โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การควบคุมและป้องกันโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย”

วันที่ 2-3 ธันวาคม 2553 ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารเรียนรวม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ส่วนหนึ่งในโครงการเมธีวิจัยอาวุโส โครงการดีเด่นแห่งปี 2552 จากกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา

1. หลักการและเหตุผล

โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียนับเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญประการหนึ่งของประเทศไทย การควบคุมและป้องกันไม่ให้มีผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียเกิดขึ้นใหม่สามารถทำได้ด้วยการตรวจคัดกรองเพื่อหาหญิงตั้งครรภ์และคู่สมรสที่มีความเสี่ยงต่อการมีลูกเป็นโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง ทำการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอด และให้ทางเลือกโดยยุติการตั้งครรภ์ในกรณีพบว่าทารกเป็นโรค นับเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถลดอุบัติการณ์ของโรคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย และมีการพัฒนาเทคนิคใหม่ๆ ในการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาคู่สมรสที่เป็นคู่เสี่ยง จึงมีความจำเป็นที่แพทย์ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลทั่วไปจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้เทคนิคการตรวจคัดกรองโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียวิธีต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง หน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารก ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในด้านนี้ และเป็นโอกาสอันดีในการเผยแพร่องค์ความรู้จากงานวิจัยจากการที่อาจารย์ประจำหน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารกได้รับทุนเมธีวิจัยอาวุโสในหัวข้อเรื่อง “การควบคุมและป้องกันโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย”ซึ่งในระยะ 3 ปีที่ผ่านมาจากการได้รับทุนวิจัยนี้ ได้ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่และต่อยอดจากความรู้เดิม ในการนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วย โดยเน้นที่สามารถนำมาปฏิบัติได้จริงในทางสาธารณสุข และในส่วนที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยเพื่อนำไปต่อยอดให้เกิดความรู้เพิ่มเติมต่อไป จึงได้กำหนดจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การควบคุมและป้องกันโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียเชิงประยุกต์” ขึ้นเพื่อให้แพทย์ที่มีหน้าที่ในการดูแลรักษาสตรีตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลทั่วไป สามารถตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาคู่สมรสที่มีความเสี่ยงต่อการมีลูกเป็นโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และได้รับความรู้จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปก่อให้เกิดประโยชน์ต่อไป

2. วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม

  1. มีความรู้ความเข้าใจในโครงสร้างโครงการควบคุมและป้องกันโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย
  2. สามารถประยุกต์ใช้การตรวจคัดกรองโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียเพื่อค้นหาคู่สมรสที่มีความ เสี่ยงได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  3. สามารถนำองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่ได้จากการศึกษาวิจัยนี้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
  4. เพื่อสร้างบรรยากาศทางวิชาการ การวิจัย และการแลกเปลี่ยนความรู้ ตลอดถึงความร่วมมือของประชาคมวิจัย

3. ผู้เข้าร่วมโครงการ

วิทยากร 13 คน
สูติแพทย์ แพทย์ต่อยอดสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารก และผู้สนใจ 70 คน
แพทย์ประจำบ้านสาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 30 คน
เจ้าหน้าที่ 7 คน
รวม 120 คน

 

4. วิทยากร

  1. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระ ทองสง
  2. รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงพรรณี ศิริวรรธนาภา
  3. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชเนนทร์ วนาภิรักษ์
  4. รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสุพัตรา ศิริโชติยะกุล
  5. รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์วีรวิทย์ ปิยะมงคล
  6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงเฟื่องลดา ทองประเสริฐ
  7. อาจารย์แพทย์หญิงเกษมศรี ศรีสุพรรณดิฐ
  8. อาจารย์แพทย์หญิงสุชยา ลือวรรณ

วิทยากรรับเชิญ

  1. ศาสตราจารย์ ดร. วิชัย บุญแสง (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย)
  2. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ต่อพงศ์ สงวนเสริมศรี (ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
  3. ศาสตราจารย์ ดร. วัชระ กสิณฤกษ์ (ภาควิชาภูมิคุ้มกันวิทยา คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
  4. รองศาสตราจารย์แพทย์หญิง พิมพ์ลักษณ์ เจริญขวัญ (ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

5. สถานที่

ห้องประชุมชั้น 2 อาคารเรียนรวม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

6. ระยะเวลา

วันที่ 2-3 ธันวาคม 2553

7. ผู้รับผิดชอบโครงการ

  • หน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารก ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

8. การลงทะเบียน

ไม่เก็บค่าลงทะเบียน

กำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการ

เรื่อง “การควบคุมและป้องกันโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย: การตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาคู่เสี่ยง”
วันที่ 2-3 ธันวาคม 2553
ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารรวม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วันที่ 2 ธันวาคม 2553

08.30 – 09.00 น. Registration  
09.00 – 09.15 น. Opening Ceremony คณบดี คณะแพทย์ศาสตร์ มช.
09.15 – 10.15 น. Essential knowledge of thalassemia ร.ศ. พญ. พิมพ์ลักษณ์ เจริญขวัญ
10.15 – 10.30 น. Break  
10.30 – 11.15 น. State-of-the-art in prenatal control of severe thalassemia ศ. นพ. ต่อพงศ์ สงวนเสริมศรี
11.15 – 12.00 น. Problems of prenatal control strategy รศ. พญ. พรรณี ศิริวรรธนาภา
12.00 – 13.00 น. Lunch  
13.00 – 14.15 น. Advance in fetal diagnosis and Therapy ; invasive technique for PND;
in utero treament ; Preimplantation Genetic Diagnosis

ผศ. พญ. เฟื่องลดา ทองประเสริฐ
อ.พญ. เกษมศรี ศรีสุพรรดิฐ
รศ. ดร. นพ. วีรวิทย์ ปิยะมงคล

14.15 – 15.15 น. Exclusive summay from research:
Screening technique ; what is the best? Answer from multicenter study
ศ. ดร. วัชระ กสิณฤกษ์
รศ. นพ. ชเนนทร์ วนาภิรักษ์
รศ. พญ. สุพัตรา ศิริโชติยะกุล
15.15 – 15.30 น. Break  
15.30 – 16.00 น. Guideline for prenatal screening of severe thalasemia diseae from research to clinical application รศ. นพ. ชเนนทร์ วนาภิรักษ์

วันที่ 3 ธันวาคม 2553

08.30 – 9.45 น. Sonomarkers of HbBart’s disease ศ. นพ. ธีระ ทองสง
09.45 – 10.15 น. Basic sonomarker in predicting Hb Bart’s disease simply for general OB-Gyn;
part 1 (CT ratio, Placental thickness )
อ. พญ. ยุรี ยานาเซะ
10.15 – 10.30 น. Break  
10.30 – 11.00 น. Basic sonomarker in predicting Hb Bart’s disease simply for general OB-Gyn ;
part 2 (liver and slpeenic measurement)
อ. พญ. เกษมศรี ศรีสุพรรณดิฐ
11.00 – 12.00 Doppler study in predicting Hb Bart’s disease อ. พญ. สุชยา ลือวรรณ
12.00 – 13.00 น. Lunch  
13.00 – 14.00 น. Fetal echocardiography in Hydrops fetalis ผศ. พญ. เฟื่องลดา ทองประเสริฐ
14.00 – 14.45 น. Exclusive summary for doppler study in predicting Hb bart’s disease ศ. นพ. ธีระ ทองสง
14.45 – 15.00 น. Closing ceremony