ประธานราชวิทยาลัยฯ

อ.วิบูลพรรณ ประธานราชวิทยาลัยสูติฯคนใหม่

ประธานราชวิทยาลัยฯผลการนับคะแนนเลือกตั้งคณะผู้บริหารราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย วาระ พ.ศ. 2556-2558 ตำแหน่งประธานได้แก่ ศ.คลินิก พ.ญ. วิบูลพรรณ ฐิตะดิลก ผู้รั้งตำแหน่งประธานฯ ศ.น.พ. ภิเศก ลุมพิกานนท์ สำหรับกรรมการกลางราชวิทยาลัย จำนวน 14 ท่าน นั้น จากเชียงใหม่ของเรา ได้แก่ ศ.น.พ. จตุพล ศรีสมบูรณ์ ซึ่งได้รับเสียงสูงสุดในการลงคะแนนครั้งนี้คือ 661 เสียง (รองลงมาเป็น ร.ศ. น.พ. วิทยา ถิฐาพันธ์ จากศิริราช 552 เสียง) เป็นที่น่าสังเกตว่า อ.จตุพล ได้รับคะแนนสูงสุดมาสองครั้งติดกันแล้ว

Read More

ประมวลภาพงานประชุมราชวิทยาลัยสูติฯ ที่เชียงใหม่

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย จัดประชุมวิชาการครั้งที่ 27 และการประชุมสามัญประจำปี พศ.2555 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 80 “AEC Harmonization for Women’s Health ระหว่าง 2-5 ตุลาคม 2555 ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส จ.เชียงใหม่
ซึ่งในปีนี้ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ร่วมเป็น Local committee ช่วยประสานงานและจัดการประชุม โดยตอนเย็นวันที่ 3 ตุลาคม มี Welcome and Celebration party เป็นแบบขันโตกล้านนา สร้างความประทับใจให้แก่ผู้ร่วมประชุมจนได้รับคำชมกันถ้วนหน้า นอกเหนือจากการที่หน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารกของภาควิชาร่วมกับอนุกรรมการอนามัยแม่และเด็กของราชวิทยาลัยฯได้จัดการประชุมวิชาการเสริมในเรื่อง Fetal Echocardiology ในวันที่ 1-2 ตุลาคม ซึ่งก็สร้างความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมประชุมอย่างถ้วนหน้า ความประทับใจที่ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับครั้งนี้ก็เกิดจากความร่วมแรงร่วมใจของพี่ๆน้องๆชาวสูติฯของเราทั้งสิ้น จนมีหลายๆคนได้มากล่าวขอบคุณทีมงานของเราว่าจัดงานดีๆให้เขาทำให้ได้รับความประทับใจมากกลับไป
ดูภาพบรรยากาศในงานประชุมได้จากเมนู Gallery : เหตุการณ์พิเศษ : ประชุมวิชาการราชวิทยาลัยสูติฯ 2555 ที่เชียงใหม่ หรือชมได้จากลิงค์นี้ rtcog55

Read More

อาจารย์สุชยาได้รับรางวัล Med CMU Research Award

ภาคฯ ขอแสดงความยินดีกับอ.พญ. สุชยา ลือวรรณ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2 (Faculty of Medicine, CMU Research Award ครั้งที่ 2) งานวันมหิดลประจำปี 2555 จากการนำเสนอเรื่อง fetal cardiac performance (Tei index) as a predictor of Hb Bart’s disease

 

Read More

ยินดีกับอาจารย์แป้ง ได้รับพระราชทานทุนส่งเสริมบัณฑิต

อาจารย์แป้ง (เกษมศรี ศรีสุพรรณดิฐ) ได้รับพระราชทานทุนส่งเสริมบัณฑิต : จากอาจารย์ผู้มีอุดมการณ์เดียวกันเกือบ 20 คนทั่วประเทศ ในการเข้ารับสมัครคัดเลือกและสอบสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการของมูลนิธิอานันทมหิดล ในที่สุดอาจารย์แพทย์หญิง เกษมศรี ศรีสุพรรณดิฐ จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับเกียรติให้เป็น 1 ใน 9 คนที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุมัติเงินทุนส่งเสริมบัณฑิต จากมูลนิธิอานันทมหิดล เป็นเวลา 3 ปี นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2555 เป็นต้นไป……….จึงเรียนมาเพื่อทราบและแสดงความเป็นยินดีร่วมกันค่ะ

Read More
Fetal Echocardiography III

Workshop : Fetal Echocardiography III

Fetal Echocardiography IIIMFM มช (สนับสนุนโดยสกว.). จัด workshop เชิงลึก เรื่อง Fetal echocardiography III วันที่ 1-2 ตุลาคม 2555 เน้นประชากรเป้าหมาย คือ พี่ ๆ น้อง ๆ MFM ทั้งหลาย ครั้งนี้เน้นเทคนิค tips & tricks ในการตรวจหัวใจทารกในครรภ์ และการตรวจหัวใจพิการโดย disorder-based approach สามารถดาว์โหลด brochure และหลักฐานการร่วมประชุมโดยไม่ถือเป็นวันลา ได้ที่นี่

Read More
Pannee1

มุทิตาจิตแด่อ.พรรณี-พี่รัตติยา

Pannee1เรียนเชิญ อาจารย์,แพทย์ และเจ้าหน้าที่ สาย ข,ค ทุกท่าน
ร่วมงานแสดงมุฑิตาจิตเกษียณอายุราชการ..
รศ.พญ.พรรณี ศิริวรรธนาภา
คุณรัตติยา รัตนเดชากร
วันพุธที่ 19 กันยายน 2555
ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารราชนครินทร์
เวลา 12.00 – 14.30 น.

Read More

Congratulations! อาจารย์นก(ทวิตตี้) กลับมาแล้ว

ภาควิชามีความยินดีที่อาจารย์นก (ทวิวัน) กลับมาจากการศึกษาต่อจากประเทศออสเตรเลีย หลังจากไปฝึกฝน (research felllow) เป็นเจ้าแม่ PCO อยู่เป็นเวลานาน มาถึงแล้วสวย (เท่า) กว่าเดิม

Read More
interview

ประกาศสัมภาษณ์แพทย์ใช้ทุนสูติฯเชียงใหม่

interview

ขอเรียนเชิญท่านผู้สมัครแพทย์ใช้ทุนสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มารับการสัมภาษณ์ วันที่ 18 กรกฏาคม 2555 ซึ่งมีรายละเอียดลำดับการสัมภาษณ์ดังนี้

ตารางสอบสัมภาษณ์แพทย์ใช้ทุน ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๖
ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วัน พุธ ที่ ๑๘ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ณ ห้องเรียน อ.สุรีย์ ชั้น 3 อาคารบุญสม มาร์ติน
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

ลำดับที่ ชื่อ นามสกุล เวลา สถาบัน

๑ นางสาวรัชภรณ์ มีเงิน 08.30-09.00 น. ม.เชียงใหม่

๒ นางสาวสิริลักษณ์ นันทาภิวัธน์ 09.00 -09.30น. ม.เชียงใหม่

๓ นายนนท์ พิพิธสมบัติ 09.30-10.00 น. ม.เชียงใหม่

๔ นางสาววรรณพร สิงห์น้อย 10.00 -10.30 น. ม.เชียงใหม่

๕ นางสาววรรัตน์ ศิริเผ่าสุวรรณกุล 10.30-11.00 น. จุฬาลกรณ์มหาวิทยาลัย

๖ นายวีรวิชญ์ พรวัฒนไกรเลิศ 11.00-11.30 น. ศรีนครินทรวิโรฒ

๗ นายสาร์รัฐ สุทธิพงษ์ 13.00-13.30 น. รามาธิบดี ม.มหิดล

๘ นายธรรมพจน์ จีรากรภาสวัฒน์ 13.30-14.00 น. ม.เชียงใหม่

๙ นางสาวธัญสิตา ชินกังสดาร 14.00 – 14.30 น. ม.เชียงใหม่

๑๐ นางสาวนภวรี จันทรวงศ์ 14.30 -15.00 น. ม.ธรรมศาสตร์

๑๑ นางสาวหรัดปพร ปิยะเวชการ 15.00 – 15.30 น. ม.เชียงใหม่

Read More
ObCMUs

ประกาศรับสมัครแพทย์ประจำบ้าน

ObCMUsภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอเชิญแพทย์ผู้สนใจ เข้ารับสมัครเป็นแพทย์ประจำบ้านของภาควิชาสูติ-นรีเวช ประจำปีการศึกษา 2556 ซึ่งตลอดระยะเวลา 3 ปี ท่านจะได้รับทั้งความรู้ ความชำนาญทางด้านสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา รวมถึงความเป็นกันเองและบรรยากาศความเป็นครอบครัวเดียวกันในแบบฉบับของชาวสูติศาสตร์ล้านนาที่จะประทับใจไม่รู้ลืม…..สามารถ download ใบสมัครได้จาก website ของภาควิชา และส่งใบสมัครได้ที่โดยตรงที่ภาควิชา เริ่มรับสมัครตั้งแต่วันนี้ (27 มิถุนายน 2555) จนถึงวันที่ 10 สิงหาคม 2555 และจะมีกำหนดการสอบสัมภาษณ์ในช่วงเดือนสิงหาคม 2555 (วันและเวลาที่แน่นอนจะประกาศให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง)……ขอเชิญผู้มีความสนใจและรักในด้านการดูแลผู้ป่วยทางสูตินรีเวช มาร่วมเป็นครอบครัวเดียวกันกับเรานะคะ

Read More

กรี๊ด…great!!! หนังสือใหม่ของภาควิชา

ขอแสดงความชื่นชมหนังสือใหม่ของภาควิชาโดยอ.แป้ง หนังสือเรื่อง ทารกบวมน้ำ (hydrops fetalis) ของอาจารย์แป้งออกแล้ว พิมพ์อย่างดีสวยงามมาก เหมาะมากสำหรับ fellow MFM ได้รวบรวมองค์ความรู้ตามแนว hydrops แห่งโลกตะวันออกไว้อย่างครบถ้วน กลั่นจากความรู้ทั่วโลกและการศึกษาของเรามากมาย พร้อม CD ที่มีวิดีโอ hydrops ประกอบมากมาย

คำนำจากหัวหน้าภาค

ทารกบวมนํ้าเป็นปัญหาสำคัญทางสูติกรรมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบวมที่เกิดจากโรคฮีโมโกลบินบาร์ท ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบได้บ่อยมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งบางภูมิภาค อาจพบได้สูงถึงร้อยละ 14 ของประชากร และเป็นสาเหตุของภาวะทารกบวมนํ้าที่บ่อยที่สุด คือร้อยละ 80-90 ของทารกบวมนํ้าทั้งหมด การตั้งครรภ์ที่มีภาวะทารกบวมนํ้าจากฮีโมโกลบินบาร์ทนั้นเป็นการตั้งครรภ์ที่สูญเปล่า อันนับเป็นโศกนาฎกรรมทางสูติศาสตร์ที่พบได้บ่อยในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างแถบภาคเหนือ เนื่องจากการตั้งครรภ์เหล่านี้นอกจากไม่ได้บุตรที่มีชีวิตรอดแล้ว ยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงในมารดาด้วย เช่น 1) ความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ (preeclampsia) ซึ่งมักจะเกิดเร็วและรุนแรงกว่ากว่าทั่วไป เชื่อว่าถ้าปล่อยให้อายุครรภ์มากขึ้นจะเกิดภาวะนี้ทุกราย 2) คลอดยาก เนื่องจากทารกตัวโตจากการบวมนํ้า ทำให้เพิ่มหัตถการในการช่วยคลอดอย่างยาก เช่น การช่วยคลอดด้วยคีมอย่างยาก ผ่าตัดทำคลอดทางหน้าท้องทั้ง ๆ ที่ทารกไม่ได้เลี้ยง 3) เพิ่มอุบัติการณ์การตกเลือดหลังคลอด (ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการตายของมารดา) เนื่องจากรกมีขนาดใหญ่มาก และประการสำคัญที่สุดคือผลเสียต่อสุขภาพจิตของมารดาและบิดาที่ต้องรอคอยการตั้งครรภ์ที่สูญเปล่า และยังคงมีความเสี่ยงในครรภ์ต่อไปอีก อย่างไรก็ตามยังมีภาวะบวมนํ้าจากอีกหลายสาเหตุบางอย่างก็สามารถมีชีวิตรอดได้อย่างสมบูรณ์หากได้รับการดูแลที่เหมาะสม

ปัญหาสำคัญในปัจจุบันคือผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์ทารกบวมนํ้าจากฮีโมโกลบินบาร์ทไม่ได้รับการวินิจฉัยก่อนคลอดด้วยวิธีการตรวจเลือดทารก หรือวิธีการอื่น ๆ รวมทั้งไม่ได้รับการวินิจฉัยแม้แต่ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงในระยะแรก ๆ ทั้งที่ปัจจุบันนี้เครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงมีใช้แพร่หลายในประเทศไทย แต่ประสบการณ์ในการวินิจฉัยภาวะทารกบวมนํ้าด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงนับว่ายังมีขีดจำกัดมาก จากเหตุผลสำคัญคือคลื่นเสียงความถี่สูงสามารถวินิจฉัยภาวะทารกบวมนํ้าได้เร็วกว่าที่เคยเข้าใจกันมาในอดีต เป็นเทคนิคการวินิจฉัยที่ไม่เจ็บตัว (non-invasive) ไม่เพิ่มความเสี่ยงใด ๆ แก่ทารกและมารดา และเป็นเทคนิคราคาถูกที่มีใช้ทั่วไป จึงนับว่าการเพิ่มประสิทธิภาพและทักษะของผู้ตรวจจะช่วยให้ภาวะทารกบวมนํ้าจากฮีโมโกลบินบาร์ทได้รับการวินิจฉัยเร็วขึ้น เป็นที่น่าชื่นชมและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่อาจารย์แพทย์หญิงเกษมศรี ได้ทำการทบทวนอย่างกว้างขวางและลึกซึ้งในการศึกษาทั่วโลกเกี่ยวกับทารกบวมนํ้า และนำมาเสนอในรูปแบบที่ประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมกับเวชปฏิบัติในประเทศไทย จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าตำราเล่มนี้จะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดูแลรักษาสตรีตั้งครรภ์ที่มีทารกบวมนํ้า

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ชเนนทร์ วนาภิรักษ์
หัวหน้าภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
20 เมษายน 2555

Read More