Cervical cancer in pregnancy: มะเร็งปากมดลูกในสตรีตั้งครรภ์

Cervical cancer in pregnancy: มะเร็งปากมดลูกในสตรีตั้งครรภ์

พญ.ณัฏฐา ยศชนะ
รศ.พญ. ประภาพร สู่ประเสริฐ ที่ปรึกษา


บทนำ

มะเร็งปากมดลูกในสตรีตั้งครรภ์เป็น มะเร็งที่พบพบได้บ่อยรองลงมาจาก มะเร็งเต้านม(1) มีอุบัติการณ์ 0.1-12 ต่อ 10000 การตั้งครรภ์(2) โดยระบาดวิทยาของมะเร็งปากมดลูกปัจจุบันมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากมีการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกอย่างแพร่หลายมากขึ้นโดยเฉพาะในเด็กวัยเรียน ทำให้ช่วงอายุที่ถูกวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูกเปลี่ยนแปลงไปจาก 25-29 ปีในช่วงปี ค.ศ 2011-2015 เป็น 55-59 ปี ในช่วงปี ค.ศ 2013-2040 ดังนั้นอุบัติการณ์ของมะเร็งปาดมดลูกในสตรีตั้งครรภ์จึงมีแนวโน้มลดลง (2)

อย่างไรก็ตามสตรีตั้งครรภ์เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีความพิเศษในการวินิจฉัยดูแลรักษา เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลชัดเจนจากการศึกษาวิจัยแบบสุ่ม การดูแลจึงจะอ้างอิงจากแนวทางการรักษาเดียวกับสตรีที่ไม่ตั้งครรภ์และข้อมูลที่มีศึกษาอยู่ในปัจจุบัน โดยจำเป็นต้องพิจารณาเป็นรายๆ ขึ้นอยู่กับความต้องการในการตั้งครรภ์ ชนิดของเซลล์มะเร็ง ระยะของโรค ความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม

การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในระหว่างการตั้งครรภ์

ในช่วงการตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงของปากมดลูกคือปากมดลูกจะนุ่มและคล้ำขึ้น ต่อมปากมดลูกมีการขยายตัว(hypertrophy)และแบ่งตัว(hyperplasia) มีการสร้างมูกเหนียวมากขึ้น การแบ่งตัวของ columnar cervical gland ทำในปากมดลูกมีลักษณะแดงคล้ายกำมะหยี่และเลือดออกง่ายเรียกว่า eversion (3) ดังรูปที่ 1

รูปที่1 แสดง cervical eversion (ตามลูกศร)
ที่มา Cunningham FG, Leveno KJ, Dashe JS, Hoffman BL, Spong CY, Casey BM. Williams Obstetrics, 26e. Maternal physiology. New York, NY: McGraw Hill; 2022. p. 53.

นอกจากนี้เซลล์ต่อมที่ถูกกระตุ้นด้วยเอสโตรเจนจะแบ่งตัวมากจนเซลล์มีขนาดและรูปร่างใหญ่ขึ้น เรียกว่า Arias-Stella reaction(3) หากมีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระหว่างการตั้งครรภ์ จะทำให้มีการสับสนกับ Atypical glandular cells ได้ จึงต้องอาศัยพยาธิแพทย์ที่เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการแปลผล ดังรูปที่ 2

A close-up of a cell Description automatically generated

รูปที่ 2 Arias-Stella reaction
ที่มา Ylagan LR. The PAP smear. In: Gattuso P, Reddy VB, Masood S, editors. Differential Diagnosis in Cytopathology. 2nd ed. Cambridge: Cambridge University Press; 2014. p. 1–39.

การวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูกในสตรีตั้งครรภ์

อาการแสดง

มะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก มักไม่มีอาการผิดปกติใดๆ แต่จะตรวจพบจากการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก อาการแสดงของมะเร็งปาดมดลูกในสตรีตั้งครรภ์ไม่ได้แตกต่างจากสตรีทั่วไป จึงอาจถูกละเลยได้เนื่องจากอาการแสดงส่วนใหญ่จะพบได้ในภาวะปกติของสตรีตั้งครรภ์เช่น มีเลือดออกจากช่องคลอด อาการปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน อาการปวดหลัง ปัสสาวะบ่อย เป็นต้น

อาการแสดงที่พบในมะเร็งปากมดลูกได้แก่ เลือดออกทางช่องคลอด เลือดออกช่องคลอดหลังมีเพศสัมพันธ์ ตกขาวผิดปกติ เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ ตรวจพบลักษณะของปากมดลูกที่ผิดปกติ หากมีการลุกลามของมะเร็งไปอวัยวะในอุ้งเชิงกรานข้างเคียง จะมีอาการปัสสาวะเป็นเลือด กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ขาบวมมีการขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะที่ผิดปกติไป หรือหากเป็นระยะลุกลาม จะมีอาการปวดกระดูก, อ่อนเพลีย เบื่ออาหารหรือ น้ำหนักลดได้(4)

ดังนั้นในสตรีตั้งครรภ์ที่มีประวัติเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดทุกรายควรได้รับการตรวจภายในโดยการใส่อุปกรณ์ถ่างขยายช่องคลอด (speculum) เพื่อดูลักษณะผิดปกติของปากมดลูก และหากมีพยาธิสภาพที่สงสัยควรส่งต่อให้กับสูตินรีแพทย์ประเมินต่อไป

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ไม่ได้เป็นข้อห้ามในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และถ้าพบว่า ผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีความผิดปกติสามารถประเมินเพื่อติดตามการรักษา หรือพิจารณาส่องกล้องปากมดลูกด้วยกล้องคอลโปสโคป ตามแนวทางของ The American Society for Colposcopy and Cervical Pathology (ASCCP) ปี 2019 เรื่อง Risk-Based Management Consensus Guidelines for Abnormal Cervical Cancer Screening Tests and Cancer Precursors (5) เหมือนสตรีทั่วไป ดังรูปที่ 3

รูปที่ 3 แสดงแนวทางการติดตามรักษา Abnormal cervical screening
ที่มา 2019 The American Society for Colposcopy and Cervical Pathology (ASCCP) Risk-Based Management Consensus Guidelines for Abnormal Cervical Cancer Screening Tests and Cancer Precursors

การส่องกล้องขยายตรวจดูบริเวณปากมดลูกด้วยกล้องคอลโปสโคป

การส่องกล้องปากมดลูกด้วยกล้องคอลโปสโคปปลอดภัยและสามารถทำได้ในสตรีตั้งครรภ์ ควรพิจารณาทำในกรณีที่ความเสี่ยง CIN3+ เกินกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 4 ตามข้อแนะนำของ 2019 ASCCP Risk-Based Management Consensus Guidelines for Abnormal Cervical Cancer Screening Tests and Cancer Precursors จุดประสงค์หลักในการส่องกล้องปากมดลูกด้วยกล้องคอลโปสโคปในสตรีตั้งครรภ์คือ การมองหารอยโรคที่มีลักษณะเหมือนมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม เพื่อพยายามลดการตัดชิ้นเนื้อปากมดลูกที่ไม่จำเป็นในระหว่างการตั้งครรภ์เนื่องจากปากมดลูกของสตรีตั้งครรภ์เลือดออกง่าย(5)

การส่องกล้องปากมดลูกด้วยกล้องคอลโปสโคปในสตรีตั้งครรภ์จำเป็นต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์เนื่องจากต้องแยกความผิดปกติของปากมดลูกกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในช่วงการตั้งครรภ์ได้ การส่องกล้องปากมดลูกในช่วงอายุครรภ์น้อยเกินไปอาจจะแปลผลได้ไม่ชัดเจนเนื่องจาก transformation zone ไม่ชัด ปากมดลูกจะเลือดออกง่าย มีมูกบริเวณปากมดลูกปริมาณมาก ดังรูปที่ 4 นอกจากนี้ผนังช่องคลอดจะมีการย้วยมากกว่าปกติ อาจจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริมเช่น ใช้ถุงมือหรือถุงยางอนามัยตัดปลายสวมปลาย speculum หรือใช้ vaginal retractor เพื่อดันผนังช่องคลอดออกไปทำให้มองเห็นปากมดลูกได้ชัดเจนขึ้น ดังรูปที่ 5 และ 6

Close-up of a human body Description automatically generated

Close-up of a sore on the tongue Description automatically generated

รูปที่ 4 แสดงปากมดลูกของหญิงตั้งครรภ์ที่มีมูกบริเวณปากมดลูกปริมาณมาก
ที่มา Dr Partha Basu. Dr Rengaswamy Sankaranarayanan. Atlas of colposcopy: principles and practice. International agency research of cancer WHO. [Internet]. 2023 [cited2023 Aug 3]. Available from : https://screening.iarc.fr/atlascolpo.php

A close-up of a hand holding a device Description automatically generated

A pair of surgical scissors Description automatically generated

รูปที่ 5, 6 แสดงภาพการใช้ถุงมือตัดปลายสวมปลาย speculum, vaginal retractor ตามลำดับ
ที่มา Teresa M. Darragh, MD. Colposcopy in pregnancy. [Internet]. 2013 [cite2023 Aug 3]. Available from : https://asccp.org%2FAssets%2F997bf127-5ca5-42e9-8d21-089ec7f54aba%2F636114480824400000%2F07-colpo-pregnancy-pdf-pdf&usg=AOvVaw1trDtrenhuGZwj1FGbAcUh&opi=89978449

การตัดชิ้นเนื้อปากมดลูก(biopsy)ไปตรวจ สามารถทำได้ในสตรีตั้งครรภ์เมื่อมีรอยที่รุนแรงสงสัยมะเร็ง และต้องมีความพร้อมในอุปกรณ์ในการช่วยห้ามเลือด หากมีเลือดออกมากสามารถใช้น้ำยา monsel solution ป้าย หรืออาจใส่ผ้ากดอัดห้ามเลือดในช่องคลอด (vaginal packing) ช่วย สำหรับการขูดภายในปากมดลูก (endocervical curettage) ไม่แนะนำให้ทำในขณะการตั้งครรภ์(6)

ระยะของโรค (staging)

การแบ่งระยะของโรคมะเร็งปากมดลูกในสตรีตั้งครรภ์ใช้เหมือนกับสตรีที่ไม่ตั้งครรภ์ ตาม FIGO 2018 (7) ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 แสดงระยะของโรคอ้างอิงตาม FIGO 2018
ที่มา Salib MY, Russell JHB, Stewart VR, Sudderuddin SA, Barwick TD, Rockall AG, et al. 2018 FIGO Staging Classification for Cervical Cancer: Added Benefits of Imaging. RadioGraphics. 2020;40(6):1807-22.

การส่งตรวจทางรังสีวิทยา

Magnetic Resonance Imaging (MRI)

การส่งตรวจภาพถ่ายอุ้งเชิงกรานด้วย MRI ถือว่าเป็นทางเลือกแรกที่ช่วยในการกำหนดระยะของโรคมะเร็งปากมดลูกในสรีตั้งครรภ์ สามารถทำได้ในทุกอายุครรภ์ โดยไม่จำเป็นต้องใช้สารทึบรังสี เนื่องจากสารทึบรังสีสามารถผ่านรกและเข้าไปสู่น้ำคร่ำได้ และการกำหนดระยะโรคมะเร็งปากมดลูกสามารถทำได้โดยไม่ต้องฉีดสารทึบรังสี(9) การแปลผลอาจทำได้ยากกว่า เนื่องจากเส้นเลือดดำในอุ้งเชิงกรานจะมีขนาดใหญ่ขึ้นในสตรีตั้งครรภ์ทำให้การประเมินขนาดของต่อมน้ำเหลืองผิดได้ นอกจากนี้คุณภาพของภาพถ่ายอาจจะถูกรบกวนจากการขยับของทารกในครรภ์ อาจต้องการอาศัยรังสีแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการอ่านผล(10) แต่หากจำเป็นต้องใช้สารทึบรังสีสามารถใช้ Gadolinium contrast ได้เนื่องจากยังไม่มีรายงานว่ามีผลต่อทารกในครรภ์

Computer tomography (CT)

Computer tomography ควรหลีกเลี่ยงในสตรีตั้งครรภ์เนื่องจากรังสีเอกเรย์มีผลต่อทารกในครรภ์ อาจพิจารณาทำในกรณีที่ไม่สามารถทำ MRI ได้ CT อาจจะจำเป็นในกรณีที่ต้องการประเมินรอยโรคระยะลุกลาม เช่นสงสัยมะเร็งลุกลามไปที่ปอดหรือเยื่อหุ้มปอด แพทย์จำเป็นต้องชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์ในการตรวจเพื่อประเมินระยะของโรคและความเสี่ยงของรังสีเอกซเรย์ต่อทารกในครรภ์ หากจำเป็นต้องทำ CT ควรจำกัดระยะเวลาที่ทำและปริมาณรังสีที่ใช้ให้น้อยที่สุดที่เพียงพอในการประเมินรอยโรค และพิจารณาใช้แผ่นกันรังสีบริเวณท้องด้วย(11)

Ultrasound

Ultrasound สามารถทำได้อย่างปลอดภัยไม่มีผลต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ อาจใช้ช่วยในการกำหนดระยะของโรคมะเร็งปากมดลูก เช่นการประเมินการขยายขนาดของกรวยไตในกรณีที่มะเร็งลุกลามจนทำให้เกิดการอุดตันของระบบทางเดินปัสสาวะทำให้กรวยไตมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ต้องคำนึงไว้ว่าในสตรีตั้งครรภ์ที่ขนาดมดลูกโตขึ้นอาจจะมีการกดเบียดท่อไตทำให้มีกรวยไตขยายได้เล็กน้อยอยู่แล้ว

Radiographs

Chest radiographs ควรทำเพื่อประเมินรอยโรคลุกลามไปปอด เนื่องจากรังสีที่ใช้มีผลต่อทารกในครรภ์น้อย สามารถพิจารณาทำ Chest radiographs ในสตรีตั้งครรภ์เมื่อมีข้อบ่งชี้เหมือนสตรีที่ไม่ตั้งครรภ์ โดยพิจารณาใช้แผ่นกันรังสีบริเวณท้องด้วย

Laparoscopic lymphadenectomy

การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อเลาะต่อมน้ำเหลืองอุ้งเชิงกรานมาประเมินว่ามีมะเร็งลุกลามไปหรือไม่ มีความสำคัญในการพิจารณารักษาในกรณีที่หญิงตั้งครรภ์ถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 1 และต้องการตั้งครรภ์ต่อ(pregnancy preservation) โดยแนะนำให้ทำในช่วงอายุครรภ์น้อยกว่า 22 สัปดาห์ เนื่องจากหากทำในช่วงที่อายุครรภ์มากกว่า 22 สัปดาห์ จำนวนต่อมน้ำเหลืองที่เลาะได้จะมีปริมาณน้อย ขนาดมดลูกที่โตขึ้นจะทำให้การผ่าตัดยากและมีความเสี่ยงจากการผ่าตัดมากกว่า (12)

หากมีการลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองควรยุติการตั้งครรภ์และรับการรักษาโดยเร็ว แต่หากไม่มีการลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองสามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้และทำการรักษามะเร็งปากมดลูกหลังคลอดได้

สำหรับการทำ sentinel lymph node dissection ในสตรีตั้งครรภ์ ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ จึงยังไม่แนะนำให้ทำในสตรีตั้งครรภ์(13)

การรักษารอยโรคระยะก่อนลุกลามในสตรีตั้งครรภ์

จากข้อมูลที่มีรายงานในปัจจุบัน 2 ใน 3ของสตรีตั้งครรภ์ที่เป็น Low-grade squamous intraepithelial lesion (LSIL) รอยโรคหายได้เอง มีเพียงส่วนน้อยที่รอยโรคพัฒนาต่อ 1 ใน 2 ของสตรีตั้งครรภ์ที่เป็น High-grade squamous intraepithelial lesion (HSIL) รอยโรคหายได้เอง จึงสามารถสรุปได้ว่าการตั้งครรภ์ไม่ได้มีผลทำให้รอยโรคระยะก่อนลุกลามพัฒนาเป็นมะเร็งได้เร็วขึ้น(14)

สรีตั้งครรภ์ที่ผลตรวจคัดกรอง (cytology) เป็น atypical squamous cell of undetermined significant (ASCUS) หรือ LSIL สามารถทำการส่องกล้องปากมดลูกในช่วงตั้งครรภ์ หรือ เลื่อนการส่องกล้องปากมดลูกไปเป็น 6 สัปดาห์หลังคลอดได้(6) โดยการส่องกล้องปากมดลูกหลังคลอดไม่แนะนำให้ทำในช่วงเร็วกว่า 4 สัปดาห์หลังคลอด(5)

สตรีตั้งครรภ์ที่ผลตรวจคัดกรอง (cytology) เป็น HSIL ควรได้รับการส่องกล้องปากมดลูกและตัดชิ้นเนื้อไปตรวจในช่วงการตั้งครรภ์(6) หากผลชิ้นเนื้อเป็น cervical intraepithelial neoplasia 2,3 (CIN2,3) หรือ adenocarcinoma in situ ควรตรวจติดตามสตรีตั้งครรภ์ด้วยการส่องกล้องปากมดลูก และ age-based testing ทุก 12-24 สัปดาห์(5) และทำการตัดชินเนื้อปากมดลูกซ้ำในกรณีที่รอยโรครุนแรงขึ้นจากการส่องกล้อง หรือสงสัยรอยโรคระยะลุกลาม การตัดปากมดลูกหรือการจี้ปากมดลูกเพื่อรักษารอยโรค CIN2,3 ในระหว่างการตั้งครรภ์ไม่ควรทำ แต่การตัดปากมดลูกจะทำในกรณีที่สงสัยว่าเป็นรอยโรคระยะลุกลามเพื่อวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูกในสตรีตั้งครรภ์เป็นหลัก(6)

การรักษามะเร็งปากมดลูกในสตรีตั้งครรภ์

ระยะ IA1 ที่ไม่มี lymph-vascular space invasion(LVSI)

สามารถรักษาได้ด้วยการตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวย (conization) โดยมีโอกาสแท้งได้ร้อยละ 15 หลังทำหัตถการ(15) ช่วงอายุครรภ์ที่เหมาะสมในการรักษาด้วยการตัดปากมดลูกคือ 14-20 สัปดาห์ ควรทำในห้องผ่าตัดที่มีความพร้อมในการห้ามเลือดและสตรีตั้งครรภ์ควรได้รับยาระงับความเจ็บปวดอย่างเหมาะสม การตัดปากมดลูกไม่ควรตัดลึกจนเกินไปเพราะอาจโดนส่วนของถุงน้ำคร่ำได้ มีรายงานว่าการตัดปากมดลูกลึกมากกว่า 1 เซนติเมตรมีโอกาสเกิดน้ำเดินและคลอดก่อนกำหนด(16)

การตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวยควรทำให้ได้ชิ้นเนื้อเป็นชิ้นเดียว เนื่องจากจะประเมินขอบเขตและความลึกของมะเร็งได้ดีกว่า หากผลชิ้นเนื้อรายงานว่าพบรอยโรคบริเวณขอบชิ้นเนื้อ อาจพิจารณาตัดปากมดลูกอีกครั้งได้ หลังจากตัดปากมดลูกพิจารณาเย็บปากมดลูกเพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนดและช่วยหยุดเลือดจากตัดปากมดลูกได้ หลังจากตัดปาดมดลูกควรติดตามผู้ป่วยด้วยการตรวจภายในและส่องกล้องปากมดลูกทุกไตรมาส(17)

การพิจารณช่องทางคลอดสามารถคลอดทางช่องคลอดได้หากผลชิ้นเนื้อจากการตัดปาดมดลูกแบบกรวยไม่พบรอยโรคบริเวณขอบชิ้นเนื้อ และผ่าตัดคลอดตามข้อบ่งชี้ทางสูติศาสตร์(6)

ระยะ IA1 ที่มี Lymph-vascular space invasion(LVSI), IA2 และ IB1

การรักษามาตรฐานในระยะนี้ของสตรีที่ไม่ตั้งครรภ์คือ การผ่าตัดมดลูกแบบกว้างและเลาะต่อมน้ำเหลืองอุ้งเชิงกราน(Radical hysterectomy with bilateral pelvic lymphadenectomy; RHPL) โดยอาจพิจารณาตัดรังไข่สองข้างขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของการกระจายของมะเร็งไปรังไข่ หากสรีตั้งครรภ์ไม่ต้องการตั้งครรภ์ต่อสามารถยุติการตั้งครรภ์และผ่าตัดมดลูกตามมาตรฐานได้เลย(RHPL with fetus in situ)

ในกรณีที่สตรีตั้งครรภ์ต้องการตั้งครรภ์ต่อและอายุครรภ์น้อยกว่า 22 สัปดาห์ พิจารณาทำ laparoscopic lymphadenectomy

-หากพบว่ามีการกระจายไปต่อมน้ำเหลืองแนะนำให้รักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัดในช่วงที่ตั้งครรภ์(neoadjuvant chemotherapy) และรักษาตามมาตรฐานหลังคลอด หรือ แนะนำให้ยุติการตั้งครรภ์และผ่าตัดมดลูกตามมาตรฐาน(RHPL with fetus in situ)

-หากไม่พบการกระจายไปต่อมน้ำเหลืองสามารถรักษาด้วยการผ่าตัดปากมดลูก(simple trachelectomy)หรือการตัดปากมดลูกแบบกรวย(conization) หรือ ติดตามไปในช่วงตั้งครรภ์และรักษาตามมาตรฐานหลังคลอดได้ สำหรับการผ่าตัดปากมดลูกแบบกว้าง(radical trachelectomy)ไม่แนะนำให้ทำในสตรีตั้งครรภ์เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ และมีโอกาสแท้งสูงถึงร้อยละ 33 และเสียเลือดมาก(6)

ในกรณีที่สตรีตั้งครรภ์ต้องการตั้งครรภ์ต่อและอายุครรภ์มากกว่า 22 สัปดาห์ สามารถรักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัดในช่วงที่ตั้งครรภ์(neoadjuvant chemotherapy)และรักษาตามมาตรฐานหลังคลอด หรือ ติดตามไปในช่วงตั้งครรภ์และรักษาตามมาตรฐานหลังคลอด(6)

ระยะ IB2

กรณีที่สตรีตั้งครรภ์ไม่ต้องการตั้งครรภ์ต่อสามารถยุติการตั้งครรภ์และทำการผ่าตัดตามมาตรฐาน(Radical hysterectomy and pelvic lymphadenectomy with fetus in situ)

ในกรณีที่สตรีตั้งครรภ์ต้องการตั้งครรภ์ต่อและอายุครรภ์น้อยกว่า 22 สัปดาห์ พิจารณา laparoscopic lymphadenectomy

-หากไม่พบการกระจายไปต่อมน้ำเหลืองสามารถรักษาด้วยให้ยาเคมีบำบัดในช่วงที่ตั้งครรภ์(neoadjuvant chemotherapy)และรักษาตามมาตรฐานหลังคลอด หรือ ติดตามไปในช่วงตั้งครรภ์และรักษาตามมาตรฐานหลังคลอดได้(18)

-หากพบว่ามีการกระจายไปต่อมน้ำเหลือง แนะนำให้ยุติการตั้งครรภ์และทำการรักษาตามมาตรฐาน เป็นหลัก การรักษาด้วยให้ยาเคมีบำบัดในช่วงที่ตั้งครรภ์(neoadjuvant chemotherapy)และรักษาตามมาตรฐานหลังคลอดอาจยอมรับได้

ในกรณีที่สตรีตั้งครรภ์ต้องการตั้งครรภ์ต่อและอายุครรภ์มากกว่า 22 สัปดาห์ สามารถรักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัดในช่วงที่ตั้งครรภ์(neoadjuvant chemotherapy)และรักษาตามมาตรฐานหลังคลอด

ระยะ IB3 and above

กรณีที่สตรีตั้งครรภ์ต้องการตั้งครรภ์ต่อแนะนำให้รักษาด้วยยาเคมีบำบัดในช่วงที่ตั้งครรภ์ การติดตามอาการเพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้ให้ยาเคมีบำบัดไม่แนะนำ เนื่องจากมีโอกาสที่ตัวโรคจะลุกลามได้ ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนเกี่ยวกับประโยชน์ในการทำ laparoscopic lymphadenectomy เมื่อทารกเจริญได้เพียงพอจนมีการพัฒนาของปอดสมบูรณ์ อาจพิจารณายุติการตั้งครรภ์และทำการรักษาผู้ป่วยต่อตามมาตรฐาน(19)

กรณีที่สตรีตั้งครรภ์ไม่ต้องการตั้งครรภ์ต่อ หากอยู่ในช่วงไตรมาสแรกสามารถรักษาด้วยการฉายแสงร่วมกับให้ยาเคมีบำบัดโดยมีทารกอยู่ในครรภ์ได้เลย (CCRT with fetus in utero) แต่หากอยู่ในช่วงไตรมาสที่สองแนะนำให้รักษาด้วยการฉายแสงร่วมกับให้ยาเคมีบำบัดหลังจาก hysterotomy หรือ feticide เพื่อลดโอกาสเสียเลือด และลดการกระทบทางจิตใจของสตรีตั้งครรภ์

การรักษามะเร็งปากมดลูกในสตรีตั้งครรภ์แบ่งตามอายุครรภ์และระยะของโรคสรุปคร่าวๆได้ตามรูปที่ 7

รูปที่ 7 แสดงแนวทางการรักษามะเร็งปากมดลูกในสตรีตั้งครรภ์
อ้างอิงจาก gynecologic cancer in pregnancy: guidelines based on third international consensus meeting, ESMO Guidelines, 2019 (20)

การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด

การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในช่วงตั้งครรภ์เพื่อควบคุมตัวโรคเพื่อรอระยะเวลาให้ทารกในครรภ์โตเพียงพอและรักษาต่อตามมาตรฐานหลังคลอด จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าการให้ยาเคมีบำบัดสามารถช่วยควบคุมระยะของโรคและสามารถพยุงการตั้งครรภ์ไปได้อายุครรภ์เฉลี่ย 33.2 สัปดาห์(6) โดยการตอบสนองหลังได้ยาเคมีบำบัด พบว่า complete response ร้อยละ 6.25, partial response ร้อยละ 62.5 , stable disease ร้อยละ 28.1

ในช่วงไตรมาสแรกไม่สามารถให้ยาเคมีบำบัดได้เนื่องจากมีผลต่อการพัฒนาอวัยวะของทารก ช่วงอายุครรภ์ที่สามารถให้ยาเคมีบำบัดได้คือหลัง 14 สัปดาห์ขึ้นไป (21) กลุ่มยาเคมีบำบัดที่มีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งปากมดลูกคือ platinum agents และ taxanes โดยแนะนำเป็น carboplatin ร่วมกับ paclitaxel มากกว่า cisplatin เนื่องจาก cisplatin มีผลข้างเคียงต่อไตและหูมากกว่า แม้ว่าสตรีตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาการกระจายตัวของยาเคมีบำบัดอาจจะเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับสตรีไม่ตั้งครรภ์ แต่ยังไม่มีรายงานว่าขนาดของยาเคมีบำบัดในสตรีทั่วไปนั้นไม่เพียงพอต่อการรักษามะเร็งในสตรีตั้งครรภ์(22) ความถี่ในการให้ยาเคมีบำบัดสามารถให้ได้ทั้ง ทุกสัปดาห์ และ ทุก 3 สัปดาห์

ระหว่างที่รักษาด้วยยาเคมีบำบัดจะต้องติดตามผู้ป่วยเฝ้าระวังผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น ปรับยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนตามความเหมาะสม ทารกในครรภ์มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะทารกโตช้าในครรภ์(Intrauterine growth restriction) มีความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด แพทย์ควรประเมินสุขภาพและน้ำหนักของทารกเพื่อเฝ้าระวังภาวะดังกล่าว

หากกำหนดอายุครรภ์ที่จะผ่าตัดคลอดได้แล้วควรหยุดยาเคมีบำบัดอย่างน้อย 3 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด เพื่อให้ไขสันหลังของทารกและหญิงตั้งครรภ์เองกลับมาทำงาน ยาเคมีบำบัดจึงไม่ควรให้ในช่วงอายุครรภ์ 35 สัปดาห์ขึ้นไป เพื่อลดโอกาสของการคลอดก่อนกำหนดในช่วงที่เม็ดเลือดขาวของสตรีตั้งครรภ์ต่ำ(21)

การตรวจติดตามระหว่างตั้งครรภ์

ระยะที่ IA1 ควรได้รับการตรวจติดตามด้วยการตรวจภายในและส่องกล้องปากมดลูกทุกไตรมาส

สำหรับสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในช่วงที่ตั้งครรภ์ควรได้รับการติดตามด้วยการตรวจภายในทุก 3-4สัปดาห์ หากสงสัยว่าตัวโรคลุกลามควรส่ง MRI เพื่อประเมิน และควรได้รับการประเมินสุขภาพน้ำหนักของทารกในครรภ์โดยสูติแพทย์เชี่ยวชาญมารดาและทารก(23)

Definitive treatment

สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นมะเร็งปากมดลูกและต้องการตั้งครรภ์ต่อหลังจากที่คลอดบุตรแล้วจะต้องได้รับการรักษาตามมาตรฐานดังนี้

กรณีที่ผู้ป่วยยังต้องการมีบุตรอยู่(fertility sparing)

Stage IA1 margin negative: ไม่จำเป็นต้องรักษาเพิ่มเติม

Stage IA1 margin positive: หลังคลอดโดยการผ่าตัดคลอด จะต้องทำการตัดปากมดลูกแบบกรวยอีกครั้งหลังคลอด 6-8 สัปดาห์

Stage IA2 หรือ ขนาด tumor > 4 cm: ผ่าตัดปาดมดลูกแบบกว้างและเลาะต่อมน้ำเหลืองอุ้งเชิงกราน (Radical trachelectomy and pelvic lymphadenectomy)

กรณีที่ผู้ป่วยไม่ต้องการมีบุตรแล้ว (non-fertility sparing)

Stage IA1 without LVSI: Extrafascial hysterectomy

Stage IA1 with LVSI IA2, IB1: ผ่าตัดมดลูกแบบกว้างเลาะต่อมน้ำเหลืองอุ้งเชิงกราน (Radical hysterectomy and pelvic lymphadenectomy) โดยจะพร้อมกับการผ่าตัดคลอด หรือ หลังผ่าตัดคลอดก็ได้

การกำหนดระยะเวลาคลอดและช่องทางคลอด

สตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดปากมดลูก(simple trachelectomy) ควรคลอดโดยการผ่าตัดคลอดในช่วงที่ยังไม่เจ็บครรภ์คลอดเพื่อป้องกันการเกิดมดลูกแตกและเสียเลือดมาก(24) โดยการลงแผลบริเวณมดลูกเดิมแนะนำให้ลงแบบแนวตั้ง(classical incision)(25) แต่ปัจจุบันมีรายงานว่าสามารถลงแนวขวางได้หากมีการ form ของ lower uterine segment

สตรีที่ต้องการตั้งครรภ์ต่อและได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในช่วงตั้งครรภ์ ควรให้คลอดเมื่อทารกมีความสมบูรณ์ของปอด อาจพิจารณาที่อายุครรภ์ 34-36 สัปดาห์ โดยพิจารณาให้ corticosteroid ก่อนการคลอด แต่หากตัวโรคมะเร็งแย่ลงควรพิจารณาในคลอดเลย(12) โดยช่องทางคลอดแนะนำเป็นการผ่าตัดคลอดโดยการลงแผลแนวตั้ง(classical incision)

สำหรับการคลอดทางช่องคลอดสามารถทำได้ใน ระยะ IA1 และ IA2 ที่ margin negative โดยหลีกเลี่ยงการตัดฝีเย็บเนื่องจากมีรายงานว่ามีกระจายของเซลล์มะเร็งบริเวณแผลฝีเย็บ(6)

การให้นมบุตร(breast feeding)

กรณีที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดอยู่ถือว่าเป็นข้อห้ามในการให้นมบุตรเนื่องจาก เคมีบำบัดสามารถขับออกทางน้ำนมทำให้ เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำในทารกได้ โดยระยะเวลาที่ปลอดภัยที่สามารถให้นมบุตรได้หลังได้ยาเคมีบำบัดคืออย่างน้อย 14 วัน

สรุป

มะเร็งปากมดลูกในสตรีตั้งครรภ์เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อย แม้ว่าปัจจุบันแนวโน้มอุบัติการณ์ของโรคในสตรีวัยเจริญพันธุ์จะลดลงเนื่องจากมีการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกอย่างแพร่หลายขึ้น แต่สตรีตั้งครรภ์ในยุคปัจจุบันก็มีแนวโน้มอายุเพิ่มขึ้นเช่นกัน การดูแลผู้ป่วยต้องพิจารณาหลายปัจจัยทั้งระยะของโรค อายุครรภ์ ความต้องการมีบุตร ความพร้อมของทีมในการดูแลผู้ป่วย โดยแนวทางการรักษาอ้างอิงตามข้อมูลที่มีรายงานหลักฐานเชิงประจักษ์ในปัจจุบัน

เอกสารอ้างอิง

  1. Maggen C, Wolters VE, Cardonick E, Fumagalli M, Halaska MJ, Lok CA, et al. Pregnancy and cancer: the INCIP project. Current oncology reports. 2020;22:1-10.
  2. Castanon A, Landy R, Pesola F, Windridge P, Sasieni P. Prediction of cervical cancer incidence in England, UK, up to 2040, under four scenarios: a modelling study. The Lancet Public Health. 2018;3(1):e34-e43.
  3. Cunningham FG, Leveno KJ, Dashe JS, Hoffman BL, Spong CY, Casey BM. Williams Obstetrics, 26e. Maternal physiology. New York, NY: McGraw Hill; 2022. p. 53.
  4. Pretorius R, Semrad N, Watring W, Fotheringham N. Presentation of cervical cancer. Gynecologic oncology. 1991;42(1):48-53.
  5. Perkins RB, Guido RS, Castle PE, Chelmow D, Einstein MH, Garcia F, et al. 2019 ASCCP risk-based management consensus guidelines for abnormal cervical cancer screening tests and cancer precursors. Journal of lower genital tract disease. 2020;24(2):102.
  6. Berek J, Hacker NF. Berek and Hacker’s Gynecologic Oncology: Wolters Kluwer Health; 2020.
  7. Grigsby PW, Massad LS, Mutch DG, Powell MA, Thaker PH, McCourt C, et al. FIGO 2018 staging criteria for cervical cancer: Impact on stage migration and survival. Gynecologic oncology. 2020;157(3):639-43.
  8. Salib MY, Russell JHB, Stewart VR, Sudderuddin SA, Barwick TD, Rockall AG, et al. 2018 FIGO Staging Classification for Cervical Cancer: Added Benefits of Imaging. RadioGraphics. 2020;40(6):1807-22.
  9. Webb JA, Thomsen HS, Morcos SK, org MoCMSCoESoURwe. The use of iodinated and gadolinium contrast media during pregnancy and lactation. European radiology. 2005;15:1234-40.
  10. Balleyguier C, Fournet C, Hassen WB, Zareski E, Morice P, Haie-Meder C, et al. Management of cervical cancer detected during pregnancy: role of magnetic resonance imaging. Clinical imaging. 2013;37(1):70-6.
  11. Morice P, Uzan C, Gouy S, Verschraegen C, Haie-Meder C. Gynaecological cancers in pregnancy. The Lancet. 2012;379(9815):558-69.
  12. Amant F, Berveiller P, Boere I, Cardonick E, Fruscio R, Fumagalli M, et al. Gynecologic cancers in pregnancy: guidelines based on a third international consensus meeting. Annals of Oncology. 2019;30(10):1601-12.
  13. Filippakis GM, Zografos G. Contraindications of sentinel lymph node biopsy: are there any really? World Journal of Surgical Oncology. 2007;5(1):1-11.
  14. Beharee N, Shi Z, Wu D, Wang J. Diagnosis and treatment of cervical cancer in pregnant women. Cancer medicine. 2019;8(12):5425-30.
  15. Averette HE, Nasser N, Yankow SL, Little WA. Cervical conization in pregnancy: Analysis of 180 operations. American journal of obstetrics and gynecology. 1970;106(4):543-9.
  16. Weinmann S, Naleway A, Swamy G, Krishnarajah G, Arondekar B, Fernandez J, et al. Pregnancy outcomes after treatment for cervical cancer precursor lesions: an observational study. PLoS One. 2017;12(1):e0165276.
  17. Botha MH, Rajaram S, Karunaratne K. Cancer in pregnancy. International Journal of Gynecology & Obstetrics. 2018;143:137-42.
  18. Zou W, Han Y, Zhang Y, Hu C, Feng Y, Zhang H, et al. Neoadjuvant chemotherapy plus surgery versus concurrent chemoradiotherapy in stage IB2-IIB cervical cancer: a systematic review and meta-analysis. PLoS One. 2019;14(11):e0225264.
  19. Cibula D, Raspollini MR, Planchamp F, Centeno C, Chargari C, Felix A, et al. ESGO/ESTRO/ESP Guidelines for the management of patients with cervical cancer–Update 2023. Virchows Archiv. 2023:1-32.
  20. Howe T, Lankester K, Kelly T, Watkins R, Kaushik S. Cervical cancer in pregnancy: diagnosis, staging and treatment. The Obstetrician & Gynaecologist. 2022;24(1):31-9.
  21. Cardonick E, Iacobucci A. Use of chemotherapy during human pregnancy. The lancet oncology. 2004;5(5):283-91.
  22. an Calsteren K, Verbesselt R, Ottevanger N, Halaska M, Heyns L, Van Bree R, et al. Pharmacokinetics of chemotherapeutic agents in pregnancy: a preclinical and clinical study. Acta obstetricia et gynecologica Scandinavica. 2010;89(10):1338-45.
  23. Karam A, Goff B, Ramin S. Cervical cancer in pregnancy. Up to date Literature review current through: Apr. 2013.
  24. Ma L-K, Cao D-Y, Yang J-X, Liu J-T, Shen K, Lang J-H. Pregnancy outcome and obstetric management after vaginal radical trachelectomy. European Review for Medical & Pharmacological Sciences. 2014;18(20).
  25. Knight L, Acheson N, Kay T, Renninson J, Shepherd J, Taylor M. Obstetric management following fertility-sparing radical vaginal trachelectomy for cervical cancer. Journal of Obstetrics and Gynaecology. 2010;30(8):784-9.

 

Read More

การดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางโลหิตวิทยาในผู้ป่วยมะเร็งนรีเวชที่ได้รับยาเคมีบำบัด

การดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางโลหิตวิทยาในผู้ป่วยมะเร็งนรีเวชที่ได้รับยาเคมีบำบัด
(Management of hematologic complications from chemotherapy in gynecologic cancer patients)

 

พญ. ปาณิศา ฮันตระกูล
อาจารย์ที่ปรึกษา รศ. พญ. ประภาพร สู่ประเสริฐ


 

ยาเคมีบำบัดมีบทบาทสำคัญในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งนรีเวชเป็นอย่างมาก การให้ยากลุ่มนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบถึงผลข้างเคียง โดยเฉพาะในส่วนที่กระทบกับการทำงานของไขกระดูก อันจะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางโลหิตวิทยา บทความนี้จะได้กล่าวถึงการดูแลภาวะแทรกซ้อนด้านนี้ เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งนรีเวชที่มารับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ต่อไป1 โดยก่อนอื่นขอกล่าวถึงชนิดของยาเคมีบำบัดที่สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ตามลักษณะการออกฤทธิ์ของยา ดังนี้ 2

  1. Cycle-nonspecific agents: กลุ่มยาที่เข้ามามีผลต่อทุกระยะในการแบ่งตัวของเซลล์
  2. Cycle-specific agents: กลุ่มยาที่มีผลต่อบางระยะในการแบ่งตัวของเซลล์เท่านั้น ซึ่งจะมีตัวอย่างยาตามตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ชนิดของยาเคมีบำบัด แบ่งตามลักษณะการออกฤทธิ์ของยา 2

 

Cell Cycle (Phase)-Specific Drugs

Phase Dependence

Type

Drugs

S phase-dependent

Antimetabolite

Cytarabine

Doxorubicin

5-Fluorouracil

6-Mercaptopurine

Methotrexate

Hydroxyurea

Prednisolone

M phase-dependent

Vinca alkaloids

 

Taxanes

 

Podophyllotoxins

 

Epothilones

Vincristine

Vinblastine

Paclitaxel

Docetaxel

Etoposide

Teniposide

Ixabepilone

G2 phase-dependent

Bleomycin

G1 phase-dependent

Corticosteroids

 

จากกลไกการทำงานของยาเคมีบำบัดนั้น ทำให้มีผลต่อเนื้อเยื่อที่เป็นมะเร็งและเนื้อเยื่อปกติในร่างกายด้วย เป้าหมายในการใช้ยาก็คือ ทำลายเซลล์มะเร็งมากกว่าเซลล์ปกติ แต่อย่างไรก็ตาม ยาก็ทำให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆ ตามมา โดยเฉพาะในเซลล์ที่มีการแบ่งตัวตลอดเวลา (renewing populations/rapid proliferation) จึงทำให้ต้องมีการปรับยาอย่างเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย โดยพิจารณาจากผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัด สำหรับยาเคมีบำบัดที่มีฤทธิ์กดไขกระดูก อาจจะพิจารณาจากปริมาณเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือด ก่อนที่จะเริ่มการรักษาในครั้งต่อไป2 ดังตารางที่ 2 แต่โดยทั่วไป จะรอให้ปริมาณเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดกลับมาปกติก่อน

ตารางที่ 2 การปรับขนาดของยาเคมีบำบัด โดยพิจารณาจากปริมาณเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือด2

 

Drug Dose Modification Based on Common Hematologic Toxicity

Count Before Next Course (per mm3) Dose Modification

Leukocytes

>4000

3000-3999

 

2000-2999

 

1000-1999

≤999

Dose of agents

ร้อยละ 100

ร้อยละ 100 ในกลุ่มยาที่ไม่มีผลต่อไขกระดูก

ร้อยละ 50 ในกลุ่มยาที่มีผลต่อไขกระดูก

ร้อยละ 100 ในกลุ่มยาที่ไม่มีผลต่อไขกระดูก

ร้อยละ 25 ในกลุ่มยาที่มีผลต่อไขกระดูก

ร้อยละ 25 ในกลุ่มยาที่มีผลต่อไขกระดูก

งดการให้ยาจนกว่าระดับเม็ดเลือดขาวจะกลับมาปกติ

PLATELETS

>100,000

50,000-100,000

<50,000

ร้อยละ 100

ร้อยละ 100 ในกลุ่มยาที่ไม่มีผลต่อไขกระดูก

งดการให้ยาจนกว่าระดับเกล็ดเลือดจะกลับมาปกติ

 

Hematologic complications from chemotherapy

ภาวะแทรกซ้อนทางโลหิตวิทยา (Hematologic complications) เป็นผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยจากการได้รับยาเคมีบำบัด แบ่งได้เป็น 3 ภาวะ ดังนี้

1. ภาวะซีด (anemia) เป็นภาวะที่พบได้รองลงมาจากภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ โดยวินิจฉัยจากค่าความเข้มข้นของเลือด (Hemoglobin; Hb) นั่นคือ ระดับ Hb น้อยกว่าหรือเท่ากับ 11 g/dL หรือ ลดลงมากกว่าหรือเท่ากับ 2 g/dL จากค่าตั้งต้น ซึ่งถ้าพบภาวะซีดเกิดขึ้น ผู้ป่วยควรได้รับการประเมินหาสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะซีด เช่น ภาวะเลือดออกบริเวณต่างๆ ภาวะ hemolysis, ภาวะโภชนาการ (เช่น ธาตุเหล็ก, วิตามิน B12, folate), ประวัติในครอบครัว, การทำงานของไต, ประวัติการได้รับรังสีรักษา หรือมีภาวะพร่องฮอร์โมนต่างๆ ร่วมกับการตรวจหาค่า reticulocyte count และ mean corpuscular volume (MCV) ซึ่งถ้าเจอสาเหตุของภาวะซีด จะได้แก้ปัญหาที่สาเหตุ แต่ถ้าไม่เจอสาเหตุ อาจเป็นจากผลข้างเคียงของการได้รับยาเคมีบำบัด แนะนำให้ประเมินอาการของผู้ป่วย ดังนี้3

  • • หากไม่มีอาการ และไม่มีภาวะทางอายุรกรรมอื่นๆ ที่รุนแรง สามารถเฝ้าสังเกตอาการต่อ และประเมินเป็นระยะ
  • • หากไม่มีอาการ แต่เป็นผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับอันตรายจากภาวะซีด เช่น ค่าความเข้มข้นของเลือด (Hemoglobin; Hb) ลดลงอย่างรวดเร็วภายหลังจากได้ยาเคมีบำบัด หรือมีภาวะทางอายุรกรรมที่รุนแรง เช่น โรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง หรือโรคหลอดเลือดสมอง แนะนำให้ red blood cell (RBC) transfusion ตามข้อบ่งชี้ของ The American Association of Blood Banks (AABB) Guidelines
  • • หากมีอาการ ได้แก่ ชีพจรเต้นเร็ว หายใจเร็ว แน่นหน้าอก หายใจเหนื่อย หน้ามืดวิงเวียน เป็นลมหมดสติ หรือมีอาการอ่อนเพลียมาก แนะนำให้ RBC transfusion ตามข้อบ่งชี้ของ AABB Guidelines

ข้อแนะนำสำหรับ RBC transfusion ของ AABB Guidelines4

  • • สำหรับผู้ป่วยที่มีสัญญาณชีพคงที่ พิจารณาให้การเติมเลือดเมื่อมีระดับ hemoglobin น้อยกว่า 7 g/dL (strong recommendation, moderate quality evidence)
  • • สำหรับผู้ป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัดทาง orthopedic surgery หรือ cardiac surgery และผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจ พิจารณาให้การเติมเลือดเมื่อมีระดับ hemoglobin น้อยกว่า 8 g/dL (strong recommendation, moderate quality evidence)

2. ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia) เป็นภาวะที่พบได้น้อยมาก มักเกิดขึ้นในช่วงหลังจากเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ 4-5 วัน แล้วจะกลับมาเป็นปกติหลังจากที่ปริมาณเม็ดเลือดขาวเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว โดยที่ผู้ป่วยที่มีปริมาณเกล็ดเลือดต่ำกว่า 50,000 cell/mm3 จะมีความเสี่ยงต่อภาวะเลือดหยุดยากเพิ่มมากขึ้น1 และยิ่งมีปริมาณเกล็ดเลือดต่ำกว่า 20,000 cell/mm3 จะมีความเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกเองเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในระบบทางเดินอาหาร2 และสมอง จำเป็นจะต้องได้รับการเติมเกล็ดเลือด โดยทาง AABB มีแนวทางสำหรับการเติมเกล็ดเลือดดังนี้

ข้อแนะนำสำหรับการเติมเกล็ดเลือด (platelet transfusion) ของ AABB Guidelines5

  • สำหรับผู้ป่วยในที่ได้รับการรักษาแบบ therapy-induced hypoproliferative thrombocytopenia และมีความเสี่ยงที่จะมีภาวะเลือดออกเอง (spontaneous bleeding) พิจารณาให้เติมเกล็ดเลือด เมื่อปริมาณเกล็ดเลือดต่ำกว่า 10,000 cell/mm3 โดยที่ให้เป็น single apheresis unit หรือเทียบเท่า (จาก guideline ฉบับนี้ single apheresis unit 1 ถุง มีปริมาณเกล็ดเลือดเทียบเท่ากับ platelet concentrate 4-6 ถุง) ซึ่งการให้ในปริมาณที่มากกว่านี้ ไม่ได้มีประสิทธิภาพในการเพิ่มปริมาณเกล็ดเลือดให้มากขึ้น (strong recommendation, moderate quality evidence)
  • สำหรับผู้ป่วยที่ต้องได้รับการทำ central venous catheter placement ควรพิจารณาให้ transfusion เมื่อปริมาณเกล็ดเลือดน้อยกว่า 20,000 cell/mm3 (weak recommendation, low quality evidence)
  • สำหรับผู้ป่วยที่ต้องได้รับการทำ diagnostic lumbar puncture ควรพิจารณาให้ transfusion เมื่อปริมาณเกล็ดเลือดน้อยกว่า 50,000 cell/mm3 (weak recommendation, very low quality evidence)
  • สำหรับผู้ป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัดแบบ major elective nonneuraxial surgery ควรพิจารณาให้ transfusion เมื่อปริมาณเกล็ดเลือดน้อยกว่า 50,000 cell/mm3 (weak recommendation, very low quality evidence)
  • สำหรับผู้ป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัด bypass ควรพิจารณาให้ transfusion เมื่อมี perioperative bleeding ร่วมกับมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ และ/หรือมีหลักฐานว่ามีภาวะ platelet dysfunction ร่วมด้วย (weak recommendation, very low quality evidence)

3. ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (granulocytopenia) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยที่สุด มักเกิดหลังจากได้ยาเคมีบำบัดที่กดไขกระดูก 6-12 วัน และปริมาณเม็ดเลือดขาวมักจะเพิ่มขึ้นมาเป็นปกติใน 10-14 วัน2 ซึ่งในระหว่างที่ปริมาณเม็ดเลือดขาวลดลงนั้น โอกาสการติดเชื้อจะสูงขึ้น โดยสามารถแบ่งระดับความรุนแรงตามปริมาณของเม็ดเลือดขาวชนิด neutrophil (absolute neutrophil count; ANC) ออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

  • เม็ดเลือดขาวต่ำระดับเล็กน้อย: ANC เท่ากับ 1000-1500 cell/mm3
  • เม็ดเลือดขาวต่ำระดับปานกลาง: ANC เท่ากับ 500-1000 cell/mm3
  • เม็ดเลือดขาวต่ำระดับรุนแรง: ANC น้อยกว่า 500 cell/mm3

ในระหว่างที่ผู้ป่วยมีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ จะต้องมีการเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดว่าผู้ป่วยมีปัญหาการติดเชื้อหรือไม่ เช่น หากพบว่าผู้ป่วยมีไข้ร่วมด้วย อาจนึกถึงภาวะ febrile neutropenia ที่จะได้กล่าวต่อไป ซึ่งทีมผู้ดูแลรักษาต้องมีมาตรการป้องกันเพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อแก่ผู้ป่วยกลุ่มที่มีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ได้แก่ การที่ทีมผู้ดูแลรักษาล้างมือบ่อยๆ สวมเสื้อกาวน์ ใส่หน้ากากอนามัย และถุงมือเมื่อสัมผัสหรือพบผู้ป่วย รวมทั้งการแยกผู้ป่วยเหล่านี้ออกจากผู้ป่วยรายอื่น และตัวผู้ป่วยควรได้รับความรู้สำหรับการปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อด้วย

ต่อไปจะขอกล่าวเน้นในส่วนของ febrile neutropenia ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้ในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด

FEBRILE NEUTROPENIA

ภาวะไข้จากระดับเม็ดเลือดขาวต่ำ (Febrile neutropenia) เป็นภาวะที่เป็นอันตรายอย่างมาก โดยมักสัมพันธ์กับการได้รับยาเคมีบำบัด มีการศึกษาบอกไว้ว่า ผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด มีความเสี่ยงที่จะเกิด febrile neutropenia ถึงร้อยละ 16.8 ทั้งในกลุ่มผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน6 ซึ่งทาง The Infectious Diseases Society of America ได้นิยามภาวะนี้ไว้ว่า มีระดับเม็ดเลือดขาวชนิด neutrophil (absolute neutrophil count; ANC) น้อยกว่า 500 cell/mm3 หรือน้อยกว่า 1,000 cell/mm3 ที่มีแนวโน้มจะลดลงจนมีระดับน้อยกว่า 500 cell/mm3 ภายใน 48 ชั่วโมง ร่วมกับการมีอุณหภูมิร่างกาย (ที่วัดทางปากหรือทางเยื่อแก้วหู) ตั้งแต่ 38.3oC เป็นต้นไป หรือ ≥38.0oC เป็นระยะเวลานานกว่าหนึ่งชั่วโมง (7-9)

ผู้ป่วยต้องได้รับการประเมินจากทั้งการซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อหาสาเหตุของการติดเชื้อ รวมไปถึงประเมินภาวะทางอายุรกรรมต่างๆ เวลาที่ได้รับยาเคมีบำบัด การใช้ยาอื่นๆ รวมทั้งยาปฏิชีวนะที่เคยได้รับ ร่วมกับการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น CBC, renal function, electrolytes, liver function test และพิจารณาส่ง chest x-ray และตรวจปัสสาวะ (urinalysis) เป็นรายๆไป นอกจากนี้ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจเพาะเชื้อจากเลือด โดยเก็บตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือดส่วนปลาย (peripheral) 2 specimens (ในกรณีที่ไม่มี central line) แต่ถ้ามี central line ให้เก็บตัวอย่างไปเพาะเชื้อจาก lumen ของ central line และจาก peripheral ซึ่งถ้าผู้ป่วยมีอาการแสดงว่าจะติดเชื้อที่บริเวณใด ก็ควรเพาะเชื้อจากตำแหน่งนั้นไปด้วย (10)

เชื้อก่อโรคที่พบในผู้ป่วยกลุ่มนี้ มักเป็นเชื้อแบคทีเรีย โดยเชื้อก่อโรคที่พบบ่อยในผู้ป่วย immunocompromised ได้แก่ กลุ่ม gram-positive bacteria เช่น coagulase-negative staphylococci, Staphylococcus aureus, Enterococcus species และ Streptococcus species เป็นต้น8 แต่ในปัจจุบัน พบว่ามีเชื้อดื้อยาเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการติดเชื้อก่อโรคในกลุ่ม Drug-resistant gram-negative เช่น Pseudomonas aeruginosa, Acinetobacter species, Stenotrophomonas maltophilia, Escherichia coli, Klebsiella species (11) ในขณะที่ก็พบว่าเชื้อราบางชนิด เช่น Candida species หรือ Aspergillus species เป็นสาเหตุได้เช่นกัน โดยมักพบในผู้ป่วยที่มีภาวะ neutropenia เป็นระยะเวลานาน และได้รับยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้าง (broad-spectrum antibiotics)8

การประเมินผู้ป่วยและปัจจัยเสี่ยง (Patient evaluation and risk assessment)

การประเมินผู้ป่วย เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะ febrile neutropenia แบบรุนแรง มีความสำคัญต่อการวางแผนในการรักษาภาวะ febrile neutropenia โดยอาจใช้เครื่องมือที่ช่วยในการประเมิน เช่น The Multinational Association for Supportive Care in Cancer (MASCC) risk index score เป็นการประเมินตั้งแต่เริ่มมีภาวะ febrile neutropenia หากคะแนน ≥21 จะเป็นผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่ำ (positive predictive value 91%, specificity 68%, sensitivity 71%)12 ซึ่งการประเมินผู้ป่วยโดยใช้ MASCC risk index score เป็นไปตามตารางที่ 3 และการประเมินปัจจัยเสี่ยงในผู้ป่วยแต่ละราย เป็นไปตามตารางที่ 4

ตารางที่ 3 การประเมินผู้ป่วย โดยอ้างอิงจาก MASCC risk index score (12)

The Multinational Association for Supportive Care in Cancer (MASCC) risk index score

Characteristics

Points

ภาระของการเจ็บป่วย (Burden of illness)

     • ไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย

     • มีอาการปานกลาง

 

5

3

ไม่มีความดันโลหิตต่ำ

5

ไม่มีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง

4

Solid tumor หรือ hematologic malignancy โดยที่ไม่เคยมีการติดเชื้อรา

4

ไม่มีภาวะขาดน้ำ

3

รักษาแบบผู้ป่วยนอก

3

อายุ < 60 ปี

2

 

ตารางที่ 4 การประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือการติดเชื้อที่รุนแรง ในผู้ป่วยที่มีภาวะไข้จากระดับเม็ดเลือดขาวต่ำ (Febrile neutropenia) (8, 10)

Initial Risk Assessment for Patients with Febrile Neutropenia

กลุ่มความเสี่ยงต่ำ

กลุ่มความเสี่ยงสูง

MASCC risk index score ≥ 21

มีไข้ในขณะที่รักษาตัวแบบผู้ป่วยนอก

ไม่มีความเจ็บป่วยอื่นๆที่ต้องได้รับการรักษาขณะนั้น

ระดับเม็ดเลือดขาวน้อยกว่า 100 cell/mm3 เป็นระยะเวลาน้อยกว่า 7 วัน

ECOG 0-1

ไม่มีภาวะบกพร่องในการทำงานของตับและไต

MASCC risk index score < 21

มีไข้ในขณะที่รักษาตัวแบบผู้ป่วยใน

มีภาวะทางอายุรกรรมอื่นๆ ร่วมด้วย หรือมีอาการทางคลินิกที่ไม่คงที่

มีการปลูกถ่ายเซลล์เม็ดเลือด ที่ใช้เซลล์จากผู้อื่น

ระดับเม็ดเลือดขาวน้อยกว่า 100 cell/mm3 เป็นระยะเวลามากกว่า 7 วัน

มีภาวะบกพร่องในการทำงานของตับ (ระดับเอนไซม์ของตับ มีค่ามากกว่า 5 เท่าของค่าสูงสุดในระดับปกติ)

มีภาวะบกพร่องในการทำงานของไต (CrCl < 30 mL/min)

โรคมะเร็งที่ไม่สามารถควบคุมได้ หรือมีการดำเนินโรครุนแรงมากขึ้น

โรคปอดอักเสบ หรือมีการติดเชื้อที่ซับซ้อนอื่นๆ

มีการใช้ยา Alemtuzumab (Campath, Genzyme)

มีเยื่อบุอักเสบ (mucositis) ระดับ 3-4

 

 

การดูแลรักษาผู้ป่วย (Management) (8, 10)

ผู้ป่วยที่มีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ร่วมกับมีไข้ เป็นภาวะเร่งด่วนที่ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที หากประเมิน MASCC แล้วจัดอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงต่ำ สามารถพิจารณาให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยให้ยาปฏิชีวนะในรูปแบบของยารับประทานได้ แต่ถ้าเป็นกลุ่มความเสี่ยงสูง ต้องพิจารณาให้การรักษาแบบผู้ป่วยใน โดยให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ ซึ่งผู้ป่วยที่มีภาวะ febrile neutropenia นี้ต้องได้รับการรักษาจนกระทั่งระดับเม็ดเลือดขาว ANC ≥500 cell/mm3 และผู้ป่วยไม่มีไข้เป็นเวลาอย่างน้อย 48 ชั่วโมง

ผู้ป่วยกลุ่มความเสี่ยงต่ำ (10)

ผู้ป่วยกลุ่มนี้ สามารถพิจารณาให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้ โดยต้องมีการตรวจร่างกายประเมินอย่างละเอียด ไม่มีความผิดปกติแบบวิกฤตของผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ นอกจากนั้น ต้องประเมินความสามารถในการดูแลรักษาตัวที่บ้านของผู้ป่วย ได้แก่ ผู้ป่วยยินยอมที่จะรักษาที่บ้านเอง มีผู้ที่ดูแลตลอด 24 ชั่วโมง สามารถติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ได้ สามารถให้การช่วยเหลืออย่างฉุกเฉินได้ สภาพแวดล้อมบริเวณบ้านมีความปลอดภัย ร่วมกับสามารถมาโรงพยาบาลได้อย่างรวดเร็วภายใน 1 ชั่วโมงหากมีอาการแย่ลง รวมทั้งผู้ป่วยมีความสามารถในการรับประทานยาปฏิชีวนะได้ โดยไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน และไม่เคยได้รับยาปฏิชีวนะในกลุ่ม Fluoroquinolone มาก่อน

ยาปฏิชีวนะแบบรับประทานที่เป็นตัวเลือกแรก นั่นคือ Ciprofloxacin ร่วมกับให้ Amoxicillin/Clavulanic acid (category 1) หรือ Clindamycin ในกรณีที่มีการแพ้ penicillin หรือให้เป็น Levofloxacin, Moxifloxacin (category 1) โดยรายละเอียดของยาปฏิชีวนะแต่ละชนิด แสดงในตารางที่ 5 ซึ่งทีมผู้ดูแลรักษาต้องมีการประเมินผู้ป่วยทุกวัน โดยเฉพาะ 72 ชั่วโมงแรก เพื่อประเมินการตอบสนองต่อยาและผลข้างเคียงของยา ภายหลังการรักษา 48 ชั่วโมงแล้วไข้ยังไม่ลดลง ก็ควรมีการปรับเปลี่ยนไปใช้ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้างขึ้น และจำเป็นจะต้องได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยใน ทั้งนี้ก่อนจำหน่ายผู้ป่วย ควรสังเกตอาการผู้ป่วย 2-12 ชั่วโมง (category 2B) เพื่อยืนยันว่าผู้ป่วยจัดอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงต่ำจริง และเพื่อติดตามอาการหลังจากที่ผู้ป่วยได้ยาปฏิชีวนะครั้งแรกที่โรงพยาบาล

ผู้ป่วยกลุ่มความเสี่ยงสูง (10)

ผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยใน และต้องได้รับยาปฏิชีวนะแบบ antipseudomonal beta-lactam agent เช่น Cefepime (category 1), piperacillin-tazobactam (category 1), meropenem (category 1), imipenem-cilastatin (category 1) หรือ Ceftazidime (category 2B) เนื่องจากเชื้อก่อโรค Pseudomonas นั้นเป็นเป้าหมายในการรักษา ในขณะที่ Vancomycin นั้น จะให้ก็ต่อเมื่อ มีการติดเชื้อบริเวณ skin, soft tissue มีภาวะปอดอักเสบ หรือมีการติดเชื้อที่สัมพันธ์กับ catheter หรือในผู้ป่วยที่มีสัญญาณชีพไม่คงที่เท่านั้น โดยรายละเอียดของยาปฏิชีวนะแบบ antipseudomonal beta-lactam แต่ละชนิด จะแสดงในตารางที่ 6

ตารางที่ 5 ยาปฏิชีวนะกลุ่มทั่วไป ที่ใช้ในภาวะ Febrile neutropenia (10)

 

Anti-bacterial agents

ยาปฏิชีวนะ

ขนาดยา

เชื้อที่ยาครอบคลุม

ข้อควรระวัง

Aminoglycosides

Amikacin

Gentamicin

Tobramycin

พิจารณาปรับยาตามความเหมาะสม

• คลุม gram-negative

• มักใช้ในผู้ป่วยที่มีความเจ็บป่วยแบบวิกฤตหรือมีสัญญาณชีพไม่คงที่

Ciprofloxacin ร่วมกับให้

 

 

 

 

 

 

Amoxicillin/Clavulanate

500-750 mg รับประทาน ทุก 12 ชั่วโมง หรือ 400 mg ให้ทางหลอดเลือดดำ ทุก 8-12 ชั่วโมง

 

875 mg รับประทานทุก 12 ชั่วโมง

• คลุม gram-negative และ atypical (เช่น Legionella spp.)

• คลุมเชื้อระบบทางเดินหายใจ (gram-positive) ได้ไม่ดีเท่า fluoroquinolone ตัวอื่น

Ciprofloxacin ตัวเดียว ไม่คลุม anaerobes

• หลีกเลี่ยงการใช้ในผู้ป่วยที่เคยได้รับ fluoroquinolone มาก่อน

• เพิ่มเชื้อ gram-negative resistance

• ให้ยาในรูปแบบรับประทานในผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงต่ำ

Levofloxacin

500-750 mg รับประทานหรือให้ทางหลอดเลือดดำ วันละครั้ง

• คลุม gram-negative และ atypical (เช่น Legionella spp.)

• คลุม gram-positive ได้มากกว่า Ciprofloxacin

Levofloxacin ไม่คลุม anaerobes

• การใช้เพื่อ prophylaxis พบว่าพบเชื้อดื้อยามากขึ้น

Moxifloxacin

400 mg รับประทานหรือให้ทางหลอดเลือดดำ วันละครั้ง

Metronidazole

500 mg รับประทานหรือให้ทางหลอดเลือดดำ ทุก 6-8 ชั่วโมง

• คลุม anaerobes ได้ดี

 

Trimethoprim/

sulfamethoxazole (TMP/SMX)

Prophylaxis: Single/double strength วันละครั้ง หรือ double strength 3 ครั้งต่อสัปดาห์

Therapy: 15 mg of TMP/kg/day โดยแบ่งให้ทุก 6-8 ชั่วโมง

• คลุมเชื้อ P.jiroveccii

• มีประสิทธิภาพสูงในการคลุมเชื้อ P.jiroveccii ในผู้ป่วยกลุ่มความเสี่ยงสูง

• เฝ้าระวังและติดตามภาวะ renal insufficiency, myelosuppression, hepatotoxicity และ hyperkalemia

 

ตารางที่ 6 ยาปฏิชีวนะกลุ่ม antipseudomonal beta-lactam ที่ใช้ในภาวะ Febrile neutropenia (10)

 

Anti-pseudomonal agents10

ยาปฏิชีวนะ

ขนาดยา

เชื้อที่ยาครอบคลุม

ข้อควรระวัง

Cefepime

2 gm ให้ทางหลอดเลือดดำ ทุก 8 ชั่วโมง

Broad-spectrum โดยเฉพาะ gram-positive และ gram-negative

• ไม่คลุม anaerobes และ Enterococcus spp.

• ใช้เมื่อสงสัยการติดเชื้อทางระบบประสาท

Ceftazidime

2 gm ให้ทางหลอดเลือดดำ ทุก 8 ชั่วโมง

• คลุม gram-positive ได้ไม่ดี

• ไม่คลุม anaerobes และ Enterococcus spp.

• ใช้เมื่อสงสัยการติดเชื้อทางระบบประสาท

Imipenem/cilastatin

500 mg ให้ทางหลอดเลือดดำ ทุก 6 ชั่วโมง

Broad-spectrum โดยเฉพาะ gram-positive, gram-negative และ anaerobes

• คลุม ESBL และ Enterobacter

• ทำให้เกิดการติดเชื้อ Carbapenem-resistant gram-negative rod มากขึ้น

• ใช้เมื่อสงสัยการติดเชื้อในช่องท้อง

Meropenem ใช้เมื่อสงสัยการติดเชื้อทางระบบประสาทได้ดีกว่า Imipenem

Meropenem

1-2 gm ให้ทางหลอดเลือดดำ ทุก 8 ชั่วโมง

Doripenem

500 mg ให้ทางหลอดเลือดดำ ทุก 8 ชั่วโมง

Piperacillin/tazobactam

4.5 gm ให้ทางหลอดเลือดดำ ทุก 6 ชั่วโมง

Broad-spectrum โดยเฉพาะ gram-positive, gram-negative และ anaerobes

• ใช้เมื่อสงสัยการติดเชื้อในช่องท้อง

• ไม่แนะนำสำหรับ meningitis

 

สำหรับการให้ยา antifungus นั้นควรพิจารณาในผู้ป่วยที่มีไข้ต่อเนื่องมากกว่า 4 วันหลังเริ่มต้นการรักษาเบื้องต้นแล้ว8, 10 ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่เคยได้ antifungal prophylaxis มาก่อนเข้าโรงพยาบาล โดยพบว่า เชื้อราก่อโรคที่พบมากที่สุดคือ Candida ดังนั้นควรได้รับการรักษาด้วย Fluconazole แต่ถ้าผู้ป่วยมีประวัติเคยได้ antifungal prophylaxis ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่เป็น fluconazole-resistant fungi หรือ invasive mold เช่น Aspergillus เป็นต้น โดยถ้าสงสัย resistant Candida strain ควรได้รับการรักษาด้วย Echinocandin เช่น Caspofungin แต่ถ้าสงสัย Aspergillus ก็ควรได้รับการรักษาด้วย Voriconazole (8, 10)

นอกจากการให้ยาปฏิชีวนะ ยังมีการให้ Myeloid growth factors (MGFs) หรือ Colony stimulating factors (CSFs) ที่เป็น biological growth factors โดยมีผลไปกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว ทำให้เกิด proliferation, differentiation และ activation ของเม็ดเลือดขาวชนิด neutrophil ในไขกระดูก ทำให้ลดระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงจาก stem cell ไปเป็น mature neutrophil ก่อนที่จะเข้าสู่กระแสเลือด และทำงานได้อย่างเต็มที่ เพื่อการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะ neutropenia ด้วย โดยอ้างอิงจาก meta-analysis ที่ศึกษาผลของการให้ MGF นอกเหนือไปจากการให้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยที่เป็น febrile neutropenia แล้วพบว่า ลดระยะเวลาในการให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำและลดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล แต่ไม่ได้มีผลต่อ overall survival(13)

หลังจากให้ยาปฏิชีวนะแล้ว ต้องติดตามเฝ้าดูอาการของผู้ป่วย หากผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาอย่างดี คือ ไข้แนวโน้มลดลง อาการคงที่หรือดีขึ้น มีสัญญาณชีพปกติ ให้พิจารณาเปลี่ยนยาตามการเพาะเชื้อที่ตรวจพบ หรือหากไม่พบเชื้อ ให้ประเมินจากระดับเม็ดเลือดขาว ถ้าระดับ ANC ≥500 cell/mm3 พิจารณาหยุดยาปฏิชีวนะได้ แต่ถ้าระดับ ANC <500 cell/mm3 พิจารณาให้ยาปฏิชีวนะต่อจนกระทั่งปริมาณเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นมาจนปกติ แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษา อาจพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อมากกว่านี้ หรือพิจารณาส่งตรวจ imaging studies อื่นๆ รวมทั้งพิจารณาให้ G-CSF/GM-CSF (category 2B) ร่วมกับปรึกษาแพทย์อายุรกรรมด้านโรคติดเชื้อให้มาประเมินและดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างเหมาะสม(10)

Management of neutropenia (3)

จาก The National Comprehensive Cancer Network (NCCN) Guidelines 2019 นั้น ได้กล่าวถึงการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะ neutropenia จากการได้รับยาเคมีบำบัด ด้วยการให้ Myeloid growth factor (MGF) โดยแบ่งออกเป็น การให้เพื่อป้องกันแบบปฐมภูมิ (primary prophylaxis) การให้เพื่อป้องกันแบบทุติยภูมิ (secondary prophylaxis) และการให้เพื่อรักษา (therapeutic use)

ตัวอย่างยาในกลุ่ม MGFs

• Filgrastim (category 1), tbo-filgrastim (category 1), filgrastim-sndz (category 1), or filgrastim-aafi (category 1)

  • ขนาดยาคือ 5 mcg/kg/day ฉีดใต้ผิวหนัง (subcutaneous route) ให้จนกระทั่งระดับเม็ดเลือดขาว ANC กลับมาปกติหรือใกล้เคียงปกติ
  • เริ่มให้ยาหลังจากได้รับยาเคมีบำบัดที่กดไขกระดูก 3-4 วัน

• Pegfilgrastim (category 1), pegfilgrastim-jmdb, or pegfilgrastim-cbqv

  • ขนาดยาคือ 6 mg ฉีดใต้ผิวหนัง เพียงครั้งเดียว
  • ควรให้วันรุ่งขึ้นหลังจากได้รับยาเคมีบำบัดที่กดไขกระดูก และควรเว้นระยะเวลาอย่างน้อย 12 วันหลังได้รับยานี้ ก่อนที่จะได้รับยาเคมีบำบัดในครั้งต่อไป

ผลข้างเคียงของ Filgrastim และ Pegfilgrastim รวมทั้ง Derivative Products ที่พบบ่อย เช่น อาการแพ้ยาแบบเล็กน้อย ปวดกระดูก/ข้อ/กล้ามเนื้อ ส่วนผลข้างเคียงที่รุนแรงที่สามารถเกิดขึ้น เช่น อาการแพ้ยาแบบรุนแรง ภาวะม้ามแตก ระบบทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน เลือดออกในถุงลมปอด ไอเป็นเลือด เป็นต้น

Primary prophylaxis

แนะนำให้พิจารณาความเสี่ยงจากปัจจัยต่างๆ เช่น ตัวโรค สูตรของยาเคมีบำบัดที่ได้รับ (โดยสูตรยาเคมีบำบัดที่มีความเสี่ยงต่อการเกิด febrile neutropenia จะแสดงในตารางที่ 7) ปัจจัยเสี่ยงเฉพาะตัวของผู้ป่วยแต่ละราย รวมทั้งเป้าหมายในการรักษาด้วย โดยจะจำแนกเป็น Overall febrile neutropenia risk ดังนี้

  • ความเสี่ยงสูง (>20%): พิจารณาให้ Granulocyte colony-stimulating factors (G-CSF) เพื่อใช้เป็น Prophylaxis agent สำหรับการเกิด febrile neutropenia
  • ความเสี่ยงปานกลาง (10%-20%): พิจารณาให้ G-CSF หากมีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้ ≥1 ข้อ
    • มีประวัติได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดหรือรังสีรักษามาก่อน
    • มีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำเรื้อรัง
    • มะเร็งแพร่กระจายเข้าสู่ไขกระดูก
    • มีประวัติได้รับการผ่าตัดมาในระยะไม่นาน หรือมีแผลเปิด
    • มีภาวะบกพร่องในการทำงานของตับ (bilirubin >2.0)
    • มีภาวะบกพร่องในการทำงานของไต (CrCl <50)
    • อายุ >65 ปี ที่ได้รับยาเคมีบำบัดชนิด dose intensity
  • ความเสี่ยงต่ำ (<10%): ไม่มีความจำเป็นต้องได้รับ G-CSF

ตารางที่ 7 สูตรยาเคมีบำบัดที่มีความเสี่ยงต่อการเกิด febrile neutropenia3

 

สูตรยาเคมีบำบัดที่มีความเสี่ยงต่อการเกิด febrile neutropenia

ความเสี่ยงสูง (>20%)

ความเสี่ยงปานกลาง (10%-20%)

Ovarian Cancer

     • Topotecan

     • Docetaxel

Soft Tissue Sarcoma

     • MAID (mesna, doxorubicin, ifosfamide,

dacarbazine)

     • Doxorubicin

     • Ifosfamide/doxorubicin

Occult Primary- Adenocarcinoma

     • Gemcitabine/docetaxel

Cervical Cancer

     • Cisplatin/topotecan

     • Paclitaxel/cisplatin

     • Topotecan

     • Irinotecan

Ovarian Cancer

     • Carboplatin/docetaxel

Uterine Sarcoma

     • Docetaxel

 

 

Secondary prophylaxis

หลังจากที่ได้รับยาเคมีบำบัดแล้ว ให้ติดตามอาการของผู้ป่วย หากมีภาวะ febrile neutropenia หรือมี dose-limiting neutropenic event ให้พิจารณาต่อ ว่าผู้ป่วยเคยได้รับ G-CSF มาก่อนหรือว่าไม่เคยได้รับ

  • หากเคยได้รับ G-CSF มาก่อน: ให้พิจารณาลดปริมาณยาเคมีบำบัดลง หรือเปลี่ยนสูตรยาเคมีบำบัด
  • หากไม่เคยได้รับ G-CSF: พิจารณาให้ G-CSF

แต่ถ้าผู้ป่วยไม่มีภาวะ febrile neutropenia หรือมี dose-limiting neutropenic event ก็สามารถให้ยาเคมีบำบัดครั้งต่อไปได้ โดยจะต้องประเมินความเสี่ยงใหม่ทุกครั้งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

Therapeutic use

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะ febrile neutropenia

  • หากผู้ป่วยเคยได้รับ prophylactic G-CSF มาก่อน จะแบ่งออกเป็น
    • ได้รับอย่างต่อเนื่องทุกวันอยู่แล้ว -> พิจารณาให้ G-CSF ต่อ
    • เคยได้รับมาก่อน แต่หยุดมานานแล้ว -> ไม่มีความจำเป็นต้องได้รับ G-CSF เพิ่มเติม
  • หากผู้ป่วยไม่เคยได้รับ prophylactic G-CSF มาก่อน จะพิจารณาจากปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วย ได้แก่ sepsis syndrome, อายุ >65 ปี, ANC <100 cell/mm3, มีภาวะ neutropenia ที่คาดว่านานกว่า 10 วัน, มีภาวะปอดอักเสบหรือแสดงถึงการติดเชื้อที่บริเวณต่างๆ, invasive fungal infection, มีไข้ตอนที่รักษาตัวอยู่โรงพยาบาล หรือเคยมีภาวะ febrile neutropenia มาก่อน
    • หากไม่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว -> ไม่จำเป็นต้องได้รับ therapeutic MGF
    • หากมีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว -> พิจารณาให้ therapeutic MGF

สรุป

ยาเคมีบำบัดมีบทบาทมากในการรักษาผู้ป่วยทางมะเร็งนรีเวช โดยมีผู้ป่วยจำนวนมากประสบความสำเร็จในการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด แต่ก็มีผู้ป่วยบางส่วนที่ไม่สามารถควบคุมโรคมะเร็งได้ หรือกลับมาเป็นซ้ำ ปัญหาที่สำคัญคือการดูแลผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัดดังที่ได้กล่าวมาในข้างต้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลภาวะแทรกซ้อนทางโลหิตวิทยาอย่างเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Lundqvist EA, Fujiwara K, Seoud M. Principles of chemotherapy. Int J Gynaecol Obstet. 2015;131 Suppl 2:S146-9.
  2. Philip J. Di Saia WTC. Basic Principles of Chemotherapy. Clinical Gynecologic Oncology. 8 ed2012. p. 515-34.
  3. NCCN Clinical Practice Guidelines in Oncology (NCCN Guidelines®). Hematopoietic Growth Factors 2019 [cited 2019 1 October]. Version 2.2019:[Available from: https://www.nccn.org/professionals/physician_gls/pdf/growthfactors.pdf.
  4. Carson JL, Guyatt G, Heddle NM, Grossman BJ, Cohn CS, Fung MK, et al. Clinical Practice Guidelines From the AABB: Red Blood Cell Transfusion Thresholds and Storage. JAMA. 2016;316(19):2025-35.
  5. Kaufman RM, Djulbegovic B, Gernsheimer T, Kleinman S, Tinmouth AT, Capocelli KE, et al. Platelet Transfusion: A Clinical Practice Guideline From the AABB. Annals of Internal Medicine. 2015;162(3):205-13.
  6. Weycker D, Barron R, Kartashov A, Legg J, Lyman GH. Incidence, treatment, and consequences of chemotherapy-induced febrile neutropenia in the inpatient and outpatient settings. J Oncol Pharm Pract. 2014;20(3):190-8.
  7. Klastersky J, de Naurois J, Rolston K, Rapoport B, Maschmeyer G, Aapro M, et al. Management of febrile neutropaenia: ESMO Clinical Practice Guidelines. Ann Oncol. 2016;27(suppl 5):v111-v8.
  8. Freifeld AG, Bow EJ, Sepkowitz KA, Boeckh MJ, Ito JI, Mullen CA, et al. Clinical practice guideline for the use of antimicrobial agents in neutropenic patients with cancer: 2010 Update by the Infectious Diseases Society of America. Clin Infect Dis. 2011;52(4):427-31.
  9. Flowers CR, Seidenfeld J, Bow EJ, Karten C, Gleason C, Hawley DK, et al. Antimicrobial prophylaxis and outpatient management of fever and neutropenia in adults treated for malignancy: American Society of Clinical Oncology clinical practice guideline. J Clin Oncol. 2013;31(6):794-810.
  10. NCCN Clinical Practice Guidelines in Oncology (NCCN Guidelines®). Prevention and Treatment of Cancer-Related Infections 2018 [cited 2019 1 October]. Version 1.2018:[Available from: https://www.nccn.org/professionals/physician_gls/pdf/infections.pdf.
  11. Alp S, Akova M. Management of febrile neutropenia in the era of bacterial resistance. Ther Adv Infect Dis. 2013;1(1):37-43.
  12. Klastersky J, Paesmans M, Rubenstein EB, Boyer M, Elting L, Feld R, et al. The Multinational Association for Supportive Care in Cancer risk index: A multinational scoring system for identifying low-risk febrile neutropenic cancer patients. J Clin Oncol. 2000;18(16):3038-51.
  13. Clark OA, Lyman GH, Castro AA, Clark LG, Djulbegovic B. Colony-stimulating factors for chemotherapy-induced febrile neutropenia: a meta-analysis of randomized controlled trials. J Clin Oncol. 2005;23(18):4198-214.
Read More

ภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำในการผ่าตัดทางนรีเวช

ภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำในการผ่าตัดทางนรีเวช
Venous thromboembolism in gynecologic surgery

พญ. อภิชญา เตชะตา
อาจารย์ที่ปรึกษา รศ. พญ. ประภาพร สู่ประเสริฐ


Venous thromboembolic events (VTE) ตามศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน คือ “ภาวะลิ่มเลือดอุด

หลอดเลือดดำ” หมายถึง ภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำส่วนลึกที่ขา (Deep Vein Thrombosis: DVT) ซึ่งอาจมีผลเสียตามมา โดยเฉพาะเมื่อมีภาวะลิ่มเลือดหลุดมาอุดหลอดเลือดบริเวณปอด (Pulmonary Embolism: PE) ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้(1) VTE เป็นภาวะหนึ่งที่พบได้ภายหลังจากการเข้ารับการผ่าตัดทางนรีเวช และถ้าเกิดขึ้นจะเพิ่มระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลและเพิ่มอัตราการเสียชีวิตถึง 6 เท่า โดยมีรายงานผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะลิ่มเลือดอุดตันภายหลังผ่าตัดทางนรีเวชถ้าไม่ได้รับยาป้องกันสูงถึง 15 – 40 % (2)

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยภายหลังการผ่าตัดทางนรีเวช อุบัติการณ์ (incidence) การเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลังการผ่าตัด 30 วันคิดเป็นประมาณ 2.1 % (3) โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มีภาวะ DVT

มักมีอาการ เช่น ปวดขา หรือขาบวม บางรายอาจเกิด PE ตามมาและทำให้เสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม ภาวะนี้เป็นภาวะที่สามารถป้องกันได้

จากการศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งจำนวน 2,373 รายที่เข้ารับการผ่าตัดทางนรีเวชหรือการผ่าตัดระบบ

ทางเดินปัสสาวะ พบว่า มีผู้ป่วยจำนวน 1.7 % ที่เสียชีวิตหลังผ่าตัดภายใน 30 วัน ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้มีถึง 46.3 % เสียชีวิตจากภาวะลิ่มเลือดอุดตัน(3) ทั้งนี้ผู้ป่วยมะเร็งนรีเวชที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะลิ่มเลือดอุดตันมีรายงานอัตราการเสียชีวิตสูงขึ้นกว่าผู้ป่วยกลุ่มอื่น โดยพบอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 13.2% ในรายที่ได้รับยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน และอัตราการเสียชีวิตจะเพิ่มสูงขึ้นอีก 2.3 เท่าในรายที่ไม่ได้รับยาป้องกัน(4) ในประเทศไทย

จากการศึกษาของ ดร.นพ.ณัฐวุฒิ เสริมสาธนสวัสดิ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พบว่าในผู้ป่วยที่เข้ามา

รับการผ่าตัดรักษามะเร็งนรีเวชในปี 2554-2555 เป็น DVT แบบมีอาการ 3.9% (5)

ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดทางนรีเวชจึงมีความสำคัญ เนื่องจากจะช่วยป้องกัน ช่วยรักษาและลดการเสียชีวิตของผู้ป่วยลงได้

พยาธิกำเนิด (Pathophysiology)(6)

Virchow เสนอทฤษฎีที่อธิบายการเกิด VTE อยู่ 3 ปัจจัย ได้แก่

  1. การไหลเวียนของเลือดช้าลง (venous stasis) เช่น การใส่เฝือก ภาวะที่มีเม็ดเลือดขาวมาก ภาวะขาดน้ำ
  2. การบาดเจ็บของผนังหลอดเลือด (endothelial injury) เช่น การใส่สายสวนทางหลอดเลือด การติดเชื้อในกระแสเลือด การให้ยาเคมีบำบัด
  3. ภาวะเลือดแข็งตัวเร็วผิดปกติ (hypercoagulability) เช่น สาเหตุทางพันธุกรรม

กระบวนการเกิด VTE เริ่มต้นด้วยการมีเกล็ดเลือดรวมตัวกันที่บริเวณใดก็ตามที่มีการคั่งของเลือดโดยเฉพาะเช่น ที่บริเวณเหนือลิ้นหลอดเลือดดำ หรือบริเวณที่มีการบาดเจ็บของผนังหลอดเลือดดำจากการผ่าตัด

ซึ่งจะไปกระตุ้นทำให้มีการเกิดลิ่มเลือด ทำให้มีก้อนเลือดเกิดบริเวณหลอดเลือดดำที่ขา แม้ว่าในร่างกายมีกระบวนการสลายลิ่มเลือด แต่เนื่องจากกระบวนการเกิดลิ่มเลือดมีการผลิตในอัตราที่เร็วกว่ากระบวนการสลายลิ่มเลือดของร่างกาย ดังนั้น จึงเกิดลิ่มเลือด (venous thrombosis) ขึ้น ปัจจัยเสี่ยงและภาวะที่ส่งเสริมการเกิด VTE มีหลายปัจจัยดังแสดงในตารางที่ 1

ตารางที่ 1: ปัจจัยเสี่ยง (Risk factors) (6)

 

ปัจจัยเสี่ยงทางกรรมพันธุ์

(Hereditary factors)

ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นภายหลัง

(Acquired factors)

1.            ภาวะขาด antithrombin

2.            ภาวะขาด protein C

3.            ภาวะขาด protein S

4.            Factor V Leiden

5.            Activated protein C resistance
ที่ไม่มี Factor V Leiden

6.            Prothrombin gene mutation

7.            Dysfibrinogenemia

8.            ภาวะขาด plasminogen

1.            ไม่มีการเคลื่อนไหว

2.            อายุมาก

3.            โรคมะเร็ง

4.            การเจ็บป่วยเฉียบพลัน

5.            การผ่าตัดใหญ่

6.            การบาดเจ็บ

7.            บาดเจ็บไขสันหลัง

8.            ตั้งครรภ์และช่วงหลังคลอด

9.            โรค polycythemia vera

10.        Antiphospholipid antibody syndrome

11.        ยาคุมกำเนิด

12.        การรักษาที่ให้ฮอร์โมนทดแทน

13.        การรักษาให้ยาเคมีบำบัด

14.        ความอ้วน

15.        การใส่สายในหลอดเลือดดำส่วนกลาง

16.        ใส่อุปกรณ์ที่ให้อยู่นิ่ง (immobilizer) หรือเฝือก

American College of Chest Physicians (ACCP) แนะนำให้ใช้เครื่องมือในการประเมินความเสี่ยงของการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในผู้ป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัด เพื่อแบ่งผู้ป่วยตามความเสี่ยงที่จะเกิด VTE

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการพิจารณาให้ยาป้องกันการเกิด VTE

เครื่องมือที่ ACCP แนะนำให้ใช้ในการประเมินผู้ป่วย ได้แก่ Caprini score และ Rogers score โดยในทางปฏิบัติ Caprini score ถูกนำมาใช้ในผู้ป่วยนรีเวชมากกว่า Rogers score เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ง่ายต่อการใช้ และใช้ทำนายการเกิด VTE ได้แม่นยำ (7) ในที่นี้จึงจะกล่าวถึงเฉพาะ Caprini score ดังแสดงในตารางที่ 2 และตารางที่ 3

ตารางที่ 2: Caprini score (8)

1 คะแนน

2 คะแนน

3 คะแนน

5 คะแนน

     อายุ 41–60 ปี

     เข้ารับการผ่าตัดเล็ก

     ดัชนีมวลกาย
 >25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร

     ขาบวม

     เส้นเลือดขอด

     หญิงตั้งครรภ์หรือหญิงหลังคลอด

     มีประวัติแท้งไม่ทราบสาเหตุ
หรือแท้งซ้ำ

     ใช้ยาคุมกำเนิดแบบรับประทาน หรือได้รับฮอร์โมนเสริม

     ภาวะติดเชื้อ (sepsis)
ในช่วง1 เดือนที่ผ่านมา

     โรคปอดรุนแรง เช่น ปอดติดเชื้อในช่วง1 เดือนที่ผ่านมา

     การทำงานของปอดผิดปกติ (abnormal pulmonary function)

     โรคหัวใจขาดเลือด

     ภาวะหัวใจวาย (congestive heart failure) ในช่วง1 เดือนที่ผ่านมา

     การอักเสบของทางเดินอาหาร (inflammatory bowel disease)

     ผู้ป่วยที่ต้องนอน (bed rest)

     อายุ 6174 ปี

     เข้ารับการผ่าตัดข้อ
(arthroscopic surgery)

     เข้ารับการผ่าตัดใหญ่
(เวลาผ่าตัดมากกว่า 45 นาที)

     เข้ารับการผ่าตัดส่องกล้อง
(เวลาผ่าตัดมากกว่า 45 นาที)

     ผู้ป่วยมะเร็ง

     นอนติดเตียงมากกว่า
72 ชั่วโมง

     ผู้ป่วยที่เฝือก

     ผู้ป่วยที่มีสายสวน
หลอดเลือดดำส่วนกลาง (central venous access)

     อายุ 75 ปี

     เคยมีประวัติเป็น VTE

     เคยมีประวัติครอบครัวเป็น VTE

     ผู้ป่วยโรค factor V Leiden

     ผู้ป่วยที่ตรวจพบ
prothrombin 20210A

     ผู้ป่วยที่ตรวจพบ
lupus anticoagulant

     ผู้ป่วยที่ตรวจพบ
anticardiolipin antibodies

     ผู้ป่วยที่ตรวจพบ
การเพิ่มขึ้นของ homocysteine

     ผู้ป่วยที่มีภาวะ heparininduced thrombocytopenia

     ภาวะเลือดแข็งตัวผิดปกติ
(thrombophilia)

     โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ในช่วง1 เดือน
ที่ผ่านมา

     การผ่าตัดใหญ่ข้อบริเวณขา(elective major lower extremity arthroplasty)

     กระดูกสะโพก เชิงกราน หรือขาหัก

     การบาดเจ็บของไขสันหลัง(acute spinal cord injury)
ในช่วง1 เดือนที่ผ่านมา

VTE: venous thromboembolic event

ตารางที่ 3: การใช้ Caprini score ในการป้องกัน VTE (8)

 

ระดับความเสี่ยง

ต่อการเกิด VTE

ระดับคะแนนCaprini score

ความเสี่ยงต่อการเกิด VTE (%)

กลุ่มความเสี่ยงเลือดออกผิดปกติ

ระดับปานกลาง

(Average bleeding risk ~1%)

กลุ่มความเสี่ยงเลือดออกผิดปกติ

ระดับสูง

(High bleeding risk ~2%)

ความเสี่ยงต่ำมาก

(very low risk)

0

< 0.5

ขยับตัวโดยเร็วหลังผ่าตัด (early ambulation)

ความเสี่ยงต่ำ
(low risk)

1 2

1.5

การใช้อุปกรณ์ป้องกัน (mechanical prophylaxis) แนะนำให้ใช้ IPC (ระดับ 2C)

ความเสี่ยงปานกลาง
(
moderate risk)

3 4

3.0

การใช้ยา  LMWH หรือ LDUH (ระดับ 2B)

หรือ IPC (ระดับ 2C)

การใช้อุปกรณ์ป้องกัน
โดยแนะนำให้ใช้ IPC (ระดับ 2C)

ความเสี่ยงสูง
(
high risk)

5

6.0

การใช้ยา  LMWH หรือ LDUH (ระดับ 1B)ร่วมกับการใช้ GCS หรือ IPC (ระดับ 2C)

 

การใช้อุปกรณ์ป้องกัน
โดยแนะนำให้ใช้ IPC

พิจารณาใช้ยาป้องกัน
เมื่อไม่พบความเสี่ยง
ต่อการเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติ

(ระดับ 2C)

 

 

 

 

กลุ่มความเสี่ยงสูง
และเข้ารับการผ่าตัดมะเร็งในช่องท้อง
หรืออุ้งเชิงกราน

การใช้ยา  LMWH หรือ LDUH (ระดับ 1B)ร่วมกับการใช้ GCS หรือ IPC (ระดับ 2C)

 

และให้ LMWH เป็นเวลานาน 4 สัปดาห์

หลังออกจากโรงพยาบาล (ระดับ 1B)

กลุ่มความเสี่ยงสูง
และมีข้อห้ามของการใช้LMWH และ LDUH

การใช้ยา  fondaparinux (ระดับ 2C)

หรือยา low-dose aspirin (160 มิลลิกรัม)
(ระดับ 2C)

 

การใช้อุปกรณ์ป้องกัน โดยแนะนำให้ใช้ IPC (ระดับ 2C)

 

หรือใช้ทั้งสองวิธีร่วมกัน

 

 

VTE: venous thromboembolic event GCS: graduated compression stocking IPC: intermittent pneumatic compression

LMWH: low-molecular weight heparin LDUH: low-dose unfractionated heparin

การป้องกัน (prevention)

การเกิด VTE พบได้บ่อยภายหลังการผ่าตัดทางนรีเวช ดังนั้นจึงควรมีการป้องกันการเกิด VTE

ซึ่งการป้องกัน VTE ที่มีประสิทธิภาพแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่

  1. การใช้อุปกรณ์ป้องกัน (mechanical prophylaxis)
  2. การใช้ยาป้องกัน (pharmacologic prophylaxis agents)

Mechanical prophylaxis (7,8)

กลไกการป้องกันชนิดนี้ คือ การลดการเกิด venous stasis และกระตุ้นให้เกิด endogenous fibrinolysis สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบย่อย ดังนี้

1. Passive methods ได้แก่ graduated compression stocking (GCS) โดยที่ลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นหลังการผ่าตัดมักเกิดขึ้นบริเวณน่องและเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด นอกเหนือจาก

การให้คำแนะนำผู้ป่วยเรื่องการขยับตัวหลังผ่าตัดและการยกขาสูงแล้ว การใช้ GCS จะช่วยป้องกันการคั่งของเลือดที่บริเวณน่อง จากการศึกษา systematic review ที่ศึกษาประสิทธิภาพของ GCS (9)

พบว่าการใส่ GCS สามารถช่วยลดการเกิดลิ่มเลือดอุดตันบริเวณขาได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยพบว่าจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับวิธีป้องกันอื่นๆ ข้อดีของ GCS คือ มีค่าใช้จ่ายน้อย และสามารถใช้ได้ง่าย ทั้งนี้การเลือกขนาดที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ โดยวัดเส้นรอบวงของต้นขาหรือน่องบริเวณที่ใหญ่ที่สุดในช่วงเช้า ผู้ป่วยจะต้องอยู่ในท่ายืนหรือท่านั่ง เมื่อได้ขนาดที่เหมาะสมแล้วให้นำไปเทียบขนาดที่เหมาะสมจากบรรจุภัณฑ์ เพราะถ้าใช้ขนาดที่ไม่เหมาะสม เช่น แน่นเกินไป กลับทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันมากขึ้น และมีการศึกษาพบว่าการใช้ความยาวถึงระดับเข่า และความยาวถึงระดับต้นขา ให้ผลลัพธ์ของการป้องกันที่ไม่แตกต่างกัน แต่การใช้ความยาวถึงเข่าง่ายต่อการใช้งานมากกว่าจึงทำให้เป็นที่นิยมกว่า(10)

2. Active methods ได้แก่ intermittent pneumatic compression (IPC) ใช้เพื่อรัดบริเวณน่องเพื่อป้องกันการเกิด venous stasis ผ่านทางการใช้ pneumatic sleeve พบว่าเมื่อใช้ระหว่างและหลังการผ่าตัดใหญ่ทางนรีเวชกรรม มีประสิทธิภาพในเรื่องการลด DVT สูงกว่าการใช้ GCS และมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับการให้ยา LDUH และ LMWH(11) ส่วนประสิทธิภาพของ IPC ในเรื่องของการลด PE นั้น การใช้ยาช่วยป้องกันได้มากกว่าการใช้ IPC อย่างไรก็ตามยังต้องการการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับประสิทธิภาพของ IPC ในการลด PE เพิ่มอีก สำหรับวิธีการใช้ IPC ควรใช้ทั้งระหว่างการผ่าตัด และหลังการผ่าตัด จนกระทั่งจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล

Pharmacologic prophylaxis agents (1) มีดังนี้

1. Low-dose unfractionated heparin (LDUH)

การใช้ป้องกันภาวะ VTE ในช่วงผ่าตัด พบว่าสามารถลดภาวะลิ่มเลือดหลุดอุดหลอดเลือดบริเวณปอด และ ภาวะลิ่มเลือดหลุดอุดหลอดเลือดบริเวณปอดจนเสียชีวิต รวมทั้ง ลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ 41, 48 และ 18 % ตามลำดับ แต่ข้อเสียคือทำให้เกิดภาวะเลือดออกเพิ่มขึ้น 57 %

2. Low-molecular weight heparin (LMWH)

ข้อดีของ LMWH เมื่อเทียบกับ LDHU คือ มีประสิทธิภาพสูงกว่าและการบริหารยาสะดวก เพราะสามารถให้ได้เพียงวันละ 1 ครั้ง เนื่องจากมีครึ่งชีวิต (half life) ที่ยาว รวมทั้ง มี anti factor Xa ที่มากกว่า และมี antithrombin activity น้อยกว่า จึงช่วยลดการเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติและการเกิด hematoma

ข้อมูลจากสมาคมมะเร็งนรีเวชแห่งประเทศไทยระบุว่าควรเลือกใช้ pharmacologic prophylaxis agents เป็นวิธีแรกในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งนรีเวชที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด เพราะการศึกษา meta-analysis พบว่าการให้ยาช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจาก PE การบริหารยาที่แนะนำให้ใช้ คือ การให้ UFH ทุก 8 ชั่วโมง หรือให้ LMWH วันละครั้ง

การให้ยาในกลุ่มนี้สามารถให้ตั้งแต่ก่อนผ่าตัด 12 ชั่วโมง หรือเริ่มให้หลังผ่าตัด 12-24 ชั่วโมง เมื่อไม่มีเลือดออก โดยการฉีดเข้าทางใต้ผิวหนัง (subcutaneous) ควรหลีกเลี่ยงการฉีดใกล้กับแผลผ่าตัด เพราะอาจทำให้เกิดเลือดออกที่แผลผ่าตัดได้ และต้องระวังไม่ให้ฉีดลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อ เพราะอาจทำให้เกิดเลือดออกในชั้นกล้ามเนื้อ ระยะเวลาที่ให้ยา คือ 7-10 วัน หรือจนผู้ป่วยสามารถเดินได้ปกติ หรือขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของผู้ป่วยแต่ละราย

ตารางที่ 4: ขนาดยาต้านการแข็งตัวของเลือดที่ใช้ในการป้องกันภาวะ VTE ในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกที่ได้รับการผ่าตัดใหญ่ (1)

ชื่อยา

ขนาดยา

Unfractionated heparin

Tinzaparin

Enoxaparin

5,000 IU ฉีดใต้ผิวหนัง ทุก 8 ชั่วโมง

4,500 IU ฉีดใต้ผิวหนัง วันละ 1 ครั้ง

40 มิลลิกรัม ฉีดใต้ผิวหนัง วันละ 1 ครั้ง

IU: international unit

การตรวจวินิจฉัย (1)

1. ภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดดำลึก (Deep vein thrombosis; DVT)

การตรวจวินิจฉัยภาวะ DVT อาศัยการซักประวัติ การตรวจร่างกาย และการส่งตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ สำหรับอาการเด่นของ DVT คือ มีปวด บวม แดงบริเวณขา และอาการแสดงจะพบ calf tenderness โดยเฉพาะเมื่อทำท่า dorsiflexion ที่เรียกว่า Homan’s sign สำหรับอาการแสดงอื่นๆ ได้แก่ การคลำพบ venous cord, ขาบวมมากๆ (massive edema), ขามีสีเขียวคล้ำ (cyanosis) ที่บ่งบอกอาการเลือดบริเวณขาไหลเวียนไม่สะดวก อาการเหล่านี้รวมเรียกว่า ‘phlegmasia cerulea dolens’ ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน อย่างไรก็ตาม

อาการเหล่านี้เป็นอาการที่ไม่จำเพาะเจาะจงสำหรับภาวะ DVT จึงมีการส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อช่วยในการวินิจฉัยแยกโรค โดยวิธีในปัจจุบัน ได้แก่

  • Venography ถือเป็น gold standard ของการตรวจ DVT
  • Venous ultrasound เป็นการตรวจแบบ noninvasive เพื่อดูการอุดตันของหลอดเลือดดำตั้งแต่ femoral vein ลงมาจนถึง popliteal vein
  • Duplex ultrasound เป็นการตรวจแบบ noninvasive ที่มีความไวในผู้ป่วย proximal DVT
  • Magnetic resonance imaging (MRI) เป็นวิธีที่มีความไวและความจำเพาะสูงมาก แต่เนื่องจากมีราคาแพงจึงไม่แนะนำให้ใช้เป็นวิธีแรก
  • D-dimer เป็น biomarkers หากค่า D-dimer สูงกว่าปกติก็จะสนับสนุนว่าอาจมีภาวะ DVT ได้ แต่อาจมีค่าผลบวกลวง (false positive) จากภาวะอื่นๆได้ เช่น ปอดอักเสบหรือมะเร็ง เป็นต้น ดังนั้น จึงไม่แนะนำให้ส่งตรวจ D-dimer ในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่สงสัยจะมีภาวะ DVT
  • Impedance plethysmography วิธีนี้จำเพาะสำหรับผู้ที่เป็น proximal DVT แต่มีข้อเสีย คือ ไม่สามารถแยกระหว่าง thrombolic และ nonthrombolic obstruction ได้ ทำให้วิธีนี้ได้รับความนิยมลดลง
  • I125 fibrinogen leg scan เนื่องจากกระบวนการตรวจยุ่งยาก และมีราคาแพง จึงยังไม่เป็นที่นิยมในประเทศไทย

2. ภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่บริเวณปอด (Pulmonary embolism; PE)

การวินิจฉัยภาวะ PE จะอาศัยอาการและอาการแสดง การตรวจ chest x-ray, electrocardiogram และ arterial blood gas พบว่าไม่มีความจำเพาะต่อโรคนี้ สำหรับอาการของ PE ที่มักพบคือ เจ็บหน้าอกแปล้บๆ บริเวณเยื่อหุ้มปอด (pleuritic chest pain) ไอเป็นเลือด(hemoptysis) หายใจสั้น (shortness of breath) หัวใจเต้นเร็ว (tachycardia) และหายใจเร็ว (tachypnea) บางครั้งอาการแสดงอาจมีเพียง tachycardia หรือ SpO2 ลดต่ำลง

โดยที่ตรวจร่างกายไม่พบความผิดปกติของเสียงหายใจ ทั้งนี้พบว่า 80% ของผู้ป่วยที่เป็น PE อาจไม่มีอาการ หรืออาการแสดงของ DVT มาก่อน และเนื่องจากไม่มีอาการและอาการแสดงที่จำเพาะ การวินิจฉัย PE

จึงจำเป็นต้องมีการส่งตรวจเพิ่มเติม ได้แก่

  • Pulmonary angiogram ถือเป็น gold standard ในการวินิจฉัย PE ข้อเสียของวิธีนี้ คือ invasive และต้องอาศัยความชำนาญในการทำ เนื่องจากทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย
  • Ventilation-perfusion lung scan เป็นการตรวจเบื้องต้นแบบ noninvasive ถ้าพบว่า perfusion scan ปกติจะตัดภาวะ PE ออกไปได้ อย่างไรก็ตามถ้าพบมี perfusion defect จะไม่จำเพาะสำหรับ PE
  • Computerized tomography (CT) การตรวจด้วยเครื่อง CT ธรรมดาไม่เหมาะสมที่จะใช้วินิจฉัย เนื่องจากไม่สามารถเห็น filling defect ใน pulmonary artery ด้วยสารทึบแสงภายในระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจ นอกจากนี้ยังมีปัญหาเนื่องจากการเคลื่อนไหวหรือการหายใจของผู้ป่วยซึ่งอาจทำให้การแปลผลผิด ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้โดยการใช้ helical CT (spiral หรือ continuous volume CT) พบว่ามีความไว 72% และความจำเพาะถึง 95%
  • Magnetic resonance imaging (MRI) เป็นวิธีที่มีความแม่นยำในการวินิจฉัย แต่เนื่องจากมีราคาแพง จึงไม่แนะนำให้ใช้เป็นวิธีแรก
  • D-dimer มักพบระดับสูงกว่าปกติ

จากข้อมูลที่กล่าวมา แนวทางในการตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัยภาวะ VTE มีดังนี้

  1. ผู้ป่วยที่มีอาการสงสัยว่าจะมีภาวะ DVT ให้ส่งตรวจ venous ultrasound ถ้าได้ผลบวกและลักษณะทางคลินิกเข้าได้กับภาวะ DVT ก็ให้การรักษาได้เลย ถ้าได้ผลลบแต่อาการทางคลินิกเข้าได้กับ DVT ให้ทำ venogram หรือทำ venous ultrasound ซ้ำในวันที่ 7
  2. ผู้ป่วยที่มีอาการสงสัยว่าจะมีภาวะ PE ให้ส่งตรวจ helical CT หรือ ventilation-perfusion lung scan

ถ้าได้ผลเป็น high probability ร่วมกับมีอาการที่เข้าได้ (moderate/high clinical suspicion) ก็ให้การวินิจฉัยได้เลย ในสถานที่ที่ไม่สามารถส่งตรวจ CT หรือ ventilation-perfusion lung scan อาจส่งตรวจ venous ultrasound ของขาทั้งสองข้าง ถ้าพบมี DVT ร่วมกับมีอาการแสดงที่สงสัย PE ก็ให้การรักษา VTE ไปได้เลย

แนวทางการรักษา (12)

เป้าหมายของการรักษาภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดดำ ประกอบด้วย การป้องกันการเกิดภาวะ PE และการป้องกันการเสียชีวิตจากภาวะนี้ รวมทั้งการป้องกันการเกิด postphlebitic syndrome ทั้งนี้เพื่อหวังผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการรักษาน้อยที่สุด และป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

ยาที่ใช้ในการรักษาภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดดำ

1. Unfractionated heparin

Heparin เป็นสารจำพวก D-glycosaminoglycan ออกฤทธิ์โดยการจับกับ antithrombin III เนื่องจาก heparin เป็นสารที่มีมวลโมเลกุลขนาดใหญ่ ทำให้ไม่ถูกดูดซึมและถูกทำลายด้วยกรดจากทางเดินอาหาร จึงต้องบริหารยาโดยการฉีดทางหลอดเลือดดำ (intravenous) และฉีดเข้าใต้ผิวหนัง (subcutaneous) เท่านั้น

ขนาดและวิธีการบริหารยาจะขึ้นอยู่กับข้อบ่งชี้ โดยสามารถบริหารยาได้หลายรูปแบบ ดังแสดงในตารางที่ 5 ส่วนการติดตามผลการรักษาด้วย UFH ในประเทศไทยนิยมใช้ค่า aPTT มากที่สุด โดยจะกำหนดค่า aPTT ให้อยู่ในช่วง 1.5 – 2.5 เท่าของค่าปกติ ซึ่งค่าปกติอยู่ที่ 20-30 วินาที

ตารางที่ 5 :การบริหารยาเฮพาริน (Unfractionated heparin) โดยใช้น้ำหนักตัวในการปรับยา (12)

 

การบริหารยาเฮพาริน (Unfractionated heparin) โดยใช้น้ำหนักตัวในการปรับยา (12)

ข้อบ่งชี้

ขนาดยาเบื้องต้น (Initial loading dose)

ขนาดอัตราเร็วของยาเบื้องต้น (Initial infusion rate)

DVT  หรือ PE

80-100 ยูนิต/กก.(ขนาดสูงสุด = 10,000 ยูนิต)

17-20 ยูนิต/กก./ชม. (ขนาดสูงสุด = 2300 ยูนิต/ชม.)

ระดับ aPTT

การปรับยา (Maintenance infusion rate)

น้อยกว่า 37 วินาทีหรือน้อยกว่าระดับรักษา(therapeutic range)> 12 วินาที

ให้ยาเพิ่ม 80 ยูนิต/กก. (bolus) และเพิ่มอัตราเร็วยาขึ้น  4 ยูนิต/กก./ชม.

37-47 วินาทีหรือน้อยกว่าระดับรักษา1-12 วินาที

ให้ยาเพิ่ม 40 ยูนิต/กก. (bolus) และเพิ่มอัตราเร็วยาขึ้น  2 ยูนิต/กก./ชม.

48-71 วินาทีหรืออยู่ในระดับรักษา

ให้ยาขนาดเท่าเดิม

72-93 วินาทีหรือสูงกว่าระดับรักษา 1-22 วินาที

ลดอัตราเร็วยาลง  2 ยูนิต/กก./ชม.

> 93 วินาทีหรือสูงกว่าระดับรักษา > 22 วินาที

หยุดยา 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นลดอัตราเร็วยาลง 3 ยูนิต/กก./ชม.

คำนวณโดยใช้ actual body weight
กรณีผู้ป่วยอ้วน (>130% of IBW)ให้คำนวณโดยใช้ adjusted body weight

ให้เฮพาริน 5,000 ยูนิตตามด้วย 1,260 ยูนิต/กก.

ค่า aPTT

(วินาที)

ขนาดยา bolus

(ยูนิต)

ระยะเวลาหยุดยา

(นาที)

การปรับยา
(มิลลิลิตรต่อชั่วโมง)

ระยะเวลา
การตรวจติดตามค่า
aPTT

< 50

5000

0

+3

6 ชั่วโมงถัดไป

50 – 59

0

0

+3

6 ชั่วโมงถัดไป

60 – 85

0

0

0

วันรุ่งขึ้น

86 – 95

0

0

2

วันรุ่งขึ้น

96 – 120

0

30

2

6 ชั่วโมงถัดไป

>120

0

60

4

6 ชั่วโมงถัดไป

ให้เฮพารินขนาดเริ่มต้น bolus 5,000 ยูนิต ตามด้วย 40,000 ยูนิต/24 ชม. (ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกต่ำ)
หรือ 30,000 ยูนิต/24 ชม. (ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกสูง)

ค่า aPTT

 (วินาที)

ขนาดอัตราเร็วของยา (intravenous infusion)

ระยะเวลา
การตรวจติดตามค่า
aPTT

การปรับยา
(มิลลิลิตรต่อชั่วโมง)

ขนาดยาที่ปรับ
(ยูนิต/
24 ชม.)

< 45

+6

+5760

4-6 ชั่วโมงถัดไป

46 – 54

+3

+2880

4-6 ชั่วโมงถัดไป

55 – 85

0

0

ให้ยาขนาดเท่าเดิมและไม่ต้องตรวจ aPTT

86 – 110

3

2880

หยุดยา 1 ชั่วโมง

และตรวจ aPTT 4-6 ชั่วโมงหลังเริ่มยา

> 110

6

5760

หยุดยา 1 ชั่วโมง

และตรวจ aPTT 4-6 ชั่วโมงหลังเริ่มยา

ข้อห้ามใช้ยา UFH ได้แก่ ผู้ป่วยที่แพ้ยา และผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออก นอกจากนี้ยังห้ามใช้ในระหว่าง หรือหลังการผ่าตัดสมอง ผ่าตัดไขสันหลัง และผ่าตัดตา หรือผู้ที่ได้รับการเจาะน้ำไขสันหลัง หรือได้รับการฉีดยาชาเพื่อทำ regional block

อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา heparin ได้แก่

  • ภาวะเลือดออก (bleeding) ซึ่งหากมีเลือดออกในอวัยวะสำคัญหรือเลือดออกรุนแรง จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยยา protamine sulfate ฉีดทางหลอดเลือดดำในขนาด 1 มิลลิกรัมของ protamine ต่อ 100 ยูนิตของ UFH (ขนาดสูงสุด = 50 มิลลิกรัม)
  • Hypersensitivity reaction อาจพบการแพ้ยาได้หลังให้ UFH
  • Thrombocytopenia อาจเกิดได้ภายใน 5 วันแรกของการใช้ยา ซึ่งเป็นผลจาก heparin-induced platelet aggregation มักหายได้เองและมีเพียงส่วนน้อยที่เกิดอันตรายจากภาวะนี้

2. Low molecular weight heparin (LMWHs)

LMWH มีกลไกการออกฤทธิ์ที่เหมือนกัน แต่มีข้อดีกว่า UFH คือ สามารถทำนายการออกฤทธิ์กับกำหนดขนาดยาได้แน่นอนกว่า UFH ไม่ต้องบริหารยาบ่อย และมีอุบัติการณ์การเกิด thrombocytopenia น้อย รวมทั้งลดความยุ่งยากในการติดตามผลการรักษา ขนาดของ LMWH ปรับตามน้ำหนักตัว และในการบริหารยาส่วนมาก จะให้ฉีดเข้าใต้ผิวหนังทางหน้าท้องทุก 12-24 ชั่วโมง โดยติดตามการให้ยาจากการตรวจ CBC ทุก 5-10 วัน ในช่วงแรก สำหรับอาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อย คือ การเกิดเลือดออกซึ่งสามารถเกิดได้ทั้งชนิดรุนแรงและไม่รุนแรง สำหรับผู้ที่มีเลือดออกชนิดรุนแรงแนะนำให้ใช้ protamine sulfate ฉีดทางหลอดเลือดดำ

3. Heparinoids

ยากลุ่มนี้ ได้แก่ danaparoid เป็นยาในกลุ่ม glycosaminoglycan ที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายกับ heparin เมื่อฉีดยาเข้าใต้ผิวหนังยาจะมีค่า bioavailability มากกว่า 95% มีค่าครึ่งชีวิต 22-24 ชั่วโมง โดยไม่ทำให้เกล็ดเลือดต่ำเหมือน UFH ดังนั้นองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา จึงได้รับรองให้ใช้ในการป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดดำในผู้ที่ได้รับการผ่าตัดสะโพก และใช้ในการป้องกันการแข็งตัวของเลือดในผู้ที่มีข้อห้ามใช้ heparin

4. Fondaparinux

เป็นยาที่ได้รับการรับรองให้ใช้ป้องกันภาวะ VTE หลังการผ่าตัดใหญ่และใช้ในการรักษา DVT และ PE จัดเป็น selective factor Xa inhibitor ไม่ทำให้เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำเหมือนการใช้ heparin หรือ LMWH ขนาดยาของการป้องกัน VTE คือ 2.5 มิลลิกรัมฉีดเข้าใต้ผิวหนัง วันละครั้ง โดยจะเริ่มให้ในชั่วโมงที่ 6-8 หลังจากการผ่าตัด

ส่วนการรักษา DVT และ PE จะให้ fondaparinux 7.5 มิลลิกรัมฉีดเข้าใต้ผิวหนัง วันละครั้ง ส่วนผู้ที่น้ำหนักน้อยกว่า 50 กิโลกรัม จะให้ขนาด 5 มิลลิกรัมฉีดเข้าใต้ผิวหนัง และผู้ที่น้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม จะให้ขนาด 10 มิลลิกรัมฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ทั้งนี้ผู้ที่ได้รับยาควรมีการตรวจ CBC ก่อนให้ยาและประเมินค่าการทำงานของไต และในระหว่างที่ได้รับยาต้องมีการตรวจ CBC เป็นประจำ

5. ยากลุ่ม Direct factor Xa inhibitors เป็นยาชนิดรับประทานที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการกระตุ้น factor Xa โดยตรง ได้แก่ rivaroxaban และ apixaban ประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการรักษาด้วย warfarin หรือ heparin

6. Direct thrombin inhibitors (DTIs)

ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยการจับกับ thrombin โดยตรง ได้แก่ desirudin, bivalirudin, argatroban และ dabigatran สามารถกำหนดขนาดยาได้อย่างแน่นอน เป้าหมายของการรักษา คือ ให้ระดับ aPTT อยู่ที่1.5-3.0 เท่าของค่าปกติ

7. Warfarin

เป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือดหรืออาจเรียกว่า vitamin K antagonist ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ขนาดยาในผู้ป่วยแต่ละรายจะแตกต่างกัน ในผู้ที่ได้รับยาครั้งแรกจะให้ยาในขนาด 30-40 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์ แล้วติดตามค่า INR โดยกำหนดเป้าหมายไว้ที่ 2-3 เท่าของค่าปกติ การเกิดเลือดออกผิดปกติเป็นอาการไม่พึงประสงค์ ที่สำคัญ ถ้ามีเลือดออกรุนแรงจะให้ vitamin K ทางหลอดเลือดดำ หรือพิจารณาให้ส่วนประกอบของเลือดร่วมด้วย

การใช้ยา warfarin ในตอนเริ่มต้นจะเริ่มให้รับประทานร่วมกับการให้ heparin ทางหลอดเลือดดำอย่างน้อย

4-5 วัน เพื่อรอเวลาให้ warfarin ออกฤทธิ์เต็มที่ แล้วจึงค่อยๆหยุดยา heparin และให้ยา warfarin ต่ออีก 3-6 เดือน

8. Thrombolytic

ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ละลายลิ่มเลือดโดยการเปลี่ยน plasminogen ไปเป็น plasmin ยาที่สามารถใช้ในผู้ป่วย VTE ได้คือ urokinase, streptokinase และ tissue plasminogen activators (t-PA) การใช้ยานี้ เป็นระยะเวลานานเท่าใดจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดยังไม่ทราบแน่ชัด ในทางปฏิบัติ สำหรับ DVT จะให้ urokinase และ streptokinase เป็นเวลา 48-72 ชั่วโมง และสำหรับ PE จะให้ urokinase เป็นเวลา 12 ชั่วโมง

บทสรุป

ภาวะ VTE เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยภายหลังการผ่าตัดทางนรีเวช โดยเฉพาะในผู้ป่วยมะเร็งนรีเวช ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ผลเสียจากการเกิด VTE คือ เพิ่มอัตราการเสียชีวิต อย่างไรก็ตามภาวะนี้สามารถป้องกันได้ ดังนั้น แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องจึงควรที่จะตระหนักและใช้เครื่องมือประเมินการเกิดโรคที่เหมาะสม รวมทั้งพิจารณาให้การป้องกัน และการรักษาที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วยแต่ละรายเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยนรีเวชที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด

เอกสารอ้างอิง

  1.  สมาคมมะเร็งนรีเวชแห่งประเทศไทย. แนวทางการดูแลภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำในผู้ป่วยมะเร็งนรีเวช [Internet]. 2015 [cited 2019 August 23]. Available from: http://www.tgcsthai.com/file/2359044553.pdf.
  2. Zhan C, Miller MR. Excess length of stay, charges, and mortality attributable to medical injuries during hospitalization. Jama. 2003;290(14):1868-74.
  3. Agnelli G, Bolis G, Capussotti L, Scarpa RM, Tonelli F, Bonizzoni E, et al. A clinical outcome-based prospective study on venous thromboembolism after cancer surgery: the @RISTOS project. Annals of surgery. 2006;243(1):89-95.
  4. Gunderson CC, Thomas ED, Slaughter KN, Farrell R, Ding K, Farris RE, et al. The survival detriment of venous thromboembolism with epithelial ovarian cancer. Gynecologic oncology. 2014;134(1):73-7.
  5. Sermsathanasawadi N, Thangrod R, Hongku K, Wongwanit C, Ruangsetakit C, Chinsakchai K, et al. Prevalence of perioperative asymptomatic proximal deep vein thrombosis in Thai gynecologic cancer patients. Journal of the Medical Association of Thailand Chotmaihet thangphaet. 2014;97(2):153-8.
  6. Tapson VF. Acute pulmonary embolism. The New England journal of medicine. 2008;358(10):1037-52.
  7. Stroud W, Whitworth JM, Miklic M, Schneider KE, Finan MA, Scalici J, et al. Validation of a venous thromboembolism risk assessment model in gynecologic oncology. Gynecologic oncology. 2014;134(1):160-3.
  8. Caprini JA. Thrombosis risk assessment as a guide to quality patient care. Disease-a-month : DM. 2005;51(2-3):70-8.
  9. Sachdeva A, Dalton M, Amaragiri SV, Lees T. Graduated compression stockings for prevention of deep vein thrombosis. The Cochrane database of systematic reviews. 2014(12):Cd001484.
  10. Byrne B. Deep vein thrombosis prophylaxis: the effectiveness and implications of using below-knee or thigh-length graduated compression stockings. Heart & lung : the journal of critical care. 2001;30(4):277-84.
  11. Feng JP, Xiong YT, Fan ZQ, Yan LJ, Wang JY, Gu ZJ. Efficacy of intermittent pneumatic compression for venous thromboembolism prophylaxis in patients undergoing gynecologic surgery: A systematic review and meta-analysis. Oncotarget. 2017;8(12):20371-9.
  12. Haines ST, Zeolla M, Witt DM. Venous thromboembolism. Pharmacotherapy: a pathophysiologic approach.9th ed. Appleton&Lange: Stamford; 2014.
Read More
SCT1

Ovarian sex cord stromal tumors

Ovarian sex cord stromal tumors

พญ.กฤตยา ภิรมย์
อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.พญ.ประภาพร สู่ประเสริฐ


บทนำ

 

เนื้องอกรังไข่ชนิด sex cord stroma เกิดจากเซลล์ sex cord และ stroma ของรังไข่ โดยเนื้องอกชนิดนี้ประกอบขึ้นจากเซลล์หลายชนิดต่อไปนี้ร่วมกันได้แก่ Sex cord ที่มาจากเพศหญิงคือ granulosa cells และ theca cells ส่วน sex cord ที่มาจากเพศชายคือ Sertoli cells และ Leydig cells ส่วน stroma คือ fibroblast หรือ precursors ของเซลล์เหล่านี้ (1)

SCT1

รูปที่ 1 ชนิดของเนื้องอกรังไข่ตามเซลล์ต้นกำเนิด(2)

อุบัติการณ์

เนื้องอกชนิดนี้พบได้ประมาณร้อยละ 5-8 ของเนื้องอกรังไข่ทั้งหมด ส่วนใหญ่ของเนื้องอกชนิดนี้เป็นเนื้องอกธรรมดา (benign) หรือ กลุ่มเนื้องอกที่มีโอกาสการเป็นมะเร็งน้อย (low malignant potential)(1) เนื้องอกชนิดนี้มักวินิจฉัยได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น โดยวินิจฉัยจากลักษณะทางพยาธิวิทยาของชิ้นเนื้อ ส่วนใหญ่ของเนื้องอกกลุ่มนี้เป็น granulosa-theca cell tumor ส่วนกลุ่ม Sertoli-Leydig cell tumor พบได้น้อย (1,3)

เนื้องอกกลุ่มนี้จะพบในอายุที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับเนื้องอกรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว อายุโดยเฉลี่ยของเนื้องอกรังไข่ชนิด sex cord stroma อยู่ที่ 50 ปี โดยร้อยละ 12 พบในกลุ่มอายุน้อยกว่า 30 ปี และร้อยละ 50 พบในกลุ่มอายุ 30-59 ปี ในขณะที่อายุโดยเฉลี่ยของเนื้องอกรังไข่ชนิดเยื่อบุผิวอยู่ที่ 61 ปี(3)

กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นเนื้องอกชนิดนี้ คือ ภาวะที่มีระดับ FSH สูง เช่น วัยเด็กก่อนมีประจำเดือน หรือวัยหมดประจำเดือน การใช้ยากระตุ้นไข่ตก เชื้อชาติผิวดำมากกว่าผิวขาว โรคอ้วน โรคทางพันธุกรรมบางชนิดที่มักพบร่วมกัน เช่น Peutz-Jeghers มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่ ในขณะที่กลุ่มที่สูบบุหรี่ กลุ่มที่ใช้ยาคุมกำเนิด และมีบุตร จะลดความเสี่ยงของโรคนี้ลง (4)

ลักษณะอาการทางคลินิก

ส่วนใหญ่จะมาด้วย ก้อนโตในอุ้งเชิงกราน ท้องมาน ปวดท้อง เนื้องอกบางชนิดสามารถสร้างฮอร์โมนเพศได้ เช่น เอสโตรเจน หรือ แอนโดรเจน โดยร้อยละ 90 ของเนื้องอกรังไข่ที่สร้างฮอร์โมนอยู่ในเนื้องอกรังไข่กลุ่มนี้ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติทางต่อมไร้ท่อ เช่น ภาวะวัยสาวก่อนกำหนด ระดูผิดปกติ เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด เลือดออกหลังวัยหมดระดู เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ภาวะบุรุษเพศ เช่น ขาดระดู ขนดก เต้านมฝ่อ มีสิว เสียงห้าว(5)

การตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม(5,6)

การตรวจต่อไปนี้สามารถช่วยในการวินิจฉัย

สารบ่งชี้มะเร็ง (tumor marker): มีประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัยแยกโรคและใช้ในการตรวจติดตามหลังการรักษา(5)

ตารางที่ 1 แสดง tumor marker ที่สร้างโดย ovarian sex cord stromal tumors(6)

 

AFP

Estradiol

Inhibin

Testosterone

Androstenedione

DHEA

AMH

Thecoma- Fibroma

Granulosa cell

±

+

±

+

Sertoli-Leydig cell

±

±

±

±

±

±

การตรวจอัลตราซาวน์ (ultrasonography): เพื่อยืนยันการมีก้อนที่รังไข่ และดูลักษณะก้อนว่าเป็นน้ำหรือเนื้อตัน รวมถึงประเมินลักษณะการเปลี่ยนแปลงของเส้นเลือดที่มาเลี้ยงรังไข่เพื่อช่วยในการแยกว่าเป็นเนื้องอกธรรมดาหรือมะเร็ง ในผู้หญิงที่สงสัยเนื้องอกรังไข่ชนิด sex cord stroma ต้องประเมินเยื่อบุโพรงมดลูกด้วย เพื่อดูความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูก เนื่องจากผลของฮอรโมนเอสโตรเจนจะทำให้มีเยื่อบุโพรงมดลูกหนาได้ นอกจากนี้ควรตรวจหาน้ำในช่องท้อง น้ำในเยื่อหุ้มปอดและอวัยวะโตในช่องท้องร่วมด้วย

การถ่ายภาพรังสีทรวงอก (chest x-ray): ช่วยประเมินการแพร่กระจายไปที่ปอดหรือเยื่อกั้นกลางช่องอกได้

การตรวจเอกเซรย์คอมพิวเตอร์ (computed tomography/ CT) หรือ การตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging/ MRI): ช่วยประเมินเรื่องการแพร่กระจายภายในช่องท้องและการแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองหลังช่องท้อง

Endometrial sampling: พิจารณาเก็บชิ้นเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด หรือวัยทองที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกหนากว่า 4 มิลลิเมตร รวมถึงในรายที่สงสัยเนื้องอกรังไข่ชนิด granulosa cell เพื่อวินิจฉัยก่อนการผ่าตัด

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยที่แน่นอนของเนื้องอกรังไข่ชนิด sex cord stroma ได้จากลักษณะทางพยาธิวิทยาของชิ้นเนื้อที่ได้จากการผ่าตัด ส่วนก่อนการผ่าตัด อาจสงสัยได้จากมีก้อนที่ปีกมดลูก ร่วมกับมีอาการแสดงของฮอรโมนเอสโตรเจนหรือแอนโดรเจนสูงและมีระดับสารบ่งชี้มะเร็ง

การแบ่งชนิดของ ovarian sex cord stromal tumors (1)

ตารางที่ 2 แสดงการแบ่งชนิดเนื้องอกรังไข่ชนิด Sex cord stromal ตาม WHO classification of tumors of the ovary (7)

I.  Granulosa -stromal cell tumors II. Sertoli-stromal cell tumors
A. Granulosa cell tumor group

1. Adult-type granulosa cell tumor

2. Juvenile-type granulosa cell tumor

B. Theca–fibroma group

1. Thecoma

a. Typical

b. Luteinized (partly luteinized theca cell tumor)

c. Calcified

2. Fibroma

3. Cellular fibroma (cellular fibrous tumor of low malignant potential)

4. Fibrosarcoma

5. Stromal tumor with minor sex cord elements

6. Sclerosing stromal tumor

7. Signet-ring stromal tumor

8. Unclassified (fibrothecoma)

A. Sertoli–Leydig cell tumor group (androblastoma)

1. Well differentiated

2. Intermediate differentiation Variant with heterologous elements

3. Poorly differentiated (sarcomatoid) Variant with heterologous elements

4. Retiform Variant with heterologous elements

B. Sertoli cell tumor

C. Stromal-Leydig cell tumor

III. Sex cord-stromal cell tumors of mixed or unclassified cell type
A. Sex cord tumor with annular tubules

B. Gynandroblastoma (specify components)

C. Sex cord-stromal tumor, unclassified

IV. Steroid cell tumors
A. Stromal luteoma

B. Leydig cell tumor group

a. Hilus cell tumor

b. Leydig cell tumor, nonhilar type

c. Leydig cell tumor, not otherwise specified

C. Steroid cell tumor, not otherwise specified

a. Well differentiated

b. Malignant

Granulosa-Stromal cell tumor

Granulosa-Stromal cell tumor ประกอบด้วย granulosa cell tumors, thecomas และ fibromas ซึ่ง granulosa cell tumors เป็นกลุ่มเนื้องอกที่มีโอกาสการเป็นมะเร็งน้อย (Low malignant potential) ส่วน thecomas และ fibroma เป็นเนื้องอกธรรมดา (benign) แต่มีส่วนน้อยมากที่เป็นมะเร็งเรียกว่า malignant thecoma และ fIbrosarcoma(1)

Granulosa cell tumors

พบได้ร้อยละ 1-2 ของเนื้องอกรังไข่ทั้งหมด และ ร้อยละ 5 ของมะเร็งรังไข่ มะเร็ง granulosa-Stromal cell พบได้บ่อยสุดในกลุ่มมะเร็งรังไข่ชนิด sex cord stroma โดยพบได้ร้อยละ 70 เนื้องอกกลุ่มนี้สามารถพบได้ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ โดยอายุเฉลี่ยคือ 52 ปี(5,8) ซึ่งแบ่งออกเป็น adult type และ juvenile type

1. Granulosa cell tumors : adult type

พบร้อยละ 95 ของ granulosa cell tumors พบในผู้หญิงอายุ 47-54ปี (8)

ลักษณะทางคลินิก: ก้อนโตในอุ้งเชิงกราน ท้องมาน ปวดท้อง อาการของเอสโตรเจนสูงจากการสร้างของก้อน เช่น ระดูผิดปกติ เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด คัดตึงเต้านม เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว และส่วนน้อยจะพบภาวะบุรุษเพศ เช่น ขาดระดู ขนดก(9,10)

ลักษณะทางพยาธิวิทยา: ร้อยละ 95 พบที่รังไข่ข้างเดียว ก้อนโตเฉลี่ย 12 เซนติเมตร ลักษณะเป็น cystic หรือ เป็น solid แน่นหรือนุ่ม สีขาวเทาหรือเหลือง อาจมี necrosis หรือ hemorrhage ส่วนลักษณะของเซลล์ มีลักษณะรีหรือยาว สีซีด นิวเคลียสใหญ่มีร่องตรงกลางเหมือนเมล็ดกาแฟ การเรียงตัวมีหลายแบบ เช่น microfollicular ซึ่งพบมากที่สุด เซลล์เรียงตัวเป็น Rosette formation และมี eosinophilic fluid อยู่ภายใน เรียก Call- Exner bodies และแบบอื่นๆ ได้แก่ macrofollicular, trabecular, insular, water silk, gryriform, diffuse(2,5)

การพยากรณ์โรค: ผู้ป่วยมักจะอยู่ในระยะที่ 1 ร้อยละ 90 มีการพยากรณ์โรคดี อัตราการรอดชีวิตใน 10 ปีของระยะที่ 1 ร้อยละ 86-96 ส่วนของระยะอื่น อยู่ที่ร้อยละ 26-49 การกลับเป็นซ้ำในระยะยาว 5-30ปี โดยเฉลี่ยที่ 6 ปี และผู้ป่วยมักจะอยู่ได้ประมาณ 5.6 ปีหลังการกลับเป็นซ้ำ(9)

2. Granulosa cell tumors: juvenile type

พบร้อยละ 5 ของ granulosa cell tumors พบในวัยเด็กก่อนวัยเจริญพันธุ์ หรือผู้หญิงอายุน้อยกว่า 30 ปี(8)

ลักษณะทางคลินิก: ภาวะวัยสาวก่อนกำหนด ชนิด isosexual precocious pseudopuberty ก้อนโตในอุ้งเชิงกราน ท้องมาน ปวดท้อง

ลักษณะทางพยาธิวิทยา: ร้อยละ 95 พบที่รังไข่ข้างเดียว มองด้วยตาเปล่าจะเหมือนชนิด adult type โดยจะแยกได้จากfollicular ที่มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกัน ไม่ค่อยพบ Call- Exner bodies ลักษณะของเซลล์ มีลักษณะกลม ติดสีเข้ม นิวเคลียสใหญ่ไม่มีร่องตรงกลาง มี vacuole หรือ eosinophilic cytoplasm(2,5)

การพยากรณ์โรค: การดำเนินโรครุนแรงกว่าแบบ adult type มักพบในระยะที่สูงกว่า การกลับเป็นซ้ำเร็วโดยเฉลี่ยที่ 3 ปี(9)

Thecoma

เป็นเนื้องอกธรรมดาของ theca cell พบได้ร้อยละ1 ของเนื้องอกรังไข่ พบได้ทุกกลุ่มอายุ ส่วนใหญ่อายุ 60-70 ปี เป็นเนื้องอกที่สร้างฮอร์โมนได้มากที่สุดในเนื้องอกรังไข่ชนิด sex cord stroma(5)

ลักษณะทางคลินิก: ก้อนโตในอุ้งเชิงกราน ปวดท้อง อาการของเอสโตรเจนสูงจากการสร้างของก้อน เช่น เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดพบได้ร้อยละ 60 ของผู้ป่วย เนื้องอกมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว ตื่งเนื้อของเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

ลักษณะทางพยาธิวิทยา: ก้อนขนาดใหญ่ ก้อนเนื้อตัน แข็ง กลม สีเทาเหลือง ลักษณะของเซลล์ ใส มี vacuole ใน cytoplasm นิวเคลียสกลมรี มี spindle cell เรียงตัวสานไปมา แทรกด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน(2,5)

Fibroma

เป็นเนื้องอกธรรมดาของ stroma พบได้บ่อยสุด โดยพบร้อยละ 4 ของเนื้องอกรังไข่ พบได้ทุกอายุ มักพบอายุมากกว่า 30 ปี โดยอายุเฉลี่ยคือ 55 ปี เนื้องอกชนิดนี้ไม่สร้างฮอร์โมน

ลักษณะทางคลินิก: มักมีอาการปวดท้องน้อยและมีระดูผิดปกติ

มักมีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการ 2 กลุ่ม(1,5)

  1. Meigs’s syndrome ประกอบด้วย fibromatous ovarian tumor ร่วมกับ ascites พบได้ร้อยละ 10-15 ของก้อนที่มากกว่า 10 เซนติเมตร เกิดจากสารน้ำซึมผ่านก้อนเข้ามาในช่องท้อง และ hydrothorax โดยมักพบข้างขวา พบได้ร้อยละ 1 เกิดจากสารน้ำซึมผ่านท่อน้ำเหลือง
  2. Gorlin’s syndrome หรือ Nevoid basal cell carcinoma syndrome เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosomal dominant ประกอบด้วย fibromatous ovarian tumor ร่วมกับ basal cell carcinoma และ keratocystic odontogenic tumors ที่ขากรรไกร

ลักษณะทางพยาธิวิทยา: มักเป็นข้างเดียว ขนาดหลากหลายตั้งแต่ 3 – 15 เซนติเมตร ก้อนเนื้อตัน หรืออาจมีถุงน้ำเล็กๆ มีสีขาวเทา ลักษณะของเซลล์ เป็นรูปกระสวย อาจมีเซลล์กล้ามเนื้อแทรกอยู่(2)

Sertoli-stromal cell tumors

เดิมชื่อ androblastoma หรือ arrhenoblastoma เป็นเนื้องอกของ Sertoli cell และ Leydig cell ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์จำเพาะของอัณฑะ เนื้องอกกลุ่มนี้แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มย่อยตามชนิดของเซลล์ ได้แก่ Sertoli–Leydig cell tumor, Sertoli cell tumor และ Stromal-Leydig cell tumor(5)

Sertoli–Leydig cell tumor

เนื้องอกชนิดนี้พบได้น้อยมาก ร้อยละ 0.2 ของเนื้องอกรังไข่ พบได้ทุกกลุ่มอายุ มักพบในวัยเจริญพันธุ์ โดยอายุเฉลี่ย 25 ปี เนื้องอกมักสร้างแอนโดรเจน(12)

ลักษณะทางคลินิก: ก้อนโตในอุ้งเชิงกราน ปวดท้อง อาการแสดงของแอนโดรเจนสูง เช่น ขาดระดู ภาวะบุรุษเพศ เต้านมฝ่อ ขนดก มีสิว เสียงห้าว(1)

ลักษณะทางพยาธิวิทยา: มักเป็นข้างเดียว ก้อนเนื้อแน่นตัน สีเหลืองซีด อาจมีถุงน้ำแทรก ลักษณะของเซลล์ Sertoli cell ตัวกลมรี ไซโทพลาสซึมน้อย เรียงตัวเป็น tubule หรือ Cord แทรกด้วย Leydig cell รูปไข่ มีนิวเคลียสขนาดใหญ่กลางเซลล์ มี Crystalloid of Rinke(1,5)

การพยากรณ์โรค: มักพบในระยะที่1 การพยากรณ์โรคขึ้นกับระยะ และ differentiation อัตราการรอดชีวิตใน 5 ปี ร้อยละ 70-90 มักไม่พบ การกลับเป็นซ้ำ(12,13)

Sertoli cell tumor

พบได้น้อยกว่าร้อยละ 5 ของเนื้องอกชนิด Sertoli-stromal cell tumors พบในอายุเฉลี่ย 30 ปี สองในสามจะสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ อาจพบเนื้องอกชนิดนี้ในกลุ่ม Peutz-Jeghers(12)

ลักษณะทางพยาธิวิทยา: มักพบที่รังไข่ข้างเดียว ก้อนเนื้อตันสีเหลือง ลักษณะเห็นเป็นท่อตันหรือเป็นโพรงบุด้วย Sertoli cell

การพยากรณ์โรค: เนื้องอกชนิดนี้มีความเป็นมะเร็งต่ำ การพยากรณ์โรคดี(5)

Stromal-Leydig cell tumor

เป็นเนื้องอกธรรมดาพบในกลุ่มอายุมาก โดยอายุเฉลี่ย 58 ปี

ลักษณะทางคลินิก: อาการแสดงของแอนโดรเจนสูง เช่น ขาดระดู ภาวะบุรุษเพศ เต้านมฝ่อ ขนดก มีสิว เสียงห้าว บางครั้งมีการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนด้วย ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว หรือเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้

ลักษณะทางพยาธิวิทยา: มักพบในรังไข่ข้างเดียว ขนาดเล็ก เฉลี่ย 2.7 เซนติเมตร ลักษณะเซลล์ Leydig cell รูปไข่ มีนิวเคลียสขนาดใหญ่กลางเซลล์ มี Crystalloid of Rinke(2)

การพยากรณ์โรค: เนื้องอกชนิดนี้มีความเป็นมะเร็งต่ำ การพยากรณ์โรคดี(5)

Sex cord-stromal cell tumors of mixed or unclassified cell type

Sex cord tumor with annular tubules

เป็นเนื้องอกที่มีลักษณะกึ่งกลางระหว่างเนื้องอกชนิด granulosa และเนื้องอกชนิด Sertoli พบในสตรีวัยกลางคน มักสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน เนื้องอกชนิดนี้สัมพันธ์กับกลุ่มอาการ Peutz-Jeghers (14,15)

ลักษณะทางคลินิก: เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดหรือเลือดออกหลังวัยหมดประจำเดือน

ลักษณะทางพยาธิวิทยา: มักพบในรังไข่ข้างเดียว ลักษณะของเซลล์ Sertoli เรียงตัวเป็นท่อรูปวงแหวนพันทบไปมา ภายในท่อกลางมีสาร hyaline(2)

การพยากรณ์โรค: เนื้องอกที่มีกลุ่มอาการ Peutz-Jeghers ร่วมด้วยจะเป็นเนื้องอกธรรมดา ส่วนเนื้องอกที่ไม่มีกลุ่มอาการ Peutz-Jeghers ร่วมด้วยจะมีความเป็นมะเร็งสูงประมาณร้อยละ 20(15)

Gynandroblastoma

เป็นเนื้องอกที่ประกอบด้วยเซลล์ granulosa เซลล์ Theca เซลล์ Sertoli และเซลล์ Leydig พบน้อยมาก มักพบในสตรีวัยกลางคน สร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนและแอนโดรเจน(16)

ลักษณะทางคลินิก: ระดูผิดปกติ เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว และภาวะบุรุษเพศ

ลักษณะทางพยาธิวิทยา: มักพบในรังไข่ข้างเดียว ลักษณะของเซลล์ granulosa มี Call- Exner bodies เซลล์ Theca เซลล์ Sertoli และ เซลล์ Leydig มี Crystalloid of Rinke(16)

การพยากรณ์โรค: เนื้องอกชนิดนี้มีความเป็นมะเร็งต่ำ

Sex cord-stromal tumor, unclassified

เป็นกลุ่มที่ไม่สามารถแยกได้ชัดเจนว่ามีลักษณะเป็นเซลล์ชนิดไหน พบได้ประมาณร้อยละ 10 ของเนื้องอกรังไข่ชนิด sex cord stroma มักพบขณะตั้งครรภ์(5)

Steroid cell tumors

เดิมชื่อ lipid cell tumor เป็นเนื้องอกของเซลล์ luteinized stromal cell, Leydig cell และ A\adrenocortical cell พบได้น้อยมา ร้อยละ 0.1 ของเนื้องอกรังไข่ พบได้ทุกกลุ่มอายุ แบ่งได้ 3 กลุ่มย่อย คือ stromal luteoma, Leydig cell tumor group และ steroid cell tumor, not otherwise specified(1)

Stromal luteoma

เป็นเนื้องอกธรรมดา พบในผู้หญิงอายุมาก พบได้ร้อยละ 25 ของเนื้องอกกลุ่ม steroid cell tumor

ลักษณะทางคลินิก: เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว และภาวะบุรุษเพศ

ลักษณะทางพยาธิวิทยา: เนื้องอกมีขนาดเล็ก เนื้อตัน สีเหลือง ลักษณะของเซลล์ luteinized stromal cell เซลล์กลมใหญ่ ติดสีซีด พบ stromal hyperthecosis(5)

Leydig cell tumor group

เป็นเนื้องอกธรรมดา พบได้น้อยมาก พบในผู้หญิงทุกอายุโดยอายุเฉลี่ย 58 ปี

ลักษณะทางคลินิก: ภาวะบุรุษเพศ เช่น ขาดระดู ขนดก เต้านมฝ่อ มีสิว เสียงห้าว

ลักษณะทางพยาธิวิทยา: มักพบข้างเดียว เนื้องอกมีขนาดหลากหลาย ลักษณะของ Leydig cell รูปไข่ มีนิวเคลียสขนาดใหญ่กลางเซลล์ ไซโทพลาสซึมสีส้ม(5)

Steroid cell tumor, not otherwise specified

เป็นเนื้องอกที่มีความเป็นมะเร็งสูง เป็นกลุ่มที่พบมากที่สุดในกลุ่มนี้ พบได้ทุกวัยตั้งแต่วัยเด็กถึงสูงอายุโดยอายุเฉลี่ย 43 ปี เนื้องอกกลุ่มนี้สร้างฮอร์โมนแอนโดรเจน(5)

ลักษณะทางคลินิก: ภาวะวัยสาวก่อนกำหนดชนิด heterosexual precocity ภาวะบุรุษเพศ

ลักษณะทางพยาธิวิทยา: มักพบข้างเดียว ขนาดโดยเฉลี่ย 8.4 เซนติเมตร เนื้องงอกก้อนตัน สีส้มหรือเหลืองบางครั้งพบสีแดง น้ำตาลเข้มหรือดำ ขอบเขตชัด อาจมีลักษณะของnecrosis หรือ hemorrhage หรือ cystic degeneration ลักษณะของเซลล์กลม หลายเหลี่ยม ไซโทพลาสซึมมาก

การพยากรณ์โรค: เนื้องอกชนิดนี้มีความเป็นมะเร็งสูง และมีกรแพร่กระจายนอกรังไข่ถึงร้อยละ 43

การแพร่กระจาย(6)

  1. การแพร่กระจายภายในช่องท้อง (intraperitoneal spread) หรือ transcoelomic spread เหมือนกับมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว
  2. การแพร่กระจายไปตามระบบน้ำเหลือง ซึ่งเกิดขึ้นได้บ่อยกว่ามะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว โดยเฉพาะเนื้องอกชนิด granulosa และ sex cord tumor with annular tubules
  3. การแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด พบน้อย

การแบ่งระยะของมะเร็งรังไข่ ตาม FIGO’s staging classification 2014

ตารางที่ 3 การแบ่งระยะของมะเร็งรังไข่ตาม FIGO’s staging classification 2014 (17)

Stage I. Tumor confined to ovaries or fallopian tube(s) T1-N0-M0

IA: Tumor limited to one ovary (capsule intact) or fallopian tube; no tumor on ovarian or fallopian tube surface; no malignant cells in the ascites or peritoneal washing T1a-N0-M0

IB: Tumor limited to both ovaries (capsule intact) or fallopian tube; no tumor on ovarian or fallopian tube surface; no malignant cells in the ascites or peritoneal washing T1b-N0-M0

IC: Tumor limited to one or both ovaries or fallopian tubes, with any of the following:

IC1: surgical spill  T1c1-N0-M0

IC2: capsule ruptured before surgery or tumor on ovarian or fallopian tube surface T1c2-N0-M0

IC3: malignant cells in the ascites or peritoneal washings T1c3-N0-M0

Stage II. Tumor involves one or both ovaries or fallopian tubes with pelvic extension (below pelvic brim) or primary peritoneal cancer T2-N0-M0

IIA: extension and/or implants on uterus and/or fallopian tubes and/or ovaries T2a-N0-M0

IIB: extension to other pelvic intraperitoneal tissues T2b-N0-M0

Stage III. Tumor involves one or both ovaries or fallopian tubes, or primary peritoneal cancer, with cytologically or histologically confirmed spread to peritoneum outside the pelvis and/or metastasis to the retroperitoneal lymph nodes T1/T2-N1-M0

IIIA1: positive retroperitoneal lymph nodes only (cytologically or histologically proven):

IIIA1(i) Metastasis up to 10 mm in greatest dimension

IIIA1(ii) Metastasis more than 10 mm in greatest dimension

IIIA2: microscopic extrapelvic(above the pelvic brim) peritoneal involvement with or without positive retroperitoneal lymph nodes T3a2-N0/N1-M0

IIIB: macroscopic peritoneal metastasis beyond the pelvis up to 2 cm in greatest dimension, with or without metastasis to the retroperitoneal lymph nodes T3b-N0/N1-M0

IIIC: macroscopic peritoneal metastasis beyond the pelvis more than 2 cm in greatest demension, with or without metastasis to the retroperitoneal lymph nodes(include extension of tumor to capsule of liver and spleen without parenchymal involvement of either organ) T3c-N0/N1-M0

Stage IV. Distant metastasis excluding peritoneal metastases  Any T, any N, M1

IVA: pleural effusion with positive cytology

IVB: parenchymal metastases and metastases to extra-abdominal organs(including inguinal lymph nodes and lymph nodes outside of the abdominal cavity)

แนวทางการรักษา

แนวทางการดูแลรักษาขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ชนิดของเนื้องอก ระยะของโรค อายุ ความต้องการมีบุตรของผู้ป่วย โดยทั่วไปการผ่าตัดเพียงอย่างเดียวถือว่าพอในเนื้องอกรังไข่ชนิด sex cord stroma เนื่องจากส่วนใหญ่ของเนื้องอกชนิดนี้เป็นเนื้องอกธรรมดา (benign) หรือ กลุ่มเนื้องอกที่มีโอกาสการเป็นมะเร็งน้อย (low malignant potential) ภายหลังการผ่าตัดอาจพิจารณาการรักษาเพิ่มเติมถ้าเป็นระยะลุกลาม หรือมีความเป็นมะเร็งสูง(4,5,6)

1. การผ่าตัด เป็นวิธีการรักษาหลักเพื่อให้ได้การวินิจฉัยที่แน่นอน

การผ่าตัดแบบธำรงภาวะเจริญพันธุ์ (fertility-preserving surgery) คือ การตัดท่อรังไข่และรังไข่ข้างที่มีโรค พิจารณาในผู้ป่วยระยะ IA ในเด็กหรือสตรีวัยเจริญพันธุ์ และ ต้องการมีบุตร ภายหลังการผ่าตัดในเนื้องอกที่สร้าฮอรโมนเอสโตรเจนจะต้องทำการขูดมดลูกเพื่อวินิจฉัย มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกหรือเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวที่อาจพบร่วมได้(5,6)

การผ่าตัดกำหนกระยะ โรค(complete surgical staging พิจารณาในผู้ป่วยอายุมากหรือไม่ต้องการมีบุตรหรือโรคได้แพร่กระจายไปมากแล้ว โดยในผู้ป่วยที่มีเนื้องอกธรรมดา ได้แก่ thecomas, fibromas, sclerosing stromal cell tumor, gynandroblastomas, stromal luteomas, Leydig cell, Sertoli cell, well differentiated Sertoli–Leydig cell tumor และ sex cord tumor with annular tubulesที่มีกลุ่มอาการ Peutz-Jeghers ร่วม พิจารณาล้างน้ำในช่องท้องส่งตรวจเซลล์ ดูและคลำอวัยวะภายใน ผ่าตัดเฉพาะก้อนเนื้องอก ส่วนในผู้ป่วยที่มีลักษณะเป็นมะเร็ง ได้แก่ granulosa cell tumor, Immediate or poorly differentiated Sertoli Leydig cell tumor, steroid cell tumor not otherwise specified และ sex cord tumor with annular tubulesที่ไม่มีกลุ่มอาการ Peutz-Jeghers ร่วม พิจารณา ล้างน้ำในช่องท้องส่งตรวจเซลล์ ดูและคลำอวัยวะภายใน ตัดเยื่อแขวนกระเพาะในช่องท้อง (omentum) ผ่าตัดมดลูกและปีกมดลูกทั้ง 2 ข้าง เลาะต่อมน้ำเหลืองหลังช่องท้องที่มีขนาดใหญ่ผิดปกติ อย่างไรก็ตามการผ่าตัดกำหนดระยะในเนื้องอกรังไข่ชนิด sex cord stroma ยังไม่มีข้อพิสูจน์ชัดเจน และมีรายงานว่าการเลาะต่อมน้ำเหลืองไม่ค่อยมีประโยขน์เนื่องจากการแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองน้อย(5)

การผ่าตัดเพื่อจำกัดขนาดของเนื้อเยื่อ (cytoreductive surgery) ในกรณีที่มีการแพร่กระจายของโรคในผู้ป่วยระยะลุกลามหรือการกลับมาเป็นซ้ำ การผ่าตัดเพื่อจำกัดขนาดของเนื้อเยื่ออาจได้ผลดีในกลุ่มที่ก้อนอยู่เฉพาะที่ การผ่าตัดนี้มีประโยชน์ในการรักษาประคับประคอง และช่วยลดอาการของผู้ป่วยได้นาน เนื่องจากการดำเนินของโรคกลุ่มนี้มีการเจริญเติบโตช้า(5)

2. ยาเคมีบำบัด

พิจารณาให้ยาเคมีบำบัดหลังการผ่าตัดในกลุ่มผู้ป่วยระยะที่ 1 ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการพยากรณ์โรคที่ไม่ดี และกลุ่มผู้ป่วยระยะที่ 2-4 ยาเคมีบำบัดที่แนะนำคือกลุ่มที่มี platinum เป็นยาตัวหลัก เช่น BEP regimen (bleomycin, etoposide, cisplatin)ซึ่งมีการตอบสนองสูงสุดและเป็นที่นิยมมากสุดในปัจจุบัน , PAC (cisplatin, doxorubicin, cyclophosphamide), PVB (cisplatin, vinblastin, bleomycin)(1,4,5)

3. รังสีรักษา

ยังไม่ทราบประสิทธิภาพที่ชัดเจน พิจารณาให้หลังการผ่าตัดในรายที่ตัดก้อนออกไม่หมด หรือกลับมาเป็นซ้ำ(5)

4. การรักษาอื่นๆ

ฮอร์โมนโปรเจสติน เช่น medroxyprogesterone acetate (DMPA), megestrol acetate หรือการรักษาด้วย tamoxifen, gonadotropin-releasing hormone (GnRH) antagonist หรือ aromatase inhibitor อาจมีบทบาทในเนื้องอกชนิด granulosa cell เนื่องจากร้อยละ 30 มี Receptor ของ estrogen และร้อยละ 100 จะมี receptor ของ progesterone

Targeted therapy อาจพิจารณาให้ยายับยั้งการสร้างหลอดเลือด เช่น bevacizumab ในรายที่กลับมาเป็นซ้ำ หรือพิจารณาใช้ยากลุ่ม tyrosine kinase inhibitor เช่น imatinib mesylate, nilotinib ในกลุ่มเนื้องอกชนิด granulosa cellที่กลับมาเป็นซ้ำ(5)

SCT2

รูปที่ 2 แนวทางการรักษามะเร็งรังไข่ชนิด Sex cord stroma ตาม NCCN guideline (18)

 

ตารางที่ 3 การตรวจติดตามมะเร็งรังไข่ชนิด sex cord-stromal ตาม NCCN guideline(18)

 

Year

<1

1-2

2-3

3-5

>5

Physical exam

Every 2-4 mo

Every 6 mo

Tumor marker

Every 2-4 mo

Every 6 mo

Radiographic imaging

Insufficient data to support routine use

Recurrence suspected

CT scan and tumor markers

การตรวจติดตามหลังการรักษา(18)

NCCN clinical practice guidelines in oncology ปีค.ศ. 2017 แนะนำให้ทำการนัดผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ชนิด sex cord stroma ทุก 2-4 เดือนใน 2 ปีแรกหลังสิ้นสุดการรักษา หากผลปกติให้นัดทุก 6 เดือน โดยในแต่ละครั้งจะต้องทำการซักประวัติ ตรวจร่างกายและตรวจภายในทุกครั้ง ส่วนการตรวจ tumor marker แนะนำให้ทำทุก 2-4 เดือนในช่วง 2 ปีแรก และ ทุก 6 เดือนหลังจากนั้น ส่วนการตรวจทางรังสี เช่น CXR, CT chest/abdomen/pelvis, MRI/PET scan ยังไม่มีข้อมูลที่เพียงพอ และหากสงสัยว่ามีการกลับเป็นซ้ำให้ตรวจ tumor marker และตรวจทางรังสีเพิ่มเติม

สรุป

เนื้องอกรังไข่ชนิด sex cord-stromal พบได้ประมาณร้อยละ 5-8 ของเนื้องอกรังไข่ทั้งหมด มักพบในผู้ป่วยทุกกล่มอายุส่วนใหญ่ของเนื้องอกชนิดนี้เป็นเนื้องอกธรรมดา เนื้องอกชนิดที่พบมากที่สุดในกลุ่มนี้คือ granulosa-theca cell tumor ส่วนกลุ่ม Sertoli-Leydig cell tumor พบได้น้อย อาการที่พบได้บ่อย คือ ก้อนโตในอุ้งเชิงกรานและปวดท้อง เนื้องอกบางชนิดสามารถสร้างฮอร์โมนเพศได้ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติทางต่อมไร้ท่อ เช่น ภาวะวัยสาวก่อนกำหนด เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดและภาวะบุรุษ การรักษาหลักคือการผ่าตัด

เอกสารอ้างอิง

  1. Berek J, Friedlander M, Hacker N. Germ Cell and Nonepithelial Ovarian Cancer. 6 ed. Philadelphia, PA: Lippincott Williams & Wilkins; 2015.
  2. Young RH. Sex cord-stromal tumors of the ovary and testis: their similarities and differences with consideration of selected problems. Mod Pathol 2005; 18 Suppl 2:S81.
  3. Quirk JT, Natarajan N. Ovarian cancer incidence in the United States, 1992-1999. Gynecol Oncol 2005; 97:519.
  4. Boyce EA, Costaggini I, Vitonis A, et al. The epidemiology of ovarian granulosa cell tumors: a case-control study. Gynecol Oncol 2009; 115:221.
  5. David M, Gershenson, Sean C. Dowdy, Robert H. Young. Ovarian Sex Cord Stromal Tumors. Principle and practice of gynecologic oncology. 7th ed. Philadelphia: Lippincott Williams&Wilkins; 2017:724-739.
  6. David M Gershenson, MD. Overview of sex cord-stromal tumors of the ovary. UPTODATE [Internet]. 2017. Available from: https://www.uptodate.com/contents/overview-of-sex-cord-stromal-tumors-of-the-ovary?source=history_widget
  7. Tavassoli FA, Devilee P, eds. Pathology and Genetics of Tumours of the Breast and Female Genital Tract. Lyon: IARC Press, 2003; Roth LM. Recent advances in the pathology and classification of ovarian sex cord-stromal tumors. Int J Gynecol Pathol. 2006;25:199–215.
  8. Boyce EA, Costaggini I, Vitonis A, et al. The epidemiology of ovarian granulosa cell tumors: A case-control study. Gynecol Oncol. 2009;115:221–225.
  9. Malmström H, Högberg T, Risberg B, et al. Granulosa cell tumors of the ovary: Prognostic factors and outcome. Gynecol Oncol. 1994; 52:50–55.
  10. Segal R, DePetrillo AD, Thomas G. Clinical review of adult granulosa cell tumors of the ovary. Gynecol Oncol. 1995;56:338–344.
  11. Cronje HS, Niemand I, Barn, RH, et al. Review of the granulosa– theca cell tumors from the Emil Novak ovarian tumor registry. Am J Obstet Gynecol. 1999;180:323–328.
  12. Roth LM, Anderson MC, Govan AD, et al. Sertoli-Leydig cell tumors: A clinicopathologic study of 34 cases. Cancer. 1981;48: 187–197.
  13. Tomlinson MW, Treadwell MC, Deppe G. Platinum based chemotherapy to treat recurrent Sertoli-Leydig cell ovarian carcinoma during pregnancy. Eur J Gynaecol Oncol. 1997;18:44–46.
  14. Shen K, Wu PC, Lang JH, et al. Ovarian sex cord tumor with annular tubules: a report of six cases. Gynecol Oncol 1993; 48:180.
  15. Westerman AM, Wilson JH. Peutz-Jeghers syndrome: risks of a hereditary condition. Scand J Gastroenterol Suppl 1999; 230:64.
  16. Fukunaga M, Endo Y, Ushigome S. Gynandroblastoma of the ovary: a case report with an immunohistochemical and ultrastructural study. Virchows Arch 1997; 430:77.
  17. Prat J. FIGO’s staging classification for cancer of the ovary, fallopian tube, and peritoneum: abridged republication. Gynecol Oncol. 2015;26:87-89.
  18. NCCN Guidelines Ovarian cancer including fallopian tube cancer and primary peritoneal cancer [Internet]. NCCN. 2017. Available from: www.nccn.org/
Read More
HPV-1

HPV testing and vaccine

HPV testing and vaccine

นพ.ภาณุพันธุ์ หอมกรุ่น
อาจารย์ที่ปรึกษา รศ. พญ. ประภาพร สู่ประเสริฐ


บทนำ

Human papilloma virus (HPV) เป็น DNA virus ที่เริ่มเป็นที่รู้จักประมาณปลายปี พ.ศ.2513 อนุภาคของเชื้อ HPV นี้ประกอบด้วยจีโนม 8.000 คู่เบส อยู่ภายในเปลือกหุ้มซึ่งประกอบด้วยโปรตีน L1 และ L2 ซึ่งโปรตีน L1 และ L2 จะประกอบตัวเป็นปุ่มโปรตีน (capsomer) 72 ปุ่มล้อมรอบจีโนมของเชื้อ HPV ที่บริเวณชั้นบนของเยื่อบุที่ติดเชื้อโปรตีน L2 มีบทบาทในการเพิ่มโอกาสการติดเชื้อ เชื้อ HPV จะสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อได้ก็ต่อเมื่อหลุดออกจากเซลล์และมีชีวิตรอดอยู่นอกเซลล์ได้ก่อนที่จะแพร่เชื้อต่อไป ตัว HPV จะไม่สลายหรือหลุดออกจนกว่าเซลล์ที่ติดเชื้อจะเลื่อนขึ้นไปอยู่บนชั้นบนสุดของชั้นเยื่อบุผิว เชื้อ HPV สามารถทนความแห้งแล้งได้ดี และจะทนทานมากขึ้นถ้าหลุดออกจากเซลล์พร้อมกับเนื้อเยื่อหูดหรือสะเก็ด (1)

HPV-1

ที่มา: https://www.immunopaedia.org.za/immunology/archive/immune-evasion/keratinocyte-immunity/carcinoma-development/human-papilloma-virus-hpv/

ในปี พ.ศ.2526-2526 ได้มีการค้นพบว่า มะเร็งปากมดลูก สัมพันธ์อย่างมากกับการติดเชื้อเอชพีวี (HPV) โดยมีการค้นพบว่า มะเร็งหลายชนิดสัมพันธ์กับการติดเชื้อ HPV ได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก มะเร็งองคชาติ มะเร็งช่องปากและมะเร็งคอหอย (2)

HPV ที่สัมพันธ์กับมะเร็งปากมดลูก ถูกจัดกลุ่มเป็น high risk HPV ส่วน HPV ที่ไม่สัมพันธ์กับ มะเร็งปากมดลูก ถูกจัดกลุ่มเป็น low risk HPV (2)

High risk HPV ได้แก่ serotype 16, 18, 31, 33, 35, 39, 45, 51, 52, 56, 58, 59, 68

Low risk HPV ได้แก่ serotype 6, 11, 40, 42, 43, 44, 53, 54, 61, 72, 73, 81

ปัจจุบันได้มีการพัฒนาวิธีป้องกันมะเร็งปากมดลูกอย่างต่อเนื่อง ทั้งการป้องกันแบบปฐมภูมิ โดยการใช้วัคซีน HPV และการป้องกันแบบทุติยภูมิ โดยการใช้การตรวจหาการติดเชื้อ HPV บริเวณปากมดลูก (HPV testing) ซึ่งมีแนวโน้มว่าการพัฒนาดังกล่าวนี้ จะช่วยลด morbidity และ mortality จากโรคมะเร็งปากลงได้เป็นอย่างมาก

HPV testing

HPV testing คืออะไร

HPV testing คือการตรวจหาเชื้อ HPV ซึ่งในปัจจุบัน มีอยู่หลายแบบทั้งการตรวจหา DNA RNA โดยสามารถตรวจจาก การเก็บเซลล์บริเวณปากมดลูก (cervical swab) และการตรวจจากน้ำปัสสาวะ

กลไกการตรวจหาเชื้อ HPV

HPV DNA Method

การตรวจ HPV DNA testing เป็นการตรวจหา DNA ของเชื้อ เช่น L1 protein เป็นต้น ซึ่ง HPV แต่ละสายพันธุ์จะมี DNA sequence ใน L1 protein แตกต่างกัน การตรวจ HPV DNA testing จึงเป็นการตรวจว่า ขณะนั้น มีการติดเชื้อหรือ ไม่ และ สายพันธุ์อะไร

HPV RNA Method

การตรวจ HPV RNA testing เป็นการตรวจหา mRNA transcripts ของเชื้อ HPV โดยเฉพาะ E6 และ E7 oncogenes ซึ่งจะพบในระยะที่เชื้อมีการแบ่งตัว แต่ไม่สามารถแยกสายพันธุ์ของเชื้อได้แน่ชัด และตรวจพบเฉพาะ HPV high risk ดังนั้นการตรวจ HPV RNA testing นอกจากจะบ่งบอกว่ามีการติดเชื้อแล้ว ยังแสดงว่าการติดเชื้อนั้นน่าจะเป็น persistent infection และเชื้อ HPV นั้นน่าจะเริ่มออกฤทธิ์ก่อโรคหรือมี oncogenic activity เกิดขึ้นแล้ว (3)

ประสิทธิภาพของ HPV testing

จากการศึกษาของ Wright และคณะพบว่าเมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการตรวจ HPV testing กับ HPV testing + cytology และ cytology อย่างเดียว ในสตรีชาวอเมริกันอายุมากกว่า 25 ปี จำนวนกว่า 42,000 ราย พบว่า การตรวจคัดกรองด้วย HPV testing เพียงอย่างเดียว มีอัตราการเกิดรอยโรค cervical intraepithelial neoplasia 3 ขึ้นไป(CIN3+) ใน 3 ปี ใกล้เคียงกับการใช้ co-test (HPV testing + Cytology) ต่างจาก การตรวจตัดกรองด้วย cytology เพียงอย่างเดียว ซึ่งตรวจพบรอยโรค CIN3+ ภายใน 3 ปี สูงกว่า สองวิธีแรก ถึงประมาณ 2 เท่า (4) ดังแสดงในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 3-year cumulative incidence rate(CIR) ของ CIN 3+ ของการตรวจด้วยวิธีต่างๆ (4)

{tabulizer:style[gr.alterora.elemental_1_blue.css]}

วิธีตรวจคัดกรอง

3-year CIR of CIN3+

95% CI

HPV testing

0.3 %

0.1-0.7

HPV testing + Cytology

0.3 %

0.1-0.6

Cytology

0.8 %

0.5-1.1

จากการศึกษาของ Gage JC และคณะในสตรีมากกว่า 1 ล้านคนพบว่า ความเสี่ยงที่จะเกิด CIN3+ และมะเร็งปากมดลูกที่ 3 ปี หลังจาก negative HPV testing ต่ำกว่าความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูกที่ 5 ปี หลังจาก negative co-testing และต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับความเสี่ยงที่ 3 ปีหลังจาก negative cytology (5) ดังแสดงในตารางที่ 2

ตารางที่ 2: ความเสี่ยงต่อการเป็น CIN3+ และ cancer ที่ 3 ปี และ 5 ปี หลังจาก Negative screening Test (5)

{tabulizer:style[gr.alterora.elemental_1_blue.css]}

Screening

ความเสี่ยงต่อการเป็น

P-value

HPV-negative

CIN3+ ที่ 3 ปี = 0.07%

P < 0.0001

HPV-negative/Cytology-negative

CIN3+ ที่ 5 ปี = 0.11%

HPV-negative

มะเร็งที่ 3 ปี = 0.011%

P = 0.21

HPV-negative/Cytology-negative

มะเร็งที่ 5 ปี = 0.014%

HPV-negative

CIN3+ ที่ 3 ปี = 0.07%

P < 0.0001

Cytology-negative

CIN3+ ที่ 3 ปี = 0.19%

HPV-negative

มะเร็งที่ 3 ปี = 0.01%

P < 0.0001

Cytology-negative

มะเร็งที่ 3 ปี = 0.02%

ในปี ค.ศ 2015 ได้มีคำแนะนำร่วมกันระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งปากมดลูกของอเมริกา เรื่องแนวทางการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (6) ดังแสดงในตารางที่ 3

ตารางที่ 3: Screening Methods for Cervical Cancer for the General Population: Joint recommendations of the American cancer society, the American Society for Colposcopy and Cervical Pathology, and American Society for Clinical Pathology

{tabulizer:style[gr.alterora.elemental_1_blue.css]}

ลักษณะประชากร

คำแนะนำ

หมายเหตุ

หญิงอายุน้อยกว่า 21 ปี ไม่ต้องตรวจคัดกรอง  
หญิงอายุ 21-29 ปี ตรวจ cytology ทุก 3 ปี  
หญิงอายุ 30-65 ปี ตรวจ HPV และ cytology ทุก 5 ปี (preferred) หรือ ตรวจ cytology ทุก 3 ปี (acceptable) ไม่แนะนำให้ตรวจคัดกรองโดยการตรวจ HPV เพียงอย่างเดียว
หญิงอายุมากกว่า 65 ปี ไม่จำเป็นต้องตรวจคัดกรอง หากมีผลการตรวจคัดกรองอย่างเหมาะสมก่อนหน้าเป็นปกติ หญิงที่เคยตรวจพบ CIN 2, CIN 3 หรือ adenocarcinoma in situ ควรตรวจคัดกรองต่อไปจนครบ 20 ปี หลังจากรอยโรคหายไป หรือ หลังได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
หญิงที่เคยตัดมดลูก ไม่ต้องตรวจคัดกรอง ใช้กับรายที่ตัดปากมดลูกไปแล้ว และไม่เคยตรวจพบรอยโรค CIN 2, CIN 3, adenocarcinoma in situ หรือ มะเร็ง (20 ปีก่อน)
หญิงที่เคยฉีดวัคซีนป้องกัน HPV ให้ตรวจคัดกรองตามกลุ่มอายุ เหมือนกับหญิงที่ไม่เคยฉีดวัคซีน HPV มาก่อน  

Primary HPV testing

ปัจจุบันมีการใช้ HPV testing เพียงอย่างเดียวในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ซึ่งมีการศึกษาว่าตรวจคัดกรองด้วย HPV test เพียงอย่างเดียว สามารถตรวจพบรอยโรค CIN3+ ได้ 92% เหนือกว่า PAP smear ที่มีตรวจพบรอยโรค CiN3+ เพียง 52% เท่านั้น (7) นอกจากนี้ ยังมี false negative น้อยกว่าการใช้ PAP smear มาก แต่อย่างไรก็ตามการใช้ Primary HPV testing ย่อมเพิ่มจำนวนผู้ป่วยที่ต้องมาตรวจ colposcope แม้ว่าส่วนใหญ่จะมี spontaneous regression ก็ตาม

สำหรับ HPV test ที่ FDA approved ให้ใช้เป็น primary HPV testing ได้แก่ cobas® ซึ่งจะตรวจหา HPV 16, 18 และ other 12 high risk HPV (31, 33, 35, 39, 45, 51, 52, 56, 58, 59, 66, 68)

การให้คำแนะนำแก่สตรีและคู่นอนเมื่อตรวจพบเชื้อ HPV ที่ปากมดลูก (8)

1. คำแนะนำเบื้องต้นที่ต้องแจ้งให้ทราบเพื่อคลายความวิตกกังวลและความหวาดระแวง

  • สตรีที่ติดเชื้อ HPV ส่วนใหญ่ ไม่เป็นมะเร็งปากมดลูก
  • การติดเชื้อ HPV ส่วนใหญ่มากกว่า 90-95% หายไปได้เอง มีเพียง 5-10% เท่านั้นที่การติดเชื้อจะคงอยู่นาน(persistent)
  • สตรีที่ติดเชื้อ HPV ส่วนใหญ่จะตรวจไม่พบความผิดปกติที่ปากมดลูกเมื่อทำการตรวจเพิ่มเติมด้วยคอลโปสโคป (colposcope)
  • การตรวจพบเชื้อ HPV ไม่แสดงว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีความสำส่อนทางเพศหรือมีคู่นอนหลายคน มีการศึกษายืนยันว่าผู้หญิงและผู้ชายที่ต่างมีคู่นอนคนเดียวก็ติดเชื้อ HPV ได้

2. ควรมารับกาตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอโดยการตรวจด้วย cytology และตรวจหาเชื้อ HPV ทุก 12 เดือน เพื่อดูว่ามีความผิดปกติของเซลล์เกิดขึ้นหรือไม่ ละเชื้อ HPV หายไปหรือยังคงอยู่ ความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกมีน้อยมาก ถ้ามารับการตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอ และถ้ามีความผิดปกติเกิดขึ้นในระยะก่อนมะเร็ง ก็สามารถตรวจพบและรักษาได้ก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง

3. ถ้ายังไม่ต้องการมีบุตร หรือมีเพียงพอแล้ว แนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์เพื่อลดการติดเชื้อ HPV เพิ่มเติม และเพิ่มโอกาสการหายจากการติดเชื้อ HPV ที่มีอยู่แล้ว มีการศึกษาว่าวิธีดังกล่าวช่วยให้เชื้อ HPV หายไปมากขึ้นและเร็วขึ้น

4. ลดความเสี่ยงที่จะทำให้การติดเชื้อ HPV รุนแรงขึ้นหรือคงอยู่นานขึ้น เช่น การงดสูบบุหรี่ การับประทานยาคุมกำเนิดนานกว่า 5 ปี ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นต้น

5. ดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงเพื่อเพิ่มภูมิต้านทาน เช่น รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำจิตใจให้แจ่มใส หลีกเลี่ยงความวิตกกังวล ฯลฯ

6. การตรวจหาเชื้อ HPV ในผู้ชาย ไม่มีความจำเป็นตอการดูแลรักษา เพราะตรวจพบเชื้อ HPV เพียง 60% เท่านั้น และมักตรวจไม่พบรอยโรคที่ต้องให้การรักษา

Urine HPV testing

เนื่องจากการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกดังที่ได้กล่าวมาต้องเก็บสิ่งส่งตรวจจากบริเวณปากมดลูกซึ่งต้องทำขณะตรวจภายใน แต่ยังมีสตรีจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถรับการตรวจภายได้ ด้วยอาจจะเขินอายหรือขาดบุคลากรทางการแพทย์ที่จะตรวจให้ การตรวจหาเชื้อ HPV จากปัสสาวะจึงเป็นทางเลือกหนึ่ง ที่จะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยที่ไม่ได้ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกลงได้ แต่การตรวจหาเชื้อ HPV จากปัสสาวะ ยังไม่ได้เป็นวิธีที่แนะนำให้ใช้ได้อย่างเป็นมาตรฐาน เนื่องจากความไว ในการตรวจพบเชื้อ ยังด้อยกว่า การตรวจจากปากมดลูก โดย การตรวจหา HPV จากปัสสาวะเทียบกับการตรวจจากปากมดลูก มี sensitivity และ specificity คือ 68.6% และ 93.2% ตามลำดับ และ พบว่า urine HPV testing มี sensitivity และ specificity ในการตรวจเจอเชื้อ ในผู้ป่วยที่มีผลชิ้นเนื้อผิดปกติระดับ High-Grade Squamous Intraepithelial Lesion (HSIL) ขึ้นไป (histologic HSIL+) คือ 80.0% และ 78.0% ตามลำดับ (9)

HPV vaccine

ความเป็นมา

ในปี พ.ศ.2523 ศาสตราจารย์นายแพทย์ Harld Zur Hausen แห่งสถาบันวิจัยมะเร็งกรุงไฮเดลเบอร์ก ประเทศเยอรมนี ได้รายงานการตรวจพบเชื้อ HPV 6 ในหูดหงอนไก่ และรายงานการพบเชื้อ HPV 11 เพิ่มขึ้นมา ในปี พ.ศ.2526 และ หลังจากนั้นอีกหนึ่งปี ได้ตรวจพบ HPV 16 และ HPV 18 ในมะเร็งปากมดลูก

จากนั้นในปี พ.ศ.2534 ได้มีการค้นพบว่า โปรตีนเปลือกหุ้มเชื้อ HPV ได้แก่ โปรตีน L1 และ L2 สามารถประกอบตัวเอง (self-assemble) เป็นอนุภาคคล้ายไวรัส (virus-like particles,VLPs) ได้ ซึ่ง VLPs นี้มีโครงสร้างเหมือนเชื้อ HPV ต้นแบบและสามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ จึงได้มีการพัฒนาการผลิตวัคซีนเรื่อยมา จน ในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2549 องค์การอาหารและยาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศรับรองการใช้ quadrivalent HPV 6,11,16,18 vaccine ในการป้องกัน genital warts และ cervical intraepithelial neoplasia ( CIN ) adenocarcinoma in situ (AIS), vulvar intraepithelial neoplasia(VIN) 2/3 และ vaginal intra-epithelial neoplasia(VAIN) 2/3 ที่เกิดจากเชื้อ HPV 6,11,16,18 ในเด็กผู้หญิงอายุ 9-26 ปี หลังจากนั้นก็เริ่มมี HPV vaccine ออกสู่ท้องตลาดตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 เป็นต้นมา (10)

การผลิตและการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของ HPV vaccine

วัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV ผลิตมาจาก โปรตีน L1 ซึ่งเป็นโปรตีนหลักของเปลือกหุ้ม HPV สายพันธุ์ที่ต้องการผลิตวัคซีน โดยนำมาทำให้เกิดไวรัสลูกผสม (recombinant) ในเซลล์ยีสต์หรือ Baculovirus เพื่อให้ได้โปรตีน L1 ปริมาณมากๆ แล้วนำมาทำให้บริสุทธิ์ โปรตีน L1 นี้ ถ้ามีปริมาณมาก จะประกอบตัวกันเอง (self-assemble) เป็นอนุภาคคล้ายไวรัส (virus-like particles,VLPs) ซึ่งมีรูปร่าง โครงสร้างและคุณสมบัติทางแอนติเจนเหมือนกับเชื้อ HPV สายพันธุ์ต้นแบบที่นำมาผลิตวัคซีน เพียงแต่ไม่มีโปรตีนก่อมะเร็ง

เมื่อฉีด HPV VLPs เข้ากล้ามเนื้อ จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้าง neutralizing antibody ต่อต้านเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่นำมาผลิตวัคซีน แอนติบอดีนี้จะออกจากกระแสเลือดในรูป transudate เข้าสู่มูกของปากมดลูกเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HPV โดยเฉพาะบริเวณ transformation zone ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เกิดมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด(10)

ชนิดของวัคซีน HPV

วัคซีนที่มีในปัจจุบัน มี 3 ชนิด คือ Bivalent, Quadrivalent และ Nonavalent ซึ่งประกอบด้วย HPV 2, 4, และ 9 serotypes ตามลำดับ ซึ่งมีรายละเอียดแตกต่างกัน ดังตารางที่ 4

ตารางที่ 4 แสดงการเปรียบเทียบ HPV vaccine แต่ละชนิด

 

{tabulizer:style[gr.alterora.elemental_1_blue.css]}

Bivalent/Cervarix

Quadrivalent/Gardasil

Nonavalent/Gardasil 9

บริษัท GlaxoSmithKline Merck, Sharp&Dohme Merck, Sharp&Dohme
HPV types 16, 18 6, 11, 16, 18 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52, 58
FDA approved (ค.ศ./พ.ศ.) 2009/2552 2006/2549 2014/2557
ปริมาณ 0.5 มล. 0.5 มล. 0.5 มล.
ปริมาณ Antigen L1 HPV 16 20 μg

L1 HPV 18 20 μg

L1 HPV 6 20 μg

L1 HPV 11 40 μg

L1 HPV 16 40 μg

L1 HPV 18 20 μg

L1 HPV 6 30 μg

L1 HPV 11 40 μg

L1 HPV 16 60 μg

L1 HPV 18 40 μg

L1 HPV 31 20 μg

L1 HPV 33 20 μg

L1 HPV 45 20 μg

L1 HPV 52 20 μg

L1 HPV 58 20 μg

สารเสริมภูมิคุ้มกัน ASO4 ประกอบด้วย Al(OH)3 500 ไมโครกรัม Aluminium salt 225 ไมโครกรัม Aluminium salt 500 ไมโครกรัม
วิธีบริหารยา ฉีดเข้ากล้าม 0, 1, 6 เดือน ฉีดเข้ากล้าม 0, 2, 6 เดือน ฉีดเข้ากล้าม 0, 2, 6 เดือน
ประสิทธิภาพ (Efficacy) (11) HPV disease related to genotype 16&18; 98.1% HPV disease related to genotype 6, 11, 16,18; up to 100%

External genital disease in men; 90.4%

HPV disease related to genotype 6, 11, 16,18; greater than 99%

HPV related to genotype 31, 33, 45, 52, 58; 96.7%

 

ผู้ที่ไม่ควรได้รับวัคซีน HPV หรือ ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปก่อน

  • ผู้ที่มีประวัติแพ้ส่วนประกอบของวัคซีน ได้แก่ ยีสต์ สำหรับ Quadrivalent กับ Nonavalent HPV vaccine และ latex สำหรับ Bivalent HPV vaccine
  • ผู้ที่กำลังเจ็บป่วยด้วยโรคที่มีความรุนแรงปานกลางหรือรุนแรงมาก ควรรอให้หายจากโรคดังกล่าวก่อนฉัดวัคซีน
  • สตรีตั้งครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีน HPV อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ยังไม่พบว่าวัคซีน HPV มีผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์หรือทารกในครรภ์ โดย
    • หากพบว่าตั้งครรภ์หลังจากเริ่มฉีดวัคซีนไปแล้ว ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนเข็มถัดไปก่อน จนกว่าจะคลอด (สตรีที่ให้นมบุตรสามารถฉีดวัคซีน HPV ได้)
    • ไม่จำเป็นต้องตรวจการตั้งครรภ์ก่อนฉีดวัคซีน HPV
    • หากได้รับวัคซีน Nonavalent ขณะตั้งครรภ์สามารถรายงานกลับไปยังโรงงานได้ ส่วน วัคซีน Quadrivalent และ Bivalent ไม่สามารถรายงานเข้าไปได้แล้วเนื่องจากปิดการละทะเบียนไปตั้งแต่ 6 ปี หลัง FDA approved

ปัจจุบันองค์กรด้านสุขภาพต่างๆ ได้มีคำแนะนำสำหรับแนวทางการฉีดวัคซีน HPV ไว้ตารางที่ 5

ตารางที่ 5: คำแนะนำการฉีดวัคซีน HPV

{tabulizer:style[gr.alterora.elemental_1_blue.css]}

 

ACOG Bulletin(11)

WHO(12)

CDC(13)

RTCOG (14)

อายุที่เริ่มฉีด

11-12 ปี 9-14 ปี ก่อนเริ่มมีเพศสัมพันธ์ แนะนำ 11-12 ปี แต่สามารถเริ่มได้ตั้งแต่ 9 ปี 11 ปี ก่อนเริ่มมีเพศสัมพันธ์

อายุสูงสุดที่ควรฉีด

26 ปี 26 ปี 26 ปี

ชนิดของวัคซีนที่แนะนำ

ให้พิจารณาจาก

– ข้อมูลของแต่ละพื้นที่ ทั้งเรื่องประสิทธิภาพต่อการป้องกันมะเร็ง และ เรื่องความชุกของหูด

– วัคซีนที่มีพร้อมในแต่ละพื้นที่

– ความคุ้มค่าด้านราคา

การบริหารยา

– หากรับวัคซีนเข็มแรกก่อนอายุ 15 ปี แนะนำให้ฉีด 2 เข็ม ที่ 0 และ 6-12 เดือน แต่หาก เข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรกน้อยกว่า 5 เดือน ให้ฉีดเข็มที่ 3

– หากรับวัคซีนเข็มแรกอายุตั้งแต่ 15 ปี แนะนำให้ฉีด 3 เข็ม ที่ 0. 1-2 และ 6 เดือน

– หากรับวัคซีนเข็มแรกก่อนอายุ 15 ปี แนะนำให้ฉีด 2 เข็ม ที่ 0 และ 6-12 เดือน (ไม่เกิน 15 เดือน) แต่หาก เข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรกน้อยกว่า 5 เดือน ให้ฉีดเข็มที่ 3

– หากรับวัคซีนเข็มแรกอายุตั้งแต่ 15 ปี แนะนำให้ฉีด 3 เข็ม ที่ 0. 1-2 และ 6 เดือน

– ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง แม้มีอายุน้อยกว่า 15 ปี ก็ควรฉีด 3 เข็ม

– หากรับวัคซีนเข็มแรกก่อนอายุ 15 ปี แนะนำให้ฉีด 2 เข็ม ที่ 0 และ 6-12 เดือน (ไม่เกิน 15 เดือน) แต่หาก เข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรกน้อยกว่า 5 เดือน ให้ฉีดเข็มที่ 3

– หากรับวัคซีนเข็มแรกอายุตั้งแต่ 15 ปี แนะนำให้ฉีด 3 เข็ม ที่ 0. 1-2 และ 6 เดือน

– ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง แม้มีอายุน้อยกว่า 15 ปี ก็ควรฉีด 3 เข็ม

ฉีด 3 เข็ม ที่ 0, 1-2, 6 เดือน

 

วัคซีน HPV ในประเทศไทย

วัคซีน HPV ที่มีตามท้องตลาดของประเทศไทยในปัจจุบัน 2 ชนิดได้แก่ Bivalent HPV vaccine ชื่อการค้า Cervarix และ Quadrivalent HPV vaccine ชื่อการค้า Gardasil ส่วน Nonavalent HPV vaccine ชื่อการค้า Gardasil-9 ผ่านการรับรองจากองค์กรอาหารและยาของไทยแล้ว เมื่อ พฤศจิกายน พ.ศ.2560 คาดว่า กำลังจะเข้าสู่ท้องตลาดไทย

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 ประเทศไทยเริ่มมีการฉีดวัคซี HPV ฟรี ให้แก่เด็กหญิงไทย ที่อยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทั่วประเทศ โดยวัคซีนที่ใช้ คือ Bivalent HPV vaccine (Cervarix) ฉีด 2 เข็ม เข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 6 เดือน

ข้อแนะนำสำหรับการฉีดวัคซีน HPV ตามราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย (17)

  • แนะนำให้ฉีดวัคซีนเอชพีวีในสตรีช่วงอายุ 11-26 ปี (ก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก)
  • สำหรับการฉีดวัคซีนเอชพีวีในสตรีอายุมากกว่า 26 ปี หรือสตรีที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาเป็นราย ๆ ไป
  • การฉีดวัคซีนเอชพีวีนี้ต้องฉีดทั้งหมด 3 เข็มด้วยกัน คือ ฉีดเข็มแรก และ 1-2 เดือนจากเข็มแรก และ 6 เดือนจากเข็มแรก
  • ไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนเอชพีวีในสตรีตั้งครรภ์หรือผู้ที่วางแผนจะตั้งครรภ์ภายใน 6 เดือน
  • ไม่แนะนำให้ต้องทำการตรวจหาว่ามีการติดเชื้อเอชพีวีก่อนฉีดวัคซีน
  • สตรีที่มีการตั้งครรภ์ ขณะที่ได้รับวัคซีนยังไม่ครบ 3 เข็ม ควรฉีดวัคซีนเข็มต่อไปหลังคลอด (ไม่แนะนำให้ฉีดขณะกำลังตั้งครรภ์)
  • ยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่าการฉีดวัคซีนเอชพีวี จะมีผลต่อการมีบุตร การตั้งครรภ์ หรือผลเสียต่อทารกแต่อย่างใด
  • ากการติดตามตรวจภูมิคุ้มกันต่อเชื้อเอชพีวี (สายพันธุ์ที่อยู่ในวัคซีน) หลังฉีดวัคซีนเป็นเวลาประมาณ 6 ปี พบว่ายังมีภูมิคุ้มกันอยู่ในระดับที่สูงพอ จึงยังไม่มีข้อบ่งชี้ในการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น

อย่างไรก็ตาม ในรายที่เคยฉีดวัคซีน HPV แล้ว ก็ยังจำเป็นต้องข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามปกติ เหมือนกับคนที่ไม่เคยฉีดวัคซีนมาก่อน และถึงแม้ว่าเราจะมีเทคโนโลยีที่ช่วยให้เราตรวจพบรอยโรคได้เร็วขึ้น และ มีวัคซีนที่ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันมะเร็งปากมดลูก ยังคงเป็นความตระหนักของทุกคนในสังคมว่า มะเร็งปากมดลูก ร้ายแรง แต่สามารถป้องกันและตรวจพบได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อจะได้ลดความสูญเสียจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้อย่างแท้จริง

เอกสารอ้างอิง

  1. Ward P, Coleman DV, Malcolm AD. Regulatory mechanisms of the papillomaviruses. Trends in genetics : TIG. 1989;5(4):97-9
  2. Virology of human papillomavirus infections and the link to cancer [Internet]. [updated 2017 Aug 21; cited 2017 Dec 25] Available from: https://www.uptodate.com/contents/virology-of-human-papillomavirus-infections-and-the-link-to-cancer.
  3. จตุพล ศรีสมบูรณ์. การตรวจ HPV DNA testing และการตรวจ HPV RNA testing ต่างกันอย่างไร. ใน: จตุพล ศรีสมบูรณ์, บรรณาธิการ. บทบาทของ HPV E6/E7 mRNA Test 2014. p. 3-5.
  4. Wright TC, Stoler MH, Behrens CM, Sharma A, Zhang G, Wright TL. Primary cervical cancer screening with human papillomavirus: End of study results from the ATHENA study using HPV as the first-line screening test. Gynecol Oncol. 2015;136(2):189-97.
  5. Gage JC, Schiffman M, Katki HA, et al. Reassurance against future risk of precancer and cancer conferred by a negative human papillomavirus test. J Natl Cancer Inst. 2014;106(8).
  6. Huh WK, Ault KA, Chelmow D, Davey DD, Goulart RA, Garcia FA, et al. Use of primary high-risk human papillomavirus testing for cervical cancer screening: interim clinical guidance. Obstet Gynecol 2015;125:330–7.
  7. Castle PE, Stoler MH, Wright TC, Jr., Sharma A, Wright TL, Behrens CM. Performance of carcinogenic human papillomavirus (HPV) testing and HPV16 or HPV18 genotyping for cervical cancer screening of women aged 25 years and older: a subanalysis of the ATHENA study. Lancet Oncol. 2011;12(9):880-90.
  8. จตุพล ศรีสมบูรณ์. อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของการป้องกันมะเร็งปากมดลูก. ใน: ประภาพร สู่ประเสริฐ, บรรณาธิการ. สูตินรีเวช เชียงใหม่ทันยุค 3. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่:จรัสธุรกิจการพิมพ์; 2560. หน้า 7-20.
  9. Khunamornpong S, Settakorn J, Sukpan K, Lekawanvijit S, Katruang N, Siriaunkgul S. Comparison of Human Papillomavirus Detection in Urine and Cervical Samples Using High-Risk HPV DNA Testing in Northern Thailand. Obstet Gynecol Int J. 2016;2016.
  10. จตุพล ศรีสมบูรณ์. วัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV. ใน: จตุพล ศรีสมบูรณ์. บรรณาธิการ. H.P.V and cervical cancer. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ:ทิมส์ ประเทศไทย; 2549. หน้า 125-54.
  11. Committee Opinion No. 704: Human Papillomavirus Vaccination. Obstet Gynecol. 2017;129(6):e173-e8.
  12. Organization WH. WHO RECOMMENDATIONS FOR HPV VACCINATION. In: Organization WH, Department of Immunization VaB, editors. Guide to Introducing HPV Vaccine into National Immunization Programmes 2016. p. 9-11.
  13. Human Papillomavirus (HPV) ACIP Vaccine Recommendations [Internet]. Centers for Disease Control and Prevention. [updated 2016 Dec 15; cited 2017 Dec 25]. Available from: https://www.cdc.gov/vaccines/vpd/hpv/hcp/recommendations.html.
  14. ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมมะเร็งนรีเวชไทย. วัคซีนเอชพีวี กับการป้องกันมะเร็งปากมดลูก [อินเตอร์เน็ต]. ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. พ.ค. 2017. [เข้าถึงเมื่อ 2 ม.ค.2561]. เข้าถึงได้จาก: www.rtcog.or.th/home/วัคซีนเอชพีวี-กับการป้อ/984/

 

Read More
GermCell 1

Ovarian Germ Cell Tumors

Ovarian Germ Cell Tumors

พญ. หรัดปพร ปิยะเวชการ
อาจารย์ที่ปรึกษา รศ. พญ. ประภาพร สู่ประเสริฐ


Ovarian germ cell tumors คือ เนื้องอกรังไข่ที่มีต้นกำเนิดมาจาก primitive germ cells ของรังไข่ พบได้ 20-25% ของเนื้องอกรังไข่ทั้งหมด ซึ่งอาจจะเป็นเนื้องอกธรรมดาหรือมะเร็งก็ได้ มีเพียง 5% เท่านั้นที่เป็นมะเร็ง ในประเทศเอเชียและกลุ่มคนผิวดำพบมะเร็งคิดเป็น 15% ของเนื้องอกรังไข่ทั้งหมด

เนื้องอกชนิดนี้มักพบในช่วงอายุ 20 ปีแรก โดยพบว่า 70% ของเนื้องอกรังไข่ทั้งหมดมีต้นกำเนิดมาจาก germ cell และพบว่าประมาณ 1 ใน 3 เป็นมะเร็ง ในช่วงอายุ 30 ปีก็สามารถพบมะเร็งชนิด germ cell ได้เช่นกันแต่พบได้น้อยมาก(1)

ตารางที่ 1 แสดงการจำแนกชนิดของ germ cell tumor(1)

 

Histologic Typing of Ovarian Germ Cell Tumors

I. Primitive Germ Cell Tumors

                                                

III. Monodermal Teratoma and Somatic-Type Tumors Associated Dermoid Cysts
Dysgerminoma

Yolk sac tumor

Embryonal carcinoma

Polyembryoma

Nongestational choriocarcinoma

Mixed germ cell tumor

Thyroid tumor

  • Struma ovarii

Benign

Malignant

Carcinoid

Neuroectodermal tumor

Carcinoma

Melanocytic

Sarcoma

  • Sebaceous tumor
  • Pituitary-type tumor

Others

 

II. Biphasic or Triphasic Teratoma
Immature teratoma

Mature teratoma

  • Solid
  • Cystic

Dermoid cyst

Fetiform teratoma (homunculus)

 

 

ดัดแปลงจาก: Berek J, Friedlander M, Hacker N. Germ Cell and Nonepithelial Ovarian Cancer. 6 ed. Philadelphia, PA: Lippincott Williams & Wilkins; 2015.

ลักษณะทางคลินิก(1,2)

อาการที่พบบ่อยที่สุดคือ ปวดท้องและมีก้อนในช่องท้อง ลักษณะของมะเร็งรังไข่ชนิด germ cell ที่แตกต่างจากมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิวคือก้อนโตเร็ว ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดท้องแบบกึ่งเฉียบพลันเนื่องจากเปลือกหุ้มก้อนถูกขยาย เลือดออกในช่องท้องจากการแตกของก้อน หรือมีเนื้อเน่าตาย ส่วนอาการที่เกิดขึ้นเร็วจะสัมพันธ์กับการบิดขั้วหรือการแตกของก้อน นอกจากนี้ก้อนที่โตเร็วอาจทำให้เกิดอาการกดเบียดกระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ใหญ่ ผู้ป่วยบางรายอาจมีลักษณะผิดปกติของรอบเดือนได้ ในรายที่เป็นระยะลุกลามผู้ป่วยอาจมาด้วยอาการอืดแน่นท้องซึ่งเกิดจากน้ำในช่องท้อง

การตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม(1,2)

การตรวจอัลตราซาวน์ (ultrasonography):

เพื่อยืนยันการมีก้อนที่รังไข่ และดูลักษณะก้อนว่าเป็นน้ำหรือเนื้อตัน รวมถึงประเมินลักษณะการเปลี่ยนแปลงของเส้นเลือดที่มาเลี้ยงรังไข่เพื่อช่วยในการแยกว่าเป็นเนื้องอกธรรมดาหรือมะเร็ง ถ้าผลการตรวจอัลตราซาวน์พบก้อนเนื้อตันหรือพบถุงน้ำเป็นส่วนน้อยก็จะช่วยให้นึกถึงมะเร็งรังไข่ชนิด germ cell มากยิ่งขึ้น ขนาดของก้อนจะช่วยในการบอกความเสี่ยงของมะเร็งโดยมะเร็งรังไข่ชนิด germ cell จะมีขนาดใหญ่กว่าชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง นอกจากนี้ควรตรวจหาน้ำในช่องท้อง น้ำในเยื่อหุ้มปอดและอวัยวะโตในช่องท้องด้วย

Tumor marker:

มีประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัยแยกโรคและใช้ในการตรวจติดตามหลังการรักษาได้ เช่น EST สร้าง AFP, choriocarcinoma สร้าง hCG ในขณะที่ immature teratoma ไม่สร้าง hCG แต่อาจจะสัมพันธ์กับระดับ AFP ที่สูงขึ้นได้ ส่วนในผู้ป่วย dysgerminoma พบว่า alkaline phosphatase(ALP) และ lactate dehydrogenase(LDH) มีปริมาณสูงขึ้นได้ถึง 95% แต่พบระดับ hCG สูงขึ้นได้ 3% และไม่พบระดับ AFP สูงขึ้นเลย
ในผู้ป่วยที่อายุน้อยควรตรวจเลือดดูค่า tumor marker ได้แก่ hCG, AFP, LDH, และ CA 125 เพื่อช่วยในการวินิจฉัยด้วย

GermCell 1

รูปที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของมะเร็งรังไข่ชนิด germ cell กับค่า tumor marker(1)

ดัดแปลงจาก: Berek J, Friedlander M, Hacker N. Germ Cell and Nonepithelial Ovarian Cancer.
6 ed. Philadelphia, PA: Lippincott Williams & Wilkins; 2015.

Chest X-ray(XR): การทำเอกซเรย์ปอดควรทำทุกรายเนื่องจาก germ cell tumor สามารถแพร่กระจายไปที่ปอดหรือเยื่อกั้นกลางช่องอกได้

Computed tomography (CT) หรือ MRI: จะช่วยประเมินเรื่องการแพร่กระจายภายในช่องท้องและการแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองหลังช่องท้อง

Karyotype: ควรทำในเด็กหญิงวัยก่อนมีประจำเดือนทุกรายเนื่องจาก germ cell tumor มักเกิดในผู้ป่วยที่มีการกำเนิดผิดปกติของต่อมบ่งเพศ(gonadal dysgenesis)

ชนิดของ ovarian germ cell neoplasm

1. Dysgerminoma

เป็นมะเร็งรังไข่ชนิด germ cell ที่พบได้บ่อยที่สุด คิดเป็น 30 – 40 % และพบได้ 5-10% ในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ที่อายุน้อยกว่า 20 ปี ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยอายุ 10-30 ปี(คิดเป็น 75%) พบได้น้อยในผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 10 ปีและมากกว่า 50 ปี โดยที่ 5% ของ dysgerminoma มีลักษณะภายนอกเป็นเพศหญิงที่มีความผิดปกติของต่อมบ่งเพศ dysgerminoma อาจจะสัมพันธ์กับ pure gonadal dysgenesis(46XY, bilateral streak gonads), mixed gonadal dysgenesis (45X/46XY, unilateral streak gonad, contralateral testis) และ androgen insensitivity syndrome(46XY, testicular feminization) ซึ่งหากมี gonadoblastoma(เนื้องอกรังไข่ที่ประกอบด้วย germ cells และ sex cord stroma) ในผู้ป่วยที่เป็น gonadal dysgenesis พบว่ามากกว่า 50% กลายเป็นมะเร็งรังไข่ ดังนั้นหากพบ Y chromosome แนะนำให้ตัดรังไข่ทั้งสองข้างออก

65% ของผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ชนิด dysgerminoma ตอนที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นระยะที่ 1 ส่วนใหญ่พบเป็นที่มะเร็งรังไข่ข้างเดียว(85-90%) โอกาสที่เป็น 2 ข้างประมาณ 10-15% และยังพบร่วมกับการตั้งครรภ์ได้ถึง 20-30%

ในระยะลุกลามส่วนใหญ่จะลุกลามไปทางต่อมน้ำเหลืองโดยเฉพาะ para-aortic nodes นอกจากนี้ยังกระจายไปยังเส้นเลือดหรือแพร่กระจายโดยตรงไปที่เยื่อบุช่องท้อง และพบว่ายังสามารถกระจายไปที่รังไข่อีกข้างได้ ส่วนที่พบได้ไม่บ่อยคือ กระดูก ส่วนการลุกลามไปปอด ตับ และสมองจะพบได้ในรายที่กลับเป็นซ้ำ(1)
ลักษณะที่มองด้วยตาเปล่าจะเป็นก้อนสีเทาอ่อนเนื้อแน่น ผิวด้านนอกเรียบและหน้าตัดจะไม่เรียบ อาจจะมีสีน้ำตาลอ่อน สีครีมหรือสีชมพู ไม่ค่อยพบหย่อมเลือดออกหรือเนื้อเน่าตาย หากพบมีหย่อมเลือดออกหรือเนื้อเน่าตายเป็นบริเวณกว้างให้สงสัยว่าอาจมีเนื้องอกหรือมะเร็งชนิดอื่นๆ ร่วมด้วย
ลักษณะทางพยาธิวิทยาที่ช่วยในการวินิจฉัยของ dysgerminoma ได้แก่ การพบเซลล์รูปเหลี่ยมที่มีการเรียงตัวอัดแน่นเป็นกลุ่มเล็กใหญ่หลายขนาด ซึ่งเซลล์เหล่านี้จะมีลักษณะเหมือน primordial germ cell ทุกประการ โดยแต่ละกลุ่มแยกออกจากกันด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มี lymphocyte แทรกอยู่ เซลล์มะเร็งมีไซโทพลาซึมค่อนข้างใสหรือย้อมติดสีชมพูจางๆ เห็นชัดเจน นิวเคลียสกลม บางครั้งอาจพบ syncytiotrophoblast ทำให้มีการสร้างฮอร์โมน hCG แต่ไม่ใช่ choriocarcinoma เนื่องจากไม่พบ cytotrophoblasts(2,3)

2. Immature teratoma

พบได้บ่อยรองลงมาจาก dysgerminoma ประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อที่พัฒนามาจากเนื้อเยื่อทั้ง 3 ชั้นได้แก่ เนื้อเยื่อชั้นนอก เนื้อเยื่อชั้นกลางและเนื้อเยื่อชั้นใน ส่วนใหญ่เป็นที่รังไข่ข้างเดียว โอกาสที่จะเป็น 2 ข้างพร้อมกันน้อยกว่า 5% อาจพบ mature cystic teratoma ร่วมด้วยในรังไข่ด้านตรงข้ามประมาณ 10% immature teratoma จะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มตามระดับ immaturity ของ neural tissue โดยเกรดของ immature จะเป็นปัจจัยพยากรณ์โรคที่สำคัญประการหนึ่งนอกเหนือไปจากระยะของโรค(2-5)
ลักษณะที่มองด้วยตาเปล่าจะพบก้อนขนาดใหญ่สีเทาหรือน้ำตาล เมื่อผ่าดูด้านในจะพบมีลักษณะเป็นเนื้อปนกับถุงน้ำ ส่วนที่เป็นเนื้ออาจมีลักษณะคล้ายเนื้อสด บางส่วนจะเป็นเนื้อแข็งและสาก ส่วนที่มีสีขาวเทาและผิวมันมันเป็นส่วนของกระดูกอ่อน

ลักษณะทางพยาธิวิทยาที่ใช้ในการวินิจฉัยได้แก่ การพบเนื้อเยื่อที่มาจากเนื้อเยื่อชั้นนอก เนื้อเยื่อชั้นกลางและเนื้อเยื่อชั้นใน โดยส่วนที่เป็น immature ส่วนประกอบส่วนใหญ่จะเป็น neuroectoderm ที่ประกอบด้วย neuroepithelial cell, tubules และ glial tissue

3. Endodermal sinus tumor(EST)

Endodermal sinus tumor มีอีกชื่อหนึ่งคือ yolk sac carcinoma เนื่องจากมีต้นกำเนิดมาจาก primitive yolk sac พบได้บ่อยเป็นลำดับที่ 3 รองลงมาจาก dysgerminoma และ immature teratoma ช่วงอายุที่พบบ่อยคือ 18 ปี อาการที่พบส่วนใหญ่จะมาด้วยอาการปวดท้อง(พบได้ 75%) หรืออาจคลำพบก้อนที่หน้าท้อง(พบได้ 10%) ส่วนใหญ่ EST จะหลั่ง AFP ดังนั้น AFP จะช่วยบอกการดำเนินโรคและยังเป็นตัวช่วยในการประเมินการตอบสนองของโรคและการติดตามโรคด้วย(1)

ลักษณะที่มองด้วยตาเปล่าจะพบได้ทั้งที่เป็นก้อนเนื้อตัน อาจจะพบว่าบางส่วนมีลักษณะเป็นถุงน้ำอยู่ภายใน ลักษณะที่แตกต่างไปจากมะเร็งรังไข่ชนิด germ cell ชนิดอื่น คือ มีโอกาสพบในระยะลุกลามมากกว่า มีการแพร่กระจายเร็วกว่าและมีการลุกลามไปอวัยวะข้างเคียงได้บ่อยกว่า

เมื่อฝานหน้าตัดดูจะพบเป็นเนื้อสีเทาหรือสีครีมที่มีหย่อมเลือดออกหรือเนื้อเน่าตายเป็นบริเวณกว้าง และมักจะพบถุงน้ำเล็กๆ แพร่กระจายอยู่ทั่วไป ลักษณะทางพยาธิวิทยาที่พบมีหลายแบบ ได้แก่ microcystic, endodermal sinus, solid alveolar-glandular, polyvesicular vitelline, myxomatous, papillary, macrocystic, hepatoid และ primitive endodermal (intestinal) pattern(2,3)

ในบางรายจะพบ schiller-duval bodies หรือ sinuses of duval ซึ่งจะประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่เรียงตัวเป็นลักษณะ papillary ที่คลุมด้วยเยื่อบุผิวของมะเร็งโดยที่แกนกลาง(mesenchymal core) จะมีหลอดเลือดฝอยอยู่ อาจพบ intracellular hyaline bodies ได้โดยการย้อมด้วย periodic-acid-schiff(PAS) เมื่อย้อมพิเศษโดยวิธี immunoperoxidase จะพบ eosinophilic globules ที่มี AFP อยู่ภายในเซลล์(2,5,6)

4. มะเร็งรังไข่ชนิด germ cell ที่พบได้น้อย

4.1 Embryonal carcinoma
พบได้น้อยมาก ต่างกับ choriocarcinoma คือ ไม่มี syncytiotrophoblastic และ cytotrophoblastic cells ช่วงอายุที่พบได้คือ 4-28 ปี embryonal carcinoma สามารถหลั่งเอสโตรเจนได้ ทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะหนุ่มสาวก่อนวัยและมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดได้ ส่วนอาการอื่นๆ จะเหมือนกับที่พบใน EST tumor marker ที่สัมพันธ์ คือ AFP และ hCG จึงสามารถใช้ตรวจเพื่อติดตามการรักษาได้

4.2 Choriocarcinoma of the ovary(Pure nongestational choriocarcinoma)
พบได้น้อยมาก ลักษณะทางพยาธิวิทยาจะเหมือนกับ gestational choriocarcinoma จะพบในช่วงอายุน้อยกว่า 20 ปี tumor marker ที่ใช้ในการติดตามการรักษาคือ hCG ซึ่งหากมีระดับ hCG สูงจะทำให้เข้าสู่ภาวะหนุ่มสาวก่อนวัยของเพศเดิม(isosexual puberty) ได้ถึง 50% ในผู้ป่วยก่อนมีประจำเดือนการพยากรณ์โรคมักไม่ดี โดยมักจะลุกลามไปอวัยวะข้างเคียงตั้งแต่เริ่มวินิจฉัย

4.3 Polyembryoma
ประกอบด้วย embryoid bodies และ early embryonic differentiation พบได้ในอายุน้อย ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการเสมือนเข้าสู่หนุ่มสาว tumor marker ที่ช่วยในการวินิจฉัยและตรวจติดตามคือ AFP และ hCG ในผู้ป่วยที่เป็นที่รังไข่ข้างเดียวสามารถหลีกเลี่ยงการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดโดยการตรวจดูระดับ AFP, hCG และการตรวจทางรังสี

4.4 Mixed germ cell tumors
ประกอบด้วยมะเร็งรังรังไข่ชนิด germ cell สองชนิดขึ้นไป ที่พบได้บ่อยที่สุดคือ dysgerminoma(80%) รองลงมาได้แก่ EST(70%), immature teratoma(53%), choriocarcinoma(20%), และ embryonal carcinoma(16%) ที่พบร่วมกันได้บ่อยที่สุดคือ dysgerminoma กับ EST tumor marker ที่หลั่งออกมาอาจเป็น AFP หรือ hCG ขึ้นกับส่วนประกอบ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการบอกพยากรณ์โรคคือขนาดก้อนและชนิดของส่วนประกอบ ใน stage IA ซึ่งขนาดก้อนน้อยกว่า 10 เซนติเมตรมีอัตราการมีชีวิตรอด 100% เนื้องอกมีส่วนประกอบของ EST, choriocarcinoma, หรือ grade 3 immature teratoma น้อยกว่า 1 ใน 3 จะมีพยากรณ์โรคดี

การแพร่กระจาย(pattern of spreading)

มะเร็งรังไข่ชนิด germ cell มีการแพร่กระจายได้ 3 ทางคือ(2,7)

  1. การแพร่กระจายภายในช่องท้อง(intraperitoneal หรือ transcoelomic spreading) โดยจะพบการแพร่กระจายไปที่เยื่อบุช่องท้อง ผิวของอวัยวะภายในช่องท้อง บางรายอาจจะพบว่ามีน้ำในช่องท้องได้
  2. การแพร่กระจายไปตามระบบน้ำเหลือง(lymphatic spreading) มะเร็งรังไข่ชนิด germ cell จะมีการแพร่กระจายไปตามระบบน้ำเหลืองได้บ่อยกว่ามะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว โดยเฉพาะ dysgerminoma พบการแพร่กระจายไปที่ para-aortic nodes และ mediastinum nodes ได้บ่อย มีการศึกษาเรื่องการแพร่กระจายตามระบบน้ำเหลืองของมะเร็งรังไข่ชนิด germ cell พบว่าแตกต่างกันตามลักษณะทางพยาธิวิทยา คือ dysgerminoma พบ 28%, mixed germ cell tumors พบ 16%, และ malignant teratoma พบ 8% นอกจากนี้การแพร่กระจายไประบบน้ำเหลืองยังเป็นตัวบอกพยากรณ์โรคอีกด้วย(hazard ratio of 2.9, 95% CI 1.4-5.7)(8)
  3. การแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด(hematogenous spreading) พบการแพร่กระจายไปที่ปอดและตับได้ประมาณ 10%

การแบ่งระยะ(staging)

ตารางที่ 2 การแบ่งระยะของมะเร็งรังไข่ อ้างอิงตาม FIGO’s staging classification 2014(9)

 

Stage I. Tumor confined to ovaries or fallopian tube(s)

T1-N0-M0

IA: Tumor limited to one ovary (capsule intact) or fallopian tube; no tumor on ovarian or fallopian tube surface; no malignant cells in the ascites or peritoneal washing

T1a-N0-M0

IB: Tumor limited to both ovaries (capsule intact) or fallopian tube; no tumor on ovarian or fallopian tube surface; no malignant cells in the ascites or peritoneal washing

T1b-N0-M0

IC: Tumor limited to one or both ovaries or fallopian tubes, with any of the following:

IC1: surgical spill

T1c1-N0-M0

IC2: capsule ruptured before surgery or tumor on ovarian or fallopian tube surface

T1c2-N0-M0

IC3: malignant cells in the ascites or peritoneal washings

T1c3-N0-M0

Stage II. Tumor involves one or both ovaries or fallopian tubes with pelvic extension (below pelvic brim) or primary peritoneal cancer

T2-N0-M0

IIA: extension and/or implants on uterus and/or fallopian tubes and/or ovaries

T2a-N0-M0

IIB: extension to other pelvic intraperitoneal tissues

T2b-N0-M0

Stage III. Tumor involves one or both ovaries or fallopian tubes, or primary peritoneal cancer, with cytologically or histologically confirmed spread to peritoneum outside the pelvis and/or metastasis to the retroperitoneal lymph nodes

T1/T2-N1-M0

IIIA1: positive retroperitoneal lymph nodes only (cytologically or histologically proven):

IIIA1(i) Metastasis up to 10 mm in greatest dimension

IIIA1(ii) Metastasis more than 10 mm in greatest dimension

IIIA2: microscopic extrapelvic(above the pelvic brim) peritoneal involvement with or without positive retroperitoneal lymph nodes

T3a2-N0/N1-M0

IIIB: macroscopic peritoneal metastasis beyond the pelvis up to 2 cm in greatest dimension, with or without metastasis to the retroperitoneal lymph nodes

T3b-N0/N1-M0

IIIC: macroscopic peritoneal metastasis beyond the pelvis more than 2 cm in greatest demension, with or without metastasis to the retroperitoneal lymph nodes(include extension of tumor to capsule of liver and spleen without parenchymal involvement of either organ)

T3c-N0/N1-M0

Stage IV. Distant metastasis excluding peritoneal metastases

IVA: pleural effusion with positive cytology

IVB: parenchymal metastases and metastases to extra-abdominal organs(including inguinal lymph nodes and lymph nodes outside of the abdominal cavity)

Any T, any N, M1

ดัดแปลงจาก: Prat J. FIGO’s staging classification for cancer of the ovary, fallopian tube, and peritoneum: abridged republication. Gynecol Oncol. 2015;26:87-89.

แนวทางการรักษา

การรักษาหลักคือการผ่าตัดและเคมีบำบัด ส่วนรังสีรักษามีที่ใช้บ้างแต่น้อย ในกรณีที่สงสัยว่าเป็นมะเร็งรังไข่ชนิด germ cell ควรตรวจ tumor marker ก่อนผ่าตัดเพื่อช่วยในการวางแผนการรักษาและให้คำปรึกษาโดยเฉพาะผู้ป่วยที่อายุน้อย(2,4)

1. การผ่าตัด

เป็นวิธีการรักษาหลักเพื่อให้ได้การวินิจฉัยที่แน่นอนและเป็นการนำเอาก้อนเนื้องอกออก รวมถึงสามารถบอกระยะของโรคได้ เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ชนิด germ cell ส่วนใหญ่อายุน้อยและเป็นระยะที่ I ตอนที่ได้รับการวินิจฉัย การผ่าตัดแบบธำรงภาวะเจริญพันธุ์(fertility-preserving surgery) ก็เพียงพอ ในกรณีที่พบรอยโรคที่รังไข่ทั้ง 2 ข้างแนะนำให้ตัดปีกมดลูกทั้ง 2 ข้าง(bilateral salpingo-oophorectomy) แล้วเก็บมดลูกไว้เพื่อให้โอกาสผู้ป่วยมีบุตรได้โดยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์(10) ในกรณีที่ผู้ป่วยอายุมากหรือไม่ต้องการมีบุตรหรือโรคได้แพร่กระจายไปมากแล้ว ควรทำการผ่าตัดแบบกำหนดระยะโรค(complete surgical staging) โดยตัดมดลูกและปีกมดลูกทั้ง 2 ข้าง ส่งน้ำในช่องท้องตรวจ ตัดเยื่อแขวนกระเพาะในช่องท้อง(omentum) เลาะต่อมน้ำเหลืองหลังช่องท้องที่มีขนาดใหญ่ผิดปกติและผ่าตัดเพื่อจำกัดขนาดของเนื้อเยื่อ(cytoreductive surgery) ในกรณีที่มีการแพร่กระจายของโรค
ในผู้ป่วยระยะลุกลาม การผ่าตัดเพื่อจำกัดขนาดของเนื้อเยื่อสัมพันธ์กับผลการรักษาที่ดีโดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่ใช่dysgerminoma เนื่องจากขนาดของก้อนที่เหลือเป็นปัจจัยพยากรณ์ที่สำคัญในการบอกผลลัพธ์การรักษา(11)

มีการศึกษาของ Slaylon และคณะเพื่อดูการดำเนินโรคหลังการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดสูตร VAC(vincristine, dactinomycin, cyclophosphamide) พบว่ามีการดำเนินโรคมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดแบบกำหนดระยะไม่ครบถ้วน(68% vs 28%)(12)

การศึกษาของ Williams ได้ทำการตรวจติดตามผู้ป่วยระยะลุกลามหรือมีการกลับเป็นซ้ำของโรคมะเร็งรังไข่ชนิด germ cell 111 คนโดย 89 คนได้ผ่าตัดเพื่อจำกัดขนาดของเนื้อเยื่อ พบว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่ใช่ dysgerminoma และวัดขนาดไม่ได้หลังการผ่าตัด(nonmeasurable disease) มีระยะเวลาที่โรคสงบมากกว่ากลุ่มที่วัดขนาดได้(measurable disease)(65% vs 34%)(13)

2. เคมีบำบัด

นิยมให้ในผู้ป่วยส่วนใหญ่หลังจากรักษาด้วยการผ่าตัดยกเว้น dysgerminoma ระยะ IA และ immature teratoma ระยะ IA เกรด 1 ที่การรักษาโดยการผ่าตัดอย่างเดียวก็ถือว่าเพียงพอ(1,11,14)

ในอดีตสูตรยาเคมีบำบัดที่ให้คือ VBP(vinblastine, bleomycin, cisplatin), และ VAC(vincristine, actinomycin, cyclophosphamide) แต่ในปัจจุบันไม่นิยมให้แล้ว ที่แนะนำให้ใช้ส่วนใหญ่ในปัจจุบันคือ BEP(bleomycin, etoposide, cisplatin)(1,11,14)

มีการศึกษาอัตราการรอดชีวิตระยะยาวในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดสูตร BEP หลังการผ่าตัด พบว่าอัตราการรอดชีวิต 95-100% ในกลุ่มที่ไม่ใช่ dysgerminoma ระยะเริ่มต้น, 75-80% ในระยะลุกลาม(15,16) แม้ในกลุ่ม yolk sac tumor ที่มีการดำเนินโรคที่รุนแรงยังให้ผลการรักษาที่น่าพอใจ(17,18) ส่วนในกลุ่ม dysgerminoma พบว่าตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดดีมาก มีอัตราการรอดชีวิตมากกว่ากลุ่มที่ไม่ใช่ dysgerminoma โดยไม่ขึ้นกับระยะของโรคตอนที่ได้รับวินิจฉัย(19,20) อย่างไรก็ตามอาจพบผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัดได้ เช่น เกิด lung fibrosis จาก bleomycin, เพิ่มความเสี่ยงในการเกิด myeloid neoplasm จาก etoposide และมีผลกับไตและระบบประสาทจาก cisplatin

  • Non-dysgerminoma แม้การศึกษายังจำกัด แต่มีการศึกษาว่าการให้ adjuvant BEP 3 cycles สามารถป้องกันการกลับเป็นซ้ำได้โดยเฉพาะผู้ป่วยระยะเริ่มต้น โดยตรวจติดตามผู้ป่วย 93 รายระยะเวลา 4-90 เดือน พบว่า 91 รายมีชีวิตอยู่และไม่พบการกลับเป็นซ้ำ อย่างไรก็ตามพบว่า 2 รายเป็น hematologic secondary malignancy จากการได้ยาเคมีบำบัด(21)
  • Dysgerminoma ไม่ได้มี RCT ศึกษาเรื่องจำนวน cycles ที่ชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามมีการติดตามผู้ป่วย 26 ราย(มีผู้ป่วยระยะลุกลาม 54%) โดยให้ยาเคมีบำบัดสูตร BEP 3 cycles ในระยะที่ 1 และ 4 cycles ในระยะลุกลาม พบว่า 96% ของผู้ป่วยระยะลุกลามยังคงมีระยะปลอดโรคหลังจากได้ยาเคมีบำบัดอย่างน้อย 3 cycles(22)

3. รังสีรักษา

ปัจจุบันจะใช้รังสีรักษาในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ต้องการธำรงภาวะเจริญพันธุ์แล้ว ผู้ป่วยไม่ยอมรับหรือได้รับผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัดมาก หรือในรายที่ดื้อต่อยาเคมีบำบัด(2,14,23)
รังสีรักษาพบว่ามีการตอบสนองดีในผู้ป่วย dysgerminoma ขนาดที่ให้คือ 2500-3500 cGy(1) แต่ควรแนะนำให้รับเคมีบำบัดเป็นทางเลือกแรกก่อนเสมอเนื่องจากยาเคมีบำบัดมีผลข้างเคียงระยะยาวน้อยกว่า ส่วนมะเร็งรังไข่ชนิดที่ไม่ใช่ dysgerminoma พบว่ารังสีรักษาไม่มีบทบาทชัดเจนและยังทำให้เกิดการดื้อต่อรังสีรักษาได้อีกด้วย(24,25)

4. การผ่าตัด second-look(2,26)

เป็นการผ่าตัดประเมินผลการรักษาในผู้ป่วยที่ตรวจไม่พบรอยโรคหลงเหลือจากการประเมินทางคลินิก ปัจจุบันอาจพิจารณาทำเฉพาะในรายที่ยังมีรอยโรคหลงเหลือจากการผ่าตัดครั้งแรกและชิ้นเนื้อมะเร็งมีส่วนของ teratoma อยู่ด้วย

5. การรักษาในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเพื่อกำหนดระยะไม่ครบถ้วน(incomplete surgical staging/suboptimal surgery)(2,14)

ในกรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากตัวก้อนเช่น มีการแตกรั่ว มีการบิดขั้วของก้อน หรือมีเลือดออกภายในก้อน ทำให้จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดฉุกเฉินซึ่งมักจะเป็นการตัดเฉพาะก้อนที่มีพยาธิสภาพออกไปเท่านั้น เมื่อผลการวินิจฉัยเป็นมะเร็งรังไข่จึงทำให้ขาดข้อมูลที่จะนำไปกำหนดระยะของโรค

  • Dysgerminoma
    ในระยะอย่างน้อย IA ในกรณีที่ได้ทำการผ่าตัดเฉพาะก้อนมะเร็งและไม่มีมะเร็งเหลืออยู่ แต่ไม่ได้ทำการผ่าตัดเพื่อจัดแบ่งระยะอย่างครบถ้วน แนะนำให้เจาะดู tumor marker และพิจารณาส่ง CT scan ของช่องท้องและอุ้งเชิงกราน หากผลการตรวจอยู่ในเกณฑ์ปกติสามารถติดตามผู้ป่วยทุก 3 เดือนได้โดยไม่ต้องให้การรักษาเพิ่มเติม
  • Non-dysgerminoma
    กรณีเป็น immature teratoma ระยะ IA เกรด 1 ให้ทำผ่าตัดซ้ำเพื่อกำหนดระยะให้ครบถ้วน ซึ่งถ้ายืนยันว่าเป็นระยะ IA เกรด 1 ไม่จำเป็นต้องให้การรักษาเพิ่มเติม แต่หากเป็นมากกว่า immature teratoma เกรด 1 หรือเป็นชนิดที่ไม่ใช่ dysgerminoma กลุ่มอื่นๆ แนะนำให้เจาะ tumor marker และส่ง CT scan ของช่องท้องและอุ้งเชิงกรานเพื่อเป็นการประเมินรอยโรคแล้วให้ยาเคมีบำบัดเพิ่มเติม

รูปที่ 2 แนวทางการรักษามะเร็งรังไข่ชนิด germ cell อ้างอิงตาม NCCN Guidelines Ovarian cancer including fallopian tube cancer and primary peritoneal cancer(27)

GermCell 2a

GermCell 2b

ที่มา: NCCN Guidelines Ovarian cancer including fallopian tube cancer and primary peritoneal cancer [Internet]. NCCN. 2017. [cited 2017 Jun 27]. Available from: www.nccn.org/patients

ปัจจัยพยากรณ์โรค

1. ระยะของโรค

Jeong-Yeol Park และคณะได้ทำการรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งรังไข่ชนิด germ cell 171 รายที่ได้รับการผ่าตัดแบบธำรงภาวะเจริญพันธุ์ตามด้วยยาเคมีบำบัดชนิด BEP พบว่ามีผู้ป่วยกลับเป็นซ้ำ 14.6% และมี 2% เสียชีวิตระหว่างการตรวจติดตามรักษาในระยะเวลา 86 เดือน ระยะเวลาที่ปลอดจากโรคใน 5 ปีโดยรวมเท่ากับ 86% โดยในระยะที่ 1 คิดเป็น 84% และคิดเป็น 89% ในระยะที่ 2-4 ส่วนอัตราการรอดชีวิตโดยรวมใน 5 ปีเท่ากับ 97% โดยในระยะที่ 1 คิดเป็น 99% และคิดเป็น 97% ในระยะที่ 2-4(28)

ในขณะที่การศึกษาในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่พบว่าในผู้ป่วย 76 ราย หลังได้รับการรักษามีอัตราการกลับเป็นซ้ำ 15.8% โดยระยะเวลาที่ปลอดจากโรคใน 5 ปีเท่ากับ 81.9% และอัตรารอดชีวิตโดยรวมเท่ากับ 86.2% โดยมีเพียงระยะลุกลามเท่านั้นที่มีผลกับปัจจัยพยากรณ์โรค(29)

2. ชนิดของมะเร็ง

มีการศึกษากล่าวว่า yolk sac tumor จะมีการพยากรณ์โรคไม่ดี(30) นอกจากนี้ยังมีการศึกษาผู้ป่วย 760 ราย พบว่าอัตราการรอดชีวิตโดยรวมของ dysgerminoma, immature teratoma และ yolk sac tumor เท่ากับ 99.5%, 94.3%, 85.4% ตามลำดับ(31)

3. ปัจจัยอื่น ๆ

ความสัมพันธ์ของปริมาณรอยโรคที่เหลือและผลการรักษาในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ชนิด germ cell อาจจะไม่ชัดเจน มีการศึกษาพบว่าปริมาณรอยโรคที่เหลือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลกับพยากรณ์โรค นอกจากนี้ยังมีการศึกษากล่าวว่าการผ่าตัดแบบกำหนดระยะไม่ครบถ้วนสัมพันธ์กับปัจจัยพยากรณ์โรคที่ไม่ดี ในขณะที่การผ่าตัดแบบกำหนดระยะโรคจะช่วยลดอัตราการกลับเป็นซ้ำได้อย่างมีนัยสำคัญ(17)

การตรวจติดตามหลังการรักษา

ประมาณ 75% ของผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ชนิด germ cell มีการกลับเป็นซ้ำภายในปีแรกหลังสิ้นสุดการรักษาและ 90% ของการกลับเป็นซ้ำจะเกิดขึ้นภายใน 2 ปี ตำแหน่งที่พบการกลับเป็นซ้ำได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ชนิด dysgerminoma คือต่อมน้ำเหลืองหลังเยื่อบุช่องท้อง ส่วนตำแหน่งที่พบการกลับเป็นซ้ำได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ชนิดที่ไม่ใช่ dysgerminoma คือภายในช่องท้อง(2,14)

NCCN clinical practice guidelines in oncology(NCCN guidelines) แนะนำให้ทำการนัดผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ชนิด germ cell ทุก 2-4 เดือนใน 2 ปีแรกหลังสิ้นสุดการรักษา หากผลปกติให้นัดทุก 1 ปี แนะนำให้ตรวจติดตามอย่างน้อย 5 ปี โดยในแต่ละครั้งจะต้องทำการซักประวัติ ตรวจร่างกายและตรวจภายในทุกครั้ง

การตรวจ tumor marker แนะนำให้ทำทุก 2-4 เดือนในช่วง 2 ปีแรก ส่วนการตรวจทางรังสี เช่น CXR, CT chest/abdomen/pelvis, MRI/PET scan ให้ทำเฉพาะในรายที่มีอาการผิดปกติ(กรณีที่ไม่มี tumor marker ผิดปกติ) และหากสงสัยว่ามีการกลับเป็นซ้ำให้ตรวจ tumor marker และตรวจทางรังสีเพิ่มเติม(27)

ตารางที่ 3 การตรวจติดตามมะเร็งรังไข่ชนิด germ cell และชนิด sex cord-stromal (27)

Years

 

<1

1-2

2-3

3-5

>5

Physical exam

Germ cell tumors

Sex cord-stromal tumors

 

Every 2-4 mo

Every 2-4 mo

 

 

Every 2-4 mo

Every 2-4 mo

 

 

Yearly

Every 6 mo

 

Yearly

Every 6 mo

 

Yearly

Every 6 mo

Serum tumor markers

Germ cell tumors

Sex cord-stromal tumors

 

Every 2-4 mo

Every 2-4 mo

 

 

Every 2-4 mo

Every 2-4 mo

 

 

Not indicated

Every 6 mo

 

Not indicated

Every 6 mo

 

Not indicated

Every 6 mo

Radiographic imaging

Germ cell tumors

 

 

 

Sex cord-stromal tumors

 

As clinically indicated unless markers normal at initial presentation

Insufficient data to support routine use

 

As clinically indicated unless markers normal at initial presentation

Insufficient data to support routine use

 

As clinically indicated

 

 

Insufficient data to support routine use

 

As clinically indicated

 

 

Insufficient data to support routine use

 

As clinically indicated

 

 

Insufficient data to support routine use

Recurrence suspected

CT scan and tumor markers

CT scan and tumor markers

CT scan and tumor markers

CT scan and tumor markers

CT scan and tumor markers

ดัดแปลงจาก: NCCN Guidelines Ovarian cancer including fallopian tube cancer and primary peritoneal cancer [Internet]. NCCN. 2017. [cited 2017 Jun 27]. Available from: www.nccn.org/patients

ผลระยะยาวต่อผู้ป่วย(long term sequelae)

1. ภาวะเจริญพันธุ์ภายหลังการรักษาแบบธำรงภาวะเจริญพันธุ์

ถึงแม้ว่าผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัดต่อรังไข่มีผลทำให้รังไข่ทำงานผิดปกติหรือล้มเหลว แต่จากการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ที่ได้รับการผ่าตัดแบบธำรงภาวะเจริญพันธุ์ร่วมกับยาเคมีบำบัดเพิ่มเติมหลังผ่าตัด ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ยาเคมีบำบัดสูตร BEP สามารถตั้งครรภ์ได้เป็นส่วนใหญ่และไม่มีข้อมูลสนับสนุนว่าจะเกิดความพิการของทารกในครรภ์เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับประชากรทั่วไป(2)

จากการศึกษาของ Jeong-Yeol Park และคณะซึ่งทำการติดตามผลลัพธ์หลังการผ่าตัดแบบธำรงภาวะเจริญพันธุ์ของผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ชนิด germ cell พบว่า 75% ของผู้ป่วยที่ต้องการมีบุตรสามารถตั้งครรภ์ได้เอง โดย 65% สามารถคลอดทารกที่มีสุขภาพแข็งแรง และ 85.5% มีประจำเดือนมาปกติหลังจากการรักษา(28)

2. การเกิดมะเร็งทุติยภูมิ(secondary malignancy)

มีรายงานการเกิด acute myelomonocytic leukemia ในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดสูตร BEP ซึ่งเชื่อว่าอาจจะเกี่ยวข้องกับยา etoposide ซึ่งสัมพันธ์กับขนาดยาที่ได้รับ โดยพบการเกิด leukemia < 0.5% กรณีได้ accumulative dose (< 2000 mg/m2) เทียบกับกลุ่มที่ได้มากกว่า 2000 mg/m2(พบการเกิด leukemia 5%)(8,32,33)

สรุป

มะเร็งรังไข่ชนิด germ cell มักพบในผู้ป่วยอายุน้อย ชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดคือ dysgerminoma รองลงมาคือ endodermal sinus tumor และ immature teratoma ตามลำดับ อาการที่พบได้บ่อยได้แก่ อาการปวดท้องและคลำพบก้อนในท้อง การรักษาหลักคือการผ่าตัดและการให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งสูตรยาเคมีบำบัดที่แนะนำให้ใช้คือ BEP เนื่องจากมะเร็งรังไข่ชนิดนี้พบในผู้ป่วยอายุน้อยและมีการตอบสนองดีต่อยาเคมีบำบัด ดังนั้นจึงควรพิจารณาให้การรักษาแบบธำรงภาวะเจริญพันธุ์ด้วย การตรวจติดตามแนะนำให้ทำการนัดผู้ป่วยทุก 2-4 เดือนใน 2 ปีแรกหลังสิ้นสุดการรักษา หากผลปกติให้นัดทุก 1 ปี แนะนำให้ตรวจติดตามอย่างน้อย 5 ปี โดยในแต่ละครั้งจะต้องทำการซักประวัติ ตรวจร่างกายและตรวจภายในทุกครั้ง การตรวจ tumor marker แนะนำให้ทำทุก 2-4 เดือนในช่วง 2 ปีแรก ส่วนการตรวจทางรังสี เช่น CXR, CT chest/abdomen/pelvis, MRI/PET scan ให้ทำเฉพาะในรายที่มีอาการผิดปกติ(กรณีที่ไม่มี tumor marker ผิดปกติ) และหากสงสัยว่ามีการกลับเป็นซ้ำให้ตรวจ tumor marker และตรวจทางรังสีเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

  1. Berek J, Friedlander M, Hacker N. Germ Cell and Nonepithelial Ovarian Cancer. 6 ed. Philadelphia, PA: Lippincott Williams & Wilkins; 2015.
  2. พิสมัย ยืนยาว. เนื้องอกรังไข่ชนิดเจอร์มเซลล์. ใน: จตุพล ศรีสมบูรณ์, ชำนาญ เกียรติพีรกุล, บรรณาธิการ. มะเร็งนรีเวชวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี; 2554. หน้า 245-61.
  3. Talerman A. Germ cell tumors of the ovary. In: Kruman RJ, editor. Blaustein’s pathology of the female genital tract. 5th ed. Baltimore: Springer-Verlag;2002.p. 967-1033.
  4. Tangjitgamol S, Hanprasertpong J, Manusirivithaya S, Wootipoom V, Thavaramara T, Buhachat R. Malignant ovarian germ cell tumors: clinic-pathological presentation and survival outcomes. Acta Obstet Gynecol Scand. 2010;89:182-9.
  5. Zalouded C. Ovarian neoplasms. In: Gompel C, Silverberg S, editors. Pathology in gynecology and obstetrics. Philadelphia: JB Lippincott;1994:330-402.
  6. Scully R. Sex-cord stromal. Steroid cell. and germ cell tumor. In: Sciarra J, editors. Gynecology and obstetrics. Philadelphia: JB Lippincott;1996:1-24.
  7. Matei DE, Russell AH, Horowitz CL, Gershenson DM, Silva E. Ovarian germ-cell tumors, In: Hoskins W, Perez C, Young R, Barakat R, Markman M, Randall M, editors. Principle and practice of gynecologic oncology. 4th ed. Philadelphia: Lippincott Williams&Wilkins; 2005:989-1010.
  8. Kollmannsberger C, Beyer J, Droz JP, Harstrick A, Hartmann JT, Biron P, et al. Secondary leukemia following high cumulative doses of etoposide in patients treated for advanced germ cell tumors. J Clin Oncol 1998;16:3386-91.
  9. Prat J. FIGO’s staging classification for cancer of the ovary, fallopian tube, and peritoneum: abridged republication. Gynecol Oncol. 2015;26:87-89.
  10. Casey AC, Bhodauria S, Shapter A, Neiberg R, Berek JS, Farias-Eisner R. Dysgerminoma: the role of conservative surgery. Gynecol Oncol 1996;63:352-7.
  11. David M Gershenson, MD. Treatment of malignant germ cell tumors of the ovary. UPTODATE [Internet]. 2017. Available from: https://www.uptodate.com/contents/treatment-of-malignant-germ-cell-tumors-of-the ovary?source=search_result&search=germ%20cell%20tumor%20ovary&selectedTitle=2~36
  12. Slayton RE, Park RC, Silverberg SG, et al. Vincristine, dactinomycin, and cyclophosphamide in the treatment of malignant germ cell tumors of the ovary. A Gynecologic Oncology Group Study (a final report). Cancer 1985; 56:243.
  13. Williams SD, Blessing JA, Moore DH, et al. Cisplatin, vinblastine, and bleomycin in advanced and recurrent ovarian germ-cell tumors. A trial of the Gynecologic Oncology Group. Ann Intern Med 1989; 111:22.
  14. สฤกพรรณ วิไลลักษณ์, มานะ โรจนวุฒนนท์. มะเร็งรังไข่ชนิดเจอร์มเซลล์. ใน: สฤกพรรณ วิไลลักษณ์, บรรณาธิการ. มะเร็งรังไข่.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โฮลิสติก พับลิชชิ่ง; 2548.หน้า 54-78.
  15. Murugaesu N, Schmid P, Dancey G, et al. Malignant ovarian germ cell tumors: identification of novel prognostic markers and long-term outcome after multimodality treatment. J Clin Oncol 2006; 24:4862.
  16. Rogers PC, Olson TA, Cullen JW, et al. Treatment of children and adolescents with stage II testicular and stages I and II ovarian malignant germ cell tumors: A Pediatric Intergroup Study–Pediatric Oncology Group 9048 and Children’s Cancer Group 8891. J Clin Oncol 2004; 22:3563.
  17. Cicin I, Saip P, Guney N, Eralp Y, Ayan I, Kebudi R, et al. Yolk sac tumours of the ovary: evaluation of clinicopathological features and prognostic factors. Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol 2009;146:210-4.
  18. De La Motte Rouge T, Pautier P, Duvillard P, Rey A, Morice P, Haie-Meder C, et al. Survival and reproductive function of 52 women treated with surgery and bleomycin, etoposide, cisplatin (BEP) chemotherapy for ovarian yolk sac tumor. Ann Oncol 2008;19:1435-41.
  19. Dimopoulos MA, Papadopoulou M, Andreopoulou E, et al. Favorable outcome of ovarian germ cell malignancies treated with cisplatin or carboplatin-based chemotherapy: a Hellenic Cooperative Oncology Group study. Gynecol Oncol 1998; 70:70.
  20. Culine S, Lhomme C, Kattan J, et al. Cisplatin-based chemotherapy in dysgerminoma of the ovary: thirteen-year experience at the Institut Gustave Roussy. Gynecol Oncol 1995; 58:344.
  21. Williams S, Blessing JA, Liao SY, et al. Adjuvant therapy of ovarian germ cell tumors with cisplatin, etoposide, and bleomycin: a trial of the Gynecologic Oncology Group. J Clin Oncol 1994; 12:701.
  22. Brewer M, Gershenson DM, Herzog CE, et al. Outcome and reproductive function after chemotherapy for ovarian dysgerminoma. J Clin Oncol 1999; 17:2670.
  23. Stambaugh MD. Ovary. In: Principles and Practice of Radiation Oncology, 4th, Perez CA, Brady LW, Halperin CA, Schmidt-Ullrich RK (Eds), Lippincott, Williams and Wilkins, Philadelphia 1997. p.1948.
  24. Gershenson DM, Del Junco G, Copeland LJ, Rutledge FN. Mixed germ cell tumors of the ovary. Obstet Gynecol 1984; 64:200.
  25. Gershenson DM, Del Junco G, Herson J, Rutledge FN. Endodermal sinus tumor of the ovary: the M. D. Anderson experience. Obstet Gynecol 1983; 61:194.
  26. Williams SD, Blessing JA, DiSaia PJ, Major FJ, Ball HG, 3rd, Liao SY. Second-look laparotomy in ovarian germ cell tumors: the gynecologic oncology group experience. Gynecol Oncol 1994;52:287-91.
  27. NCCN Guidelines Ovarian cancer including fallopian tube cancer and primary peritoneal cancer [Internet]. NCCN. 2017. [cited 2017 Jun 27]. Available from: www.nccn.org/patients
  28. Park JY, Kim DY, Suh DS, Kim JH, Kim YM, Kim YT, et al. Analysis of outcomes and prognostic factors after fertility-sparing surgery in malignant ovarian germ cell tumors. Gynecol Oncol. 2017;145:513-8.
  29. Neeyalavira V, Suprasert P. Outcomes of Malignant Ovarian Germ-Cell Tumors Treated in Chiang Mai University Hospital over a Nine Year Period. Asian Pac J Cancer Prev. 2014;15):4909-13.
  30. Nawa A, Obata N, Kikkawa F, Kawai M, Nagasaka T, Goto S, et al. Prognostic factors of patients with yolk sac tumors of the ovary. Am J Obstet Gynecol 2001;184:1182-8.
  31. J.K. Chan, K.S. Tewari, S.Waller,M.K. Cheung, J.Y. Shin, K. Osann, et al., The influence of conservative surgical practices for malignant ovarian germ cell tumors, J. Surg. Oncol. 98 (2008) 111–116.
  32. Parkinson CA, Hatcher HM, Earl HM, Ajithkumar TV. Multidisciplinary management of malignant ovarian germ cell tumours. Gynecol Oncol 2011:doi:10.1016/j.ygyno.2010.12.351.
  33. Efstathiou E, Logothetis CJ. Review of late complications of treatment and late relapse in testicular cancer. J Natl Compr Canc Netw 2006;4:1059-70.
Read More

ผลเสียต่อไขกระดูกจากการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด

ผลเสียต่อไขกระดูกจากการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด
(Bone Marrow Toxicity from Chemotherapy)

พ.ญ.วรรณพร สิงห์น้อย
อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.พญ.ประภาพร สู่ประเสริฐ


ปัจจุบันยาเคมีบำบัดได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการรักษาโรคมะเร็งทางนรีเวชเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการรักษาร่วมกับการรักษาด้วยการผ่าตัด หรือฉายแสง (combination therapy), ใช้เป็นการรักษาเพิ่มเติม (adjuvant chemotherapy) หรือการใช้ยาเคมีบำบัดก่อนการรักษาหลัก (neoadjuvant chemotherapy) ซึ่งผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัดแต่ละชนิดอาจจะแตกต่างกันออกไป และสัมพันธ์กับปริมาณของยาที่ให้ โดยมักส่งผลกับอวัยวะที่มีการแบ่งตัวอยู่เสมอ ได้แก่ ไขกระดูก, เยื่อบุทางเดินอาหาร, รังไข่, รากผม เป็นต้น สำหรับกลไกหลักที่ทำให้เกิดผลข้างเคียงของยา ก็จะเป็นกลไกเดียวกันกับที่ใช้ทำลายเซลล์มะเร็งที่มีการแบ่งตัวอยู่อย่างเสมอ จากการศึกษาพบว่าอัตราการเกิดผลข้างเคียงจะเพิ่มขึ้น และรุนแรงมากขึ้นในผู้ป่วยสูงอายุ, ผู้ป่วยที่มีภาวะทุพโภชนาการ หรือผู้ป่วยที่มีการแพร่กระจายของมะเร็งไปยังอวัยวะข้างเคียง ซึ่งภาวะที่เกิดได้บ่อยในผู้ป่วยนรีเวชที่ได้รับยาเคมีบำบัด โดยเฉพาะยาเคมีบำบัดกลุ่ม platinum base หรือกลุ่ม taxane คือ ภาวะการ กดไขกระดูก (bone marrow suppression) ซึ่งจะส่งผลทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะซีด, ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ และภาวะเกล็ดเลือดต่ำได้

ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (leukopenia) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งสามารถแบ่งระดับความรุนแรงได้จากระดับเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลหรือ absolute neutrophil count (ANC) โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ กล่าวคือ เม็ดเลือดขาวต่ำเล็กน้อย (1000-1500 cell/mm3), เม็ดเลือดขาวต่ำในระดับปานกลาง (500-1000 cell/mm3) และเม็ดเลือดขาวต่ำระดับรุนแรง (<500 cell/mm3) ซึ่งโอกาสของการติดเชื้อจะมากขึ้นตามระดับความรุนแรงของภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ1 โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดจะมีระดับเม็ดเลือดขาวต่ำที่สุดภายใน 6-12 วันหลังจากได้รับยาเคมีบำบัด และปริมาณเม็ดเลือดขาวจะกลับเข้าสู่ระดับปกติภายใน 21 วัน4 หากพบว่าผู้ป่วยมีไข้ หรือมีระดับเม็ดเลือดขาวต่ำมากกว่าปกติ ก็ควรรักษาผู้ป่วยแบบผู้ป่วยในเพื่อตรวจหาความผิดปกติ และเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด โดยทีมผู้รักษาควรมีมาตรการการป้องกันเพื่อลดการโอกาสเกิดการติดเชื้อแก่ผู้ป่วยเหล่านี้โดยการล้างมือ, สวมเสื้อกาวน์หรือชุดสำหรับเยี่ยมผู้ป่วย, สวมถุงมือและหน้ากากอนามัยเมื่อพบปะผู้ป่วย และควรแยกผู้ป่วยออกจากผู้ป่วยรายอื่น1 ซึ่งตัวผู้ป่วยเองควรจะได้รับความรู้เพื่อปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อด้วย

ภาวะซีด (anemia) เป็นภาวะที่พบได้รองลงมาจากภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ โดยจะตรวจพบว่าค่าฮีโมโกลบิน (Hemoglobin, Hb) ≤ 11 gm/dL หรือค่า Hb ลดลง 2 gm/dl ในรายที่มีความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงในเลือดสูง ซึ่งจะต้องหาสาเหตุของภาวะซีดเพื่อแยกโรคอื่นๆ ออกไปก่อน หากไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด ให้พิจารณาถึงภาวะซีดที่เกิดจากการได้รับยาเคมีบำบัดหรือจากโรคมะเร็งได้ ในผู้ป่วยที่มีอาการจากภาวะซีด เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หายใจเร็ว เป็นต้น หรือในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง เช่นมีโรคหัวใจ โรคปอด หรือโรคเส้นเลือดในสมอง พิจารณาให้การรักษาด้วยการเติมเลือดได้ โดยให้ระดับค่า Hb อยู่ที่ 8-10 gm/dl ส่วนการให้ยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง (synthetic erythropoietin) พิจารณาให้ในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่รับการรักษาแบบประคับประคองเท่านั้น เนื่องจากพบว่าการให้ Erythropoietin จะมีผลต่อการลดอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งลงได้ 16

ส่วนภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia) นั้น พบได้น้อยมาก โดยมักจะเกิดหลังจากภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำประมาณ 4-5 วัน และมักจะกลับมาเป็นปกติหลังจากที่ปริมาณเม็ดเลือดขาวเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว หากผู้ป่วยมีเกล็ดเลือดที่น้อยกว่า 100,000/mm3 อาจส่งผลให้เกิดภาวะเลือดออกง่ายกว่าปกติได้ แต่ก็ยังไม่ได้มีข้อกำหนดที่ชัดเจนของการให้เกล็ดเลือดทดแทนแก่ผู้ป่วยกลุ่มนี้1 ส่วนในผู้ป่วยที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำกว่า 10,000/mm3 จะมีความเสี่ยงต่อการตกเลือดโดยเฉพาะในทางเดินอาหารหรือสมอง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องให้เกล็ดเลือดทดแทนเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว จนกว่าระดับเกล็ดเลือดจะมากกว่า 10,000/mm3 แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะตกเลือดอย่างรุนแรง มีโรคกระเพาะอาหารรุนแรงหรือต้องเข้ารับการผ่าตัด ก็ควรรักษาระดับเกล็ดเลือดของผู้ป่วยกลุ่มนี้ให้มากกว่า 50,000/mm3 หรือในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อรุนแรงหรือมีภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ให้รักษาระดับของเกล็ดเลือดให้มากกว่า 20,000 /mm3 4

การปรับขนาดของยาเคมีบำบัด 4

การปรับขนาดยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยแต่ละรายจะช่วยให้การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดปลอดภัยยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละราย มีความทนทาน (tolerance) ต่อฤทธิ์ของยาเคมีบำบัดไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงควรปรับขนาดยาในการรักษาให้เหมาะสม ซึ่งวิธีที่สะดวกที่สุดคือการใช้ sliding scale โดยพิจารณาจากผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัด สำหรับยาเคมีบำบัดที่ฤทธิ์กดไขกระดูกนั้น จะพิจารณาจากปริมาณเม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดก่อนเริ่มการรักษาในครั้งต่อไป

 

ระดับเม็ดเลือดขาว

ก่อนให้ยาครั้งต่อไป (Cell/mm3)

ขนาดยา

>4,000

3,0003,999

2,0002,999

1,0001,999

0999

  • ร้อยละ 100
  • ร้อยละ 100 ในยาที่ไม่กดไขกระดูก   ส่วนยาที่กดไขกระดูก ลดยาเหลือร้อยละ 50
  • ร้อยละ 100 ในยาที่ไม่กดไขกระดูก   ส่วนยาที่กดไขกระดูก ลดยาเหลือร้อยละ 25
  • ร้อยละ 50 ในยาที่ไม่กดไขกระดูก     ส่วนยาที่กดไขกระดูก ลดยาเหลือร้อยละ 25
  • งดให้ยาจนกว่าระดับเม็ดเลือดขาวจะกลับมาปกติ

ระดับเกล็ดเลือด

ก่อนให้ยาครั้งต่อไป (/mm3)

ขนาดยา

 >100,000

50,000100,000

<50,000

  • ร้อยละ 100
  • ร้อยละ 100 ในยาที่ไม่กดไขกระดูก   ส่วนยาที่กดไขกระดูก ลดยาเหลือร้อยละ 50
  • งดให้ยาจนกว่าระดับเม็ดเลือดขาวจะกลับมาปกติ

 

ภาวะไข้จากระดับเม็ดเลือดขาวในเลือดต่ำ (Febrile neutropenia)

ภาวะไข้จากระดับเม็ดเลือดขาวต่ำ (febrile neutropenia) คือ ภาวะที่ผู้ป่วยมีปริมาณเม็ดเลือดขาวชนิด neutrophil <500 cell/mm3 หรือ <1,000 cell/mm3 แต่คาดว่าจะลดลงถึงระดับ <500 cell/mm3 ภายใน 48 ชั่วโมง ร่วมกับการมีอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่≥ 38.3 องศาเซลเซียสขึ้นไป หรือ ≥38.0 องศาเซลเซียสขึ้นไปเป็นเวลานานกว่า 1 ชั่วโมง จากการวัดอุณหภูมิ ทางปาก 12

ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องได้รับการซักประวัติ และตรวจร่างกายอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพื่อหาสาเหตุของการติดเชื้อ รวมไปถึงการประเมินภาวะทางอายุกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง, การใช้ยา, ประวัติการเดินทางหรือได้รับสิ่งกระตุ้นอื่นๆ นอกจากนี้ยังต้องได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือตรวจสารคัดหลั่งในกรณีที่สงสัยความผิดปกตินั้นๆ เพื่อหาสาเหตุร่วมด้วย เช่น complete blood count ร่วมกับ platelet, BUN, creatinine, liver function test, urinalysis, chest X-ray ในรายที่มีอาการผิดปกติของทางเดินหายใจ, การตรวจเพาะเชื้อในเลือด (blood culture 2 ขวด) ใช้ 2 sets สำหรับทางหลอดเลือดส่วนปลาย หรือจากสาย catheter ของผู้ป่วย รวมไปถึงการเพาะเชื้อจากตำแหน่งอื่นที่สงสัยความผิดปกติ เช่น อุจจาระ, ผิวหนัง หรือในช่องปาก 9

ชนิดของเชื้อที่พบในผู้ป่วยที่มีภาวะไข้จากเม็ดเลือดขาวต่ำอาจแตกต่างกันออกไป ขึ้นกับว่าผู้ป่วยนั้นได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันมาก่อนหรือไม่ เช่น ผู้ป่วยที่ไม่เคยได้รับยาปฏิชีวนะมาก่อนจะพบแบคทีเรียชนิดแกรมลบมากกว่าแกรมบวก ส่วนผู้ป่วยที่เคยได้รับยาปฏิชีวนะมาก่อนมักจะพบการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดแกรมบวกมากกว่า โดยเชื้อที่พบได้บ่อยคือ Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa, Klebsiella pneumoniae เป็นต้น ส่วนเชื้อแบคทีเรียชนิดแกรมบวกที่พบได้บ่อยคือ Coagulase negative staphylococci, Staphylococcus aureus และกลุ่ม Streptococci spp. 6

จากการศึกษาในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เกิดภาวะ febrile neutropenia ร่วมกับการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด พบว่า ร้อยละ 57 เกิดจากการติดเชื้อแกรมบวกเพียงชนิดเดียว ร้อยละ 34 เกิดจากการเชื้อแกรมลบเพียงชนิดเดียว และร้อยละ 9 เกิดจากเชื้อหลายชนิดร่วมกัน โดยอัตราการเสียชีวิตจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งเชื้อที่พบว่าเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้บ่อยที่สุด คือ เชื้อแกรมลบ โดยเฉพาะเชื้อ E.coli, Klebsiella spp. และ P.aeruginosa จะทำให้เกิดอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 18-31 ในขณะที่ถ้าเกิดจากการติดเชื้อแกรมบวก เช่น Coagulase negative staphylococci , S.aureus และกลุ่ม Streptococci จะพบอัตราการเสียชีวิตได้ประมาณร้อยละ 4-5 หรือพบร้อยละ 10 หากมีการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดแกรมบวกหลายชนิด และจะพบมากขึ้นถึงร้อยละ 17 หากพบการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดแกรมบวกและลบร่วมกัน 6

เนื่องจากผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดหรือการฉายแสงมักจะเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น จึงทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย โดยความเสี่ยงและความรุนแรงของการติดเชื้อนั้น มักขึ้นอยู่กับระยะเวลาและระดับของความรุนแรงของภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ กล่าวคือ ผู้ป่วยที่มีภาวะ febrile neutropenia จะมีโอกาสการติดเชื้อได้ถึงร้อยละ 50-60 และหากมีเม็ดเลือดขาวชนิด neutrophil ต่ำ <100 cell/mm3 จะมีโอกาสการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ถึงร้อยละ 10-20 และมีอัตราการเสียชีวิตได้ร้อยละ 5-31 6

การประเมินปัจจัยเสี่ยง

สามารถแยกพิจารณาปัจจัยด้านต่างๆ ได้ ดังต่อไปนี้

  • ปัจจัยเกี่ยวกับผู้ป่วย ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 65 ปี, เพศหญิง, สภาพร่างกายไม่แข็งแรง, มีภาวะทุพโภชนาการ, ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือความเจ็บป่วยอื่นๆ เช่น โรคตับ โรคปอด โรคหัวใจ ไต เบาหวาน มีแผลหรือกำลังมีการติดเชื้ออื่นๆ อยู่
  • ปัจจัยเกี่ยวกับโรคมะเร็ง ได้แก่ มะเร็งระยะลุกลาม, มะเร็งลุกลามเข้าไขกระดูก
  • ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรักษา ได้แก่ ขนาดและชนิดของยาเคมีบำบัด, ประวัติการได้รับยาเคมีบำบัดมาก่อนหลายชนิด, มีปริมาณเม็ดเลือดขาวต่ำก่อนรักษา, ประวัติการได้รับรังสีรักษาบริเวณไขกระดูก

จากปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น จะนำมาคำนวณเป็นคะแนนเพื่อประเมินความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากภาวะ febrile neutropenia เพื่อเป็นแนวทางการในดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งที่รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดได้อย่างเหมาะสม โดยใช้ Multinational Association for Supportive Care in Cancer (MASCC) Score

  • ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยของความรู้สึกเจ็บป่วย (5 คะแนน) ถ้ามีอาการปานกลาง (3 คะแนน)
  • ไม่มีความดันโลหิตต่ำ (5 คะแนน)
  • ไม่มีโรคปอดเรื้อรัง (4 คะแนน)
  • เป็น Solid tumor หรือไม่มีการติดเชื้อรา (4 คะแนน)
  • การรักษาแบบผู้ป่วยนอก (3 คะแนน)
  • ไม่มีภาวะขาดสารน้ำ (3 คะแนน)
  • อายุน้อยกว่า 60 ปี (2 คะแนน)

โดยหากได้คะแนนมากกว่า 21 คะแนนจากคะแนนเต็ม 26 คะแนน จัดว่ามีความเสี่ยงต่ำ กล่าวคือ มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนร้อยละ 18 อัตราการเสียชีวิตร้อยละ 3 แต่หากคะแนนน้อยกว่า 21 พบว่าอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน และอัตราการเสียชีวิตจะสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 49 อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 19 และหากคะแนนได้น้อยกว่า 15 จะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้นถึงร้อยละ 79 และอัตราเสียชีวิตถึงร้อยละ 36 3

ตารางแสดงชนิดของยาเคมีบำบัดที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะไข้ร่วมกับเม็ดเลือดขาวต่ำในผู้ป่วยมะเร็งนรีเวชชนิดต่างๆ9

 

กลุ่มที่มีความเสี่ยงปานกลาง

กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง

  • Cervical cancer

                  Cisplatin/topotecan

                  Paclitaxel/cisplatin

                  Topotecan

                  Irinotecan

  • Ovarian cancer

                  Carboplatin/docetaxel

 

 

    ความเสียงเกิด febrile neutropenia อยู่ที่ร้อยละ 1020

 

  • Ovarian cancer

                Topotecan

                 Paclitaxel

                 Docetaxel

  • Soft tissue sarcomar

                 MAID (mesna, doxorubicin,   

                 ifosfamide,dacarbazine)

                 Doxorubicin

                 Ifosfamide/doxorubicin

      ความเสี่ยงของ febrile neutropenia สูงมากกว่าร้อยละ 20

 

 

สำหรับ National Comprehensive Cancer Network (NCCN) 2016 9 ได้มีการแบ่งระดับความเสี่ยงของการติดเชื้อในผู้ป่วยมะเร็งไว้เป็น 3 ระดับ โดยประเมินจากชนิดและภาวะของโรคมะเร็ง, ระยะเวลาที่มีเม็ดเลือดขาวต่ำ, ประวัติการได้รับยาเคมีบำบัดมาก่อน และความรุนแรงของยาเคมีบำบัดไว้ดังนี้

 

กลุ่มความเสี่ยงต่ำ

กลุ่มความเสี่ยงปานกลาง

กลุ่มความเสี่ยงสูง

กลุ่มที่ใช้ยาเคมีบำบัดโดยทั่วไปสำหรับ solid tumor และคาดว่าเม็ดเลือดขาวจะต่ำน้อยกว่า 7 วัน โดยความเสี่ยงของ febrile neutropenia จะน้อยกว่าร้อยละ 10

มะเร็งของระบบเม็ดเลือด, การใช้ยาเคมีบำบัดกลุ่ม purine ที่ใช้เพียงชนิดเดียว และคาดว่าเม็ดเลือดขาวจะต่ำนาน 710 วัน โดยความเสี่ยงของ febrile neutropenia อยู่ที่ร้อยละ 1020

มะเร็งเม็ดเลือดขาว, ยาเคมีบำบัดที่ใช้ในกลุ่มที่ทำ stem cell transplantation graft-versus-host-disease ที่ทานยา steroids มากกว่า  20 mg/วัน  ผู้ป่วยที่คาดว่าเม็ดเลือดขาวจะต่ำนานกว่า 10 วัน โดยความเสี่ยงของ febrile neutropenia สูงมากกว่าร้อยละ 20

  • ไม่แนะนำให้ยาป้องกันการติดเชื้อในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งที่มีความเสี่ยงต่ำ ยกเว้นมีประวัติติดเชื้อไวรัสมาก่อนหน้านี้
  • พิจารณาให้ fluoroquinolone เพื่อป้องกันในกลุ่มความเสี่ยงปานกลาง การให้ยาป้องกันการติดเชื้อราในกรณีที่มี neutropenia และมี mucositis ให้ยาป้องกันกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ Pneumocystis jirovecii
  • พิจารณาให้ fluoroquinolone เพื่อป้องกันในกลุ่มความเสี่ยงสูง ให้ยาป้องกันการติดเชื้อรา (fluconazole 400 mg IV/oral ทุกวัน) ให้ยาป้องกันกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงปานกลางและความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ Pneumocystis jirovecii
  • การให้ยาต้านไวรัส จะให้ในกรณีที่มี neutropenia สำหรับกลุ่มความเสี่ยงปานกลางและกลุ่มความเสี่ยงสูง (acyclovir 400-800 mg oral BID สำหรับ HSV/VZV, 800 mg oral QID สำหรับ CMV)

NCCN guideline 2016 ได้แบ่งผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย Febrile neutropenia ออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 9

 

กลุ่มความเสี่ยงต่ำ

กลุ่มความเสี่ยงสูง

  • มีไข้ขณะเป็นผู้ป่วยนอก
  • ไม่มีความเจ็บป่วยอื่นๆ ที่จำเป็นจำต้องได้รับการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยใน หรือสังเกตอาการใกล้ชิด
  • ระดับเม็ดเลือดขาวต่ำกว่า 100 cell/mm3เป็นเวลาน้อยกว่า 7 วัน
  • อาการทั่วไปปกติดี
  • ไม่มีการทำงานของตับผิดปกติ
  • ไม่มีการทำงานของไตผิดปกติ

 

หรือ

  • MASCC score >21

 

  • MASCC score < 21
  • มีไข้ขณะเป็นผู้ป่วยใน
  • มีภาวะทางอายุรกรรมอื่นร่วมด้วย หรือมีอาการทางคลินิกไม่คงที่
  • ระดับเม็ดเลือดขาวต่ำกว่า 100 cell/mm3 เป็นเวลานานกว่า 7 วัน
  • ระดับเอนไซม์ตับผิดปกติ (มากกว่า 5 เท่าของค่าสูงสุดในระดับปกติ)
  • การทำงานของไตผิดปกติ (CrCl <30 ml/min)
  • โรคมะเร็งที่ควบคุมไม่ได้/มีการดำเนินโรครุนแรงมากขึ้น
  • โรคปอดอักเสบ หรือมีการติดเชื้อที่ซับซ้อนอื่นๆ
  • ใช้ยา Alemtuzumab

             หรือ

  • มีเยื่อบุอักเสบระดับ 34

a โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ไม่ complete remission/โรคมะเร็งอื่นๆ ที่มีหลักฐานการดำเนินโรคมากขึ้นหลังให้ยาเคมีบำบัดมากกว่า 2 รอบการรักษา

ผู้ป่วยกลุ่มความเสี่ยงต่ำ

ผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถให้การดูแลรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้ หรืออาจพิจารณารักษาในโรงพยาบาลหากมีความจำเป็น ต้องให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ หรือให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ การประเมินผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะต้องตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดยจะต้องไม่มีความผิดปกติของผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่อยู่ในขั้นวิกฤต นอกจากนั้นยังควรประเมินเรื่องความสามารถในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่บ้านด้วย ได้แก่ ผู้ป่วยต้องการรับการรักษาที่บ้าน, มีคนที่สามารถดูแลผู้ป่วยได้ 24 ชั่วโมง, มีโทรศัพท์ที่จะใช้ติดต่อสื่อสารได้ และสามารถให้การช่วยเหลือแบบฉุกเฉินได้, สภาพแวดล้อมภายในบ้านมีความปลอดภัย และใช้เวลาเดินทางจากบ้านมายังโรงพยาบาลหรือคลินิกประมาณ 1 ชั่วโมง และผู้ป่วยจะต้องไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนจากให้ยาปฏิชีวินะแบบรับประทาน และไม่เคยได้รับยาปฏิชีวินะกลุ่ม fluoroquinolone มาก่อนหน้านี้ 3

ก่อนการจำหน่ายผู้ป่วยควรสังเกตอาการผู้ป่วยอย่างน้อย 2-12 ชั่วโมง โดยประเมินความเสี่ยงว่าอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงต่ำและอาการปกติดี และให้ผู้ป่วยรับประทานยาปฏิชีวานะครั้งแรกที่โรงพยาบาล และสังเกตดูปฏิกิริยาการตอบสนอง แล้วจึงวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย โดยแพทย์ควรให้ความรู้เรื่องการปฏิบัติตนเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อเพิ่มขึ้นแก่ผู้ป่วย และโทรติดตามอาการผู้ป่วยที่ 12-24 ชั่วโมง

NCCN Guideline 2016 ได้แนะนำยาปฏิชีวนะที่ควรให้ในผู้ป่วยกลุ่มความเสี่ยงต่ำไว้ดังต่อไปนี้

  • Ciprofloxacin ร่วมกับ amoxicillin/clavulanate (I) ในรายที่แพ้กลุ่ม penicillin ให้ใช้ clindamycin แทน หรือให้ Levofloxacin, moxifloxacin (I)9 โดยผู้ป่วยควรได้รับการประเมินซ้ำทุกวัน โดยเฉพาะใน 72 ชั่วโมงแรกเพื่อดูการตอบสนองต่อการรักษา และแนะนำให้กลับมาพบแพทย์เมื่อผลการเพาะเชื้อผิดปกติ หรือมีอาการผิดปกติต่างๆ เช่น มีไข้ 3-5 วัน, ไม่สามารถรับประทานยาได้ หรือจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ

ผู้ป่วยกลุ่มความเสี่ยงสูง

ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาในโรงพยาบาล และให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำแบบครอบคลุม (รวมไปถึงเชื้อ Pseudomonas) โดยพิจารณาให้ยากลุ่ม bactericidal ร่วมกับการหาสาเหตุของการติดเชื้อ และประเมินอาการเจ็บป่วยอื่นๆ รวมไปถึงประวัติการแพ้ยา, ยาปฏิชีวนะที่เคยได้รับมาก่อนหน้านี้

สำหรับยาปฏิชีวนะที่แนะนำสำหรับผู้ป่วยกลุ่มความเสี่ยงสูง (เลือกชนิดใดชนิดหนึ่ง) ได้แก่ imipenem/cilastatin (I), meropenem(I), piperacillin/tazobactam(I), cefexime (I)b, ceftazidime (IIB)

 

ยาปฏิชีวนะ

ขนาดยา

เชื้อที่ครอบคลุม

ข้อพึงระวัง

Imipenem/cilastatin  

500 mg IV ทุก 6 ชั่วโมง

คลุมเชื้อแกรมบวก,       แกรมลบ, Anaerobe  และเชื้อดื้อยา ESBL

ใช้เมื่อสงสัยการติดเชื้อในช่องท้อง, แนะนำให้ใช้ Meropenem มากกว่าในกรณีสงสัยการติดเชื้อทางระบบประสาท

Meropenem  

1 gm IV ทุก 8 ชั่วโมง

(2 gm IV ทุก 8 ชั่วโมง สำหรับเยื่อหุ้มสมองอักเสบ)

Piperacillin/tazobactam  

4.5 gm IV ทุก 6 ชั่วโมง

คลุมเชื้อแกรมบวก,

แกรมลบ, Anaerobe  

ใช้เมื่อสงสัยการติดเชื้อในช่องท้อง

Cefepime  

2 gm IV ทุก 8 ชั่วโมง

คลุมเชื้อแกรมบวก,

แกรมลบ  แต่ไม่คลุมเชื้อ Anaerobe และEnterococus spp.

สงสัยการติดเชื้อในระบบประสาท

มีการดื้อยามากขึ้นต่อเชื้อแกรมลบ

Ceftazidime  

2 gm IV ทุก 8 ชั่วโมง

คลุมเชื้อแกรมบวกได้ไม่ดี ไม่คลุม Anaerobe, Enterococus spp.

สงสัยการติดเชื้อในระบบประสาท

มีการดื้อยามากขึ้นต่อเชื้อแกรมลบ

Vancomicin

15 mg IV ทุก 12 ชั่วโมง

125 mg Oral ทุก 6 ชั่วโมง

(Clostridium difficile)

คลุมเชื้อแกรมบวก ยกเว้น VRE

ไม่ควรใช้เป็น Routine therapy

Ciprofloxacin

 

 

ให้ร่วมกับ Amoxicillin/ Clavulanate

500750 mg Oral ทุก 12ชั่วโมง หรือ 400 mg IV ทุก 812 ชั่วโมง c

875 mg ทุก 12 ชั่วโมง

คลุมเชื้อแกรมลบ และAtypical

 

คลุมเชื้อแกรมบวกและ Anaerobe

 

หลีกเลี่ยงในรายที่เคยได้ยา  Fluoroquinolone มาก่อนหน้านี้

ใช้ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่ำ

 

Levofloxacin

500750 mg Oral/IV ทุกวัน c

คลุมเชื้อแกรมลบ และAtypical

การใช้เพื่อป้องกัน พบว่ามีการดื้อยามากขึ้น

Moxifloxacin

400 mg oral/Iv ทุกวัน

 

 

Gentamicin

Tobramycin

Amikacin

ให้ปรับยาตามความเหมาะสม

คลุมเชื้อแกรมลบ

มีผลต่อเสียต่อไตและหู

Trimethroprim/

sulfamethoxazole

15 mg/kg ของ TMP

1/ 2 ครั้ง ทุกวัน หรือ

2 ครั้งต่อวัน  (3 ครั้งต่อสัปดาห์)

คลุมเชื้อ P.jeroveccii

มีประสิทธิภาพสูงในการคลุมเชื้อ P.jeroveccii ในกลุ่มความเสี่ยงสูง

(I) Recommendation category I , (IIB) Recommendation category IIB , b Meta-analysis reported increase mortality but FDA has determined appropriated therapy for its improved indication ,c Dose Adjustment in patient with renal insufficiency

หลังจากให้ยาปฏิชีวนะแบบครอบคลุมแล้ว จะต้องการประเมินการตอบสนองของยาภายใน 72-120 ชั่วโมง หากผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาดี คือ ไข้ลดลง, อาการดีขึ้นหรือคงที่ และสัญญาณชีพปกติ ให้พิจารณาเปลี่ยนยาตามผลการเพาะเชื้อที่ตรวจพบ หรือหากไม่พบสาเหตุการติดเชื้อ ให้ประเมินจากเม็ดเลือดขาวชนิด neutrophil หากมีปริมาณ >500 cells/mm3 ให้พิจารณาหยุดยาปฏิชีวนะได้ แต่หากปริมาณ <500 cells/mm3 ให้พิจารณาให้ยาปฏิชีวนะต่อจนกระทั่งปริมาณเม็ดเลือดขาวเพิ่มกลับมาอยู่ในระดับปกติ3

ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษา ควรพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะกลุ่มที่ครอบคลุมเชื้อแบคทีเรียมากขึ้น รวมไปถึงเชื้อราด้วย นอกจากนั้นควรพิจารณาส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) และให้การรักษาด้วย G-CSF/GM-CSF ร่วมกับปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านอายุรกรรมการติดเชื้อเพื่อให้การดูแลรักษาร่วมกัน3

การให้ myeloid growth factors (MGFs)

MGFs หรือ colony stimulating factors (CSFs) เป็น biological growth factors มีผลกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว ทำให้เกิดการ proliferation, differentiation และ activation ของ neutrophils ในไขกระดูก โดยลดระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงจาก stem cell ไปเป็น mature neutrophil ก่อนที่จะเข้าสู่กระแสเลือด และทำงานได้อย่างเต็มที่
ปัจจุบันยา MGFs มี 5 ชนิด ได้แก่ filgrastim (Granulocyte-colony stimulating factor: G-CSF), filgrastism-sndz, tbo-filgrastim, granulocyte-macrophage colony stimulating factors (GM-CSF) และ pegfilgrastim (Pegylated G-CSF: pG-CSF) โดยยา pG-CSF จะมีโมเลกุลของ polyethylene glycol อยู่ ทำให้ลดการขับยาออกทางไต และมีระดับยาอยู่ในกระแสเลือดนานขึ้น สำหรับการเลือกใช้จะเป็นยาชนิดใดก็ได้ เนื่องจากผลของการรักษาไม่ได้มีความแตกต่างกัน7 ส่วนอาการข้างเคียงจากการใช้ CSF ที่พบบ่อยได้แก่ ปวดกระดูก, ข้อและกล้ามเนื้อ, ปริมาณกรดยูริคและเอนไซม์ตับสูงขึ้น, ระดับน้ำตาลต่ำลง, ปริมาณเกล็ดเลือดต่ำลง, ซีด และม้ามโต เป็นต้น8 ส่วนผลข้างเคียงที่รุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น อาการแพ้ยารุนแรง ม้ามแตก เลือดออกในถุงลมปอด ไอเป็นเลือด ระบบหายใจล้มเหลว เป็นต้น9

แนวทางในการพิจารณาให้ CSFs ในกรณีต่างๆ ดังนี้ 9

การให้ CSFs เพื่อการป้องกันแบบปฐมภูมิ (primary prophylaxis)

  • แนะนำให้ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงมากกว่าร้อยละ 20
  • พิจารณาให้ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงปานกลางระหว่างร้อยละ 10-20 และมีปัจจัยเสี่ยงอื่นร่วมด้วยอย่างน้อย 1 ข้อ เช่น ประวัติเคยได้รับยาเคมีบำบัดหรือได้รับการฉายแสงมาก่อน ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำเรื้อรัง มะเร็งแพร่กระจายเข้าสู่บริเวณไขกระดูก ประวัติพึ่งได้รับการผ่าตัดหรือมีแผลผ่าตัดอยู่ การทำงานของตับผิดปกติ (bilirubin >2.0) การทำงานของไตผิดปกติ (CrCl <50) อายุมากกว่า 65 ปี ที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดแบบ dose intensity ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ เป็นต้น
  • ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าร้อยละ 10 ผู้ป่วยควรได้รับการประเมินซ้ำหลังได้รับการรักษา

การให้ CSF เพื่อป้องกันแบบทุติยภูมิ (secondary prophylaxis)

  • แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีปัญหาภาะไข้ร่วมกับเม็ดเลือดขาวต่ำจากการได้รับยาเคมีบำบัด โดยที่ไม่เคยมีประวัติได้รับยาป้องกันแบบปฐมภูมิมาก่อน ซึ่งการลดขนาดยาเคมีบำบัดอาจมีผลเสียต่ออัตราการรอดชีวิตหรือผลการรักษา ส่วนในรายที่มีประวัติการได้รับยาป้องกันปฐมภูมิมาก่อนนั้น พิจารณาให้ลดขนาดของยาเคมีบำบัดลง หรือเปลี่ยนชนิดของยาเคมีบำบัดที่ทำการรักษา

การให้ CSF เพื่อการรักษา (therapeutic)

  • แนะนำให้ G-CSF ต่อในผู้ป่วย febrile neutropenia ที่ได้รับยา filgratism, filgratism-sndz หรือ tbo-filgrastim มาก่อน
  • ไม่แนะนำให้ G-CSF ในผู้ป่วย febrile neutropenia ที่ได้รับยา pegfilgrastim มาก่อน
  • ในผู้ป่วยที่ไม่เคยได้รับยา G-CSF มาก่อน พิจารณาให้เฉพาะรายที่มี febrile neutropenia ที่มีความเสี่ยงสูง และมีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการติดเชื้อ หรือมีปัจจัยพยากรณ์โรคที่ไม่ดี เช่น คาดว่าจะมีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำนานกว่า 10 วัน, ANC < 100 cell/mm3, อายุมากกว่า 65 ปี, ปอดอักเสบหรือการติดเชื้ออื่นๆ , มีการติดเชื้อในกระแสเลือด, มีการติดเชื้อรา หรือมีไข้ในขณะที่นอนรักษาอยู่ในโรงพยาบาล

การให้ CSF ในกรณีอื่นๆ

  • สามารถให้ยาเคมีบำบัดแบบ dose-intensity หรือ dose-dense ได้ อย่างไรก็ตามการให้ยาเคมีบำบัดแบบนี้ยังไม่ได้เป็นการรักษามาตรฐานในปัจจุบัน
  • หลีกเลี่ยงการให้ CSF ในรายที่ได้รับยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายแสง แต่ให้ได้ในกรณีที่เป็นการรักษาแบบรังสีรักษาอย่างเดียว
  • ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยอายุมากกว่า 65 ปี และได้รับยาเคมีบำบัดชนิด cyclophosphamide, adriamycin, vincristine, prednisolone

สำหรับ G-CSF ควรให้ยาไม่เกิน 3-4 วัน หลังได้รับยาเคมีบำบัด และควรให้ต่อเนื่องจนกระทั่งระดับneutrophil กลับคืนเป็นปกติหรือใกล้เคียงระดับปกติ ส่วนขนาดยาที่ให้ในผู้ใหญ่ คือ 5 mcg/kg/day ฉีดใต้ผิวหนัง ส่วน pG-CSF จะให้เพียงครั้งเดียว คือ 6 mg ฉีดใต้ผิวหนังในช่วง 24 ชั่วโมงหลังสิ้นสุดการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด หรือไม่เกิน 3-4 วันหลังได้รับยาเคมีบำบัด สามารถให้ได้ทุก 3 สัปดาห์
American Society of Clinical Oncology (ASCO) และ NCCN guideline 2016 ได้ให้คำแนะนำในการให้ CSFs ไว้ดังนี้ 9

  • พิจารณาให้ G-CSF/GM-CSF ในผู้ป่วย neutropenia ที่มีภาวะการติดเชื้อที่ภาวะแทรกซ้อนอย่างรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ มีการติดเชื้อราแบบลุกล้ำ และการดำเนินการติดเชื้อมากขึ้น
  • พิจารณาให้ granulocyte transfusion ในกรณีที่มีการติดเชื้อราแบบลุกล้ำ หรือการติดเชื้อแกรมลบที่ไม่ตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะ
  • พิจารณาให้ IVIG ในรายทีมีภาวะ hypogammaglobulinemia

ได้มีการศึกษาถึงประสิทธิภาพของการให้ CSFs ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด พบว่า สามารถลดการเกิดภาวะ Febrile neutropenia และลดอัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อได้13 รวมไปถึงทำให้ระดับเม็ดเลือดขาวกลับคืนสู่ภาวะปกติได้เร็วขึ้นและลดระยะเวลาในการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล14
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเรื่องการให้ยาปฏิชีวนะ เปรียบเทียบกับการให้ G-CSF เพื่อป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยที่มีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำจำนวน 2 การศึกษา พบว่าไม่สามารถสรุปผลได้ เนื่องจากทั้งสองการศึกษามีผลการศึกษาที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษาของทั้งสองการศึกษาพบว่า การให้ยาปฏิชีวนะมีผลป้องกันการติดเชื้อจากภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำได้ดีกว่าการให้ G-CSF แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ10

สรุป

แม้ว่าการให้ยาเคมีบำบัดจะมีบทบาทมากในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งนรีเวช แต่ผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัดก็ยังคงมีอยู่ดังที่ได้กล่าวไปในข้างต้น ดังนั้นผู้ป่วย ผู้ดูแลใกล้ชิดรวมไปถึงทีมแพทย์ผู้รักษาควรจะช่วยดูแลรักษาอย่างเหมาะสมและป้องกันผลข้างเคียงจากภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อช่วยลดโอกาสการติดเชื้อและอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Hoffmann BL, Schorge JO, Schaffer JI, et al. Principle of Chemotherapy: Williams Gynecology,2012;2:707-710.
  2. Hoskins WJ, Perez CA, Young RC, et al. Principles and Practice of Gynecologic Oncology, 2005;4:471-476.
  3. NCCN Clinical Practice Guideline in Oncology. Prevention and Treatment of Cancer-Related Infections. Version 1.0, 2013; Last accessed 5 February 2013. Avalilable from URL: http://williams. medicine.wisc.edu/infections.pdf
  4. Markman M. Chemotherapy. In: Berek JS, Hacker NF, editors. Berek&Hacker’s gynecologic oncology. 6th ed.Philladelphia: William&Wilkins, 2015:58-82
  5. NCCN Clinical Practice Guideline in Oncology. Prevention and Treatment of Cancer-Related Infections, version 2.0. 2009; Last accessed 30 November 2010. Avalilable from URL: http://www.nccn.org/professionals/physician_gls/f_guidelines.asp.
  6. Klastersky J, Awada A. Prevention of febrile neutropenia in chemotherapy-treated cancer patients: Pegylated versus standard myeloid colony stimulating factors. Do we have a choice? Crit Rev Oncol Hematol 2011;78:17-23.
  7. Pinto L, Liu Z , Doan O, et al. Comparison of pegfilgrastim with filgrastim on febrile neutropenia, grade IV neutropenia and bone pain: a meta-analysis of randomized controlled trials. Curr Med Res Opin 2007;23:2283-95.
  8. NCCN Clinical Practice Guideline in Oncology. Myeloid growth factors , version 2.0. 2016; Last accessed 8 April 2017. Avalilable from URL: http://www.nccn.org/professionals /physician_gls/f_guidelines.asp.
  9. NCCN Clinical Practice Guideline in Oncology. Prevention and Treatment of Cancer-Related Infections, version 2.0. 2016; Last accessed 10 January 2016. Available from URL:http://oralcancerfoundation.org/wp-content/uploads/2016/09/infections.pdf
  10. Herbst C, Naumannn F, Kruse EB, et al. Prophylactic antibiotics or G-CSF for the prevention of infection and improvement of survival in cancer patients undergoing chemotherapy. Cochrane Database Syst Rev 2009;1:CD007107.
  11. Aapro MS, Bohlius J, Cameron DA, et al. 2010 update of EORTC guideline for the use of granulocyte colony stimulating factor to reduce the incidence of chemotherapy -induced febrile neutropenia in adult patient with lymphoproliferative disorders and solid tumors
  12. Freifed AG, Bow EJ,Sepkowitz KA, et al. Clinical Practice Guideline for the Use of Antimicrobial Agents in Neutropenic Patient with Cancer:2010 Update by the Infectious Disease Society of America, 2010;56-85.
  13. Kuderer NM, Dale DC, Crawford J, et al. Impact of primary prophylaxis with granulocyte colony-stimulating factor on febrile neutropenia and mortality in adult cancer patients receiving chemotherapy: a systemic review. J Clin Oncol 2007 ;25:3158-3167.
  14. Clark OA, Lyman GH, Castro AA, et al. Colony-stimulating factors for chemotherapy-induced febrile neutropenia: a meta-analysis of randomized controlled trials. J Clin Oncol 2005;23:4198-4214.
  15. Klastersky J, Paeamans M, Rubestein EB, et al. The multinational association for supportive care in cancer risk index: a multinational scoring system for identifying low-risk febrile neutropenia cancer patients. J Clin Oncol 2000;18:3038=51
  16. NCCN Clinical Practice Guideline in Oncology.Cancer-and chemotherapy induced anemia, version 2.0. 2016; Last accessed 8 April 2017. Avalilable from URL: http://www.nccn.org/ professionals /physician_gls/f_guidelines.asp.
Read More
Copo01

การส่องกล้องปากมดลูกด้วยคอลโปสโคป (colposcopy)

การส่องกล้องปากมดลูกด้วยคอลโปสโคป (colposcopy)

พ.ญ. นวลอนงค์ วงศ์ขันแก้ว
อาจารย์ที่ปรึกษา ร.ศ. พ.ญ. ประภาพร สู่ประเสริฐ


 

การตรวจความผิดปกติของปากมดลูก นอกจากจะตรวจคัดกรองด้วยตาเปล่าหรือตรวจด้วยเซลล์วิทยาแล้ว ยังมีวิธีการตรวจหาความผิดปกติผ่านการส่องกล้องคอลโปสโคป การมองผ่านกล้องและชโลมสารละลายกรดอะเซติกหรือไอโอดีน ทำให้สามารถมองเห็นรอยโรคชัดเจนกว่าการมองด้วยตาเปล่า เพื่อนำไปสู่การตัดชิ้นเนื้อที่สงสัยความผิดปกติส่งตรวจทางพยาธิวิทยาเพื่อการวินิจฉัยขั้นสุดท้าย

ประวัติของการทำคอลโปสโคป(1)

Colposcopy มาจากคำว่า colpo (ช่องคลอด) รวมกับ scope (ส่องดู) หมายถึง การตรวจภายในช่องคลอดด้วยการส่องกล้องขยาย ผู้ที่ประดิษฐ์กล้องขยายสำหรับตรวจปากมดลูกทางช่องคลอดเป็นคนแรก คือศาสตราจารย์นายแพทย์ฮานส์ฮินเซลมานน์ (Hans Hinselmann) โรงพยาบาลแฮมบรูค ประเทศเยอรมันนี ในปี ค.ศ. 1925 เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

จุดประสงค์ในการทำคอลโปสโคป(2,3)

Colposcopy เป็นขั้นตอนการวินิจฉัยซึ่งใช้กล้องcolposcopeซึ่งเป็นกล้องจุลทรรศน์ที่มีเลนส์ขยายต่างๆมาขยายดูบริเวณปากมดลูก ช่องคลอดและปากช่องคลอด การวินิจฉัยโรคจากการตรวจด้วยกล้องคอลโปสโคป จะวินิจฉัยตามพยาธิสภาพที่มีความรุนแรงมากที่สุด แต่ในการรักษาอาจจะต้องครอบคลุมรอยโรคบริเวณอื่นที่มีความรุนแรงน้อยกว่าด้วย เป้าหมายหลักของการตรวจด้วยกล้องคอลโปสโคปคือ การระบุรอยโรคก่อนมะเร็ง (precancerous) และรอยโรคที่เป็นมะเร็ง (cancerous) เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาตั้งแต่ช่วงต้นช่วงต้นการตรวจมีความความแม่นยำจากอาการ 79%ลักษณะของสี 72%การเปลี่ยนแปลงของเส้นเลือด81% และจากการย้อมไอโอดีน 72%(5)

ข้อบ่งชี้ในการทำคอลโปสโคป(4,5)

การตรวจด้วยกล้องคอลโปสโคป ไม่ได้ทำในกรณีที่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกพบเซลล์ผิดปกติทุกราย แต่จะทำในกรณีที่ผิดปกติหรือมีอาการที่น่าสงสัยเป็นมะเร็งปากมดลูก ดังนี้

  • มีผลการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกผิดปกติ ดังนี้
    • Atypical squamous cells of undetermined significance (ASC-US) หรือ ASC-US ร่วมกับมีผลบวกของ high risk human papillomavirus (HPV)
    • Atypical squamous cells, cannot exclude HSIL (ASC-H)
    • Atypical glandular cells (AGC)
    • Low-grade squamous intraepithelial lesions (LSIL)
    • High-grade squamous intraepithelial lesion (HSIL)
    • Invasive cancer ที่ไม่เห็นรอยโรค
  • สงสัยลักษณะของมะเร็งจากการตรวจด้วยตาเปล่า เช่น มีลักษณะผิดปกติ มีแผล หรือมีก้อนเนื้อ
  • เลือดออกผิดปกติระหว่างรอบเดือนที่ไม่สามารถอธิบายสาเหตุได้ หรือเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ และตกขาวเนิ่นนานที่ไม่สามารถอธิบายสาเหตุได้
  • รอยโรคน่าสงสัยบริเวณช่องคลอดและปากช่องคลอดจากการตรวจด้วยตาเปล่า
  • กรณีอื่น ๆ ที่อาจพิจารณาตรวจด้วยคอลโปสโคป
    • Persistent HPV infection ซึ่งมักจะตรวจพบ HPV DNA ให้ผลบวก 2 ครั้ง ห่างกัน 12 เดือนถึงแม้การตรวจทาง cytology จะปกติ
    • HPV positive type 16,18
    • ผลการตรวจด้วยน้ำส้มสายชู (visual inspection with acetic acid : VIA) พบฝ้าขาวหรือผิดปกติ
    • การตรวจติดตามผลหลังการรักษารอยโรค CIN ด้วยการรักษาเฉพาะที่ เช่น การจี้ด้วยความเย็น และ การตัดด้วยห่วงไฟฟ้า ฯลฯ
    • รอยโรค CIN 1 ที่คงอยู่นานกว่า 12 เดือน
    • คู่นอนเป็นเนื้องอกหรือหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศส่วนล่าง
    • ผล Pap smear พบว่ามีการอักเสบหลายครั้งโดยไม่ทราบสาเหตุ
    • เคยได้รับ diethylstilbestrol (DES) ขณะอยู่ในครรภ์

ข้อบ่งห้ามในการทำคอลโปสโคป(4-8)

ไม่มีข้อห้ามที่แน่นอนที่ในการทำคอลโปสโคป แต่ควรเลื่อนการทำไปก่อนในกรณีที่

  • มีการติดเชื้อ (vaginitis cervicitis) ควรได้รับการรักษาก่อนที่จะตรวจสอบเพราะการอักเสบและการติดเชื้อเป็นอุปสรรคต่อการประเมินความถูกต้องของความผิดปกติเยื่อบุผิว เช่น ตรวจพบ Trichomonasvaginalisสามารถทำให้เกิด cervicitis ได้
  • อยู่ในระหว่างมีประจำเดือน อาจทำให้ไม่สะดวกในการตรวจ การแปลผลคาดเคลื่อนเนื่องจากมีเลือดมาบดบังรอยโรค
  • กรณีที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด ควรหยุดยาก่อนทำ เนื่องจากถ้าต้องตัดชิ้นเนื้อหรือขูดคอมดลูก (endocervical curettage) อาจทำให้เลือดไหลไม่หยุดได้
  • กรณีที่ตั้งครรภ์ โดยทั่วไปสามารถส่องกล้องประเมินรอยโรค แต่ไม่นิยมตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ ถ้าไม่ได้สงสัยมะเร็งระยะลุกลาม เนื่องจากอาจมีผลทำให้ถุงน้ำคร่ำแตกหรือทำให้เลือดออกมากได้ (8)

ลักษณะปากมดลูกปกติ

Copo01

รูปที่ 1 แสดงตำแหน่ง SCJ และ transformation zone ในช่วงอายุต่างๆ (9)

 

เยื่อบุปากมดลูกประกอบด้วยเยื่อบุสองชนิดคือ เยื่อบุsquamous ด้าน ectocervixและ เยื่อบุcolumnar ด้าน endocervixบริเวณรอยต่อระหว่างเยื่อบุทั้งสองเรียกว่า squamocolumnar junction (SCJ) ในช่วงเข้าสู่วัยสาวจะมีการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุ columnar เคลื่อนตัวลงมาที่ ectocervixซึ่งเป็นผลจากฮอร์โมนเอสโตร-เจนที่ทำให้ความเป็นกรดที่เพิ่มขึ้นในช่องคลอด เรียกการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า squamous metaplasia บริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุนี้เรียกว่า transformation zone ซึ่งจะอยู่ระหว่าง original SCJ และ new SCJ (9)

การเกิด squamous metaplasia จะเกิดขึ้นไม่พร้อมกันทั้งปากมดลูก บางบริเวณมีการแปรรูปสมบูรณ์แล้ว บางบริเวณการแปรรูปยังอยู่ในระยะต่าง ๆ ของกระบวนการ ทำให้เห็นหย่อมของเยื่อบุ columnar หลงเหลืออยู่และมีเยื่อบุ squamous ที่แปรรูปแล้วล้อมรอบ ถ้าเยื่อบุcolumnar มีรูเปิดออกที่ผิวจะหลั่งมูกออกมาทางรูเปิดเล็ก ๆ นี้เรียกว่า gland opening ถ้ารูเปิดนี้ถูกเยื่อบุ squamous ปกคลุมทำให้มูกไม่มีทางออก จะกลายเป็นถุงน้ำเล็ก ๆ เรียกว่า nabothian cyst

ในช่วงที่มีการเกิด squamous metaplasia นี้ถ้ามีสารก่อมะเร็ง เช่น เชื้อHPVเข้าไปร่วมด้วย จะเกิดการความผิดปกติในเยื่อบุ จึงเรียกบริเวณนี้ว่า atypical transformation zone และมีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์กลายเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ ดังนั้นในการทำคอลโปสโคปจึงต้องดูบริเวณนี้อย่างละเอียด

ความผิดปกติที่ตรวจพบ(5, 7, 11, 12)

การเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุผิว (epithelial change)

ลักษณะผิวหรือโครงร่างของเยื่อบุsquamousปกติจะเรียบ ในขณะที่โครงร่างของเยื่อบุcolumnarจะโป่งยื่นออกมาคล้ายนิ้วมือหรือพวงองุ่น ผิวของ carcinoma in situ (CIS) และมะเร็งระยะลุกลามเริ่มแรก มักจะขรุขระและยกนูนขึ้นจากเยื่อบุปกติข้างเคียง แต่ถ้าเป็นมะเร็งระยะลุกลามชัดเจนลักษณะผิวจะคล้ายติ่งเนื้อตะปุ่มตะป่ำหรือมีรูปร่างของก้อนมะเร็งแบบงอกขึ้นจากผิวหรือแบบแผลลึก

การตรวจด้วยกล้องคอลโปสโคป จะประเมินจากความแตกต่างของการตอบสนองต่อแสงของเซลล์ที่ปกติและผิดปกติ เยื่อบุที่ผิดปกติจะมีความหนาแน่นของนิวเคลียสสูงขึ้น ขนาดของนิวเคลียสใหญ่ขึ้น (nuclear cytoplasm ratio เพิ่มขึ้น) เมื่อสัมผัสกับกรดอะเซติกจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางออสโมลาริตี้ ทำให้ความดันออสโมซิสของช่องว่างนอกเซลล์สูงขึ้น น้ำซึมออกนอกเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ฝ่อ ทำให้ลำแสงจากคอลโปสโคปผ่านไม่ได้จึงเห็นเป็นสีขาวทึบ เรียกว่า acetowhite epithelium กระบวนการนี้ใช้เวลา 1 – 2 นาที เมื่อกรดอะเซติก ซึมออกจากเนื้อเยื่อ น้ำจะกลับเข้าสู่เซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ขยายพองออก ความขาวจะหายไป เป็นความผิดปกติที่พบบ่อยที่สุดในเขตเซลล์แปรรูปผิดปกติ ผิวจะเรียบไม่เห็นเส้นเลือดและไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

Copo02

รูปที่ 2 cetowhite epithelium (10)

ความรุนแรงของรอยโรคขึ้นกับ

1. ระดับความขาวหรือความทึบของเยื่อบุ (color tone) หลังจากชโลมด้วยกรดอะเซติก เยื่อบุของรอยโรคขั้นสูงจะมีความขาวหรือความทึบมากกว่าเยื่อบุของรอยโรคขั้นต่ำและทึบกว่าเยื่อบุsquamousปกติมาก เยื่อบุของมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามจะมีสีขาวเหมือนเจลาติน

2. ระยะเวลาที่เยื่อบุเปลี่ยนเป็นสีขาว (onset & duration) ยิ่งเกิดขึ้นเร็วและคงอยู่นานระดับความรุนแรงของรอยโรคจะยิ่งมากขึ้น

3. ขอบหรือรอยต่อกับเนื้อเยื่อปกติที่ล้อมรอบอยู่(margin) ขอบยิ่งคมชัดความรุนแรงยิ่งมากขึ้น ถ้าขอบม้วนขึ้น(rolling)หรือหลุดลอก(peeling)ความรุนแรงของโรคก็มากขึ้นเช่นกัน

  • บริเวณรอยต่อระหว่างเยื่อบุsquamousปกติกับเยื่อบุcolumnarปกติจะคมชัดเหมือนกัน
  • รอยต่อระหว่างรอยโรคขั้นสูงกับเยื่อsquamousปกติจะคมชัดแยกขอบเขตได้ชัดเจน
  • รอยต่อระหว่างเยื่อบุsquamousปกติกับรอยโรคจากการอักเสบหรือรอยโรคขั้นต่ำจะไม่ค่อยชัด

การเปลี่ยนแปลงของเส้นเลือด (vascular change)

ถ้าความผิดปกติรุนแรงขึ้นเซลล์เหล่านี้จะสร้างสารกระตุ้นการสร้างเส้นเลือด (tumor angiogenesis factors) เพื่อให้มีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงเยื่อบุ จึงเรียกสิ่งตรวจพบตามลักษณะของเส้นเลือดดังนี้

Punctation จะเห็นเป็นจุดสีแดงของปลายเส้นเลือด มีเส้นเลือดฝอยแทรกผ่านเยื่อบุขึ้นมาบนผิว

Copo03

รูปที่ 3 punctation(10)

  1. Fine punctationเส้นเลือดมีขนาดเล็กกว่า อยู่ใกล้ ๆ กัน และมีระยะห่างสม่ำเสมอกว่า
  2. Coarse punctationเส้นเลือดมีขนาดใหญ่กว่า สีแดงเข้มกว่า ระยะห่างระหว่างเส้นเลือดมากกว่า แต่ละจุดอยู่ห่างไม่เท่ากัน ไม่สม่ำเสมอ เส้นเลือดยกนูนขึ้นจากผิวเยื่อบุหรืออยู่ใกล้ผิวเยื่อบุมากกว่า เยื่อบุรอบเส้นเลือดมีความขาวมากกว่าเยื่อบุที่อยู่รอบ fine punctation

Mosaic จะเห็นเส้นเลือดเรียงกันคล้ายแผ่นกระเบื้อง พบเมื่อมีเส้นเลือดฝอยแตกแขนงคล้ายกระเบื้องเข้าไปอยู่ระหว่างกลุ่มเซลล์ในเยื่อบุ รูปร่างลักษณะไม่แน่นอน mosaic ส่วนใหญ่จะอยู่ในรอยโรคสีขาวที่มีขอบเขตชัดเจน อาจจะพบร่วมกับ punctationแบ่งความรุนแรงเป็น 2 ชนิดคือ

Copo04

รูปที่ 4 mosaic (10)

  1. Fine mosaic เส้นเลือดมีขนาดเล็กกว่า สีจางกว่า มีรูปร่าง ขนาดของ mosaic และการเรียงตัวสม่ำเสมอ เยื่อบุที่อยู่ใน mosaic มีความขาวน้อยกว่า
  2. Coarse mosaic เส้นเลือดมีขนาดใหญ่กว่า สีแดงเข้มกว่า ขนาดใหญ่กว่า ระยะห่างระหว่างเส้นเลือดมากกว่า ขนาดของ mosaic ไม่เท่ากัน เส้นเลือดมักยกนูนขึ้นจากผิวเยื่อบุหรืออยู่ใกล้ผิวเยื่อบุ เยื่อบุที่อยู่ใน coarsemosaic จะมีความขาวมากกว่าเยื่อบุของ fine mosaic

Atypical vessels หมายถึงเส้นเลือดที่มีความผิดปกติอย่างมากทั้งขนาด รูปร่างและการเรียงตัว โดยเส้นเลือดจะมีขนาดใหญ่ขึ้น มีลักษณะแปลก ๆ แตกแขนงไม่สม่ำเสมอไร้ทิศทางแน่นอน แขนงของเส้นเลือดที่แตกออก แทนที่จะมีขนาดเล็กลงกลับมีขนาดใหญ่กว่าเส้นเลือดเดิม ทิศทางการแตกแขนงไม่เหมือนเส้นเลือดปกติหมุนกลับหรือหักงอ เส้นเลือดที่ขยายใหญ่อาจจะวิ่งอยู่เป็นระยะทางยาวกว่าจะแตกแขนง เส้นเลือดจะอยู่ห่างกันมากกว่าเส้นเลือดปกติ เยื่อบุที่อยู่ระหว่างเส้นเลือดนั้นคือ กลุ่มเซลล์มะเร็ง

Copo05

รูปที่ 5 atypical vessel (10)

Leukoplakia หรือ keratosis เป็นรอยโรคสีขาวที่เห็นด้วยตาเปล่าบนผิวเยื่อบุปากมดลูกก่อนชโลมด้วยกรดอะเซติก เรียกว่า มักจะมีขอบเขตชัดเจน เนื่องจากเยื่อบุมีสารเคราตินเคลือบอยู่จึงทึบแสงและเห็นเป็นสีขาว อาจจะบดบังเส้นเลือดที่อยู่ข้างใต้ ทำให้วินิจฉัยเยื่อบุข้างใต้ไม่ได้ ดังนั้นถ้าอยู่ภายในเขตsquamous metaplasia และมี acetowhite epithelium , punctationหรือ mosaic ล้อมรอบจะมีความสำคัญมาก แต่ถ้าอยู่ภายในเยื่อบุsquamousปกติ ไม่ค่อยมีความสำคัญ อาจเกิดจากการบาดเจ็บ การระคายเคือง หรือการอักเสบเรื้อรัง และการติดเชื้อ HPV

Copo06

รูปที่ 6 leukoplakia (10)

สิ่งตรวจพบเหล่านี้อาจเกิดขึ้นอย่างเดียวหรือร่วมกันหลายอย่างก็ได้ อาจจะมีแห่งเดียวหรือหลายแห่งก็ได้ แต่มักจะเห็นเด่นชัดแยกจากเนื้อเยื่อปกติรอบ ๆได้ ภาวะอื่นๆที่ทำให้เซลล์แบ่งตัวมากขึ้นหรือมีการสร้างเส้นเลือดมากขึ้นจนทำให้มองเห็นความผิดปกติเหล่านี้ในเขตเซลล์แปรรูปได้แก่ การติดเชื้อ การอักเสบ การสร้างเนื้อเยื่อใหม่ การซ่อมแซมเยื่อบุ และการตั้งครรภ์ เป็นต้น

อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจ (5, 13)ได้แก่

  • Vaginal speculumขนาดตามความเหมาะสมกับช่องคลอดของผู้ป่วย
  • Lateral vaginal wall retractorใช้ถ่างผนังช่องคลอดด้านข้างที่ยื่นมาบังการตรวจปากมดลูก
  • Hook ใช้จับยกเนื้อเยื่อที่มีผิวเรียบเพื่อให้ตัดเนื้อออกตรวจได้ง่ายขึ้น
  • Endocervical speculum ใช้ตรวจภายในคอมดลูกที่รอยโรคหรือ transitional zone อยู่เข้าไปไม่ลึกมาก
  • Tissue forceps ยาวอย่างน้อย 20 cm ใช้จับสำลีชุบกรดอะเซติกเพื่อชโลมปากมดลูก
  • Punch biopsy forceps ด้ามต้องยาวประมาณ 20 – 25 cm เพื่อใช้ตัดในที่ลึกได้
  • Endocervicalcuret(ECC) สำหรับขูดเยื่อบุภายในคอมดลูกมาตรวจทางพยาธิวิทยา หรือใช้Endocervical brush (ECB) หมุนเก็บเซลล์ตัวอย่างภายในคอมดลูกเพื่อตรวจทางเซลล์วิทยา
  • กรดอะเซติก3-5% อาจใส่ไว้ในขวดที่มีหัวฉีดเพื่อใช้ฉีดชโลมปากมดลูก
  • Normal saline solution สำหรับเช็ดทำความสะอาดปากมดลูก
  • สารละลายไอโอดีน เช่น Lugol’s solution หรือSchiller solution สำหรับ Schiller testเพื่อตรวจบริเวณที่ติดสีและไม่ติดสีไอโอดีน
  • Monsel’s solution สำหรับจี้จุดเลือดออกเพื่อห้ามเลือด โดยทั่วไปการใช้ผ้ากอซยาวกดอุดปากมดลูกก็เพียงพอที่จะห้ามเลือดตรงจุดที่ตัดเนื้อออกตรวจได้
  • อุปกรณ์สำหรับเก็บเนื้อเยื่อตัวอย่างจากการตัดเนื้อออกตรวจ ได้แก่ ขวดบรรจุ 10%ฟอร์มาลิน ไม้จิ้มฟันสำหรับดันเนื้อเยื่อออกจากคีมตัดเนื้อออกตรวจ
  • แผ่นบันทึกผลการตรวจและใบคำแนะนำการปฏิบัติตัวภายหลังการตรวจ

ขั้นเตรียมการตรวจ (5)

  • เตรียมข้อมูลผู้ป่วย เช่น ผลการตรวจcytology histology ผลการตรวจHIV ประวัติการตรวจHPV สิ่งที่ตรวจพบจากการส่องกล้องครั้งก่อนหน้า ประวัติการตัดปากมดลูกก่อนหน้านี้ ประวัติการตั้งครรภ์ ประวัติประจำเดือน การใช้ฮอร์โมน การใช้ยาคุมกำเนิด ประวัติการแพ้ยา ยาที่ใช้ประจำ เป็นต้น
  • ถ้าผลการตรวจcytology จากการตรวจที่อื่นควรให้ทบทวนการอ่านสไลด์เพื่อนยืนยันการวินิจฉัย
  • นัดวันให้เหมาะสม ระยะเวลาที่เหมาะสมในการตรวจมากที่สุดคือช่วงประมาณวันที่ 8-12ของรอบเดือน เนื่องจากปากมดลูกจะเปิดออก และมูกบริเวณปากมดลูกจะใส ไม่บังเยื่อบุผิวแต่ก็มาสามารถตรวจในช่วงอื่นที่ไม่มีประจำเดือนได้เช่นกัน
  • ให้ผู้ป่วยงดการสอดยา สวนล้างช่องคลอด หรือมีเพศสัมพันธ์ อย่างน้อย 1วัน ก่อนตรวจ
  • อธิบายขั้นตอนการตรวจให้ผู้ป่วย มีเอกสารหรือวิดีโอให้ดูก่อนทำ เผื่อลดความวิตกกังวล เปิดโอกาสให้ซักถามถ้ามีข้อสงสัย
  • ให้คำแนะนำก่อนตรวจ เช่น การชโลมปากมดลูกด้วยน้ำส้มสายชู(กรดอะเซติก) อาจทำให้มีการระคายเคืองเล็กน้อย การตัดชิ้นเนื้อไปตรวจอาจทำให้ปวดตึงเล็กน้อย หรือการขูดคอมดลูกอาจทำให้มีอาการเหมือนปวดประจำเดือนได้ในช่วงสั้นได้
  • ให้เซ็นต์ใบยินยอมเพื่อนเข้ารับการตรวจและทำหัตถการ

การใช้กล้องตรวจคอลโปสโคป(6)

  • ปรับระยะของกล้องให้สามารถมองเห็นทั้งสองตา(biocular vision)
  • คอลโปสโคปส่วนใหญ่มีความยาวโฟกัส 30 cm ถ้าความยาวโฟกัสสั้นหรือยาวเกินไปจะทำให้ผู้ตรวจไม่ถนัดในการหยิบจับอุปกรณ์อื่นๆ
  • คอลโปสโคปมีหลายชนิดขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน สามารถต่อเข้าวิดีโอ ปรับโฟกัส ปรับระยะห่างของกล้องได้
  • กำลังขยายของกล้อง สามารถปรับได้ ขึ้นกับว่าตรวจเยื่อบุบริเวณใด เช่น บริเวณ vulva มักใช้กำลังขยายต่ำ (2- 10เท่า) บริเวณvagina และ cervix ใช้กำลังขยายปานกลาง (10-20เท่า) หรือกำลังขยายสูง ( 20-25เท่า)เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของเส้นเลือดที่จะสามารถบอกถึง high grade lesion หรือ invasive lesion ได้

ขั้นตอนการตรวจปากมดลูกด้วยคอลโปสโคป(13)

  • การจัดท่าผู้ป่วยอยู่ในท่า lithotomy ปูผ้าคลุม สอดspeculum ตรวจดูปากมดลูกด้วยตาเปล่า รวมทั้งรอยโรคและก้อนเนื้องอกที่เห็นได้ชัดเจนที่ผนังช่องคลอดหรือปากมดลูก ระบุ transitional zone และsquamocolumnar junction ถ้ามีตกขาวให้เก็บส่งตรวจทางจุลชีววิทยา
  • ปรับมุมของเครื่องถ่างตรวจช่องคลอดให้ปากมดลูกทำมุมตั้งฉากกับลำแสงของคอลโปสโคป ปรับให้ได้ระยะที่คมชัด ถ้าปากมดลูกชี้ลงไปทางด้านหลังให้ใส่ผ้ากอซข้างใต้เพื่อยกปากมดลูกขึ้นมา สังเกตรอยโรคบนปากมดลูก ถ้ามีมูกหรือสิ่งคัดหลั่งปกคลุมให้ใช้สำลีชุบน้ำเกลือเช็ดออกเบา ๆ ถ้ามีเลือดออกให้ใช้สำลีกดไว้ 1–2 นาที ถ้ามีมูกออกมากให้ดูดออกด้วยเครื่องดูดหรือกระบอกฉีดยา ชโลมปากมดลูกด้วยน้ำเกลือแล้วตรวจโดยใช้กำลังขยาย 5 – 10 เท่า ให้สังเกต
    • สี( color)และลักษณะผิว(surface contour)ของเยื่อบุ
    • ขอบ(margin)ระหว่างรอยโรคกับเนื้อเยื่อปกติ
    • ลักษณะของเส้นเลือด(vasculature) ซึ่งจะเห็นได้ชัดในระยะนี้อาจใช้กระจกกรองแสงสีเขียว(green filter)ช่วยเพื่อให้มองเห็นเส้นเลือดชัดเจนขึ้น
  • ชโลมปากมดลูกด้วยสารละลายกรดอะเซติก3-5% โดยใช้หัวฉีดพ่นสารละลายหรือใช้ก้อนสำลีชุบสารละลายกรดอะเซติกกดบนปากมดลูก รอประมาณ30 วินาที -1 นาที เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของผิวเยื่อบุ ชโลมซ้ำได้ทุก 2 – 3 นาที ตรวจด้วยกำลังขยาย 5 – 15 เท่า ถ้าเห็นเส้นเลือดผิดปกติอาจตรวจซ้ำด้วยกระจกกรองแสงสีเขียว และใช้กำลังขยายสูงขึ้นเป็น 25–40 เท่า เพื่อที่จะดูลักษณะของเส้นเลือดให้ชัดเจนขึ้น
  • ควรตรวจดูปากมดลูกอย่างเป็นระบบตามเข็มนาฬิกาทีละเสี้ยวของปากมดลูกจะได้ไม่ผิดพลาด ถ้ารอยโรคหรือเขตเซลล์แปรรูปลามเข้าไปในคอมดลูกให้ใส่เครื่องถ่างตรวจภายในคอมดลูกช่วยตรวจ
  • บันทึกสิ่งตรวจพบทั้งหมดโดยการถ่ายภาพหรือวาดภาพบรรยายไว้ในใบรายงานผลการตรวจ นิยมบอกตำแหน่งบนปากมดลูกตามตำแหน่งของเข็มนาฬิกา โดยมีรูปากมดลูกเป็นจุดศูนย์กลาง
  • การทดสอบชิลเลอร์ (Schiller test) อาจจะทำก่อนที่จะทำการตัดเนื้อออกตรวจ การทดสอบชิลเลอร์ขึ้นกับปฏิกิริยาระหว่างโอดีนและไกลโคเจน (ใช้ Lugol’s solution)

Copo08

รูปที่ 8 Schiller test (10)

    • เยื่อบุช่องคลอดที่มีไกลโคเจนจะติดสีไอโอดีนเห็นเป็นสีน้ำตาลเข้มเรียกว่า Schiller negative หรือ iodine positive
    • เยื่อบุที่ไม่มีไกลโคเจนจะไม่ติดสีไอโอดีนเรียกว่า Schiller positive หรือ iodine negative ได้แก่ เยื่อบุcolumnar, squamous metaplasia เยื่อบุที่ติดเชื้อ HPV รอยโรคภายใน เยื่อบุsquamous และมะเร็งปากมดลูก
    • เยื่อบุsquamous ปกติจะติดสีน้ำตาลของไอโอดีน เยื่อบุอื่น ๆ จะมีปฏิกิริยากับไอโอดีนต่าง ๆกัน
  • Punch biopsy ให้ตัดบริเวณที่ผิดปกติมากที่สุดของรอยโรคแต่ละบริเวณเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา และควรตัดให้ได้stromaใต้เยื่อบุด้วยเพื่อประเมินการลุกลาม ทำการตัดโดยตัดเนื้อเยื่อให้ตั้งฉากกับผิว ถ้ามีรอยโรคทั้งด้านบนและด้านล่างของปากมดลูกให้ทำการตัดที่ด้านล่างก่อนด้านบนเพื่อไม่ให้เลือดออกมาบังบริเวณที่จะตัด ถ้าเป็นไปได้ควรระบุตำแหน่งของเนื้อเยื่อที่ตัดออกมาหลายชิ้น
  • Endocervical sampling : Endocervicalcuret(ECC) เพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา หรือใช้Endocervical brush(ECB) เพื่อตรวจทางเซลล์วิทยา
  • การห้ามเลือดจากบริเวณที่ตัดเนื้อออกตรวจ โดยทั่วไปแล้วเลือดมักออกเพียงเล็กน้อย สามารถห้ามเลือดได้โดยการกดหรือใช้tampon กดไว้ให้ผู้ป่วยดึงออกเอง เลือดมักจะหยุดภายใน 2 – 3 ชั่วโมง อาจจะใช้แท่งซิลเวอร์ไนเตรตหรือMonsel’s solutionจี้ห้ามเลือดแต่ต้องทำหลังจากการตัดเนื้อออกตรวจเสร็จแล้วมิฉะนั้นจะรบกวนการแปลผลทางพยาธิวิทยาได้ในขณะจี้ห้ามเลือดต้องระวังไม่ให้สารละลายไหลย้อยมาที่ช่องคลอดเพราะจะระคายเคืองมาก
  • ตรวจผนังช่องคลอด ให้สังเกตดูผนังช่องคลอดในขณะที่ถอยspeculumออก อาจใช้hookเกี่ยวผนังช่องคลอดช่วยตรวจบริเวณรอยย่น

การบันทึกผลการตรวจ

International Federation of Cervical Pathology and Colposcopy (IFCPC)2011 ได้บัญญัติศัพท์ สิ่งตรวจพบทางคอลโปสโคป และแนะนำให้ใช้สำหรับการวินิจฉัยทางคลินิก การวินิจฉัย และการรักษาเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก ดังนี้ (14-17)

1. General finding

  • Adequate / inadequate
  • การมองเห็นsquamocolumnar junction (completely visible / partially visible / not visible)
  • Transitional Zone type 1 / 2 /3

ลักษณะที่บ่งบอกว่าเป็น transformation zone ได้แก่

  • เยื่อบุผิวเรียบมีเส้นเลือดละเอียดขนาดเท่า ๆ กัน
  • เยื่อบุสีขาวบาง ๆ จาก กรดอะเซติก
  • ไม่ติดสีไอโอดีนหรือติดสีบางส่วน

ชนิดของtransformation zone

  • Type 1 อยู่ที่ปากมดลูกด้านนอกและมองเห็นได้ทั้งหมด จะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ได้
  • Type 2 บางส่วนอยู่ในคอมดลูกแต่มองเห็นได้ทั้งหมดและอาจจะมีบางส่วนอยู่ที่ปากมดลูกด้านนอก อาจมีขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ได้
  • Type 3 อยู่ในคอมดลูกซึ่งมองเห็นได้ไม่หมด อาจจะมีบางส่วนอยู่ที่ปากมดลูกด้านนอก ซึ่งอาจจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ได้

Copo09

รูปที่ 9 inadequate conditions , inflammation (14)

Copo10

รูปที่ 10 inadequate conditions, transformation zone type 1 (14)

Copo11

รูปที่ 11 inadequate conditions, transformation zone type 3 (14)

Copo12

รูปที่ 12 i nadequate conditions, transformation zone type 2 (14)

2. Normal finding

  • Original squamous epithelium : mature / atrophic columnar epithelium
  • Ectopymetaplastic squamous epithelium
  • Nabotian cyst
  • Excretory duct of glands
  • Deciduosis in pregnancy)

3. Abnormal colposcopic findings

  • ทั่วไป
    1. ตำแหน่งของรอยโรค ( inside / outside epithelium )
    2. ขนาดของรอยโรค (จำนวน quadrant / percent of cervix)
  •  Grade 1 (minor change)
    1. Flat acetowhite epithelium
    2. Fine mosaic
    3. Fine punctation
  • Grade 2 (major change)
    1. Dense acetowhite epithelium
    2. Coarse mosaic
    3. Coarse punctuation
    4. Prominent excretory duct gland
    5. Sharp border
    6. Inner border sign (มีรอยโรคด้านในขาวกว่าด้านนอก)
    7. Ridge sign (มีรอยโรคที่สันขอบ)
    8. Rapid acetic reaction (เยื่อบุสีขาวปรากฏขึ้นเร็ว)
  •  Not specific
    1. Leukoplakia (keratosis / hyperkeratosis)
    2. Erosion
    3. Lugor’s reaction / Schiller test (การติดสีไอโอดีน)

4. Suspected invasion

  1. Atypical vessel เช่น bleeding on contact
  2. Irregular surface
  3. Exophytic lesion
  4. Necrosis
  5. Ulcer
  6. Tumor

5. miscellaneous findings

  1. Congenital transformation zone
  2. Condylomas
  3. Endometriosis
  4. Polyp (ectocervical / endocervical)
  5. Inflammation
  6. Stenosis
  7. Postoperative change ( scar / vaginal stump )

6. Excision type

  • Type 1 – flat (ตัด transitional zone type 1)
  • Type 2 – medium (ตัด transitional zone type 2)
  • Type 3 – sleep (ตัด transitional zone type 3 microinvasionหรือการตัดซ้ำ)

7. Dimension of conization specimens

  • Height (length) : ระยะจาก endocervical margin ถึง ectocervical margin
  • Width : ระยะจาก stroma margin ถึงผิวของชิ้นเนื้อ
  • Circumference (optional) : เส้นขอบ perimeter ของชิ้นเนื้อ

คำแนะนำและตรวจติดตามอาการ (18)

  • นัด 2 สัปดาห์เพื่อฟังผลชิ้นเนื้อ และดูอาการที่อาจเป็นภาวะแทรกซ้อน
  • หลังทำให้งดเว้นการใช้ผ้าอนามัยแบบสอด การสวนล้างช่องคลอด หรือการมีเพศสัมพันธ์
  • อาจมีตกขาวสีผิดปกติได้ ในกรณีที่มีการห้ามเลือดด้วย Monsel’s solution
  • แนะนำอาการผิดปกติ เช่นปวดท้องน้อย มีไข้ เลือดออกไม่หยุดให้มารพ.ก่อนวันนัด

สรุป (17)

การสืบค้นหามะเร็งปากมดลูกโดยใช้กล้องส่องขยายตรวจปากมดลูกร่วมกับการตัดชิ้นเนื้อไป

ตรวจหาลักษณะทางพยาธิวิทยาในกรณีสตรีที่มีผลตรวจมะเร็งปากมดลูกผิดปกติหรือมีลักษณะที่สงสัยมะเร็งปากมดลูกมีความสำคัญต่อการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นสูตินรีแพทย์ควรทราบลักษณะความผิดปกติจากคอลโปสโคป มีการฝึกตรวจ และนำผลการตรวจมาเปรียบเทียบกับผลตรวจทางเซลล์วิทยาและพยาธิวิทยาเพื่อจะได้มีความชำนาญในการทำหัตถการยิ่งขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Kenneth Noller, Arnold Wangner. Colposcopy. In: Sciarra JL,editor. Gynecology and Obstetrics. vol 1. Philadelphia, Pa: Lippincott, Williams and Wilkins; 2000.
  2. Papanicolaou G,Traut H. Diagnosis of uterine cancer by the vaginal smear. New York, NY: Commonwealth Fund; 1943.
  3. Reid R, Scalzi P. Genital warts and cervical cancer. VII. An improved colposcopic index for differentiating benign papillomaviral infections from high-grade cervical intraepithelial neoplasia. American journal of obstetrics and gynecology. 1985;153(6):611-8.
  4. L. Stewart Massad ,et al .ASCCP algoritm. In: for UCG, Cancer MAC, Precursors STaC, editors.: American Society for Colposcopy and Cervical Pathology; 2012.
  5. จตุพล ศรีสมบูรณ์ Basic Colposcopy. Available from: http://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=370:basic-colposcopy&catid=40&Itemid=482.
  6. Edward J. Mayeaux J, MD, et.al. THE CERVIX: Colposcopy: Brief history of colposcopy. the 2002-04 ASCCP Section on the Cervix for use by physicians and healthcare providers.
  7. Sellors JW, Sankaranarayanan R. Colposcopy and treatment of cervical intraepithelial neoplasia. A beginners manual. Lyon: IARC; 2003. p. 1-94.
  8. Stephen A Metz M, PhD. colposcopy: medscape; [updated Jan 02, 2015]. Available from: http://emedicine.medscape.com/article/265097-overview.
  9. Bappa LA, Yakasaki l A. Colposcopy: The scientific basis. Ann Afr Med [serial online] 2013. Avialable form: http://www/annalsafrmed.org/text.asp?2013/12/86/112396
  10.  Barbara S. Apgar MD M, Gregory L. Brotzman MD and Mark Spitzer MD. Colposcopy: principles and practice In: Spitzer M, editor. p. 521- 30.
  11. Ferris DG CJ, O’Connor DM, Wright VC, Foerster J. . Modern colposcopy textbook and atlas.2nd ed. Iowa: Kendall/Hunt Publishing; 2004. p. 144-229.
  12. MJ. C. Preinvasive disease In: Berek JS HN, editor. Berek & Hacher’s gynecologic oncology 5th ed Philadelphia Wolters Kluwer; 2010. p. 294-307.
  13. MD MTMaJG. Colposcopy Examination. Atlas of Essential Procedures, : Elsevier Inc; 2011. p. Chapter 29, 123-7.
  14. Quaas J, Reich O, Kuppers V. Explanation and Use of the Rio 2011 Colposcopy Nomenclature of the IFCPC (International Federation for Cervical Pathology and Colposcopy): Comments on the general colposcopic assessment of the uterine cervix: adequate/inadequate; squamocolumnar junction; transformation zone. Geburtshilfe und Frauenheilkunde. 2014;74(12):1090-2.
  15.  Quaas J, Reich O, Frey Tirri B, Kuppers V. Explanation and Use of the Colposcopy Terminology of the IFCPC (International Federation for Cervical Pathology and Colposcopy) Rio 2011. Geburtshilfe und Frauenheilkunde. 2013;73(9):904-7.
  16. Newkirk GR. Colposcopic Examination Pfenninger and Fowler’s Procedures for Primary Care. p. 919-35.
  17. จตุพล ศรีสมบูรณ์ , ชำนาญ เกียรติพีรกุล ,บรรณาธิการ.การตรวจด้วยกล้องขยายทางช่องคลอด.มะเร็งนรีเวชวิทยา. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย; 2554. หน้า60-76.
  18. Roger P. Smith. colposcopy. Netter’s Obstetrics and Gynecology,. Saunders: Elsevier 2008 p. 595-6.
Read More
Postmeno1

ภาวะเลือดออกหลังวัยหมดระดู (Postmenopausal bleeding)

ภาวะเลือดออกหลังวัยหมดระดู (Postmenopausal bleeding)

พ.ญ.ธนิยาภรณ์ เศรษฐิยานันท์
รศ.พญ.ประภาพร สู่ประเสริฐ


 บทนำและคำจำกัดความ (Introduction and Definition)

ภาวะเลือดออกหลังวัยหมดระดู หมายถึง สตรีที่มีภาวะที่มีเลือดออกทางช่องคลอดหลังจากที่ไม่มีระดูติดต่อกันอย่างน้อย 12 เดือน โดยที่สตรีผู้นั้นอยู่ในควรอยู่ในช่วงวัยหมดระดู โดยเฉลี่ยคืออายุ 51 ปี (ช่วงปกติอยู่ที่อายุ 45 ถึง 55 ปี) และภาวะนี้ยังสามารถใช้รวมถึง สตรีอายุน้อยที่มีภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนวัยอันควร(premature ovarian failure) หรือ ภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร (premature menopause)

ส่วนในสตรีที่รับประทานฮอร์โมนทดแทน (hormone replacement therapy) ความถี่และช่วงเวลาที่มีเลือดออกนั้น ขึ้นอยู่กับรูปแบบการให้ฮอร์โมน โดยถ้าได้รับฮอร์โมนทดแทนแบบ cyclical ( sequential regimen) ภาวะเลือดออกที่ผิดปกตินั้น หมายถึง สตรีที่มีเลือดออกไม่ตรงตามรอบหลังการให้โปรเจสติน(unscheduled bleeding) หรือมีเลือดออกตรงรอบ แต่มามาก หรือมานานผิดปกติ สำหรับการให้ฮอร์โมนทดแทนแบบ continuous combined regimen เลือดออกที่ผิดปกติจะหมายถึง การมีเลือดออกหลังได้รับฮอร์โมนทดแทนมากกว่า 6 เดือน หรือมีเลือดออกผิดปกติอีกหลังจากที่ระดูขาดหายไป

ทั้งนี้ภาวะเลือดออกหลังวัยหมดระดูดังที่กล่าวมาไม่ใช่ภาวะปกติ อาจเกิดจากสาเหตุที่อันตรายร้ายแรงได้อย่างเช่น มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ดังนั้น สตรีที่มีภาวะเลือดออกหลังจากหมดระดูไปแล้ว ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยและสืบค้นหาสาเหตุที่ถูกต้อง เพื่อการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

 อุบัติการณ์ (Incidence)

ภาวะเลือดออกหลังวัยหมดระดู เป็นปัญหาที่พบบ่อยประมาณร้อยละ 5 ของผู้ป่วยทางนรีเวชทั้งหมด(1) โดยที่ภาวะเลือดออกหลังวัยหมดระดูนี้ พบได้ประมาณ 4 ถึง 11 เปอร์เซ็นต์ของสตรีที่อยู่ในวัยหมดระดู และ อุบัติการณ์จะลดลงตามจำนวนอายุที่วัยหมดระดูเพิ่มมากขึ้น(2)

 สาเหตุ (Etiology)

สาเหตุของเลือดออกหลังวัยหมดระดูที่พบบ่อย แบ่งตามพยาธิสภาพกำเนิด ได้แก่ ภาวะเยื่อบุฝ่อบาง (ร้อยละ 59), ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก (ร้อยละ 12), มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก (ร้อยละ 10), เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวมากว่าผิดปกติ( ร้อยละ9.8), ผลข้างเคียงจากฮอร์โมน (ร้อยละ 7), มะเร็งปากมดลูก (น้อยกว่าร้อยละ 1) ส่วนสาเหตุอื่นๆ เช่น hydrometra, hematometra, pyometra พบได้ประมาณร้อยละ 2 (3)

ภาวะเลือดออกหลังวัยหมดระดู ส่วนใหญ่จะอ้างถึงเลือดที่ออกจากโพรงมดลูก แต่ก็มีหลายสาเหตุที่ภาวะเลือดออกนี้อาจมาจากอวัยวะข้างเคียงได้ โดยที่สามารถจำแนกสาเหตุของภาวะเลือดออกหลังวัยหมดระดูตามตำแหน่งที่เกิด ได้ดังนี้

• สาเหตุที่มาจากอวัยวะสืบพันธุ์ (Gynecological cause)

 สาเหตุนอกโพรงมดลูก (Extrauterine cause) ได้แก่

  • ภาวะช่องคลอดแห้ง (vaginal atrophy) เนื่องจากขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งจะมีลักษณะ เยื่อบุช่องคลอดสีซีด แห้ง เรียบและมันวาวขึ้นเนื่องจาก เนื่องจากรอยย่น(rugae)ที่ลดลง ถ้ามีการอักเสบเกิดขึ้น เยื่อบุผิวที่บางจะเปื่อยยุ่ยง่าย และอาจมีจุดเลือดออก หรือมีแผลเกิดขึ้นทำให้มีเลือดออกได้ง่าย
  • เนื้องอกมะเร็งบริเวณที่ปากมดลูก, ช่องคลอด หรือ อวัยวะเพศ
  • เนื้องอกที่บริเวณท่อท่อนำไข่ หรือที่เนื้องอกที่รังไข่ที่สามารถฮอร์โมนเอสโตรเจนได้

 สาเหตุจากโพรงมดลูก (Intrauterine cause) ได้แก่

  • เยื่อบุโพรงมดลูกฝ่อบาง (endometrial atrophy) จากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกฝ่อบาง ในโพรงมดลูกมีของเหลวน้อยมากหรือไม่มีเลย ทำให้เกิดการเสียดสีระหว่างเยื่อบุโพรงมดลูก เกิดการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดเลือดออกได้
  • ติ่งเนื้อในพรงมดลูก (endometrial polyp) เป็นเนื้องอกที่ไม่อันตราย เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่ทำให้เกิดเลือดออกในช่วงใกล้หมดระดู หรือช่วงหมดระดูระยะเริ่มต้น ซึ่งเนื้องอกชนิดนี้ สามารถถูกกระตุ้นได้ด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือได้รับยา tamoxifen
  • เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติ (endometrial hyperplasia) อาการแสดงนำคือ มีเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก ในสตรีที่หมดระดูไปแล้ว จะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่เจริญขึ้น ดังนั้นภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกที่หนาตัวผิดปกติ ถือว่าเป็นภาวะผิดปกติ จำเป็นต้องหาสาเหตุ ซึ่งอาจเกิดจากที่มี endogenous estrogenจากเนื้องอกที่รังไข่ หรือต่อมหมวกไต และอาจเกิดจาก exgenous estrogen ที่ได้รับจากภายนอกได้ เช่น ได้รับฮอร์โมนทดแทน (HRT) เพื่อรักษาวัยทอง หรือได้รับยาสมุนไพร หรืออาหารเสริมที่มีสาร phytoestrogen ในปริมาณมาก
         จากการศึกษาแบบสุ่มในสตรีอยู่ในวัยหมดระดู จำนวน 376 คนที่ได้รับสารถั่วเหลือง และสารหลอก พบว่าหลังจากติดตามไปมากกว่า 5ปี สตรีที่ได้รับสารถั่วเหลือง มีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (4)
  • มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก (endometrial cancer) พบได้ประมาณร้อยละ 10 ของสตรีที่มีเลือดออกหลังวัยหมดระดู โดยอุบัติการณ์เพิ่มตามอายุที่มากขึ้น โดยที่ร้อยละ 90 ของสตรีที่เป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกจะมีอาการเลือดออกหลังวัยหมดระดู
  • มะเร็งของกล้ามเนื้อมดลูก (uterine sarcoma) พบได้น้อยมาก ประมาณร้อยละ 3-5 ของมะเร็งมดลูกทั้งหมด โดยมากพบในสตรีสูงอายุ ซึ่งอาการที่พบบ่อยคือ มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ซึ่งมะเร็งชนิดนี้อาจดูเหมือนเนื้องอกกล้ามเนื้อธรรมดาของมดลูก การวินิจฉัยมักได้จากการผ่าตัด หรือผลทางพยาธิวิทยาในภายหลัง
  • เนื้องอกกล้ามเนื้อธรรมดาของมดลูก (uterine leiomyomas) พบได้ประมาณหนึ่งในสิบ ของสตรีที่อยู่ในวัยก่อนหมดระดู ดังนั้นภาวะเลือดออกผิดปกติจากเนื้องอกกล้ามเนื้อธรรมดาในวัยหมดระดู จึงพบได้น้อยมาก แต่ถ้านึกถึงภาวะนี้ต้องคำนึงถึงมะเร็งของกล้ามเนื้อมดลูกร่วมด้วยเสมอ

• สาเหตุที่ไม่ได้มาจากอวัยวะสืบพันธุ์ (Non-gynecological cause) ซึ่งอาจทำให้เข้าใจผิดว่าเลือดที่ออกมาจากอวัยวะสืบพันธุ์ได้ ยกตัวอย่างโรค ได้แก่

  • โรคทางระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ท่อทางเดินปัสสาวะอักเสบ, มะเร็งที่กระเพาะปัสสาวะ
  • โรคทางระบบทางเดินอาหาร เช่น ลำไส้อักเสบ, ริดสีดวงทวารหนัก หรือมีการแตกของ sigmoid colon แล้วเกิดท่อทะลุถึงมดลูกทำให้มีอาการเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดได้
  • ความผิดปกติการแข็งตัวของเลือด

 แนวทางการตรวจวินิจฉัย (Diagnostic evaluation)

เป้าหมายในการตรวจวินิจฉัยภาวะเลือดออกหลังวัยหมดระดู คือเพื่อต้องการแยกโรคสำคัญ คือ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก และภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกก่อนการเป็นมะเร็ง (precancerous lesion of endometrium) ออกไปให้ได้ ซึ่งมีแนวทางการสืบค้นดังนี้

o การซักประวัติ และตรวจร่างกาย

 การซักระวัติโดยทั่วไป

  • ลักษณะของเลือดที่ออก (ปริมาณ, ระเวลา, ความถี่)
  • ความผิดปกติในการปัสสาวะ หรืออุจจาระ
  • การได้รับบาดเจ็บ หรืออุบัติเหตุ
  • ประวัติโรคประจำตัว และประวัติมะเร็งในครอบครัว
  • การได้รับฮอร์โมนทดแทน, การรับประทานอาหารเสริม และประวัติการใช้ยาประจำ เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลืด
  • ประวัติการใส่สิ่งแปลกปลอม เช่น pessary เป็นต้น

 การตรวจร่างกาย

  • ประเมินค่า BMI (body mass index) เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
  • ตรวจอวัยวะสืบพันธุ์ภายใน และภายนอก โดยเฉพาะตรวจหาตำแหน่งที่เลือดออก ประเมินขนาดของมดลูก การกดเจ็บที่มดลูก การคลำก้อนภายในอุ้งเชิงกราน
  • การตรวจอวัยวะใกล้เคียง เช่น ท่อปัสสาวะ หรือบริเวณทวารหนัก

 การค้นหาปัจจัยเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก(5)

  • พบว่าการใช้ปัจจัยเสี่ยงเพื่อคัดกรองการเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก เป็นวิธีที่มีความวัย และความจำเพาะร้อยละ 68-82 (24) ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้แก่ (ตารางที่ 1)

ตารางที่ 1. แสดงปัจจัยเสียงของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

{tabulizer:style[gr.alterora.elemental_1_red_orange.css]}

ปัจจัยเสี่ยง(Risk factor) ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น (Relative risk)
การได้รับยาฮอร์โมนเอสโตรเจนเพียงอย่างเดียว (Unopposed estrogen) 4-8 เท่า
สตรีที่ไม่เคยมีบุตร (Nulliparity) 2-3 เท่า
หมดระดูช้า (Late menopause) 2.4 เท่า
ภาวะอ้วน (Obesity): น้ำหนักเกินเกณฑ์ 15-25 กิโลกรัม 3 เท่า
ภาวะอ้วน (Obesity): น้ำหนักเกินเกณฑ์มากกว่า 25 กิโลกรัม 10 เท่า
เบาหวาน (Diabetes mellitus) 2.8 เท่า
ได้รับยา tamoxifen 2-3 เท่า
เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว (Atypical endometrial hyperplasia) 8-29 เท่า
มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Lynch II syndrome) 20 เท่า

o การสืบค้นเพิ่มเติม (Investigation)

 การตรวจด้วยคลื่นความถี่สูงทางช่องคลอด (Transvaginal ultrasonography :TVUS)

การวัดความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกด้วยคลื่นความเสี่ยงสูงทางช่องคลอด เป็นวิธีการที่ไม่รุนแรง(non-invasive method) โดยวิธีการวัดความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกจะวัดในแนว sagittal view วัดจากด้านหน้าถึงด้านหลัง จากชั้น basalis ด้านหนึ่งถึงชั้น basalis อีกด้านหนึ่ง โดยไม่รวมของเหลวใดๆภายในโพรงมดลูก โดยวัดหากเยื่อบุโพรงมดลูกหนาไม่เกิน 5 มิลลิเมตร จะเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้น้อยมาก จากการศึกษาในสตรีเกือบ 6000ราย จาก 35 งานวิจัยที่นำมาวิเคราะห์แบบ meta-analysis ในรายที่มีความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกน้อยกว่า 4 มิลลิเมตร พบว่ามีความวัย และความจำเพาะในการตรวจพบมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกอยู่ที่ร้อยละ 96 และ 51 ตามลำดับ(6) The American College of Obstetricians and Gynecologist (ACOG) ได้แนะนำ ให้ใช้ความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกไม่เกิน 4 มิลลิเมตร อาจติดตามอาการโดยยังไม่ต้องตรวจชิ้นเนื้อจากโพรงมดลูก แต่หากวัดได้มากกว่า 4 มิลลิเมตร ควรตรวจด้วยวิธีอื่นๆเพิ่มเติม(7)

 การสุ่มตรวจชิ้นเนื้อจากโพรงมดลูก (Endometrial Sampling)

การตรวจหาสาเหตุของภาวะเลือดออกจากโพรงมดลูกในวัยหมดระดูด้วยการสุ่มตรวจชิ้นเนื้อจากโพรงมดลูกด้วยเครื่องมือต่างๆ ได้มีการพัฒนามากขึ้นเพื่อมาแทนที่การขูดมดลูก (dilatation&curettage) เนื่องจากมีข้อดี ทั้งในเรื่องความสะดวก ไม่จำเป็นต้องทำในห้องผ่าตัด ทำให้มีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่า ไม่ต้องใช้ยาดมสลบในการทำหัตถการ และอาจไม่จำเป็นต้องขยายถ่างปากมดลูก ยกตัวอย่างเช่น vacumm-suction curettage (Vabra aspiration), suction piston biopsy (Pipelle biopsy) การใช้ suction piston biopsy จะมีความเจ็บปวดน้อยกว่า แต่ความถูกต้องในการตรวจหาพยาธิสภาพในโพรงมดลูก อยู่ระหว่างร้อยละ 83-89 และในรายที่เยื่อบุโพรงมดลูกหนาน้อยกว่า 5 มิลลิเมตร อาจได้ชิ้นเนื้อไม่เพียงพอที่จะอ่านแปลผล

การศึกษาในสตรี 7915 ราย จาก 39 งานวิจัยที่นำมาวิเคราะห์แบบ meta-analysis พบว่าการสุ่มตัดชิ้นเนื้อที่โพรงมดลูกด้วย pipelle piston biopsy มีความไวในการตรวจหามะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกมากกว่าเครื่องมือสุ่มตรวจชิ้นเนื้ออื่นๆ และยังมีความไวในการตรวจหา endometrial carcinoma และ endometrial hyperplasia ร้อยละ 99.6 และ 81 ตามลำดับ(8) ดังนั้นจึงสามารถใช้วิธีนี้ในการตรวจหาสาเหตุของการมีเลือดออกจากโพรงมดลูกในวัยหมดระดูเบื้องต้นได้

 การขูดเยื่อบุโพรงมดลูกแบบ Dilatation and curettage

การขูดมดลูกเพื่อประเมินหาสาเหตุของการมีเลือดออกจากโพรงมดลูกในวัยหมดระดูมีการใช้ลดลง เนื่องจากมีวิธีการอื่นที่ทำได้ง่ายกว่า ดังที่กล่าวข้างต้น แต่ควรทำการขูดมดลูกในกรณีที่มีปัจจัยเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก และพบว่า

  • ชิ้นเนื้อจากการสุ่มตัดชิ้นเนื้อจากโพรงมดลูก ไม่เพียงพอในการอ่านและแปรผล หรือผลชิ้นเนื้อจากการสุ่มตัดชิ้นเนื้อเป็น endometrial hyperplasia ซึ่งจำเป็นต้องประเมินว่ามีพยาธิสภาพของเยื่อบุโพรงมดลูกที่ตำแหน่งอื่นรุนแรงกว่าหรือไม่
  • มีเลือดออกจากโพรงมดลูกซ้ำหรือไม่หยุด หลังให้การรักษาด้วยยา หรือตรวจติดตาม
  • มีภาวะปากมดลูกตีบตัน (cervical stenosis) ไม่สามารถทำการสุ่มตัดชิ้นเนื้อจากโพรงมดลูกได้

 การใช้กล้องส่องโพรงมดลูก (Hysteroscopy)

เป็นการตรวจหารอยโรคโดยการมองในโพรงมดลูกโดยตรง ทำให้สามารถตัดชิ้นเนื้อในรอยโรคที่สงสัยได้ หลายการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การส่องกล้องในโพรงมดลูกช่วยให้สามารถตรวจหารอยโรคเฉพาะที่ได้ดีกว่า ซึ่งในบางครั้งอาจพลาดจากการขูดมดลูกได้(9)

แต่อย่างไรก็ตามการส่องกล้องในโพรงมดลูก ต้องใช้ทักษะในการทำหัตถการ มีค่าใช้จ่ายที่สูง และยังเป็นวิธีที่รุนแรงมากกว่าวิธีอื่นๆที่กล่าวมา จึงแนะนำให้เลือกใช้ในรายที่มีรอยโรคที่ตรวจได้จากคลื่นความเสี่ยงสูง หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

 Saline infusion sonography (SIS)

เป็นเทคนิคการถ่ายภาพโดยใส่สารน้ำสเตอไรด์ ในโพรงมดลูก และทำการตรวจด้วยคลื่นความถี่สูงทางช่องคลอด (TVUS) ซึ่งทำให้เห็นรูปร่างของโพรงมดลูก และตรวจหารอยโรคเล็กๆ เช่น ติ่งเนื้อ(polyp) หรือ submucous myoma ในโพรงมดลูกได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งรอยโรคเล็กๆนี้ อาจตรวจไม่พบจากการทำ TVUS อย่างเดียว หรือการขูดมดลูก แต่ข้อเสียของวิธีนี้ คือไม่ได้ผลชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา ทำให้ต้องทำร่วมกับวิธีอื่นๆ

แผนภูมที่ 1แนวทางการรักษาภาวะเลือดออกจากโพรงมดลูกหลังวัยหมดระดู ตามคำแนะนำของราชวิลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย (RTCOG)

Postmeno1

 แนวทางการรักษา (Mannagement)

ภาวะเลือดออกในหญิงวัยหมดระดู ส่วนใหญ่จะมีปริมาณไม่มาก และสามารถหายได้เอง วัตถุประสงค์หลัก คือสามารถแยกภาวะมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก และภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกก่อนการเป็นมะเร็งออกไปให้ได้ นอกเหนือจากนี้การรักษามักไม่จำเป็น ยกเว้นในรายที่มีภาวะเลือกออกซ้ำ หรือเลือดออกไม่หยุด จำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม

ในที่นี้จะขอกล่าวถึงแนวทางการรักษาภาวะเลือดออกหลังหมดระดู ในสาเหตุที่พบบ่อยตามคำแนะนำของราชวิลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย (RTCOG) ดังนี้

o ติ่งเนื้อที่โพรงมดลูก (Endometrial polyp)

Postmeno2

o ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติ (Endometrial hyperplasia)

Postmeno3

o ภาวะเลือดออกจากโพรงมดลูกจากการใช้ฮอร์โมน (Hormone therapy)

Postmeno4

o ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกที่ฝ่อแล้ว (Atropic endometritis)

  • ให้ติดตามการรักษา หรือให้ฮอร์โมนเอสโตรเจน หากใช้เป็นเวลานานควรให้โปรเจสตินร่วมด้วย

 สรุป

  • ภาวะเลือดออกหลังวัยหมดระดู ส่วนใหญ่จะอ้างถึงเลือดที่ออกจากโพรงมดลูก
  • สาเหตุที่พบบ่อยของภาวะเลือดออกหลังวัยหมดระดู คือภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกฝ่อบาง และติ่งเนื้อในโพรงมดลูก และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกพบได้ประมาณร้อยละ 10 ของสตรีที่มีเลือดออกหลังวัยหมดระดูทั้งหมด
  • เป้าหมายสำคัญในการดูแลภาวะเลือดออกหลังวัยหมดระดูคือ จำเป็นต้องแยกภาวะมะเร็งของเยื่อบุโพรงมดลูกออกให้ได้ โดยที่การสืบค้นเบื้องต้นสามารถทำได้ทั้ง การสุ่มตรวจชิ้นเนื้อจากโพรงมดลูก หรือ การการตรวจด้วยคลื่นความถี่สูงทางช่องคลอด
  • ภาวะเลือดออกในหญิงวัยหมดระดู ส่วนใหญ่จะมีปริมาณไม่มาก และสามารถหายได้เอง ถ้าแยกภาวะมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกออกไปได้แล้ว ส่วนใหญ่การรักษามักไม่จำเป็น แต่ถ้ามีเลือดออกซ้ำ หรือเลือดออกไม่หยุด ควรได้รับการสืบค้นเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

  1.  Moodley M, Roberts C. Clinical pathway for the evaluation of postmenopausal bleeding with an emphasis on endometrial cancer detection. J Obstet Gynaecol 2004; 24:736.
  2. Astrup K, Olivarius Nde F. Frequency of spontaneously occurring postmenopausal bleeding in the general population. Acta Obstet Gynecol Scand 2004; 83:203.
  3. Prendergast EN, Misch E, Chou YA, et al. Insufficient endometrial biopsy results in women with abnormal uterine bleeding. Obstet Gynecol 2014; 123 Suppl 1:180S.
  4. Unfer V, Casini ML, Costabile L, et al. Endometrial effects of long­term treatment with phytoestrogens: a randomized, double­blind, placebo­controlled study. Fertil Steril 2004; 82:145.
  5. Lurian JR. Uterine cancer. In: Berek JS, editor. Berek & Novak’s Gynecology 14th ed. Baltimore: Lippincott Williams & Wilkins, 2007;1343-401
  6. Smith­Bindman R, Kerlikowske K, Feldstein VA, et al. Endovaginal ultrasound to exclude endometrial cancer and other endometrial abnormalities. JAMA 1998; 280:1510.
  7. The role of transvaginal ultrasonography in the evaluation of postmenopausal bleeding. ACOG Committee Opinion No. 440. American College of Obstetricians and Gynecologists. Obstet Gynecol 2009; 114:409.
  8. Dijkhuizen FP, Mol BW, Brölmann HA, Heintz AP. The accuracy of endometrial sampling in the diagnosis of patients with endometrial carcinoma and hyperplasia: a meta­analysis. Cancer 2000; 89:1765.
  9. Epstein E, Ramirez A, Skoog L, Valentin L. Dilatation and curettage fails to detect most focal lesions in the uterine cavity in women with postmenopausal bleeding. Acta Obstet Gynecol Scand 2001; 80:1131.
Read More

Primary Peritoneal Carcinoma

มะเร็งปฐมภูมิของเยื่อบุช่องท้อง (Primary Peritoneal Carcinoma)

น.พ. พิชญ์ จันทร์ดียิ่ง


บทนำ

            มะเร็งปฐมภูมิของเยื่อบุช่องท้อง (primary peritoneal carcinoma) เป็นโรคมะเร็งของเยื่อบุช่องท้องที่ถูกรายงานครั้งแรกโดย Swerdlow ในปี ค.ศ. 1959 ขณะนั้นได้เรียกโรคนี้ว่า Mesothelioma of the pelvic peritoneum ลักษณะทางพยาธิวิทยาและอาการลักษณะเดียวกับมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว (Epithelial ovarian cancer)1,2,3,4,7,8 แต่หลังจากมีการรวบรวมวิทยานิพนธ์ภายหลังทำให้ทราบว่าไม่ใช่โรคเดียวกัน2,9   โรคมะเร็งปฐมภูมิของ เยื่อบุช่องท้องถูกเรียกที่แตกต่างกันไป เช่น papillary carcinoma of peritoneum ,serous surface papillary carcinoma ,primary peritoneal papillary serous adenocarcinoma ,primary peritoneal carcinoma ,extraovarian papillary serous carcinoma(EPSPC)   ,multiple focal extraovarian carcinoma ,peritoneal mesothelioma ฯลฯ3, 10,11 ลักษณะของมะเร็งชนิดนี้พบก้อนเนื้องอก(Multi-focal tumor)บริเวณเยื่อบุช่องท้องแล้วจะกระจายไปทั่วเยื่อบุช่องท้อง มักพบการลุกลาม โอเมนตัม (omentum) ร่วมด้วย4 โดยอาจพบลุกลามเพียงเล็กน้อย หรือ ไม่พบการลุกลามบริเวณรังไข่เลย (small ovary syndrome)9 บทความนี้ได้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับมะเร็งชนิดนี้โดยรวบรวมมาจากรายงานทางการแพทย์ที่มีผู้เรียบเรียงไว้

อุบัติการณ์

มะเร็งปฐมภูมิของเยื่อบุช่องท้อง พบได้น้อย อัตราอุบัติการณ์เกิดปรับตามอายุ (Age-adjusted incidence rate) เท่ากับ 4.62 คนต่อประชากร 1 ล้านคน12  

จากการศึกษาของ Eltabbakh และคณะ พบว่า 10% ของผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว เมื่อถูกนำมาทำการจัดแบ่งใหม่จะกลายเป็น มะเร็งปฐมภูมิของเยื่อบุช่องท้อง3, 13   บางรายงานพบว่าเกิดตามหลังการผ่าตัดรังไข่ทั้งสองข้างออกทั้งในกลุ่มที่เป็นเนื้องอกไม่ใช่มะเร็ง (benign disease) หรือ จากการผ่าตัดเพื่อป้องกัน (prophylaxis oophorectomy) 2, 5, 9

                สำหรับอุบัติการณ์ของหน่วยมะเร็งวิทยานรีเวช ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบไม่มาก โดยบางปีพบเพียง 1-2 ราย และพบสูงสุดเพียง 11 รายต่อปี ดังตารางที่ 1

ปี ค.ศ.

1999

2000

2002

2003

2004

2005

2006

2007

2008

2009

2011

รวม

จำนวน

2

1

2

7

3

4

6

11

7

8

5

51

ตารางที่ 1 : ตารางแสดงจำนวนผู้ป่วยมะเร็งปฐมภูมิของเยื่อบุช่องท้อง โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

พยาธิกำเนิด

            ยังไม่ทราบกลไกการเกิดที่แน่ชัด มีทฤษฎีที่ใช้อธิบาย 2 ทฤษฎี ได้แก่

  • ทฤษฎีที่ 1 เชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นเซลล์มะเร็ง (malignant transformation) ของ embryonic germ cell ที่หลงเหลืออยู่ใน gonadal embryonic pathway ของเยื่อบุช่องท้อง
  • ทฤษฎีที่ 2 เชื่อว่า เพราะเยื่อบุช่องท้อง และ รังไข่เจริญจากจุดกำเนิดเดียวกัน แล้ว ได้รับการกระตุ้นจากสารก่อมะเร็งทำให้เยื่อบุผนังช่องท้อง และ รังไข่เปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นมะเร็ง ได้เหมือนกัน จึงมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันระหว่างมะเร็ง 2 ชนิด2, 4, 7
  • ทฤษฎีที่ 3 เชื่อว่า ต้นกำเนิดของเซลล์มะเร็งมาจากท่อนำไข่ส่วนปลาย และมีการหลุดของเซลล์มะเร็งออกมาทาง fimbria ไปยังเยื่อบุผนังของช่องท้อง รังไข่ และมีการเติบโตกลายเป็นมะเร็งในที่สุด

ปัจจัยเสี่ยง

                มีหลายอย่างดังต่อไปนี้

  • อายุ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ5 มีการศึกษาในปี ค.ศ. 1998 ของ Eltabbakh และคณะ พบว่า ผู้ป่วยมะเร็งปฐมภูมิของเยื่อบุช่องท้องมีอายุที่มากกว่าผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิวอย่างมีนัยสำคัญ โดยพบอายุเฉลี่ย 63.8 และ 55.0 ปี ตามลำดับ และยังพบว่าอายุที่มีประจำเดือนครั้งแรกจะมากกว่า คือ อายุ13.3 และ 12.8 ปี ตามลำดับ2,13,16 อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยมะเร็งปฐมภูมิของเยื่อบุช่องท้อง ประมาณ 57-68 ปี8,13
  • พันธุกรรม มะเร็งปฐมภูมิเยื่อบุช่องท้องบางส่วนมีความสัมพันธ์กับ ความผิดปกติของยีน โดยพบว่าผู้ป่วยที่มี BRCA 1 ,2 mutation จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งมากขึ้น ในปี ค.ศ. 2003 Douglas และคณะ ได้ศึกษาเกี่ยวกับอุบัติการณ์ของการเกิดมะเร็งท่อนำไข่ และมะเร็งปฐมภูมิของเยื่อบุช่องท้องใน Ashkenazi Jews จำนวน 51 คน พบว่า 17% (5 ใน 29) ในมะเร็งท่อนำไข่ และ 41% (9 ใน 22) ในมะเร็งปฐมภูมิของเยื่อบุช่องท้องมี BRCA mutation และ พบว่า อายุเฉลี่ยที่ถูกวินิจฉัยโรคมะเร็งเร็วกว่าผู้ป่วยทั่วไป ประมาณ 10 ปี15  บางรายงานพบว่า สตรีผู้ที่มี BRCA 1 mutation จะมีอายุในการเริ่มเป็นมะเร็งเร็วกว่า BRCA 2 mutation ซึ่งเท่ากับคนทั่วไป   นอกจากนี้มีการศึกษาของ Bolton และคณะ ในปี ค.ศ. 2012 ศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิวที่มี BRCA 1,2 mutation พบว่า อัตราการอยู่รอด 5 ปี (5 year overall survival ) ในผู้ป่วย กลุ่ม BRCA 1 , 2 mutation และ non BRCA mutation เป็น 44% ,53% และ 36% ตามลำดับ14 นอกจากนี้ มีการศึกษาของ Finch และ คณะ ในปี ค.ศ. 2006 ได้ทำการศึกษาอุบัติการณ์เกิดมะเร็งรังไข่ มะเร็งท่อนำไข่ มะเร็งปฐมภูมิของเยื่อบุช่องท้องในผู้ป่วยที่มี BRCA 1 หรือ 2 mutation จำนวน 1828 คน พบว่าในกลุ่มที่ได้ทำตัดมดลูกและท่อนำไข่ (salpingo-oophorectomy) ป้องกันการเกิด ได้ถึง 80% โดยประมาณความชุกในการเกิดสะสมของมะเร็งปฐมภูมิของเยื่อบุช่องท้อง 4.3%ใน 20 ปี หลังจากทำการตัดรังไข่6

อาการและอาการแสดง

            อาการแสดงของผู้ป่วยคล้ายคลึงกับผู้ป่วยมะเร็งรังไข่แยกออกจากกันได้ยาก ส่วนใหญ่มาด้วยอาการอืดแน่นท้อง ท้องโตขึ้น จากน้ำในท้อง(ascites)1,2,4,5,7,15   สามารถพบลักษณะลำไส้อุดตันได้ หากอาการอืดแน่นท้องมากขึ้นจะพบอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย นอกจากนี้ยังพบอาการ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย น้ำหนักลด อาการของระบบทางเดินปัสสาวะ ท้องผูก เป็นต้น 3

                เนื่องจากในระยะเริ่มต้นของโรคมักมีอาการเพียงเล็กน้อย ส่งผลให้การวินิจฉัยผู้ป่วยมะเร็งปฐมภูมิของเยื่อบุช่องท้องส่วนใหญ่ มักจะอยู่ในระยะลุกลาม(ระยะ 3) หรือ แพร่กระจาย (ระยะ4) แล้วกว่าที่มีอาการที่เด่นชัด ส่งผลให้การรักษาได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร5, 11

                มะเร็งปฐมภูมิของเยื่อบุช่องท้องส่วนใหญ่มีการกระจายตามเยื่อบุช่องท้อง อย่างไรก็ตามมีการรายงานว่ามีการกระจายผ่านทางระบบหลอดน้ำเหลือง และ กระแสเลือดได้ อวัยวะที่มีการกระจาย ได้แก่ ตับ ปอด และ สมอง เป็นต้น2, 5, 11

 

การวินิจฉัย

                การวินิจฉัยมักจะได้ผลที่แน่ชัด ภายหลังการประเมินการผ่าตัด และ ผลการตรวจทางพยาธิวิทยา2, 5  ปัจจุบันใช้เกณฑ์การวินิจฉัยของ Gynecologic Oncology Group (GOG) ดังนี้

  1. 1.ลักษณะของรังไข่ทั้ง 2 ข้างต้องมีขนาดปกติ ( ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่ยาวที่สุด < 4 ซม.) หรือ หากขนาดโตขึ้นต้องเป็นจากภาวะเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็ง( benign condition )
  2. 2.พบการลุมลามบริเวณส่วนที่ไมใช่รังไข่ (extraovarian sites) มากกว่าบริเวณผิวของรังไข่แต่ละข้าง
  3. 3.ลักษณะจากกล้องจุลทรรศน์ ของรังไข่ต้องมีข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้

3.1       ไม่พบลักษณะใดเลย (nonexistent)

3.2       พบความผิดปกติเฉพาะบริเวณเยื่อบุผิว โดยไม่พบการลุกลามเข้าส่วน cortical

3.3       พบการลุกลามบริเวณผิวของรังไข่ และ ชั้นสโตรมา (stroma) ที่อยู่ด้านล่าง โดยขนาดของก้อนมะเร็งน้อยกว่า 5 12ร—’> 5 มม.

  1. 4.ลักษณะทาง histology และ cytology ส่วนใหญ่เป็น serous type ที่คล้ายคลึง หรือ เหมือนกับ serous papillary adenocarcinoma ของมะเร็งรังไข่ เกรดใดก็ได้

 

การตรวจเพิ่มเติมทางรังสีวิทยา เช่น CT-SCAN หรือ MRI ของช่องท้อง จะพบลักษณะของเยื่อบุช่องท้องที่มีการหนาตัวร่วมกับมีก้อนขนาดเล็กกระจายไปทั่วเยื่อบุช่องและอวัยวะข้างเคียง พบน้ำในช่องท้อง (ascites) นอกจากนี้อาจพบผลึกแคลเซี่ยมที่เยื่อบุช่องท้องและโอเมนตัมร่วมด้วย รังไข่มีขนาดปกติมักโตไม่เกิน 4 ซม.7, 10, 11

 

 

รูปภาพ 1: ภาพแสดง มดลูก รังไข่ทั้งสองข้าง โอเมนตัม ที่ถูกตัด โดยแสดงให้เห็นลักษณะรังไข่ที่ปกติ ส่วนโอเมนตัวถูกแทนที่ด้วยก้อนมะเร็ง2

 

รูปภาพ 2: ภาพแสดงลักษณะของ papillary serous carcinoma ที่ต่อกับ รังไข่ที่ปกติ (HE, ×100) 2

 

รูปภาพ 3: ภาพแสดงก้อนเนื้อมะเร็งลุกลามเข้าโอเมนตัม มีลักษณะผสมระหว่าง papillary และ Solid area (HE, ×100) 2

 

รูปภาพ 4: ภาพแสดง psammoma bodies ขนาดใหญ่ (HE, ×100) 2

พยาธิวิทยา

ส่วนใหญ่จะพบลักษณะเซลล์ เป็น serous type 40-60% เป็น poorly differentiate11 แต่มีรายงานการพบเซลล์ชนิดอื่น เช่น clear cell, endometrioid, mucinous, mixed epithelial carcinoma, Brenner tumor และ mixed mullerian mesodermal tumor เป็นต้น1, 2, 4, 7, 8

การส่งตรวจทางพยาธิวิทยาอาจไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างมะเร็งปฐมภูมิของผนังช่องท้อง และมะเร็งรังไข่ได้ โดยพบว่ามะเร็งทั้งสองชนิดสามารถติดสีจากการย้อมด้วย Epithelial membrane antigen (EMA), estrogen receptor (ER), cytokeratin 7 (CK 7), Wilm’s tumour suppresso gene (WT 1), and cancer antigen 125 (CA 125) ไม่ติดสีจากการย้อม cytokeratin 20 (CK 20), progesterone receptor (PR), Calretinin, carcinoembryonic antigen (CEA), gross cystic disease Xuid protein (BRST-2) and thyroid transcription factor 1 (TTF1)2, 3

การวินิจฉัยแยกโรค2

            เนื่องจากรอยโรคบริเวณเยื่อบุผนังช่องท้องเกิดได้จากหลายสาเหตุ จึงจำเป็นต้องวินิจฉัยเพื่อแยกโรคที่มีความคล้ายคลึงออกจากกัน ดังนี้

  1. 1.Malignant mesothelioma สัมพันธ์กับการสัมผัส asbestos(83%) เป็นระยะเวลานาน มักพบในเพศชาย(63%) ลักษณะทางพยาธิวิทยาพบส่วนประกอบของ spindle cell และ psammoma bodies ได้เล็กน้อย2,16 ย้อมติดสี calrethin และ cytokeratin 5/6 ซึ่งพบได้ยากมากในมะเร็งปฐมภูมิของเยื่อบุช่องท้อง9
  2. 2.Metastatic peritoneal carcinomatosis สามารถแยกจากมะเร็งปฐมภูมิของเยื่อบุช่องท้องได้จากการหา primary tumor เช่น รังไข่ ท่อน้ำไข่ เยื่อบุโพรงมดลูก เป็นต้น
  3. 3.Psammocarcinoma of the peritoneum สามารถแยกโดยการตรวจทางพยาธิวิทยาจะพบ psammoma bodies เป็นสัดส่วนปริมาณมาก และผลทาง cytology มีลักษณะ absent or moderate nuclear atypia และ mitosis ค่อนข้างน้อย
  4. 4.Atypical endosalpingiosis เป็น low malignancy potential tumor of the peritoneum มักพบในผู้หญิงอายุน้อย ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ ส่วนน้อยมักมาด้วยอาการปวดท้อง ลักษณะทางพยาธิวิทยา เป็น well-differntiated , pseudostratified columnar cell มี motisis ค่อนข้างน้อย เชื่อว่าอาจเป็น precursor ของ มะเร็งปฐมภูมิของเยื่อบุช่องได้

การแบ่งระยะโรค

            ปัจจุบันยังไม่มีระบบการแบ่งระยะของโรคที่จำเพาะสำหรับมะเร็งปฐมภูมิของเยื่อบุช่องท้อง แต่เนื่องจากลักษณะการดำเนินของโรคและลักษณะทางพยาธิวิทยามีความคล้ายคลึงกับมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว จึงใช้การแบ่งระยะโรคของมะเร็งรังไข่ของ International Federation of Gynecology and Obstetrics (FIGO) ดังนี้

Stage I:   ก้อนมะเร็งอยู่เฉพาะที่รังไข่

IA   :   ก้อนมะเร็งอยู่ที่รังไข่ 1 ข้าง โดยที่ไม่แตกออกมาบริเวณผิวด้านนอก หรือ มีการแตกของก้อน และ ไม่มีน้ำในช่องท้อง

IB   :   ก้อนมะเร็งอยู่ที่รังไข่ 2 ข้าง โดยที่ไม่แตกออกมาบริเวณผิวด้านนอก หรือ มีการแตกของก้อน และ ไม่มีน้ำในช่องท้อง

IC   :   ก้อนมะเร็งอยู่ที่รังไข่ 1 หรือ 2 ข้างก็ได้ แต่ต้องมีก้อนมะเร็งแตกออกมาบริเวณผิวด้านนอก หรือ มีการแตกของก้อน หรือ พบเซลล์มะเร็งในน้ำในช่องท้อง หรือ ในน้ำที่ล้างออกมาจากช่องท้อง

Stage II:   ก้อนมะเร็งอยู่ที่รังไข่ 1 หรือ 2 ข้าง และมีการกระจายอยู่บริเวณอุ้งเชิงกราน

IIA   :   ก้อนมะเร็งกระจายไปที่มดลูก และ/หรือ ท่อนำไข่

IIB   :   ก้อนมะเร็งกระจายไปบริเวณอวัยวะอื่นๆในอุ้งเชิงกราน

IIC   :   ก้อนมะเร็งกระจายไปที่มดลูก หรือ ท่อนำไข่ หรือ อวัยะวะอื่นๆในอุ้งเชิงกราน แต่ต้องมีก้อนมะเร็งแตกออกมาบริเวณผิวด้านนอก หรือ มีการแตกของก้อน หรือ พบเซลล์มะเร็งในน้ำในช่องท้อง หรือ ในน้ำที่ล้างออกมาจากช่องท้อง

Stage III:   ก้อนมะเร็งอยู่ที่รังไข่ 1 หรือ 2 ข้าง และมีการกระจายไปบริเวณเยื่อบุช่องท้องนอกอุ้งเชิงกราน และ/หรือ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณในช่องท้อง หรือ ขาหนีบ พบการกระจายไปตับบริเวณผิวด้านนอก (superficial liver) ก้อนมะเร็งถูกจำกัดอยู่ในอุ้งเชิงกราน แต่ลักษณะทางจากการย้อมตรวจชิ้นเนื้อ (histology) พบเซลล์มะเร็งกระจายไปบริเวณลำไส้เล็ก หรือ โอเมนตัม

IIIA   :   ก้อนมะเร็งถูกจำกัดอยู่ในอุ้งเชิงกรานร่วมกับไม่พบการกระจายไปต่อมน้ำเหลือง แต่ ลักษณะจากการย้อมตรวจชิ้นเนื้อ (histology) พบว่า มีการกระจายไปเยื่อบุผนังช่องท้องนอกอุ้งเชิงกรานที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า

IIIB   :   ก้อนมะเร็งอยู่ที่รังไข่ 1 หรือ 2 ข้าง ร่วมกับ ลักษณะจากการย้อมตรวจชิ้นเนื้อ (histology) ยืนยันว่ามีการกระจายไปเยื่อบุผนังช่องท้องนอกอุ้งเชิงกราน โดยความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกินตำแหน่งละ 2 เซนติเมตร

IIIC   :   ก้อนมะเร็งอยู่ที่รังไข่ 1 หรือ 2 ข้าง ร่วมกับ ลักษณะจากการย้อมตรวจชิ้นเนื้อยืนยันว่ามีการกระจายไปเยื่อบุผนังช่องท้องนอกอุ้งเชิงกราน โดยความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางเกินตำแหน่งละ 2 เซนติเมตร และ/หรือ พบการกระจายไปต่อมน้ำเหลือง หรือ ขาหนีบ หรือ ทั้ง 2 ตำแหน่ง

Stage IV:   ก้อนอยู่บริเวณรังไข่ 1 หรือ 2 ข้าง ร่วมกับมีการกระจายไปอวัยวะที่ห่างไกล   ถ้าหากมีน้ำในเยื่อหุ้มปอด (pleural effusion) ต้องมีการตรวจพบเซลล์มะเร็ง หรือ มีการกระจายไปยังเนื้อตับ (liver parenchyma)

การรักษา

การรักษามะเร็งปฐมภูมิของเยื่อบุช่องท้องมีหลายวิธี ประกอบด้วย

  1. 1.

การผ่าตัดมีความสำคัญทั้งในด้านการวินิจฉัย และ เป็นการรักษาหลักของมะเร็งปฐมภูมิของเยื่อบุช่องท้อง การผ่าตัดเพื่อรอยโรคออกที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าให้มากที่สุดถือเป็นการจุดประสงค์ที่สำคัญอันดับแรกของการผ่าตัด ในปี ค.ศ.1975 Griffiths และคณะ ได้แสดงว่าขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ยาวที่สุดของก้อนมะเร็งหลังทำการผ่าตัดสัมพันธ์กับอัตราการอยู่รอดของผู้ป่วย นอกจากนี้ยังมีการศึกษาอีกหลายการวิจัยที่สนับสนุนเหตุผลนี้ GOG ได้พิจารณาว่า ขนาดก้อนมะเร็ง เส้นผ่านศูนย์กลางที่ยาวที่สุด น้อยกว่า 1 ซม. ถือว่าเป็น การผ่าตัดที่เหมาะสม (optimal surgery) และจะส่งเพิ่มประสิทธิภาพในการักษา1,5,8,13,17

ขั้นตอนการผ่าตัดมะเร็งที่ครบถ้วน มีดังนี้

  1. 1ลงแผลผ่าตัดแนวกลาง (midline skin incision)
  2. 2เก็บตัวอย่างน้ำในช่องท้อง(peritoneal washing)
  3. 3การตรวจดู และ คลำ เยื่อบุผนังช่องท้อง กะบังลม ลำไส้ กระเพาะอาหาร และ โอเมนตัม (visual and papation at peritoneum , diaphragm ,mesentery of bowel ,stromach, omentum)
  4. 4ตัดมดลูก ท่อนำไข่และรังไข่ ทั้ง 2 ข้าง (hysterectomy ,bilateral salpingo-oophorectomy)
  5. 5ตัดโอเมนตัม (omentectomy)
  6. 6ตัดรอยโรคให้เหลือน้อยที่สุด (maximum tumor dissection)
  7. 7เลาะต่อมน้ำเหลืองอุ้งเชิงกราน และ รอบเส้นเลือดแดงใหญ่ (pelvic and para aortic lymphadenectomy)

ปัจจัยที่มีผลขัดขวางการผ่าตัด ได้แก่ การแพร่กระจายของมะเร็งไปตามผิวของเยื่อบุช่องท้อง, ต่อมน้ำเหลืองรอบเส้นเลือดเอออต้าร์ , ตับ , เยื่อบางส่วนที่หุ้มลำไส้เล็ก(mesentary) และ กระเพาะอาหาร6

หัตถการบางชนิด ได้แก่ radical pelvic dissection, bowel resection, diaphragm stripping, splenectomy, partial hepatectomy ,cholecystectomy ,partial gastrectomy ,partial cystectomy ,ureteroneocystostomy และ distal pancreatectomy18 เป็นต้น ถูกพิจารณาในการทำมากขึ้น เพื่อให้หลังการผ่าตัดเหลือขนาดก้อนมะเร็งที่น้อยที่สุด

การผ่าตัดเพื่อลดจำนวนก้อนมะเร็งตามด้วยการให้ยาเคมีบำบัด เป็นการรักษาในเบื้องต้นของผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว ระยะ 3,4 แต่หากว่าผู้ป่วยมีข้อบ่งชี้อื่นๆ เช่น ตำแหน่งของก้อนมะเร็งอยู่ในตำแหน่งที่ผ่าตัดลำบาก มีการแพร่กระจายของโรคไปมาก หรือ โรคประจำตัวหลายโรค เป็นต้น อาจพิจารณาให้ยาเคมีบำบัดก่อน (neoadjuvant chemotherapy) 18

  1. 2.ยาเคมีบำบัด

เนื่องจากความคล้ายคลึงกันของมะเร็งปฐมภูมิของเยื่อบุช่องท้อง และมะเร็งรังไข่ ส่งผลให้การเลือกใช้ยาเคมีบำบัดเหมือนการเลือกใช้เพื่อรักษามะเร็งรังไข่   โดยส่วนใหญ่มักจะมีบทบาทเป็นการรักษาเพิ่มเติมภายหลังการผ่าตัด (adjuvant chemotherapy)

เริ่มต้น ในปี ค.ศ.1976 พบว่า มาตรฐานการรักษาของยาเคมีบำบัดในการรักษามะเร็งรังไข่ คือ melphalan (ankylating agent) ได้มีงานวิจัยศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง melphalan กับ combination ระหว่าง cyclophosphamide ร่วมกับ doxorubicin พบว่าการตอบสนองต่อการรักษาเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มหลัง   และมีอีกงานวิจัยศึกษาการรักษาในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ระยะที่ 3 และ 4 โดยใช้ combination ระหว่าง cyclophosphamide ร่วมกับ doxorubicin โดยการเพิ่ม cisplatin เข้าไป พบว่า กลุ่มที่ได้ platinum-based combination เพิ่ม overall survival rate (OS) ,complete response rate และ progression free survival (PFS)

ในปี ค.ศ. 2003 มีการศึกษา phase 2 ของ GOG เพื่อเปรียบเทียบอัตราการตอบสนองหลังจากได้ cisplatin และcyclophosphamide (ยาเคมีบำบัดมาตรฐานสำหรับการรักษามะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิวในขณะนั้น) ระหว่างมะเร็งปฐมภูมิของเยื่อบุช่องท้อง กับ มะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว พบว่าอัตราการตอบสนอง ร้อยละ 65 และ 59 ตามลำดับ ซึ่งถือว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างสองกลุ่ม19

                ในปี ค.ศ. 2003 มีการศึกษาของ Ozols และ คณะใน Phase III โดยเปรียบเทียบในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิวระยะที่3 ระหว่างกลุ่มที่ได้ carboplatin ร่วมกับ paclitaxel และ cisplatin ร่วมกับ paclitaxel พบว่าการให้ยา carboplatin ได้ผลการรักษาและอัตราการอยู่รอด เทียบเคียงกับ cisplatin ซึ่งเป็นยาในกลุ่มเดียวกัน แต่พบผลข้างเคียงน้อยกว่า 20

ในปี ค.ศ. 2004 มีการศึกษา ของ Vasey และคณะ ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการให้ carboplatin ร่วมกับ docetaxel ให้ผลการรักษาเทียบเท่า carboplatin ร่วมกับ paclitaxel โดยการให้ docetaxel พบว่าเกิด neuropathy น้อยกว่า แต่เกิด neutropenia (grade 3,4) และ ภาวะแทรกซ้อนจากเม็ดเลือดขาวต่ำมากกว่า21 นอกนี้พบว่าการให้ยาเคมีบำบัดที่มากกว่า 6 รอบไม่ได้เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา แต่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อความเป็นพิษจากยาเคมีที่สะสมมากขึ้น

                ในปี ค.ศ. 2006 ได้มีการรวบรวมงานวิจัย พบว่า การให้ยากลุ่ม platinum-based combination with taxane จะได้ผลที่ดีกว่าการให้ยาเคมีบำบัดกลุ่ม platinum ชนิดเดียว หรือ ร่วมกับกลุ่ม Non-taxane22

มีงานวิจัยที่พยายามจะเพิ่มยาเคมีบำบัดเช่น gemcitabine , epirubicin , topotecan , interferon gamma เป็นต้น เพื่อเป็นยาเคมีบำบัดตัวที่ 3 เข้าไปใน carboplatin/paclitaxel ซึ่งไม่พบอัตราการรอดชีวิตที่เพิ่มขึ้น23,24,25,26

ยาเคมีบำบัดในปัจจุบัน คือ platinum-based อาจร่วมกับ paclitaxel 4-6 ครั้ง ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานสำหรับการรักษามะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว ซึ่งสามารถนำมาใช้กับมะเร็งปฐมภูมิของเยื่อบุช่องท้องได้ ในปี ค.ศ. 2006 A. Ayhan และคณะ พบว่า มะเร็งเยื่อบุช่องท้องและมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว ที่ทำการรักษาด้วย paclitaxel ร่วมกับ platinum-based combination พบ ระยะเวลาการอยู่รอดเฉลี่ย 30 และ 28 เดือนตามลำดับ และ อัตราการอยู่รอดใน3 ปี เป็น 28 % และ 31 % ตามลำดับ7,27    

วิธีการให้ยาเคมีบำบัดมีหลายวิธี เช่น การให้ยาเคมีบำบัดผ่านทางหลอดเลือดดำ(intravenous route) หรือ การให้ร่วมกันระหว่างทางหลอดเลือดดำและผ่านทางเยื่อบุผนังช่องท้อง (intraperitoneal route) การพิจารณาเลือกวิธีการให้ยานั้น ขึ้นกับปริมาณของก้อนมะเร็งหลงเหลือภายหลังจากการผ่าตัด กล่าวคือ การให้ยาแบบร่วมกันทั้งสองทาง จะถูกนำมาใช้เฉพาะกรณีที่สามารถผ่าตัดแล้วเหลือก้อนมะเร็งไม่เกิน 1 เซนติเมตร ( optimal surgery )ได้ หากว่าเหลือก้อนมะเร็งขนาดใหญ่กว่า 1ซม. จะไม่นิยมให้ผ่านทางผนังเยื่อบุช่องท้องเนื่องจาก การถูกจำกัดเรื่องของยาที่จะเข้าไปในก้อนมะเร็ง ซึ่งจะทำให้พบผลข้างเคียงมากกว่าผลประโยชน์ที่ได้รับจากยาเคมีบำบัด

วิธีการบริหารยาแบบเพิ่มความเข้มข้น(dose dense regimen) Japanese Gynecologic Oncology Group phase III ได้ทำการศึกษาในผู้ป่วยจำนวน 631 คน เปรียบเทียบระหว่างการได้รับ dose-dense regimen (carboplatin AUC=6 ในวันแรก และ paclitaxel (80 mg/m2) วันที่ 1, 8, 15) ทุก 3 สัปดาห์ จำนวน 6 รอบ พบว่า มีการเพิ่มขึ้นของ median PFS และ OS ใน 3 ปี แต่เนื่องจากการได้รับยาเคมีบำบัดในขนาดสูงติดต่อกันโดยไม่มีช่วงหยุดพักทำให้พบปัญหาผลข้างเคียงของยา 28 ส่งผลให้การรับยาเคมีไม่ต่อเนื่อง จึงไม่ได้ถูกนำมาใช้แทน standard regimen

  1. 3.รังสีรักษา11

การรักษาโดยใช้รังสีรักษามักพิจารณาใช้ในกรณีที่มีการกลับเป็นซ้ำในตำแหน่งที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ไม่ค่อยนิยมใช้เป็นการรักษาเริ่มแรก

  1. 4.Targeted therapy17

4.1     Angiogenenic pathway

4.1.1            VEGF ligand inhibitors

  • Bevacizumab (mAb ต่อ VEGF-A )  

GOG ได้ศึกษาใน phase II เกี่ยวกับ bevacizumab ในผู้ป่วย persistent และ recurrent ovarian cancer พบว่า มีการตอบสนอง 21%1

GOG phase III พบว่า การให้ bevacizumab ร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัดแบบรวม (paclitaxel และ carboplatin) เป็น first-line therapy ในผู้ป่วยที่อยู่ในระยะลุกลาม และ แพร่กระจาย

GOG 218: ได้ทำการศึกษาผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว ระยะที่ 3-4, มะเร็งท่อนำไข่ และ มะเร็งปฐมภูมิของเยื่อบุช่องท้อง โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่ม1: CP [carboplatin(AUC=6) + paclitaxel(175 mg/m2)] รอบที่ 1-6 + placebo รอบที่ 2-22  ทุก 3 สัปดาห์

กลุ่ม2: CP รอบที่ 1-6 + concurrent bevacizumab(15 mg/kg) รอบที่ 2-6 + placebo รอบที่ 7-22 ทุก 3 สัปดาห์

กลุ่ม3: CP รอบที่ 1-6 + concurrent bevacizumab (15 mg/kg) รอบที่ 2-6 + maintenance bevacizumab รอบที่ 7-22

พบว่า ผู้ป่วยในกลุ่มที่ 3 เพิ่ม median PFS 3.8 เดือน (Hazrad ratio = 0.71)

ICON7: ได้ทำการศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิวระยะ 1-2a เกรด 3 หรือ เป็น clear cell, มะเร็งรังไข่ระยะ 2b-4, มะเร็งมะเร็งปฐมภูมิของเยื่อบุช่องท้อง แบ่ง 2 กลุ่ม คือ

กลุ่ม 1: CP [carboplatin(AUC=6) + Paclitaxel (175mg/m2)] ทุก 3 สัปดาห์ จำนวน 6 รอบ

กลุ่ม2: CP 6 รอบ + concurrent bevacizumab (7.5mg/kg) 5 หรือ 6 รอบ + maintainace bevacizumab (จำนวน 12 รอบ)

พบว่า พบว่า กลุ่มที่ 2 เพิ่มระยะเวลาที่ไม่มีการดำเนินของโรค (PFS)

เมื่อทำการเปรียบเทียบ 2 งานวิจัย ทั้ง GOG 218 และ ICON 7 พบว่า มีความแตกต่างของกลุ่มประชากร, ขนาดของยาที่ใช้, ระยะเวลาของการให้ยา เป็นต้น แต่ทั้ง 2 งานวิจัยต่างให้ผลการวิจัยที่คล้ายคลึงกันเนื่องจากเพิ่ม PFS เช่นเดียวกัน

 

4.1.2            Multikinase inhibitor

ได้แก่ Pazopanib , intedanib ,cediranib , sorafenib เป็นต้น

4.1.3            Non VEGF inhibitors

ได้แก่ Rapalogs, AMG-386, PDGF alpha inhibitors, Hedgehog pathway inhibitor เป็นต้น

 

4.2     Non angiogenic pathway

4.2.1            PARP inhibitor

PARP เป็นกลุ่มของเอนไซน์ที่บทบาทในการซ่อมแซมสายพันธุกรรม (DNA) ส่วนประกอบที่มีบทบาทสำคัญ ได้แก่ tumor suppressor protein, BRCA 1, BRCA2 การใช้ PARP inhibitor จะไปทำให้การซ่อมแซมสายพันธุกรรมไม่สามารถทำได้ เกิดสายพันธุกรรมที่แตกหักจำนวนมาก นำมาซึ่งการตายของเซลล์   ได้แก่ Olaparib, MK-4827, ABT-888 เป็นต้น

4.2.2        Folate receptor alpha targeted agent

จากการศึกษาพบว่าในมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว รวมถึง มะเร็งท่อนำไข่ และ มะเร็งมะเร็งปฐมภูมิของเยื่อบุช่องท้อง มีการทำงานของ folate receptor alpha ที่มากกว่าปกติ ซึ่งการใช้ยากลุ่มนี้จะไปยับยั้งการทำงาน FR-alpha ซึ่งเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง ได้แก่ Farletuzumab ,EC145 เป็นต้น

 

รูปภาพ 5 : ภาพแสดงกระบวนการ angiogenesis30

การตรวจติดตาม

                National Comprehensive Cancer Network (NCCN) แนะนำให้นัดตรวจติดตามทุก 2-4 เดือน ใน 2 ปีแรก , ตรวจติดตามทุก 3-6 เดือน ใน 3 ปีถัดมา หลังจากนั้น ตรวจติดตามทุก 1 ปี   โดยทำตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจภายใน เจาะ CBC , chemistry profile (AST,ALT,ALP ,BUN ,Cr) ,CA- 125 และหากมีข้อบ่งชี้อาจพิจารณาส่งตรวจเพิ่มเติมทางรังสีวิทยา เช่น CT,MRI หรือ CT-PET18

            CA -125 เป็น tumor marker ที่มีประสิทธิภาพในการช่วยวินิจฉัย และ ตรวจติดตาม สำหรับมะเร็งปฐมภูมิของเยื่อบุช่องท้องได้ แต่ควรระมัดระวังเนื่องจากว่าในผู้ป่วยมะเร็งปฐมภูมิของเยื่อบุช่องท้องบางรายกว่าจะสามารถตรวจวัดระดับ CA-125 ได้ มักเป็นช่วงที่โรคมีการแพร่กระจายแล้ว4

พยากรณ์ของโรค

                การพยากรณ์โรคสำหรับโรคมะเร็งปฐมภูมิของเยื่อบุช่องท้องไม่ค่อยดี มีรายงานว่าประมาณกับมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิวระยะที่ 3-4 1, 3 บางงานวิจัยพบว่าพยากรณ์โรคแย่กว่า7   อัตราการรอดชีวิต 5 ปี ร้อยละ 26.513 ระยะเวลาอยู่รอดเฉลี่ย (median survival) 11.3-17.8 เดือน4

จากการศึกษาของ Ryuji และคณะ ในปี ค.ศ.2012 ได้ศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาระหว่างผู้ป่วยมะเร็งปฐมภูมิของเยื่อบุช่องท้อง จำนวน 22 ราย กับ มะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิวระยะที่ 3-4 จำนวน 55 ราย หลังจากได้รับการรักษาโดยการรับยาเคมีบำบัด carboplatin และ paclitaxel ทุก 3 สัปดาห์ตามหลังการผ่าตัด พบว่า ระยะเวลาการอยู่รอดจะยาวนานมากขึ้นในผู้ป่วยที่ระดับ CA-125 26 IU/ml ระหว่าง และภายหลังการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งเท่ากับ 33.6 และ 61.5 เดือนตามลำดับ โดยที่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของระยะเวลาการอยู่รอดระหว่างมะเร็งทั้ง 2 ชนิด1

เนื่องจากไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสการอยู่รอดชีวิตเฉพาะของผู้ป่วยมะเร็งปฐมภูมิของเยื่อบุช่องท้อง ขออ้างอิงจากโอกาสอยู่รอดใน 5 ปีของผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ ดังตารางข้างล่าง

ระยะโรค

โอกาสอยู่รอด 5 ปี (เปอร์เซ็นต์)

I

90

II

60-80

III

20

IV

<10

ตารางที่ 2: ตารางแสดงโอกาสอยู่รอดใน 5 ปี ของมะเร็งรังไข่ระยะต่างๆ10

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออัตราการอยู่รอด ได้แก่ อายุ , ระยะโรค ,performance status , optimal หรือ suboptimal surgery , histological subtype ,chemotherapy regimen ,P53 overexpression เป็นต้น8,10 จากการศึกษาของ Sang Young Roh และคณะ ในปี ค.ศ. 2007 ศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งปฐมภูมิของเยื่อบุช่องท้อง จำนวน 22 คน พบว่า performance status เป็นปัจจัยเดียวที่มีผลต่ออัตราการอยู่รอดทั้งหมดอย่างมีนัยสำคัญ4

                มีการการศึกษาของ Douglas และ คณะ ในปี ค.ศ 2003 พบว่าใน Ashkenazi Jew ที่มี BRCA mutation เป็นมะเร็งท่อนำไข่ และ มะเร็งปฐมภูมิของเยื่อบุช่องท้อง มีอัตราการอยู่รอด ที่ยาวกว่ากลุ่มที่ไม่มี BRCA mutation อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเชื่อว่าเกิดการตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดที่ดีกว่า ซึ่งเป็นผลจากอัตราการเติบโตของเซลล์ที่สูง ร่วมกับ เพิ่มความไวต่อยาเคมีบำบัดกลุ่ม platinumมากขึ้น เนื่องจากการสูญเสียการทำงานของ BRCA ไป15       

การรักษากรณีกลับเป็นซ้ำ10

หากเกิดขึ้นหลังจากได้รับการรักษาครั้งก่อนเกิน 6 เดือน จะรักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัดกลุ่ม platinum อีกครั้งโดยพบการตอบสนอง 30% หรืออาจให้เป็นลักษณะ combination chemotherapy ร่วมกับ ยากลุ่มอื่น เช่น paclitaxel, gemcitabine หรือ pegylated liposomal doxorubicin (PLD)

หากการกลับเป็นซ้ำเกิดภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน นับจากสิ้นสุดการรักษาครั้งก่อน หรือดื้อต่อยาเคมีบำบัด PT regimen ขณะทำการรักษา จะเปลี่ยนไปใช้ยาในกลุ่ม pegylated liposomal doxorubicin(PLD) โดยพบการตอบสนองประมาณ 20%   นอกจากนี้ยังมียาเคมีบำบัดอีกหลายชนิด เช่น topotecan ,oral etoposide ซึ่งให้การตอบสนองใกล้เคียงกัน  E. Pujade-Lauraine และ คณะ ได้ทำการวิจัย CALYPSO trial โดย เปรียบเทียบประสิทธิภาพ และ ความปลอดภัย ระหว่างการรักษาด้วย carboplatin-pegylated liposomal doxorubicin (PLD) (C-D) and carboplatin-paclitaxel (C-P) ในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่กลุ่ม platinum-sensitive จำนวน 976 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 467 และ 509 คนตามลำดับ พบว่า ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้ carboplatin-pegylated liposomal doxorubicin (PLD) (C-D) มี PFS ที่มากกว่า และ ผลข้างเคียงน้อยกว่า29

สิ่งหนึ่งที่จำเป็นต้องตระหนักเกี่ยวกับการรักษาในผู้ป่วยที่กลับเป็นซ้ำ คือ การรักษาในผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรมุ่งเน้นเกี่ยวกับการรักษาเพื่อบรรเทาอาการ และ คุณภาพชีวิตที่ดี มากกว่าการมุ่งเน้นเพื่อนรักษาให้หายจากโรค1ระยะเวลาเวลาของการหายของโรค (Remission) ที่ยาวนานก่อนการกลับเป็นซ้ำ จะสัมพันธ์กับโอกาสที่จะ remission ครั้งต่อไปที่มากขึ้น5

สรุป

มะเร็งปฐมภูมิของเยื่อบุช่องท้องถึงแม้ว่าจะพบได้น้อย แต่ก็ถือว่าเป็นโรคที่มีความสำคัญเนื่องจากพยากรณ์ของโรคไม่ดี กว่าจะแสดงอาการมักจะมีการลุกลามหรือแพร่กระจายแล้ว การรักษาโดยการผ่าตัดที่เหมาะสม (optimal surgery) ร่วมกับ ยาเคมีบำบัด (paclitaxel /carboplatin) เป็นการรักษาที่อาจได้ประสิทธิภาพสูงสุด1,17   ดังนั้นการตระหนักถึงความสำคัญของโรคมากขึ้น วิทยาการและความรู้ที่ก้าวหน้า จะส่งผลให้การตรวจพบมะเร็งชนิดนี้สูงขึ้นในอนาคต

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เอกสารอ้างอิง

  1. 1.R. Kawaguchi, Y. Tanase, S. Haruta, A. Nagai, S. Yoshida N. Furukawa H. Ooi, K. Kobayashi. Department of Obs tetrics and Gynecolo gy Nara Medical University .Paclitaxel plus Carboplatin Chemotherapy for Primary Peritoneal Carcinoma: A Study of 22 Cases and Comparison with Stage III–IV Ovarian Serous Carcinoma .Case Rep Oncol 2012;5:173–180.
  2. 2.Pallavi Bhuyan, Sitaram Mahapatra, Smita Mahapatra, Sudha Sethy, Pankaj Parida, Surama Satpathy. Department of Pathology, S.C.B. Medical College. Extraovarian primary peritoneal papillary serous carcinoma .Arch Gynecol Obstet 2010; 281:561–564.
  3. 3.Wesley B von Riedenauer, Sumbul A Janjua, David S Kwon, Ziying Zhang, Vic Velanovich. Immunohistochemical identication of primary peritoneal serous custadenocarcinoma mimicking advanced colorectal carcinoma: a case report. J Med Case Rep 2007; 1:150.
  4. 4.Sang Young Roh, M.D., Sook Hee Hong, M.D., Yoon Ho Ko, M.D., Tae Hee Kim, M.D., Myung Ah Lee, M.D. Division of Oncology. Clinical Characteristics of Primary Peritoneal Carcinoma .Cancer Res Treat. 2007;39:65-68.
  5. 5.Understanding Primary Peritoneal Cancer [internet]. 2012[cited 2012 Aug 1]. Available from: http://www.wcn.org/articles/types_of_cancer/peritoneal/overview.
  6. 6.Amy Finch, Mario Beiner, Jan Lubinski, Henry T. Lynch, Pal Moller, Barry Rosen. Salpingo-oophorectomy and the Risk of Ovarian, Fallopian Tube, and Peritoneal Cancers in Women with a BRCA1 or BRCA2 Mutation. JAMA. 2006; 296:185-192.
  7. 7.Xue Hongjian, Fan Jiquan, Peng Gang, Cao Rubo.The invasive malignancy from peritoneal epithelial cell: a report of four cases and review of literature Med Oncol 2011;28:597–600.
  8. 8.Chao Zhang, Xiao Pingli, Heng Cui, Dan Huashen, Li hui. Advanced primary peritoneal carcinoma: clinicopathological and prognostic factor analyses. Journal of Zhejiang University science B 2008; 9:435-440.
  9. 9.Fleming GF, Ronnett BM, Seidman J, Zaino RJ. Epithelium ovarian cancer .In: Barakat, Richard R.; Perelman, Ronald O.; Markman, Maurie; Randall, Marcus. Principles and Practice of Gynecologic Oncology, 5th Edition: Philadelphia: Lippincott-Raven, 2009: p.763-836.
  10. 10.ประภาพร สู่ประเสริฐ.การตรวจติดตาม primary peritoneal adenocarcinoma. คู่มือการตรวจติดตามผู้ป่วยมะเร็งนรีเวช. เชียงใหม่ : บริษัท กลางเวียงการพิมพ์ จำกัด; 2554. หน้า 47-51.
  11. 11.ถนอมศรี สุนทรธรรม , วีระ สุรเศรณีวงศ์. มะเร็งปฐมภูมิของเยื่อบุช่องท้อง.มะเร็งนรีเวชวิทยา ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย.กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์ดี จำกัด; 2554.หน้า 323-328.
  12. 12.Marc T. Goodman, Yurii B. Shvetsov. Rapidly increasing incidence of papillary serous carcinoma of the peritoneum in the United States: Fact or artifact. Int. J Cancer 2009; 124: 2231–2235.
  13. 13.Eltabbakh GH, Piver MS Extraovarian primary peritoneal carcinoma. Oncology 1998;129(6):813–825
  14. 14.Kelly L. Bolton, Georgia Chenevix Trench, Cindy Goh, Siegal Sadetzk , Susan J. Ramus, Beth Y.Karlan, et al. Association Between BRCA1 and BRCA2 Mutations and Survival in Women With Invasive Epithelial Ovarian Cancer. JAMA 2012; 307:382-390.
  15. 15.Douglas A. Levine, Peter A. Argenta, Cindy J. Yee, David S. Marshall, Narciso Olvera, Faina Bogomolniy, et al. Fallopian Tube and Primary Peritoneal Carcinomas Associated With BRCA Mutations . Journal of Clinical Oncology 2003; 21:4222-4227.
  16. 16.Christina S Chu, Andrew W Menzin, Debra G.B. Leonard, Stephen C Rubin, James E Wheeler. Primary Peritoneal Carcinoma: A Review of the Literature: Obstet Gynecol Surv 1999; 54:323-35.
  17. 17.Brian M Slomovitz, Michael J Worley, Maurie Markman, Robert L Coleman. University of Texas, Anderson Cancer Center. Expert Opinion Emerging Drugs 2011; 6:71-84.
  18. 18.NCCN Clinical Practice Guidelines in Oncology (NCCN guideline) .Ovarian cancer including fallopian tube cancer and primary peritoneal cancer version 3.20212 .[update 2012; cited 2012 Aug 1]. Available from: http://www.nccn.org.
  19. 19.Bloss JD, Brady MF, Liao SY, Rocereto T, Partridge EE, Clarke-Pearson DL. Gynecologic Oncology Group Study. Extraovarian peritoneal serous papillary carcinoma: a phase II trial of cisplatin and cyclophosphamide with comparison to a cohort with papillary serous ovarian carcinoma-a Gynecologic Oncology Group Study. Gynecol Oncol 2003; 89:148-54.
  20. 20.Ozols RF, Bundy BN, Greer BE, Fowler JM, Clarke-Pearson D, Burger RA, et al. Gynecologic Oncology Group. Phase III trial of carboplatin and paclitaxel compared with cisplatin and paclitaxel in patients with optimally resected stage III ovarian cancer: a Gynecologic Oncology Group study. J Clin Oncol 2003; 21:3194.
  21. 21.Vasey PA, Jayson GC, Gordon A, Gabra H, Coleman R, Atkinson R, et al. Scottish Gynaecological Cancer Trials Group. Phase III randomized trial of docetaxel-carboplatin versus paclitaxel-carboplatin as first-line chemotherapy for ovarian carcinoma. J Natl Cancer Inst 2004; 96:1682.
  22. 22.Kyrgiou M, Salanti G, Pavlidis N, Paraskevaidis E, Ioannidis JP. Survival benefits with diverse chemotherapy regimens for ovarian cancer: meta-analysis of multiple treatments. J Natl Cancer Inst 2006; 98:1655-63.
  23. 23.du Bois A, Weber B, Rochon J, Meier W, Goupil A, Olbricht S, et al. Addition of epirubicin as a third drug to carboplatin-paclitaxel in first-line treatment of advanced ovarian cancer: a prospectively randomized gynecologic cancer intergroup trial by the Arbeitsgemeinschaft Gynaekologische Onkologie Ovarian Cancer Study Group and the Groupe d’Investigateurs Nationaux pour l’Etude des Cancers Ovariens. J Clin Oncol 2006; 24:1127.
  24. 24.Alberts DS, Marth C, Alvarez RD, Johnson G, Bidzinski M, Kardatzke DR, et al. Randomized phase 3 trial of interferon gamma-1b plus standard carboplatin/paclitaxel versus carboplatin/paclitaxel alone for first-line treatment of advanced ovarian and primary peritoneal carcinomas: results from a prospectively designed analysis of progression-free survival. Gynecol Oncol 2008; 109:174.
  25. 25.Bolis G, Scarfone G, Raspagliesi F, Mangili G, Danese S, Scollo P, et al. Paclitaxel/carboplatin versus topotecan/paclitaxel/carboplatin in patients with FIGO suboptimally resected stage III-IV epithelial ovarian cancer a multicenter, randomized study. Eur J Cancer 2010; 46:2905.
  26. 26.du Bois A, Herrstedt J, Hardy-Bessard AC, Müller HH, Harter P, Kristensen G, et al. Phase III trial of carboplatin plus paclitaxel with or without gemcitabine in first-line treatment of epithelial ovarian cancer. J Clin Oncol 2010; 28:4162.
  27. 27.Ayhan A, Taskiran C, Yigit Celic N, Bozdag G, Gultekin M, Usubutun A, et al. Long-term survival after paclitaxel plus platinum-based combination chemotherapy for extraovarian peritoneal serous papillary carcinoma: is it different from that for ovarian serous papillary cancer. Int J Gynecol Cancer 2006;16:484–489.
  28. 28.Katsumata N, Yasuda M, Takahashi F, Isonishi S, Jobo T, Aoki D, et al. Japanese Gynecologic Oncology Group. Dose-dense paclitaxel once a week in combination with carboplatin every 3 weeks for advanced ovarian cancer: a phase 3, open-label, randomised controlled trial. Lancet 2009;374:1331–1338
  29. 29.E. Pujade Lauraine, S. Mahner, J. Kaern, V. Gebski, M. Heywood, P. Vasey, et al. A randomized, phase III study of carboplatin and pegylated liposomal doxorubicin versus carboplatin and paclitaxel in relapsed platinum-sensitive ovarian cancer (OC): CALYPSO study of the Gynecologic Cancer Intergroup (GCIG): J Clin Oncol 27:18s, 2009 (suppl; abstr LBA5509).
  30. 30.VEGF pathway [image on the internet]. [cited 2012 Aug 1]. Available from: http://www.sabiosciences.com/iapp/vegf.html.

 

Read More