หลักสูตรอบรมต่อยอดสาขามะเร็งนรีเวช

Fellowship Training

1.   ชื่อหลักสูตร

การฝึกอบรมต่อยอดสาขามะเร็งวิทยานรีเวช
SUBSPECIALTY TRAINING IN GYNECOLOGIC ONCOLOGY

2.   หน่วยงานที่รับผิดชอบ

หน่วยมะเร็งวิทยานรีเวช ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา   คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

3.  วัตถุประสงค์

       เพื่อให้แพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมแล้วมีความรู้ความชำนาญในสาขามะเร็งวิทยานรีเวชเป็นอย่างดี โดยอย่างน้อยจะต้อง        มีความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้

  • ให้คำปรึกษา คำแนะนำเกี่ยวกับการป้องกันมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรีได้
  • ดำเนินการตามขั้นตอนการวินิจฉัยผู้ป่วยมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรีได้
  • ให้การรักษาผู้ป่วยมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรี  รวมทั้งการป้องกันและการแก้ไขภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการผสมผสานการรักษาแบบสหวิทยาการร่วมกับแพทย์ทางรังสีรักษา แพทย์ทางมะเร็งวิทยา และแพทย์ทาง
    พยาธิวิทยานรีเวช
  • มีทักษะในการทำผ่าตัดทางมะเร็งนรีเวชทั้งแบบกว้างและแบบอนุรักษ์
  • สามารถให้การรักษามะเร็งโดยใช้ยาเคมีบำบัดและแก้ไขภาวะแทรกซ้อนได้
  • สามารถตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยมะเร็งนรีเวชแต่ละราย
  • ทำหน้าที่สอนและให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับปัญหาทางมะเร็งวิทยานรีเวชแก่แพทย์นักศึกษา บุคลากรทางสาธารณสุข และประชาชนทั่วไปได้เป็นอย่างดี
  • ประสานงานกับผู้อื่นทางด้านวิชาการ การบริการ และการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ
  • เข้าใจหลักการและสามารถทำการวิจัยทางมะเร็งวิทยานรีเวชได้
  • มีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติอันดีต่อผู้ป่วย  ญาติผู้ป่วย  ผู้ร่วมงาน  เพื่อนร่วมวิชาชีพ และชุมชน

4. โครงสร้างหลักสูตรและการจัดประสบการณ์ในการเรียนรู้

การฝึกอบรมจะใช้เวลา 2 ปี โดยเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน
ในปีแรกจะเน้นการฝึกฝนทักษะทางคลินิกร่วมกับการฝึกอบรม ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรี ได้แก่ สาขาวิชารังสีรักษา (radiation oncology)  สาขาวิชามะเร็งวิทยา (medical oncology) สาขาเซลล์วิทยานรีเวช  (gynecologic cytology) และสาขาวิชา พยาธิวิทยานรีเวช (gynecologic pathology)  และดำเนินการจัดประชุมอภิปรายระหว่างสาขาวิชา
ส่วนในปีที่ 2 ผู้รับการฝึก อบรมจะได้รับการฝึกฝนเพิ่มเติมในทักษะทางคลินิก และจะต้องทำวิจัยทางด้านมะเร็งวิทยานรีเวช ภายใต้การดูแลของอาจารย์ประจำหน่วย โดยรวมแล้วในช่วง 2 ปีของการฝึกอบรม ผู้เข้ารับ การฝึกอบรมจะต้องผ่านหน่วยงานต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ปฏิบัติงานด้านมะเร็งวิทยานรีเวช 18  เดือน
  • รังสีรักษา 2  เดือน
  • มะเร็งวิทยาทางอายุรศาสตร์ 1  เดือน
  • พยาธิวิทยาทางนรีเวช 1  เดือน
  • เซลล์วิทยาทางนรีเวช 1  เดือน
  • ระบาดวิทยา 1  เดือน

5. การประเมินผลและการสอบเพื่อประกาศนียบัตร

     ในระหว่างการฝึกอบรมจะมีการประเมินผลแบบ formative โดยดูจากการปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมใน journal club และ conferences ต่าง ๆ และเมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรมในแต่ละชั้นปี จะมี summative evaluation โดยการสอบสัมภาษณ์ สอบข้อเขียนสอบภาคปฏิบัติ  และพิจารณาร่างโครงการวิจัยในปีที่ 1  และผลงานวิจัยในปีที่ 2
ผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางมะเร็งวิทยานรีเวชครบตามหลักสูตรแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรหรืออนุมัติบัตร สาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาจากแพทยสภาแล้วเท่านั้น    จึงจะมีสิทธิสมัครสอบ เพื่อประกาศนียบัตรสาขามะเร็ง วิทยานรีเวช ตามที่กำหนด   โดยราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย

6. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม

  •  เป็นผู้ได้รับวุฒิบัตรหรืออนุมัติบัตรสาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาจากแพทยสภา
  • ผู้ที่ได้ผ่านการฝึกอบรมเป็นแพทย์ประจำบ้านสาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาและอยู่ในระหว่างรอการสอบวุฒิบัตร
    สาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
  • ผู้ที่จบการศึกษาและฝึกอบรมจากต่างประเทศ ต้องผ่านการฝึกอบรมทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา และต้องได้รับวุฒิบัตร ก่อนสอบเพื่อประกาศนียบัตรสาขามะเร็งวิทยานรีเวช

7. กำหนดการเปิดสอน และจำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม

การฝึกอบรมต่อยอดดังกล่าว ได้รับความเห็นชอบจากราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยแล้ว เริ่มเปิดการฝึกอบรม ได้ในปีการศึกษา 2543 โดยรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ปีละ 2 คน

8. อาจารย์ผู้ทำการสอน

อาจารย์ประจำหน่วยมะเร็งวิทยานรีเวช

อาจารย์ คุณวุฒิ
ศ.นพ.จตุพล  ศรีสมบูรณ์
(หัวหน้าภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา)
วท.บ., พ.บ., ว.ว. (สูตินรีเวชฯ)  เกียรติบัตรสาขามะเร็งวิทยานรีเวช
Certificate in Gynecologic Oncology
(M.D. Anderson Cancer Center, Texas, USA. & National Cancer Center, Tokyo, Japan)
รศ.พญ.ประภาพร สู่ประเสริฐ
( หัวหน้าหน่วยมะเร็งวิทยานรีเวช)
พ.บ., ว.ว. (สูตินรีเวชฯ) ว.ว. (มะเร็งนรีเวช)
อ.นพ.ชัยเลิศ พงษ์นริศร พ.บ., ว.ว. (สูตินรีเวชฯ) อ.ว. (มะเร็งนรีเวช)
ผศ.นพ.ฉลอง ชีวเกรียงไกร พ.บ., ว.ว. (สูตินรีเวชฯ) ว.ว. (มะเร็งนรีเวช)
ผศ.นพ.กิตติภัต เจริญขวัญ พ.บ., ว.ว. (สูตินรีเวชฯ) อ.ว. (มะเร็งนรีเวช)
อ.นพ.สิทธิชา สิริอารีย์ พ.บ., ว.ว. (สูตินรีเวชฯ) ว.ว. (มะเร็งนรีเวช)
อ.พญ.จารุวรรณ ตันติผลากร พ.บ., ว.ว. (สูตินรีเวชฯ) ว.ว. (มะเร็งนรีเวช)
อ.นพ.ชำนาญ เกียรติพีระกุล พ.บ., ว.ว. (สูตินรีเวชฯ) ว.ว. (มะเร็งนรีเวช)

อาจารย์ประจำสาขาที่เกี่ยวข้องในการฝึกอบรม

หน่วยรังสีรักษา ภาควิชารังสีวิทยา

อาจารย์ คุณวุฒิ
รศ.นพ.วิชาญ  หล่อวิทยา
(หัวหน้าหน่วยรังสีรักษา)
วท.บ., พ.บ.,
Diplomate American Board of Therapeutic
Radiology and Oncology
ศ.พญ.วิมล  สุขถมยา วท.บ., พ.บ., ว.ว. (รังสีวิทยา)
ผศ.พญ.อิ่มใจ  ชิตาพนารักษ์ พ.บ., ว.ว. (รังสีรักษา)
อ.พญ.พิมขวัญ กำเนิดศุภผล พ.บ., ว.ว. (รังสีรักษา)
อ.นพ.เอกสิทธิ์ ธราวิจิตรกุล พ.บ., ว.ว. (รังสีรักษา)

หน่วยมะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์

อาจารย์ คุณวุฒิ
รศ.พญ.สุมิตรา  ทองประเสริฐ
(หัวหน้าหน่วยมะเร็งวิทยา)
วท.บ., พ.บ., ว.ว. (อายุรศาสตร์) อ.ว. (มะเร็งวิทยา)
Certificate in Hematology-Oncology
(Memorial Sloan-Kettering Cancer Center,
New York, USA.)
ผศ.นพ.ชัยยุทธ เจริญธรรม พ.บ.  Diplomate

หน่วยพยาธิวิทยานรีเวช ภาควิชาพยาธิวิทยา

อาจารย์  คุณวุฒิ
รศ.พญ.สุมาลี  ศิริอังกุล
(หัวหน้าหน่วยพยาธิวิทยานรีเวช)
วท.บ., พ.บ., ว.ว. (พยาธิวิทยากายวิภาค)
Fellow in Gynecologic Pathology
(Armed Forces Institute of Pathology,
Washington, D.C., USA.)
รศ.นพ.สุรพันธุ์  คุณอมรพงศ์ พ.บ., ว.ว. (พยาธิวิทยากายวิภาค)
Fellow in Gynecologic Pathology
(Royal Prince Alfred Hospital, Sydney,
Australia)

หน่วยเซลล์วิทยา  ภาควิชาพยาธิวิทยา

อาจารย์ คุณวุฒิ
รศ.นพ.สำเริง  รางแดง พ.บ., อนุมัติบัตร (พยาธิวิทยากายวิภาค)
Diplomate American Board of Anatomic
and Clinical  Pathology
Diplomate American Board of Pathology
Added Qualification in Cytopathology
รศ.พญ.เบญจพร  ไชยวรรณ พ.บ., ว.ว. (พยาธิวิทยากายวิภาค)
Certificate in Immunocytochemistry
(U. of Southern California)

ภาควิชาศัลยศาสตร์

อาจารย์ คุณวุฒิ
รศ.นพ.สุมิตร  อนุตระกูลชัย พ.บ., ว.ว. (ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา)
ผศ.นพ.สุริธร  สุนทรพันธ์ พ.บ., ว.ว. (ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา)
ศ.นพ.บรรณกิจ  โลจนาภิวัฒน์ พ.บ., ว.ว. (ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา)
อ.นพ.ศุภณ  ศรีพลากิจ พ.บ., ว.ว. (ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา)
อ.นพ.ศิวัฒน์  ภู่ริยะพันธ์ พ.บ., ว.ว. (ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา)
อ.นพ.สมเจริญ  แซ่เต็ง พ.บ., ว.ว. (ศัลยศาสตร์ทั่วไป)
ผศ.นพ.นเรนทร์ โชติรสนิรมิต พ.บ., ว.ว. (ศัลยศาสตร์ทั่วไป)

อาจารย์ที่ปรึกษาทางระบาดวิทยา ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

อาจารย์ คุณวุฒิ
รศ.พญ.สังวาลย์  รักษ์เผ่า พ.บ., ป.ชั้นสูง สูตินรีเวชฯ
M.Sc. in Medical Demography
(U. of London, U.K.)
รศ.นพ.ธีระพร  วุฒยวนิช พ.บ., ว.ว. (สูตินรีเวชฯ)
M.Sc. in Clinical Epidemiology
(McMaster University, Canada)
M. Med. Sci. in A.R.T.
(Nottingham, U.K.)
คุณรุ่งอรุณ  เศรษฐบุตร วทบ. (พยาบาลและผดุงครรภ์)
วทม. (จิตวิทยาการปรึกษา)
คุณสุกัญญา  ยะนันโต วทบ. (พยาบาลและผดุงครรภ์)
วทม. (ชีวสถิติ)

อาจารย์พิเศษ

อาจารย์ คุณวุฒิ
Tomoyasu Kato, M.D. Fellow in Gynecologic Oncology
(National Cancer Center, Tokyo)
Kazuhide Hida M.D. Fellow in Gynecologic Oncology
(National Cancer Center, Tokyo)
อ.นพ.ฉันทวัฒน์  เชนะกุล พ.บ., ว.ว. (สูตินรีเวชฯ) เกียรติบัตรสาขามะเร็งวิทยานรีเวช
(โรงพยาบาลวัฒโนสถ)

9.   ข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันฝึกอบรม

             คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นโรงเรียนแพทย์แห่งเดียว ในภาคเหนือตอนบน มีลักษณะเฉพาะที่สำคัญคือ มีโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ซึ่งเป็นโรงพยาบาลศูนย์ขนาด ใหญ่ที่สุดในภาคเหนืออยู่ในความรับผิดชอบ  ในปัจจุบัน มีเตียง รับผู้ป่วย 1,800 เตียง  บริการผู้ป่วยนอก 455,510 คนต่อปี  และผู้ป่วยใน 45,218 คนต่อปี  มีสถานที่  อุปกรณ์การแพทย์และ ห้องสมุดที่ทันสมัย มีบริการ on-line CD-ROM และ internet จึงเป็นสถาบันที่ให้การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน (residency  training) ในหลายสาขาเช่น อายุรศาสตร์  กุมารเวชศาสตร์ศัลยศาสตร์ สูตินรีเวช พยาธิวิทยา รังสีวิทยา จักษุวิทยา วิสัญญีวิทยา ฯลฯ และยังเป็นสถาบัน  ที่ให้การฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางในอนุสาขา (subspecialty training) ต่าง ๆ  ผู้ป่วยที่มาใช้ บริการ มีทั้งผู้ป่วยในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีประชากร 1.5 ล้านคน และผู้ป่วยที่ได้รับการส่ง ต่อมาจาก 17 จังหวัดในภาคเหนือตอนบน ซึ่งมี ประชากรประมาณ 12 ล้านคน   ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อนในการวินิจฉัยและการรักษา
ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่    มี คณาจารย์ประจำ 27 คน  อาจารย์พิเศษ 5 คน  แพทย์ชดใช้ทุนและแพทย์ประจำบ้าน 30 คน ให้บริการในด้านการเรียนการสอน การวิจัย และการตรวจ รักษา ผู้ป่วยทาง สูตินรีเวชทั่วไป และในอนุสาขาต่าง ๆ เช่น มะเร็งนรีเวช เวชศาสตร์มารดาและทารก    และเวชศาสตร์การ เจริญพันธุ์
ในด้านการตรวจรักษาผู้ป่วยมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรี มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่มารับบริการ ปีละประมาณ 700 ราย ซึ่ง
75 % เป็นผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก  ดังรายงานใน annual report
ทางหน่วยมะเร็งวิทยานรีเวช มีอาจารย์ประจำหน่วย 8 คน  พยาบาลวิจัย (research nurse) 1 คน และผู้ช่วยวิจัยอีก 1 คน  หอผู้ป่วยมะเร็งนรีเวชมีพยาบาลประจำการ (general nurse) 11 คน  ผู้ช่วยพยาบาล (practical nurse)  9 คน  และพนักงาน ช่วยการพยาบาล (nurse aid) 6 คน มีเตียงผู้ป่วยใน 28 เตียง  เตียงเสริมประจำ 12 เตียง  ห้องตรวจผู้ป่วยนอกสำหรับมะเร็ง นรีเวชมีเตียงตรวจภายใน 7 เตียง  กล้องคอลโปสโคปแบบวิดีทัศน์ (video colposcope) 1 กล้องพร้อมจอทีวีมอนิเตอร์ 2 จอ  และเครื่องถ่ายภาพสีจากคอลโปสโคป  (color printer) 1 เครื่องมีกล้องคอลโปสโคปสองตา (binocular colposcope) อีก 1 กล้อง  ชุดรักษาด้วยความเย็น (cryosurgery set) 1 ชุด  ชุดตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า หรือ loop electrosurgical excision procedure (LEEP) 2 ชุด  ห้องตรวจผู้ป่วยในมะเร็งนรีเวช มีกล้องคอลโปสโคป 2 ตา 1 กล้อง และชุดตัดปากมดลูก ด้วยห่วงไฟฟ้า อีก 1 ชุด

สำหรับหัตถการเพื่อการวินิจฉัยและการผ่าตัดทางมะเร็งนรีเวช มีดังนี้ :

  • การตรวจปากมดลูกด้วยกล้องคอลโปสโคป (colposcopy) ปีละประมาณ 300-600 ราย
  • การตัดปากมดลูก ด้วยห่วงไฟฟ้า (LEEP) ปีละประมาณ 200-300 ราย
  • การผ่าตัดปากมดลูกออกเป็นรูปกรวย (conization) ปีละประมาณ 10-60 ราย
  • การผ่าตัดมดลูกออกแบบธรรมดา (simple hysterectomy)  สำหรับมะเร็งปากมดลูกก่อนระยะ ลุกลาม (preinvasive) ปีละประมาณ 100-150 ราย
  • การผ่าตัด radical hysterectomy  สำหรับมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม (invasive cervical cancer) ปีละ 100-150 ราย ดังในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 จำนวนหัตถการเพื่อการวินิจฉัยและการผ่าตัดสำหรับมะเร็งปากมดลูก พศ. 2540-2549

หัตถการและการผ่าตัด  พศ.2540  พศ.2541 พศ.2542 พศ.2543 พศ.2544 พศ.2545 พศ.2546 พศ.2547 พศ.2548 พศ.2549
Colposcopy
227
235
463
371
369
306
357
399
499
627
LEEP
61
35
166
207
194
221
380
276
261
309
Cervical Conization
66
65
79
13
14
22
16
9
10
5
Simple Hysterectomy for CIN
118
110
155
182
121
89
43
35
52

55

Wertheim Operation
55
77
113
120
116
135
150
151
149
143
Laparoscopic Radical Hysterectomy
4
18
21

* Radical hysterectomy & pelvic lymphadenectomy
ที่มา :   รายงานประจำปี พ.ศ. 2540 – 2549 หน่วยมะเร็งวิทยานรีเวชภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ตารางที่ 2  จำนวนการผ่าตัดสำหรับมะเร็งรังไข่ มะเร็งตัวมดลูกและมะเร็งปากช่องคลอด พ.ศ. 2540-2549

การผ่าตัด
 พศ.2540
 พศ.2541
 พศ.2542
 พศ.2543
 พศ.2544
พศ.2545
พศ.2546
พศ.2547
พศ.2548
พศ.2549
Primary CRS for Ovarian cancer
41
35
53
67
40
59
70
65
65
96
Secondary CRS for Ovarian cancer
17
3
7
3
5
10
11
11
9
11
Primary CRS for Fallopian tube cancer
3
1
3
2
3
2
3
Primary CRS for Peritoneal cancer
1
5
3
4
1
Surgical Staging for corpus CA
33
28
26
36
43
39
47
60
75
53
RV & BIL
10
16
5
13
7
11
7
3
4
4

* RV & BIL = Radical vulvectomy & bilateral inguinal lymphadenectomy