อ.มนัสวี มะโนปัญญา

ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ขอแสดงความยินดีและต้อนรับ อ.น.พ. มนัสวี มะโนปัญญา (อาจารย์เอ) เข้าสู่ตำแหน่งอาจารย์ในภาควิชา นับเป็นข่าวดี และน่าภูมิใจอีกครั้งหนึ่งของทั้งภาควิชา และหน่วย gynecologic oncology

Read More

ด่วน! เปลี่ยนวันเวลาเยี่ยมสำรวจ TQA

ด่วน! เปลี่ยนวันเวลาเยี่ยมสำรวจ TQA

เปลี่ยนวันเวลาจากกำหนดการเดิมวันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม 2553 มาเป็นวันพุธที่ 25 สิงหาคม 2553

การเยี่ยมสำรวจ TQA ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนวันเวลาจากกำหนดการเดิมวันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม 2553 มาเป็นวันพุธที่ 25 สิงหาคม 2553 ทางภาควิชาจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะขอความร่วมมือจากคณาจารย์ในการงดกิจกรรมทางวิชาการในตอนบ่ายวันพุธของทุกหน่วย subspecialty และให้ความร่วมมือกับทีมผู้เยี่ยมสำรวจ

Read More

ขอต้อนรับคณะผู้เยี่ยมสำรวจ TQA

ยินดีต้อนรับคณะผู้เยี่ยมสำรวจการประกันคุณภาพการศึกษา

คณะกรรมการตรวจสอบ TQA จะมาเยี่ยมสำรวจภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553 พี่ๆ น้อง ๆ อาจารย์ แพทย์ประจำบ้าน นักศึกษาแพทย์ และเจ้าหน้าที่ทุกระดับ มีความยินดีต้อนรับคณะผู้เยี่ยมสำรวจ

Read More
bouquet2

รางวัลวิจัยแพทย์ประจำบ้าน

bouquet2จากการประกวดการนำเสนอผลงานวิจัยราชวิทยาลัยสูตินรีแพทยแห่งประเทศไทยที่ผ่านมา

แพทย์ประจำบ้านของเรา ได้รับ 3 รางวัล ได้แก่

  • นพ.กฤดา คุณาวิกติกุล ได้รับรางวัลที่สอง จากการนำเสนอเรื่อง Sensitivity and specificity of Wallach Endo-cellTM endometrial cell sampler in diagnosing
  • นพ.พลวัฒน์ สุทธิชล ได้รับรางวัลชมเชย จากการนำเสนอเรื่อง  Perioperative complications of an outpatient loop electrosurgical excision procedure: a review of 857 consecutive cases
  • พญ.กุณฑรี ไตรศรีศิลป์  ได้รับรางวัลชมเชย จากการนำเสนอเรื่อง  Pregnancy outcomes in women complicated with thalassemia syndrome at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital
  • พญ.เปรมจิต เจริญวีรกุล ได้รับรางวัลชมเชย จากการนำเสนอเรื่อง Maternal Death at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital: 17-year experience
Read More

หนังสือภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์

หนังสือภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์

หนังสือภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์ของภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา เป็นหนังสือเล่มเล็กๆ ขนาดพกพาสะดวก คณาจารย์ทางภาควิชาภายใต้การนำของอ.ประภาพร (ต่าย) ได้ทำออกมาเป็นรูปเล่มสวยงามกระทัดรัด มุ้งเน้นแก่นสำคัญที่นักศึกษาแพทย์ต้องรู้ เน้นนักศึกษาแพทย์ แม้ว่าหนังสืออ่านเยอะมากสำหรับนักศึกษาแพทย์ แต่ย้ำว่าเล่มนี้ควรอ่านอย่างยิ่ง

Read More

สัมนาภาควิชาประจำปี 2553

สัมนาภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 28-29 สิงหาคม 2553 Natural Wellness Resort & Spa อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

ภาควิชามีการจัดการสัมนานอกสถานที่ทุกปี ปีละครั้ง เป็นการพบปะกันแบบพร้อมหน้าพร้อมตาภายในครอบครัวสูติ-นรีเวช มช. มีคณาจารย์ แพทย์ประจำบ้าน เจ้าหน้าที่ระดับต่าง ๆ ในภาควิชา ซึ่งจะมีการพักค้างคืน 1 คืน มีการจัดกิจกรรมเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงภาควิชาในทางที่ดีขึ้น ปีที่แล้วจัดกันที่รีสอร์ทเก๊าไม้ล้านนา สำหรับปีนี้จะจัดที่ Natural Wellness Resort & Spa อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ โดยปีนี้หัวข้อสัมนาจะเน้นเรื่องแนวทางในการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรเป็นหลัก

Read More

โครงการวิจัยดีเด่นแห่งปี

รางวัลโครงการวิจัยดีเด่นแห่งปี 2552 จากสกว: ยุทธวิธีในการควบคุมธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงด้วยวิธีก่อนคลอด

โครงการควบคุมโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงด้วยวิธีก่อนคลอด ได้รับการคัดเลือกจากกว่า 1000 โครงการวิจัยของสกว. ในปี 2552 จากการพิจารณาถึงโครงการที่มีผลกระทบต่อสังคมอย่างเป็นรูปธรรม และสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่ก่อเกิดประโยชน์ที่นำไปใช้ได้จริง

โรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง ทั้งโรคเบต้าธาลัสซีเมียเมเจอร์ โรคเบต้าธาลัสซีเมีย/ฮีโมโกลบินอี (beta-thal/HbE) และโรคฮีโมโกลบินบาร์ท เป็นปัญหาสำคัญของสาธารณสุขไทยที่ส่งผลลบในด้านเศรษฐศาสตร์สุขภาพของประเทศเป็นอย่างยิ่ง และจำเป็นต้องได้รับการควบคุม ทีมเวชศาสตร์มารดาและทารกจึงได้ร่วมมือกับห้องปฏิบัติการกุมารเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำการวิจัยค้นหาวิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการประยุกต์ใช้ในการควบคุมโรคนี้ในประชากรภูมิภาคที่มีโรคนี้ชุกชุม

การควบคุมด้วยวิธีก่อนคลอดประกอบด้วยการคัดกรองค้นหาคู่สมรสที่มีความเสี่ยงและวินิจฉัยทารกในครรภ์ ซึ่งมีหลากหลายวิธี บางวิธีมีข้อเสียที่ราคาแพง เทคโนโลยีซับซ้อน ไม่สามารถทำได้ในวงกว้าง คณะวิจัยจึงศึกษาแนวทางและทดสอบยุทธวิธีก่อนคลอดที่ดีที่สุด โดยคำนึงถึงความถูกต้องและความคุ้มทุน ราคาถูก สะดวกต่อการประยุกต์ใช้ในวงกว้าง ผลการทดสอบคัดกรองที่ได้จะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการวิเคราะห์ความถูกต้องของทั้งระบบในการค้นหาโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นรูปแบบการศึกษาที่ไม่เคยมีการทำมาก่อน และนำไปสู่ยุทธวิธีการควบคุม (เชิงนโยบาย) วิเคราะห์ความคุ้มค่า เพื่อการประยุกต์ใช้ในวงกว้าง

ตัวอย่างการพัฒนายุทธวิธีในการควบคุมโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงแบบครบวงจร ได้แก่ ศึกษาวิจัยหาวิธีคัดกรองค้นหาคู่เสี่ยง (คู่สมรสที่ต่างเป็นพาหะ) ด้วยวิธีต่าง ๆ ที่ประสิทธิภาพสูง ราคาถูก ใช้ได้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เช่น ศึกษาประสิทธิภาพการคัดกรองด้วย osmotic fragility test (0.45% glycerine), พัฒนา HbE screen อย่างง่าย ทดสอบนวัตกรรมใหม่ๆ สำหรับพาหะแอลฟ่าธาลัสซีเมีย เช่น IC strip test เป็นต้น ศึกษาวิธีการยืนยันพาหะด้วยการตรวจระดับ HbA2 (สำหรับพาหะ beta-thal และ HbE)  และ PCR (สำหรับ alpha-thal-1 SEA type) วิจัยเทคนิคและความปลอดภัยของการวินิจฉัยก่อนคลอด โดยเฉพาะการเจาะเลือดจากสายสะดือทารก และศึกษาวิจัยการวินิจฉัยจากการตรวจเลือดทารก เป็นต้น

นอกจากนี้ยังศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคฮีโมโกลบินบาร์ทด้วยอัลตราซาวด์ โดยตรวจวัดการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือดของทารกในครรภ์ ทั้งในแง่การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและสรีรวิทยาของทารกในครรภ์ ทำให้ทราบถึงลักษณะจำเพาะและมาร์คเกอร์ทางอัลตราซาวด์หลายพารามิเตอร์ ซึ่งนำมาช่วยในการวินิจฉัยให้เร็วขึ้น

ผลงานวิจัยนี้เป็นแนวทางและต้นแบบในการกำหนดเป็นนโยบายระดับชาติ เพื่อนำไปใช้ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ ซึ่งมีผลทำให้อุบัติการณ์ของโรคธาลัสซีเมียรายใหม่ในภูมิภาคแถบนี้ลดลงอย่างมากในปัจจุบัน เด็กรายใหม่ที่ต้องมาเติมเลือดจากโรคธาลัสซีเมียลดลงอย่างมาก และเป็นครั้งแรกในวงการสาธารณสุขไทยที่อันตรายจากภาวะทารกบวมน้ำจากโรคฮีโมโกลบินบาร์ทได้ลดลงอย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่นภาวะนี้ได้หายไปเลยจากกลุ่มสตรีที่มาฝากครรภ์และคัดกรองที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ผลดังกล่าวได้นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูผู้เป็นโรคลงได้ในจำนวนมหาศาล นอกจากนี้ยังสามารถสร้างบุคลากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิจัยรุ่นใหม่ เพื่อเป็นกำลังสำคัญของการวิจัยเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมียในประเทศไทยอีกด้วย

ดำเนินการวิจัยโดย: ทีมงานเวชศาสตร์มารดาและทารก สูติ-นรีเวช มช.

Read More

ข่าวดีในภาควิชาปี 53

มีเรื่องที่น่ายินดีเกิดขึ้นมากมายในภาควิชาในปีที่ผ่านมา เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักที่จะมีหน่วยงานใดได้รับรางวัลช้างทองคำทั้งสองประเภทในปีเดียวกัน เหมือนกับเราได้รับในปีนี้

นักวิจัยดีเด่นสาขาวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2552

รศ.นพ.ชเนนทร์ วนาภิรักษ์  ได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “ช้างทองคำ”

นักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่นสาขาวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2552

ผศ.นพ.กิตติภัต เจริญขวัญ  ได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่“ช้างทองคำ”

โล่รางวัลผลงานวิจัยเด่น สกว.ประจำปี 2552

คณาจารย์ประจำหน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารก ได้รับโล่รางวัลผลงานวิจัยเด่น สกว.ประจำปี 2552
เรื่อง “ยุทธวิธีการควบคุมโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงก่อนคลอด” จาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

  • ศ.นพ.ธีระ ทองสง
  • รศ.พญ.พรรณี ศิริวรรธนาภา
  • รศ.นพ.ชเนนทร์ วนาภิรักษ์
  • รศ.พญ.สุพัตรา ศิริโชติยะกุล
  • รศ.นพ.วีรวิทย์ ปิยะมงคล
  • ผศ.พญ.เฟื่องลดา ทองประเสริฐ
  • อ.พญ.เกษมศรี ศรีสุพรรณดิฐ
  • อ.พญ.สุชยา ลือวรรณ

IJGO Prize Paper Award Honorable Mention 2009

อ.พญ.สุชยา  ลือวรรณ  อ.พญ.เกษมศรี  ศรีสุพรรณดิฐ  ศ.นพ.ธีระ ทองสง ได้รับรางวัล International Journal of GYNECOLOGY & OBSTETRICS John J. Sciarra IJGO Prize Paper Award Honorable Mention 2009  จากผลงานวิจัย “Outcomes of pregnancies complicated by beta-thalassemia/hemoglobin E disease”

(Best Clinical Research Article from a Low/Middle-Income Country)

Read More

ปรับปรุงเว็บไซต์ภาควิชา

Big Move: ทีมงานด้านสารสนเทศของภาควิชาได้ทำการปรับปรุงเว็บไซต์ของภาควิชาเสียใหม่ ซึ่งเปลี่ยนไปสู่เว็บไดนามิค โดยมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างดังนี้

  • มีระบบ login เพื่อให้คณาจารย์ แพทย์ประจำบ้าน หรือเจ้าหน้าที่ ได้เข้าสู่ระบบที่เข้าถึงข้อมูลสำคัญภายในภาควิชา
  • คณาจารย์สามารถ submit บทความสำคัญ เอกสารคำสอน หรือ powerpoints ให้นักศึกษาแพทย์ดาวน์โหลดผ่านเว็บได้อย่างรวดเร็ว
  • มีฐานข้อมูลสำคัญของภาควิชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าถึง fulltext ของงานวิจัยที่ภาควิชาทำมาตลอดอายุภาควิชาได้ตลอดเวลา (ผ่านระบบ login) ซึ่งผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกจะเห็นเพียงหัวข้องานวิจัย
  • มีระบบ update ข่าวคราวอย่างรวดเร็ว
  • หนังสือแจ้งเวียนภายในภาคที่นำไปสู่ระบบ paperless มากขึ้น
  • มีระบบเว็บบอร์ด ที่เชิญชวนมาให้พี่น้องแสดงความคิดเห็นเพื่อสร้างสรรค์ภาควิชา
  • เพิ่มข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับภาควิชา เช่น ประวัติความเป็นมา ประวัติอาจารย์อาวุโส
Read More