Congratulations! อาจารย์นก(ทวิตตี้) กลับมาแล้ว
ภาควิชามีความยินดีที่อาจารย์นก (ทวิวัน) กลับมาจากการศึกษาต่อจากประเทศออสเตรเลีย หลังจากไปฝึกฝน (research felllow) เป็นเจ้าแม่ PCO อยู่เป็นเวลานาน มาถึงแล้วสวย (เท่า) กว่าเดิม
ภาควิชามีความยินดีที่อาจารย์นก (ทวิวัน) กลับมาจากการศึกษาต่อจากประเทศออสเตรเลีย หลังจากไปฝึกฝน (research felllow) เป็นเจ้าแม่ PCO อยู่เป็นเวลานาน มาถึงแล้วสวย (เท่า) กว่าเดิม
ขอเรียนเชิญท่านผู้สมัครแพทย์ใช้ทุนสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มารับการสัมภาษณ์ วันที่ 18 กรกฏาคม 2555 ซึ่งมีรายละเอียดลำดับการสัมภาษณ์ดังนี้
ตารางสอบสัมภาษณ์แพทย์ใช้ทุน ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๖
ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วัน พุธ ที่ ๑๘ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ณ ห้องเรียน อ.สุรีย์ ชั้น 3 อาคารบุญสม มาร์ติน
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
ลำดับที่ ชื่อ นามสกุล เวลา สถาบัน
๑ นางสาวรัชภรณ์ มีเงิน 08.30-09.00 น. ม.เชียงใหม่
๒ นางสาวสิริลักษณ์ นันทาภิวัธน์ 09.00 -09.30น. ม.เชียงใหม่
๓ นายนนท์ พิพิธสมบัติ 09.30-10.00 น. ม.เชียงใหม่
๔ นางสาววรรณพร สิงห์น้อย 10.00 -10.30 น. ม.เชียงใหม่
๕ นางสาววรรัตน์ ศิริเผ่าสุวรรณกุล 10.30-11.00 น. จุฬาลกรณ์มหาวิทยาลัย
๖ นายวีรวิชญ์ พรวัฒนไกรเลิศ 11.00-11.30 น. ศรีนครินทรวิโรฒ
๗ นายสาร์รัฐ สุทธิพงษ์ 13.00-13.30 น. รามาธิบดี ม.มหิดล
๘ นายธรรมพจน์ จีรากรภาสวัฒน์ 13.30-14.00 น. ม.เชียงใหม่
๙ นางสาวธัญสิตา ชินกังสดาร 14.00 – 14.30 น. ม.เชียงใหม่
๑๐ นางสาวนภวรี จันทรวงศ์ 14.30 -15.00 น. ม.ธรรมศาสตร์
๑๑ นางสาวหรัดปพร ปิยะเวชการ 15.00 – 15.30 น. ม.เชียงใหม่
ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอเชิญแพทย์ผู้สนใจ เข้ารับสมัครเป็นแพทย์ประจำบ้านของภาควิชาสูติ-นรีเวช ประจำปีการศึกษา 2556 ซึ่งตลอดระยะเวลา 3 ปี ท่านจะได้รับทั้งความรู้ ความชำนาญทางด้านสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา รวมถึงความเป็นกันเองและบรรยากาศความเป็นครอบครัวเดียวกันในแบบฉบับของชาวสูติศาสตร์ล้านนาที่จะประทับใจไม่รู้ลืม…..สามารถ download ใบสมัครได้จาก website ของภาควิชา และส่งใบสมัครได้ที่โดยตรงที่ภาควิชา เริ่มรับสมัครตั้งแต่วันนี้ (27 มิถุนายน 2555) จนถึงวันที่ 10 สิงหาคม 2555 และจะมีกำหนดการสอบสัมภาษณ์ในช่วงเดือนสิงหาคม 2555 (วันและเวลาที่แน่นอนจะประกาศให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง)……ขอเชิญผู้มีความสนใจและรักในด้านการดูแลผู้ป่วยทางสูตินรีเวช มาร่วมเป็นครอบครัวเดียวกันกับเรานะคะ
ขอแสดงความชื่นชมหนังสือใหม่ของภาควิชาโดยอ.แป้ง หนังสือเรื่อง ทารกบวมน้ำ (hydrops fetalis) ของอาจารย์แป้งออกแล้ว พิมพ์อย่างดีสวยงามมาก เหมาะมากสำหรับ fellow MFM ได้รวบรวมองค์ความรู้ตามแนว hydrops แห่งโลกตะวันออกไว้อย่างครบถ้วน กลั่นจากความรู้ทั่วโลกและการศึกษาของเรามากมาย พร้อม CD ที่มีวิดีโอ hydrops ประกอบมากมาย
ทารกบวมนํ้าเป็นปัญหาสำคัญทางสูติกรรมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบวมที่เกิดจากโรคฮีโมโกลบินบาร์ท ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบได้บ่อยมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งบางภูมิภาค อาจพบได้สูงถึงร้อยละ 14 ของประชากร และเป็นสาเหตุของภาวะทารกบวมนํ้าที่บ่อยที่สุด คือร้อยละ 80-90 ของทารกบวมนํ้าทั้งหมด การตั้งครรภ์ที่มีภาวะทารกบวมนํ้าจากฮีโมโกลบินบาร์ทนั้นเป็นการตั้งครรภ์ที่สูญเปล่า อันนับเป็นโศกนาฎกรรมทางสูติศาสตร์ที่พบได้บ่อยในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างแถบภาคเหนือ เนื่องจากการตั้งครรภ์เหล่านี้นอกจากไม่ได้บุตรที่มีชีวิตรอดแล้ว ยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงในมารดาด้วย เช่น 1) ความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ (preeclampsia) ซึ่งมักจะเกิดเร็วและรุนแรงกว่ากว่าทั่วไป เชื่อว่าถ้าปล่อยให้อายุครรภ์มากขึ้นจะเกิดภาวะนี้ทุกราย 2) คลอดยาก เนื่องจากทารกตัวโตจากการบวมนํ้า ทำให้เพิ่มหัตถการในการช่วยคลอดอย่างยาก เช่น การช่วยคลอดด้วยคีมอย่างยาก ผ่าตัดทำคลอดทางหน้าท้องทั้ง ๆ ที่ทารกไม่ได้เลี้ยง 3) เพิ่มอุบัติการณ์การตกเลือดหลังคลอด (ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการตายของมารดา) เนื่องจากรกมีขนาดใหญ่มาก และประการสำคัญที่สุดคือผลเสียต่อสุขภาพจิตของมารดาและบิดาที่ต้องรอคอยการตั้งครรภ์ที่สูญเปล่า และยังคงมีความเสี่ยงในครรภ์ต่อไปอีก อย่างไรก็ตามยังมีภาวะบวมนํ้าจากอีกหลายสาเหตุบางอย่างก็สามารถมีชีวิตรอดได้อย่างสมบูรณ์หากได้รับการดูแลที่เหมาะสม
ปัญหาสำคัญในปัจจุบันคือผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์ทารกบวมนํ้าจากฮีโมโกลบินบาร์ทไม่ได้รับการวินิจฉัยก่อนคลอดด้วยวิธีการตรวจเลือดทารก หรือวิธีการอื่น ๆ รวมทั้งไม่ได้รับการวินิจฉัยแม้แต่ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงในระยะแรก ๆ ทั้งที่ปัจจุบันนี้เครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงมีใช้แพร่หลายในประเทศไทย แต่ประสบการณ์ในการวินิจฉัยภาวะทารกบวมนํ้าด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงนับว่ายังมีขีดจำกัดมาก จากเหตุผลสำคัญคือคลื่นเสียงความถี่สูงสามารถวินิจฉัยภาวะทารกบวมนํ้าได้เร็วกว่าที่เคยเข้าใจกันมาในอดีต เป็นเทคนิคการวินิจฉัยที่ไม่เจ็บตัว (non-invasive) ไม่เพิ่มความเสี่ยงใด ๆ แก่ทารกและมารดา และเป็นเทคนิคราคาถูกที่มีใช้ทั่วไป จึงนับว่าการเพิ่มประสิทธิภาพและทักษะของผู้ตรวจจะช่วยให้ภาวะทารกบวมนํ้าจากฮีโมโกลบินบาร์ทได้รับการวินิจฉัยเร็วขึ้น เป็นที่น่าชื่นชมและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่อาจารย์แพทย์หญิงเกษมศรี ได้ทำการทบทวนอย่างกว้างขวางและลึกซึ้งในการศึกษาทั่วโลกเกี่ยวกับทารกบวมนํ้า และนำมาเสนอในรูปแบบที่ประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมกับเวชปฏิบัติในประเทศไทย จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าตำราเล่มนี้จะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดูแลรักษาสตรีตั้งครรภ์ที่มีทารกบวมนํ้า
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ชเนนทร์ วนาภิรักษ์
หัวหน้าภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
20 เมษายน 2555
Great!!!: สอบบอร์ดเชียงใหม่ผ่านยกทีม
ภาควิชาขอแสดงความยินดีกับการจบ resident สอบบอร์ดผ่านอย่างสวยงามยกทีม (ทั้งขอเขียน เวชระเบียน วิจัย osler สัมภาษณ์)
สมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ประจำประเทศไทย (สออ.ประเทศไทย)
ประกาศรายชื่ออาจารย์ที่ได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัลอาจารย์ดีเด่น สออ. ประเทศไทย (ASAIHL-Thailand Award) ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2554
ผู้ที่ได้รับรางวัลอาจารย์ดีเด่น ประเภทอาจารย์รุ่นใหม่ดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงเฟื่องลดา ทองประเสริฐ จาก ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โดยเข้ารับมอบรางวัลจาก พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2555 ณ ห้องประชุมเบญจรัตน์ อาคารนวมินทรราชินี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (ดูภาพจากเมนู Ob-Gyn Gallery)
งานคืนสู่เหย้าชาวสูติฯเชียงใหม่ วันที่ 15-16 มีนาคม 2555 ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่ ประชุมวิชาการ update quidline in OB&GYN clinical practice 2 วัน และสังสรรค์ในหมู่พี่น้อง 1 คืน เยี่ยมรำลึกถึงพี่ ๆ น้อง ๆ หลากหลายรุ่นได้จากเมนู gallery : วิชาการและงานสังสรรค์วันคืนสู่เหย้าฯ
งานรดน้ำดำหัวอาจารย์อาวุโสของภาควิชา วันที 18 เมษายน 2555 เป็นธรรมเนียมของภาควิชาเรา ที่จัดกันมาทุกปีตั้งแต่โบราณมา จนจำกันไม่ได้แล้วว่าตั้งแต่ปีไหน เป็นวันที่เราได้แสดงคารวะต่ออาจารย์อาวุโสที่สร้างภาควิชามาให้เรา (ดูรูปได้ในเมนู gallery : รดน้ำดำหัวฯ)
ตำราสูติศาสตร์เล่มใหม่ของภาควิชา (ฉบับเรียบเรียงครั้งที่ 5) ออกแล้ว คราวนี้ update ความรู้ตามแบบ กะทัดรัด ทันสมัย ได้คอนเซ็ปท์ 744 หน้า หนากว่าเล่มเก่าเล็กน้อย แต่เล่มเล็กกว่าเพราะใช้กระดาษบางอย่างดี และทำเป็นปกอ่อนเพื่อลดน้ำหนัก ราคา 650 บาท (ราคาถูกเพราะไม่คิดกำไรในส่วนผู้แต่ง) (ตรวจสอบรายชื่อผู้ได้หนังสือฟรี ในฟอรั่ม)
เป็นตำราสูติศาสตร์ ซึ่งพัฒนาต่อเนื่องจากฉบับเรียบเรียงครั้งที่ 4 ซึ่งถูกนำไปใช้ประกอบการเรียนรู้ร่วมกับตำราอื่นๆ และใช้ประกอบการเรียนของนักศึกษาแพทย์ และแพทย์ประจำบ้าน สาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ได้ทำการอัพเดตความรู้ทางสูติศาสตร์ที่ก้าวหน้าไปอย่างมากและรวดเร็ว จึงได้ปรับปรุงและเรียบเรียงตำราสูติศาสตร์ ฉบับเรียบเรียงครั้งที่ 5 ขึ้น เพื่อให้ทันสมัยมากที่สุดที่จะใช้ศึกษาและอ้างอิง ทั้งนี้เพื่อให้เป็นประโยชน์มากที่สุดต่อการดูแลสุขภาพทางนรีเวชของสตรีไทยที่จะได้รับการดูแลรักษาที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัย เป็นมาตรฐาน ถูกต้องตามหลักวิชาการที่อิงตามหลักฐานประจักษ์ทางการแพทย์ หรือ evidence-base medicine เนื้อหาในหนังสือครอบคลุมความรู้เกี่ยวกับแก่นสำคัญของวิชาสูติศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยความรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐานทางสูติศาสตร์ สูติศาสตร์ทางคลินิก ภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรมหรืออายุรกรรมในสตรีตั้งครรภ์ และเวชศาสตร์ทารกในครรภ์ ซึ่งทันสมัย ถูกต้อง กระชับ และเข้าใจง่าย เนื้อหาได้เพิ่มเติม อัพเดตตามองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และประสบการณ์ต่าง ๆ ทางสูติศาสตร์ มีรูปภาพประกอบที่สวยงามเพื่อความเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น