมีเพศสัมพันธ์

โดยจะต้องมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน และสร้างความเครียดให้แก่ผู้ป่วยและคู่นอนอย่างมีนัยยะสำคัญ รวมถึงอาการเหล่านี้จะต้องไม่เกี่ยวกับความผิดปกติทางจิตใจอื่น ๆ และไม่เกี่ยวข้องกับความเครียดระหว่างคู่นอน เช่น การใช้ความรุนแรง รวมถึงไม่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาหรือสารเสพติด

  1. ภาวะความผิดปกติในระยะสุดยอดทางเพศ (Female orgasmic disorder, FOD)

เกณฑ์วินิจฉัยต้องมีอาการอย่างน้อย 1 ใน 2 โดยมีอาการทุกครั้งหรืออย่างน้อยร้อยละ75 ในช่วงที่มีเพศสัมพันธ์

    1. ไม่สามารถถึงจุดสุดยอดได้เลย หรือถึงช้า
    2. มีการลดลงของความแรง (intensity) ของการถึงจุดสุดยอด

โดยจะต้องมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน และสร้างความเครียดให้แก่ผู้ป่วยและคู่นอนอย่างมีนัยยะสำคัญ

  1. ภาวะเจ็บปวดบริเวณอวัยวะเพศหรือช่องท้องส่วนล่างเมื่อพยายามสอดใส่ (Genito–pelvic pain/penetration disorder, GPPPD)

เกณฑ์วินิจฉัยจะต้องมีอาการอย่างน้อย 1 ใน 4 ข้อดังนี้

3.1 มีความยากลำบากเมื่อมีการสอดใส่ทางช่องคลอดขณะมีเพศสัมพันธ์

3.2 มีอาการเจ็บปวดบริเวณช่องคลอดและอุ้งเชิงกรานระหว่างมีการสอดใส่ หรือ มีเพศสัมพันธ์ หรือ มีอาการเจ็บปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน

3.3 มีความกังวลและหวาดกลัวกับการเจ็บปวดบริเวณอวัยวะเพศอันเป็นผลจากการถูกสอดใส่ที่บริเวณช่องคลอด

3.4 มีการหดตัวหรือบีบรัดที่บริเวณกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเมื่อพยายามสอดใส่เข้าไปในช่องคลอด

โดยอาการดังกล่าวจะต้องคงอยู่อย่างน้อย 6 เดือนและสร้างความเครียดให้แก่ผู้ป่วยและคู่นอนอย่างมีนัยยะสำคัญ

การดูแลรักษาสตรีที่มีภาวะ Female Sexual Dysfunction

สตรีที่มีภาวะบกพร่องทางเพศนั้นควรได้รับการดูแลแบบองค์รวมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ สำหรับหลักการในการดูแลสตรีกลุ่มนี้นั้นมีหลักการดังนี้

  1. ให้การประเมินและวินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง
  2. ประเมินเป้าหมายของการรักษา เนื่องจากแต่ละรายอาจมีเป้าหมายต่างกัน
  3. แนะนำและให้ความรู้ที่เหมาะสม เพื่อสร้างความเข้าใจในตัวโรค
  4. ให้ความรู้และความเข้าใจแก่คู่นอน
  5. รักษาปัญหาที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น ปัญหาทางกาย และปัญหาทางจิตใจ
  6. ใช้ทีมสหวิชาชีพในการดูแลรักษาและดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม

ในสตรีเหล่านี้มีหลากหลายกรณีที่มีปัญหาเรื่องเพศสัมพันธ์เนื่องจากขาดความรู้ ขาดประสบการณ์ มีความเข้าใจผิดและขาดการสื่อสารระหว่างคู่นอนที่เหมาะสม ดังนั้นหากสูตินรีแพทย์พบเจอผู้ป่วยกลุ่มนี้ ควรให้ความรู้เกี่ยวกับวงจรของเพศสัมพันธ์เพื่อหาต้นตอของปัญหาและใช้กลไกของวงจรเพศสัมพันธ์เพื่อให้ผู้ป่วยและคู่ครองสามารถเข้าใจกันและกัน จนสามารถแก้ปัญหาให้ตรงสาเหตุได้

เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม สูตินรีแพทย์ควรใช้หลัก PLISSIT model ในการดูแลและเข้าถึงปัญหาของผู้ป่วยโดย PLISSIT model มีหลักการดังนี้

  1. Permission คือการขอความอนุญาตในการพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาที่เป็นเรื่องส่วนตัวของผู้ป่วย หากผู้ป่วยเปิดใจและกล้าพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาของตนเอง ก็จะทำให้การประเมินปัญหานั้นแม่นยำ และตรงประเด็นมากขึ้น โดยผู้รักษาควรให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วยว่าความคิด พฤติกรรม และสิ่งที่วิตกกังวลนั้นเป็นเรื่องปกติและเข้าใจได้
  2. Limited Information คือแพทย์ให้ข้อมูลความถูกต้องเกี่ยวกับสรีรวิทยาของเรื่องเพศและพฤติกรรมทางเพศ โดยความรู้นั้นจะต้องกระชับ และตรงจุด ไม่ยาวเกินไป เพื่อให้คนไข้และคู่นอนสามารถทำความเข้าใจได้เพื่อลดความเข้าใจผิด ปัญหาที่เกิดจากการขาดความรู้ จะถูกแก้ไขได้ในขั้นตอนนี้
  3. Specific Suggestion ขั้นตอนนี้คือการแก้ไขปัญหาที่เฉพาะเจาะจงของผู้ป่วย โดยการปรับทัศนะคติ การฝึกปฏิบัติ การแนะนำวิธีการกระตุ้นทางเพศที่เหมาะสม และตรวจหาความผิดปกติทางด้านจิตใจของผู้ป่วยรวมถึงปัญหาระหว่างคู่ครอง ขั้นตอนนี้อาจให้การรักษาด้วยยาหรือฮอร์โมน
  4. Referral for Intensive Therapy ขั้นตอนนี้จะจำเป็นในบางกรณี เช่น ผู้ที่มีความจำเป็นต้องส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น ผู้ป่วยมีความผิดปกติทางจิตใจจากความรุนแรงในอดีตทำให้ไม่สามารถมีความสุขทางเพศได้ อาจต้องส่งพบนักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์ หรือในบุรุษที่มีความบกพร่องทางเพศซึ่งเกิดจากปัญหาทางกายที่ต้องส่งต่อเพื่อรับการรักษากับแพทย์เฉพาะทางเป็นต้น

โดยการดูแลรักษาผู้ที่มีภาวะนี้จะต้องใช้เวลา และต้องมีการติดตามการรักษาต่อเนื่องยาวนานจึงจะได้ผลดี ดังนั้นการพูดคุยและให้กำลังใจในการรักษา และรักษาอย่างคอยเป็นค่อยไปจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก

การดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะความผิดปกติในระยะความต้องการและระยะตื่นตัวทางเพศ (Female Sexual Interest/ Arousal Disorder, FSIAD)

สูตินรีแพทย์ควรเริ่มต้นการรักษาเบื้องต้นด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับวงจรเพศสัมพันธ์ และความผิดปกติในระยะต่าง ๆ การให้ความรู้อาจจะช่วยสร้างความเข้าใจแก่ผู้ป่วยและคู่นอนได้ นอกจากนี้การรักษาที่พบว่ามีประโยชน์คือการรักษาด้วย cognitive behavioral therapy คือการรักษาด้วยจิตบำบัด โดยให้พูดคุยกับนักจิตบำบัดหรือจิตแพทย์เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจเกี่ยวกับความคิดและความเชื่อ หรือการรับรู้ของตนเองที่อาจมีความผิดเพี้ยนไปจากความจริงเพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการรักษาแบบนี้ได้ถูกแนะนำโดย International consultantation on sexual medicineในปี ค.ศ.2015 ว่ามีความเหมาะสมในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้โดยให้คำแนะนำ Grade B

ส่วนการรักษาด้วยยาในภาวะมีความต้องการทางเพศน้อยเกินไปนั้นที่นิยมใช้มีดังนี้

  1. Estrogen therapy การใช้ยาประเภทนี้นิยมใช้ในรูปแบบฮอร์โมนต่ำเฉพาะที่ หรือ Low dose vaginal therapy ใช้ในการรักษาผู้ที่มีภาวะบกพร่องทางเพศในผู้ที่เข้าสู่วัยทองและมีภาวะ genitourinary syndrome of menopause (GSM) สำหรับการใช้ยารูปแบบรับประทานหรือ low dose systemic hormone therapy ทั้งกลุ่มของฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างเดี่ยว หรือ ฮอร์โมนรวม (เอสโตรเจนและโปรเจสติน) ก็สามารถใช้เป็นทางเลือกได้ในกลุ่มวัยหมดประจำเดือน ส่วนยาอีกประเภทคือ Selective estrogen receptor modulator (SERM) เช่นยา Ospemifene เป็นการรักษาทางเลือกอีกทางในการักษาสตรีวัยทองที่มีภาวะช่องคลอดแห้งหรือมีภาวะ GSM แต่ไม่นิยมให้ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะบกพร่องทางเพศ อย่างไรก็ตามการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนในสตรีวัยเจริญพันธุ์นั้นไม่พบว่าช่วยให้อาการดีขึ้น
  2. Androgen therapy หลักฐานทางการศึกษาเกี่ยวกับการใช้ androgen ในกลุ่ม FSIAD ยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดในปัจจุบัน ดังนั้นองค์การอาหารและยาของอเมริกายังไม่แนะนำให้ใช้ยากลุ่มนี้เพื่อรักษาภาวะ FSIAD อย่างไรก็ตาม ACOG และ Endocrine society แนะนำว่า androgen ชนิดทาหรือแผ่นแปะผิวหนัง (transdermal testosterone) มีประโยชน์และสามารถใช้ได้ในระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อเพิ่มความต้องการทางเพศในสตรีวัยทอง (8) ส่วนรูปแบบรับประทานไม่แนะนำให้ใช้ในการรักษาผู้ป่วยเนื่องจากมีความเป็นพิษต่อตับ สำหรับผลข้างเคียงของการใช้ยากลุ่มนี้ค่อนข้างมาก คือ อาจเกิดภาวะขนดก สิวขึ้น มีความเป็นชายเพิ่มขึ้นเช่นเสียงใหญ่ขึ้น มีคลิตอริสขนาดใหญ่ ดังนั้นหากจะใช้ยากลุ่มนี้แนะนำให้ใช้ระยะสั้นคือ 3-6 เดือน และก่อนการเริ่มยาควรมีการตรวจระดับ Testosterone ในเลือดไว้เป็นพื้นฐาน และประเมินซ้ำหลังจากใช้ยาใน 3-6 อาทิตย์ และ 6 เดือนหลังการรักษา หากพบว่าใช้ยาแล้วไม่ได้ผล ควรหยุดยาใน 6 เดือน สำหรับรายที่ไม่ได้รับการรักษาด้วยยา ไม่แนะนำให้เจาะเลือดเพื่อตรวจวัดระดับ testosterone เนื่องจากไม่มีความจำเป็น (12)
  3. Flibanserin หรือยากลุ่ม serotonin receptor agonist/antagonist เป็นการรักษาทางเลือกในกลุ่มสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะ hypoactive sexual desire disorder ยากลุ่มนี้จะเพิ่มการหลัง dopamine และ norepinephrine และลดการหลั่ง serotonin โดยต้องใช้ในรายที่ไม่มีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วยเท่านั้น และการใช้ยากลุ่มนี้ต้องมีการแนะนำว่าห้ามใช้ร่วมกับการดื่มแอลกอฮอล์ ผลข้างเคียงของยาทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ ง่วงนอน คลื่นไส้ อ่อนแรง ความดันโลหิตต่ำได้
    สำหรับการใช้ยานี้ในกลุ่มสตรีวัยหมดระดูที่มีภาวะ FSIAD พบว่าผลลัพธ์ไม่ดีนักและยังไม่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของอเมริกา (8)
  4. Sildenafil หรือยากลุ่ม phosphodiesterase type 5 inhibitor เป็นยาที่มีการนำมาศึกษาในกลุ่มผู้ป่วย FSIAD อยู่บ้างเนื่องจากเชื่อว่า ยากลุ่มนี้อาจเพิ่มปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณคลิตอริส และ ช่องคลอดได้ คล้ายกับหลักการในการรักษาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศชาย แต่ผลการศึกษายังไม่ชัดเจนจึงยังไม่มีการรับรองใช้ใช้ยานี้เพื่อรักษาภาวะ FSIAD จากองค์การอาหารและยาของอเมริกา ผลข้างเคียงของยาได้แก่ ปวดศีรษะ ผิวแดง คัดจมูก และอาจมีภาวะบกพร่องทางการมองเห็นชั่วคราว (8)

การดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะความผิดปกติในระยะสุดยอดทางเพศ (orgasmic dysfunction)

ภาวะ orgasmic dysfunction ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นภายหลังร่วมกับโรคทางกายอื่น ๆ เช่น ความเจ็บป่วยทางกาย หรือภาวะทางจิตใจต่าง ๆ โดยมักพบร่วมกับภาวะ FSIAD หรือ GPPPD ในบางรายภาวะ orgasmic dysfunction นี้อาจจะเกิดเดี่ยว ๆ ได้ โดยมักเป็นความผิดปกติทางระบบประสาท เช่นการบาดเจ็บของเส้นประสาทที่เกิดจากการผ่าตัด หรือการฉายแสง หรือการใช้ยาบางชนิด

บางครั้งภาวะนี้เกิดจากมีความกังวลและหมกมุ่นในการสังเกตุตัวเองมากเกินไป รวมถึงมีการสังเกตตัวเองตลอดเวลาในช่วงระยะการเร้าอารมณ์ บางรายอาจมีความกังวล คิดลบเกี่ยวกับเรื่องเพศ หรือดูถูกตนเอง ซึ่งวิธีการรักษาที่พบว่ามีประโยชน์ในผู้ป่วยกลุ่มนี้คือการทำ sexual skill training คือ การให้คำแนะนำ ปรับทัศนคติเกี่ยวกันเรื่องเพศ เพื่อให้คนไข้จัดการกับความคิดด้านลบ เช่นความรู้สึกว่าการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องผิดบาป และการกระตุ้นตนเองในจุดที่เหมาะสม อาจจะเริ่มจากการจินตนาการที่กระตุ้นอารมณทางเพศได้ หรือการ Masturbation เป็นต้น นอกจากนี้การฝึกการสื่อสารระหว่างคู่นอน หรือการทำ sensate focus exercise ก็สามารถช่วยให้อาการดีขึ้นได้ นอกจากนี้ในปี 2000 FDA ได้รับรองอุปกรณ์ที่ใช้กระตุ้นบริเวณ Clitoris ซึ่งมีกลไกคือการดูดบริเวณ clitoris เพื่อเพิ่มเลือดมาเลี้ยงบริเวณดังกล่าว เพื่อใช้สำหรับ FOD ได้ด้วย (แต่ในประเทศไทยยังไม่สามารถนำเข้าและใช้อย่างถูกกฎหมายได้)

การดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บปวดบริเวณอวัยวะเพศหรือช่องท้องส่วนล่างเมื่อพยายามสอดใส่ (Genito-pelvic pain/penetration disorder, GPPPD)

Dyspareunia คือ ภาวะที่มีอาการเจ็บปวดที่อวัยวะเพศเกิดขึ้นระหว่างหรือหลังประกอบกิจทางเพศสำเร็จอาการอาจเป็นตลอดเวลาหรือหายแล้วกลับมาเป็นซ้ำอีก

Vaginismus หรือ Vaginistic คือ ภาวะที่มีความยากลำบากในการสอดใส่องคชาติหรือสิ่งต่างๆเช่นผ้าอนามัยเข้าไปในช่องคลอด ร่วมกับมีการหดเกร็งตัวแน่นอย่างไม่ตั้งใจของกล้ามเนื้อรอบปากช่องคลอดส่วนล่าง หรือ Levator Ani Muscle อาการนี้อาจเป็นตลอดเวลา หรือหายแล้วกลับมาเป็นซ้ำได้ ทำให้สตรีที่มีอาการไม่สามารถสอดใส่สิ่งใดเข้าไปในช่องคลอดได้เลยเช่น ผ้าอนามัยแบบสอด หรือ นิ้วมือ โดยภาวะนี้นี้อาจใช้ในความหมายของการรัดแน่นหลังจากมีความเจ็บปวดหลังมีเพศสัมพันธ์ก็ได้ และการจะวินิจฉัยว่ามีภาวะนี้จะต้องไม่มีความผิดปกติทางกายวิภาคอื่น ๆ (13)

สำหรับ Genito-pelvic pain/penetration disorder หรือ GPPPD เป็นการวินิจฉัยด้วยระบบใหม่ ที่เป็นกลุ่มโรคใหญ่และมีโรคอื่น ๆ แยกย่อยได้แก่ออกไป รวมไปถึงอาการ Dyspareunia และ Vaginismus ด้วย โดยแบ่งเป็น provoked vestibulodynia, genitourinary syndrome of menopause, pelvic muscle reflexive hypertonicity

เมื่อผู้ป่วยมาด้วยอาการ GPPPD มีหลักการดูแลดังนี้

  1. ประเมินผู้ป่วยด้วยหลักการ PLISSIT เพื่อหาสาเหตุและปัญหาที่ผู้ป่วยและคู่นอนมีอย่างรอบด้าน
  2. วางแผนการรักษาและกำหนดเป้าหมายกับผู้ป่วยและคู่นอน
  3. ตรวจร่างกายเพื่อแยกภาวะ provoked vestibulodynia ออก โดยใช้ไม่พันสำลีแตะเบา ๆ เริ่มจากบริเวณภายนอกไกลๆก่อน แล้วค่อยแตะบริเวณใกล้ introitus ในภายหลัง หากพบว่าเป็น provoked vestibulodynia ควรได้รับการรักษาเพิ่มเติม
  4. ส่งเสริมให้คู่รักมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเพศโดยไม่มีเพศสัมพันธ์ เพื่อเพิ่มความสัมพันธ์อันดีระหว่างคู่ เช่นการออกเดต การกอดจูบ การสัมผัสบริเวณอื่น ๆ เป็นต้น
  5. สอนผู้ป่วยให้เข้าใจอวัยวะเพศตนเอง เพื่อให้ผู้ป่วยรู้จักตนเองมากขึ้น ลดความกลัวเวลามีเพศสัมพันธ์
  6. อธิบายและให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับการหดรัดของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานจะเกิดเมื่อสัมผัสบริเวณอวัยวะเพศซึ่งอาการนี้จะทำให้ผู้ป่วยเจ็บเมื่อมีการสอดใส่ไม่ว่าจะเป็นผ้าอนามัย หรืออวัยวะเพศก็ตาม
  7. แนะนำให้ผู้ป่วยดูอวัยวะเพศของตนเองในกระจก และทำการสำรวจตนเอง
  8. หากผู้ป่วยเริ่มคุ้นเคยแล้ว ให้เริ่มสัมผัสบริเวณอวัยวะเพศตนเอง โดยแนะนำให้ใช้เจลหล่อลื่นร่วมด้วยได้ เพื่อลดการระคายเคืองหรือความเจ็บปวด ให้สัมผัสบริเวณใกล้ทางเปิดของช่องคลอด ในครั้งแรกอาจมีความกังวลแต่ครั้งต่อ ๆ ไปความกังวลจะเริ่มลดลง
  9. เมื่อผู้ป่วยคุ้นเคยกับการสัมผัสบริเวณอวัยวะเพศภายนอกแล้ว แนะนำให้เริ่มสอดใส่นิ้วมือเข้าไปด้านในได้หากผู้ป่วยพร้อม โดยแนะนำให้ใช้เจลหล่อลื่นร่วมด้วยเสมอ
  10. ทำการนัดหมายผู้ป่วยมาเป็นระยะเพื่อติดตามความคืบหน้า
  11. เมื่อผู้ป่วยพร้อม แพทย์ค่อยทำการตรวจภายในเพื่อประเมินความผิดปกติทางกายภาพ
  12. เมื่อสามารถตรวจทางช่องคลอดได้ แพทย์ผู้ทำการรักษาควรสั่ง vaginal dilator เมื่อผู้ป่วยสอดใส่สำเร็จ
  13. ให้การรักษาต่อ ค่อยๆเพิ่มขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางให้ใหญ่ขึ้น
  14. แนะนำให้คู่นอนมาร่วมรับรู้ขั้นตอนของการรักษาด้วยเป็นระยะ และอาจจะช่วยสอดใส่อุปกรณ์ในช่องคลอดได้ในระยะนี้ (หากผู้ป่วยยินยอม)
  15. ค่อยๆเพิ่มขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของ dilator จนกระทั่งผู้ป่วยสามารถใช้ vaginal dilator ขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับอวัยวะเพศของคู่นอนได้ โดยแนะนำให้ใช้เจลหล่อลื่นร่วมด้วยเสมอ
  16. ทดลองสอดใส่องคชาติ โดยแนะนำให้ผู้ป่วยจับองคชาติของเพศชายและสอดใส่ในทิศทางเดียวกับที่เคยสอดใส่อุปกรณ์ด้วยตนเอง และใส่สารหล่อลื่นเสมอ
    1. ก่อนสอดใส่องคชาติ ให้ใช้ dilator ก่อนเสมอ เพื่อให้กล้ามเนื้อช่องคลอดผ่านคลาย และเพื่อยืนยันแก้ผู้ป่วยถึงความสามารถในการสอดใส่ได้ของผู้ป่วย
    2. สอดใส่องคชาติโดยให้ตัวผู้ป่วยเป็นคน control เอง
    3. สอดใส่องคชาติแล้วค้างไว้สักพักเพื่อให้คุ้นเคยและถอดออก
    4. หากไม่พร้อมมีเพศสัมพันธ์ต่อ ให้จบ session เพียงเท่านี้ ไม่ควรฝืนมีเพศสัมพันธ์โดยการสอดใส่ต่อ เนื่องจากอาจเกิดอาการเจ็บได้
    5. ควรมีเพศสัมพันธ์จริงเมื่อรู้สึกว่าพร้อมแล้วเท่านั้น และควรหยุดเมื่อรู้สึกว่าไม่อยากทำต่อเสมอ ดังนั้นฝ่ายชายต้องเข้าใจและพร้อมเข้ากระบวนการรักษาอย่างแท้จริง
  17. เมื่อสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ ให้ใช้ dilator ก่อนการสอดใส่จริงเสมอ

การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะ provoked vestibulodynia

ภาวะ provoked vestibulodynia คือภาวะที่มีอาการเจ็บเมื่อสัมผัสบริเวณ vestibule หรือ บริเวณที่อยู่ระหว่างแคมเล็กทั้งสองข้างตั้งแต่คลิตอริสจนถึง posterior fourchette ส่วนความผิดปกติที่อาจพบทางกายภาพนั้นมีได้หลากหลาย ตั้งแต่ไม่พบความผิดปกติ จนถึงมีลักษณะบวมแดงบวมแดง และมีอาการเจ็บปวด อาการปวดนี้มักเป็นอาการปวดเรื้อรังและปวดจากสิ่งสัมผัสที่ปกติที่ไม่สามารถทำให้ผู้ป่วยเจ็บปวด สำหรับสาเหตุของอาการนี้อาจเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ มีการศึกษาพบว่าความผิดปกตินี้เกิดจากความไวเกินของระบบประสาทส่วนกลางและส่วนปลาย ส่วนสาเหตุจากระบบประสาทที่ทำให้เกิดประสาทรับสัมผัสไวเกินนั้นไม่ทราบชัดเจน แต่สาเหตุอื่นๆที่อาจเป็นไปได้ ได้แก่ความเครียดเป็นต้น โดยส่วนมากแล้วหญิงที่มีอาการนี้มักมีโรคที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดเรื้อรังอื่นๆร่วมด้วยเช่น irritable bowel syndrome, temporomandibular joint pain, interstitial cystitis, dysmenorrhea, fibromyalgia

สำหรับการดูแลรักษานั้นต้องมีการรักษาทางจิตใจร่วมด้วยเพื่อเปลี่ยนกลไกทางสมองเกี่ยวกับศักยภาพในการตอบรับความเจ็บปวดโดยใช้  Cognitive behavioral therapy (CBT) และ Mindfulness-Based Cognitive Therapy (MBCT) เพื่อปรับเปลี่ยนกลไกความคิด ส่วนยาที่ถูกใช้ในการรักษาเช่น tricyclic antidepressants, ยาชาทาเฉพาะที่ หรือยากันชักยาเหล่านี้พบว่าไม่มีประโยชน์ในการรักษากลุ่มอาการนี้ สำหรับยาทาเฉพาะที่กลุ่มสเตียรอยด์ไม่นิยมให้ใช้เพราะอาจเกิดผลเสียในกลุ่มที่มีการอักเสบของปลายประสาทได้ จะเห็นได้ว่าการรักษาทางด้านจิตใจเป็นการรักษาหลักในผู้ป่วยกลุ่มนี้ ซึ่งจะทำให้ความเจ็บปวดและความเครียดลดลง ทำให้ผู้ป่วยสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อได้รับการกระตุ้นอารมณ์

จะเห็นว่าการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะบกพร่องทางเพศนั้นแพทย์ที่ทำการดูแลต้องมีความเข้าใจ และเห็นอกเห็นใจผู้ป่วย มีความสามารถในการสื่อสารต่อผู้ป่วยและคู่นอนอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพื่อค้นหาสาเหตุทั้งสาเหตุทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และต้องให้การรักษาแบบองค์รวมด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความเข้าใจเรื่องเพศเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย

เอกสารอ้างอิง

1.Shifren JL, Monz BU, Russo PA, Segreti A, Johannes CB. Sexual problems and distress in United States women: prevalence and correlates. Obstetrics and gynecology. 2008;112(5):970-8.

2.Zhang C, Tong J, Zhu L, Zhang L, Xu T, Lang J, et al. A Population-Based Epidemiologic Study of Female Sexual Dysfunction Risk in Mainland China: Prevalence and Predictors. J Sex Med. 2017;14(11):1348-56.

3.Berek JS. Berek & Novak’s Gynecology. 6 ed2019. 409-27 p.

4.Masters WHJVERBRF. Human sexual response. Boston: Little, Brown; 1966.

5.Basson R. Review: Female sexual dysfunctions — the new models. The British Journal of Diabetes & Vascular Disease. 2002;2(4):267-70.

6.Portman DJ, Gass ML. Genitourinary syndrome of menopause: new terminology for vulvovaginal atrophy from the International Society for the Study of Women’s Sexual Health and the North American Menopause Society. Menopause. 2014;21(10):1063-8.

7.Shifren JL, Davis SR. Androgens in postmenopausal women: a review. Menopause. 2017;24(8):970-9.

8.American College of O, Gynecologists’ Committee on Practice B-G. Female Sexual Dysfunction: ACOG Practice Bulletin Clinical Management Guidelines for Obstetrician-Gynecologists, Number 213. Obstet Gynecol. 2019;134(1):e1-e18.

9.Faubion SS, Rullo JE. Sexual Dysfunction in Women: A Practical Approach. Am Fam Physician. 2015;92(4):281-8.

10.Female Sexual Dysfunction: ACOG Practice Bulletin Clinical Management Guidelines for Obstetrician–Gynecologists, Number 213. Obstetrics & Gynecology. 2019;134(1).

11.Vahia VN. Diagnostic and statistical manual of mental disorders 5: A quick glance. Indian J Psychiatry. 2013;55(3):220-3.

12.Wierman ME, Arlt W, Basson R, Davis SR, Miller KK, Murad MH, et al. Androgen therapy in women: a reappraisal: an Endocrine Society clinical practice guideline. J Clin Endocrinol Metab. 2014;99(10):3489-510.

13.Clayton AH, Valladares Juarez EM. Female Sexual Dysfunction. Psychiatr Clin North Am. 2017;40(2):267-84.

 

Read More

วิวแนวยาวของหลอดเลือดใหญ่ : Long Axis View of Great Vessels

AIUM แนะนำให้ตรวจการวางตัวของเส้นเลือดใหญ่ในแนวยาวทั้งหมด 3 วิวคือ ductal arch, aortic arch ในวิวด้านข้าง จะเห็นความโค้งของ arch ตลอดแนว และ bicaval view ที่แสดง superior vena cava (SVC) และ inferior vena cava (IVC) เทเข้าสู่ right atrium(1) (รูปที่ 1)

รูปที่ 1 ภาพแสดงวิวแนวยาวของหลอดเลือดใหญ่ ได้แก่ (1) bicaval view ที่ประกอบด้วย superior vena cava และ inferior vena cava, (2) aortic arch และ (3) ductal arch (Ao = descending aorta, Ao Root = aortic root, DA = ductus arteriosus, IVC = inferior vena cava, LA = left atrium, LV = left ventricle, PV = pulmonary valve, RA = right atrium, RPA = right pulmonary artery, RV = right ventricle และ SVC = superior vena cava) (ที่มา : AIUM practice guideline for the performance of fetal echocardiography. J Ultrasound Med 2011 Jan;30(1):127-36.)

Longitudinal Arch View

Ductal arch (DA)

Ductal arch จะเปิดเข้า descending aorta ตรงจุดที่ transverse aortic arch เปลี่ยนเป็น descending aorta

เทคนิคการตรวจ

การตรวจทางด้านหน้าทารกจะเห็นไดัชัดกว่าจากทางด้านหลัง ตรวจได้ด้วยการวางหัวตรวจที่ทรวงอกตามแนวยาวของตัวทารก ตามแนวขอบด้านซ้ายของ sternum แล้วตัดผ่านไปทางทรวงอกซีกซ้าย จนปรับเห็นแนว descending aorta ตลอดแนวยาว ซึ่งถ้าเคลื่อนขยับไปมาเล็กน้อยจะทำให้ตรวจวิวนี้ได้อย่างง่าย ๆ แต่ปกติแล้วจะไม่เห็น ductal arch กับ aortic arch ในภาพเดียวกันแต่อยู่ใกล้กันมาก ขยับไปมาเล็กน้อยก็สามารถเห็นได้ครบทั้งสอง arch ลักษณะของ ductal arch ดูป้าน ไม่มีแขนงเสนเลือดที่แตกออกไป (รูปที่ 2ก) บางรายอาจหาไม่ง่ายนัก ควรใช้หลักการดังต่อไปนี้(2)

รูปที่ 2 ตัวอย่างภาพอัลตราซาวด์ grey scale และ color flow mapping ที่เป็นแบบฉบับของ ductal arch (ก) และ aortic arch (ข) สังเกต aortic arch มีลักษณะมนกว่าและมีแขนงเส้นเลือดไปเลี้ยงศีรษะ

  1. ตรวจหา four-chamber view
  2. ปรับเอียงหัวตรวจเพื่อดึงให้แนว interventricular septum ให้เอียงทำมุม 45 องศากับแนวราบ
  3. เอียงหรือเลื่อนหัวตรวจไปทางด้านศีรษะจนเห็น ductal arch ปรับหัวตรวจให้ ductal arch อยู่ในแนวดิ่ง
  4. เลื่อนหัวตรวจและรักษาแนว ductal arch ที่อยู่ในแนวดิ่งให้อยู่กลางจอภาพ
  5. จากนั้นหมุนหัวตรวจ 90 องศาเพื่อเห็นตลอดแนวของ ductal arch และ descending aorta

Aortic Arch (AoA)

Aortic arch มีลักษณะโค้งมนและมีการแตกแขนง (รูปที่ 2ข) ในส่วนที่โค้งเป็น aortic arch จะเห็นแขนงเส้นเลือดแตกออก 3 เส้นคือ left subclavian artery, left common carotid artery และ brachiocephalic trunk

เทคนิคการตรวจ(2)

  1. ตรวจหา four-chamber view
  2. ปรับเอียงหัวตรวจเพื่อดึงให้แนว interventricular septum ขนานกับแนวราบ (ตั้งฉากกับลำเสียง)
  3. เอียงหรือเลื่อนหัวตรวจไปทางด้านศีรษะ (sweep-ing) จนเห็น aortic arch อยู่ในแนวดิ่งหรือใกล้แนวดิ่ง และปรับให้ arch อยู่ในแนวดิ่ง (แนวขนานกับลำเสียง)
  4. เลื่อนหัวตรวจและรักษาแนว aortic arch ที่อยู่ในแนวดิ่งให้อยู่กลางจอภาพ
  5. จากนั้นหมุนหัวตรวจ 90 องศาเพื่อให้เห็นตลอดแนวของ aorta

สังเกตว่าการแสดงภาพ aortic arch ใน long-axis view นี้ ลำเสียงจะผ่านทรวงอกทารกด้านหน้าทางขอบขวาของกระดูก sternum ในขณะที่การแสดงภาพ ductal archใน long-axis view ลำเสียงจะผ่านทรวงอกทารกทางด้านซ้ายของขอบกระดูก sternum (รูปที่ 1) การตรวจด้วยคลื่นเสียงสามมิติอาจช่วยให้การตรวจ aortic arch และ ductal arch ดีขึ้น(3)

วิวนี้ช่วยเพิ่มความมั่นใจในการวินิจฉัยโรคหัวใจพิการได้หลายอย่าง เช่น transposition of great vessels และ coarctation of aorta

ที่กล่าวมาเป็นเทคนิคที่ฝึกฝนได้ง่าย แต่สามารถพลิกแพลงไปได้หลากหลาย บางท่านไม่ต้องคำนึงถึงหรือเข้มงวดกับเพลนเริ่มต้นที่ระดับ 4CV เพียงกวาดสแกนขึ้นไป (sweeping) ให้ได้ 3VV หรือ 3VT ที่ชัดเจนก็สามารถหมุนหัวตรวจหา arch view ได้ไม่ยาก ตัวอย่างเช่น

  • เมื่อต้องการตรวจ long-axis ของ ductal arch หรือ ascending aorta หลังจากแสดงให้เห็นวิว transverse aortic arch และ duct arch หรือ 3VT แล้ว ให้เลื่อน/กด (slide/rock) หัวตรวจที่หน้าท้องมารดา เพื่อให้ส่วนของ ductal arch หรือ aortic arch หมุนมาอยู่ในแนวดิ่ง คือขนานกับลำเสียง และพยายามปรับเลื่อนหัวตรวจให้แนวดิ่งของ arch ดังกล่าวอยู่ตรงกลางของจอสกรีนพอดี แล้วจึงหมุนหัวตรวจ 90 องศาก็จะปรากฏ arch view ทางด้านข้าง ทั้ง aortic arch และ duct arch ก็สามารถทำได้ในลักษณะเดียวกัน (รูปที่ 3)

รูปที่ 3 ตัวอย่างเทคนิคการตรวจหาวิวแนวยาวของ ductal arch โดยการปรับหมุนหัวตรวจจาก 3VT หรือ 3VV ประมาณ 70-90 องศา โดยมีหลักสำคัญคือปรับหัวตรวจให้แนว ductal arch ในภาพตัดขวางของทรวงอกให้อยู่แนวแนวดิ่งที่ตรงกลางของสกรีนก่อนที่จะหมุนหัวตรวจ

  • ถ้าต้องการแสดง long-axis ของ ductal arch หรือ aortic arch จาก 3VV ก็สามารถทำได้เช่นกัน กล่าวคือ จากวิว 3VV ถ้าเห็นแนว ductal arch อยู่แล้ว (ซึ่งต่อเนื่องมาจาก main pulmonary artery) ก็สามารถเลื่อนหรือกด (slide/rock) ให้อยู่ในแนวดิ่ง (แนว ductal arch ขนานกับลำเสียง) แล้วหมุน 90 องศาในลักษณะดังที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าจะตรวจหา aortic arch ในแนวยาวจาก 3VV ให้พยายามเลื่อนหรือกด (slide/rock) หัวตรวจที่แสดง 3VV อยู่นั้น โดยคงสภาพ 3VV ไว้ดังเดิม แต่เปลี่ยนแนวให้ ascending aorta (ซึ่งเห็นเป็นหน้าตัดวงกลม) และ descending aorta มาตรงกันอยู่ในแนวดิ่ง คือทั้งสองวงกลมมาเรียงตัวขนานกับลำเสียงอยู่ในแนวดิ่ง และปรับให้อยู่ตรงกลาง (keep center) ของจอสกรีน แล้วหมุนบิดหัวตรวจ 90 องศาก็จะได้ aortic arch ตามแนวยาวด้านข้าง สังเกตว่าจาก 3VV ในภาพตัดขวางของทรวงอกส่วนบน สามารถ sliding หัวตรวจเพื่อให้ ascending aorta, main pulmonary artery หรือ superior vena cava ขึ้นมาเรียงตัวในแนวดิ่งกับ descending aorta ที่กลางจอสกรีน แล้วหมุน 90 องศา จะแสดงเส้นเลือดใหญ่ทั้งสามเส้นในแนวยาวได้อย่างไม่ยาก (รูปที่ 4)

รูปที่ 4 ตัวอย่างเทคนิคการตรวจหาวิวแนวยาวของ aortic arch โดยการปรับหมุนหัวตรวจจากวิวตัดขวางทรวงอกระดับ aortic arch, 3VT หรือ 3VV ประมาณ 70-90 องศา โดยมีหลักสำคัญคือปรับหัวตรวจให้แนว aortic arch ในภาพตัดขวางของทรวงอกให้อยู่แนวแนวดิ่งที่ตรงกลางของสกรีนก่อนที่จะหมุนหัวตรวจ

ในกรณีที่ทารกนอนคว่ำ ไม่สามารถผ่านลำเสียงทางด้านหน้าของทารกได้ การตรวจจะยากขึ้น การจะแสดง arch view ทั้งสองนี้จะต้องผ่านลำเสียงทางด้านซ้ายของกระดูกสันหลังเท่านั้น การส่งลำเสียงทางซีกขวาของกระดูกสันหลังจะไม่สามารถแสดงได้ เนื่องจาก descending aorta อยู่ทางซีกซ้ายของกระดูกสันหลัง ถ้าหมุนจาก 3VV ด้วยเทคนิคดังกล่าวข้างต้น ต้องจับภาพหน้าตัดของ descending aorta ทางซ้ายของกระดูกสันหลังกับภาพหน้าตัดของ ascending aorta ให้อยู่ในแนวเดียวกัน และดึงให้อยู่ในแนวดิ่งบนจอสกรีน

ข้อควรพิจารณา

  • Aortic arch และ ductal arch ในวิวด้านข้างนี้สามารถแสดงกลับไปมาได้ด้วยการเอียง (tilt) หัวตรวจไปมาที่หน้าท้องมารดา ลักษณะของ arch ทั้งสองมีความแตกต่างกัน และแยกจากกันได้ไม่ยากนัก aortic arch มีลักษณะโค้งมนมากกว่า (candy cane) ทอดขึ้นไปสูงเหนือกว่า ductal arch และมีเส้นเลือดแตกทอดตรงขึ้นไปยังส่วนศีรษะ (brachiocephalic trunk, left carotid artery และ left subclavian artery) ส่วน ductal arch จะไม่เห็นมีเส้นเลือดแตกทอดขึ้นยังส่วนศีรษะ ductal arch ทอดออกมาจากหัวใจในส่วนที่อยู่หน้า คือ right ventricle และพุ่งตรงกว่า aortic arch เข้าสู่ descending aorta มีลักษณะเหมือนไม้ hockey
  • Long-axis view of aortic arch (LAoA) : เป็น
  • เพลน parasagittal ของร่างกายที่ตัดเฉียงจากข้างขวาของกระดูก sternum ทางด้านหน้าแล้วตัดฝานไปยังด้านหลังทางข้างซ้าย ผ่าตลอดแนว descending aorta แล้วในวิวนี้ก็เห็น aortic arch ตลอดแนวด้วย โดยเห็นเชื่อมต่อระหว่าง ascending aorta ในส่วนหน้า (ค่อนขวา) กับ descending aorta ในส่วนหลัง (ด้านซ้าย) เริ่มต้นจาก ascending aorta ออกจากส่วนกลางของทรวงอก aortic arch ทอดโค้งมนไปทางข้างหลัง-ซ้าย จะเห็นเส้นเลือดหน้าตัดของ right pulmonary artery และหลอดลมข้างขวาที่บริเวณส่วนหลังของ aortic arch วิวนี้ (aortic arch long-axis view) เป็น short-axis view ของหัวใจที่ระดับตัดผ่าน atrium ทั้งสองข้าง จึงมักจะมองเห็นส่วนใหญ่ของ right atrium ทางด้านหน้า และเห็น left atrium ซึ่งเห็นเป็นส่วนน้อยกว่า อยู่ทางข้างหลัง ในวิวนี้ยังมักจะเห็นส่วนบนของ interatrial septum (crista dividens) ที่นับเป็นหลังคาของ foramen ovale สำหรับทางส่วนล่างก็มักจะเห็นตำแหน่งเชื่อมต่อของ inferior vena cava กับ right atrium
  • Aortic arch มีเส้นเลือด 3 เส้นแตกตั้งฉากขึ้นสู่ศีรษะ คือเริ่มที่ brachiocephalic trunk (BCT) (ซึ่งจะแบ่งต่อเป็น right subclavian artery และ right carotid artery) left carotid artery (LCA) และ left subclavian artery (LSA) แบ่ง aortic arch ออกได้เป็นสามส่วนคือ proximal arch หมายถึงส่วนที่อยู่ระหว่าง brachiocephalic trunk กับ left carotid artery ส่วนที่สองคือ distal arch หมายถึงส่วนที่อยู่ระหว่าง left carotid artery กับ left subclavian artery และ isthmus หมายถึงส่วนที่อยู่ระหว่าง left subclavian artery กับจุดเชื่อมของ ductal arch กับ descending aorta (รูปที่ 9-5) ส่วนของ aorta ที่อยู่ก่อนการให้แขนง brachiocephalcic trunk ก็คือ ascending aorta ขนาดของ aortic arch มีลักษณะจำเพาะคือ ขนาดจะเล็กลงเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับขณะที่เริ่มออกจาก LVOT ทั้งนี้เนื่องจากเลือดที่ไหลผ่านทาง ascending aorta ส่วนใหญ่จะขึ้นเลี้ยงศีรษะผ่านทางแขนงสำคัญทั้งสามดังกล่าวข้างต้น มีเพียงส่วนน้อยของ cardiac output ที่ผ่าน isthmus ไปยัง descending aorta ซึ่งต่างกับการไหลเวียนเลือดในช่วงหลังคลอด ขณะที่อยู่ในครรภ์เลือดที่ผ่านทาง descending aorta ส่วนใหญ่มาจาก ductal arch การวัดเส้นผ่าศูนย์กลางของ aortic arch จะช่วยวินิจฉัยหรือทำนาย coarctation of aorta ได้ ซึ่งส่วนใหญ่ของ coarctation เกิดขึ้นกับส่วนของ isthmus
  • color flow mapping และ pulse Doppler ของ aortic arch : มีส่วนสำคัญในการช่วยค้นหาเส้นเลือดที่แตกไปเลี้ยงศีรษะ โดยเฉพาะในกรณีที่ภาพ 2D แสดงให้เห็นได้ยาก ปกติแล้วจะมี forward flow ตลอดแนวของ aorta แต่การแสดงสีไปในทิศทางต่าง ๆ แล้วแต่ตำแหน่ง เนื่องจากทิศทางเลือดตอนออกจากหัวใจจะตรงกันข้ามกับทิศทางใน descending aorta อย่างไรก็ตามในทารกปกติก็อาจพบ reverse flow ใน isthmus ได้บ้าง โดยเฉพาะเมื่อครรภ์ใกล้ครบกำหนด การมี reverse flow ใน aortic arch พบได้บ่อยในกรณี aortic stenosis, hypoplastic left heart หรือ coarctation of aorta ที่รุนแรงเป็นต้น
  • เทคนิคการวัด aortic arch : การวัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของ ascending aorta และ aortic arch (isthmus) จะช่วยในการวินิจฉัยโรคเช่น aortic stenosis หรือ coarctation of aorta เป็นต้น ซึ่งค่าที่ได้จากการวัดสามารถนำมาเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานที่มีผู้รายงานไว้หลายการศึกษา(4-6) รวมทั้งการศึกษาในประชากรไทยด้วย(7) (รูปที่ 5)

รูปที่ 5 ภาพ ก. แสดง aortic arch และเส้นเลือดที่แตกแขนงออก คือ brachiocephalic trunk(BCT), left carotid artery (LCA) และ left subclavian artery (LSA) และ ภาพ ข. แสดงการวัดขนาดของ aortic arch ได้แก่ ascending aorta diameter (AAoD), transverse aortic arch diameter (TAD) และ distal aortic isthmus diameter (DAID)

  • Long-axis view of ductal arch (LDA) : โดยกายวิภาคแล้วแนวนี้มิได้อยู่ในแนว sagittal ที่แท้จริง เนื่องจาก ductal arch นั้นเป็นแนวค่อนข้างตรงที่ทอดเฉียงจากขวาล่างไปยังซ้ายบน เพื่อไปเทเข้า descending aorta เนื่องจาก ductal arch ทอดตามแนวของ pulmonary artery ที่ออกจาก right ventricle ซึ่งเป็นหัวใจส่วนที่อยู่หน้าสุดและค่อนไปทางขวาเมื่อเทียบกับส่วนอื่น ๆ ของหัวใจ ส่วน descending aorta ทอดยาวตรงอยู่ทางข้างซ้ายของแนวลำตัว อาจจะกล่าวได้ว่า ductal arch ทอดแนว parasagittal ส่วน descending aorta ทอดตามแนว sagittal ของร่างกาย ในเพลนนี้สามารถเห็นความสัมพันธ์ของโครงสร้างทางซีกขวา โดยเป็นแนวตัดที่เห็น tricuspid valve หรือ inlet ของ right ventricle ภาพตัดขวางของ LVOT หรือ aortic root ส่วนสำคัญของเพลนนี้คือ pulmonary artery ทอดตรง (โค้งเล็กน้อย) สูงขึ้นไปทางด้านหลังข้างซ้าย สามารถประเมินการทำงานของ pulmonic valve ได้ด้วย ductal arch ทำหน้าที่เชื่อมต่อ main pulmonary artery ให้เทเข้า descending aorta ความจริงแล้วตำแหน่งที่ main pulmonary artery มี bifurcation ให้ right pulmonary artery แล้ว ถัดขึ้นไปเล็กน้อยก็จะมีการแตกสองแขนง โดยแขนงหลักที่ทอดสูงพุ่งตรงไปข้างหลังนั้นเป็น dutal arch ส่วนแขนงล่างเป็น left pulmonary artery เนื่องจากเป็นเพลนที่ตัดเฉียงจากด้านหน้า-ขวาไปยังหลัง-ซ้ายจึงทำให้เห็นส่วนของ left atrium อยู่ทางด้านหลังของ right ventricle การวัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของ dutal arch สามารถทำได้ในวิวนี้หรือวิว transverse view ของ ductal arch ก็ได้เช่นเดียวกัน การวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง ductal arch หรือ ductus arteriosus ทำกันบ่อยโดยเฉพาะในกรณีที่ได้รับยา indomethacin
  • color flow mapping และ pulse Doppler ของ ductal arch long-axis view ในวิวนี้จะแสดงการไหลเวียนแบบ forward flow ไปยัง descending aorta โดยทำมุมกับ ductal arch เกือบเป็นมุมฉาก ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับการไหลใน ascending aorta สำหรับ pulse Doppler จะแสดงความเร็วสูงมากในช่วง systole และในช่วง diastole ก็ยังมีการไหลเวียนไปข้างหน้าได้แบบต่ำ ๆ อยู่ ความเร็วของการไหลเวียนเลือดใน ductal arch จะสูงที่สุดในบรรดาการไหลเวียนเลือดความเร็วเลือดในร่างกาย ซึ่งเลือดส่วนใหญ่ที่ผ่านใน right ventricle จะออกมาทางนี้ ทารกในครรภ์มีความต้านในปอดทั้งสองข้างสูงจึงมีเพียงส่วนน้อยของเลือดเท่านั้นที่ทอดผ่านไปยังปอด peak acceleration time ใน ductal arch จะสูงกว่าทั้งใน aorta และใน main pulmonary artery ค่า peak systolic velocity (PSV) แปรปรวนจาก 50 ซม./วินาทีที่ 6 สัปดาห์ไปจนจึง 130-160 ซม. /วินาทีเมื่อครบกำหนด สำหรับ diastolic peak velocity แปรปรวนตั้งแต่ค่าใกล้ศูนย์ในครรภ์ระยะแรกจนเพิ่มเป็น 30-40 ซม./ วินาที เมื่อครรภ์ใกล้ครบกำหนด ส่วน pulsatility index (PI) มีค่าค่อนข้างคงที่ตลอดตลอดการตั้งครรภ์
  • เทคนิคการวัด ductal arch : การวัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของ ductal arch จะช่วยในการวินิจฉัยความผิดปกติบางอย่าง เช่น pulmonary stenosis หรือ ductal constriction จากการได้รับยา indomethacin ในครรภ์ และการวัดนี้ยังใช้ในการตรวจติดตามกรณีได้รับดังกล่าวด้วย ซึ่งค่าที่ได้จากการวัดสามารถนำมาเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานที่มีผู้รายงานไว้หลายการศึกษา(8;9) รวมทั้งการศีกษาในประชากรไทยด้วย(10) (รูปที่ 6)

รูปที่ 6 ภาพแสดงการวัด ductal arch diameter (DAD)

Bicaval View

Bicaval view (BCV) : สามารถทำได้หลายเทคนิค ยกตัวอย่างเช่น จาก 3VV ที่สามารถเห็น SVC ได้ชัดเจนแล้วนั้น ให้ปรับเลื่อน superior vena cava ที่เป็นภาพตัดขวางของทรวงอกส่วนบนนั้น มาอยู่กลางจอสกรีน แล้วหมุนหัวตรวจ 90 องศา ให้กลายเป็นเส้นยาวออก และปรับต่อให้เห็นส่วนที่ทอดต่อเข้าสู่ right atrium และมักจะเห็น inferior vena cava เทเข้าสู่ right atrium ในวิวเดียวกัน วิวนี้เป็นวิว sagittal ของร่างกายทารกขนานกับ descending aorta จึงอาจเลื่อนขยับหัวตรวจกลับไปกลับมาระหว่าง long axis ของ aortic arch กับ bicaval view เพียงการขยับออกทางด้านข้างของกันและกันเพียงเล็กน้อย ซึ่งเพลนที่ดีจะเห็นทั้ง inferior vena cava และ superior vena cava เทเข้าสู่ right atrium และควรเห็น aorta ทอดอยู่ข้างหลังด้วย ซึ่งถ้าไม่เห็นให้ปรับหัวตรวจเพียงเล็กน้อยก็จะปรากฏให้เห็นได้ไม่ยาก (รูปที่ 7,8)

รูปที่ 7 ตัวอย่างภาพอัลตราซาวด์ที่เป็นแบบฉบับของวิว bicaval (RA = right atrium, IVC = inferior venacava, SVC = superior vena cava)

รูปที่ 8 ตัวอย่างเทคนิคการตรวจหาวิวแนวยาวของ superior vena cava (SVC) พร้อมกับ ascending aorta โดยการปรับหมุนหัวตรวจจากวิวตัดขวางทรวงอกระดับ 3VV โดยมีหลักสำคัญคือปรับหัวตรวจให้ภาพตัดขวางของ descending aorta และ SVC อยู่แนวแนวดิ่งที่ตรงกลางของสกรีน แล้วหมุนหัวตรวจไปประมาณ 80-90 องศา

  • เพลนนี้อยู่ค่อนไปทางซีกขวาของ mediastinum เป็นแนวตัดที่ขนานกับกระดูกสันหลังและ descending aorta ส่วนเด่นที่สุดของหัวใจที่เห็นคือ right atrium ที่วางอยู่เหนือแนวกระบังลม ซึ่งส่วนล่างจะเป็นตับ อาจมีการปรับเล็กน้อยให้เห็น ductus venosus หรือ umbilical vein ในวิวนี้ได้ ภายใน rigth atrium สามารถแสดงให้เห็น terminal crest ซึ่งการเปิดเข้าของ inferior vena cava และ superior vena cava ค่อนไปทางข้างหลังของ right atrium สังเกตเห็นว่า inferior vena cava ก่อนจะเข้าหัวใจนั้นมีขนาดขยายพองออกเนื่องมีการรับเลือดเพิ่มเติมโดยตรงมา ductus venosus และ hepatic veins โดยมี Eustachian valve บังคับทิศทางอยู่ก่อนเข้า right atrium และด้านบนมี crista dividens (ส่วนบนของ interatrial septum) คร่อมอยู่ และคอยควบคุมให้เลือดจาก inferior vena cava เข้าไปทาง foramen ovale เป็นหลัก บางส่วนของ left atrium และ foramen ovale ก็อาจมองเห็นได้ โดยอยู่ทางด้านหลังของ right atrium และยังอาจเห็นภาพหน้าตัดขวาง right pulmonary artery ที่อยู่หลังต่อ superior vena cava และเหนือต่อ right atrium (11) และยังเห็น thymus gland อยู่ระหว่างผนังทรวงอกด้านในกับ superior vena cava
  • ในกรณีที่ทารกนอนคว่ำ ไม่สามารถผ่านลำเสียงทางด้านหน้าของทารกได้ การตรวจจะยากขึ้น การจะแสดงแนวยาวของวิว bicaval จะต้องผ่านลำเสียงทางด้านขวาของกระดูกสันหลัง การส่งลำเสียงทางซีกซ้ายของกระดูกสันหลังจะไม่สามารถแสดงได้ เนื่อง superior vena cava และ inferior vena cava อยู่ทางซีกขวาของกระดูกสันหลัง
  • color flow mapping และ pulse Doppler : ในวิวที่เห็นภาพ 2D ได้ชัดเจนอาจแสดง color flow mapping และ pulse Doppler ได้ไม่ดีนักเนื่องจากลำเสียงจะตกกระทบตั้งฉากกับทิศทางไหลเวียนของเลือด จึงต้องปรับทิศทางแนว inferior vena cava/superior vena cava เสียใหม่ให้เอียงขึ้นไปในด้านหนึ่ง และมักจะต้องใช้ angle correction ในการวาง sampling gate ของ pulse Doppler การไหลเวียนเป็นแบบ low flow จึงมักจะกำหนด velocity range ไว้ต่ำกว่า 20 ซม./วินาที การประเมินการไหลเวียนเลือดใน inferior vena cava และ ductus venosus มีประโยชน์ในการทำงานของหัวใจได้อย่างดี เนื่องจากสะท้อนถึง preload ได้ดีมาก โดยเฉพาะการตรวจ pulse Doppler ใน ductus venosus มีการประยุกต์ใช้อย่างหลากหลายในทางคลินิก ทั้งในแง่ของ fetal well being ภาวะหัวใจล้มเหลว หรือความผิดปกติทางโครโมโซม เป็นต้น เลือดจาก suprahepatic vein และ ductus venosus เข้าสู่ inferior vena cava ตรงตำแหน่งที่กำลังจะเข้า right atrium แต่เลือดทั้งสองนี้มิได้ผสมกันเลยทีเดียว มีความเร็วแตกต่างกัน เลือดจาก left suprahepatic vein ซึ่งรับเลือดจาก ductus venosus เข้าสู่ส่วนหลัง-ซ้ายของ inferior vena cava มีความเร็วสูงกว่า พุ่งผ่านไปยัง foramen ovale โดยการปูทางให้ไปในทิศทางดังกล่าวจาก Eustachian tube และ crista dividens ดังนั้นเลือดจากส่วนซ้ายของหัวใจจะรับเลือดจากรก (มีออกซิเจนสูง) ในสัดส่วนที่สูงกว่าและเป็นเลือดที่ถูกกำหนดให้ทิศทางผ่านทาง left atrium, left ventricle ต่อไปทาง coronary artery และไปเลี้ยงส่วนศีรษะ ตำแหน่งที่ควรวางเคอเซอร์ในการตรวจรูปคลื่น inferior vena cava จึงควรเป็นส่วนที่อยู่ในช่องท้องระหว่าง renal veins กับ ductus venosus รูปคลื่นใน inferior vena cava และ superior vena cava เป็นสามช่วง (triphasic : S, D และ a) โดยที่ “a” wave แสดงการไหลย้อนกลับขนาดเล็ก ๆ เมื่อมีการบีบตัวของ atrium ซึ่งเป็นช่วงท้ายของ diastole ค่าอัตราส่วนของ reverse flow ต่อ forward flow จะลดลงตามอายุครรภ์ ซึ่งในไตรมาสที่สามควรมีค่าน้อยกว่าร้อยละ 10(12) ส่วนค่าที่แท้จริง (absolute) ของปริมาณเลือดไหลเวียนผ่าน inferior vena cava มักทำได้ยากเนื่องจากไม่สามารถแก้ไของศาการกระทบในการตรวจ จึงนิยมตรวจอัตราส่วนดังกล่าว หรือ pulsatility (ค่าปกติอยู่ระหว่าง 1.8+0.2 ตลอดการตั้งครรภ์)
  • Azygos vein : เป็นเส้นเลือดดำในส่วนหลังของท้องส่วนบน และทรวงอก ทอดในแนวยาวใกล้กับแนวกระดูกสันหลังทรวงอก เทเลือดกลับเข้าสู่ superior vena cava ทางข้างขวา อาจมีเชื่อมกับ inferior vena cava ส่วนที่อยู่เหนือไต ระดับ inferior vena cava สามารถเห็นได้จาก color flow mapping หรือ pulse Doppler ในภาวะปกติ ในกรณีที่ inferior vena cava ส่วนบนขาดหาย ซึ่งพบได้บ่อยใน left isomerism inferior vena cava ส่วนล่างจะเทผ่าน azygos เข้าสู่ superior vena cava ก่อนเข้า right atrium จะทำให้เห็นเส้นเลือดดำใหญ่ขนานกับ descending aorta ขึ้นไปในระดับสูงของทรวงอก ไม่เหมือน inferior vena cava ที่ทอดพุ่งแยกออกมาทางด้านหน้าก่อนเข้า right atrium ตามปกติ

ตัวอย่างความผิดปกติของหัวใจ

รูปที่ 9 ถึงรูปที่ 17 ภาพอัลตราซาวด์แสดงความผิดปกติของหัวใจที่ตรวจพบได้ในวิวแนวยาวของหลอดเลือดใหญ่

รูปที่ 9 LAoA: Interrupted aortic arch : แสดง aortic arch (AoA) ขนาดเล็กมาก และไม่เชื่อมต่อกับ ascending aorta ซึ่งต่อเนื่องเป็นเส้นตรงต่อไปเป็น brachiocephalic trunk (BCT) (DAo = descending aorta และ RV = right ventricle)

รูปที่ 10  LDA: Hypoplastic left heart syndrome with aortic stenosis : color flow mapping แสดง antegrade flow ใน ductal arch (DA) แต่มี retrograde flow ใน aortic arch (AoA) ส่งเลือดขึ้นไปเลี้ยงศีรษะ (CA = common carotid artery และ RV = right ventricle)

รูปที่ 11   LDA: Tetralogy of Fallot (pulmonary stenosis): color flow mapping แสดง retrograde flow ใน ductal arch (DA) ที่ย้อนกลับจาก aortic arch เพื่อส่งเลือดกลับเข้าไปเลี้ยงปอด (DAo = descending aorta, IVC = inferior vena cava และ Ht = heart)

รูปที่ 12   BCV: Heterotaxy (left isomerism): แสดงเส้นเลือด inferior vena cava (IVC) ทอดสูงขึ้นไปเทเข้า azygos vein (Az) และเทเข้า superior vena cava (SVC) ก่อนที่จะเทเข้า right atrium (RA)

รูปที่ 13   LAoA: Coarctation of aorta (CoAo) : แสดง aortic arch (AoA) ส่วน isthmus มีขนาดเล็กกว่าปกติ เมื่อเทียบกับตำแหน่ง ascending aorta (AAo) และ descending aorta (DAo)

รูปที่ 14   LAoA: Double outlet right ventricle (DORV): แสดง anterior aortic arch (AoA) ซึ่งแตกแขนงไปเลี้ยงส่วนศีรษะตามปกติ แต่ส่วน ascending aorta (AAo) ออกมาจาก right ventricle (RV) ที่อยู่ทางส่วนหน้าของทรวงอก (CA = common carotid artery และ DAo = descending aorta)

รูปที่ 15   LDA: Interrupted aortic arch : แสดง ductal arch (DA) ปกติแต่มีการแตกแขนง left subclavian artery (LSA) ซึ่งปกติจะแตกจาก aortic arch (RV = right ventricle และ DAo = descending aorta)

รูปที่ 16   LAoA: Tetralogy of Fallot (TOF): แสดง ascending aorta (AAo) ที่มีขนาดใหญ่ และมีการคร่อม (overriding, OAo) ทั้ง left ventricle (LV) และ right ventricle (RV) ขณะออกจากหัวใจ (VSD = ventricular septal defect, AoA = aortic arch และ DAo = descending aorta)

รูปที่ 17   LAoA: Tetralogy of Fallot (TOF): แสดง ascending aorta (AAo) ที่มีขนาดใหญ่ และสำหรับการคร่อม (overriding) ทั้ง left ventricle (LV) และ right ventricle (RV) ขณะออกจากหัวใจไม่ชัดเจนในภาพนี้ (AoA = aortic arch และ DAo = descending aorta)

          เอกสารอ้างอิง

          1) AIUM practice guideline for the performance of fetal echocardiography. J Ultrasound Med 2011 Jan;30(1):127-36.

          2) DeVore GR. Fetal echocardiography : Gold Plus edition. 2010.

          3) Levental M, Pretorius DH, Sklansky MS, Budorick NE, Nelson TR, Lou K. Three-dimensional ultrasonography of normal fetal heart: comparison with two-dimensional imaging. J Ultrasound Med 1998 Jun;17(6):341-8.

          4) Ogge G, Gaglioti P, Maccanti S, Faggiano F, Todros T. Prenatal screening for congenital heart disease with four-chamber and outflow-tract views: a multicenter study. Ultrasound Obstet Gynecol 2006 Nov;28(6):779-84.

          5) Nomiyama M, Ueda Y, Toyota Y, Kawano H. Fetal aortic isthmus growth and morphology in late gestation. Ultrasound Obstet Gynecol 2002 Feb;19(2):153-7.

          6) Achiron R, Zimand S, Hegesh J, Lipitz S, Zalel Y, Rotstein Z. Fetal aortic arch measurements between 14 and 38 weeks’ gestation: in-utero ultrasonographic study. Ultrasound Obstet Gynecol 2000 Mar;15(3):226-30.

          7) Udomwan P, Luewan S, Tongsong T. Fetal aortic arch measurements at 14 to 40 weeks’ gestation derived by spatiotemporal image correlation volume data sets. J Ultrasound Med 2009 Dec;28(12):1651-6.

          8) Mielke G, Benda N. Reference ranges for two-dimensional echocardiographic examination of the fetal ductus arteriosus. Ultrasound Obstet Gynecol 2000 Mar;15(3):219-25.

          9) Pasquini L, Mellander M, Seale A, Matsui H, Roughton M, Ho SY, et al. Z-scores of the fetal aortic isthmus and duct: an aid to assessing arch hypoplasia. Ultrasound Obstet Gynecol 2007 Jun;29(6):628-33.

          (10) Traisrisilp K, Tongprasert F, Srisupundit K, Luewan S, Tongsong T. Reference ranges for the fetal ductal arch derived by cardio-spatiotemporal image correlation from 14 to 40 weeks’ gestation. J Ultrasound Med 2012;(In Press).

          11) Yoo SJ, Lee YH, Cho KS, Kim DY. Sequential segmental approach to fetal congenital heart disease. Cardiol Young 1999 Jul;9(4):430-44.

          12) Hecher K, Campbell S. Characteristics of fetal venous blood flow under normal circumstances and during fetal disease. Ultrasound Obstet Gynecol 1996 Jan;7(1):68-83.

          Read More

          วิวตัดเฉียงของทรวงอกทารก : Oblique View of the Thorax

          Oblique View (วิวตัดเฉียง) ของทรวงอกทารก การตรวจวิวเฉียงของทารก ซึ่งเป็น short-axis view ของหัวใจ เป็นวิวที่ AIUM แนะนำให้ตรวจ แบ่งออกเป็น Low for ventricles และ High for outflow tracts(1) (รูปที่ 1)

          รูปที่ 1 ฟภาพแสดงวิว Low และ high short-axis views of the fetal heart (Ao = aortic valve, LV = left ventricle, PA = pulmonary artery, RA = right atrium และ RV = right ventricle) (ที่มา : AIUM practice guideline for the performance of fetal echocardiography. J Ultrasound Med 2011 Jan;30(1):127-36.)

          Long-axis ของ RVOT

          High short axis-view ของหัวใจ จัดว่าเป็นวิว long-axis ของ right ventricular outflow tract (RVOT) ก็ได้ หรือจัดว่าเป็น high short-axis view ของหัวใจ(1) เป็นวิวที่ใกล้เคียงกันมากกับวิว long axis ของ ductal arch (DA) แต่เห็นรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันออกไป ใน long-axis ของ DA เป็นวิวด้านข้าง (parasagittal) ที่ตัดเฉียงจากด้านหน้าค่อนขวาไปยังด้านหลังค่อนซ้ายของทรวงอก แต่วิว RVOT นี้จะเอียงสูงขึ้นไปจากเพลนดังกล่าวอีกเล็กน้อย (รูปที่ 2)

          รูปที่ 2  Long-axis view of right ventricular outflow tract (LRVOT) ที่เป็นแบบฉบับ แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง left atrium (LA), right atrium (RA), right ventricle (RV), pulmonary artery (PA), right pulmonary artery (RPA) และ aortic valve anulus (AA)

          • เทคนิคในการหาเพลนนี้ทำได้หลายวิธี อาจใช้เทคนิคหมุนบิดหัวตรวจต่อจาก long-axis view ของ DA ต่อไปทางซ้ายอีกเล็กน้อย แนวตัดเฉียงจะผ่านจากด้านข้างกระดูกเชิงกรานขวาของทารกไปยังไหล่ซ้ายของทารก หรืออาจใช้เทคนิคหาเพลน 5CV ก่อน แล้วขยับปรับหัวตรวจให้เห็น ascending aorta (AAo) ตามแนวยาว ปรับให้เห็นตำแหน่ง aortic valves ให้ชัดเจน แล้วปรับหัวตรวจลาก aortic valves ไว้ที่กลางจอสกรีน หมุน 90 องศา แล้วปรับให้เห็นรายละเอียดปลีกย่อย (รูปที่ 3)

          รูปที่ 3  เทคนิคในการตรวจ right ventricular outflow tract (RVOT) จาก left ventricular outflow tract (LVOT) โดยการปรับหมุนหัวตรวจประมาณ 70-90 องศา โดยเริ่มจากการปรับให้ตำแหน่ง aortic valve ของวิว LVOT อยู่ตำแหน่งกลางจอสกรีน และหมุนหัวตรวจโดยคงสภาพให้ aortic valve อยู่ตำแหน่งเดิม เทคนิคนี้จะช่วยให้สำรวจความต่อเนื่องของผนังกั้น outflow tract ทั้งสอง และความสัมพันธ์ของ aortic และ pulmonary root ได้อย่างดี

          • โดยเพลนนี้อาจกล่าวว่าเป็น short-axis ของหัวใจที่ระดับฐานหัวใจก็ได้ แต่เป็นวิวเฉียงของทรวงอก (oblique) เพลนนี้จะไม่เห็น DA ตามแนวยาวตลอดแนว แต่เน้นรายละเอียดของ RVOT และ pulmonary artery(PA) ที่ออกจากหัวใจ ให้ภาพรวมที่เห็นการไหลเวียนซีกขวา วนผ่านรูกลมหน้าตัดของ ascending aorta ดูเป็นรูปวงแหวนที่บางท่านเรียก doughnut view โดยเห็น left atrium (LA), interatrial septum (IAS), right atrium (RA), tricuspid valves (TV), right ventricle (RV), pulmonic valves (PV), main pulmonary artery (MPA), right pulmonary artery (RPA), ductal arch (DA) นับว่าเป็นเพลนที่ให้ข้อมูลสำคัญได้มาก และเป็นเพลนที่เหมาะสำหรับการวัดขนาดของเส้นเลือดใหญ่ (MPA และ AAo) และยังเป็นวิวที่แสดงการไหลเวียนของ inflow และ outflow ที่ตีวงกว้าง (ทำมุมกันราว 90 องศา) ผ่านออกไปทาง MPA ดูคล้ายรูปตัว “U” ที่โค้งกว้าง ในขณะที่ข้างซ้าย inflow และ outflow ที่เข้ามาทาง mitral valves และออกไปทาง AAo จะดูคล้ายรูปตัว “V”
          • วิวนี้สามารถประเมินการปิด/เปิดลิ้นหัวใจได้หลายตำแหน่งพร้อม ๆ กัน ได้แก่ การปิดเปิดของ aortic valves, pulmonic valves, tricuspid vavle, flap ของ foramen ovale และที่หน้าตัดของ Aortic root เห็นการปิดเปิดของ aortic valves ในการตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ที่ให้รายละเอียดสูงจะสามารถตรวจดู bicuspid valve ของ aorta ได้ดีที่วิวนี้ และความสมบูรณ์ของ membranous part ของ interventricular septum ซึ่งกั้นระหว่าง aortic root กับ RVOT โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการใช้ color flow mapping เข้ามาช่วย รวมถึงการปิด/เปิดของลิ้น pulmonary artery ก็สามารถประเมินได้ดีในวิวนี้ด้วย ในจังหวะ systole ของหัวใจปกติจะเห็นเป็นท่อโล่ง โดยที่ลิ้นแนบชิดไปกับผนังหลอดเลือด main pulmonary artery (รูปที่ 4)

          รูปที่ 4  Long-axis view of right ventricular outflow tract (LRVOT) แสดงช่วงขณะ end-diastole (รูปซ้าย) และขณะ end-systole (รูปขวา)

          • color flow mapping มีประโยชน์ในการการประเมิน inflow และ outflow รวมทั้งการปิดเปิด pulmonic valve ได้เป็นอย่างดีในวิวนี้ เนื่องจากสามารถแสดงการไหลเวียนเลือดผ่าน right ventricle ได้ในเวลาเดียวกัน ในจังหวะ diastole จะเห็น inflow ผ่าน tricuspid valve เข้าสู่ right ventricle ทำให้เห็นสีใน right ventricle เด่นมากในจังหวะนี้ ซึ่งเป็นจังหวะที่ไม่มีสีใน RVOT, MPA และ aorta พอถึงระยะ systole สีที่เห็นใน right ventricle จะหายไป แต่เห็นสีในทิศทางตรงกันข้ามกับ inflow ออกทาง RVOT
          • color flow mapping ยังช่วยในการยืนยัน ventricular septal defect (VSD) ที่ membranous part ของ interventricular septum ดังที่กล่าวมาข้างต้น ในจังหวะ systole เห็นเลือดผ่านเข้าใน aorta พร้อมกับผ่านออกทาง MPA พร้อม ๆ กัน (ทั้งนี้ต้องปรับระดับ setting ของ color flow ให้เหมาะสม ซึ่งต้องใช้ high-flow) โดยให้สังเกตตำแหน่งที่ aorta แยกกับ right ventricle color flow mapping ยังสามารถแสดงการไหลย้อนกลับที่ pulmonic valve ในรายที่เป็น pulmonary atresia ได้ด้วย

          Short-axis ของ LV

          รูปที่ 5  Short-axis view of ventricles : แสดงภาพตัดขวางของ ventricles ทั้งสองข้างในขณะที่หัวใจบีบตัว (รูปซ้าย) และคลายตัว (รูปขวา) (LV = left ventricle, RV = right ventricle)

          รูปที่ 6  ภาพตัดขวางของ ventricles ทั้งสองข้างที่ระดับเหนือขึ้นไปจากรูป 8-5 เข้าใกล้ฐานของหัวใจแสดงตำแหน่ง ทางออกของ pulmonary artery (PA) (รูปซ้าย) และสูงขึ้นไปอีกเล็กน้อยกลายเป็น long-axis view of right ventricular outflow tract (รูปขวา) (Ao = aortic root, LV = left ventricle, RA = right atrium, RV = right ventricle)

          เป็นวิวที่ตั้งฉากกับวิว long-axis ของ left ventricle จะเห็นเป็นภาพหน้าตัดของ ventricle ทั้งซ้ายและขวาในวิวเดียวกัน จัดว่าเป็น low short-axis view ของหัวใจ(1) (รูปที่ 5, 6) เป็นวิวที่มีประโยชน์มากในการประเมินชนิดของ atrioventricular connection และการผิดสัดส่วนกันของ ventricles ทั้งสอง พร้อมทั้ง atrioventricular valves(2) เนื่องจากหัวใจปกติมีแนวแกนค่อนข้างขนานกับแนวราบหรือแนวตัดขวางทรวงอก วิวนี้จึงมีแนวค่อนไปตามแนวยาว โดยเป็นภาพหน้าตัดที่ผ่านจากเชิงกรานด้านขวาไปยังหัวไหล่ด้านซ้ายของทารก ซึ่งเทคนิคในการตรวจวิวนี้อาจทำได้โดยการขยับหัวตรวจจากวิว RVOT เลื่อนออกไปทางซ้าย ซึ่งดูได้หลายระดับ หรือตั้งต้นจาก 4CV แล้วพยายามปรับให้แนว interventricular septum ขนานกับแนวราบ แล้วปรับเลื่อนให้ interventricular septum อยู่กลางจอภาพ แล้วหมุนบิดหัวตรวจไปประมาณ 90 องศา จะได้ภาพตัดขวางของ ventricles ทั้งสอง ในการตรวจครั้งเดียวกันสามารถตรวจตั้งแต่ฐานถึงยอดโดยการขยับเลื่อนหัวตรวจในเพลนที่ขนานกันไป ในระดับที่ใกล้ยอดหัวใจจะเห็น ventricle ทั้งสองข้างในภาพตัดขวาง วางอยู่เหนือแนวกระบังลม และมี muscular interventricular septum กั่้นทั้งสองข้าง ในภาพนี้ right ventricle จะดูเป็นรูปครึ่งวงกลม อยู่ด้านหน้า-บน ส่วน left ventricle อยู่ด้านหลัง มีกล้ามเนื้อที่ดูหนากว่าและกลมกว่า เมื่อขยับหัวตรวจเข้าหาระดับฐาน (ไปทางด้านขวาของทารก) ก็จะเห็นทั้ง tricuspid และ mitral valves ซึ่งมีลักษณะจำเพาะที่แตกต่างกัน คือ tricuspid valve มีสามกลีบ และมีส่วนเกาะกับผนังด้าน interventricular septum ส่วน mitral valve มีสองกลีบ ไม่มีส่วนเกาะติดกับ interventricular septum ในการตรวจ color flow mapping จะสำรวจ interventricular septum ได้ตลอดแนว ซึ่งเพลนนี้จะช่วยในการวินิจฉัย ventricular septal defect ส่วน muscular part ได้ดี โดยเฉพาะเมื่อปรับให้ลำเสียงตั้งฉากกับ interventricular septum

          ตัวอย่างความผิดปกติของหัวใจ

          รูปที่ 7 ถึง 15 แสดงตัวอย่างภาพอัลตราซาวด์ของความผิดปกติของหัวใจที่ตรวจพบในวิวตัดเฉียงของทรวงอก

          รูปที่ 7  LRVOT: Hypoplastic left heart syndrome with aortic stenosis : แสดง ascending aorta (AAo) ขนาดเล็กมาก (PA = pulmonary artery, RA = right atrium และ RV = right ventricle)

          รูปที่ 8  LRVOT: Aortic stenosis : แสดง ascending aorta (AAo) ขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับ pulmonary artery (PA) (RA = right atrium และ RV = right ventricle)

          รูปที่ 9  LRVOT: Tetralogy of Fallot with pulmonary atresia : แสดง main pulmonary artery (MPA) และ right pulmonary artery (RPA) มี post-stenostic dilatation จนมีขนาดใหญ่มาก (DAo = descending aorta, AAo = ascending aorta, RA = right atrium และ RV = right ventricle)

          รูปที่ 10  LRVOT: Double outlet right ventricle (DORV; TGA-like) : แสดง pulmonary artery (PA) และ ascending aorta (AAo) มีทอดขนานกันออกมาจาก ventricles (RA = right atrium และ RV = right ventricle)

          รูปที่ 11  LRVOT: Tetralogy of Fallot (TOF) : แสดง pulmonary artery (PA) ขนาดเล็ก ในขณะที่ทอดอ้อมพัน ascending aorta (AAo) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่ากันมาก (RA = right atrium และ RV = right ventricle)

          รูปที่ 12  Short axis view of ventricles: muscular ventricular septal defect (VSD) แสดง color flow mapping มีกระแสเลือดทอดข้ามผ่าน interventricular septum (IVS) จาก left ventricle (LV) มายัง right ventricle (RV)

          รูปที่ 13  RVOT: Subaortic ventricular septal defect (VSD) แสดงรอยเชื่อมติดต่อระหว่าง right และ left ventri-cular outflow tract (PA = pulmonary artery, AAo = ascending aorta, RA = right atrium และ RV = right ventricle

          รูปที่ 14  RVOT: Subaortic ventricular septal defect (VSD) color flow mapping แสดงการไหลเวียนเลือดจาก right ventricular outflow tract ผ่านออกทาง VSD ออกทาง aortic root (Ao) (RA = right atrium และ RV = right ventricle)

          รูปที่ 15  Short axis view of ventricles ที่ระดับใกล้ atrioventricular valves (AVV) ในทารกที่เป็น endocardial cushion defect: แสดง AVV ในวิวมองประจันหน้า (enface) ซึ่งมี AVV ชุดใหญ่เพียงชุดเดียว

            เอกสารอ้างอิง

            1) AIUM practice guideline for the performance of fetal echocardiography. J Ultrasound Med 2011 Jan;30(1):127-36.

            2) Chiappa EM, Cook AC, Botta G, Silverman NH. Echocardiographic anatomy in the fetus. 1 ed. Milan: Springer-Verlag; 2008.

            Read More

            วิวเส้นเลือดใหญ่สามเส้น : Three-Vessel View

            บทนำ

            วิวเส้นเลือดใหญ่สามเส้น หรือ (three-vessel view; 3VV) เป็นวิวภาพตัดขวางทรวงอกทารกในระดับสูงกว่าหัวใจเล็กน้อย ซึ่งเป็นวิวตัดผ่านเส้นเลือดใหญ่สามเส้น คือ superior vena cava (SVC), aorta (Ao) และ pulmonary artery (PA) เป็นวิวที่ได้รับการพิสูจน์อย่างมีหลักฐานแล้วว่าช่วยในการวินิจฉัยโรคหัวใจพิการโดยกำเนิดได้มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (รูปที่ 1)

            รูปที่ 1 ภาพแสดงวิวมาตรฐานในการตรวจหัวใจทารกในครรภ์(fetal echocardiography) : เน้นที่ระดับ three-vessel view (Ao; descending aorta, Asc Ao; ascending aorta, LA; left atrium, LV; left ventricle, PA; pulmonary artery, RA; right atrium, RV; right ventricle; and Tra; trachea) (ที่มา : AIUM practice guideline for the performance of fetal echocardiography. J Ultrasound Med 2011 Jan;30(1):127-36.)

            การตรวจ 3VV ด้วยอัลตราซาวด์สองมิติ (2D-gray scale)

            เพลน 3VV เป็นเพลนตัดขวางทรวงอกทารกที่ตัดสูงขึ้นมาจากเพลน 4CV เล็กน้อย สามารถเห็นเส้นเลือดใหญ่สำคัญ 3 เส้น ได้แก่ main pulmonary artery (MPA), ascending aorta (AAo) และ superior vena cava (SVC) ซึ่งเรียงกันอย่างเป็นระบบหรือมีรูปแบบจำเพาะ มีความสัมพันธ์กันที่แน่นอน เรียงกันเป็นเส้นตรงด้านซ้ายและด้านหน้า ไปทางด้านขวาค่อนไปทางข้างหลัง โดยมี MPA อยู่ด้านหน้าสุด และซ้ายสุด AAo อยู่ตรงกลาง และ SVC อยู่ทางขวาสุด และหลังสุด

            ความสัมพันธ์ที่เป็นปกติของเส้นเลือดใหญ่ทางสามเส้น เป็นดังนี้

            • จำนวนเส้นเลือด (number) 3 เส้นดังที่กล่าวมาข้างต้น
            • ขนาดเส้นเลือด (size) โดยเรียงลำดับจากขนาดใหญ่ไปหาขนาดเล็กคือ MPA, AAo และ SVC ตามลำดับ
            • แนวการเรียงตัวของเส้นเลือด (alignment) จะเรียงตัวเป็นเส้นตรงจากซ้ายหน้า ทอดไปยังขวา-หลัง
            • การเรียงลำดับของเส้นเลือด (arrangement) เรียงลำดับจากซ้าย-หน้า ไปยังขวา-หลัง คือ MPA, AAo และ SVC ตามลำดับ

            เคล็ดลับ: ในภาพหน้าตัดของเส้นเลือดที่สงสัยว่าจะเป็น SVC ถ้าทดลองหมุน 90 องศา เส้นเลือดดังกล่าวจะยาวออกและทอดเข้าสู่ right atrium

            ในยุคต้น ๆ ของการตรวจ fetal echocardiography มีการตรวจคัดกรองเน้น 4CV เป็นหลักซึ่งเชื่อว่าสามารถตรวจภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิดได้เป็นส่วนใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมาได้รับการพิสูจน์ว่ามีภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิด จำนวนไม่น้อยที่ตรวจไม่พบด้วยการตรวจ 4CV ต่อมาจึงแนะนำว่าในการตรวจคัดกรองขั้นต่ำจะต้องมีการตรวจ outflow tract ด้วย ในระยะหลังมีหลายรายงานพบว่าการตรวจเพิ่มเติมด้วยการตรวจ 3VV ด้วยจะยิ่งช่วยให้ตรวจพบความผิดปกติเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และแนะนำให้ตรวจเป็นประจำในการตรวจขั้นละเอียด (specialized ultrasound)

            3VV (three-vessel view) ได้มีการแนะนำและบรรยายไว้โดย Yoo และคณะ(1) เป็นครั้งแรก และต่อมา Yagel และคณะ(2) เสนอเน้นวิว 3VT (three vessel view และ tracheal view เข้าด้วยกัน) ซึ่งเป็นวิวที่อยู่ใกล้เคียงหรือชิดกับ 3VV โดยวิวเหล่านี้ง่ายต่อการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ แต่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากจึงสมควรให้ความสำคัญและฝึกปฏิบัติเป็นกิจวัตร ทั้ง 3VV และ 3VT ซึ่งวิวทั้งสองนี้อยู่ใกล้ชิดกันมากสามารถเข้าถึงได้ด้วยเพียงแค่ขยับหัวตรวจจากระดับ 4CV ขึ้นไปทางศีรษะเด็กเพียงเล็กน้อย

            ในการตรวจ 3VV ตามข้อแนะนำของ Yoo และคณะ(1;3;4) หมายถึง ภาพตัดขวางทรวงอกที่อยู่เหนือระดับ 4CV ขึ้นไปเล็กน้อย จะเห็นเส้นเลือดใหญ่สำคัญ 3 เส้น คือ main pulmonary artery (MPA), ascending aorta (AAo) และ superior vena cava (SVC) มีรูปแบบการเรียงตัว ขนาด ลำดับที่อยู่อย่างมีรูปแบบจำเพาะ

            สำหรับวิว 3VT ตามการแนะนำของ Yagel และคณะ(2) และ Vinals และคณะ(5) หมายถึงวิวที่เหนือ 3VV ของ Yoo ขึ้นไปอีกเล็กน้อย ซึ่งจะเห็น SVC และ aortic arch หรือ ductal arch พร้อมกับเห็น trachea ด้วย

            จากประสบการณ์ของผู้เขียนพบว่าระดับ 3VV อยู่ใกล้กับ 3VT และในทางปฏิบัติก็จะตรวจพร้อม ๆ กันไป หรือต่อเนื่องมาจาก 4CV ไปจนครบ เนื่องจากทั้ง 4CV, 3VV และ 3VT เป็นวิวที่ได้จากภาพตัดขวางของทรวงอกทารกในส่วน mediastinum เช่นเดียวกัน ดังนั้นทั้งวิว 3VV และ 3VT จึงควรถือว่าเป็นวิวที่ตรวจในเวลาเดียวกัน ทีมงานผู้เขียนได้รายงานการศึกษาการตรวจ 3VV และ 3VT ไว้ด้วยกัน หรืออาจเรียกว่า complete 3VV (c3VV) การกล่าวถึง 3VV ในที่นี้จึงหมายถึงการตรวจที่รวมทั้ง 3VV และ 3VT ไว้ด้วยกัน กล่าวคือจาก 4CV ซึ่งเป็นภาพตัดขวางทรวงอกทารกอยู่แล้วนี้ ให้เลื่อนขยับหัวตรวจสูงขึ้นไปจนถึงระดับ aortic arch ถือเป็นการสำรวจเส้นเลือดใหญ่ของหัวใจได้สมบูรณ์ และอาจมีการปรับเปลี่ยนท่าเล็กน้อยเพื่อทำให้ประเมินได้ดีขึ้น ทำให้ได้วิวต่าง ๆ มากขึ้นดังต่อไปนี้ (รูปที่ 2)

            รูปที่ 2 รูปวาดแสดงการภาพจากการตรวจ c3VV โดยเริ่มจากการเลื่อนหัวตรวจในเพลนตัดขวางทรวงอกจากระดับ 4CV ขึ้นไปทางศีรษะทารกเล็กน้อยจะได้ 3VV (รูป ก) โดยมีลักษณะเด่นการเรียงตัวจำเพาะและมี bifurcation ของ MPA แล้วขยับขึ้นต่อไปจะได้เพลน TDA (รูป ข) เห็น ductus arteriosus ชัดที่สุด และยาวที่สุด โดยไม่เห็น right pulmonary artery หรือเห็นไม่ชัด เห็น ascending aorta ในรูปหน้าตัด เมื่อขยับขึ้นไปอีกเล็กน้อยจะได้เพลน TAA (transaortic arch) (รูป ค) เห็น aortic arch ส่วน ductal arch ไม่เห็นหรือเห็นไม่ชัด จากรูป ค ถ้าบิดหัวตรวจทางด้านซ้ายต่ำลงมาสักเล็กน้อย จะเห็นเพลน 3VT (รูป ง) คือเห็น arch ทั้งสอง และเห็น trachea(6) (PV = pulmonic valve, AoV = aortic valve, MV = mitral valve และ TV = tricuspid valve)

            • Four-chamber view (4CV)
            • Five-chamber view (5CV)
            • Three-vessel view (3VV)
            • Transductal arch view (TDA)
            • Transaortic arch view (TAA)
            • Three-vessel view and trachea view (3VT)

            ทั้งสี่วิวหลังนี้ควรถือว่าเป็นวิวเดียวกันที่ต่อเนื่อง และสามารถแสดงให้เห็นได้ทั้งหมดด้วยเพียงการเอียง ขยับ หมุน หรือบิดหัวตรวจเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เช่นเดียวกับการตรวจ outflow tract ทั้งสองข้าง ไม่ว่าจะเป็น LVOT หรือ RVOT ควรถือว่าเป็นการตรวจวิวเดียวกันด้วยเทคนิค criss-cross maneuver ในทางปฏิบัติแล้วทั้ง 4 วิวดังกล่าวควรถือเป็น maneuver เดียวกันที่แสดงเส้นเลือดสำคัญให้เห็นในหลายวิว(3;6;7) เป็น dynamic view หรือ complete view ของ 3VV ดังนั้น 3VV ในที่นี้จึงหมายถึงการตรวจเส้นเลือดในภาพตัดขวางของทรวงอกโดยสมบูรณ์แบบ ในระดับที่เหนือ 4CV ขึ้นไปจนเห็น aortic arch และ trachea

            เทคนิคในการตรวจ (รูปที่ 7-3)

            รูปที่ 3 ตัวอย่างภาพที่ได้จากการ sweeping ตลอดระนาบตัดขวางของทรวงอกส่วนบน เริ่มต้นจาก ก) 4CV, ข) 5CV แสดง aortic root ที่เริ่มออกจาก left ventricle, ค) 3VV ที่ตำแหน่ง bifurcation ของ pulmonary artery แตกแขนง right pulmonary artery (RPA) พันอ้อม ascending aorta (AAo) ซึ่งมีทิศทางตั้งฉากกัน, ง) วิวที่แสดง ductal arch ชัดเจนขึ้น ซึ่งสูงกว่าในระดับ ค. เล็กน้อย, จ) ระดับ aortic arch (AoA) ซึ่งอยู่สูงขึ้นไปกว่าระดับ ductal arch เล็กน้อย และ ฉ) ระดับ 3VT ซึ่งแสดง arch ทั้งสอง เป็นวิวที่ปรับหัวตรวจจาก ง. หรือ จ. ให้เฉียงไปอีกเล็กน้อย

              • 4CV-5CV : ตรวจหา ให้ได้ตามมาตรฐานเป็นลำดับแรก ซึ่งเป็นภาพตัดขวางทรวงอก
              • 3VV : เลื่อนขยับหัวตรวจเล็กน้อยไปทางศีรษะทารก โดยคงความเป็นภาพตัดขวาง หรือตั้งฉากกับแนวยาวของลำตัวเด็กไว้ เมื่อผ่าน 5CV ขึ้นไป จะเห็นองค์ประกอบสำคัญของ 3VV คือ main pulmonary artery(MPA) ในตำแหน่งที่กำลังแตกสาขา (bifurcation) ได้เป็น right pulmonary artery (RPA) และ ductus arteriosus (DA), ascending aorta (AAo) และ superior vena cava (SVC) โดย MPA อยู่ด้านหน้าและซ้ายสุด AAo อยู่กลาง และ SVC อยู่ทางขวาสุด วิวนี้ยังไม่เห็น trachea ทั้ง MPA, AAo และ SVC จะเรียงกันเป็นเส้นตรงจากหน้า-ซ้ายทอดไปทางหลัง-ขวา จำนวนเส้นเลือดใหญ่ 3 เส้น มีขนาดต่างกันเล็กน้อย โดยที่ MPA ขนาดโตที่สุด รองลงมาเป็น AAo และ SVC มีขนาดเล็กที่สุด
              • TDA (transductal arch view): ขยับหัวตรวจหรือเอียงหัวตรวจต่อจาก 3VV ขึ้นทางศีรษะอีกเล็กน้อย พ้น bifurcation ของ MPA ขึ้นไป เห็น ductal arch ทอดตรงเข้าสู่ descending aorta
              • TAA (transaortic arch view): ขยับหัวตรวจหรือเอียงหัวตรวจต่อจาก TDA ขึ้นทางศีรษะอีกเล็กน้อย จนเห็น aortic arch ตลอดแนวยาว ซึ่งจะเห็น trachea อยู่ทางขวามือ ส่วน ductal arch อาจจะไม่เห็นแล้ว หรือเห็นเพียงเล็กน้อย ทั้งนี้เนื่องจาก aortic arch จะโค้งสูงขึ้นไปกว่า ductal arch
              • 3VT : จากวิว TAA ให้หมุนหัวตรวจทางด้านซ้ายมือของทารกต่ำลงมาเล็กน้อย ให้เห็น ductal arch ชัดเจนขึ้น วิวนี้จะเห็น arch ทั้งสองพุ่งมารวมกันที่ descending aorta ในลักษณะรูปตัว V รวมกันอยู่ทางด้านซ้ายของ trachea

              การปรับหมุนหัวตรวจทั้ง 4 ระดับนี้ ตรวจต่อเนื่องกันอาจเรียกว่าเป็น c3VV ซี่งต้องอาศัยความละเอียดอ่อนในการขยับหัวตรวจในลักษณะ micro-manipulation

              ในการตรวจ full fetal echocardiography ควรตรวจวิวทั้งหมดนี้เสมอ และควรพิจารณาผนวกการตรวจด้วย color flow mapping และ spectral Doppler study ด้วยในกรณีที่สงสัยผิดปกติ

              การวิเคราะห์ 3VV

              ข้อควรพิจารณาในการตรวจและวิเคราะห์ 3VV

              • จำนวนของเส้นเลือด
              • ขนาดของเส้นเลือด
              • ลำดับการเรียงตัวของเส้นเลือด
              • แนวการเรียงตัวของเส้นเลือด
              • ตำแหน่งซ้ายขวาของเส้นเลือดใหญ่
              • ทิศทางการไหลเวียนเลือดในแต่ละเส้น
              • ความเร็วของการไหลเวียนเลือด

              ขนาดของเส้นเลือด (size):

              ในทารกปกติเส้นเลือด MPA มีเส้นผ่าศูนย์กลางโตกว่า AAo และ AAo โตกว่า SVC ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นเลือดใหญ่มีค่าอ้างอิงสำหรับแต่ละอายุครรภ์(5;8) สำหรับใช้ในการประเมินขนาดเส้นเลือดในกรณีสงสัยว่าโตผิดปกติหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติอาจใช้กฎง่าย ๆ ทางคลินิกคือ เส้นเลือด MPA ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเท่ากับหรือเล็กกว่า AAo ถือว่าเล็กผิดปกติ และ AAo ที่มีขนาดเท่ากับหรือเล็กกว่า SVC ควรถือว่ามีขนาดเล็กผิดปกติ หรือ AAo มีขนาดเท่ากับ descending aorta ก็ถือว่ามีขนาดเล็กผิดปกติเช่นกัน ตัวอย่างสำคัญที่พบได้บ่อยของการที่เส้นเลือด AAo โตกว่า MPA ได้แก่ tetralogy of Fallot (TOF) หรือ pulmonary stenosis เป็นต้น

              ลำดับการเรียงตัวของเส้นเลือด (arrangement)

              ในทารกปกติ MPA อยู่ข้างซ้าย ascending aorta(AAo)/aortic arch(AoA) อยู่กลาง และ SVC อยู่ขวาสุด การเรียงตัวไม่ปกติอาจพบได้ในกรณี transposition of great arteries (TGA) หรือ double outlet of right ventricle (DORV) เป็นต้น

              จำนวนของเส้นเลือด (number of vessels) :

              ในทารกปกติจะมีเส้นเลือด 3 เส้นในวิวนี้ แต่ในภาวะผิดปกติจำนวนมากจะมีจำนวนเปลี่ยนไป เช่น กรณีที่มี left SVC จะมี SVC ทางข้างซ้าย เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเส้น ซึ่งถ้าไล่ทิศทางการไหลของเลือดจะสามารถติดตามไปเข้าหัวใจผ่านทาง coronary sinus บางครั้ง เห็น azygos vein ที่ขยายขนาดใหญ่ขึ้นในกรณี heterotaxy หรือ anomalous venous return เป็นต้น ในความผิดปกติของหัวใจหลายอย่างจะเห็นเส้นเลือดเพียงสองเส้น โดยเส้นเลือดแดงใหญ่เหลือเพียงเส้นเดียว เช่น truncus arteriosus โดยเฉพาะในวิว 3VT ในราย interrupted aortic arch หรือ ductal atresia จะเห็นเส้นแดงใหญ่เพียงเส้นเดียวเป็นต้น

              แนวการเรียงตัวของเส้นเลือด (alignment):

              การเรียงตัวปกติจากซ้ายไปขวาคือ MPA, AAo และ SVC จะเรียงตัวกันเป็นเส้นตรง จากขวาที่ค่อนไปทางด้านหลัง (right-posterior) ไปทางซ้ายค่อนไปทางข้างหน้า (left-anterior) ในความผิดปกติของหัวใจหลายอย่าง แนวการเรียงตัวเสียไป ไม่เป็นเส้นตรงตามปกติ ซึ่งที่พบได้บ่อย ๆ ได้แก่ ใน transposition of great arteries (TGA), double outlet of right ventricle (DORV) หรือ subarterial malalignment ventricular septal defect(VSD) เป็นต้น

              ตำแหน่งซ้ายขวาของเส้นเลือดใหญ่ :

              ในทารกปกติเส้นเลือดแดงใหญ่ทั้งสอง ไปเทรวมกันที่ descending aorta ในระดับ 3VT ซึ่งอยู่ทางด้านซ้ายของกระดูกสันหลัง โดยสังเกตได้ง่าย คือ รวมกันทางด้านซ้ายของ trachea ในความผิดปกติหลายอย่างมี right aortic arch ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 25-30 ของรายที่เป็น TOF จะเห็น AoA เทเข้า descending aorta ทางด้านขวาของ trachea ในบางกรณี ductal arch เทเข้าทางด้านซ้าย แต่ AoA เทเข้าทางด้านขวา ทำให้เกิดลักษณะจำเพาะที่เรียกว่า vascular ring เป็นต้น

              ทิศทางการไหลเวียนเลือดในแต่ละเส้น :

              เส้นเลือดแดงใหญ่ทั้งสองเส้นจะมี forward flow เข้าสู่ descending aorta (รูปที่ 4) แต่จะพบ reversed flow ในบางความผิดปกติ เช่น reversed flow ใน aortic arch พบได้บ่อยในกรณี aortic stenosis, hypoplastic left heart หรือ coarctation of aorta ที่รุนแรง เป็นต้น reversed flow ใน ductal arch พบได้บ่อยในราย pulmonary stenosis หรือในบางรายของ tetralogy of Fallot หรือ Ebstein’s anomaly

              รูปที่ 4 ตัวอย่างภาพ color flow mapping แสดงการไหลเวียนเลือดปกติในระดับ ductal arch, 3VT และ aortic arch

              ความเร็วของการไหลเวียนเลือด : การตรวจวัด peak systolic velocity (PSV) ในบางรายอาจช่วยให้มีความมั่นใจการวินิจฉัยในบางโรคได้ เช่น PSV ใน ductus arteriosus สูงมากในราย stenosis เป็นต้น

              ตัวอย่างรายงานจากประสบการณ์เบื้องต้นของทีมงานผู้เขียน (รูปที่ 7-5 ถึง 7-28)

              ได้ทำการศึกษาประโยชน์การใช้ 3VV ในการวิเคราะห์โรคหัวใจทารกในครรภ์ โดยทำการศึกษาไปข้างหน้าในรายที่วินิจฉัยทารกมีหัวใจพิการโดยกำเนิดในช่วง มกราคม 2000 ถึง กุมภาพันธ์ 2009 ซึ่งทุกรายได้ทำการตรวจ 4CV, 5CV, และ c3VV โดยในการตรวจนี้เก็บข้อมูลสำคัญในการตรวจ c3VV คือ

              1. abnormal alignment;
              2. abnormal arrangement;
              3. abnormal vessel size;
              4. abnormal number of vessels;
              5. abnormal aortic arch sidedness; และ
              6. abnormal color flow mapping (reversed or turbulent)

              รูปที่ 5 3VV: ภาพแบบฉบับของ 3VV ของทารกปกติที่มีการเรียงตัว ลำดับ ขนาด ของเส้นเลือดใหญ่ทั้งสามเส้น (PA = pulmonary artery, AAo = ascending aorta, SVC = superior vena cava และ Br = bronchus)

              รูปที่ 6 3VT: ภาพแบบฉบับของ 3VT ของทารกปกติที่มีการเรียงตัว ลำดับ ขนาด ของเส้นเลือดใหญ่ทั้งสามเส้น และความสัมพันธ์กับ trachea (DA = ductal arch, AoA = aortic arch, SVC = superior vena cava และ Tr = trachea)

              รูปที่ 7  3VT: Hypoplastic left heart syndrome : แสดง aortic arch (AoA) ขนาดเล็กเมื่อเทียบกับ ductal arch (DA) (SVC = superior vena cava และ Tr = trachea)

              รูปที่ 8  3VV: Tetralogy of Fallot (TOF) : แสดง pulmonary artery (PA) ขนาดเล็กเมื่อเทียบกับ ascending aorta (AAo) ซึ่งมีขนาดโตมากขึ้น (SVC = superior vena cava และ Tr = trachea)

              รูปที่ 9  TDA: Ductal aneurysm : แสดง ductal arch (DA) ที่มีลักษณะโป่งพอง ขนาดใหญ่มากและมีความคดเคี้ยว ascending aorta (AAo) ก็มีขนาดโตขึ้น แต่ไม่มากเท่า pulmonary artery (PA) (SVC = superior vena cava และ Tr = trachea)

              รูปที่ 10  3VT: Tetralogy of Fallot (TOF) : แสดง ductal arch (DA) ขนาดเล็กเมื่อเทียบกับ aortic arch (AoA) ซึ่งมีขนาดโตมากขึ้น (SVC = superior vena cava และ Tr = trachea)

              รูปที่ 11  3VV: Coarctation of aorta ชนิด tubular : แสดง ascending aorta (AAo) ขนาดเล็กเมื่อเทียบกับ pulmonary artery (PA) สังเกตว่าขนาด superior vena cava (SVC) โตกว่า AAo (ในวิวนี้ภาพจะเหมือน aortic stenosis)(Tr = trachea)

              รูปที่ 12  3VV: Tetralogy of Fallot (TOF) with pulmonary valve atresia: แสดง pulmonary artery (PA) และ right pulmonary artery (RPA) ขนาดใหญ่มาก เมื่อเทียบกับ ascending aorta (AAo) ซึ่งมีขนาดโตมากขึ้นเช่นกัน (SVC = superior vena cava)

              รูปที่ 13  3VV: Hypoplastic left heart syndrome : แสดง ascending aorta (AAo) ขนาดเล็กเมื่อเทียบกับ pulmonary artery (PA) สังเกตว่าขนาด superior vena cava (SVC) โตกว่า AAo

              รูปที่ 14  3VT: Pulmonary stenosis : แสดง ductal arch (DA) ที่มี ขนาดเล็กมาก เมื่อเทียบกับ ascending aorta (AAo) ที่มีขนาดปกติ (SVC = superior vena cava และ Tr = trachea)

              รูปที่ 15  3VV: Transposition of great artery (TGA) : แสดงแนวการเรียงตัวของเส้นเลือดทั้งสามผิดไป โดยที่ ascending aorta (AAo) อยู่ในตำแหน่งหน้าต่อ pulmonary artery (PA) ซึ่งแสดงถึงการทอดออกมาจาก right ventricle ที่อยู่ทางด้านหน้าของทรวงอก (SVC = superior vena cava)

              รูปที่ 16  3VT: Double outlet right ventricle (DORV) : แสดงแนวการเรียงตัวของเส้นเลือดทั้งสามผิดไป โดยที่ ascending aorta (AAo) อยู่ในตำแหน่งหน้าต่อ pulmonary artery (PA) และรายนี้มีขนาดของ PA เล็กกว่าปกติด้วย (DA = ductal arch, SVC = superior vena cava และ Br = bronchus)

              รูปที่ 17  3VT: Vascular ring : แสดง ductal arch (DA) ที่มีลักษณะปกติ เทเข้าสู่ descending aorta (DAo) ทางข้างซ้ายของ trachea (Tr) ในขณะที่ aortic arch (AoA) เทเข้า DAo ทางด้านขวาของ trachea ทำให้มี vascular ring

              รูปที่ 18  3VT: Vascular ring : color flow mapping แสดง ductal arch (DA) เทเข้าสู่ descending aorta (DAo) ทางข้างซ้ายของ trachea (Tr) และ aortic arch (AoA) เทเข้า DAo ทางด้านขวาของ trachea (รายเดียวกับรูปที่ 7-17)

              รูปที่ 19  3VT: Vascular ring : แสดง ductal arch (DA) ที่มีลักษณะปกติ เทเข้าสู่ descending aorta (DAo) ทางข้างซ้ายของ trachea (Tr) ในขณะที่ aortic arch (AoA) เทเข้า DAo ทางด้านขวาของ trachea ทำให้มี vascular ring ทอดอยู่ข้างหลังของ trachea (ปกติจะไม่มีเส้นเลือดทอดข้างหลังของ trachea)

              รูปที่ 20  3VT: Transposition of great artery (TGA) : แสดง aortic arch (AoA) เทเข้า DAo ทางด้านขวาของ trachea (Tr) คือข้างเดียวกับ superior vena cava (SVC) ไม่เห็น ductal arch (DA) ที่วิวนี้

              รูปที่ 21  TAA: Tetralogy of Fallot (TOF) with right aortic arch (AoA): แสดง AoA เทเข้า DAo ทางด้านขวาของ trachea (Tr) คือข้างเดียวกับ superior vena cava (SVC) ไม่เห็น ductal arch (DA) ที่วิวนี้

              รูปที่ 22  3VT: Truncus arteriosus (TA) : แสดงให้เห็นมีเพียง aortic arch (AoA) เทเข้า DAo โดยที่ไม่มี ductal arch (DA) ที่ควรจะเห็นในวิวนี้ (SVC = superior vena cava และ Tr = trachea)

              รูปที่ 23  3VT: Pulmonary stenosis : แสดง ductal arch (DA) ที่มี ขนาดเล็กมาก เมื่อเทียบกับ aortic arch (AoA) ที่มีขนาดค่อนข้างโต และมี persistent left superior vena cava (LSVC) (SVC = superior vena cava และ Tr = trachea)

              รูปที่ 24  3VT: Double outlet right ventricle (DORV) : แสดงแนวการเรียงตัวของเส้นเลือดทั้งสามผิดไป โดยที่ ascending aorta (AAo) อยู่ในตำแหน่งหน้าต่อ pulmonary artery (PA) ซึ่งมีขนาดของ PA เล็กกว่าปกติด้วย และมี persistent left superior vena cava (LSVC)

              รูปที่ 25  3VV: Transposition of great artery (TGA) : แสดงการเรียงลำดับผิดตำแหน่งโดยที่ ascending aorta (AAo) อยู่ด้านหน้าและซ้ายสุด และมี pulmonary artery (PA) ซึ่งมีขนาดเล็กอยูตรงกลาง (SVC = superior vena cava และ Tr = trachea)

              รูปที่ 26  3VV: Transposition of great artery (TGA) : แสดงการเรียงลำดับผิดตำแหน่งโดยที่ ascending aorta (AAo) อยู่ด้านหน้าและซ้ายสุด และมี pulmonary artery (PA) ซึ่งมีขนาดเล็กอยู่ตรงกลาง

              รูปที่ 27  3VT: Tetralogy of Fallot (TOF) : color flow mapping แสดง retrograde flow ใน ductal arch (DA) ซึ่งในรายนี้มี pulmonary stenosis (AoA = aortic arch, SVC = superior vena cava และ Tr = trachea)

              รูปที่ 28  3VT: Hypoplastic left heart syndrome (HLHS) : color flow mapping แสดง retrograde flow ใน aortic arch (AoA) ซึ่งมีขนาดเล็ก (DA = ductal arch และ Tr = trachea)

              พบว่าจากการทำการตรวจ 118 ราย ที่วินิจฉัยหัวใจพิการโดยกำเนิด มีอยู่ 12 รายซึ่งถูกตัดออกจากการนำมาวิเคราะห์เนื่องจากผลการวินิจฉัยขั้นสุดท้ายไม่แน่นอน พบว่า 75 รายมีความผิดปกติของ c3VV อย่างน้อยหนึ่งอย่าง โดย c3VV มีอัตราการตรวจพบความผิดปกติได้กว่าร้อยละ 70 ของทารกหัวใจพิการ ถ้าไม่รวมรายที่มีความผิดปกติเฉพาะ VSD จะมีอัตราการตรวจพบเพิ่มเป็นร้อยละ 89 ประมาณสองในสามของทารกที่เป็น tetralogy of Fallot (TOF) จะแสดงความผิดปกติของ c3VV โดยเฉพาะขนาดความไม่ได้สัดส่วนของ MPA กับ AAo ทุกรายของ transposition of great artery (TGA), aortic stenosis, pulmonary stenosis, truncus arteriosus และ ductal aneurysm แสดงความผิดปกติของ c3VV นอกจากนี้ความผิดปกติของ c3VV ยังสามารถเห็นได้ในเกือบทุกรายของ double-outlet right ventricles (DOVR), Ebstein’s anomaly และ tricuspid atresia ในบรรดาทารกหัวใจพิการทั้ง 75 รายที่มีความผิดปกติของ c3VV บางรายมีหลายความผิดปกติอยู่ เช่น DORV มักจะพบว่ามี anterior alignment ของ AAo มีขนาดผิดปกติ และบางครั้งมีการเรียงลำดับผิดในรายเดียวกันเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่น่าสนใจได้แก่ การเรียงลำดับผิดปกติของเส้นเลือดทั้งสามเส้นใน 3VV แต่จะเห็นเพียง 2 เส้นในวิว 3VT ซึ่งเกิดใน TGA ทั้ง 5 ราย นอกจากนั้นความผิดปกติของ c3VV ยังตรวจพบในทุกรายของ truncus arteriosus และหนึ่งในสามของทารกที่เป็น DORV

              หลักฐานความผิดปกติใน c3VV ที่นำไปสู่การวินิจฉัยโรคบ่อย ๆ ได้แก่

              • การหายไปของเส้นเลือดใหญ่หนึ่งเส้น ซึ่งอาจเป็น pulmonary หรือ aorta สามารถเห็นได้ง่ายจาก c3VV ซึ่งจะชวนให้สงสัยถึงภาวะ truncus arteriosus, TOF ที่มี pulmonary atresia หรือ pulmonary stenosis ที่เล็กมาก ๆ
              • การเรียงลำดับผิดไปจากปกติและเห็นได้ชัดทั้ง สามเส้นที่ใน 3VV แต่เห็นเพียงสองเส้นใน 3VT มีโอกาสสูงที่จะเป็น TGA ซึ่งใน 3VT มักจะเห็นเพียง aortic arch เนื่องจาก ductal arch จะออกมาจาก pulmonary trunk ที่อยูทางด้านหลังกว่าปกติ และอยู่ใต้ต่อ aortic arch
              • การพบแนวการเรียงตัวผิดปกติ โดยที่มี anterior AAo ในวิว 3VV พบได้แทบทุกรายของทารกที่เป็น TGA
              • การตรวจพบเส้นเลือดใหญ่ 4 เส้น มักจะเกิดจาก persistent left SVC เป็นความผิดปกติที่ตรวจได้ง่าย แต่มักจะส่อความผิดปกติรุนแรงซ่อนอยู่ด้วย(1;3;9)
              • โดยทั่วไปแล้วการตรวจพบ right aortic arch อาจจะยากในการวินิจฉัยก่อนคลอด แต่ 3VT จะช่วยให้การวินิจฉัยนี้ง่ายขึ้นมาก ซึ่งแสดงให้เห็นได้ด้วยความสัมพันธ์กับ trachea ก็จะสามารถให้การวินิจฉัยได้ ถ้าอยู่ข้างซ้ายของ trachea ซึ่งมักจะมีแนวทอดทำมุมกับ ductal arch เป็นรูปตัว V จะเป็น left aortic arch ที่พบเป็นปกติ แต่ในรายที่ aortic arch อยู่ทางขวาของ trachea หรือ right aortic arch จะมีแนวการทอดเชื่อมกับ ductal arch เป็นรูปตัว U โดยคล้อง trachea อาจจะเรียกว่าเป็น vascular ring ซึ่งการพบลักษณะนี้นับว่ามีประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัยความพิการโดยกำเนิดหลาย ๆ โรค(10-17) ผู้เขียนพบว่าประมาณหนึ่งในสามของ TOF มี right aortic arch และยังพบว่า vascular ring นี้สัมพันธ์กับ aberrant left subclavian artery
              • จากประสบการณ์ของทีมงานผู้เขียน บ่งชี้ว่าการตรวจ c3VV ช่วยให้การวินิจฉัยหัวใจพิการโดยกำเนิดได้มากขึ้น ในทางปฏิบัติผู้เขียนแนะนำว่า c3VV เป็นการสำรวจเส้นเลือดในส่วนบนของทรวงอกได้อย่างทั่วถึง เป็นไดนามิควิว ที่ให้ข้อมูลครบถ้วนมากกว่าเพียงการตรวจ 3VV หรือ 3VT เพียงอย่างเดียว ผู้เขียนแนะนำว่าในการตรวจคัดกรองด้วย 2D-US ถ้าเป็นไปได้ควรตรวจภาพตัดขวาง 3 ไดนามิคเพลนสำคัญ คือ
              • 4CV เช็คความปกติตามเกณฑ์มาตรฐาน
              • 5CV ซึ่งควรรวมการแสดง criss-cross action ในการแสดง outflow tract ทั้งซ้ายขวา และ aortic valve และ pulmonary valve
              • c3VV ซึ่งควรได้เห็นรูปแบบหรือความสัมพันธ์ของเส้นเลือดทั้งสามเส้นเหนือระดับหัวใจขึ้นไปจนเทเข้าสู่ descending aorta ซึ่งคือการรวมทั้ง 3VV, TDA, TAA และ 3VT เข้าด้วยกัน

              ข้อพึงระวัง ความผิดปกติเดี่ยว ๆ ในหัวใจ บางรายอาจไม่แสดงความผิดปกติของ c3VV ได้ โดยเฉพาะ isolated ventricular septal defect หรือ atrial septal defect เป็นต้น

              เอกสารอ้างอิง

              1) Yoo SJ, Lee YH, Kim ES, Ryu HM, Kim MY, Choi HK, et al. Three-vessel view of the fetal upper mediastinum: an easy means of detecting abnormalities of the ventricular outflow tracts and great arteries during obstetric screening. Ultrasound Obstet Gynecol 1997 Mar;9(3):173-82.

              2) Yagel S, Arbel R, Anteby EY, Raveh D, Achiron R. The three vessels and trachea view (3VT) in fetal cardiac scanning. Ultrasound Obstet Gynecol 2002 Oct;20(4):340-5.

              3) Yoo SJ, Lee YH, Cho KS, Kim DY. Sequential segmental approach to fetal congenital heart disease. Cardiol Young 1999 Jul;9(4):430-44.

              4) Yoo SJ, Lee YH, Cho KS. Abnormal three-vessel view on sonography: a clue to the diagnosis of congenital heart disease in the fetus. AJR Am J Roentgenol 1999 Mar;172(3):825-30.

              5) Vinals F, Heredia F, Giuliano A. The role of the three vessels and trachea view (3VT) in the diagnosis of congenital heart defects. Ultrasound Obstet Gynecol 2003 Oct;22(4):358-67.

              6) Tongsong T, Tongprasert F, Srisupundit K, Luewan S. The complete three-vessel view in prenatal detection of congenital heart defects. Prenat Diagn 2010 Jan;30(1):23-9.

              7) Yagel S, Cohen SM, Achiron R. Examination of the fetal heart by five short-axis views: a proposed screening method for comprehensive cardiac evaluation. Ultrasound Obstet Gynecol 2001 May;17(5):367-9.

              8) Moon MH, Cho JY, Park EJ, Min JY, Kim JA, Jung SI, et al. Three-vessel view of the fetal heart: in utero development of the great vessels. Prenat Diagn 2007 Feb;27(2):158-63.

              9) Vinals F, Ascenzo R, Poblete P, Comas C, Vargas G, Giuliano A. Simple approach to prenatal diagnosis of transposition of the great arteries. Ultrasound Obstet Gynecol 2006 Jul;28(1):22-5.

              10) Achiron R, Rotstein Z, Heggesh J, Bronshtein M, Zimand S, Lipitz S, et al. Anomalies of the fetal aortic arch: a novel sonographic approach to in-utero diagnosis. Ultrasound Obstet Gynecol 2002 Dec;20(6):553-7.

              11) Berg C, Bender F, Soukup M, Geipel A, xt-Fliedner R, Breuer J, et al. Right aortic arch detected in fetal life. Ultrasound Obstet Gynecol 2006 Dec;28(7):882-9.

              12) Bronshtein M, Lorber A, Berant M, Auslander R, Zimmer EZ. Sonographic diagnosis of fetal vascular rings in early pregnancy. Am J Cardiol 1998 Jan 1;81(1):101-3.

              13) Chaoui R, Schneider MB, Kalache KD. Right aortic arch with vascular ring and aberrant left subclavian artery: prenatal diagnosis assisted by three-dimensional power Doppler ultrasound. Ultrasound Obstet Gynecol 2003 Dec;22(6):661-3.

              14) Gardiner HM. Mind the gap! What we don’t know about right aortic arches and aberrant branches. Ultrasound Obstet Gynecol 2006 Dec;28(7):868-9.

              15) Patel CR, Lane JR, Spector ML, Smith PC. Fetal echocardiographic diagnosis of vascular rings. J Ultrasound Med 2006 Feb;25(2):251-7.

              16) Yoo SJ, Min JY, Lee YH, Roman K, Jaeggi E, Smallhorn J. Fetal sonographic diagnosis of aortic arch anomalies. Ultrasound Obstet Gynecol 2003 Nov;22(5):535-46.

              17) Zidere V, Tsapakis EG, Huggon IC, Allan LD. Right aortic arch in the fetus. Ultrasound Obstet Gynecol 2006 Dec;28(7):876-81.

              Read More

              วิวหัวใจห้าห้อง : Five-Chamber View

              ในบทนี้จะเน้นถึงการตรวจเส้นเลือด LVOT / RVOT (left / right ventricular outflow tract) ซึ่งเป็นเพลนสำคัญที่ AIUM แนะนำให้ตรวจ(1) (รูปที่ 1)

              Five-chamber view หมายถึงวิวที่แสดงให้เห็นหัวใจทั้งสี่ห้องและรวมถึงช่องที่ห้า คือ ventricular outflow tract / ascending aorta แต่ในที่นี้จะเน้นทางออกของหัวใจทั้งสองข้าง ลิ้นหลอดเลือดใหญ่ พร้อมทั้งเส้นเลือดใหญ่ส่วนต้นที่ออกจากหัวใจ มี 2 เส้น ได้แก่ pulmonary artery และ aorta

              รูปที่ 6-1  ภาพแสดงวิวมาตรฐานในการตรวจหัวใจทารกในครรภ์ (fetal echocardiography) : เน้น five-chamber view (5CV) Ao; descending aorta, Asc Ao; ascending aorta, LA; left atrium, LV; left ventricle, PA; pulmonary artery, RA; right atrium, RV; right ventricle; and Tra; trachea (ที่มา : AIUM practice guideline for the performance of fetal echocardiography. J Ultrasound Med 2011 Jan;30(1):127-36.)

              วิวสำคัญที่ต้องการตรวจ(1)

              LVOT (ascending aorta)

              เริ่มต้นจาก 4 chamber view ให้ หมุนหัวตรวจไปทางด้านศีรษะเด็ก โดยเอียงไปหาไหล่ข้างขวา(2) จะเริ่มเห็น long axis view ของ proximal aorta ให้สังเกตว่า ผนังด้านหน้าของ aorta จะต่อเนื่องกันไปกับ interventricular septum ส่วนผนังด้านหลังก็จะต่อเนื่องกันไปกับ anterior leaflet ของ mitral valve ให้วัดขนาดของหลอดเลือดในระดับที่เห็น valve นี้ ซึ่ง aorta จะเล็กกว่า pulmonary เล็กน้อย การตรวจด้วยคลื่นเสียง Doppler จะช่วยประเมินการทำงานของ valve ถ้าวาง sample volume ระดับใต้ต่อ valve ใช้ตรวจหา aortic insufficiency แต่ถ้าเหนือต่อ valve จะบอกภาวะ aortic stenosis ได้ดี ร่วมกับการใช้ color Doppler อาจเห็นลักษณะของรูปคลื่นเสียงที่ผิดปกติได้ และสามารถนำมาใช้ในการตรวจภาวะ arrhythmia ได้อีกด้วย โดยการเปิด sample volume ให้กว้างโดยอยู่ระหว่าง mitral และ aortic valves จะตรวจการไหลเวียนของเลือดที่เข้าและออกจาก left ventricle ได้ ลักษณะคลื่นเสียงที่ผ่าน mitral valve จะบอกถึงจังหวะของ atrium ในขณะที่คลื่นเสียงที่ผ่าน aortic valve จะบอกถึงการตอบสนองของ ventricle ต่อคลื่นไฟฟ้าที่ผ่านจาก sinoatrial (SA) node มายัง atrioventricular (AV) node (รูปที่ 6-2)

              รูปที่ 2  เทคนิคการการตรวจหา 5CV (left ventricular outflow tract) จาก 4CV ที่ปรับให้แนว interventricular septum ขนานกับแนวราบไว้แล้ว แสดงการหมุน (rotate) หัวตรวจด้านที่ชี้ไปทางด้านหลังของทารกให้เฉียงขึ้นไปทางศีรษะหรือหัวไหล่ของทารก

              สรุป

              • ผนังด้านหน้าต่อเนื่องไปจาก interventricular septum
              • ผนังด้านหลังต่อเนื่องไปกับ anterior leaflet ของ mitral valve
              • ดู interventricular septum ที่ต่อกับ aorta ถ้าไม่ต่อเนื่องกัน แสดงว่ามี ventricular septal defect ชนิด subaortic
              • Pulse Doppler ใช้ประเมินการทำงาน ควรตรวจที่ตำแหน่งเหนือและใต้ต่อ valve
              • ในรายที่สงสัย arrhythmia ให้ตรวจด้วย pulse Doppler โดยวาง sample volume คร่อมระหว่าง aortic valve และ mitral valve

              RVOT (main pulmonary artery)

              เริ่มต้นจาก 4 chamber view ให้ หมุนหัวตรวจไปทางด้านศีรษะเด็ก โดยเอียงไปหาไหล่ข้างขวาสูงต่อเลยไปจาก LVOT จะเห็น pulmonary artery พุ่งขึ้นไปด้านบนซ้าย(2) ออกมาจาก right ventricle ไขว้กับ aorta เรียกการไขว้กันนี้ว่า criss-cross การวัดขนาดของหลอดเลือดให้ทำในระดับที่เห็น pulmonic valve ซึ่งค่าจะสัมพันธ์กับอายุครรภ์ การตรวจด้วยคลื่นเสียง Doppler จะช่วยประเมินการทำงานของ valve ได้ (รูปที่ 3, 4)

              รูปที่ 3  เทคนิคการการตรวจหา right ventricular outflow tract จาก left ventricular outflow tract แสดงการเอียง (tilt / angulate) หัวตรวจขึ้นไปทางด้านศีรษะทารกทารก

              รูปที่ 4  เทคนิคการการตรวจแสดงกลับไปมา (criss-cross) ในการแสดงภาพที่เป็นแบบฉบับของ 5CV ระหว่าง left ventricular outflow tract / ascending aorta (รูปขวา) และ right ventricular outflow tract / pulmonary artery (รูปซ้าย)

              สรุป

              ผนังของ pulmonary artery จะต่อเนื่องไปจาก right ventricle

              Pulse Doppler ใช้ประเมินการทำงาน ควรตรวจที่ตำแหน่งเหนือและใต้กว่า valve

              เทคนิคการตรวจ LVOT / RVOT

              ส่วนประกอบสำคัญของเทคนิคในการตรวจ(2)

              1. ตรวจหาทิศทางของหัวใจทารก (fetal situs)
              2. ตรวจหาตำแหน่งของ four chamber view
              3. ตรวจหา five chamber view เพื่อดูเส้นเลือดที่ออกจาก left ventricle (left ventricular outflow tract) โดยการเอียงหัวตรวจหรือหมุนหัวตรวจด้านที่ชิดกับผู้ตรวจไปทางศีรษะทารก
              4. ตรวจหา right ventricular outflow tract (RVOT) เพื่อดูเส้นเลือด pulmonary artery ทอดออกจาก right ventricle โดยการเอียง (tilt) หัวตรวจมาทางด้านหน้าของทารก

              เคล็ดลับ:

              สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์สูงย่อมสามารถหมุนปรับหัวตรวจจาก 4CV เป็น 5CV ได้ง่าย ปรับไปหาวิวที่ต้องการตรวจได้โดยไม่ต้องใช้ทฤษฎีใด ๆ แต่อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่กำลังฝึกฝนเพื่อมีความชำนาญควรยึดปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างมีระบบ ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงแนวทางการปฏิบัติดังกล่าว(2) (รูปที่ 5)

              รูปที่ 5  เทคนิคการการตรวจหา 5CV จาก 4CV โดย sweeping โดยการเอียงขึ้นไปทางศีรษะเด็ก (หรือเลื่อนขึ้นเล็กน้อยในระนาบตัดขวางทรวงอก) ซึ่งในที่นี้มิได้มีการปรับ 4CV ให้ interventricular septum ขนานกับแนวราบ (ซึ่งอาจทำไม่ได้ในบางกรณี) สามารถแสดง left และ right ventricular outflow tract ได้เช่นกัน แต่จะไม่เห็นแนวของ left outflow tract, aortic root และ ascending aorta ต่อเนื่องกันเป็นแนวยาว การแสดงแนวต่อเนื่อง (continuity) ของผนังกั้นแยกซ้ายขวาที่ระดับ outflow tract จึงไม่สมบูรณ์ในภาพเดียวกัน

              • จาก 4CV ปรับให้เป็น 4CV ที่สมบูรณ์ตามเกณฑ์ และเลื่อนหัวตรวจด้านข้าง (slide) อาจร่วมกับกดหัวตรวจด้านข้าง (rock) เพื่อให้ 4CV อยู่กลางจอ (keep center)
              • เทคนิคสำคัญในการหาวิวนี้ คือ จาก 4CV พยายาม slide / rock ปรับหัวตรวจ ซึ่งอาจต้องเลื่อนออกไปทางด้านข้างเพื่อดึงภาพเอาแนวของ interventricular septum ให้ขนานกับแนวราบ (ตั้งฉากกับลำเสียง) ถ้าเป็นไปได้ให้ทำขั้นตอนนี้ก่อนทุกครั้ง และดึงให้ภาพดังกล่าวมาอยู่กลางจอ
              • จากนั้นให้บิดหัวตรวจ (rotate) ให้ด้านที่ชี้ไปด้านหลังของทารกเคลื่อนขยับขึ้นไปทางด้านหัวไหล่ทารกประมาณ 30-40 องศา ในขณะบิดหัวตรวจนี้ พยายามรักษาภาพ left ventricle ไว้ในจอตลอดเวลา ขณะที่บิดจะเห็นแนว LVOT ทอดออกจาก left ventricle ที่ตำแหน่งด้านในของ crux ซึ่งถือเป็นการแสดง 5CV โดยช่องที่ 5 ก็คือ LVOT ที่กำลังทอดต่อเนื่องออกไปเป็น aortic root ปรับหัวตรวจเล็กน้อยให้เห็นแนวยาวอย่างต่อเนื่องของ aorta ซึ่งทอดยาวจากกลางหัวใจออกข้ามไปทางซีกขวา การบิดขยับนี้จะต้องจับหัวตรวจมั่นคงและเลื่อนในองศาเล็กมาก ๆ เนื่องจากหัวใจทารกมีขนาดเล็ก เอียงหัวตรวจเล็กน้อยก็มีผลกวาดไปหลายอวัยวะในทรวงอกได้ ปรับจนได้ภาพตามแบบฉบับของ 5CV
              • จากวิวนี้เอียงหัวตรวจไปทางด้านศีรษะทารก (ไม่ต้องเลื่อนหัวตรวจ) ก็จะเห็นแนว pulmonary trunk ออกมาจาก right ventricle ทอดไขว้ aortic root มาทางซีกซ้าย การเอียงนี้สามารถเอียงกลับไปมาให้เห็น aortic root และ pulmonary trunk (อยู่หน้า) กลับไปมา เรียกว่า criss-cross action (รูปที่ 6)
              • ในขณะหมุนปรับไปมานั้นให้สังเกตตำแหน่งของ ventricle ซ้ายไว้ตลอด ข้อนี้มีความสำคัญมาก

              รูปที่ 6  ภาพ color flow mapping แสดง criss-cross ทิศทางการไหลเวียนเลือดของ left ventricular outflow tract / ascending aorta (รูปซ้าย) และ right ventricular outflow tract / pulmonary artery (รูปขวา)

              วิวนี้จะให้ภาพซึ่งประกอบด้วย ventricle ซ้าย ส่วนต้นของ aortic arch บางส่วนของ ventricle ขวา และ atrium ซ้าย ส่วนของ aorta ในวิวนี้อาจจะแปรปรวนได้บ้าง

              วิวนี้มีประโยชน์ในการประเมินขนาดของ aorta และ interventricular septum ส่วน membranous portion ให้สังเกตว่าเส้นเลือดที่วิ่งออกจาก ventricle ซ้ายนี้เป็น aorta และ aortic arch ซึ่งถ้าปรับหัวตรวจเล็กน้อยจะเห็นแขนงของเส้นเลือดที่แตกไปเลี้ยงศีรษะ (brachiocephalic trunk, left common carotid และ left subclavian artery)

              วิวนี้ช่วยในการวินิจฉัยในหลายโรค ได้แก่ transposition of great arteries, tetralogy of Fallot และ truncus arteriosus ประมาณร้อยละ 85 ของหัวใจพิการโดยกำเนิด ตรวจพบจากการตรวจด้วย four-chamber view และ long-axis view(3) ในการตรวจวิวนี้แต่ละครั้งควรตั้งคำถามดังนี้(4)

              1. ความสัมพันธ์ของ aorta กับ pulmonary artery ปกติหรือไม่ ? (criss-cross relation)

              2. ขนาดของ aorta และ pulmonary artery แตกต่างกันหรือไม่ ?

              3. aorta และ pulmonary artery มีความสัมพันธ์ปกติกับ interventricular septum หรือไม่ ?

              การวิเคราะห์ great arteries

              1. ขนาด (size)

              โดยปกติขนาดของ pulmonary artery จะใหญ่กว่า aorta เล็กน้อย สามารถประเมินได้ด้วยตาเปล่าหรือวัดขนาดของเส้นเลือดก็ได้ ถ้าจะวัดขนาดต้องวัดในช่วง diastole ที่ระดับของ valve ในช่วงอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ขนาดจะยังไม่ต่างกัน แต่หลังอายุครรภ์ 16 สัปดาห์ pulmonary artery จะเริ่มใหญ่กว่า aorta เล็กน้อยไปจนถึงหลังคลอด ในกรณีที่ต้องการเปรียบเทียบขนาดให้แน่นอนอาจจะวัดเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นเลือดใหญ่ทั้งสองที่ระดับ annulus ของ valves เทียบกับค่าอ้างอิงมาตรฐานที่ศึกษากันมาก่อนแล้ว ซึ่งมีการศึกษาในคนไทยด้วย(5) (รูปที่ 6-7)

              รูปที่ 7  Aortic valve annulus: สังเกตจังหวะการคลายตัวของหัวใจ (รูปซ้าย) มีการปิดของ aortic valves ในขณะที่มีการบีบตัวจะมีการเปิดหมด โดยลิ้นแนบสนิทไปกับผนังหลอดเลือดจนเห็น outflow tract ต่อเนื่องไปกับ ascending aorta เป็นท่อเดียวกันโดยสมบูรณ์โดยไม่เห็น valve leaflets

                2. ตำแหน่ง (position)

                เลื่อนหัวตรวจจาก 4CV ไปทางด้านศีรษะทารก เส้นเลือดใหญ่อันแรกที่เห็น คือ aorta และ pulmonary artery ตามลำดับ โดย pulmonary trunk จะทอดข้าม aorta จะเห็นว่า pulmonary valve จะอยู่สูงไปทางด้านซ้ายของ aortic valve แต่เมื่อ aorta โค้งขึ้นเป็น aortic arch จะอยู่สูงกว่า ductal arch ที่แยกมาจาก pulmonary trunk

                3. โครงสร้าง

                จากภาพอัลตราซาวด์ที่ aorta จะมี valves บาง ๆ

                2 ข้าง ก่อนที่จะต่อไปเป็น ascending aorta และ aortic arch และจะแตกแขนงไปส่วนต่าง ๆ โดยแขนงแรกของ aorta คือ coronary artery ซึ่งมีขนาดเล็กมากทำให้ไม่ค่อยเห็นถ้าไม่ได้ตั้งใจจะหาจริง ๆ แต่แขนงแรกที่จะเห็นได้โดยง่าย คือ neck vessel ที่แยกขึ้นไปเลี้ยงส่วนคอ โดยจะเห็นตรงทางขึ้นเป็น arch แต่จะไม่เห็นใน transverse view ต่างจาก pulmonary artery ที่จะแตกแขนงเป็น right และ left pulmonary artery เพื่อเข้าไปยังปอดสองข้าง จะเห็นได้ใน transverse view และ arterial duct หรือ ductal arch จะยื่นต่อเนื่องไปจาก pulmonary artery เพื่อเปิดเข้า descending aorta ส่วนต้น ที่ต่อเนื่องจาก transverse aortic arch ซึ่งใน transverse view นี้ ส่วนใหญ่จะเห็นแต่ arterial duct และ right pulmonary artery แต่ left pulmonary artery จะไม่ค่อยเห็นยกเว้นใส่ color flow

                เมื่อเส้นเลือด aorta และ arterial duct มารวมกันและเข้าสู่ descending aorta จะเห็นเป็นรูปตัว “V” โดยมุมล่างของตัว V คือ descending aorta ที่บริเวณด้าน posterior ของทรวงอก ขายาวของตัว V คือ pulmonary trunk ส่วนขาสั้น คือ aorta

                • รายละเอียดในโครงสร้างที่ควรให้ความสำคัญ
                • aorta ขนาดเล็ก (atresia, tubular hypoplasia, coarctation)
                • pulmonary artery ขนาดเล็ก (TOF, PS, truncus arteriosus)
                • aorta และ pulmonary artery ออกขนานกัน (DORV, TGA)
                • เส้นเลือดเชื่อมต่อผิดปกติ (TAPVR, truncus arteriosus, TGA, interrupted arch, DORV, TOF)

                4. การทำงาน (function)

                Valve สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ แต่ในช่วง systole จะไม่เห็นเนื่องจากจะแนบไปกับผนังของ aorta ส่วนความเร็วของการไหลเวียน จะเพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ จาก 30 ซม./วินาที ที่อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ จะเพิ่มขึ้นถึง 1 ม./วินาที เมื่ออายุครรภ์ครบกำหนด โดยการไหลเวียนใน aorta จะเร็วกว่า pulmonary artery ดังนั้นในภาวะปกติ ไม่ควรเห็นการไหลย้อนกลับของเลือดที่เรียกว่า regurgitation ทิศทางการไหลเวียนของเส้นเลือดใหญ่ทั้งสองเส้นควรไปทางเดียวกัน คือ เข้าหา spine

                ข้อควรพิจารณา

                • Five-chamber view (5CV) : เป็นเพลนที่อยู่เหนือระดับ 4CV ขึ้นไปเล็กน้อย ช่องที่ห้าของหัวใจหมายถึง left ventricular outflow tract (LVOT) ซึ่งต่อเนื่องไปกับ aortic valves และ ascending aorta ส่วนของ LVOT เน้นส่วนที่อยู่ใต้ต่อ valve สำหรับ aortic root หรือ ascending aorta เป็นส่วนที่ต่อออกไปจาก valve ในเพลนนี้จะเห็นแอ่งหรือท่อทางออกปรากฏแทรกขึ้นระหว่าง atrioventricular valves ทั้งสองข้าง โดยกำเนิดจากทาง left ventricle มีทิศทางชี้ขึ้นและออกไปทางขวา
                • รายละเอียดในภาพ 2D ของ 5CV จะเริ่มต้นด้วยการเห็นแอ่งหรือท่อจาก left ventricle ขึ้นแทรกอยู่ระหว่าง atrium ทั้งสองข้าง จะเห็นหัวใจซีกซ้ายได้ชัดเจนกว่า สามารถเห็น pulmonary vein ได้ไม่ยาก สำหรับซีกขวาจะเห็นส่วนหน้าของ right ventricle ส่วน right atrium จะไม่แสดงให้เห็นเต็มที่ในเพลนนี้ แต่สามารถปรับให้เห็น superior vena cava ได้เช่นกัน การปิดเปิดของ tricuspid valves จะไม่เห็นชัดในเพลนนี้ แต่ mitral valves จะเห็นได้ดีกว่า ในขณะที่ left ventricle เห็นแทบทุกส่วน (inlet, trabecular, outflet) ส่วน descending aorta จะเห็นแทรกอยู่ระหว่าง left atrium กับกระดูกสันหลัง
                • 5CV ที่เกิดจากการ sweep หรือขยับ/เอียงหัวตรวจจาก 4CV ขึ้นไปทางศีรษะเด็กโดยไม่คำนึงว่า interventricular septum จะอยู่ในแนวราบหรือไม่ (ไม่คำนึงว่าเป็น apical หรือ transverse 4CV) มักจะเห็นช่องที่ 5 ส่วน LVOT ที่ไม่เป็นลำยาวที่ทอดออกจาก left ventricle อย่างสวยงามไปเป็น aorta กล่าวอีกนัยหนึ่งทำให้ได้ 5CV แต่อาจไม่ได้ Long axis view ของ LVOT / aortic root ดังนั้นถ้าเป็นไปได้หลังจากได้ 4CV ตามแบบฉบับแล้ว ควรเลื่อนและกด (slide/ rock) หัวตรวจที่หน้าท้องมารดาเพื่อจัดให้ลำเสียงตั้งฉากกับแนว interventricular septum เสียก่อน แล้วค่อยบิด (rotate) หัวตรวจทางด้านไหล่ขวาของทารกขึ้นไปทางศีรษะทารกเล็กน้อย จะเห็นแนวยาวของ ascending aorta ทอดยาวออกจาก LVOT
                • LV long-axis view : อาจจัดเป็น variation ของ 5CV ปรับบิดหัวตรวจจาก 5CV เล็กน้อยให้ตัดแนวเฉียงทรวงอกทารก หรือเห็นท่อ ascending aorta เป็นลำยาวต่อเนื่องจาก LVOT มากขึ้น ถ้าเริ่มต้นจาก apical 4CV อาจจะบิดไปราว 90 องศา วิวนี้จะเห็นหัวใจซีกซ้ายทุกส่วน inflow, outflow และ ascending aorta เพลนนี้เมื่อจัดลำเสียงให้ตั้งฉาก (หรือใกล้เคียง) กับผนัง ascending aorta จะทำให้การประเมิน subarterial VSD ได้ดีกว่า 5CV ปกติ
                • Criss-cross action: การเอียงหัวตรวจ (tilt) จาก 5CV มาด้านหน้าของทารกและเอียงหัวตรวจกลับไปมาเพื่อแสดง RVOT / pulmonary artery และ LVOT / aorta ดังกล่าวข้างต้นนั้น สามารถแสดงกลับไปกลับมาได้เพียงด้วยการเอียงหัวตรวจเพียงเล็กน้อย โดยไม่ต้องเคลื่อนขยับหัวตรวจไปที่อื่นเลย และจะแสดงได้ดีเมื่อมีการหมุน (rotate) interventricular septum ให้ขนานกับแนวราบ
                • ความต่อเนื่องของแนวแยกซ้ายขวา: ส่วนสำคัญที่สุดที่จะต้องวิเคราะห์ในเพลนนี้คือ LVOT, aortic valves และ aortic root ซึ่งสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาคือความต่อเนื่องของแนว interventricular septum ที่ LVOT ต่อไปยัง aortic root เพื่อที่จะเห็นความต่อเนื่องดังกล่าวได้ดี ควรปรับหัวตรวจแสดงวิว left ventricular long-axis โดยให้ลำเสียงตั้งฉากกับแนวผนัง ascending aorta จะช่วยในการวินิจฉัย subarterial ventricular septal defect และ overriding aorta ได้ดี(6;7)
                • ทิศทางของ ascending aorta: สำรวจแนวทิศทางของ aortic root จะออกไปทางขวา ทอดข้ามแนว interventricular septum ซึ่งเป็นแนวกลางของหัวใจ แต่ถ้าทิศทางค่อนไปทางขนานกับ interventricular septum จะพบได้บ่อยขึ้นในรายที่เป็น transposition of great arteries (TGA) ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญกับแนวแกนของทางออกนี้ด้วย(8)
                • การปิด/เปิดของลิ้นหัวใจ aortic valves : สำรวจการปิดเปิดลิ้นหัวใจ สังเกตให้เห็นว่าลิ้นปิดในช่วง diastole และเปิดโล่งในช่วง systole ชี้ให้เห็นว่าลิ้นปิดเปิดได้ดี เหมือนกับลิ้นหายไปในช่วง systole เพราะลิ้นแนบไปผนัง aorta และนับเป็นเพลนที่ประเมินการขัดขวางการไหลเวียนเลือดออกจาก left ventricle ได้ดี
                • color flow mapping และ pulse Doppler มีประโยชน์มากในเพลนนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าปรับให้เป็น apical view ได้ เป็นเพลนที่สามารถประเมินทั้ง inflow และ outflow ได้ในเวลาเดียวกัน และประเมินการทำงานของหัวใจ (cardiac performance) โดยการคำนวณหาค่า Tei index ของหัวใจซีกซ้ายได้ด้วย ในการตรวจ pulse doppler สามารถวาง sampling gate ให้กว้างพอที่จะครอบคลุมทั้ง diastolic inflow ที่ผ่าน mitral valves และ systolic outflow ที่ผ่านทาง aorta ซึ่งโดยทั่วไป sampling gate ที่ใช้อยู่ประมาณ 5-10 มม. นอกจากนี้จะสามารถทำให้ประเมิน arrhythmia ได้ดีด้วย เนื่องจาก a wave ซึ่งจะบ่งบอก atrial rate และ V wave ซึ่งบอกถึง ventricular rate จะปรากฏให้เห็นใน tracing เดียวกัน(9) color flow mapping จะช่วยการวินิจฉัย subarterial VSD ได้ดีมากโดยเฉพาะเมื่อปรับหัวตรวจให้เป็นแบบ left ventricular long-axis มากขึ้น

                เคล็ดลับ:

                • ควรจำภาพกายวิภาคปกติทั้ง 5 ระดับให้แม่น
                • four-chamber view ที่เริ่มต้นต้องชัดเจนก่อน
                • ในการฝึกเบื้องต้นให้คงสายตาไว้ที่ left ventricle แล้วสังเกต ascending aorta ที่ทอดออกเป็นท่อนสั้น ๆ หรือกลม เพราะยังไม่ตัดตามยาว แล้วขณะเอียงหัวตรวจขึ้นไปนั้นให้จ้องจับ aorta ไว้ตลอดแนวตั้งแต่เริ่มต้นออกจาก left ventricle ในระดับที่ 2 ไปจนกระทั่งระดับที่ 4-5 ซึ่งจะเปลี่ยนจากภาพตัดขวางเส้นเลือดกลมเป็นท่อน ยาวออกเป็น aortic arch พยายามจับตาดูให้ตลอดแนว ในตอนแรกยังไม่ต้องสนใจ pulmonary trunk หลังจากเข้าใจแนวทิศทางของ aorta แล้ว ให้กลับไปตั้งต้นระดับที่ 1-5 ใหม่ โดยเปลี่ยนสายตามมาจับที่ pulmonary trunk ในระดับที่ 3 ซึ่งทอดออกมาจาก right ventricle และจะเป็นแนวยาวออกมา สังเกตการแยกเป็นซ้ายและขวา เลื่อนขึ้นไปเล็กน้อย (ระดับที่ 4) จะเห็นทอดยาวเป็น ductal arch ซึ่งเทเข้าสู่ descending aorta
                • ฝึกจับตาดูการทอดเส้นเลือดใหญ่ทีละเส้น (aorta และ pulmonary trunk) ให้เห็นตลอดแนว ด้วยการฝึก sweep หลาย ๆ ครั้ง
                • การไขว้กันของเส้นเลือดทั้งสองเป็นความสัมพันธ์ปกติที่ช่วยแยกความพิการได้จำนวนมาก

                ตัวอย่างความผิดปกติของหัวใจ

                รูปที่ 8 ถึงรูปที่ 28 แสดงตัวอย่างของภาพอัลตราซาวด์ของหัวใจทารกผิดปกติที่แสดงให้เห็นในวิว 5CV

                รูปที่ 8  5CV: Truncus arteriosus (TA) เส้นเลือดใหญ่ทอดออกจากหัวใจในตำแหน่งตรงกลาง เส้นเลือด main pulmonary artery (PA) แยกจากส่วนต้นของ trunk ในตำแหน่งใกล้กับ truncal valve (สังเกตการแตกแขนงซ้ายขวาของ pulmonary artery), (RV = right ventricle)

                รูปที่ 9  5CV: Truncus arteriosus (TA) Color flow mapping แสดงเส้นเลือดใหญ่ทอดออกจากหัวใจในตำแหน่งตรงกลาง เส้นเลือด main pulmonary artery (PA) แยกจากส่วนต้นของ trunk ในตำแหน่งใกล้กับ truncal valve (รายเดียวกับรูป 6-8), (RV = right ventricle)

                รูปที่ 10  Double outlet of right ventricle (DORV) แสดงตำแหน่งที่เส้นเลือดใหญ่ทอดออกจากหัวใจ ทั้ง pulmonary artery (PA) และ ascending aorta (AAo) ออกจาก right ventricle(RV)

                รูปที่ 11  5CV: Transposition of great arteries (TGA), ascending aorta (AAo) และ pulmonary artery (PA) ออกจากหัวใจขนานกัน สลับข้างกัน ไม่ไขว้กันเหมือนปกติ (RV = right ventricle)

                รูปที่ 12  5CV: Double outlet of right ventricle (DORV) แสดงตำแหน่งที่เส้นเลือดใหญ่ทอดออกจากหัวใจ ทั้ง pulmonary artery (PA) และ ascending aorta (AAo) ออกจาก right ventricle(RV) สังเกต ventricular septal defect(VSD) และแนวแกนหัวใจผิดปกติ (mesocardia)

                รูปที่ 13  5CV: Truncus arteriosus (TA) เส้นเลือดใหญ่ทอดออกจากหัวใจ เส้นเดียวในตำแหน่งตรงกลาง คร่อม interventricular septum(IVS) (วิวนี้ไม่เห็นการแตกแขนงของ pulmonary artery จาก trunk)(VSD = ventricular septal defect)

                รูปที่ 14  5CV: Truncus arteriosus (TA) เส้นเลือดใหญ่ทอดออกจากหัวใจ เส้นเดียวในตำแหน่งตรงกลาง คร่อม interventricular septum(IVS) หรือ overriding trunk (วิวนี้ไม่เห็นการแตกแขนงของ pulmonary artery จาก trunk) (VSD = ventricular septal defect)

                รูปที่ 15  5CV: Tetralogy of fallot (TOF) แสดง ascending aorta (AAo) ทอดออกจากหัวใจโดยคร่อม interventricular septum(IVS) หรือ overriding aorta (RV = right ventricle)

                รูปที่ 16  5CV: Double outlet of right ventricle (DORV) เส้นเลือดใหญ่ (ascending aorta, AAo) ทอดออกจากหัวใจซีกขวา right ventricle(RV)(วิวนี้ไม่เห็น pulmonary artery)

                รูปที่ 17  5CV: Transposition of great arteries (TGA) ทิศทางของเส้นเลือดใหญ่ที่ออกจาก left ventricle(LV) เกือบขนานกับแนว interventricular septum(IVS) ไม่ข้ามเส้นไปทางซีกขวาของหัวใจ เป็นอาการแสดงที่ควรสงสัยความผิดปกติของหลอดเลือดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง TGA หรือ Tetralogy of Fallot(TOF) บางราย (PA = pulmonary artery)

                รูปที่ 18  5CV: Transposition of great arteries (TGA) ascending aorta (AAo) และ pulmonary artery (PA) ออกจากหัวใจขนานกัน สลับข้างกัน ไม่ไขว้กันเหมือนปกติ (RV = right ventricle)

                รูปที่ 19  5CV: Mitral stenosis (MS) หัวใจโต แนวแกนหัวใจผิดปกติ left atrium(LA) โตมาก left ventricle(LV) ขนาดเล็ก ascending aorta (AAo) ขนาดเล็ก (จากภาพ real-time มีการบีบตัวปกติ) (RV = right ventricle)

                รูปที่ 20  5CV: Post-stenostic dilatation แสดง color flow mapping ใน pulmonary stenosis (PS) และมีการขยายตัวของหลอดเลือดในตำแหน่งที่ถัดจากลิ้นที่ตีบเล็กน้อย และมีลักษณะของ turbulence flow (RV = right ventricle, PA = pulmonary artery)

                รูปที่ 21  5CV: color flow mapping แสดง pulmonary regurgitation (PR) และ severe tricuspid regurgitation(TR), right atrium(RA) โตมากจนทำให้หัวใจทั้งหมดโต และแนวแกนหัวใจผิดปกติไป (ทารกรายนี้เป็น pulmonary stenosis / regurgitation) (PA = pulmonary artery, RV = right ventricle)

                รูปที่ 22  5CV: color flow mapping แสดง pulmonary regurgitation(PR) ในจังหวะ diastole (ทารกรายนี้เป็น pulmonary atresia) (RV = right ventricle, PA = pulmonary artery)

                รูปที่ 23  5CV: Tetralogy of Fallot (TOF) หัวใจโตเล็กน้อย แนวแกนค่อนมาแนวกลาง color flow mapping แสดงทิศทางการไหลเวียนของเลือดใน aorta (Ao) ที่มีความโค้งเป็นรูป question mark ซึ่งพบได้บ่อยใน TOF (LV = left ventricle, RV = right ventricle)

                รูปที่ 24  5CV: Tetralogy of fallot แสดง ascending aorta (AAo) ทอดออกจากหัวใจโดยคร่อม interventricular septum(IVS) หรือ overriding aorta ร่วมกับมี ventricular septal defect(VSD)

                รูปที่ 25  5CV: Transposition of great arteries (TGA) ทิศทางของเส้นเลือดใหญ่ที่ออกจาก left ventricle(LV) เกือบขนานกับแนว interventricular septum(IVS) ไม่ข้ามเส้นไปทางซีกขวาของหัวใจ และมีการแตกแขนงเป็น left / right pulmonary artery (PA)

                รูปที่ 26  5CV: Transposition of great arteries (TGA) ทิศทางของเส้นเลือดใหญ่ที่ออกจาก left ventricle(LV) เกือบขนานกับแนว interventricular septum(IVS) มีความโค้งแต่ไม่ข้ามเส้นไปทางซีกขวาของหัวใจ (RV = right ventricle, PA = pulmonary artery)

                รูปที่ 27  5CV: Tetralogy of Fallot (TOF) color flow mapping แสดง ascending aorta (AAo) ทอดคร่อม interventricular septum(IVS) หรือ overriding aorta(OAo) โดยมีลักษณะรูปตัว Y ตามแบบฉบับของ TOF (LV = left ventricle, RV = right ventricle)

                รูปที่ 28  5CV: color flow mapping แสดง ventricular septal defect (VSD) ในตำแหน่งใกล้กับ aortic valves มีเลือดไหลจากด้านซ้าย (สีแดง) และข้างขวา (สีน้ำเงิน) เข้าสู่ ascending aorta ในจังหวะ systole (LV = left ventricle, IVS = interventricular septum)

                เอกสารอ้างอิง

                1) AIUM practice guideline for the performance of fetal echocardiography. J Ultrasound Med 2011 Jan;30(1):127-36.

                2) DeVore GR. Fetal echocardiography : Gold Plus edition. 2010.

                3) Bromley B, Estroff JA, Sanders SP, Parad R, Roberts D, Frigoletto FD, Jr., et al. Fetal echocardiography: accuracy and limitations in a population at high and low risk for heart defects. Am J Obstet Gynecol 1992 May;166(5):1473-81.

                4) McGahan JP. Sonography of the fetal heart: findings on the four-chamber view. AJR Am J Roentgenol 1991 Mar;156(3):547-53.

                5) Tongprasert F, Srisupundit K, Luewan S, Sirichotiyakul S, Piyamongkol W, Wanapirak C, et al. Reference ranges of fetal aortic and pulmonary valve diameter derived by STIC from 14 to 40 weeks of gestation. Prenat Diagn 2011 May;31(5):439-45.

                6) Barboza JM, Dajani NK, Glenn LG, Angtuaco TL. Prenatal diagnosis of congenital cardiac anomalies: a practical approach using two basic views. Radiographics 2002 Sep;22(5):1125-37.

                7) Allan LD. A practical approach to fetal heart scanning. Semin Perinatol 2000 Oct;24(5):324-30.

                8) De GB. [Prenatal diagnosis of transposition of great vessels]. Arch Mal Coeur Vaiss 2004 May;97(5):580-1.

                9) Steinfeld L, Rappaport HL, Rossbach HC, Martinez E. Diagnosis of fetal arrhythmias using echocardiographic and Doppler techniques. J Am Coll Cardiol 1986 Dec;8(6):1425-33.

                Read More

                วิวหัวใจสี่ห้อง : Four-Chamber View

                การตรวจ Four-chamber view

                การตรวจอัลตราซาวด์หัวใจทารกในครรภ์ด้วย four-chamber view (4CV) (รูปที่ 5-1) เป็นการประเมินเบื้องต้น สำหรับผู้เริ่มต้น ควรฝึกให้ชำนาญ เพราะ view นี้สามารถบอกความผิดปกติของหัวใจได้ร้อยละ 40-50 ถือว่า 4CV เป็นวิวที่ต้องตรวจเสมอในการตรวจอัลตราซาวด์คัดกรองความผิดปกติของทารกในครรภ์ หรือเป็นการตรวจขั้นพื้นฐานที่สุดที่ต้องทำทุกครั้ง(1) ถ้ามีปัญหาด้านเทคนิค ตรวจไม่ได้จริง ๆ ให้บันทึกระบุไว้

                รูปที่ 5-1 วิวมาตรฐานในการตรวจหัวใจทารกในครรภ์ (fetal echocardiography) : แสดง four-chamber view (4CV) (Ao; descending aorta, Asc Ao; ascending aorta, LA; left atrium, LV; left ventricle, PA; pulmonary artery, RA; right atrium, RV; right ventricle; and Tra; trachea) (ที่มา : AIUM practice guideline for the performance of fetal echocardiography. J Ultrasound Med 2011 Jan;30(1):127-36.)

                เทคนิคการตรวจ

                เพื่อให้เกิดความเคยชินในทางปฏิบัติต่อการตรวจอย่างเป็นระบบ ควรเริ่มด้วยการตรวจการเรียงลำดับซ้ายขวาของอวัยวะภายใน (situs) เป็นกิจวัตรไปด้วย ในขั้นตอนนี้จึงขอกล่าวถึงการตรวจ 4CV ที่รวมการตรวจวิวตัดขวางของท้องส่วนบน (transverse plane of upper abdomen และการตรวจ situs ไปด้วย ดังนี้

                วิวตัดขวางท้องส่วนบน

                กระเพาะอาหารอยู่ทางซีกซ้าย (ใต้ต่อหัวใจ) ตับกินพื้นที่ส่วนใหญ่ สังเกต umbilical vein และ portal sinus ซึ่งเลี้ยวไปทางด้านขวา กระเพาะอาหารที่อยู่ทางด้านขวา หรืออยู่ค่อนข้างตรงกลางแทนที่จะชิดซ้ายเหมือนปกติจะพบได้บ่อยใน heterotaxy เป็นวิวที่ควรสังเกตตำแหน่งของ inferior vena cava และ aorta ด้วย โดย aorta อยู่ค่อนไปทางด้านซ้ายของกระดูกสันหลัง และชิดด้านหลังกว่า inferior vena cava ซึ่งอยู่หน้าและค่อนไปทางด้านขวาของกระดูกสันหลัง การใส่ color flow mapping จะช่วยให้สำรวจระบบหลอดเลือดได้ดีขึ้น โดยเฉพาะ hepatic vein, ductus venosus, inferior vena cava และ aorta เมื่อเลื่อนระดับสูงขึ้นไปหาหัวใจ inferior vena cava จะทอดขยับไปข้างหน้าเพื่อเทเข้า right atrium และขนาดโตขึ้น

                การตรวจตำแหน่งซ้ายขวา (situs) ของอวัยวะ

                มีหลายเทคนิค ตัวอย่างง่าย ๆ ที่ผู้เขียนใช้บ่อย ๆ ในการกำหนดข้างซ้ายขวาของทารก ตามเทคนิคของ Cordes(2) ซึ่งทำได้ดังนี้

                1. ปรับหัวตรวจแสดงทารกในแนวยาวตามลำตัวบนจอสกรีน โดยให้ศีรษะทารกอยู่ทางขวามือของจอ (ขวามือของผู้ตรวจ)
                2. หมุนหัวตรวจ 90 องศา ตามเข็มนาฬิกา จนได้เป็นภาพตัดขวาง
                3. แปลผลซ้ายขวาจากภาพตัดขวางดังกล่าว : โดยภาพที่ปรากฏบนสกรีนจะมีศีรษะอยู่ลึกเข้าไปในจอ และทิศทางของเท้าทารกจะยื่นออกมานอกจอ ชี้เข้าหาผู้ตรวจ (caudocranial perspective)

                จาก Cordes technique สามารถนำมาวาดเป็น diagram ดังแสดงในรูปที่ 2,3

                รูปที่ 2  เทคนิคของ Cordes ในการตรวจตำแหน่งซ้ายขวา (situs) ของหัวใจ 1) ปรับหัวตรวจให้ได้ภาพตามแนวยาวของลำตัวทารก โดยให้ศีรษะทารกอยู่ทางขวามือของจอ 2) หมุนหัวตรวจตามเข็มนาฬิกา 90 องศา 3) ภาพอัลตราซาวด์จะแสดงวิวตัดขวางของลำตัวทารกโดยที่ศีรษะอยู่ลึกในจอ และเท้าอยู่ด้านนอก (caudocranial perspective) ภาพที่เห็นนี้จึงแสดงภาวะ dextrocardia (หัวใจอยู่ซีกขวา ชี้ยอดไปทางขวา)

                รูปที่ 3  รูปวาดแสดงผลลัพธ์ของการตรวจตามเทคนิคของ Cordes ได้ภาพอัลตราซาวด์วิวตัดขวางของลำตัวทารกโดยที่ศีรษะอยู่ลึกในจอ และเท้าอยู่ด้านนอก (caudocranial perspective) ข) ไดอะแกรมภาพตัดขวางของลำตัวทารกที่เห็นจากภาพอัลตราซาวด์ แสดงความสัมพันธ์ของของ spine (S) กับตำแหน่งซ้าย (L) – ขวา (R) ซึ่งแปรไปตามสภาพการนอนคว่ำหงายของทารก (ที่มา: Özkutlu et al. Prenatal echocardiographic diagnosis of cardiac right/left axis and malpositions according to standardized Cordes technique. Anadolu Kardiyol Derg. 2011; 11: 131-6)

                นอกจากนี้ ในปี 2002 Bronshtein M(3) ได้ประยุกต์เทคนิคของ Cordes ให้ง่ายขึ้น โดยให้สมมติว่ามือขวาของผู้ตรวจเป็นทารก ถ้ามือและคว่ำมือลงให้เสมือนว่าทารกอยู่ในท่านอนคว่ำ เอาหลังขึ้นมาด้านบน และถ้าหงายมือขึ้นให้เสมือนว่าทารกนอนหงาย เอาหลังลงด้านล่าง โดยที่ทิศทางของนิ้วโป้งจะชี้ไปทางด้านซ้ายเสมอ ดังนั้นไม่ว่าทารกอยู่ในแนวไหนก็สามารถระบุตำแหน่งขวาซ้ายที่ถูกต้องได้ ดังรูปที่ 4

                รูปที่ 4  เทคนิคของ Bronshtein ในการตรวจตำแหน่งซ้ายขวา (situs) ของหัวใจ (ที่มา: Bronshtein M, Gover A, Zimmer EZ. Sonographic definition of the fetal situs. Obstet Gynecol 2002 Jun;99(6):1129-30.)

                การตรวจ 4CV ทำโดยการวางหัวตรวจให้อยู่ในแนวตัดขวางกับลำตัวของทารก ระดับทรวงอก สูงกว่าแนวกะบังลม หรือสูงกว่าวิววัดเส้นรอบท้องทารกเล็กน้อย 4CV อยู่ในระนาบตัดขวางของทรวงอก เกือบเป็นแนวราบ ซึ่งต่างกับในผู้ใหญ่ที่ยอดหัวใจชี้ลงมากกว่าตอนอยู่ในครรภ์จะเห็นลักษณะ ที่ประกอบด้วย หัวใจ ในภาพตัดขวางที่เห็น 4 ห้อง คือ atrium ขวา-ซ้าย และ ventricle ขวา-ซ้าย ล้อมรอบด้วยปอดทั้ง 2 ข้าง อยู่ในขอบเขตของกระดูกซี่โครง (ribs)

                การขยับหัวตรวจ (transducer หรือ probe) ให้ลำเสียงตั้งฉากกับจุดที่สนใจ

                ตัวอย่างการทำ rocking หัวตรวจ จากภาพตั้งต้นที่มีหัวใจในระดับ 4CV ทำการปรับ rocking หัวตรวจจนทำให้ภาพบนสกรีน เปลี่ยนจากที่ interventricular septum อยู่ในแนวชี้ขนานกับลำเสียงกลายมาอยู่ในแนวตั้งฉากกับลำเสียง ดังรูปที่ 5

                รูปที่ 5  เทคนิคในการปรับหัวตรวจด้วยการกดข้างหนึ่งลงไป (rocking) เพื่อให้ลำเสียงไปตั้งฉากกับส่วนที่เราสนใจ ซึ่งในภาพนี้เป็นการเปลี่ยนการแสดงภาพจาก apical 4CV เป็น transverse 4CV ซึ่งทำให้ลำเสียงตั้งฉากกับ interventricular septum เพื่อทำการประเมิน interventricular septum ให้ชัดเจนขึ้น

                หลักการ

                ในวิวนี้มีสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญและต้องตรวจหาทุกครั้งที่ทำการตรวจอัลตราซาวด์ ได้แก่ การประเมินขนาด ตำแหน่ง โครงสร้าง และการทำงาน(4-7)

                ขนาด

                หัวใจทารกจะมีขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของช่องทรวงอก ซึ่งอาจประเมินได้ด้วยตาเปล่า หรือ เส้นรอบวงประมาณครึ่งหนึ่งของเส้นรอบวงของทรวงอก

                การวัดอัตราส่วนระหว่างหัวใจกับทรวงอก (cardio-thoracic ratio) โดยการวัด การวัดค่าเส้นรอบวงหัวใจเทียบกับทรวงอก ซึ่งโดยปกติควรมีอัตราส่วนประมาณ 0.55+0.05(7) หรือ วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง

                การวัดเส้นรอบวง(6,8,9)

                คือ การวัดเส้นรอบวงของหัวใจ cardiac circumference) เป็นการวัดความยาวเส้นรอบวงที่ลากตามแนวขอบนอกของหัวใจ ในจังหวะที่หัวใจคลายตัวเต็มที่ (end diastole) นิยมเปรียบเทียบกับเส้นรอบวงของทรวงอก (thoracic circumference) แล้วนำมาคำนวณค่าสัดส่วนเส้นรอบวงของหัวใจต่อทรวงอก (C/T ratio) ดังรูปที่ 5-6 ค่าอัตราส่วนของเส้นรอบวงค่อนข้างคงที่ คือ 0.45 ที่ 17 สัปดาห์ และ 0.50 เมื่อครรภ์ครบกำหนด(10)

                การวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง(11)

                คือ การวัดเส้นผ่าศูนย์กลางหัวใจ diameter) โดยวัดจากขอบนอกสุดของหัวใจ ส่วนที่กว้างที่สุด ซึ่งอยู่ใกล้ระดับ atrioventricular valves (AV valves) ในจังหวะคลายตัวเต็มที่ (end diastole) และเส้นผ่าศูนย์กลางแนวขวางของทรวงอก โดยวัดจากขอบนอกของกระดูกซี่โครงระดับทรวงอก นำมาคำนวณค่าสัดส่วนเส้นผ่าศูนย์กลางหัวใจต่อทรวงอก (CTR) ดังรูปที่ 6 มีรายงานการศึกษาค่า CTR ปกติของช่วงอายุครรภ์ 11-20 สัปดาห์ของทารกไทย(11) พบว่าอัตราส่วนเส้นผ่าศูนย์กลางเพิ่มขึ้นตามอายุครรภ์ จึงควรเทียบกับค่ามาตรฐานของแต่ละอายุครรภ์ ซึ่งอาจใช้เป็นค่าเปรียบเทียบในการประเมินทารกไทย

                การตรวจ CTR มีความสำคัญในการวินิจฉัยโรคฮีโมโกลบินบาร์ท ซึ่งพบได้บ่อยมากในประเทศไทย เพื่อความสะดวกในการประเมิน ผู้เขียนนิยมวัด CTR ซึ่งค่าที่เกิน 0.5 ในขณะกึ่งการตั้งครรภ์จะบ่งชี้ความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคดังกล่าว (ในครรภ์ที่มีความเสี่ยง)(12)

                เทคนิคการวัด CTR (รูปที่ 6)

                รูปที่ 6  เทคนิคในการวัดขนาดของหัวใจ ก) วิวหัวใจทารกระดับ 4CV ขณะ end-diastole, ข) ลากเส้นสมมุติในแนวหน้าหลัง จากกึ่งกลางกระดูกสันหลังไปยังกระดูก sternum ค) ลากเส้นผ่าศูนย์กลางทรวงอก วัดจากขอบนอกของกระดูกซี่โครงข้างหนึ่งไปอีกข้างหนึ่ง ที่ตำแหน่งกว้างที่สุด ซึ่งควรตั้งฉากกับเส้นแนวหน้าหลัง ง) ลากเส้นแนวแกนของหัวใจ ซึ่งลากผ่านแนว interventricular septum จ) ลากเส้นผ่าศูนย์กลางหัวใจจากขอบด้านนอกด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ตรงตำแหน่งที่กว้างที่สุด และตั้งฉากกับแนวแกนของหัวใจ ฉ) ขอบเขตหัวใจสำหรับการวัดเส้นรอบวง หรือพื้นที่ของหัวใจ

                • ปรับภาพ 2D real-time ให้ได้ 4CV ที่เหมาะสม (เห็นแนวซี่โครงตลอดแนว เห็นตำแหน่ง pulmonary veins เป็นต้น) เลือกตอนที่ทารกสงบ ช่วงที่ไม่มีการหายใจ
                • เลื่อนเฟรมใน cine loop จนได้ตำแหน่ง end-diastole ซึ่งสังเกตว่าขนาด ventricles ทั้งสองข้างมีขนาดใหญ่ที่สุด ให้ freeze เฟรมดังกล่าวไว้
                • ลากเส้นแนวหน้า-หลังของทรวงอก เป็นแนวอ้างอิงไว้ก่อน โดยลากจากจุดกึ่งกลางของกระดูกสันหลัง ไปยังจุดกึ่งกลางของกระดูก sternum
                • ลากเส้นตัดขวางทรวงอกในตำแหน่งที่ทรวงอกกว้างที่สุด ลากให้ตั้งฉากกับเส้นแนวหน้า-หลังที่ลากไว้ก่อน เส้นที่ได้นี้ถือเป็นเส้นผ่าศูนย์กลางทรวงอก (thoracic diameter)
                • ลากเส้นแนว interventricular septum โดยให้เส้นนี้แบ่งครึ่ง septum อย่างสมมาตร
                • ลากเส้นผ่านหัวใจตั้งฉากกับเส้นแนว interventricular septum ดังกล่าวข้างต้น โดยลากผ่านระดับที่หัวใจมีความกว้างมากที่สุด ซึ่งมักจะอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กับ AV valves (มักจะต่ำกว่า AV valves เล็กน้อย) ถือเป็นเส้นผ่าศูนย์กลางหัวใจ
                • หาค่า CTR จากอัตราส่วนของเส้นผ่าศูนย์กลางของหัวใจกับเส้นผ่าศูนย์กลางทรวงอก

                ความผิดปกติ

                หัวใจมีขนาดใหญ่

                • ต้องแยกก่อนว่าหัวใจโตทั้งหมด (global enlarge-ment) หรือ โตเฉพาะส่วน เช่น atrium หรือ ventricle ข้างใดข้างหนึ่ง
                • ถ้าโตทั้งหมด ตรวจให้แน่ใจว่าหัวใจโตจริง หรือทรวงอกมีขนาดเล็ก ทำให้ CTR มากผิดปกติ เช่น ในภาวะน้ำคร่ำน้อย(oligohydramnios) ความผิดปกติของระบบกระดูกและโครงสร้าง (skeletal dysplasia) เป็นต้น

                Global enlargement

                ภาวะหัวใจล้มเหลว หรือ hypervolemia ที่มีการเพิ่มขึ้นของ stroke volume และ/หรือ cardiac output ทำให้หัวใจโตทั่ว ๆ อาจมีสาเหตุจาก ภาวะซีดของทารกในครรภ์, sacrococygeal teratoma, atriovenous malformations เป็นต้น หรือ อาจเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่ได้ (cardiomyopathy) เช่น ในภาวะ myocarditis, cardiomyopathy ก็เป็นได้

                Right atrium enlargement

                • พบบ่อยในรายที่มี tricuspid regurgitation, tricuspid dysplasia หรือ Ebstein’s anomaly อาจเกิดจากความผิดปกตินอกหัวใจ เช่น ภาวะที่ไม่มี ductus venosus ทำให้ umbilical vein มาเปิดเข้า atrium ขวาโดยตรง
                • Idiopathic dilatation of right atrial appendage พบได้น้อย โดยที่ tricuspid valve จะปกติ ไม่มี regurgitation มีแต่ atrial appendage ที่ใหญ่ขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ

                Left atrial enlargement

                • คล้ายกับ tricuspid valve คือ จะสัมพันธ์กับ mitral regurgitation, mitral dysplasia อาจเกิดจาก aortic valve stenosis/atresia
                • Absence of ductus venosus ก็ทำให้ left atrium โตได้เช่นกัน หรือ จาก coronary artery fistula ทำให้เลือดไหลเข้า left atrium โดยตรง

                Right ventricular enlargement

                • สัมพันธ์กับ severe pulmonary regurgitation ใน absent pulmonic valve syndrome
                • ภาวะปริมาณเลือดมากเกินในหัวใจข้างขวา จาก coarctation of aorta หรือ total anomalous pulmonary venous drainage

                Left ventricular enlargement

                • มักเกิดใน aortic stenosis ชนิดรุนแรง หรือ severe aortic regurgitation จาก aorto-left ventricular tunnel ซึ่งพบได้น้อย

                หัวใจมีขนาดเล็ก

                ส่วนใหญ่เกิดจากโดนกดเบียดจากสิ่งรอบข้างในทรวงอก เช่น tracheal/laryngeal atresia หรือ lung mass เป็นต้น

                ตำแหน่ง

                • ยอดของหัวใจจะชี้ไปทางซ้าย
                • แนวของ apex เอียงทำมุม 45 องศา กับแนวกลางของทรวงอก
                • ventricle ขวาจะอยู่ชิดกับด้านหน้าของทรวงอก
                • atrium ซ้ายอยู่ชิด descending aorta มากที่สุด เป็นความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดไม่ว่าจะเป็นโรคใด ๆ
                • 4CV ของหัวใจเป็นวิวที่เกือบจะเป็นวิวตัดขวางของทรวงอกที่ระดับซี่โครงคู่ที่ 4

                Cardiac Axis

                Cardiac Axis : แนวแกนของหัวใจถือแนวเส้นตาม interventricular septum ซึ่งเมื่อเทียบเคียงกับแนวหน้าหลังของทรวงอก (เส้นที่ลากจากกระดูกสันหลังไปยังกระดูก sternum จะทำมุมประมาณ 45 องศา(13,14) ไปทางด้านซ้าย แต่อาจแปรปรวน +20 องศา

                เทคนิคการตรวจแนวแกนหัวใจ (รูปที่ 7)

                รูปที่ 7 แสดงตัวอย่างการวัดแนวแกนหัวใจ

                • ตรวจหา 4CV ที่เหมาะสมก่อน
                • ลากเส้นแนวหน้า-หลัง โดยลากจากจุดกึ่งกลางของกระดูกสันหลังไปยังจุดกึ่งกลางของกระดูก sternum
                • ลากเส้นผ่านกลาง interventrcular septum ตัดกับเส้นแนวหน้า-หลัง มุมที่ทั้งสองเส้นตัดกันคือ ค่าแนวแกนของหัวใจ หรือ cardiac axis

                การสังเกตแนวแกนหัวใจจะช่วยคัดกรองหรือสงสัยความผิดปกติของหัวใจได้มาก แกนที่เอียงไปทางซ้ายมากผิดปกติพบได้บ่อยในความพิการของ conotruncus ส่วนแกนที่โน้มเข้าหาแนวกลางตัว หรือค่อนขวามากขึ้นจะพบได้บ่อยในกรณี heterotaxy, double outlet of right ventricle (DORV), atrioventricular septal defect (AVSD) หรือ common atrium เป็นต้น(15) ในกรณี dextrocardia แนวแกนจะชี้ไปทางข้างขวา ในกรณีไส้เลื่อนกระบังลมทางซีกซ้าย หัวใจมักจะถูกเบียดไปทางซีกขวา แต่แนวแกนหัวใจยังคงชี้ไปทางด้านซ้ายตามปกติ

                ความผิดปกติ

                • Dextrocardia : หัวใจอยู่ทางด้านขวาของทรวงอก และ apex ชี้ไปทางขวา อาจเกิดจาก ความผิดปกติกลับด้านของหัวใจทั้งหมด (situs inversus) หรือ complex congenital heart disease
                • Mesocardia : หัวใจอยู่ตรงกลางของทรวงอก และ apex ชี้ไปทางแนวกลาง สัมพันธ์กับ complex congenital heart disease, hypoplasia ของปอดด้านขวา
                • Dextroposition : หัวใจอยู่ทางด้านขวาของทรวงอก แต่ apex ชี้ไปทางซ้าย มักจะเกิดจากการมีก้อนในทรวงอกซีกซ้ายกดเบียด ซึ่งที่พบได้บ่อย ๆ คือ diaphragmatic hernia หรือ congenital cystic adenomatoid malformation (CCAM) ทางด้านซ้าย
                • ในรายที่ levocardia มากกว่า 57 องศา จะพบความพิการของหัวใจแต่กำเนิดได้ร้อยละ 44 เช่น conotruncal heart diaphragmatic hernia หรือ congenital cystic adenomatoid malformation (CCAM) ทางด้านขวา

                โครงสร้าง

                เทคนิคในการบอกตำแหน่งของช่องหัวใจของทารกในครรภ์ (รูปที่ 8,9)

                • หาตำแหน่งกระดูกสันหลัง
                • descending aorta จะวางอยู่บนตำแหน่งกระดูกสันหลัง
                • sternum จะอยู่ตรงข้ามกับตำแหน่งกระดูกสันหลัง
                • atrium ซ้ายอยู่ใกล้ aorta
                • ventricle ขวาอยู่ด้านหน้า หรือใต้ต่อ sternum

                รูปที่ 8  วิว 4CV ที่เป็นแบบฉบับของทารกปกติ (DAo : descending aorta; FFo : flap of foraen ovale; LA : Left atrium; LV : left ventricle, MB : moderator band, PV : pulmonary vein; RA : right atrium; RV : right ventricle; TV : tricuspid valve)

                รูปที่ 9  วิว 4CV ที่เป็นแบบฉบับ ซึ่งลำเสียงตั้งฉากกับ interventricular septum และ flap of foramen ovale สังเกตว่าการประเมิน Atrioventricular (AV) valves จะทำได้ไม่ดีในวิวนี้

                รายละเอียดของโครงสร้างที่ควรสังเกต

                • ขนาดของ atrium และ ventricle ทั้ง 2 ข้างสมมาตรกันหรือไม่ (สาเหตุของช่องไม่สมมาตร : Coarctation or interruption of the aorta, Valvular atresia, stenosis or regurgitation, Tetralogy of Fallot, Premature closure of the ductus or foramen ovale, Endocardial fibroelastosis, Aneurysms and diverticula, Parachute mitral valve, Trisomy 18)
                • ความหนาของกล้ามเนื้อ ventricle ทั้ง 2 ข้างเท่ากัน
                • ความหนาของกล้ามเนื้อ ventricle เท่ากับความหนาของ interventricular septum
                • atrial septum, ventricular septum และ atrioventricular valve จะมาพบกันบริเวณกึ่งกลางของหัวใจ
                • atrial septum จะมีรูเปิดคือ foramen ovale ซึ่งจะเปิดเข้า left atrium ต้องดูการเปิด/ปิดของ flap
                • ventricular septum จะต้องไม่มีรูเปิดและต่อเนื่องโดยสมบูรณ์
                • ลิ้นหัวใจหนาผิดปกติ เข้มผิดปกติ ตีบ ติดต่ำ
                • ลิ้นหัวใจใหญ่เกินไป (atrioventricular septal defect)
                • left atrium : Atrial septal aneurysm, premitral diaphragm
                • right atrium : Eustachian valve, Chiari net, Thebesian valve
                • ตำแหน่งของ ventricles (รูปลักษณ์ต่างกัน), จำนวนช่อง ventricles / atrium : AVSD, single ventricle, common atrium, hypoplasia, aplasia, tricuspid atresia, double inlets
                • ช่องมากเกินไป : chiari network, Eustachian valve, septal aneurysm, pericardial cyst
                • หัวใจโต : ทั้งหัวใจ (cardiomyopathies, high-output state) บางช่อง กล้ามเนื้อหัวใจหนา ช่องขยายเฉพาะที่ right atrium โต (Ebstein’s anomaly, Uhl’s anomaly, pulmonary atresia with regurgitation, ps with intact septum, premature closure of foramen ovale)
                • Echogenicity ผิดปกติ
                • Pericardial effusion

                โครงสร้างของหัวใจที่เห็นจากวิวนี้

                หัวใจห้องบน (atrium) และล่าง (ventricle)

                • มีขนาดของช่องว่างภายในและความหนาของกล้ามเนื้อหัวใจพอ ๆ กัน ทั้งด้านซ้ายและขวา ซึ่งสามารถประเมินด้วยตาเปล่า หรือ การวัดค่าที่แน่นอนได้
                • ค่าที่ใช้วัดเพื่อประเมินได้แก่ ความกว้างและยาวของ atrium และ ventricle ความหนาของผนังกล้ามเนื้อหัวใจ และผนังกั้นห้อง
                • การวัดความกว้างและความยาวของ atrium (atrium width, length) (รูปที่ 5-10)
                  • ให้วัดในจังหวะบีบตัวเต็มที่ (end ventricular systole)
                  • ความกว้าง : วัดจาก ขอบในของผนังด้านข้างมายัง atrial septum ในแนวกลาง
                  • ความยาว : วัดจาก แนว AV valves ไปยังผนังด้านหลังของ atrium
                • การวัดความกว้างและความยาวของ Ventricle (Ventricular width, length) (รูปที่ 11)
                  • ให้วัดในจังหวะคลายตัวเต็มที่ (end ventricular diastole)
                  • ความกว้าง : วัดจากขอบในของผนังด้านข้างมายัง interventricular septum ในแนวกลาง
                  • ความยาว : วัดจาก แนว AV valves ไปยังผนังด้านหน้าของ ventricle

                รูปที่ 10  ตัวอย่างการวัดความกว้างและความยาวของ atrium (atrium width, length)

                รูปที่ 11  ตัวอย่างการวัดความกว้างและความยาวของ ventricle (ventricular width, length)

                การวัดความกว้างและยาวของ atrium และ ventricle มีผู้ทำการศึกษาไว้มาก แต่ส่วนใหญ่ใช้ค่าเฉลี่ยจากการศึกษาของ Tan J. และคณะ(16) ในปี 1992 ในประเทศไทยก็มีการศึกษาของ Chanthasenanont A(17) ในปี 2008 ศึกษาค่าเฉลี่ยของ cardiac diameter ในช่วง 16-39 สัปดาห์ เช่นกัน

                • อัตราส่วนความยาวของ atrium กับ ventricle (atrial-to-ventricular length, AVL ratio) คำนวณจากสูตร (รูปที่ 12)
                • AVL ratio = (heart length – ventricular length) / ventricular length
                • ความยาวทั้งหมดของหัวใจ (heart length) เป็นความยาวตามแนว interventricular septum จากขอบนอกของ epicardium ที่ apex มายังขอบในของ atrial endocardium ส่วนความยาวของ ventricle (ventricular length) เป็นความยาวตามแนว interventricular septum จากขอบนอกของ epicardium ที่ apex มายัง crux ตำแหน่งที่ยึดของ mitral valve
                • จากการศึกษาของ Machlitt A(18) และคณะ ในปี 2004 พบว่า ค่าเฉลี่ยของ AVL ratio คือ 0.47 (0.35-0.63) ซึ่งคงที่ตลอดการตั้งครรภ์ ในรายที่เป็น atriventricular septal defect (AVSD) ค่าจะมากกว่า 0.6 (detection rate 86.2% โดยที่ false positive rate 5.7%)
                • การวัดความหนาของผนังกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างและ ความหนาของผนังกั้นหัวใจห้องล่าง (ventri-cular wall width และ interventricular septal width)(16) (รูปที่ 13)
                  • ให้วัดในจังหวะคลายตัวเต็มที่ (end ventricular diastole) และวัดในแนวเดียวกับ AV valves หรือแนวที่หนาที่สุด
                  • Ventricular wall width : วัดจากขอบนอกมายังขอบในของผนัง
                  • Interventricular septal width : วัดจากขอบด้านหนึ่งมายังขอบอีกด้านหนึ่ง

                รูปที่ 12  ตัวอย่างการวัดความยาวของหัวใจทั้งหมดและventricle (heart length และ ventricular length)

                รูปที่ 13  ตัวอย่างการวัดความหนาของผนังกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างและผนังกั้นหัวใจห้องล่าง (ventricular wall width และ Interventricular septal width)

                การศึกษาในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ทำการศึกษาและสร้างค่าอ้างอิงมาตรฐานของสัดส่วนต่าง ๆ ของหัวใจทารกในครรภ์ (จากจำนวน 657 ราย จากอายุครรภ์ 15-37 สัปดาห์) สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการประเมินขนาดส่วนต่าง ๆ ของหัวใจโดยเฉพาะในรายที่สงสัยมีความผิดปกติ ซึ่งสามารถช่วยในการวินิจฉัยได้(19)

                ผนังกั้นหัวใจห้องบน (atrial septum)

                จะเห็น 3 ส่วนหลัก ส่วนแรกคือผนังกั้นที่ยื่นออกมาเล็กน้อยจากผนังด้านหลัง อยู่ไกลจาก apex มากที่สุด ส่วนที่สอง คือ foramen ovale และส่วนที่สาม คือ ส่วนของ primum septum ที่หลงเหลืออยู่ โดยอยู่ระหว่าง foramen ovale กับ crux

                Foramen ovale

                • อยู่ตรงกลางของ atrial septum จะปิดในช่วงท้ายของ atrial systole ก่อนเปิดให้เลือดจาก right atrium ไหลเข้าไปใน left atrium ได้
                • ถ้ามองจาก lateral view จะดูเล็กกว่า apical view
                • ขนาดของรูเปิดจะเท่ากับเส้นผ่าศูนย์กลางของ aorta ในแต่ละอายุครรภ์
                • ข้อควรระวัง : ถ้าเอียงหัวตรวจด้านซ้ายลงไปทางท้องเล็กน้อยจะเห็น coronary sinus แทรกระหว่าง left ventricle และ left atrium ซึ่งอาจทำให้บางคนเข้าใจผิดเป็น atrial septal defect ได้

                Atrioventricular (AV) valves

                ลิ้นหัวใจกั้นระหว่าง atrium ไปยัง ventricle ห้องขวา คือ Tricuspid valve และหัวใจห้องซ้าย คือ Mitral valve การประเมินจะยากเนื่องจากมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา และ valve มีขนาดเล็ก ดังนั้นควรสังเกตขณะที่ตรวจและควรย้อนดูภาพจาก cine loop ให้มีการเคลื่อนไหวที่ช้าลงจะทำให้ง่ายขึ้น สิ่งที่ต้องประเมินได้แก่

                • การเปิดปิดของ valve ควรขยับได้อย่างอิสระ
                • รูเปิดของ valve ควรมีขนาดใกล้เคียงกันทั้งสองข้าง แต่รูเปิดของ tricuspid valve อาจใหญ่กว่าเล็กน้อย โดยเฉพาะช่วงใกล้คลอด สามารถดูได้ด้วยตาเปล่า หรือ วัดขนาดของรูเปิดจากภาพ ที่ระดับ valve ring ในจังหวะที่มีการคลายตัว

                Crux

                คือ จุดที่ผนังกั้นหัวใจห้องบนและหัองล่างมาเจอกัน และเป็นที่เกาะของ AV valves

                • ตำแหน่งที่ tricuspid valve เกาะจะอยู่ต่ำหรือใกล้กับ apex มากกว่า mitral valve เล็กน้อย
                • ตำแหน่งเกาะของ valves ที่เหลื่อมกัน จะเห็นเป็นช่องว่างหรือ “off-setting” แต่ไม่ใช่ septal defect

                ผนังกั้นห้องหัวใจล่าง (ventricular septum)

                อยู่ตรงกลางระหว่างหัวใจทั้ง 2 ห้อง เห็นเป็นแนวยาวต่อเนื่องจาก apex มาถึง crux

                ลักษณะภายในช่องหัวใจ

                การแยก Right และ Left ventricle (รูปที่ 14)

                รูปที่ 14 วิว 4CV ขณะสิ้นสุดการคลายตัว (ก) และบีบตัว (ข) เต็มที่ สังเกตว่าตอนบีบตัว ขนาด ventricles ขนาดเล็ก และ atrium โป่งขยายเต็มที่

                  • ช่องว่างภายใน ventricle ข้างขวาจะน้อยกว่าข้างซ้าย
                  • ข้างขวาจะ มี moderator band และ papillary muscle ที่ยึด tricuspid valve อยู่ แต่ข้างซ้ายไม่มี
                  • mitral valve จะยึดกับผนังโดยตรงอย่างเดียว ไม่มีกล้ามเนื้อคอยยึดทางด้านล่าง
                  • ข้างขวาอยู่ชิดกับผนังด้านหน้าของทรวงอก ค่อนไปทางขวา แต่ข้างซ้ายจะชี้ไปทางด้านหลังและอยู่ซ้ายกว่า

                  Descending aorta

                  • เห็นเป็นเส้นเลือดที่ถูกตัดแนวขวาง อยู่ทางด้านหลัง ของ mediastinum ค่อนมาทางด้านซ้ายของ spine และหลังต่อ atrium ซ้าย

                  การเปิดของ pulmonary vein ที่เข้าสู่หัวใจห้องบนซ้าย

                  • Upper และ Lower pulmonary vein ที่มาจากปอดทั้งสองข้าง จะเปิดเข้า atrium ซ้ายทางด้านหลังคนละฟาก และจะเห็นอยู่ 2 ข้างของ descending aorta

                  น้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ (pericardial effusion)

                  ตามขอบนอกของ ventricle จะเห็นเป็นแนวเส้นสีดำบาง ๆที่ขยับตามการบีบตัวของหัวใจ เป็นน้ำหล่อลื่นที่ฉาบอยู่เพื่อลดแรงเสียดทานในการบีบตัวของหัวใจ จะเห็นได้ชัดใน lateral view มากกว่า apical view ส่วนใหญ่จะหนาไม่เกิน 2 มิลลิเมตร(20;21)

                  การทำงาน

                  การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อหัวใจ จะบีบและคลายตัวด้วยความแรงและจังหวะที่เท่ากัน ถ้าใส่ color flow จะเห็นปริมาณเลือดที่เข้าไปในช่องหัวใจเท่า ๆ กันทั้งสองข้าง ในจังหวะบีบตัว ไม่มีการไหลย้อนของเลือดจาก ventricle เข้ามาใน atrium และเลือดจะไหลจาก atrium ด้านขวาไปซ้าย โดยจะเห็นแผ่นกั้น foramen ovale เปิดเข้าไปทางซ้าย

                  การทำงาน (Cardiac functon)

                  • แรงการบีบตัวของหัวใจเท่า ๆ กันทั้งสองข้าง และมีชีพจรสม่ำเสมอ
                  • atrioventricular valves จะปิดเมื่อหัวใจทารกบีบตัวแต่ละครั้ง เปิดปิดพร้อมกันทั้งสองข้าง

                  การบีบตัวของหัวใจ (contractility) ในการตรวจคัดกรองปกติมักจะอาศัยการสังเกตการบีบตัวของหัวใจที่สม่ำเสมอ และมีความแรงหรือการหดตัวอย่างเหมาะสม โดยอาศัยประสบการณ์ของผู้ตรวจเป็นหลัก อย่างไรก็ตามเมื่อต้องการประเมินการทำงานของหัวใจอย่างละเอียดจะต้องทำการวัดอย่างถูกหลัก(19,22) โดยการวัดความกว้างของช่อง ventricle ทั้งขวาและซ้าย ช่วง end-diastole ซึ่งเส้นผ่าศูนย์กลางหัวใจมีความกว้างมากที่สุด (end diastole diameter, EDD) และช่วง end-systole ซึ่งเป็นช่วงที่เส้นผ่าศูนย์กลางหัวใจมีความแคบมากที่สุด (end systole diameter, ESD) วัดจากขอบในของผนัง ventricle ส่วนที่กว้างสุดมาตั้งฉากกับแนว IVS ที่ขอบใน การลดลงของเส้นผ่าศูนย์กลางขณะบีบตัวเรียกว่า ventricular fraction shortening (FS) ซึ่งเป็นค่าที่คำนวณตามสูตรคือ (EDD – ESD) / EDD ซึ่งถ้าหัวใจทำงานปกติ ค่านี้ควรจะมากกว่าร้อยละ 28(22) การวัดโดยอาศัย M-mode เปรียบเทียบกันในขณะหัวใจบีบตัวและคลายตัวก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน โดยตัดเส้น M-mode ผ่านตำแหน่งกว้างที่สุดของหัวใจ แต่อย่างไรก็ตามการตรวจ M-mode ในกรณีนี้ทำได้ยากกว่า 2D real-time cine loop เนื่องจากไม่สะดวกเสมอไปในการปรับให้เส้น M-mode ตั้งฉากพอดีกับแนว IVS เพราะขึ้นกับท่าของทารกและการเคลื่อนไหว การทำ cardio-STIC มาใช้ทำให้วัดได้ง่ายและแม่นยำมากขึ้น(19) สามารถวัดได้ทั้ง M-mode และ 2D

                  จังหวะชีพจร (cardiac rhythm) : ในการคัดกรองปกติจะอาศัยการสังเกตความสม่ำเสมอของชีพจรจาก 2D real-time เป็นหลัก การตรวจให้ละเอียดอาจใช้ M-mode(5) และ pulsed Doppler(23) มาช่วย ทำให้วินิจฉัยการเต้นผิดจังหวะ (arrhythmia) ได้ดีขึ้น การประเมินอาศัยการดูความสัมพันธ์ระหว่างการบีบตัวของ atrium และ ventricle ว่าเหมาะสมหรือไม่ ในการประเมินด้วย M-mode จึงต้องให้แนวเส้น M-mode ตัดผ่านทั้ง atrium และ ventricle เพื่อจะได้บันทึกการหดรัดตัวของทั้งสองส่วนในเวลาเดียวกัน ในทารกที่ชีพจรปกติ การบีบตัวของ atrium จะเกิดนำหน้า ventricle และสม่ำเสมอ

                  ตัวอย่างความผิดปกติของหัวใจ

                  รูปที่ 15 ถึงรูปที่ 38 ตัวอย่างความผิดปกติของหัวใจที่ตรวจพบจาก 4CV

                  รูปที่ 15 4CV : Endocardial cushion defect (AVSD) ในจังหวะ systole แสดงการปิดของ atriovetnricular(AV) valves ซึ่งเป็นลิ้นชุดเดียวที่มีขนาดใหญ่ แนวลิ้นทั้งสองข้างเป็นแนวเดียวกัน ไม่มี off-set และแสดง atrial septal defect(ASD) และ ventricular septal defect(VSD)

                  รูปที่ 16 4CV : Endocardial cushion defect (AVSD) (รายเดียวกับรูปที่ 5-15) ในจังหวะ diastole แสดงการเปิดของ atriovetnricular(AV) valves ซึ่งเปิดโล่งไปไม่เห็น crux ตรงกลาง แสดง AV-canal ที่เชื่อมต่อเป็นช่องเดียวกัน สังเกตขอบคมเข้ม (bright border) ของ interventricular septum ตามแบบฉบับของ ventricular septal defect

                  รูปที่ 17  4CV : Endocardial cushion defect (AVSD) ในจังหวะ systole แสดงการปิดของ atriovetnricular (AV) valves ซึ่งเป็นลิ้นชุดเดียวที่มีขนาดใหญ่ แนวลิ้นทั้งสองข้างเป็นแนวเดียวกัน ไม่มี off-set และแสดง atrial septal defect(ASD) และ ventricular septal defect(VSD)

                  รูปที่ 18  4CV : Cardiomegaly ในทารกที่เป็นโรคฮีโมโกลบินบาร์ท ซึ่งขนาดหัวใจโตกินเนื้อที่ส่วนใหญ่ของทรวงอก แต่โครงสร้างที่ระดับ 4CV ปกติ สังเกตมีน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ (PE=pericardial effusion, LV= left ventricle, RA = right atrium)

                  รูปที่ 19  4CV: Double inlet หัวใจขนาดโตขึ้น ส่วนของ ventricles ทั้งสองข้างรวมกันเป็นช่องเดียว แต่มี atrioventricular(AV) valves แยกกันสองชุด โดยมี interatrial septum แยก right atrium(RA) และ left atrium(LA) (SV=single ventricle, PM=papillary muscle)

                  รูปที่ 20  4CV: Left heart hypoplasia หัวใจมี left axis deviation ขนาดช่อง ventricles ยังคงใกล้เคียงกันทั้งสองข้าง แต่ color flow mapping แสดงไม่มี high velocity flow ในซีกซ้ายเมื่อเทียบกับ flow ที่ปกติในซีกขวา (ในภาพ real-time พบการหดรัดตัวน้อยมากของ left ventricle,LV)

                  รูปที่ 21  4CV: color flow mapping แสดง holosystolic tricuspid regurgitation (TR) ในรายที่ทารกมี pulmonary stenosis (with intact interventricular septum) หัวใจห้อง left atrium โตขยายตามมา ทารกเริ่มมีภาวะบวมน้ำ ในภาพนี้ได้แสดงน้ำในช่องทรวงอกด้วย (RV=right ventricle)

                  รูปที่ 22  4CV: Ebstein’s anomaly หัวใจโตมาก right atrium(RA) โตเด่นมาก กินเนื้อที่ลึกลงมาใน right ventricle(RV) (atrialization) ลิ้น tricuspid (septal leaflet) อยู่ค่อนไปทางยอดหัวใจมากกว่าปกติ

                  รูปที่ 23  4CV: color flow mapping ในราย mitral atresia ซึ่งแสดงการไหลเวียนเลือดย้อนกลับจาก left atrium(LA) มายัง right atrium(RA) ผ่านทาง foramen ovale(FO) ที่ระดับใกล้ crux

                  รูปที่ 24  4CV: หัวใจโตผิดปกติและขนาดผิดสัดส่วนของหัวใจซีกขวาและซ้าย ซีกซ้ายมีขนาดเล็กมาก (ใน real-time มีการหดรัดตัวปกติดี) แต่ซีกขวามี hypertrophy ในรายที่ทารกเป็น aortic stenosis (AS) (ไม่ได้แสดงเส้นเลือดใหญ่ในวิวนี้) (LV=left ventricle, IVS=interventricular septum)

                  รูปที่ 25  4CV: หัวใจโตเล็กน้อย และขนาดผิดสัดส่วนของหัวใจซีกขวาและซ้าย right ventricle มีขนาดเล็กมาก (ใน real-time มีการหดรัดตัวน้อย) ทารกมีภาวะ tricuspid atresia สังเกต right atrium (RA) ก็มีขนาดโตขึ้น flap ของ foramen ovale (FFo) ตีเปิดไปใน left atrium มากกว่าปกติ (LV=left ventricle)

                  รูปที่ 26  4CV: left ventricle(LV) ฝ่อแทบไม่เห็นช่องว่างภายใน left atrium (LA) โตขึ้น มีแรงดันผลัก interatrial septum (AS) โป่งเข้าไปใน right atrium ทารกเป็น mitral atresia (รายเดียวกับรูปที่ 5-9)

                  รูปที่ 27  4CV: color flow mapping ที่ high-flow setting แสดง mitral regurgitation ในทารกที่เป็น hypoplastic left heart syndrome (ในภาพ real-time มีการหดรัดตัวของ left ventricle ไม่ดี) สังเกตมี echogenic endocardium(EE) ของ left ventrilce ซึ่งพบได้บ่อยใน hypoplastic left heart syndrome (RF=reversed flow, MV=mitral valve)

                  รูปที่ 28  4CV: color flow mapping แสดง holosystolic atrioventricular valve regurgitation ในทารกที่เป็น single ventricle (SV) ของทารกที่เป็น double inlet (RF=reversed flow)

                  รูปที่ 29  4CV: tricuspid valve (TV) หนาและเข้ม right ventricle (RV) ขนาดเล็กมาก มี ventricular septal defect (VSD) เชื่อมต่อกับซีกซ้าย ในทารกที่เป็น tricuspid atresia (ในภาพ real-time ไม่มีการปิดเปิดของ TV แต่มีการปิดเปิดปกติของ mitral valve,MV) flap ของ foramen ovale ตีเปิดไปไกลใน left atrium

                  รูปที่ 30  4CV: Single ventricle (SV) ของทารกที่เป็น double inlets พบมีการหนาตัวและขาวเข้มของ tricuspid valve(TV) มีทางเข้าสองทาง แต่ทางขวา (TV) ทำงานน้อยมาก เลือดใน ventricle มีแรงดันให้ TV โป่งกลับเข้ามาใน right atrium ทางหลักของเลือดไหลจาก right atrium เข้าสู่ left atrium และลง ventricle เป็นหลัก (MV=mitral valve)

                  รูปที่ 31  4CV ของทารกที่มี pulmonary stenosis มีเลือดไหลผ่านซีกขวาน้อย ช่อง right ventricle(RV) ขนาดเล็ก แต่มีการหนาตัว การปิดเปิดของ tricuspid valve เป็นปกติ(ในภาพ real-time)(RA=right atrium, LV=left ventricle)

                  รูปที่ 32  4CV แสดง right atrium ที่มีขนาดใหญ่มาก และ color flow mapping แสดง tricuspid regurgitation (TR) ที่รุนแรง ในราย tricuspid insufficiency ซึ่ง tricuspid vavle ติดในตำแหน่งปกติ และ right ventricle(RV) ก็มีขนาดปกติ (LV=left ventricle)

                  รูปที่ 33  4CV หัวใจโตมาก ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการโตผิดปกติของ right atrium แนวแกนหัวใจผิดปกติ (left axis deviation) และ color flow mapping แสดง tricuspid regurgitation (TR) ที่รุนแรง และหมุนวนอยู่ใน right atrium ทารกเป็น Ebstein’s anomaly ซึ่ง tricuspid valve (TV) ด้าน septal leaflet ติดต่ำกว่าปกติ (LV=left ventricle)

                  รูปที่ 34  4CV แสดง right atrium ที่มีขนาดใหญ่มาก และ color flow mapping แสดง tricuspid regurgitation(TR) ที่รุนแรง ในราย tricuspid insufficiency ซึ่ง tricuspid vavle ติดในตำแหน่งปกติ และ right ventricle(RV) ก็มีขนาดปกติ (LV=left ventricle)

                  รูปที่ 35  4CV แสดง atrioventricular(AV) canal (endocardial cushion defect) มี severe ventricular septal defect(VSD) และ common atrium(CA) (IVS=interventricular septum)

                  รูปที่ 36  4CV color flow mapping แสดง muscular ventricular septal defect (VSD) ที่ตำแหน่งใกล้ยอดหัวใจ ขนาดช่องหัวใจผิดสัดส่วน ซีกซ้ายมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับซีกขวา (IVS=interventricular septum, RV=right ventricle)

                  รูปที่ 37  4CV แสดง inlet ventricular septal defect (VSD) ที่เป็นแบบฉบับของ T-sign ขอบคมเข้มของ interventricular septum (IVS) (bright border) (FoF=flap foramen ovale)

                  รูปที่ 38  4CV ที่เป็นแบบฉบับของ endocardial cushion defect ในจังหวะ systole แสดงการปิดของ atrioventricular(AV) valves ซึ่งเป็นลิ้นชุดเดียวที่มีขนาดใหญ่ แนวลิ้นทั้งสองข้างเป็นแนวเดียวกัน ไม่มี off-set และแสดง atrial septal defect(ASD) และ ventricular septal defect(VSD) (IVS= interventricular septum)

                  เอกสารอ้างอิง

                  1) AIUM practice guideline for the performance of fetal echocardiography. J Ultrasound Med 2011 Jan;30(1):127-36.

                  2) Cordes TM, O’Leary PW, Seward JB, Hagler DJ. Distinguishing right from left: a standardized technique for fetal echocardiography. J Am Soc Echocardiogr 1994 Jan;7(1):47-53.

                  3) Bronshtein M, Gover A, Zimmer EZ. Sonographic definition of the fetal situs. Obstet Gynecol 2002 Jun;99(6):1129-30.

                  4) DeVore GR. Fetal echocardiography : Gold Plus edition. 2010.

                  5) Allan LD, Anderson RH, Sullivan ID, Campbell S, Holt DW, Tynan M. Evaluation of fetal arrhythmias by echocardiography. Br Heart J 1983 Sep;50(3):240-5.

                  6) Abuhamad A, Chaoui R. A practical guide to fetal echocardiography : normal and abnormal hearts. 2 ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2010.

                  7) Allan LD, Cook AC, Huggon IC. Fetal Echocardiography: A Practical Guide. London: Cambridge University Press; 2009.

                  8) Paladini D, Chita SK, Allan LD. Prenatal measurement of cardiothoracic ratio in evaluation of heart disease. Arch Dis Child 1990 Jan;65(1 Spec No):20-3.

                  9) Traisrisilp K, Tongprasert F, Srisupundit K, Luewan S, Tongsong T. Reference ranges for the fetal cardiac circumference derived by cardio-spatiotemporal image correlation from 14 to 40 weeks’ gestation. J Ultrasound Med 2011 Sep;30(9):1191-6.

                  10) Paladini D, Chita SK, Allan LD. Prenatal measurement of cardiothoracic ratio in evaluation of heart disease. Arch Dis Child 1990 Jan;65(1 Spec No):20-3.

                  11) Tongsong T, Tatiyapornkul T. Cardiothoracic ratio in the first half of pregnancy. J Clin Ultrasound 2004 May;32(4):186-9.

                  12) Tongsong T, Wanapirak C, Sirichotiyakul S, Chanprapaph P. Sonographic markers of hemoglobin Bart disease at midpregnancy. J Ultrasound Med 2004 Jan;23(1):49-55.

                  13) Smith RS, Comstock CH, Kirk JS, Lee W. Ultrasonographic left cardiac axis deviation: a marker for fetal anomalies. Obstet Gynecol 1995 Feb;85(2):187-91.

                  14) Comstock CH. Normal fetal heart axis and position. Obstet Gynecol 1987 Aug;70(2):255-9.

                  15) Jeanty P, Pilu G, Romero R. Fetal Echocardiography Part 1 : CD-ROM. 2001.

                  16) Tan J, Silverman NH, Hoffman JI, Villegas M, Schmidt KG. Cardiac dimensions determined by cross-sectional echocardiography in the normal human fetus from 18 weeks to term. Am J Cardiol 1992 Dec 1;70(18):1459-67.

                  17) Chanthasenanont A, Somprasit C, Pongrojpaw D. Nomograms of the fetal heart between 16 and 39 weeks of gestation. J Med Assoc Thai 2008 Dec;91(12):1774-8.

                  18) Machlitt A, Heling KS, Chaoui R. Increased cardiac atrial-to-ventricular length ratio in the fetal four-chamber view: a new marker for atrioventricular septal defects. Ultrasound Obstet Gynecol 2004 Nov;24(6):618-22.

                  19) Luewan S, Yanase Y, Tongprasert F, Srisupundit K, Tongsong T. Fetal cardiac dimensions at 14-40 weeks’ gestation obtained using cardio-STIC-M. Ultrasound Obstet Gynecol 2011 Apr;37(4):416-22.

                  20) Dizon-Townson DS, Dildy GA, Clark SL. A prospective evaluation of fetal pericardial fluid in 506 second-trimester low-risk pregnancies. Obstet Gynecol 1997 Dec;90(6):958-61.

                  21) Jeanty P, Romero R, Hobbins JC. Fetal pericardial fluid: a normal finding of the second half of gestation. Am J Obstet Gynecol 1984 Jul 1;149(5):529-32.

                  22) Huhta JC. Guidelines for the evaluation of heart failure in the fetus with or without hydrops. Pediatr Cardiol 2004 May;25(3):274-86.

                  23) Steinfeld L, Rappaport HL, Rossbach HC, Martinez E. Diagnosis of fetal arrhythmias using echocardiographic and Doppler techniques. J Am Coll Cardiol 1986 Dec;8(6):1425-33.

                  Read More