การคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ (Estimate fetal weight)

นนทิกานต์ อโนทัยสถาพร
อาจารย์ที่ปรึกษา รศ. พญ. เฟื่องลดา ทองประเสริฐ


การประเมินน้ำหนักทารกระหว่างการตั้งครรภ์มีความจำเป็นต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดและหลังคลอดได้ ในทารกรายที่มีน้ำหนักแรกคลอดต่ำและสูง

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อน้ำหนักทารก

มีผลทั้งปัจจัยภายในและภายนอก เช่น

  • อายุครรภ์ ณ เวลาที่คลอด, เพศของทารก
  • เชื้อชาติ,ความสูง,จำนวนการตั้งครรภ์,น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ และกิจกรรมที่ปฏิบัติระหว่างกานตั้งครรภ์, ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง, การสูบบุหรี่, มารดาเป็นโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมได้, โรคความดันโลหิตสูง, ภาวะครรภ์เป็นพิษ
  • ความสูงพ่อและแม่

ความสำคัญในการประเมินน้ำหนัก

ทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดต่ำ(low birth weight) และทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดสูง (macrosomia) จะเพิ่มความเสี่ยงระหว่างการคลอดและการดูแลหลังคลอดได้

โอกาสเกิดความแตกต่างของขนาดศรีษะทารกและอุ้งเชิงกราน ทำให้ทารกไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้ (cephalopelvic disproportion) จะเพิ่มอุบัติการณ์มากขึ้น กับ ขนาดทารก ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่จะเพิ่มอัตราการผ่าคลอดฉุกเฉินทางหน้าท้องได้ ในทารกที่มีน้ำหนักแรกคลอดสูงเมื่อเทียบกับทารกน้ำหนักแรกคลอดปกติ

ข้อบ่งชี้ในการประเมินน้ำหนักทารก

  • มีประวัติเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์และขณะตั้งครรภ์ที่ควบคุมได้ไม่ดี
  • มารดาตัวเตี้ย
  • น้ำหนักมารดาเพิ่มระหว่างการตั้งครรภ์มากกว่าปกติ
  • มารดาอ้วน (BMI>25kg/m2)
  • ตั้งครรภ์มาแล้วหลายครั้ง
  • มีประวัติคลอดก่อนกำหนด
  • มีประวัติคลอดหลังกำหนด
  • มารดามีประวัติโรคความดันโลหิตสูง
  • มารดาสูบบุหรี่

ตารางที่ 1 ความเสี่ยงของมารดาและทารกแรกคลอดที่มีน้ำหนักมากกว่า 4000 กรัม

Complication

Relative risk

Attributable Risk(%)

Shoulder dystocia

2.0-38

2-18

Brachial plexus palsy

16-216

0.2-8

Bony injury/fracture

1.4-97

0.2-6

Prolonged labor

2.2-3.2

2-7

Birth asphyxia/low Apgar scores

1.7-5.6

0.6-6

Forceps/vacuum extraction

1.5-3.6

8-14

Birth canal/perineal laceration

1.6-5.1

3-7

Postpartum hemorrhage

1.6-5.2

2-5

Cephalopelvic disproportion

1.9-2.2

4-5

Cesarean delivery

1.2-2.9

4-14

*Data complication from 15 study that investigated both the relative risk of complication associated with the birth of macrosomia fetuses.

เส้นมาตรฐานการเจริญเติบโตของทารก ( Standard Fetal Growth Curves)(1)

สำหรับประเมินช่วงน้ำหนักของทารกในแต่ละอายุครรภ์

EFW1

รูปที่1 แสดงเส้นมาตรฐานการเจริญเติบโตของทารก

ช่วงน้ำหนักปกติของทารกแรกคลอด

ค่าความคลาดเคลื่อนของน้ำหนักทารก (Deviation in fetal weight)

การวินิจฉัยค่าความคลาดเคลื่อนของน้ำหนักทารก อ้างอิงจากช่วงน้ำหนักในแต่ละอายุครรภ์ที่ถูกยอมรับ อายุครรภ์ที่ทารกเกิดมานั้นจะต้องมีน้ำหนักของการเกิด ที่ชัดเจน ซึ่งประเด็นนี้มีความสำคัญ เพราะว่า น้ำหนักทารกจะเพิ่มอย่างรวดเร็วในช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์

ค่าความแตกต่างของน้ำหนักทารก (Variation in fetal weight)

ค่าอ้างอิงช่วงอายุครรภ์สำหรับการคลอดธรรมชาติ (spontaneous delivery)ที่280วัน (40สัปดาห์)จากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย เนื่องจากน้อยกว่า 3%ของการเกิดที่แม่นยำ ที่อายุครรภ์40สัปดาห์ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับอายุครรภ์ครบกำหนด คือ 1สัปดาห์ ดังนั้นค่าปกติของน้ำหนักทารกคลอดครบกำหนดอ้างอิงจากการคลอดในช่วงอายุครรภ์ 38-42สัปดาห์ ค่าเฉลี่ยน้ำหนักทารกที่เพิ่มขึ้นประมาณ 12.74กรัมต่อวัน ขึ้นกับน้ำหนักของมากดาที่เพิ่มขึ้นและเชื้อชาติของมารดา

คำจำกัดความของการเจริญเติบโตของทารก

ประเภทของน้ำหนักทารก แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

  1. ค่าน้ำหนักปกติ (between 10th and 90th percentile)
  2. ภาวะทารกตัวเล็ก (Small for gestational age (<10th percentile))
  3. ภาวะทารกตัวโต (Large for gestational age(>90th percentile))

ภาวะแทรกซ้อนของทารก

น้ำหนักแรกเกิดต่ำ(low birth weight)

  • การคลอดก่อนกำหนด
  • เกิดภาวะทารกโตช้าในครรภ์ (IUGR)

ทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดสูง (macrosomia)

  • การคลอดติดไหล่(dystocia) ,
  • การบาดเจ็บต่อเส้นประสาทบริเวณคอ (brachial plexus injury),
  • การบาดเจ็บต่อกระดูก
  • ขณะคลอดอาจทำให้เกิดภาวะขาดอากาศ (asphyxia)
  • ความเสี่ยงของมารดาขณะคลอด ประกอบด้วย การบาดเจ็บต่อช่องคลอด และเชิงกราน อีกทั้งเพิ่มความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดอีกด้วย

การประเมินน้ำหนักทารก

เทคนิคสำหรับการประเมินน้ำหนักทารก

1. ขนาดตัวทารก (Tactile assessment of fetal size) เป็นวิธีเก่าแก่ที่ใช้ประเมินน้ำหนัก โดยด้วยการคาดคะเนน้ำหนักด้วยมือของสูติแพทย์ จากการตรวจร่างกาย Leopold maneuvers เป็นวิธีที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสะดวก และไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่วิธีนี้อาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้มาก(2, 3)

2. การประเมินน้ำหนักโดยมารดา (Maternal Self-Estimation) ใช้ในการประเมินน้ำหนักในครรภ์หลังๆ และประเมินน้ำหนักทารกที่อายุครรภ์ครบกำหนด

3. การใช้คลื่นเสียงความถี่สูง(Ultrasonography) เป็นการวัดสัดส่วนทารกในครรภ์ โดยการวัดความยาวของทารก (CRL), การวัดความกว้างของศีรษะทารก (BPD),การวัดเส้นรอบวงศีรษะ(HC),การวัดเส้นรอบท้อง(AC),การวัดความยาวกระดูกต้นขา(FL)

ตาราง แสดงการศึกษาการความแม่นยำในการทำนายน้ำหนักแรกคลอดในหญิงตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ มากกว่า 37 สัปดาห์ โดยการคลำทางหน้าท้อง,การตรวจโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงและ ผู้ป่วยประเมินด้วยตนเอง

Author(year)

Best Birth Weight Estimation

Clinical palpation Sonographic Fetal Biometry Parous Patients’ Self-Estimates

MA% Error

BW%

MA% Error

BW%

MA% Error

BW%

Watson(1988)

7.9

67

8.2

66

 

 

Chauhan (1992)

9.0

66

15.6

42

8.7

70

Chauhan (1993)

9.1

65

10.7

56

 

 

Chauhan (1995)

7.5

65

 

 

9.2

67

Chauhan (1995)

9.9

54

11.4

51

 

 

Sheman(1998)

7.2

73

8.1

69

 

 

Chauhan (1998)

10.3

61

10.0

60

 

 

Herrero(1999)

9.5

61

 

 

9.5

62

Hendrix(2000)

10.6

58

16.5

32

 

 

Range 7.2-10.6 54-73 8.1-16.5 32-69 8.7-9.5 62-70

MA % error : Mean absolute percent error in fetal weight predictions
BW% : Percent of weights predicted to within > 10% of actual birth weight

ความแตกต่างของการคาดคะเนน้ำหนักทารกในแต่ละวิธี

ขนาดทารก (Tactile assessment of fetal size)

  • การประเมินน้ำหนักทารกในแต่ละอายุครรภ์ จะต้องนำมาเปรียบเทียบกับตารางค่าน้ำหนักของทารกในอายุครรภ์ต่างๆ
  • การประเมินน้ำหนักในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 อาจทำให้ความแม่นยำลดลง
  • มีการศึกษาจากการวัดระดับของยอดมดลูก ได้40เซนติเมตร ประเมินน้ำหนักทารกได้มากกว่า4,000 กรัม มีความไว 82% และความจำเพาะเจาะจง 80% จากการศึกษานี้ จึงใช้ ค่าระดับยอดมดลูกที่ 40(3)
  • น้ำหนักที่เหมาะสมอยู่ในช่วงเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 10 และ 90 ในอายุครรภ์นั้นๆ
  • หากน้ำหนักของทารกน้อยกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 10 อาจจะความผิดปกติของขนาดทารก ซึ่งอาจเกิดภาวะทารกโตช้าในครรภ์ได้ (FGR) เมื่อทารกเกิดมามีน้ำหนักน้อยกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 10 จะเรียกว่า ภาวะทารกตัวเล็ก (Small for gestational age) และหากมากกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 90 เรียกว่า ทารกน้ำหนักตัวมาก (Large for gestrational age)

EFW2

การประเมินน้ำหนักด้วยคลื่นความถี่สูง (Ultrasonography)

  • ได้มีการศึกษาพบว่าการประเมินน้ำหนักด้วยคลื่นความถี่สูง มีความเที่ยงมากกว่าการประเมินโดยการคลำหน้าท้อง(4)
  • น้ำหนักทารกที่ประเมินได้จากคลื่นความถี่สูง ได้มาจากการประเมินจากสูตรมากมายที่ถูกพัฒนาเพื่อให้มีความเที่ยงมากที่สุด มีหลายการศึกษาที่ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบค่าน้ำหนักที่ได้จากสูตรกับน้ำหนักทารกแรกคลอด(5, 6)
  • สูตรการคำนวณมีการวัดสัดส่วนของทารกส่วนหัว ท้อง และกระดูกต้นขา มีค่าความแปรปรวน 15% โดยแต่ละสูตรนั้นใช้อย่างน้อย 3 สัดส่วนของร่างกาย
  • บางการศึกษาได้กล่าวถึงการวัดเส้นรอบวงของกระดูกต้นขา หรือ ความหนาของเนื้อเยื่อบริเวณกระดูกต้นขา หรือ ใช้เพียงแค่ 3 สัดส่วนในการประเมินน้ำหนัก จะไม่มีความเที่ยงตรง
  • มีการศึกษาทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (systemic review) เกี่ยวกับการใช้สูตรต่างๆในการประเมินน้ำหนักทารก เปรียบเทียบกัน พบว่า ความเที่ยงของแต่ละสูตรไม่มีความแตกต่างกัน(7)
  • สูตรที่ใช้ในการคำนวณน้ำหนัก ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ประเมินครรภ์เดี่ยว สามารถใช้ประเมินครรภ์แฝดได้ เพราะสูตรถูกพัฒนาเฉพาะสำหรับครรภ์แฝด ดังนั้น จะทำให้ไม่มีความเที่ยงตรงของทารก
  • การประเมินน้ำหนักทารกมีความเที่ยงลดลงในมารดาที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เมื่อเทียบกับ มารดาที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน และความเที่ยงลดลงเมื่อทารกมีน้ำหนักน้อยมาก (น้อยกว่า 1000 กรัม)
  • การประเมินน้ำหนักโดยผู้ตรวจคนเดียวหลายครั้ง (intraobserver) และ ตรวจโดยหลายคน (interobserver) ทำให้เกิดค่าความแปรปรวนที่ต่างกันมาก ดังนั้นการตรวจที่มีคุณภาพนั้นจะต้องใช้เทคนิคการวัด และได้ภาพที่คมชัด เช่น ขอบเขตกายวิภาค จะทำให้ได้ค่าที่เที่ยงตรง แม่นยำ
  • การใช้คลื่นความถี่สูงประเมินน้ำหนักทารกในช่วงอายุครรภ์30-40สัปดาห์ น้ำหนักทารกเพิ่มขึ้นประมาณ 220 กรัมต่อสัปดาห์ และหลังจากอายุครรภ์มากกว่า40 สัปดาห์น้ำหนักจะค่อยลดลง
  • สูตรที่ใช้ในการประเมินน้ำหนักใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก ถูกตีพิมพ์ ในปี ค.ศ. 1985 โดย Hadlock and colleahues

ตาราง แสดงการประเมินน้ำหนักทารก

Body Parts Images Formula Used for Weight Estimate
Head, abdomen and femur  
OFD measureable สูตรที่1, using corrected BPD in place of BPD
OFD not measurable สูตรที่1
Head and abdomen  
OFD measurable สูตรที่2, using corrected BPD in place of BPD
OFD not measurable สูตรที่2
Abdomen and femur สูตรที่3

 

สูตรที่1

EFW3 = 1.4787 – 0.003343 AC x FL + 0.001837 BPD2 + 0.0458 AC + 0.1694 BPD

สูตรที่ 2

EFW3 = 1.1134 + 0.5845 AC – 0.000604 AC2 – 0.007365 BPD2 + 0.00595 BPD x AC + 0.1694BPD

สูตรที่ 3

EFW3 = 1.3598 + 0.051AC + 0.1844FL – 0.0037 AC x FL

  • การวัดความกว้างของศีรษะทารก (BPD) หน่วยเซนติเมตร
  • การวัดเส้นรอบวงศีรษะ(HC) หน่วยเซนติเมตร
  • การวัดเส้นรอบท้อง(AC) หน่วยเซนติเมตร
  • การวัดความยาวกระดูกต้นขา(FL) หน่วยเซนติเมตร

ข้อมูลจาก Hadlock FP, Harrist RB, Carpenter RJ, et al: Sonographic estimation of fetal weight: the value of femur length in addition to head and abdomen measurements. Radiology 150:535-

การเปรียบเทียบการผลจากการคาดคะเนน้ำหนักทารดด้วยวิธีคลำทางหน้าท้อง และใช้คลื่นความถี่สูง

 

วิธีการประเมินน้ำหนัก

Correlation Coefficient With Actual Birth Weight

Mean Absolute Error(g)

Mean Absolute Error,(%)

Within 15% of actual Birth Weight (%)

คาดคะเนน้ำหนักจากลักษณะของมารดา

0.55

312

9.8

86

การตรวจร่างกายโดยวิธี Leopold

0.60

336

9.9

83

มารดคาดคะเนน้ำหนักจากการคลำหน้าท้อง

0.45

402

11.5

67

การใช้คลื่นความถี่สูง

Hadlock equation1

0.61

292

8.4

88

Combs equation

0.60

285

8.3

82

Hadlock equation3

0.60

325

9.4

83

Hadlock equation2

0.58

328

9.4

78

Campbell equation

0.42

368

10.3

79

Warsof equation 2

0.63

370

10.3

61

Warsof equation 1

0.40

359

10.9

72

Shepard

0.52

402

11.4

63

  • จากการศึกษาวิธีทั้งหมดที่ใช้ในการประเมินน้ำหนักที่ผ่านมาพบว่า จะความคลาดเคลื่อน อยู่ในช่วง 288-560 กรัม
  • วิธีที่ใช้มากที่สุกที่ประเมินน้ำหนักทารกก่อนคลอดคือการคลำทางหน้าท้อง เนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่าย และ ไม่ได้ทำให้เกิดการบาดเจ็บ
  • มีการศึกษาได้ศึกษาการใช้สูตร Hadlock AC+ FL มีความเที่ยงไม่ต่างกันกับการวัดเส้นรอบท้อง

อย่างที่กล่าวไปในข้างต้นว่าการคาดคะเนน้ำหนักทารกมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อใช้ในการวางแผนการดูแลระหว่างการตั้งครรภ์ ขณะคลอด และ หลังคลอด ได้อย่างถูกต้อง

ทุกปัจจัยที่ส่งผลต่อน้ำหนักทารดโดยตรง ประกอบด้วย :เชื้อชาติมารดา, เพศทารก,ความสูงของมารดา,ความสูงของลูกคนที่ผ่านมา,มารดาเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ที่ควบคุมไม่ได้, น้ำหนักมารดาที่เพิ่มขึ้นมากเกินไป, ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง, อายุครรภ์ที่คลอด ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อน้ำหนักทารก รวมถึงในรายที่คาดคะเนน้ำหนักทารกแล้วมากกว่า4,000 กรัม จะได้มีการวางแผนดูแลผู้ป่วยขณะคลอดได้และลดภาวะแทรกซ้อน และความเสี่ยงอื่นๆที่เกิดตามมาได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Benson CB, Doubilet PM. Fetal Biometry and Growth.
  2. Khani S, Ahmad-Shirvani M, Mohseni-Bandpei MA, Mohammadpour-Tahmtan RA. Comparison of abdominal palpation, Johnson’s technique and ultrasound in the estimation of fetal weight in Northern Iran. Midwifery. 2011;27(1):99-103.
  3. Buchmann E, Tlale K. A simple clinical formula for predicting fetal weight in labour at term–derivation and validation. S Afr Med J. 2009;99(6):457-60.
  4. Eze CU, Abonyi LC, Njoku J, Okorie U, Owonifari O. Correlation of ultrasonographic estimated fetal weight with actual birth weight in a tertiary hospital in Lagos, Nigeria. Afr Health Sci. 2015;15(4):1112-22.
  5. Kalantari M, Negahdari A, Roknsharifi S, Qorbani M. A new formula for estimating fetal weight: The impression of biparietal diameter, abdominal circumference, mid-thigh soft tissue thickness and femoral length on birth weight. Iran J Reprod Med. 2013;11(11):933-8.
  6. Dudley NJ. A systematic review of the ultrasound estimation of fetal weight. Ultrasound Obstet Gynecol. 2005;25(1):80-9.
  7. Tongsong T, Piyamongkol W, Sreshthaputra O. Accuracy of ultrasonic fetal weight estimation: a comparison of three equations employed for estimating fetal weight. J Med Assoc Thai. 1994;77(7):373-7.