โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ
เรื่อง “การวินิจฉัยก่อนคลอดและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์”
วันที่ 9 – 10 กันยายน 2553
ณ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ จังหวัดเชียงใหม่ 

1.      หลักการและเหตุผล

กลุ่มอาการดาวน์ เป็นความผิดปกติโดยกำเนิดของโครโมโซม ที่พบได้บ่อยที่สุดในทารกแรกคลอด การวินิจฉัยก่อนคลอด เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดอุบัติการณ์ของทารกกลุ่มอาการดาวน์ได้ โดยการเจาะตรวจโครโมโซมของทารกในครรภ์ ซึ่งแนะนำในสตรีตั้งครรภ์ที่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 35 ปี ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้ตรวจพบทารกกลุ่มอาการดาวน์ได้เพียงร้อยละ 20 ของทารกกลุ่มอาการดาวน์ที่คลอดทั้งหมดและยังมีความเสี่ยงต่อการแท้งจึงไม่เหมาะสมที่จะตรวจในสตรีตั้งครรภ์ทุกราย ปัจจุบันได้มีผู้พยายามค้นหาเทคนิคการคัดกรองอื่น ๆ มาช่วยเสริม เช่นการตรวจซีรั่มมาร์คเกอร์ และการใช้ลักษณะความผิดปกติบางประการของทารกที่สามารถตรวจพบได้ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เป็นต้น จึงมีความจำเป็นที่แพทย์ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลทั่วไปจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้เทคนิคการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยกลุ่มอาการดาวน์ รวมถึงให้คำแนะนำแก่สตรีตั้งครรภ์และคู่สมรสได้อย่างถูกต้อง หน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารก ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในด้านนี้ และเป็นโอกาสอันดีในการเผยแพร่องค์ความรู้จากงานวิจัยจากการที่อาจารย์ประจำหน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารกได้รับทุนจากงบประมาณโครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติในหัวข้อเรื่อง “การวินิจฉัยก่อนคลอดและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์” จึงได้กำหนดจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การวินิจฉัยก่อนคลอดและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์” ขึ้นเพื่อให้แพทย์และพยาบาลที่มีหน้าที่ในการดูแลรักษาสตรีตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลทั่วไป สามารถตรวจคัดกรองและวินิจฉัยรวมถึงให้คำปรึกษาเพื่อค้นหาคู่สมรสที่มีความเสี่ยงต่อการมีลูกเป็นโรคกลุ่มอาการดาวน์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และได้รับความรู้จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่อไป

2.       วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม

2.1        มีความรู้ความเข้าใจในโครงสร้างของโครงการเรื่องการวินิจฉัยก่อนคลอดและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์

2.2        สามารถประยุกต์ใช้การตรวจคัดกรองรวมถึงเทคนิคในการวินิจฉัยทารกกลุ่มอาการดาวน์ในสตรีตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

3.      ผู้เข้าร่วมโครงการ

3.1  วิทยากร                                                                    8        คน

3.2  สูติแพทย์ แพทย์ต่อยอดสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารก  30 คน
3.3  พยาบาลสูติศาสตร์ และ ผู้สนใจ   70 คน
3.4  แพทย์ประจำบ้านสาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 30 คน
3.5  เจ้าหน้าที่  7 คน
รวม 145 คน

4.      วิทยากร

  1. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระ ทองสง
  2. รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงพรรณี ศิริวรรธนาภา
  3. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชเนนทร์ วนาภิรักษ์
  4. รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสุพัตรา ศิริโชติยะกุล
  5. รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์วีรวิทย์ ปิยะมงคล
  6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงเฟื่องลดา ทองประเสริฐ
  7. อาจารย์ แพทย์หญิงเกษมศรี ศรีสุพรรณดิฐ
  8. อาจารย์ แพทย์หญิงสุชยา ลือวรรณ

 

5.  สถานที่

โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ จังหวัด เชียงใหม่

6.  ระยะเวลา

วันที่ 9 – 10 กันยายน 2553

7.   ผู้รับผิดชอบโครงการ

  • หน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารก ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • งบประมาณโครงการมหาวิทยาลัยแห่งชาติ

8.   การลงทะเบียน

ไม่เก็บค่าลงทะเบียน

9.  งบประมาณ

9.1  ประมาณการรายรับ

  • ได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณโครงการมหาวิทยาล้ยแห่งชาติ      100,000.- บาท

9.2  ประมาณการรายจ่าย

  • ค่าอาหารว่างและอาหารกลางวัน (???- x 145 คน x 2 วัน)                       .- บาท
  • ค่าเอกสารและซีดีประกอบการอบรม (100.- x 145 ชุด)                  14,500.- บาท
  • ค่าแผ่นพับ (10.- x 500 แผ่น)                                                 5,000.- บาท
  • ค่าแสตมป์และซองจดหมาย                                                    2,000.- บาท

รวม                                           100,000.- บาท

 

10.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการให้บริการการตรวจคัดกรอเพื่อค้นหาและวินิจฉัยทารกในครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการดาวน์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  2. ข้อมูลความรู้จากงานวิจัยได้รับการเผยแพร่

กำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการ
เรื่อง “การวินิจฉัยก่อนคลอดและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์”
วันที่ 9 – 10 กันยายน 2553
ณ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ จังหวัดเชียงใหม่

วันที่ 9 กันยายน 2553

08.15 – 08.45 น.       —————-ลงทะเบียน——————–

08.45 – 09.00 น.       ——————พิธีเปิด———————–

09.00 – 09.30 น.       สถานการณ์กลุ่มอาการดาวน์ในประเทศไทย       รศ. พญ. พรรณี ศิริวรรธนาภา

09.30 – 10.15 น.       หลักการของการตรวจคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์   รศ. ดร. นพ. วีรวิทย์ ปิยะมงคล

10.15 – 10.30 น.       ———————-พัก———————–

10.30 – 12.00 น.       การตรวจคัดกรองโดยใช้ซีรั่มมาร์คเกอร์            ผศ. พญ. เฟื่องลดา ทองประเสริฐ

12.00 – 13.00 น.       ———รับประทานอาหารกลางวัน———-

13.00 – 14.15 น.       ความหนาของถุงน้ำใต้ต้นคอทารก                  รศ. พญ. สุพัตรา ศิริโชติยะกุล

                              (Nuchal translucency, NT)    

14.15 – 14.30 น.       ———————-พัก———————–

14.30 – 16.00 น.       อัลตราซาวน์มาร์คเกอร์ในทารกกลุ่มอาการดาวน์  ศ. นพ. ธีระ ทองสง

 

วันที่ 10 กันยายน 2553

09.00 – 10.30 น.       การวินิจฉัยก่อนคลอดของกลุ่มอาการดาวน์        อ. พญ. เกษมศรี ศรีสุพรรณดิฐ

10.30 – 10.45 น.       ———————-พัก———————–

10.45 – 12.00 น.       การให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์                    รศ. นพ. ชเนนทร์ วนาภิรักษ์

                              เกี่ยวกับกลุ่มอาการดาวน์

12.00 – 13.00 น.       ———รับประทานอาหารกลางวัน———-

13.00 – 14.30 น.       การอบรมเชิงปฏิบัติการ                              ทีมวิทยากร

                             – การวัด NT, อัลตราซาวน์มาร์คเกอร์ (แพทย์)    ศ. นพ. ธีระ ทองสง และคณะ

                             – การให้คำปรึกษาแก่คู่สมรส (พยาบาล)           รศ.นพ.ชเนนทร์ วนาภิรักษ์ และคณะ

14.30 – 14.45 น.       ———————-พัก———————–

14.45 – 16.00 น.       แนวทางปฏิบัติในการเข้าถึงระบบตรวจคัดกรอง  อ. พญ. สุชยา ลือวรรณ และคณะ 

                              กลุ่มอาการดาวน์ ของ รพ มหาราชนครเชียงใหม่

                             และปัญหาที่พบบ่อยในทางปฏิบัติ

                              (อภิปรายร่วมกันกับผู้เข้าร่วมประชุม)