Early pregnancy loss

Early pregnancy loss

พญ.กฤตยา ภิรมย์
อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ. พญ. อุษณีย์ แสนหมี่


 คำจำกัดความ (1)

การแท้งในระยะแรก คือ การเสียชีวิตในครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ 6 วัน

อุบัติการณ์

การแท้งในระยะแรกพบได้บ่อย พบมากถึง 10 % ของการตั้งครรภ์ (2-4) โดยการแท้งที่เกิดขึ้นในระยะแรกพบประมาณ 80% ของการแท้งทั้งหมด (2-3)

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยทางด้านทารก

โครโมโซมผิดปกติ(5)

พบว่าเป็นสาเหตุประมาณ 50% ของการแท้งในระยะแรก ยิ่งอายุครรภ์เพิ่มขึ้น สาเหตุของการแท้งจากโครโมโซมผิดปกติยิ่งน้อยลง โดย 75% ของโครโมโซมผิดปกติที่เป็นสาเหตุของการแท้ง เกิดขึ้นก่อน 8 สัปดาห์ โครโมโซมผิดปกติ 95% เกิดจากการแบ่งตัวที่ผิดปกติของการสร้างเซลล์สืบพันธ์ฝ่ายหญิง และอีก 5% เกิดจากการแบ่งตัวที่ผิดปกติของการสร้างเซลล์สืบพันธ์ฝ่ายชาย โครโมโซมผิดปกตินี้เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของการแท้งที่ไม่ทราบสาเหตุ เนื่องจากไม่มีการส่งตรวจโครโมโซม

ความผิดปกติที่พบได้บ่อย ได้แก่

1. Trisomy พบได้ 50-60%

  • มักเกิดจาก isolated nondisjunction ซึ่งเกิดเพิ่มมากขึ้นตามอายุของหญิงตั้งครรภ์ที่มากขึ้น ส่วนสาเหตุจาก balanced structural chromosomal rearrangement พบได้น้อย 2-4%
  • Trisomy ที่พบบ่อยคือ trisomy 13,16,18,21 และ 22

2. Monosomy X (45,X) หรือ Turner syndrome พบได้ 9-13%

  • เป็นโรคที่พบอัตราการแท้งมากสุดในกลุ่ม Aneuploidy โดย 20% จะแท้งในระยะแรกของการตั้งครรภ์ ส่วนน้อยสามารถมีชีวิตอยู่ได้
  • ส่วน autosomal monosomy พบได้น้อยมากและไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้

3. Triploidy พบได้ 11-12 %

  • มักสัมพันธ์กับ hydropic หรือ molar placental degeneration ความผิดปกติทางโครโมโซมกลุ่มนี้ไม่สัมพันธ์กับอายุมารดาและบิดา
  • ส่วน tetraploidy จะแท้งในระยะแรกและไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้

ปัจจัยทางด้านมารดา

อายุของหญิงตั้งครรภ์(6)

อายุของหญิงตั้งครรภ์ที่มากขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการแท้งในระยะแรกในผู้หญิงที่แข็งแรง โดยอายุ 20-30 ปี พบการแท้ง 9-17 % เมื่ออายุ 35 ปี พบการแท้งมากขึ้น 20% และอายุ 40 ปี พบการแท้งสูงขึ้นถึง 80%

ประวัติการแท้งในครรภ์ก่อน (7)

ความเสี่ยงของการแท้งมากขึ้นตามจำนวนการแท้งในครรภ์ก่อน โดยความเสี่ยง 20% หลังการแท้ง 1 ครั้ง ความเสี่ยง 28% หลังการแท้ง 2 ครั้งติดกัน และความเสี่ยง 43% หลังการแท้งมากกว่า 3 ครั้งติดกัน

การติดเชื้อ(5)

การติดเชื้อเป็นสาเหตุที่พบได้น้อยที่ทำให้เกิดการแท้งในระยะแรก ซึ่งการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย ปรสิตสามารถลุกลามเข้าไปในโพรงมดลูกและระบบการไหลเวียนเลือดจะเกิดการแท้งตามมาได้

โรคประจำตัวของมารดา (5)

โรคประจำตัวของมารดามีผลต่อการตั้งครรภ์โดยโรคที่พบบ่อยได้แก่

  1. โรคที่เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เช่น โรคเบาหวานชนิดดื้อต่ออินซูลินซึ่งควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดีและมีค่า HbA1C สูงในช่วงระยะแรกของการตั้งครรภ์จะพบอัตราการแท้งสูงกว่าคนปกติ โรคไทรอยด์ โดยเฉพาะภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ โรค Cushing syndrome และโรค Polycystic ovarian syndrome
  2. โรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน บางอย่าง เช่น โรค SLE โรค Antiphospholipid syndrome
  3. โรคที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เช่น โรค Thrombophilia

โรคมะเร็ง(5)

โรคมะเร็งในหญิงตั้งครรภ์พบได้ประมาณ 1 ต่อ 1000 คน การรักษามีทั้งการผ่าตัด การฉายรังสีรักษา และการให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งการรักษาด้วยการฉายรังสีรักษาและการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดส่งผลต่อการตั้งครรภ์ ตั้งแต่ทารกมีความพิการ ความบกพร่องทางสติปัญญา ทารกโตช้าในครรภ์ รวมถึงการเสียชีวิตในครรภ์ โดยความเสี่ยงของการแท้งขึ้นกับอายุครรภ์ที่ได้รับการรักษา การฉายรังสีรักษาในช่วงอายุครรภ์ 4 สัปดาห์แรก ทำให้เกิดโครโมโซมที่ผิดปกติ และทำให้เกิดการแท้งได้ ปัจจุบันยังไม่ทราบปริมาณรังสีที่สัมพันธ์กับการแท้งที่ชัดเจน การได้รับยาเคมีบำบัดในช่วงการสร้างอวัยวะ 8 สัปดาห์แรก ทำให้เกิดการแท้งตามมาได้สูง ในขณะเดียวกันผู้หญิงที่เคยรักษาโรคมะเร็งด้วยการฉายรังสีรักษาบริเวณช่องท้องหรือเคยได้รับยาเคมีบำบัดก่อนตั้งครรภ์ พบอัตราการแท้งสูงกว่าคนปกติ

การผ่าตัด (5)

ยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนถึงความสัมพันธ์ของการผ่าตัดกับการแท้งในระยะแรก มีการศึกษาพบว่าการผ่าตัดโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนในระยะแรกของการตั้งครรภ์ไม่เพิ่มความเสี่ยงของการแท้ง อย่างไรก็ตามการผ่าตัดรังไข่ และcorpus luteum ทำให้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนลดลง สามารถทำให้เกิดการแท้งตามมาได้ โดยเฉพาะช่วงอายุครรภ์น้อยกว่า 10 สัปดาห์ จึงต้องได้รับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนทดแทน

เมื่อหญิงตั้งครรภ์ประสบอุบัติเหตุ โดยเฉพาะบริเวณช่องท้อง สามารถทำให้เกิดการแท้งในระยะแรกได้ แต่อย่างไรก็ตามอุบัติการณ์จะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุครรภ์เพิ่มขึ้น

ความผิดปกติของมดลูก (8)

เมื่อมดลูกมีความผิดปกติของการสร้าง mullerian duct หรือการเชื่อมไม่สมบูรณ์ทำให้มดลูกและช่องคลอดมีพัฒนาการที่ผิดปกติ ได้แก่ septate uterus, unicornuate, didelphys และ bicornuate รวมถึงเนื้องอกมดลูกชนิด submucous เป็นสาเหตุของภาวะแท้งได้โดยเฉพาะถ้าอยู่บริเวณตำแหน่งเกาะตัวของรก

สารอาหาร(5)

ภาวะทุพโภชนาการ ไม่เพิ่มความเสี่ยงของการแท้ง แม้ว่าจะมีการแพ้ท้องอย่างรุนแรง (hyperemesis gravidarum) ในขณะที่คุณภาพของอาหารอาจมีส่วนในการช่วยลดภาวะนี้ได้ โดยพบว่าการรับประทานผักผลไม้ ธัญพืชที่ขัดสีน้อย น้ำมันพืชและปลาจะช่วยลดอัตราการแท้งได้ มีการศึกษาความสัมพันธ์ของน้ำหนักของมารดากับการแท้ง สรุปว่าน้ำหนักที่ต่ำกว่ามาตรฐานไม่เพิ่มความเสี่ยงของการแท้งและในทางกลับกันความอ้วนเพิ่มความเสี่ยงของการแท้ง

ปัจจัยทางด้านพฤติกรรมทางสังคมและสิ่งแวดล้อม (5)

การใช้สารเสพติดปริมาณมาก การใช้โคเคน เพิ่มความเสี่ยงของการแท้ง

การสูบบุหรี่ ซึ่งประมาณ 10% ของหญิงตั้งครรภ์ที่สูบบุหรี่ การสูบบุหรี่มากกว่า 10 มวนต่อวัน เพิ่มความเสี่ยงของการแท้ง 1.2-3.4 เท่า รวมถึงการได้รับควันบุหรี่มือสองด้วย จึงแนะนำให้หยุดสูบบุหรี่ (9)

การดื่มสุรา ทำให้ทารกมีความพิการและแท้งได้ เมื่อมีการดื่มสุรามากกว่า 3 ดริ้งต่อสัปดาห์ (10)

กาแฟปริมาณมาก โดยมากกว่า 5 แก้วต่อวัน หรือปริมาณคาเฟอีนมากกว่า 500 มิลลิกรัม เพิ่มความเสี่ยงของการแท้ง

สารเคมีที่มีสัมพันธ์กับการแท้ง ได้แก่ biphenol A, phthalates, polychlorinated biphenyls และ Dichlorodiphenyltrichloroethane (DDT) เพิ่มความเสี่ยงของการแท้ง

สารเคมีในโรงพยาบาล ได้แก่ sterilizing agents, x ray, ยาเคมีบำบัด ยาดมสลบ โดยสัมผัส Nitrous oxide มากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวันเพิ่มความเสี่ยงของการแท้งชัดเจน

ปัจจัยทางด้านบิดา (5)

อายุของบิดา

อายุของบิดาที่เพิ่มมากขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญที่สัมพันธ์กับการแท้ง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่สัมพันธ์กับความผิดปกติของโครโมโซมที่ตัวอสุจิ

การวินิจฉัย (11)

การวินิจฉัยอาศัยข้อมูลจากประวัติ การตรวจร่างกาย และการตรวจเพิ่มเติม โดยอาการที่พบบ่อยคือ ปวดหน่วงท้องน้อย มีเลือดออกทางช่องคลอด มีชิ้นเนื้อหลุดออกมาจากช่องคลอด แต่บางรายอาจไม่มีอาการผิดปกติ จากตรวจร่างกาย มักพบขนาดมดลูกโต ปากมดลูกเปิด มีชิ้นเนื้อที่ปากมดลูกหรือช่องคลอด ส่วนการตรวจเพิ่มเติม ได้แก่ อัลตราซาวน์ ซึ่งสามารถทำให้ทราบว่าทารกในครรภ์มีชีวิตอยู่หรือไม่ การแท้งครบหรือการแท้งค้าง แยกภาวะการตั้งครรภไข่ปลาอุกหรือการตั้งครรภ์นอกมดลูกลักษณะของการตรวจอัลตราซาวด์ที่ช่วยวินิจฉัยภาวะแท้งในระยะแรกดังตารางที่1(12) และการตรวจค่า serum B-hCG ที่มีปริมาณต่ำ โดยพบต่ำกว่าค่า Discriminatory level 3,500 mIU/ml ซึ่งคือค่าของ serum B-hCG ที่มากกว่าค่าที่กำหนดไว้ซึ่งตามปกติควรเห็นถุงการตั้งครรภ์ในมดลูกโดยการทำอัลตราซาวด์ทางช่องคลอด หากไม่พบอาจทำให้นึกถึงการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ ได้แก่ การแท้ง หรือการตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือการตรวจติดตามระดับ serum B-hCG ซึ่งจะเพิ่มขึ้นต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ กล่าวคือ ในการตั้งครรภ์ช่วงแรก serum hCG จะเพิ่มขึ้นแบบ curvilinear จนกระทั่งคงที่ที่ 100,000 mIU/ml ตอนอายุครรภ์ 10 สัปดาห์ โดยค่าเริ่มต้นของserum hCGมีผลต่ออัตราการเพิ่ม เช่น ค่าเริ่มต้น < 1,500mIU/ml อัตราการเพิ่มอยู่ที่ 49%,ค่าเริ่มต้น 1,500-3,000 mIU/ml อัตราการเพิ่มอยู่ที่ 40%,ค่าเริ่มต้น >3,000 mIU/ml อัตราการเพิ่มอยู่ที่ 33% พบว่า 99% ของการตั้งครรภ์ปกติมีอัตราการเพิ่มขึ้นของserum hCGที่มากกว่าอัตราขั้นต่ำดังกล่าว (13)

 

ตารางที่1 Guidelines for Transvaginal Ultrasonographic Diagnosis of Pregnancy Failure in a Woman with an Intrauterine Pregnancy of Uncertain Viability.

Findings Diagnostic of Pregnancy Failure

Findings Suspicious for, but Not Diagnostic of, Pregnancy Failure

o   Crown–rump length of 7 mm and no heartbeat

o   Mean sac diameter of 25 mm and no embryo

o   Absence of embryo with heartbeat 2 wk after a scan that showed a gestational sac without a yolk sac

o   Absence of embryo with heartbeat 11 days after a scan that showed a gestational sac with a yolk sac

o   Crown–rump length of <7 mm and no heartbeat

o   Mean sac diameter of 16–24 mm and no embryo

o   Absence of embryo with heartbeat 7–13 days after a scan that showed a gestational sac without a yolk sac

o   Absence of embryo with heartbeat 7–10 days after a scan that showed a gestational sac with a yolk sac

o   Absence of embryo 6 wk after last menstrual period

o   Empty amnion (amnion seen adjacent to yolk sac, with no visible embryo)

o   Enlarged yolk sac (>7 mm)

o   Small gestational sac in relation to the size of the embryo (<5 mm difference between mean sac diameter and crown– rump length)

การรักษา (5,11)

การรักษาของการแท้งในระยะแรกประกอบด้วย

  1. การสังเกตอาการ
  2. การรักษาด้วยยา
  3. การรักษาด้วยการทำหัตถการ

การสังเกตอาการ

การแท้งเองเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์มากถึง 80% เมื่อสังเกตอาการเป็นระยะเวลาที่เพียงพอ รอได้ถึง 8 สัปดาห์(14) ระหว่างที่สังเกตอาการ ผู้ป่วยควรได้รับแนะนำอาการที่จะเกิดขึ้น คือ ผู้ป่วยมักมีเลือดออกทางช่องคลอด ตามด้วยการปวดหน่วงท้องน้อยมาก และมีการหลุดออกของชิ้นส่วนการตั้งครรภ์ ผู้ป่วยควรได้รับแนะนำให้สังเกตอาการปวดท้องน้อย และควรมาโรงพยาบาลหากมีเลือดออกทางช่องคลอดมากหรือมีการหลุดของก้อนการตั้งครรภ์ทางช่องคลอด และให้ผู้ป่วยนำก้อนการตั้งครรภ์ที่หลุดออกมาให้แพทย์ดูด้วย เพื่อยืนยันว่าเกิดการแท้งจริง หากไม่มีการแท้งเอง หรือแท้งไม่ครบยังมีความจำเป็นในการรับการรักษาโดยใช้ยาหรือการดูดหรือขูดชิ้นเนื้อทางโพรงมดลูก การยืนยันว่าเกิดการแท้งครบอาศัยจากประวัติ การตรวจร่างกาย ปากมดลูกปิด ไม่มีเลือดออกทางช่องคลอด และการอัลตราซาวด์ที่ไม่พบถุงการตั้งครรภ์และเยื่อบุโพรงมดลูกหนาน้อยกว่า 30 มิลลิเมตร(15) การตรวจติดตามอื่นๆ ถ้าไม่สามารถมาทำอัลตราซาวด์ได้ ได้แก่ การโทรศัพท์เพื่อติดตามอาการ การตรวจค่า beta hCG

การรักษาด้วยยา

พิจารณาในรายที่ไม่มีการติดเชื้อ ตกเลือด ซีดมาก และมีภาวะเลือดออกผิดปกติ การใช้ยาจะลดระยะเวลาและเพิ่มอัตราของการแท้งครบเมื่อเทียบกับการสังเกตอาการ

Misoprostol เป็นยาที่ใช้อย่างแพร่หลายในการยุติการตั้งครรภ์ในระยะแรก ออกฤทธิ์ยับยั้ง progesterone receptors ทำให้มดลูกบีบตัวและปากมดลูกนุ่มบางตัวและเปิดขยายออก มีการศึกษาการใช้ยานี้จำนวนมากสรุปผลได้ว่า การใช้ยาปริมาณมากได้ประสิทธิภาพดีกว่าการใช้ยาในปริมาณน้อย การเหน็บทางช่องคลอดหรืออมใต้ลิ้นให้ผลดีกว่าการกินยา แต่การอมใต้ลิ้นทำให้เกิดท้องเสียได้มากกว่า (16) นอกจากนี้การศึกษาประสิทธิภาพของยา Misoprostol เหน็บทางช่องคลอดพบว่า อัตราการแท้งครบ 71 % ใน 3 วัน หลังใช้ Misoprostol 800 ไมโครกรัม และอัตราการแท้งครบเพิ่มขึ้นเป็น 84 % หลัง เพิ่ม Misoprostol อีก 800 ไมโครกรัม (15)

Mifepristone เป็นยาที่นิยมใช้ร่วมกับยา Misoprostol ออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของมดลูกที่กล้ามเนื้อมดลูกโดยตรงและปากมดลูกนุ่มบางตัว การศึกษาประสิทธิภาพของการกินยา Mifepristone 200 มิลลิกรัม 24 ชั่วโมงก่อนได้ยา Misoprostol เปรียบเทียบกับยา Misoprostol อย่างเดียว พบว่าการกินยา Mifepristone 200 มิลลิกรัม 24 ชั่วโมงก่อนได้ยา Misoprostol ได้ผลดีกว่าการให้ยา Misoprostol อย่างเดียว โดย เพิ่มอัตราการแท้งครบ (17) และลดการรักษาด้วยการทำหัตถการ ส่วนผลข้างเคียงในเรื่องเลือดออกทางช่องคลอดและปวดท้องนั้นไม่แตกต่างกันทั้ง 2 กลุ่ม (18) ในรายที่แท้งไม่ครบ การใช้ยา Misoprostol ไม่เพิ่มอัตราการแท้งครบเมื่อเทียบกับการสังเกตอาการ (19)

ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องมากกว่าปวดท้องประจำเดือน ดังนั้นควรให้ยาแก้ปวดด้วย และมีเลือดออกทางช่องคลอด ถ้าปริมาณมากคือใช้ผ้าอนามัยมากกว่า 2 ผืนต่อชั่วโมง เป็นเวลา 2 ชั่วโมงขึ้นไป ควรมาโรงพยาบาลทันที ส่วนผลข้างเคียงอื่นๆ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ไข้ หนาวสั่น ปวดศรีษะ ผู้ป่วยควรได้รับแนะนำอาการที่จะเกิดขึ้น และการปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับการสังเกตอาการ

การรักษาด้วยการทำหัตถการ

ควรเลือกใช้วิธีนี้ในกรณีที่มีความเร่งด่วนในการรักษา ได้แก่ ผู้ป่วยมีเลือดออกทางช่องคลอดอย่างต่อเนื่องปริมาณมาก สัญญาณชีพผิดปกติ สงสัยว่ามีการติดเชื้อในมดลูก หรือมีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อภาวะเลือดออกหรือติดเชื้อและไม่สามารถมาตรวจติดตามต่อเนื่องได้

การรักษาด้วยการทำหัตถการ ได้แก่ การขูดมดลูก (sharp curettage) และการดูดด้วยเครื่องดูดสูญญากาศ (suction curettage) สามารถทำได้ที่ห้องตรวจ โดยใช้ Electric vacuum source หรือ Manual vacuum aspirator และใช้ยาชาเฉพาะที่ ซึ่งค่าใช้จ่ายถูกกว่า สะดวกกว่า และนัดเวลาได้ง่ายกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการทำที่ห้องผ่าตัด

ประสิทธิภาพ

การยุติการตั้งครรภ์ในระยะแรกมีประสิทธิภาพสูง โดยการรักษาด้วยการทำหัตถการมีประสิทธิภาพสูงถึงร้อยละ 99 จากการศึกษาวิจัยที่ประเทศสหรัฐรายงานประสิทธิภาพของการใช้ยาโดยแบ่งเป็น ในรายที่แท้งไม่ครบและแท้งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้มีประสิทธิภาพ 93% ในรายที่มีถุงการตั้งครรภ์ที่ไม่มีตัวอ่อนมีประสิทธิภาพ 88% และในรายที่มีตัวอ่อนหรือทารกเสียชีวิตในครรภ์ระยะแรกมีประสิทธิภาพ 81% (15) อย่างไรก็ตามปัจจัยที่สำคัญของการคาดคะเนความสำเร็จของการยุติการตั้งครรภ์คือ การตั้งครรภ์ครั้งแรกและมีเลือดออกทางช่องคลอดอย่างต่อเนื่องปริมาณมาก (20)

ภาวะแทรกซ้อน

การยุติการตั้งครรภ์ในระยะแรกมีความปลอดภัยและมีอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ำซึ่งได้แก่

  1. การเกิดพังผืดในโพรงมดลูกและมดลูกทะลุ เกิดขึ้นได้น้อยกว่า 1% เกิดตามหลังการขูดมดลูก
  2. การเสียเลือดเกิดขึ้นได้ตามหลังการรักษาทั้ง 3 แบบคือ การสังเกตอาการ การรักษาด้วยยาและการรักษาด้วยการทำหัตถการ จากการวิจัยเปรียบเทียบการเสียเลือดระหว่างกลุ่มการรักษาด้วยยา Misoprostolกับกลุ่มการดูดด้วยเครื่องดูดสูญญากาศ พบว่ากลุ่มการรักษาด้วยยา Misoprostol มีความเข้มข้นเลือดลดลงมากกว่าหรือเท่ากับ 3 กรัมต่อเดซิลิตร มากกว่ากลุ่มการดูดด้วยเครื่องดูดสูญญากาศ ส่วนการที่เสียเลือดมากที่ต้องได้รับการักษาในโรงพยาบาลของทั้ง 2 กลุ่ม ไม่แตกต่างกัน โดยมีประมาณ 0.5-1% (15)
  3. การติดเชื้อ เกิดขึ้นได้น้อยประมาณ 1-2% โดยจากการศึกษาพบว่าการรักษาแบบการสังเกตอาการมีอัตราการติดเชื้อต่ำกว่าการรักษาด้วยการทำหัตถการ เพื่อป้องกันการติดเชื้อควรให้ยาปฏิชีวนะก่อนการรักษาด้วยการทำหัตถการคือให้ doxycycline 200 มิลลิกรัม รับประทาน ก่อนทำหัตถการ 1 ชั่วโมง

การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการคุมกำเนิด (11)

แนะนำให้งดการมีเพศสัมพันธ์ 1-2 สัปดาห์หลังจากยุติการตั้งครรภ์ เพื่อลดอัตราการติดเชื้อ ส่วนการคุมกำเนิดสามารถเริ่มได้ทันทีหลังจากยุติการตั้งครรภ์ ทั้งการคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอรโมน ซึ่งได้แก่ ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินอย่างเดียว ยาฉีดคุมกำเนิด ยาฝังคุมกำเนิด ยาแปะคุมกำเนิด และการใช้ห่วงคุมกำเนิด ไม่มีข้อห้ามในการใช้ห่วงคุมกำเนิดหลังการทำหัตถการถ้าไม่มีการติดเชื้อ อัตราการหลุดของห่วงคุมกำเนิดเมื่อใส่ตอนหลังจากยุติการตั้งครรภ์ทันทีเปรียบเทียบกับหลังยุติการตั้งครรภ์ 2-6 สัปดาห์ ไม่แตกต่างกัน (21)

การส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุและการป้องกัน (11)

โดยทั่วไปไม่แนะนำการส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุหลังการแท้งในระยะแรกติดกัน 2 ท้อง รวมถึงไม่แนะนำให้ส่งตรวจโครโมโซมของคู่สามีภรรยาหรือของทารก และตรวจภาวะการเกิดลิ่มเลือดอุดตันจากพันธุกรรม (Inherited thrombophilia) ถึงแม้ว่าภาวะ Thrombophilia จะเป็นสาเหตุที่คิดถึงได้บ่อยในการแท้งในระยะแรกก็ตาม การได้ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดไม่ลดโอกาสการเกิดการแท้งในระยะแรกในผู้หญิงที่เป็น Thrombophilia ยกเว้นในรายที่เป็น Antiphospholipid syndrome (22)

ในส่วนการป้องกัน ไม่มีการป้องกันการแท้งในระยะแรกใดที่มีประสิทธิภาพ ในอดีตมีการแนะนำให้นอนพัก กินวิตามิน ให้ยาคลายกล้ามเนื้อมดลูก ให้ยาbeta hCG ซึ่งในปัจจุบันพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้ช่วยป้องกันการแท้งในระยะแรก ส่วนการให้ฮอรโมนโปรเจสเตอโรนทั้งทางกิน ฉีด เหน็บช่องคลอดไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการแท้งในระยะแรก แต่มีประสิทธิภาพในภาวะแท้งซ้ำซาก (23)

เอกสารอ้างอิง

  1. National Institute for Health and Clinical Excellence. Ectopic pregnancy and miscarriage: diagnosis and initial management in early pregnancy of ectopic pregnancy and miscarriage. NICE Clinical Guideline 154. Manchester (UK): NICE; 2012
  2. Wilcox AJ, Weinberg CR, O’Connor JF, Baird DD, Schlatterer JP, Canfield RE, et al. Incidence of early loss of pregnancy. N Engl J Med 1988;319:189–94.
  3. Wang X, Chen C, Wang L, Chen D, Guang W, French J. Conception, early pregnancy loss, and time to clinical pregnancy: a population-based prospective study. Fertil Steril 2003;79:577–84.
  4. Zinaman MJ, Clegg ED, Brown CC, O’Connor J, Selevan SG. Estimates of human fertility and pregnancy loss. Fertil Steril 1996;65:503–9.
  5. F.Gary Cunningham KJL, Steven L. Bloom, Kodi S. Dashe, Barbara L. Hoffman, at al. Williams Obstetrics. 2018;25TH edition.
  6. Evaluation and treatment of recurrent pregnancy loss: a committee opinion. Practice Committee of the American Society for Reproductive Medicine. Fertil Steril 2012;98: 1103–11.
  7. Regan L, Braude PR, Trembath PL. Influence of past reproductive performance on risk of spontaneous abortion. BMJ 1989; 299:541.
  8. Heinonen PK, Saarikoski S, Pystynen P. Reproductive performance of women with uterine anomalies. An evaluation of 182 cases. Acta Obstet Gynecol Scand 1982; 61:157.
  9. Chatenoud L, Parazzini F, di Cintio E, et al. Paternal and maternal smoking habits before conception and during the first trimester: relation to spontaneous abortion. Ann Epidemiol 1998; 8:520.
  10. Windham GC, Von Behren J, Fenster L, et al. Moderate maternal alcohol consumption and risk of spontaneous abortion. Epidemiology 1997; 8:509.
  11. American College of Obstetricians and Gynecologists: Early Pregnancy Loss. Practice Bulletin No. 200, November 2018.
  12. Doubilet PM, Benson CB, Bourne T, Blaivas M, Barnhart KT, Benacerraf BR, et al. Diagnostic criteria for nonviable pregnancy early in the first trimester. Society of Radiologists in Ultrasound Multispecialty Panel on Early First Trimester Diagnosis of Miscarriage and Exclusion of a Viable Intrauterine Pregnancy. N Engl J Med 2013;369:1443–51.
  13. American College of Obstetricians and Gynecologists: Tubal ectopic pregnancy. Practice Bulletin No. 193, March 2018.
  14. Luise C, Jermy K, May C, Costello G, Collins WP, Bourne TH. Outcome of expectant management of spontaneous first trimester miscarriage: observational study. BMJ 2002;324:873–5.
  15. Zhang J, Gilles JM, Barnhart K, Creinin MD, Westhoff C, Frederick MM. A comparison of medical management with misoprostol and surgical management for early pregnancy failure. National Institute of Child Health Human Development (NICHD) Management of Early Pregnancy Failure Trial. N Engl J Med 2005;353:761–9.
  16. Neilson JP, Hickey M, Vazquez JC. Medical treatment for early fetal death (less than 24 weeks). Cochrane Database of Systematic Reviews 2006, Issue 3.
  17. Schreiber CA, Creinin MD, Atrio J, Sonalkar S, Ratcliffe SJ, Barnhart KT. Mifepristone pretreatment for the medical management of early pregnancy loss. N Engl J Med 2018;378:2161–70.
  18. Kulier R, Kapp N, Gülmezoglu AM, Hofmeyr GJ, Cheng L, Campana A. Medical methods for first trimester abortion. Cochrane Database of Systematic Reviews 2011, Issue 11.
  19. Neilson JP, Gyte GM, Hickey M, Vazquez JC, Dou L. Medical treatments for incomplete miscarriage. Cochrane Database of Systematic Reviews 2013, Issue 3.
  20. Creinin MD, Huang X, Westhoff C, Barnhart K, Gilles JM, Zhang J. Factors related to successful misoprostol treatment for early pregnancy failure. National Institute of Child Health and Human Development Management of Early Pregnancy Failure Trial. Obstet Gynecol 2006;107:901–7.
  21. Bednarek PH, Creinin MD, Reeves MF, Cwiak C, Espey E, Jensen JT. Immediate versus delayed IUD insertion after uterine aspiration. Post-Aspiration IUD Randomization (PAIR) Study Trial Group. N Engl J Med 2011;364:2208–17.
  22. McNamee K, Dawood F, Farquharson RG. Thrombophilia and early pregnancy loss. Best Pract Res Clin Obstet Gynaecol 2012;26:91–102.
  23. Haas DM, Ramsey PS. Progestogen for preventing miscarriage. Cochrane Database of Systematic Reviews 2013, Issue 10.
Read More
SCT1

Ovarian sex cord stromal tumors

Ovarian sex cord stromal tumors

พญ.กฤตยา ภิรมย์
อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.พญ.ประภาพร สู่ประเสริฐ


บทนำ

 

เนื้องอกรังไข่ชนิด sex cord stroma เกิดจากเซลล์ sex cord และ stroma ของรังไข่ โดยเนื้องอกชนิดนี้ประกอบขึ้นจากเซลล์หลายชนิดต่อไปนี้ร่วมกันได้แก่ Sex cord ที่มาจากเพศหญิงคือ granulosa cells และ theca cells ส่วน sex cord ที่มาจากเพศชายคือ Sertoli cells และ Leydig cells ส่วน stroma คือ fibroblast หรือ precursors ของเซลล์เหล่านี้ (1)

SCT1

รูปที่ 1 ชนิดของเนื้องอกรังไข่ตามเซลล์ต้นกำเนิด(2)

อุบัติการณ์

เนื้องอกชนิดนี้พบได้ประมาณร้อยละ 5-8 ของเนื้องอกรังไข่ทั้งหมด ส่วนใหญ่ของเนื้องอกชนิดนี้เป็นเนื้องอกธรรมดา (benign) หรือ กลุ่มเนื้องอกที่มีโอกาสการเป็นมะเร็งน้อย (low malignant potential)(1) เนื้องอกชนิดนี้มักวินิจฉัยได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น โดยวินิจฉัยจากลักษณะทางพยาธิวิทยาของชิ้นเนื้อ ส่วนใหญ่ของเนื้องอกกลุ่มนี้เป็น granulosa-theca cell tumor ส่วนกลุ่ม Sertoli-Leydig cell tumor พบได้น้อย (1,3)

เนื้องอกกลุ่มนี้จะพบในอายุที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับเนื้องอกรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว อายุโดยเฉลี่ยของเนื้องอกรังไข่ชนิด sex cord stroma อยู่ที่ 50 ปี โดยร้อยละ 12 พบในกลุ่มอายุน้อยกว่า 30 ปี และร้อยละ 50 พบในกลุ่มอายุ 30-59 ปี ในขณะที่อายุโดยเฉลี่ยของเนื้องอกรังไข่ชนิดเยื่อบุผิวอยู่ที่ 61 ปี(3)

กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นเนื้องอกชนิดนี้ คือ ภาวะที่มีระดับ FSH สูง เช่น วัยเด็กก่อนมีประจำเดือน หรือวัยหมดประจำเดือน การใช้ยากระตุ้นไข่ตก เชื้อชาติผิวดำมากกว่าผิวขาว โรคอ้วน โรคทางพันธุกรรมบางชนิดที่มักพบร่วมกัน เช่น Peutz-Jeghers มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่ ในขณะที่กลุ่มที่สูบบุหรี่ กลุ่มที่ใช้ยาคุมกำเนิด และมีบุตร จะลดความเสี่ยงของโรคนี้ลง (4)

ลักษณะอาการทางคลินิก

ส่วนใหญ่จะมาด้วย ก้อนโตในอุ้งเชิงกราน ท้องมาน ปวดท้อง เนื้องอกบางชนิดสามารถสร้างฮอร์โมนเพศได้ เช่น เอสโตรเจน หรือ แอนโดรเจน โดยร้อยละ 90 ของเนื้องอกรังไข่ที่สร้างฮอร์โมนอยู่ในเนื้องอกรังไข่กลุ่มนี้ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติทางต่อมไร้ท่อ เช่น ภาวะวัยสาวก่อนกำหนด ระดูผิดปกติ เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด เลือดออกหลังวัยหมดระดู เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ภาวะบุรุษเพศ เช่น ขาดระดู ขนดก เต้านมฝ่อ มีสิว เสียงห้าว(5)

การตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม(5,6)

การตรวจต่อไปนี้สามารถช่วยในการวินิจฉัย

สารบ่งชี้มะเร็ง (tumor marker): มีประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัยแยกโรคและใช้ในการตรวจติดตามหลังการรักษา(5)

ตารางที่ 1 แสดง tumor marker ที่สร้างโดย ovarian sex cord stromal tumors(6)

 

AFP

Estradiol

Inhibin

Testosterone

Androstenedione

DHEA

AMH

Thecoma- Fibroma

Granulosa cell

±

+

±

+

Sertoli-Leydig cell

±

±

±

±

±

±

การตรวจอัลตราซาวน์ (ultrasonography): เพื่อยืนยันการมีก้อนที่รังไข่ และดูลักษณะก้อนว่าเป็นน้ำหรือเนื้อตัน รวมถึงประเมินลักษณะการเปลี่ยนแปลงของเส้นเลือดที่มาเลี้ยงรังไข่เพื่อช่วยในการแยกว่าเป็นเนื้องอกธรรมดาหรือมะเร็ง ในผู้หญิงที่สงสัยเนื้องอกรังไข่ชนิด sex cord stroma ต้องประเมินเยื่อบุโพรงมดลูกด้วย เพื่อดูความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูก เนื่องจากผลของฮอรโมนเอสโตรเจนจะทำให้มีเยื่อบุโพรงมดลูกหนาได้ นอกจากนี้ควรตรวจหาน้ำในช่องท้อง น้ำในเยื่อหุ้มปอดและอวัยวะโตในช่องท้องร่วมด้วย

การถ่ายภาพรังสีทรวงอก (chest x-ray): ช่วยประเมินการแพร่กระจายไปที่ปอดหรือเยื่อกั้นกลางช่องอกได้

การตรวจเอกเซรย์คอมพิวเตอร์ (computed tomography/ CT) หรือ การตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging/ MRI): ช่วยประเมินเรื่องการแพร่กระจายภายในช่องท้องและการแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองหลังช่องท้อง

Endometrial sampling: พิจารณาเก็บชิ้นเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด หรือวัยทองที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกหนากว่า 4 มิลลิเมตร รวมถึงในรายที่สงสัยเนื้องอกรังไข่ชนิด granulosa cell เพื่อวินิจฉัยก่อนการผ่าตัด

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยที่แน่นอนของเนื้องอกรังไข่ชนิด sex cord stroma ได้จากลักษณะทางพยาธิวิทยาของชิ้นเนื้อที่ได้จากการผ่าตัด ส่วนก่อนการผ่าตัด อาจสงสัยได้จากมีก้อนที่ปีกมดลูก ร่วมกับมีอาการแสดงของฮอรโมนเอสโตรเจนหรือแอนโดรเจนสูงและมีระดับสารบ่งชี้มะเร็ง

การแบ่งชนิดของ ovarian sex cord stromal tumors (1)

ตารางที่ 2 แสดงการแบ่งชนิดเนื้องอกรังไข่ชนิด Sex cord stromal ตาม WHO classification of tumors of the ovary (7)

I.  Granulosa -stromal cell tumors II. Sertoli-stromal cell tumors
A. Granulosa cell tumor group

1. Adult-type granulosa cell tumor

2. Juvenile-type granulosa cell tumor

B. Theca–fibroma group

1. Thecoma

a. Typical

b. Luteinized (partly luteinized theca cell tumor)

c. Calcified

2. Fibroma

3. Cellular fibroma (cellular fibrous tumor of low malignant potential)

4. Fibrosarcoma

5. Stromal tumor with minor sex cord elements

6. Sclerosing stromal tumor

7. Signet-ring stromal tumor

8. Unclassified (fibrothecoma)

A. Sertoli–Leydig cell tumor group (androblastoma)

1. Well differentiated

2. Intermediate differentiation Variant with heterologous elements

3. Poorly differentiated (sarcomatoid) Variant with heterologous elements

4. Retiform Variant with heterologous elements

B. Sertoli cell tumor

C. Stromal-Leydig cell tumor

III. Sex cord-stromal cell tumors of mixed or unclassified cell type
A. Sex cord tumor with annular tubules

B. Gynandroblastoma (specify components)

C. Sex cord-stromal tumor, unclassified

IV. Steroid cell tumors
A. Stromal luteoma

B. Leydig cell tumor group

a. Hilus cell tumor

b. Leydig cell tumor, nonhilar type

c. Leydig cell tumor, not otherwise specified

C. Steroid cell tumor, not otherwise specified

a. Well differentiated

b. Malignant

Granulosa-Stromal cell tumor

Granulosa-Stromal cell tumor ประกอบด้วย granulosa cell tumors, thecomas และ fibromas ซึ่ง granulosa cell tumors เป็นกลุ่มเนื้องอกที่มีโอกาสการเป็นมะเร็งน้อย (Low malignant potential) ส่วน thecomas และ fibroma เป็นเนื้องอกธรรมดา (benign) แต่มีส่วนน้อยมากที่เป็นมะเร็งเรียกว่า malignant thecoma และ fIbrosarcoma(1)

Granulosa cell tumors

พบได้ร้อยละ 1-2 ของเนื้องอกรังไข่ทั้งหมด และ ร้อยละ 5 ของมะเร็งรังไข่ มะเร็ง granulosa-Stromal cell พบได้บ่อยสุดในกลุ่มมะเร็งรังไข่ชนิด sex cord stroma โดยพบได้ร้อยละ 70 เนื้องอกกลุ่มนี้สามารถพบได้ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ โดยอายุเฉลี่ยคือ 52 ปี(5,8) ซึ่งแบ่งออกเป็น adult type และ juvenile type

1. Granulosa cell tumors : adult type

พบร้อยละ 95 ของ granulosa cell tumors พบในผู้หญิงอายุ 47-54ปี (8)

ลักษณะทางคลินิก: ก้อนโตในอุ้งเชิงกราน ท้องมาน ปวดท้อง อาการของเอสโตรเจนสูงจากการสร้างของก้อน เช่น ระดูผิดปกติ เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด คัดตึงเต้านม เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว และส่วนน้อยจะพบภาวะบุรุษเพศ เช่น ขาดระดู ขนดก(9,10)

ลักษณะทางพยาธิวิทยา: ร้อยละ 95 พบที่รังไข่ข้างเดียว ก้อนโตเฉลี่ย 12 เซนติเมตร ลักษณะเป็น cystic หรือ เป็น solid แน่นหรือนุ่ม สีขาวเทาหรือเหลือง อาจมี necrosis หรือ hemorrhage ส่วนลักษณะของเซลล์ มีลักษณะรีหรือยาว สีซีด นิวเคลียสใหญ่มีร่องตรงกลางเหมือนเมล็ดกาแฟ การเรียงตัวมีหลายแบบ เช่น microfollicular ซึ่งพบมากที่สุด เซลล์เรียงตัวเป็น Rosette formation และมี eosinophilic fluid อยู่ภายใน เรียก Call- Exner bodies และแบบอื่นๆ ได้แก่ macrofollicular, trabecular, insular, water silk, gryriform, diffuse(2,5)

การพยากรณ์โรค: ผู้ป่วยมักจะอยู่ในระยะที่ 1 ร้อยละ 90 มีการพยากรณ์โรคดี อัตราการรอดชีวิตใน 10 ปีของระยะที่ 1 ร้อยละ 86-96 ส่วนของระยะอื่น อยู่ที่ร้อยละ 26-49 การกลับเป็นซ้ำในระยะยาว 5-30ปี โดยเฉลี่ยที่ 6 ปี และผู้ป่วยมักจะอยู่ได้ประมาณ 5.6 ปีหลังการกลับเป็นซ้ำ(9)

2. Granulosa cell tumors: juvenile type

พบร้อยละ 5 ของ granulosa cell tumors พบในวัยเด็กก่อนวัยเจริญพันธุ์ หรือผู้หญิงอายุน้อยกว่า 30 ปี(8)

ลักษณะทางคลินิก: ภาวะวัยสาวก่อนกำหนด ชนิด isosexual precocious pseudopuberty ก้อนโตในอุ้งเชิงกราน ท้องมาน ปวดท้อง

ลักษณะทางพยาธิวิทยา: ร้อยละ 95 พบที่รังไข่ข้างเดียว มองด้วยตาเปล่าจะเหมือนชนิด adult type โดยจะแยกได้จากfollicular ที่มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกัน ไม่ค่อยพบ Call- Exner bodies ลักษณะของเซลล์ มีลักษณะกลม ติดสีเข้ม นิวเคลียสใหญ่ไม่มีร่องตรงกลาง มี vacuole หรือ eosinophilic cytoplasm(2,5)

การพยากรณ์โรค: การดำเนินโรครุนแรงกว่าแบบ adult type มักพบในระยะที่สูงกว่า การกลับเป็นซ้ำเร็วโดยเฉลี่ยที่ 3 ปี(9)

Thecoma

เป็นเนื้องอกธรรมดาของ theca cell พบได้ร้อยละ1 ของเนื้องอกรังไข่ พบได้ทุกกลุ่มอายุ ส่วนใหญ่อายุ 60-70 ปี เป็นเนื้องอกที่สร้างฮอร์โมนได้มากที่สุดในเนื้องอกรังไข่ชนิด sex cord stroma(5)

ลักษณะทางคลินิก: ก้อนโตในอุ้งเชิงกราน ปวดท้อง อาการของเอสโตรเจนสูงจากการสร้างของก้อน เช่น เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดพบได้ร้อยละ 60 ของผู้ป่วย เนื้องอกมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว ตื่งเนื้อของเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

ลักษณะทางพยาธิวิทยา: ก้อนขนาดใหญ่ ก้อนเนื้อตัน แข็ง กลม สีเทาเหลือง ลักษณะของเซลล์ ใส มี vacuole ใน cytoplasm นิวเคลียสกลมรี มี spindle cell เรียงตัวสานไปมา แทรกด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน(2,5)

Fibroma

เป็นเนื้องอกธรรมดาของ stroma พบได้บ่อยสุด โดยพบร้อยละ 4 ของเนื้องอกรังไข่ พบได้ทุกอายุ มักพบอายุมากกว่า 30 ปี โดยอายุเฉลี่ยคือ 55 ปี เนื้องอกชนิดนี้ไม่สร้างฮอร์โมน

ลักษณะทางคลินิก: มักมีอาการปวดท้องน้อยและมีระดูผิดปกติ

มักมีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการ 2 กลุ่ม(1,5)

  1. Meigs’s syndrome ประกอบด้วย fibromatous ovarian tumor ร่วมกับ ascites พบได้ร้อยละ 10-15 ของก้อนที่มากกว่า 10 เซนติเมตร เกิดจากสารน้ำซึมผ่านก้อนเข้ามาในช่องท้อง และ hydrothorax โดยมักพบข้างขวา พบได้ร้อยละ 1 เกิดจากสารน้ำซึมผ่านท่อน้ำเหลือง
  2. Gorlin’s syndrome หรือ Nevoid basal cell carcinoma syndrome เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosomal dominant ประกอบด้วย fibromatous ovarian tumor ร่วมกับ basal cell carcinoma และ keratocystic odontogenic tumors ที่ขากรรไกร

ลักษณะทางพยาธิวิทยา: มักเป็นข้างเดียว ขนาดหลากหลายตั้งแต่ 3 – 15 เซนติเมตร ก้อนเนื้อตัน หรืออาจมีถุงน้ำเล็กๆ มีสีขาวเทา ลักษณะของเซลล์ เป็นรูปกระสวย อาจมีเซลล์กล้ามเนื้อแทรกอยู่(2)

Sertoli-stromal cell tumors

เดิมชื่อ androblastoma หรือ arrhenoblastoma เป็นเนื้องอกของ Sertoli cell และ Leydig cell ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์จำเพาะของอัณฑะ เนื้องอกกลุ่มนี้แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มย่อยตามชนิดของเซลล์ ได้แก่ Sertoli–Leydig cell tumor, Sertoli cell tumor และ Stromal-Leydig cell tumor(5)

Sertoli–Leydig cell tumor

เนื้องอกชนิดนี้พบได้น้อยมาก ร้อยละ 0.2 ของเนื้องอกรังไข่ พบได้ทุกกลุ่มอายุ มักพบในวัยเจริญพันธุ์ โดยอายุเฉลี่ย 25 ปี เนื้องอกมักสร้างแอนโดรเจน(12)

ลักษณะทางคลินิก: ก้อนโตในอุ้งเชิงกราน ปวดท้อง อาการแสดงของแอนโดรเจนสูง เช่น ขาดระดู ภาวะบุรุษเพศ เต้านมฝ่อ ขนดก มีสิว เสียงห้าว(1)

ลักษณะทางพยาธิวิทยา: มักเป็นข้างเดียว ก้อนเนื้อแน่นตัน สีเหลืองซีด อาจมีถุงน้ำแทรก ลักษณะของเซลล์ Sertoli cell ตัวกลมรี ไซโทพลาสซึมน้อย เรียงตัวเป็น tubule หรือ Cord แทรกด้วย Leydig cell รูปไข่ มีนิวเคลียสขนาดใหญ่กลางเซลล์ มี Crystalloid of Rinke(1,5)

การพยากรณ์โรค: มักพบในระยะที่1 การพยากรณ์โรคขึ้นกับระยะ และ differentiation อัตราการรอดชีวิตใน 5 ปี ร้อยละ 70-90 มักไม่พบ การกลับเป็นซ้ำ(12,13)

Sertoli cell tumor

พบได้น้อยกว่าร้อยละ 5 ของเนื้องอกชนิด Sertoli-stromal cell tumors พบในอายุเฉลี่ย 30 ปี สองในสามจะสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ อาจพบเนื้องอกชนิดนี้ในกลุ่ม Peutz-Jeghers(12)

ลักษณะทางพยาธิวิทยา: มักพบที่รังไข่ข้างเดียว ก้อนเนื้อตันสีเหลือง ลักษณะเห็นเป็นท่อตันหรือเป็นโพรงบุด้วย Sertoli cell

การพยากรณ์โรค: เนื้องอกชนิดนี้มีความเป็นมะเร็งต่ำ การพยากรณ์โรคดี(5)

Stromal-Leydig cell tumor

เป็นเนื้องอกธรรมดาพบในกลุ่มอายุมาก โดยอายุเฉลี่ย 58 ปี

ลักษณะทางคลินิก: อาการแสดงของแอนโดรเจนสูง เช่น ขาดระดู ภาวะบุรุษเพศ เต้านมฝ่อ ขนดก มีสิว เสียงห้าว บางครั้งมีการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนด้วย ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว หรือเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้

ลักษณะทางพยาธิวิทยา: มักพบในรังไข่ข้างเดียว ขนาดเล็ก เฉลี่ย 2.7 เซนติเมตร ลักษณะเซลล์ Leydig cell รูปไข่ มีนิวเคลียสขนาดใหญ่กลางเซลล์ มี Crystalloid of Rinke(2)

การพยากรณ์โรค: เนื้องอกชนิดนี้มีความเป็นมะเร็งต่ำ การพยากรณ์โรคดี(5)

Sex cord-stromal cell tumors of mixed or unclassified cell type

Sex cord tumor with annular tubules

เป็นเนื้องอกที่มีลักษณะกึ่งกลางระหว่างเนื้องอกชนิด granulosa และเนื้องอกชนิด Sertoli พบในสตรีวัยกลางคน มักสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน เนื้องอกชนิดนี้สัมพันธ์กับกลุ่มอาการ Peutz-Jeghers (14,15)

ลักษณะทางคลินิก: เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดหรือเลือดออกหลังวัยหมดประจำเดือน

ลักษณะทางพยาธิวิทยา: มักพบในรังไข่ข้างเดียว ลักษณะของเซลล์ Sertoli เรียงตัวเป็นท่อรูปวงแหวนพันทบไปมา ภายในท่อกลางมีสาร hyaline(2)

การพยากรณ์โรค: เนื้องอกที่มีกลุ่มอาการ Peutz-Jeghers ร่วมด้วยจะเป็นเนื้องอกธรรมดา ส่วนเนื้องอกที่ไม่มีกลุ่มอาการ Peutz-Jeghers ร่วมด้วยจะมีความเป็นมะเร็งสูงประมาณร้อยละ 20(15)

Gynandroblastoma

เป็นเนื้องอกที่ประกอบด้วยเซลล์ granulosa เซลล์ Theca เซลล์ Sertoli และเซลล์ Leydig พบน้อยมาก มักพบในสตรีวัยกลางคน สร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนและแอนโดรเจน(16)

ลักษณะทางคลินิก: ระดูผิดปกติ เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว และภาวะบุรุษเพศ

ลักษณะทางพยาธิวิทยา: มักพบในรังไข่ข้างเดียว ลักษณะของเซลล์ granulosa มี Call- Exner bodies เซลล์ Theca เซลล์ Sertoli และ เซลล์ Leydig มี Crystalloid of Rinke(16)

การพยากรณ์โรค: เนื้องอกชนิดนี้มีความเป็นมะเร็งต่ำ

Sex cord-stromal tumor, unclassified

เป็นกลุ่มที่ไม่สามารถแยกได้ชัดเจนว่ามีลักษณะเป็นเซลล์ชนิดไหน พบได้ประมาณร้อยละ 10 ของเนื้องอกรังไข่ชนิด sex cord stroma มักพบขณะตั้งครรภ์(5)

Steroid cell tumors

เดิมชื่อ lipid cell tumor เป็นเนื้องอกของเซลล์ luteinized stromal cell, Leydig cell และ A\adrenocortical cell พบได้น้อยมา ร้อยละ 0.1 ของเนื้องอกรังไข่ พบได้ทุกกลุ่มอายุ แบ่งได้ 3 กลุ่มย่อย คือ stromal luteoma, Leydig cell tumor group และ steroid cell tumor, not otherwise specified(1)

Stromal luteoma

เป็นเนื้องอกธรรมดา พบในผู้หญิงอายุมาก พบได้ร้อยละ 25 ของเนื้องอกกลุ่ม steroid cell tumor

ลักษณะทางคลินิก: เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว และภาวะบุรุษเพศ

ลักษณะทางพยาธิวิทยา: เนื้องอกมีขนาดเล็ก เนื้อตัน สีเหลือง ลักษณะของเซลล์ luteinized stromal cell เซลล์กลมใหญ่ ติดสีซีด พบ stromal hyperthecosis(5)

Leydig cell tumor group

เป็นเนื้องอกธรรมดา พบได้น้อยมาก พบในผู้หญิงทุกอายุโดยอายุเฉลี่ย 58 ปี

ลักษณะทางคลินิก: ภาวะบุรุษเพศ เช่น ขาดระดู ขนดก เต้านมฝ่อ มีสิว เสียงห้าว

ลักษณะทางพยาธิวิทยา: มักพบข้างเดียว เนื้องอกมีขนาดหลากหลาย ลักษณะของ Leydig cell รูปไข่ มีนิวเคลียสขนาดใหญ่กลางเซลล์ ไซโทพลาสซึมสีส้ม(5)

Steroid cell tumor, not otherwise specified

เป็นเนื้องอกที่มีความเป็นมะเร็งสูง เป็นกลุ่มที่พบมากที่สุดในกลุ่มนี้ พบได้ทุกวัยตั้งแต่วัยเด็กถึงสูงอายุโดยอายุเฉลี่ย 43 ปี เนื้องอกกลุ่มนี้สร้างฮอร์โมนแอนโดรเจน(5)

ลักษณะทางคลินิก: ภาวะวัยสาวก่อนกำหนดชนิด heterosexual precocity ภาวะบุรุษเพศ

ลักษณะทางพยาธิวิทยา: มักพบข้างเดียว ขนาดโดยเฉลี่ย 8.4 เซนติเมตร เนื้องงอกก้อนตัน สีส้มหรือเหลืองบางครั้งพบสีแดง น้ำตาลเข้มหรือดำ ขอบเขตชัด อาจมีลักษณะของnecrosis หรือ hemorrhage หรือ cystic degeneration ลักษณะของเซลล์กลม หลายเหลี่ยม ไซโทพลาสซึมมาก

การพยากรณ์โรค: เนื้องอกชนิดนี้มีความเป็นมะเร็งสูง และมีกรแพร่กระจายนอกรังไข่ถึงร้อยละ 43

การแพร่กระจาย(6)

  1. การแพร่กระจายภายในช่องท้อง (intraperitoneal spread) หรือ transcoelomic spread เหมือนกับมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว
  2. การแพร่กระจายไปตามระบบน้ำเหลือง ซึ่งเกิดขึ้นได้บ่อยกว่ามะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว โดยเฉพาะเนื้องอกชนิด granulosa และ sex cord tumor with annular tubules
  3. การแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด พบน้อย

การแบ่งระยะของมะเร็งรังไข่ ตาม FIGO’s staging classification 2014

ตารางที่ 3 การแบ่งระยะของมะเร็งรังไข่ตาม FIGO’s staging classification 2014 (17)

Stage I. Tumor confined to ovaries or fallopian tube(s) T1-N0-M0

IA: Tumor limited to one ovary (capsule intact) or fallopian tube; no tumor on ovarian or fallopian tube surface; no malignant cells in the ascites or peritoneal washing T1a-N0-M0

IB: Tumor limited to both ovaries (capsule intact) or fallopian tube; no tumor on ovarian or fallopian tube surface; no malignant cells in the ascites or peritoneal washing T1b-N0-M0

IC: Tumor limited to one or both ovaries or fallopian tubes, with any of the following:

IC1: surgical spill  T1c1-N0-M0

IC2: capsule ruptured before surgery or tumor on ovarian or fallopian tube surface T1c2-N0-M0

IC3: malignant cells in the ascites or peritoneal washings T1c3-N0-M0

Stage II. Tumor involves one or both ovaries or fallopian tubes with pelvic extension (below pelvic brim) or primary peritoneal cancer T2-N0-M0

IIA: extension and/or implants on uterus and/or fallopian tubes and/or ovaries T2a-N0-M0

IIB: extension to other pelvic intraperitoneal tissues T2b-N0-M0

Stage III. Tumor involves one or both ovaries or fallopian tubes, or primary peritoneal cancer, with cytologically or histologically confirmed spread to peritoneum outside the pelvis and/or metastasis to the retroperitoneal lymph nodes T1/T2-N1-M0

IIIA1: positive retroperitoneal lymph nodes only (cytologically or histologically proven):

IIIA1(i) Metastasis up to 10 mm in greatest dimension

IIIA1(ii) Metastasis more than 10 mm in greatest dimension

IIIA2: microscopic extrapelvic(above the pelvic brim) peritoneal involvement with or without positive retroperitoneal lymph nodes T3a2-N0/N1-M0

IIIB: macroscopic peritoneal metastasis beyond the pelvis up to 2 cm in greatest dimension, with or without metastasis to the retroperitoneal lymph nodes T3b-N0/N1-M0

IIIC: macroscopic peritoneal metastasis beyond the pelvis more than 2 cm in greatest demension, with or without metastasis to the retroperitoneal lymph nodes(include extension of tumor to capsule of liver and spleen without parenchymal involvement of either organ) T3c-N0/N1-M0

Stage IV. Distant metastasis excluding peritoneal metastases  Any T, any N, M1

IVA: pleural effusion with positive cytology

IVB: parenchymal metastases and metastases to extra-abdominal organs(including inguinal lymph nodes and lymph nodes outside of the abdominal cavity)

แนวทางการรักษา

แนวทางการดูแลรักษาขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ชนิดของเนื้องอก ระยะของโรค อายุ ความต้องการมีบุตรของผู้ป่วย โดยทั่วไปการผ่าตัดเพียงอย่างเดียวถือว่าพอในเนื้องอกรังไข่ชนิด sex cord stroma เนื่องจากส่วนใหญ่ของเนื้องอกชนิดนี้เป็นเนื้องอกธรรมดา (benign) หรือ กลุ่มเนื้องอกที่มีโอกาสการเป็นมะเร็งน้อย (low malignant potential) ภายหลังการผ่าตัดอาจพิจารณาการรักษาเพิ่มเติมถ้าเป็นระยะลุกลาม หรือมีความเป็นมะเร็งสูง(4,5,6)

1. การผ่าตัด เป็นวิธีการรักษาหลักเพื่อให้ได้การวินิจฉัยที่แน่นอน

การผ่าตัดแบบธำรงภาวะเจริญพันธุ์ (fertility-preserving surgery) คือ การตัดท่อรังไข่และรังไข่ข้างที่มีโรค พิจารณาในผู้ป่วยระยะ IA ในเด็กหรือสตรีวัยเจริญพันธุ์ และ ต้องการมีบุตร ภายหลังการผ่าตัดในเนื้องอกที่สร้าฮอรโมนเอสโตรเจนจะต้องทำการขูดมดลูกเพื่อวินิจฉัย มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกหรือเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวที่อาจพบร่วมได้(5,6)

การผ่าตัดกำหนกระยะ โรค(complete surgical staging พิจารณาในผู้ป่วยอายุมากหรือไม่ต้องการมีบุตรหรือโรคได้แพร่กระจายไปมากแล้ว โดยในผู้ป่วยที่มีเนื้องอกธรรมดา ได้แก่ thecomas, fibromas, sclerosing stromal cell tumor, gynandroblastomas, stromal luteomas, Leydig cell, Sertoli cell, well differentiated Sertoli–Leydig cell tumor และ sex cord tumor with annular tubulesที่มีกลุ่มอาการ Peutz-Jeghers ร่วม พิจารณาล้างน้ำในช่องท้องส่งตรวจเซลล์ ดูและคลำอวัยวะภายใน ผ่าตัดเฉพาะก้อนเนื้องอก ส่วนในผู้ป่วยที่มีลักษณะเป็นมะเร็ง ได้แก่ granulosa cell tumor, Immediate or poorly differentiated Sertoli Leydig cell tumor, steroid cell tumor not otherwise specified และ sex cord tumor with annular tubulesที่ไม่มีกลุ่มอาการ Peutz-Jeghers ร่วม พิจารณา ล้างน้ำในช่องท้องส่งตรวจเซลล์ ดูและคลำอวัยวะภายใน ตัดเยื่อแขวนกระเพาะในช่องท้อง (omentum) ผ่าตัดมดลูกและปีกมดลูกทั้ง 2 ข้าง เลาะต่อมน้ำเหลืองหลังช่องท้องที่มีขนาดใหญ่ผิดปกติ อย่างไรก็ตามการผ่าตัดกำหนดระยะในเนื้องอกรังไข่ชนิด sex cord stroma ยังไม่มีข้อพิสูจน์ชัดเจน และมีรายงานว่าการเลาะต่อมน้ำเหลืองไม่ค่อยมีประโยขน์เนื่องจากการแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองน้อย(5)

การผ่าตัดเพื่อจำกัดขนาดของเนื้อเยื่อ (cytoreductive surgery) ในกรณีที่มีการแพร่กระจายของโรคในผู้ป่วยระยะลุกลามหรือการกลับมาเป็นซ้ำ การผ่าตัดเพื่อจำกัดขนาดของเนื้อเยื่ออาจได้ผลดีในกลุ่มที่ก้อนอยู่เฉพาะที่ การผ่าตัดนี้มีประโยชน์ในการรักษาประคับประคอง และช่วยลดอาการของผู้ป่วยได้นาน เนื่องจากการดำเนินของโรคกลุ่มนี้มีการเจริญเติบโตช้า(5)

2. ยาเคมีบำบัด

พิจารณาให้ยาเคมีบำบัดหลังการผ่าตัดในกลุ่มผู้ป่วยระยะที่ 1 ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการพยากรณ์โรคที่ไม่ดี และกลุ่มผู้ป่วยระยะที่ 2-4 ยาเคมีบำบัดที่แนะนำคือกลุ่มที่มี platinum เป็นยาตัวหลัก เช่น BEP regimen (bleomycin, etoposide, cisplatin)ซึ่งมีการตอบสนองสูงสุดและเป็นที่นิยมมากสุดในปัจจุบัน , PAC (cisplatin, doxorubicin, cyclophosphamide), PVB (cisplatin, vinblastin, bleomycin)(1,4,5)

3. รังสีรักษา

ยังไม่ทราบประสิทธิภาพที่ชัดเจน พิจารณาให้หลังการผ่าตัดในรายที่ตัดก้อนออกไม่หมด หรือกลับมาเป็นซ้ำ(5)

4. การรักษาอื่นๆ

ฮอร์โมนโปรเจสติน เช่น medroxyprogesterone acetate (DMPA), megestrol acetate หรือการรักษาด้วย tamoxifen, gonadotropin-releasing hormone (GnRH) antagonist หรือ aromatase inhibitor อาจมีบทบาทในเนื้องอกชนิด granulosa cell เนื่องจากร้อยละ 30 มี Receptor ของ estrogen และร้อยละ 100 จะมี receptor ของ progesterone

Targeted therapy อาจพิจารณาให้ยายับยั้งการสร้างหลอดเลือด เช่น bevacizumab ในรายที่กลับมาเป็นซ้ำ หรือพิจารณาใช้ยากลุ่ม tyrosine kinase inhibitor เช่น imatinib mesylate, nilotinib ในกลุ่มเนื้องอกชนิด granulosa cellที่กลับมาเป็นซ้ำ(5)

SCT2

รูปที่ 2 แนวทางการรักษามะเร็งรังไข่ชนิด Sex cord stroma ตาม NCCN guideline (18)

 

ตารางที่ 3 การตรวจติดตามมะเร็งรังไข่ชนิด sex cord-stromal ตาม NCCN guideline(18)

 

Year

<1

1-2

2-3

3-5

>5

Physical exam

Every 2-4 mo

Every 6 mo

Tumor marker

Every 2-4 mo

Every 6 mo

Radiographic imaging

Insufficient data to support routine use

Recurrence suspected

CT scan and tumor markers

การตรวจติดตามหลังการรักษา(18)

NCCN clinical practice guidelines in oncology ปีค.ศ. 2017 แนะนำให้ทำการนัดผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ชนิด sex cord stroma ทุก 2-4 เดือนใน 2 ปีแรกหลังสิ้นสุดการรักษา หากผลปกติให้นัดทุก 6 เดือน โดยในแต่ละครั้งจะต้องทำการซักประวัติ ตรวจร่างกายและตรวจภายในทุกครั้ง ส่วนการตรวจ tumor marker แนะนำให้ทำทุก 2-4 เดือนในช่วง 2 ปีแรก และ ทุก 6 เดือนหลังจากนั้น ส่วนการตรวจทางรังสี เช่น CXR, CT chest/abdomen/pelvis, MRI/PET scan ยังไม่มีข้อมูลที่เพียงพอ และหากสงสัยว่ามีการกลับเป็นซ้ำให้ตรวจ tumor marker และตรวจทางรังสีเพิ่มเติม

สรุป

เนื้องอกรังไข่ชนิด sex cord-stromal พบได้ประมาณร้อยละ 5-8 ของเนื้องอกรังไข่ทั้งหมด มักพบในผู้ป่วยทุกกล่มอายุส่วนใหญ่ของเนื้องอกชนิดนี้เป็นเนื้องอกธรรมดา เนื้องอกชนิดที่พบมากที่สุดในกลุ่มนี้คือ granulosa-theca cell tumor ส่วนกลุ่ม Sertoli-Leydig cell tumor พบได้น้อย อาการที่พบได้บ่อย คือ ก้อนโตในอุ้งเชิงกรานและปวดท้อง เนื้องอกบางชนิดสามารถสร้างฮอร์โมนเพศได้ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติทางต่อมไร้ท่อ เช่น ภาวะวัยสาวก่อนกำหนด เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดและภาวะบุรุษ การรักษาหลักคือการผ่าตัด

เอกสารอ้างอิง

  1. Berek J, Friedlander M, Hacker N. Germ Cell and Nonepithelial Ovarian Cancer. 6 ed. Philadelphia, PA: Lippincott Williams & Wilkins; 2015.
  2. Young RH. Sex cord-stromal tumors of the ovary and testis: their similarities and differences with consideration of selected problems. Mod Pathol 2005; 18 Suppl 2:S81.
  3. Quirk JT, Natarajan N. Ovarian cancer incidence in the United States, 1992-1999. Gynecol Oncol 2005; 97:519.
  4. Boyce EA, Costaggini I, Vitonis A, et al. The epidemiology of ovarian granulosa cell tumors: a case-control study. Gynecol Oncol 2009; 115:221.
  5. David M, Gershenson, Sean C. Dowdy, Robert H. Young. Ovarian Sex Cord Stromal Tumors. Principle and practice of gynecologic oncology. 7th ed. Philadelphia: Lippincott Williams&Wilkins; 2017:724-739.
  6. David M Gershenson, MD. Overview of sex cord-stromal tumors of the ovary. UPTODATE [Internet]. 2017. Available from: https://www.uptodate.com/contents/overview-of-sex-cord-stromal-tumors-of-the-ovary?source=history_widget
  7. Tavassoli FA, Devilee P, eds. Pathology and Genetics of Tumours of the Breast and Female Genital Tract. Lyon: IARC Press, 2003; Roth LM. Recent advances in the pathology and classification of ovarian sex cord-stromal tumors. Int J Gynecol Pathol. 2006;25:199–215.
  8. Boyce EA, Costaggini I, Vitonis A, et al. The epidemiology of ovarian granulosa cell tumors: A case-control study. Gynecol Oncol. 2009;115:221–225.
  9. Malmström H, Högberg T, Risberg B, et al. Granulosa cell tumors of the ovary: Prognostic factors and outcome. Gynecol Oncol. 1994; 52:50–55.
  10. Segal R, DePetrillo AD, Thomas G. Clinical review of adult granulosa cell tumors of the ovary. Gynecol Oncol. 1995;56:338–344.
  11. Cronje HS, Niemand I, Barn, RH, et al. Review of the granulosa– theca cell tumors from the Emil Novak ovarian tumor registry. Am J Obstet Gynecol. 1999;180:323–328.
  12. Roth LM, Anderson MC, Govan AD, et al. Sertoli-Leydig cell tumors: A clinicopathologic study of 34 cases. Cancer. 1981;48: 187–197.
  13. Tomlinson MW, Treadwell MC, Deppe G. Platinum based chemotherapy to treat recurrent Sertoli-Leydig cell ovarian carcinoma during pregnancy. Eur J Gynaecol Oncol. 1997;18:44–46.
  14. Shen K, Wu PC, Lang JH, et al. Ovarian sex cord tumor with annular tubules: a report of six cases. Gynecol Oncol 1993; 48:180.
  15. Westerman AM, Wilson JH. Peutz-Jeghers syndrome: risks of a hereditary condition. Scand J Gastroenterol Suppl 1999; 230:64.
  16. Fukunaga M, Endo Y, Ushigome S. Gynandroblastoma of the ovary: a case report with an immunohistochemical and ultrastructural study. Virchows Arch 1997; 430:77.
  17. Prat J. FIGO’s staging classification for cancer of the ovary, fallopian tube, and peritoneum: abridged republication. Gynecol Oncol. 2015;26:87-89.
  18. NCCN Guidelines Ovarian cancer including fallopian tube cancer and primary peritoneal cancer [Internet]. NCCN. 2017. Available from: www.nccn.org/
Read More
CCA01

Common Chromosome Abnormalities

Common Chromosome Abnormalities

พญ.กฤตยา ภิรมย์
อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.ดร.นพ.วีรวิทย์ ปิยะมงคล


 

ความผิดปกติของโครโมโซม เป็นโรคทางพันธุกรรมที่สำคัญ เนื่องจากทำให้เกิดภาวะแท้งได้ถึง 50 % การตายคลอด 5 % และ สามารถเกิดมามีชีวิตได้ 0.5 % เด็กที่เกิดมาจะพบความผิดปกติ ซึ่งมีผลกระทบต่อชีวิตในระยะยาว การตรวจพบตั้งแต่เบื้องต้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งบางภาวะสามารถรักษาได้ ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

การแบ่งกลุ่มความผิดปกติของโครโมโซม

  1. Numerical abnormalities การผิดปกติที่จำนวนโครโมโซม ซึ่งแบ่งเป็น Polyploidy (จำนวนโครโมโซมเพิ่มขึ้นทั้งชุด) และ Aneuploidy (จํานวนโครโมโซมเพิ่มหรือลดทั้งโครโมโซม)
  2. Structural abnormalities ได้แก่ Deletions (การหลุดแยกของโครมาทิด), Insertion (การแทรกของโครมาทิด), Inversion (การหมุนสลับตำแหน่งของโครโมโซม), Ring chromosome (โครโมโซมที่มีรูปร่างเหมือนวงแหวน) , Isochromosome (การสลับที่กันของโครโมโซม) และ Translocations(การสับเปลี่ยนชิ้นสวนของโครโมโซม) ซึ่งแบ่งเป็น Reciprocal translocation (Translocation ที่เกิดระหว่างโครโมโซมที่ไม่ใช่ Acrocentric chromosomes 2 โครโมโซม) และ Robertsonian translocation (Translocation ที่เกิดระหว่าง Acrocentric chromosomes 2 โครโมโซม)

Abnormalities of Chromosome Number

Aneuploidy โรคที่มีจํานวนโครโมโซมเพิ่มหรือลดทั้งโครโมโซม ซึ่งในคนปกติมีโครโมโซม 2 ชุด จำนวน 46 แท่ง อาจมีเกินเป็น 47, 48 หรือขาดไปเป็น 44, 45 Trisomy คือโรคที่มีจํานวนโครโมโซมเพิ่มขึ้น 1 โครโมโซม ส่วน Monosomy คือโรคที่มีจํานวนโครโมโซมลดลง 1 โครโมโซม

Autosomal trisomies

Trisomy คือการที่มีโครโมโซมเพิ่มขึ้น 1 โครโมโซม โดยพบประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของโครโมโซม สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการที่โครโมโซมไม่แยกออกจากกัน หรือ Nondisjunction ซึ่งควรจะแยกออกจากกันในตอนที่มีการแบ่งเซลล์ อาจผิดปกติระยะที่โครโมโซมไม่มาเข้าคู่ หรือการแยกก่อนกำหนด หรือไม่แยก ความเสี่ยงของโรคนี้ขึ้นกับอายุของมารดา (ภาพที่ 1) กล่าวคือมากกว่า 35 ปี และขึ้นกับประวัติการมีลูกเป็น Trisomy โดยโอกาสเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์หน้าแล้วมี Trisomy เท่ากับ 1% ดังนั้นจึงควรจะได้รับคำแนะนำในการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดโดยการตรวจโครโมโซมและให้ทางเลือก (1)

CCA01

 Trisomy 21- Down syndrome

ในปี คศ 1866 กุมารแพทย์ชาวอังกฤษ John Langdon Down ได้ศึกษา กลุ่มเด็กที่บกพร่องด้านสติปัญญา ที่มีลักษณะทางกายภาพที่โดดเด่นและได้อธิบายอาการของดาวน์ไว้ ต่อมาในปี คศ 1959 กุมารแพทย์ชาวฝรั่งเศส Jerome Lejeune อธิบายสาเหตุของโรคว่าเป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง (ภาพที่ 2) (2)

CCA02

ภาพที่ 2 แสดงkaryotype ของ Down syndrome (47, xy, +21)

สาเหตุ

  1. เกิดจาก Trisomy 21 คือโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง พบได้ 95% ซึ่งมีสาเหตุจาก Nondisjunction เกิดระหว่าง Meiosis I 75% และ Meiosis II 25%
  2. เกิดจาก Robertsonian translocation คือมีโครโมโซมย้ายตำแหน่ง พบได้ 3-4 %
  3. เกิดจาก Isochromosome หรือ Mosaicism คือมีโครโมโซมทั้ง 46 และ 47 แท่ง พบได้ 1 – 2 %

อุบัติการณ์

ดาวน์ซินโดรม เป็นโรคทางพันธุกรรมที่สามารถมีชีวิตอยู่ได้มากที่สุดในกลุ่มโรคโครโมโซมเกิน พบได้ 1 ต่อ 500 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งรวมถึงการแท้ง การตายคลอด การเกิดมีชีพ 30 % ของทารกในครรภ์เสียชีวิตตั้งแต่อายุครรภ์ 12 ถึง 40 สัปดาห์ และ 20 % ของทารกในครรภ์เสียชีวิตตั้งแต่อายุครรภ์ 16 ถึง 40 สัปดาห์ ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบ โรคดาวน์ซินโดรม 1 ต่อ 740 ของการเกิดมีชีพ หรือ 13.5 ต่อ 10,000 ของการเกิดมีชีพ (3) อุบัติการณ์จะเพิ่มขึ้นตามอายุของมารดา หญิงที่เป็นโรคดาวน์ซินโดรม สามารถมีบุตรได้ และมีโอกาสที่บุตรจะเป็นโรคดาวน์ซินโดรม 1 ใน 3 ส่วนชายที่เป็นโรคดาวน์ซินโดรม จะมีบุตรยากเนื่องจากมีความผิดปกติของการสร้างอสุจิทำให้สร้างได้ปริมาณน้อยมาก (4)

ลักษณะความผิดปกติที่พบได้บ่อย

ประมาณ 25-30% จะพบความผิดปกติตั้งแต่ในครรภ์ โดยการอัลตราซาวน์ที่ไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ ความผิดปกติของหัวใจ พบได้ประมาณ 40% ของทารกที่เป็นดาวน์ซินโดรม มักเป็นชนิด Endocardial cushion defects และ Ventricular septal defects ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร พบได้ 7% ได้แก่ ลำไส้ส่วนดูโอดินัมตีบตัน (Duodenal atresia) หลอดอาหารตีบตัน (Esophageal atresia) ลำไส้ใหญ่โป่งพอง (Hirschsprung disease)

CCA03

ภาพที่ 3 แสดง A. ลักษณะของดาวน์ซินโดรม  B. ผิวที่คอยืด  C. เส้นลายมือมักมีเส้นตัดขวางเส้นเดียว

ลักษณะที่พบบ่อย ได้แก่ หัวแบน (Brachycephaly) หัวคิ้วด้านใกล้จมูกทั้ง 2 ข้างมีการหนาตัวขึ้น (Epicanthal folds) มีดวงตาทั้ง 2 ข้างที่เฉียงขึ้นเล็กน้อย (Up-slanting palpebral fissures) ม่านตามีจุดสีขาวที่เรียกว่า Brushfield spots สันจมูกแบน (Flat nasal bridge) กล้ามเนื้อมีความตึงตัวต่ำ (Hypotonia) ทารกมักมีผิวที่คอยืด (Loose skin at the nape of the neck) นิ้วมือสั้น (Short fingers) เส้นลายมือมักมีเส้นตัดขวางเส้นเดียว แทนที่จะแบ่งเป็น 2 เส้น (Single palmar crease) นิ้วก้อยเอียงเข้าหานิ้วนาง (Hypoplasia of the middle phalanx of the fifth finger) มีง่ามนิ้วระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้ของเท้ากว้างกว่าปกติ (Sandal-toe gap) (ภาพที่ 3)
ลักษณะของดาวน์ซินโดรมที่กล่าวมาบางอย่างสามารถพบได้จากการอัลตราซาวน์ ดังตารางต่อไปนี้ (1)

CCAt1

ปัญหาทางสุขภาพที่พบได้ ความผิดปกติทางการได้ยินลดลง 75% มีความผิดปกติทางสายตาส้นหรือยาว 50% ต้อกระจกตั้งแต่แรกเกิด 15% โรคไทรอยด์ 15% มีโอกาสการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวสูงขึ้น ระดับของสติปัญญาจะอยู่ในขั้นปัญญาอ่อนเล็กน้อยถึงปานกลาง คือมีไอคิว อยู่ที่ระดับ 35-70 เด็กกลุ่มนี้สามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้ดี โดยการเข้าสังคมดีกว่าระดับไอคิว (5)

การพยากรณ์โรค

ทารกที่เป็นดาวน์ซินโดรม สามารถอยู่รอดได้ในปีแรกถึง 95 % อัตรารอดชีวิตใน 10 ปี อย่างน้อย 90% และ 99% ในกลุ่มที่ไม่มีความผิดปกติรุนแรง (6)

Trisomy 18- Edwards syndrome

ในปี คศ 1960 โรคนี้ได้ถูกค้นพบโดย นักพันธุศาสตร์และนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ John Edwards ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่มีโครโมโซมคู่ที่ 18 เกินมา 1 แท่ง (1)

อุบัติการณ์

โรคนี้พบได้ 1 ต่อ 2,000 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งรวมถึงการแท้ง การตายคลอด การเกิดมีชีพ และ 1 ต่อ 6,600 ของการเกิดมีชีพ โรคนี้มีอัตราการเสียชีวิตสูง ซึ่ง 85%จะตายระหว่างอายุคนรรภ์ 10 สัปดาห์ จนถึงกำหนดคลอด มากกว่าครึ่งจะเสียชีวิตในสัปดาห์แรกหลังคลอด อัตราการรอดชีวิตในปี ประมาณ 2% โรคนี้พบในเพศหญิงบ่อยกว่าชาย สามในสี่ของโรคนี้เป็นเพศหญิง (3)

สาเหตุ

โรคนี้เกิดจาก Trisomy 18 คือมีโครโมโซม 18 เกินมา 1 แท่ง

ลักษณะความผิดปกติที่พบได้บ่อย

ความผิดปกติของหัวใจพบได้บ่อยถึง 95% โดยเฉพาะภาวะผนังห้องกั้นหัวใจห้องล่างรั่ว(Ventricular septal defects) ความผิดปกติของสมอง ได้แก่ Cerebellar vermian agenesis, Enlarged cisterna magna, Myelomeningocele ความผิดปกติของช่องท้อง ได้แก่ ไส้เลื่อนกระบังลม (Diaphragmatic hernia) ความผิดปกติของผนังหน้าท้องชนิด Omphalocele การไม่มีรูทวาร (Imperforate anus) ความผิดปกติของไต เช่น Horseshoe kidney

ความผิดปกติของใบหน้าและกระดูก ได้แก่ ส่วนท้ายทอยนูน (Prominent occiput) ใบหูเล็ก (Posteriorly rotated and malformed ears) คางเล็ก (Micrognathia) ปากเล็ก (Small mouth) นิ้วเหลื่อมกัน (Clenched hands with overlapping digits) ไม่มีกระดูกแขน (Radial aplasia) เล็บมีขนาดเล็ก (Hypoplastic nails) เท้ามีลักษณะโค้งคล้ายท้องเรือ (Rocker-bottom feet) โรคเท้าปุก (Clubbed feet) (ภาพที่ 4)

อัลตราซาวน์จะเห็นลักษณะ “Strawberry-shaped” cranium และ Choroid plexus cysts ในการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่ำ ความเสี่ยงของ Trisomy 18 จะเพิ่มขึ้นก็ต่อเมื่อพบ Choroid plexus cyst ร่วมกับความผิดปกติอื่นๆ การที่พบแค่ Cyst สามารถเป็น ความแตกต่างที่พบ ได้ในคนทั่วไป (ภาพที่ 4)

CCA04

การตั้งครรภ์ในไตรมาสที่สาม มักจะมีภาวะทารกโตช้าในครรภ์ น้ำหนักแรกคลอดโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2,500 กรัม ส่วนวิธีการคลอดควรจะวางแผนไว้ก่อนเพราะระหว่างคลอดมักจะมีการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ สมัยก่อน มากกว่าครึ่งคลอดโดยการผ่าคลอดเนื่องจากทารกอยู่ในภาวะเครียด (Fetal distress) (7)

Trisomy 13 – Patau syndrome

ในปี คศ 1960 นักพันธุศาสตร์ชาวอเมริกัน Klaus Patau และคณะ ได้ รายงานลักษณะความผิดปกติของโรคนี้ไว้และอธิบายว่าเป็นโรคทางพันธุกรรมทีมีโครโมโซมคู่ที่ 13 เกินมา 1 แท่ง (1)

อุบัติการณ์

โรคนี้พบได้ 1 ต่อ 12,000 ของการเกิดมีชีพ และ 1 ต่อ 5,000 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งรวมถึงการแท้งและการตายคลอด โรคนี้มีอัตราการเสียชีวิตสูง ซึ่งส่วนใหญ่จะตายระหว่างอายุครรภ์ 10 สัปดาห์ จนถึงกำหนดคลอด (3)

สาเหตุ

  1. เกิดจาก Trisomy 13 คือมีโครโมโซมเกินมา 1 แท่ง พบได้ 80%
  2. เกิดจาก Robertsonian translocation พบได้ 20% คือมีโครโมโซมย้ายตำแหน่ง ได้แก่ chromosome 13 และ 14, der(13,14)(q10,q10) ซึ่งเป็น Structural chromosome rearrangement ที่พบมากที่สุด (8)

ลักษณะความผิดปกติที่พบได้บ่อย

ความผิดปกติของสมอง Holoprosencephaly คือการที่สมองส่วนหน้าไม่แยกตัวออกจากกัน พบได้ 2 ใน 3 ของผู้ป่วย และสามารถพบร่วมกับ ภาวะหัวเล็ก (Microcephaly) ภาวะที่ระยะห่างระหว่างเบ้าตาทั้งสองข้างสั้นเข้า (Hypotelorism) และ ความผิดปกติของจมูก คือ มีโพรงจมูกเดียว (Single nostril) และงวง (Proboscis) ความผิดปกติของหัวใจ พบได้ประมาณ 90%ของผู้ป่วย ความผิดปกติของ Neural tube โดยเฉพาะ ภาวะเนื้อสมองหรือเยื่อหุ้มสมองยื่นออกมาจากกะโหลกศีรษะสู่ภายนอก (Cephalocele) ตาเล็ก (Microphthalmia) ปากแหว่งเพดานโหว่ (Cleft lip palate) ความผิดปกติของผนังหน้าท้องชนิด Omphalocele ภาวะถุงน้ำในไต (Cystic renal dysplasia) นิ้วเกิน (Polydactyly) เท้ามีลักษณะโค้งคล้ายท้องเรือ (Rocker-bottom feet) และไม่มีผิวหนัง (Skin aplasia)
ในเด็กที่มี Cephalocele cystic kidneys และ Polydactyly นอกจากจะนึกถึง trisomy 13 แล้ว ยังต้องนึกถึงโรค Meckel-Gruber syndrome ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรม ชนิด Autosomal recessive ที่ทำให้เสียชีวิตได้ (9)

การพยากรณ์โรค

อายุขัยของเด็กที่เป็น Patau ลดลงอย่างรวดเร็ว โดยอัตราการมีชีวิต ในสัปดาห์แรกหลังคลอด เท่ากับ 40% และอัตราการมีชีวิตรอดที่ 1 ปี เท่ากับ 3% (10)
มารดาที่ตั้งครรภ์บุตรที่เป็นโรคนี้ จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดครรภ์เป็นพิษ 50% เนื่องจากบนโครโมโซม 13 มียีนส์ Soluble forms-like tyrosine kinase-1 หรือ sFlt-1 ซึ่งเป็น Antiangiogenic protein ที่เกี่ยวกับภาวะครรภ์เป็นพิษ (10)

Trisomy 16

โรคนี้เกิดจาก Trisomy 16 เป็น Trisomy ที่ไม่สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ พบว่ามีการแท้งมากที่สุดในไตรมาสที่ 1 พบมากถึง 16 %

สาเหตุ

  1. Full trisomy16 เกิดจาก มีโครโมโซม 16 เกินมา 1 แท่ง
  2. Mosaic trisomy 16 เกิดจาก มีโครโมโซม 2 แบบ ทั้งโครโมโซมที่ปกติ และ โครโมโซม 16 เกินมา 1 แท่ง

ลักษณะความผิดปกติที่พบได้บ่อย

  1. Full trisomy16 แท้งตั้งแต่ไตรมาสแรก
  2. Mosaic trisomy 16 มารดามีความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ มีภาวะทารกโตช้าในครรภ์ คลอดก่อนกำหนด ความผิดปกติของหัวใจ เช่น ventricular septal defect, atrial septal defect ปอดเล็ก ความผิดปกติของกระดูกแลกล้ามเนื้อ ระดับของสติปัญญาต่ำกว่าปกติ

Sex chromosome abnormalities

45, X – Turner syndrome

เทอร์เนอร์เป็นโรคทางพันธุกรรมชนิด Monosomy โรคเดียวที่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ และเป็นโรคที่พบอัตราการแท้งมากสุดในกลุ่ม Aneuploidy โดย 20% จะแท้งในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ (1)

อุบัติการณ์

โรคนี้พบในเพศหญิง โดยพบได้ 1 ต่อ 5,000 การเกิดมีชีพ หรือ 1 ต่อ 2,500 ของเด็กผู้หญิง (3)

สาเหตุ

เกิดจากการหายไปของโครโมโซม ซึ่ง 80% จากบิดา (11)

ลักษณะความผิดปกติที่พบได้บ่อย

ลักษณะที่แสดงออกของโรค แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มแรก 98% แท้งในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
กลุ่มที่สอง ช่วงไตรมาสที่1-2 อัลตราซาวน์จะพบก้อนบริเวณคอทารกขนาดใหญ่ (Large cystic hygromas) และ ภาวะทารกบวมน้ำ (Hydrop) ซึ่งทำให้ทารกจะเสียชีวิตในครรภ์ (ภาพที่ 5)

CCA05

ภาพที่ 5 แสดงถึง Cystic hygroma  A. Cyctic hygroma was later found to have Noonan syndrome (1)
B. Massive multiseptated hygroma in hydrops fetalis C. Hydropic, marcerated stillborn infant with large placenta

กลุ่มที่สาม เป็นกลุ่มที่พบน้อยที่สุดและสามารถมีชีวิตอยู่รอด ทารกจะอัลตราซาวน์พบก้อนบริเวณคอขนาดเล็กในไตรมาสที่1-2 และไม่พบภาวะทารกบวมน้ำ ทารกมักพบความผิดปกติที่รุนแรงอื่นๆ
สาเหตุที่พบลักษณะที่แตกต่างกัน เนื่องจาก กลุ่มที่ทารกเกิดมีชีพ จำนวน 1 ใน 2 เป็นชนิด Monosomy และจำนวน 1 ใน 4 เป็น Mosaicism เช่น 45,X/46,XX หรือ 45,X/46,XY ส่วนอีก 15% เป็น Isochromosome X, คือ 46,X,i(Xq) (8)

ลักษณะความผิดปกติอื่นที่พบ ได้แก่ ความผิดปกติของหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดแดงใหญ่คอด (Coarctation of the aorta) ลิ้นหัวใจพิการชนิด bicuspid aortic valve พบได้ 30-50% ความผิดปกติของไต โดยเฉพาะ ไตเป็นรูปเกือกม้า (Horseshoe kidney) ภาวะไทรอยด์ต่ำ ตัวเตี้ย (Short stature) ดังนั้น ในวัยเด็ก มักให้ฮอรโมนการเจริญเติบโต (Growth hormone) เพื่อช่วยเรื่องความสูง หน้าอกกว้าง หัวนมอยู่ห่างกันกว่าปกติ (Broad chest with widely spaced nipples) ภาวะบวมน้ำเหลืองตั้งแต่เกิด (Congenital lymphedema) แผ่นที่คอ (Webbed posterior neck) จาก Cystic hygroma ความผิดปกติของกระดูกและกระดูกอ่อน ระดับของสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติ อาจมีปัญหาความสามารถในการเชื่อมโยงภาพที่เห็นในมิติต่างๆ การใช้ภาษาบกพร่อง การแก้ปัญหาและแปลความหมาย ความผิดปกติในระบบสืบพันธุ์ ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ 90% มีปัญหารังไข่เจริญน้อย (Ovarian dysgenesis) ทำให้ฮอรโมนเอสโตรเจนต่ำ จึงต้องได้รับฮอรโมนเอสโตรเจนทดแทนก่อนที่จะเข้าวัยรุ่น ในกลุ่มที่เกิดจาก Mosaicism ที่มี โครโมโซมY จะมีความเสี่ยงต่อ ก้อนเนื้องอกที่เกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ต้นกำเนิด (Germ cell neoplasm) ซึ่งมีข้อบ่งชี้ในการป้องกันโดยการผ่าตัดต่อมเพศออก (Prophylactic bilateral gonadectomy) (12)

47, XXX – Triple X Syndrome

เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับโครโมโซมทางเพศ ซึ่งเกิดจากโครโมโซม X เกินมา 1 ตัว

อุบัติการณ์

โรคนี้จะเกิดในผู้หญิง พบได้ประมาณ 1 ในทารกเพศหญิง 1,000 คน โครโมโซม X ที่เกินมา 90% มาจากแม่ (13)

ลักษณะความผิดปกติที่พบได้บ่อย

โรคนี้ไม่ได้พบความผิดปกติชนิดรุนแรง พัฒนาการในวัยรุ่นและการสืบพันธุ์มักปกติ แต่เคยมีรายงานว่ามีภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนกำหนด เป็นหมัน ความสูงอยู่ในเกณฑ์ปกติ ลักษณะที่อาจพบได้ ได้แก่ หัวคิ้วด้านใกล้จมูกทั้ง 2 ข้างมีการหนาตัวขึ้น (Epicanthal folds) นิ้วมือคด (Clinodactyly) กล้ามเนื้อมีความตึงตัวต่ำ (Hypotonia) ไตทำงานผิดปกติ โรคชัก ระดับของสติปัญญาต่ำกว่าปกติ มีสมาธิสั้น พัฒนาการทางภาษาและทักษะการพัฒนากล้ามเนื้อช้า (14)

47, XXY- Klinefelter syndrome

เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับโครโมโซมทางเพศ ซึ่งเกิดจากโครโมโซม X เกินมา 1 ตัว โดยโครโมโซม X ที่เกินมา มาจากแม่และพ่อเท่ากัน

อุบัติการณ์

เป็นโรคที่พบบ่อยสุดในกลุ่มที่มีความผิดปกติทางด้านโครโมโซมเพศ โรคนี้จะเกิดในผู้ชาย ซึ่งพบได้ 1 ในทารกเพศชาย 600 คน โรคนี้สัมพันธ์กับอายุของแม่และพ่อที่เพิ่มมากขึ้น (13)

ลักษณะความผิดปกติที่พบได้บ่อย

ทารกมีลักษณะเหมือนทารกปกติ และส่วนใหญ่ไม่พบความผิดปกติ ในวัยเด็กมีพัฒนาการปกติ แต่ในวัยรุ่นต่อมเพศจะไม่เจริญ (Gonadal dysgenesis) เป็นหมัน และไม่มีลักษณะแบบเพศชาย คือ ไม่มีหนวดเครา ไม่มีขน อาจมีเต้านม ดังนั้นจึงต้องให้ฮอร์โมนเพศชายเสริมตั้งแต่เริ่มเข้าวัยรุ่น ระดับของสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติ อาจจะต่ำกว่าพี่น้องเดียวกัน การพูด การอ่านและการใช้กล้ามเนื้ออยู่ในเกณฑ์ปกติ (15)

47, XYY

เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับโครโมโซมทางเพศ ซึ่งเกิดจากโครโมโซม Y เกินมา 1 ตัว

อุบัติการณ์

โรคนี้จะเกิดในผู้ชาย พบได้ 1 ในทารกเพศชาย 1,000 คน โรคนี้ไม่สัมพันธ์กับอายุของพ่อที่เพิ่มมากขึ้น

ลักษณะความผิดปกติที่พบได้บ่อย

ลักษณะที่แสดงออกมาภายนอกปกติ และไม่มีความผิดปกติ ผู้ชายที่เป็นโรคนี้มักจะสูง วัยรุ่นมีพัฒนาการปกติและสืบพันธ์ได้ ระดับของสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่มีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาด้านภาษาทั้งการเขียนและการอ่าน (16)

Abonormalities of chromosome structure

Cri du chat syndrome

เป็นโรคพันธุกรรมชนิดหนึ่งเกิดจากการหลุดหายของส่วนหนึ่งของยีนส์บนแขนข้างสั้นของโครโมโซมคู่ที่ 5 ตำแหน่ง del5p15.2–15.3

อุบัติการณ์

เป็นโรคที่พบบ่อยสุดในกลุ่มที่มีความผิดปกติทางด้าน deletion ซึ่งพบได้ 1 ในทารก 15,000 คน

ลักษณะความผิดปกติที่พบได้บ่อย

มีกล่องเสียงผิดปกติทำให้มีเสียงร้องคล้ายแมว (Cat-like cry) ที่เกิดกับทารกแรกเกิด ศีรษะเล็ก (Microcephaly) หน้ากลม (Round face) จมูกกว้าง (Large nasal bridge) เบ้าตาห่าง (Hypertelorism) หัวคิ้วด้านใกล้จมูกทั้ง 2 ข้างมีการหนาตัวขึ้น (Epicanthal fold) หูเกาะต่ำ (Low-set ears), คางเล็ก (Micrognathia) กล้ามเนื้อมีความตึงตัวต่ำ (Hypotonia) ภาวะสติปัญญาบกพร่อง (17)

Prader willi

เป็นโรคพันธุกรรมชนิดหนึ่งเกิดจากการหลุดหายของส่วนหนึ่งของยีนส์บนแขนข้างยาวของโครโมโซมคู่ที่ 15 ที่ได้รับมาจากพ่อ บนตำแหน่ง 15q11.2–q13 (Paternal genes)

อุบัติการณ์

เป็นโรคที่พบได้ 1 ในทารก 10,000 -30,000 คน

ลักษณะความผิดปกติที่พบได้บ่อย

รูปร่างอ้วน กินจุ เป็นเบาหวาน ตัวเตี้ย ตาเป็นรูปอัลมอนด์ มือเท้าเล็ก กล้ามเนื้อมีความตึงตัวต่ำ (Hypotonia) ภาวะฮอรโมนเพศต่ำ (Hypogonadotropic hypogonadism) หยุดหายใจขณะหลับ (Sleep apnea) พัฒนาการช้า ระดับของสติปัญญาจะอยู่ในขั้นปัญญาอ่อน (18,19)

Angelman

เป็นโรคพันธุกรรมชนิดหนึ่งเกิดจากการหลุดหายของส่วนหนึ่งของยีนส์บนแขนข้างยาวของโครโมโซมคู่ที่ 15 ที่ได้รับมาจากแม่ บนตำแหน่ง 15q11.2–q13 (Maternal genes)

อุบัติการณ์

เป็นโรคที่พบได้ 1 ในทารก 12,000 -20,000 คน

ลักษณะความผิดปกติที่พบได้บ่อย

กลุ่มอาการหุ่นกระบอกที่มีความสุข (“Happy puppet” appearance) ไม่พูด ยิ้มง่าย หัวเราะเก่ง อารมณ์ดี ตื่นเต้นง่าย ชอบปรบมือ ระดับของสติปัญญาจะอยู่ในขั้นปัญญาอ่อน มีการเดินผิดปกติ (ataxia) กล้ามเนื้อมีความตึงตัวต่ำ (Hypotonia) มีอาการชัก (19)

Digeorge syndrome

เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากการหลุดหายของส่วนหนึ่งของยีนส์บนแขนข้างยาวของโครโมโซมคู่ที่ 22 ตำแหน่ง 22q11.2

อุบัติการณ์

เป็นโรคที่พบได้ 1 ในทารก 2,000 -7,000 คน (1)

ลักษณะความผิดปกติที่พบได้บ่อย

ความผิดปกติของหัวใจ ได้แก่ Conotruncal cardiac defects ปากแหว่งเพดานโหว่ (Cleft palate) การเกิดภาวะความบกพร่องของเพดานอ่อนและผนังคอหอย (Velopharyngeal incompetence) ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์และพาราไทรอยด์ (Thymic and parathyroid abnormailites) มีปัญหาด้านการเรียนรู้ (Learning disability) (20)

สรุป

ความผิดปกติของโครโมโซม เกิดจาก 2 สาเหตุ คือ การผิดปกติที่จำนวนโครโมโซม และ การผิดปกติที่รูปร่างโครโมโซม Trisomy ที่พบการแท้งได้มากที่สุดคือ Trisomy 16 และที่สามารถมีชีวิตอยู่ได้มากที่สุดคือ Trisomy 21 ส่วน Turner syndrome เป็นโรคทางพันธุกรรมชนิด Monosomy โรคเดียวที่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ และเป็นโรคที่พบอัตราการแท้งมากสุดในกลุ่ม Aneuploidy อีกทั้ง Cri du chat syndromeเป็นโรคที่พบบ่อยสุดในกลุ่มที่มีความผิดปกติทางด้าน deletion

เอกสารอ้างอิง

  1. Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Spong CY, Dashe JS, Hoffman BL, et al. Williams obstetrics. 24th edition. McGraw-Hill: New York; 2014. p.260-269.
  2. Kazemi M, Salehi M, Kheirollahi M. Down Syndrome: Current Status, Challenges and Future Perspectives. International Journal of Molecular and Cellular Medicine. 2016;5(3):125-133.
  3. Dolk H, Loane M, Garne E: The prevalence of congenital anomalies in Europe. Adv Exp Med Biol 686:349, 2010
  4. Scharrer S, Stengel-Rutkowski S, Rodewald-Rudescu A, et al: Reproduction in a female patient with Down’s syndrome. Case report of a 46,XY child showing slight phenotypical anomalies born to a 47,XX, +21 mother. Humangenetik 26(3):207, 1975
  5. American Academy of Pediatrics: Health supervision for childen with Down syndromw. Pediatrics 107(2):442, 2001
  6. Rankin J, Tennant PWG, Bythell M, et al: Predictors of survival in children born with Down syndrome: a registry-based study. Pediatrics 129(6):e1373,2012
  7. Lin HY, Chen YJ, Hung HY, et al: Clinical characteristics and survival of trisomy 18 in a medical center in Taipei, 1988-2004. Am J Med Genet 140(9):945, 2006
  8. Nussbaum RL, McInnes RR, Willard HF (eds): Clinical cytogenetics: disorders of the autosomes and sex chromosomes. In Thompson & Thompson Genetics in Medicine, 7th ed. Elsevier-Saunders, 2007, p89
  9. Lin HY, Lin SP,Chen YJ, et al: Clinical characteristics and survival of trisomy 13 in a medical center in Taiwan, 1985-2004. Pediatr Int 49(3):380, 2007
  10.  Vendola C, Canfield M, Daiger SP, et al: Survival of Texas infants born with trisomies 21, 18, and 13. Am J Med Genet A 152A(2):360, 2010
  11. Cockwell A, MacKenzie M, Youing S, et al: A cytogenetic and molecular study of a series of 45,X fetuses and their parents. J Med Genet 28(3):151, 1991
  12. Jones KL: Smith’s Recognizable Patterns of Human Malformation, 6th ed. Philadelphia, Elsevier Saunders, 2006
  13. Milunsky A, Milunsky JM: Genetic counseling: preconception, prenatal, and perinatal. In Milunsky A (ed): Genetic Disorders of the fetus: diagnosis, Prevention, and Treatment, 5th ed. Baltimore, Johns Hopkins University Press, 2004
  14. Tartaglia NR, Howell S, Sutherland A, et al: A review of trisomy X (47,XXX). Orphanet J Rare Dis 5:8, 2010
  15. Girardin CM. Vliet GV: Counseling of a couple faced with a prenatal diagnosis of Klinefelter syndrome. Acta Pediatr 100(6):917, 2011
  16. Ross JL, Zeger MP, Kushner H, et al: An extra X or Y chromosome: contrasting the cognitive and motor phenotypes in childhood in boys with 47, XYY syndrome or 47,XXY Klienfelter syndrome. Dev Disabil Res Rev 15(4):309,2009
  17. Cerruti Mainardi P. Cri du Chat syndrome. Orphanet Journal of Rare Diseases. 2006;1:33. doi:10.1186/1750-1172-1-33.
  18. Bittel DC, Butler MG. Prader-Willi syndrome: clinical genetics, cytogenetics and molecular biology. Expert Rev Mol Med. 2005 Jul 25;7(14):1-20.
  19. Buiting K. Prader-Willi syndrome and Angelman syndrome. Am J Med Genet C Semin Med Genet. 2010 Aug 15;154C(3):365-76
  20. Antshel KM, Kates WR, Roizen N, Fremont W, Shprintzen RJ. 22q11.2 deletion syndrome: genetics, neuroanatomy and cognitive/behavioral features keywords. Child Neuropsychol. 2005 Feb;11(1):5-19
Read More