Self Breast Examination : การตรวจเต้านมด้วยตนเอง

นันทนา มรกต พยาบาลชำนาญการ 8


มะเร็งเต้านมเป็นโรคที่รักษาได้ไม่ยุ่งยากและผลการรักษาดี ถ้ามีการตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ผู้เชียวชาญแนะนำว่าสตรีที่อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปควรได้มีการตรวจเต้านมตนเองเดือนละ 1 ครั้งเพื่อค้นหาก้อนและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใหม่ แต่การตรวจเต้านมด้วยตนเองก็มีข้อจำกัด และไม่สามรถทดแทนการตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือการตรวจแมมโมแกรมได้ ควรได้รับคำแนะนำวิธีการตรวจที่ถูกต้องจากผู้ที่ให้การดูแลสุขภาพ การตรวจเต้านมตนเองควรกระทำหลังวันที่ 3- 5 ของรอบระดูเพราะเต้านมจะไม่เป็นก้อนและเจ็บตึง เป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องตรวจเต้านมในช่วงเวลาใกล้กันของแต่ละรอบเดือน

ขั้นตอนการตรวจ

  • นอนหงายราบยกมือขวาวางข้างศีรษะ ใช้ส่วนกลางของนิ้วมือข้างซ้ายกดลงไปเบา ๆ ถึงแรงปานกลาง และหมุนเป็นวงเล็ก ๆ เคลื่อนที่ไปเรื่อย ๆ จนทั่วบริเวณของเต้านมข้างขวา เนื่องจากการตรวจขณะนั่งหรือยืนการคลำเนื้อเยื่อนมบริเวณใต้รักแร้มักจะข้ามไป บีบหัวนมเบา ๆ ตรวจดูน้ำคัดหลั่งที่ออกจากหัวนม แล้วเปลี่ยนสลับข้างซ้ายทำแบบเดียวกัน การตรวจนี้จะทำให้รู้สึกได้ถึงก้อนและค้นพบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ บางรายนิยมตรวจในขณะที่อาบน้ำตัวเปียกผิวเนื้ออ่อนนุ่ม เพราะรู้สึกตรวจได้ง่ายกว่าท่านอนตรวจ

  • ยืนตรงหันหน้าเข้าหากระจก มองดูเต้านมทั้งด้านหน้าและด้านข้างในกระจก เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของผิวเนื้อ (บวม บุ๋ม สีผิวเปลี่ยน แดงหรือซีด) รูปทรง หรือหัวนมงองุ้มลง ทำแบบเดิมแต่ยกมือ 2 ข้างไว้เหนือศีรษะ

  • ปรึกษาแพทย์เมื่อพบการเปลี่ยนแปลง เพื่อจะได้รับการวินิจฉัยก้อนที่เต้านมด้วยวิธีการถ่ายภาพ รังสีแมมโมแกรมหรืออัลตราซาวด์ต่อไป

ก้อนเต้านม

เต้านมปกติในทั้งเพศชายและหญิงเป็นเนื้อเยื่อที่มีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ซึ่งจะพบได้ในทุกวัย

ในวัยทารกเต้านมจะโตขึ้นได้เนื่องจากได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนมาจากมารดา ซึ่งจะพบได้ทั้งเด็กชายและเด็กหญิง ในเด็กหญิงจะมีต่อมน้ำนมพัฒนาขึ้นช่วงก่อนวัยเริ่มมีประจำเดือน อาจจะเจ็บตึงเต้านม ส่วนใหญ่จะในช่วงอายุ 9 ปี ในเด็กวัยรุ่นชายอาจจะมีเต้านมขยายใหญ่ขึ้นได้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงนี้แต่ก็จะหายไปเอง ก้อนที่เต้านมที่พบในสตรี จะต้องคิดถึงมะเร็งเต้านมด้วย ถึงแม้ว่าก้อนที่พบส่วนมากจะไม่เปลี่ยนเป็นมะเร็ง

ปรึกษาแพทย์ถ้า :

  • ตรวจพบก้อนเต้านมจากการตรวจเต้านมตนเองเดือนละครั้ง .
  • มีอาการบวมแดงของเต้านมโดยที่ไม่เคยได้รับบาดเจ็บ
  • มีสารคัดหลั่งออกจากหัวนม โดยเฉพาะถ้าเป็นสีแดงหรือสีชมพู (มีเลือดปน)
  • ผิวเนื้อนมมีรอยบุ๋มหรือรอยเหี่ยวย่น ( เหมือนผิวส้ม ).
  • หัวนมบุ๋มหรือถูกดึงรั้งไปจากสภาพปกติ

การป้องกัน

การคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นวิธีที่สำคัญในการตรวจหาเต้านมได้ในระยะเริ่มแรก ทำให้ง่ายต่อการรักษาและมีโอกาสหายสูง ในกลุ่มสตรีที่มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมสูงก็จะได้ประโยชน์จากการตรวจกรอง เพื่อที่จะสามารถวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มต้น ทำให้อัตราการอยู่รอดเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • ถ้าท่านอายุมากกว่า 20 ปี ตรวจเต้านมตนเองเดือนละ 1 ครั้ง และปรึกษาบุคลากรสุขภาพเกี่ยวกับข้อดีและข้อเสีย
  • ถ้าอายุมากกว่า 20 ปี ตรวจเต้านมด้วยแพทย์ทุก 3 ปี และทุก ๆ ปีเมื่ออายุมากกว่า 40 ปี
  • ถ้าอายุมากกว่า 50 ปีตรวจแมมโมแกรมทุกปี อายุ 40 – 50 ปี ตรวจทุก 2 ปี เป็นอย่างน้อย

การลดความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • ลดอาหารไขมัน
  • รับประทานผลไม้ ผัก และกากใยเพิ่มขึ้น
  • ลดการดื่มแอลกอฮอลล์ ไม่ควรเกิน 1 ถึง 1.5 แก้ว/วัน

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม

  • อายุมากกว่า 50 ปี (เพิ่มขึ้น 4 เท่า ของคนปกติที่อายุ 30 ปี)
  • ประวัติเป็นมะเร็งเต้านมข้างหนึ่ง (เพิ่มขึ้น 4 เท่า)
  • ก้อนที่มะเร็งเต้านมชนิด proliferative
  • ประวัติมะเร็งเต้านมใน แม่ พี่สาว หรือน้องสาว
  • ผู้ที่มีประจำเดือนโดยไม่ถูกยับยั้งเป็นเวลานาน เช่น ตั้งครรภ์แรกอายุมาก หรือไม่เคยมีบุตรเลย

ที่มา : http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/ 003155. htm

ความเชื่อเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม

อะไรคือความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม การปฏิบัติตนที่เหมาะสมสำหรับท่าน ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมและ ยาระงับกลิ่นเหงื่อ สิ่งที่ท่านไม่รู้ที่อาจจะทำให้ท่านไม่สบายใจ และความเข้าใจไม่ถูกต้องที่ทำให้ขาดความตระหนักและการดูแลเฝ้าระวังตนเองลดลง

10 ข้อคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม

1. มะเร็งเต้านมจะเกิดเฉพาะกับผู้หญิงที่อายุมากเท่านั้นใช่ไหม?

ไม่ใช่

เป็นความจริงว่าความเสี่ยงมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นตามอายุ แต่ก็เกิดได้ทุกอายุ โดยมีอัตราการเกิดได้ดังนี้

อายุ โอกาสเกิดโรค
แรกเกิด – 39 ปี 1 : 231 ( <0.5 %)
40 – 59 ปี 1 : 25 (4%)
60 – 79 ปี 1 : 15 ( เกือบ 7%)
80 -90 ปี 1 : 8

ประมาณได้ว่าตลอดช่วงชีวิตสตรีที่มีอายุถึง 90 ปี มีโอกาสเกิดมะเร็งเต้านม 12.5%

2. ถ้าท่านมีความเสี่ยงแล้วจะต้องเป็นมะเร็งเต้านมแน่นอน

ไม่ใช่

การเกิดมะเร็งเต้านมเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ไม่แน่เสมอไปว่าถ้าท่านมีความความเสี่ยงอันใดอันหนึ่งที่ชัดเจน เช่น สตรีที่มีพันธุกรรมผิดปกติของมะเร็งเต้านมชนิด 1 (BRCA 1) หรือชนิด 2 ( BRCA 2) จะพัฒนาไปเป็นมะเร็งเต้านมได้ถึง 40 – 80 % ตลอดช่วงชีวิต และ 20 – 60 % จะไม่เป็นมะเร็ง ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ที่มีความสัมพันธ์มีโอกาสเป็นไปได้ต่ำ ที่จะเป็นมะเร็งเต้านม

3. ถ้าไม่มีประวัติในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม แล้วจะไม่เป็นมะเร็งเต้านมใช่ไหม?

ไม่ใช่

สตรีทุกคนมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านม ประมาณ 80 %ของสตรีที่เป็นมะเร็งเต้านมไม่มีประวัติในครอบครัว อายุที่มากขึ้น Increasing age – just the wear and tear of living- เป็นปัจจัยหลักที่สำคัญ แต่ในสตรีที่มีประวัติในครอบครัวมีโอกาสเสี่ยงเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย, มาก, หรือไม่ทั้งหมด ถ้าท่านมีความกังวล ให้ปรึกษาเกี่ยวกับประวัติการเป็นโรคในครอบครัวของท่านกับแพทย์หรือนักจิตวิทยาในครอบครัว

4. เฉพาะปัจจัยเสี่ยงว่าถ้ามารดาเป็นมะเร็งเต้านม เท่านั้นที่จะทำให้ท่านเป็นมะเร็งเต้านมใช่ไหม?

ไม่ใช่

ประวัติการเป็นมะเร็งเต้านมในมารดาหรือบิดาจะมีอิทธิพลต่อความเสี่ยงในท่านเท่า ๆ กัน เพราะพันธุกรรมของท่านครึ่งหนึ่งมาจากบิดาอีกครึ่งมา จากมารดา แต่พันธุกรรมที่ผิดปกติในผู้ชายหรือบิดาจะพัฒนาไปเป็นมะเร็งเต้านมได้น้อยกว่าในมารดาที่มีพันธุกรรมผิดปกติชนิดเดียวกัน ดังนั้นถ้าท่านคำนึงถึงประวัติครอบครัวทางบิดามาก ท่านจะต้องดูที่ประวัติของผู้หญิงทางสายครอบครัวบิดาเป็นหลักไม่ใช่ดูเฉพาะผู้ชาย

5. การใช้ยาระงับกลิ่นเหงื่อหรือกลิ่นตัวเป็นสาเหตุของมะเร็งเต้านมใช่ไหม?

ไม่ใช่

ไม่มีรายงานว่าสารออกฤทธิ์ในยาทาระงับกลิ่นเหงื่อหรือลดกลิ่นตัวที่ใช้ทาบริเวณใต้วงแขนมีผลทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม ข้อมูลสนับสนุนระหว่างมะเร็งเต้านมกับยาระงับเหงื่ออยู่บนพื้นฐานของการได้รับข้อมูลไม่ถูกต้องเกี่ยวกับกายวิภาคและความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม

More on antiperspirants and breast cancer

6. การใช้ยาคุมกำเนิดเป็นสาเหตุของมะเร็งเต้านมใช่ไหม?

ไม่ใช่

ยาเม็ดคุมกำเนิดในปัจจุบันประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในขนาดต่ำ ซึ่งฮอร์โมนนี้ไม่มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเต้านม จากการศึกษา 2-3 การศึกษา พบว่ายาเม็ดคุมกำเนิดที่เคยใช้ในอดีตซึ่งมีขนาดของฮอร์โมนที่สูงกว่า มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในปัจจุบันยาเม็ดคุมกำเนิดยังสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งรังไข่ได้

7. การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นสาเหตุของมะเร็งเต้านมใช่ไหม?

ไม่ใช่

มีการศึกษาที่ใหญ่หลาย ๆ การศึกษา ไม่สามารถแสดงผลให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าการรับประทานอาหารไขมันสูงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้าสูงขึ้น การศึกษาที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ก็พยายามที่จะหาข้อสรุปที่ชัดเจนในเรื่องนี้ เราสามารถกล่าวได้ว่า ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ด้วยเหตุผลทางด้านสุขภาพที่ดีในด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น เพื่อลดระดับไขมันเลว เพิ่มไขมันดี รับประทานอาหารที่ส่งเสรมสุขภาพให้มากและควบคุมน้ำหนักตัว การที่มีน้ำหนักตัวเกินไปจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม เพราะไขมันส่วนที่เพิ่มมากเกินไปจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนนอกรังไข่และจะเพิ่มระดับในร่างกาย ถ้าท่านมีนำหนักเกินอยู่หรือมีแนวโน้มที่จะน้ำหนักเพิ่มได้ง่าย การหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูงก็จะเป็นสิ่งที่ดี

8. การตวจเต้านมตนเองทุกเดือนเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการวินิจฉัยมะเร็งเต้านมใช้ไหม?

ไม่ใช่

การถ่ายภาพรังสีเต้านม (แมมโมแกรม) เป้นวิธีที่มีคุณภาพสูงเชื่อถือได้ในการค้นพบมะเร็งได้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ และเป็นระยะที่สามารถรักษาให้หายได้ ถ้าตามระยะเวลาที่รู้สึกได้ว่าเป็นก้อนมะเร็งเต้านมแล้ว โดยทั่วไปขนาดของมะเร็งโดยเฉลี่ยจะใหญ่กว่าขนาดมะเร็งที่ตรวจพบได้ครั้งแรกโดยแมมโมแกรม การตรวจเต้านมด้วยตนเอง หรือโดยแพทย์ก็ยังคงมีความสำคัญอยู่ เพราะว่า ประมาณ 25% ของมะเร็งเต้านมค้นพบได้ด้วยการตรวจเต้านมตนเองอย่างเดียว (ไม่ได้ทำแมมโมแกรม) ประมาณ 35% พบได้ด้วยการตรวจแมมโมแกรมอย่างเดียว และ 40% พบได้จากการตรวจโดยแพทย์และแมมโมแกรม จึงควรจะได้ตรวจทั้ง 2 วิธี

9. ฉันมีความเสี่ยงสูงต่อมะเร็งเต้านมไม่มีวิธีใดเลยที่ฉันจะจัดการได้กับโรคนี้ใช่หรือไม่?

ไม่ใช่

มีหลายวิธีที่ได้ผลในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม (แต่ไม่ใช่เป็นการกำจัดโรค) ในสตรีที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ การเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิต ( ลดการดื่มแอลกอฮอลล์ เลิกบุหรี่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ) การใช้ยาต้านมะเร็งเต้านม ( tamoxifen) และในรายที่มีความเสี่ยงสูงมาก ๆ การผ่าตัดเต้านมออกก่อนที่จะเกิดมะเร็งก็อาจจะเป็นข้อเสนอ และในบางรายก็ตัดรังไข่ออกร่วมด้วยเป็นการป้องกันไว้ก่อน แต่ทั้งนี้ต้องมั่นใจได้ว่าท่านได้มีการปรึกษากับแพทย์และรับคำปรึกษาทางพันธุกรรมเป็นอย่างดีแล้วก่อนที่ท่านสรุประดับความเสี่ยงของท่าน

10. วินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมแล้วคือต้องเสียชีวิตจริงหรือ?

ไม่ใช่

80% ของสตรีที่เป็นมะเร็งเต้านมแล้วยังไม่แพร่กระจายไปนอกเต้านมหรือบริเวณต่อน้ำเหลืองใกล้เคียง พบว่า 80% ของสตรีกลุ่มนี้ก็อยู่ได้อย่างน้อย 5 ปี ส่วนใหญ่จะอยู่ใด้นานกว่า แต่ถึงจะมีการแพร่กระจายของมะเร็งก็ยังอยู่ได้นาน ซึ่งในอนาคตอันใกล้ อาจมีการรักษาวิธีใหม่ ๆ ที่ได้ผลดี

ที่มา : http://www.breastcancer.org/

เว็บไซต์เกี่ยวกับวัยทองที่น่าสนใจ :

http://www.healthybone.org/knowledge_th.php

http://www.handc.net/

http://www.anamai.moph.go.th/dopah/static/exercise/exer 01/ exer 01. php