คณาจารย์และบุคลากรภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ขอร่วมแสดงความยินดีแก่บัณฑิตรุ่นที่ 56

🥳คณาจารย์และบุคลากรภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ขอร่วมแสดงความยินดีกับ
นพ.อธิภูมิ เทียมแก้ว (หมอโอม)
นพ.พีรเดช บูรณวรฐิติกุล (หมอเติ้ล)
น.ส.กัณฐรัตน์ นาดี (น้องมิลค์ ผู้ช่วยนักวิจัย)
🎊ในโอกาสพิธีรับพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 56 แก่บัณฑิตของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปีการศึกษา 2563-2564
Read More

วัสดุเย็บแผล : Suture Materials

วัสดุเย็บแผล : Suture Materials

นพ. หาญณรงศ์ ชูพูล
อาจารย์ พญ. ชลัยธร นันทสุภา


การเย็บปิดแผลในมนุษย์ไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดขึ้นชัดเจนเมื่อใด คาดการณ์ว่าการเย็บแผลเกิดขึ้นครั้งแรกในการเก็บศพ mummy เมื่อ 1100 ปีก่อนคริสตกาล ต่อมา 600 ปีก่อนคริสตกาลได้มีการใช้วัสดุเย็บแผล (suture material) ที่ทำจากธรรมชาติ คือ ลินิน เอ็นของสัตว์ ขนสัตว์ และเส้นใยจากพืชอื่น มาเป็นวัสดุในการเย็บแผล และใช้ ลวดทองคำ เงิน เหล็ก ขนสัตว์มาเป็นวัสดุในการปิดแผล ซึ่งผู้ที่ใช้คำว่า suture เป็นคนแรก คือ Hippocrates บิดาแห่งการแพทย์ (The Father of Medicine)

การหายของบาดแผล (Wound healing) 1,2,3,4

การหายของบาดแผล (wound healing) เกิดขึ้นจาก 4 ระยะ ได้แก่

  1. การหยุดของเลือด (Hemostasis)
  2. การอักเสบ (Inflammation)
  3. การเจริญและแบ่งเซลล์ (Proliferation)
  4. การปรับรูปร่าง (Remodeling)

Sun BK, Siprashvili Z, Khavari PA. Uptodate. Graphic 128480 Version 1.0

Handa VL and Linda VL. Chapter 7 Incisions for Gynecologic Surgery. Te Linde’s Operative Gynecology 12th edition. 2020:129:

ระยะที่ 1. การหยุดของเลือด (Hemostasis)

เมื่อมีบาดแผลเกิดขึ้น จะมีการฉีกขาดของเส้นเลือด ทำให้เลือดไหล ร่างกายจะมีปฏิกิริยาต่อเส้นเลือด ทำให้เกิดกระบวนการ hemostasis และ clot formation ส่งผลให้เกิดการแข็งตัวของเลือดและการจับกลุ่มของเกล็ดเลือด โดยอาศัยสารเคมีจากเซลล์ที่เกิดการบาดเจ็บเป็นตัวกระตุ้น นำไปสู่กระบวนการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดหยุดและปกคลุมบาดแผลในระยะแรก และเกล็ดเลือดมีการปล่อย cytokine ต่างๆมากระตุ้นทำให้กระบวนการหายของแผลดำเนินต่อไปด้วย เช่น Platelet – Derived Growth Factor (PDGF), Transforming growth factors (TGF), Fibroblast Growth Factor -2 (FGF-2) เป็นต้น

ระยะที่ 2. การอักเสบ (Inflammation)

กระบวนการอักเสบ (inflammation) เริ่มต้นภายใน 10-30 นาทีหลังจากเกิดบาดแผล ซึ่งกระบวนการอักเสบจะไปกระตุ้นทำให้เกิดกระบวนการ vascular permeability จากนั้นเกิดการกระตุ้นสารที่ทำให้หลอดเลือดขยายตัว (vasodilation complement activation) เกิดการเคลื่อนย้ายของเซลล์เม็ดเลือดขาวมายังตำแหน่งที่เกิดบาดแผล (white blood cell migration) ทำให้เกิดอาการปวด บวม แดง ร้อนบริเวนแผล เม็ดเลือดขาวที่มาบริเวณแผล จะช่วยทำลายซากของเซลล์ที่เสียหาย (cell debris) เชื้อแบคทีเรีย และสารเคลือบเซลล์ (extracellular matrix) นอกจากนี้ macrophage ซึ่งเป็นเซลล์ที่สำคัญต่อการหายของแผล ยังหลั่ง growth factor มากระตุ้นการเกิด proliferation ต่อไป กรณีที่แผลไม่มีการติดเชื้อ แผลจะสามารถหายได้ภายใน 3 วัน

ระยะที่ 3. การเจริญและแบ่งเซลล์ (Proliferation)

กระบวนการแบ่งตัวของเซลล์ใหม่ ยังประกอบไปด้วยกระบวนการย่อยๆ อีก ดังนี้

การสร้าง granulation tissue คอลลาเจนและสารเคลือบเซลล์ชนิด fibronectin หรือ proteoglycan จะถูกสร้างขึ้นจาก fibroblast โดยมี cytokine มาเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดการแบ่งตัวและเคลื่อนย้ายของเซลล์ fibroblast (fibroblast proliferation & migration) และเกิดการสร้างคอลลาเจน (Collagen Synthesis) สารประกอบร่วมต่างๆที่มีความสำคัญต่อกระบวนการนี้ เช่น วิตามินซี ธาตุเหล็ก ออกซิเจน

Angiogenesis การสร้างหลอดเลือดที่เกิดขึ้นในระยะนี้ ถูกกระตุ้นโดย macrophage และในภาวะที่เนื้อเยื่อมีออกซิเจนต่ำ (tissue hypoxia) Macrophage จะหลั่งสารกลุ่ม transforming growth factor มากระตุ้น endothelial cell เพื่อสร้างเส้นเลือดใหม่เกิดขึ้น

การหดรั้งตัวของบาดแผล (wound contracture) เซลล์ fibroblast มีบทบาทสำคัญในการเกิดบาดแผลหดรั้งตัว โดยเซลล์ดังกล่าวจะเคลื่อนที่ไปยังบริเวณขอบแผล และเปลี่ยนชนิดเป็น myofibroblast ซึ่งจะมีความสามารถในการหดตัวของเซลล์ และดึงขอบแผลเข้าหากัน

การสร้างเนื้อเยื่อบุผิว (epithelization) เซลล์เยื่อบุผิวชนิด keratocyte เคลื่อนตัวมาปกคลุม granulation tissue โดยที่มีการเคลื่อนตัวและเจริญมาจากบริเวณขอบแผล โดยการกระตุ้นของ growth factor ต่างๆที่หลั่งจาก macrophage เช่น Fibroblast Growth Factor, Insulin-like Growth Factor, Epidermal Growth Factor เป็นต้น การสร้างเนื้อเยื่อบุผิว เกิดได้ดีในแผลที่มีความชุ่มชื้น เซลล์เยื่อบุผิวจะแบ่งตัวและเคลื่อนตัวมาปกคลุม granulation tissue จนหมด ถึงจะหยุดกระบวนการ เรียกว่า Contract inhibition

ระยะที่ 4. การปรับรูปร่าง (Remodeling)

Remodeling phase หรือ Maturation phase เป็นระยะสุดท้ายของกระบวนการหายของแผล เริ่มประมาณ 20 วัน หลังการเกิดบาดแผลและดำเนินต่อไปจนถึงปี ระยะนี้แผลจะมีความแข็งแรงมากขึ้น (increase tensile strength) โดยมีการเกิด collagen fiber crosslink และมีการลดจำนวนเซลล์ต่างๆลง (decreasing cellularity) ซึ่งช่วงนี้แผลเป็นจะมีหลอดเลือดมาเลี้ยงลดลง การสร้างคอลลาเจนลดลง และมีการทำลายของคอลลาเจนมากขึ้น จนถึงภาวะสมดุลของการสร้างและทำลายคอลลาเจน ทำให้รอยแผลเป็นนิ่มลงแบนลง เรียบ และมีสีจาง ซึ่งกระบวนเหล่านี้ถูกควบคุมโดย macrophage

วัสดุเย็บแผล (Suture material) 1,2

วัสดุเย็บแผลในอุดมคติ

  • สามารถให้ความแข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ (adequate tensile strength)
  • เกิดปฏิกิริยาต่อเนื้อเยื่อน้อย (minimal tissue reactivity)
  • สามารถหยิบจับใช้ได้สะดวก (comfortable handling)
  • ปลอดเชื้อโรค (sterilization)
  • สามารถพยากรณ์ระยะเวลาและคุณสมบัติต่างๆได้ (predictability)

ประเภทและคุณลักษณะของวัสดุเย็บแผล (Classification and characteristics of suture materials)

    • Suture size ขนาดของวัสดุเย็บแผลในปัจจุบันมีหลากหลายขนาด โดยปัจจุบันมี 2 มาตรฐานที่ใช้อธิบายขนาดของวัสดุเย็บแผล ได้แก่ The United States Pharmacopoeia (USP) และ The European Pharmacopoeia (EP) ซึ่งนิยมใช้ระบบ USP มากกว่า EP โดย USP ใช้ 2 ตัวเลขในการบอกขนาด หากตัวเลขที่ระบุตามด้วย -0 จะหมายถึงขนาดที่เล็กลง เช่น 2-0 จะใหญ่กว่า 5-0 ในขณะที่ตัวเลขที่ระบุขนาดเป็นเลขตัวเดียว (ไม่มี -0) จะหมายถึงขนาดที่ใหญ่ขึ้น เช่น 2 จะเล็กกว่า 5

ตารางที่ 1 แสดงรหัสขนาดของวัสดุเย็บแผลตามมาตรฐาน The United States Pharmacopoeia (USP) และ The European Pharmacopoeia (EP) เส้นผ่านศูนย์กลางของไหม และค่าของแรงที่ใช้ในการดึง

Collagen suture Synthetic Suture Limits on Average Diameter (mm) Knot-Pull tensile Strength (kgf) Limit on Average min
USP Size code USP Size code EP Size Code Min Max Collagen Synthetic
8-0 0.4 0.04 0.049 0.07
8-0 7-0 0.5 0.05 0.069 0.045 0.14
7-0 6-0 0.7 0.07 0.099 0.07 0.25
6-0 5-0 1 0.10 0.149 0.18 0.68
5-0 4-0 1.5 0.15 0.199 0.38 0.95
4-0 3-0 2 0.20 0.249 0.77 1.77
3-0 2-0 3 0.30 0.339 1.25 2.68
2-0 0 3.5 0.35 0.399 2.00 3.90
0 1 4 0.40 0.499 2.77 5.08
1 2 5 0.50 0.599 3.80 6.35
EP, European Pharmacopoeia; kgf, kilogram-force; Max, maximum; Min, minimum; USP, United States Pharmacopoeia

ที่มา : Greenberg JA, Clark RM. Advances in suture material for Obstetric and Gynecologic surgery. Rev Obstet Gynecol. 2009;2(3):146-158.

    • Tensile strength ความทนต่อแรงดึง จะขึ้นอยู่กับหน้าตัดของเส้นใยไหม
    • Absorbable และ Non-absorbable suture
    • ไหมละลาย (absorbable suture) สามารถละลายได้ผ่านการย่อยของเอนไซม์ enzymatic reactions หรือ hydrolysis โดยระยะเวลาในการละลายของไหม ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของการเย็บ และปัจจัยอื่นๆ ไหมละลายเหมาะสำหรับใช้ส่วนลึกหรือเนื้อเยื่อที่มีการสมานเร็ว
    • ไหมไม่ละลาย (non-absorbable suture) เหมาะสำหรับตำแหน่งที่มีการสมานของแผลช้า เช่น fascia, tendon, การเย็บหลอดเลือด เป็นต้น

ตารางที่ 2 แสดงอัตราการสลายตัวของไหมละลาย

Suture Time to 50%

Loss of Tensile Strength (d)

Time to Complete

Loss of Tensile Strength (d)

Time to Complete

Mass Absorption (d)

Plain surgical gut 3-5 14-21 70
Fast-absorbing coated polyglactin 910 (Vicryl RapideTM) 5 14 42
Polyglytone 6211 (CaprosynTM) 5-7 21 56
Poliglecaprone 25 (MonocrylTM) 7 21 91-119
Barbed poliglecaprone 25 (MonodermTM) 7-10 21 90-120
Chromic surgical gut 7-10 14-21 90-120
Coated polyglycolide (Dexon IITM) 14-21 28 60-90
Polylycomer 631 (BiosynTM) 14-21 28 90-110
Coated polyglactin 910 (VicrylTM) 21 28 56-70
Polyglyconate (MaxonTM) 28-35 56 180
Polydioxanone (PDS IITM) 28-42 90 183-238
Barbed polydioxanone (PDO) 28-42 90 180

ที่มา : Greenberg JA, Clark RM. Advances in suture material for Obstetric and Gynecologic surgery. Rev Obstet Gynecol. 2009;2(3):146-158.

 

    • Multifilament Vs Monofilament
    • ไหมแบบเส้นเดี่ยว (monofilament suture)

ข้อดี – โอกาสการติดเชื้อน้อย

– การบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อน้อย

ข้อเสีย – คลายปมได้ง่าย

– ความสามารถในการยึดจับไม่ดี

    • ไหมแบบหลายเส้น (multifilament suture)

ข้อดี – สามารถยึดจับได้ดีและโอกาสการคลายปมน้อย

ข้อเสีย – เกิดการอักเสบต่อเนื้อเยื่อได้มากกว่าไหมแบบเส้นเดี่ยว

– เพิ่มโอกาสการติดเชื้อ

– เกิดปมขนาดใหญ่

    • Smooth Vs Barbed วัสดุเย็บแผลส่วนใหญ่มีลักษณะแบบเส้นเรียบ (smooth) จึงจำเป็นต้องมีการผูกปมเพื่อช่วยยึดเนื้อเยื่อ ไม่ให้เกิดการเลื่อนหลุดของการวัสดุเย็บ อย่างไรก็ตามวัสดุเย็บแผลที่มีลักษณะแบบเส้นที่มีเงี่ยง (barbed) ซึ่งไม่ต้องผูกปม ก็ไม่ได้ส่งผลเสียต่อการสมานของแผล

ตัวอย่างของวัสดุเย็บแผลชนิดต่างๆ

ไหมละลาย (Absorbable sutures)

    Plain gut

    • ผลิตจากลำไส้แกะและวัว
    • ความทนต่อแรงดึง 14-21 วัน
    • สามารถสลายตัวใน 70 วัน
    • เกิดกระบวนอักเสบต่อเนื้อเยื่อมากกว่า chromic gut
    • เหมาะสำหรับแผลที่มีการหายเร็ว เช่น oral mucosa perineum

    Chromic gut

    • ผลิตจากลำไส้แกะและวัว
    • Plain gut ที่มีการเคลือบด้วย Chromium salt solution ทำให้เพิ่ม ความแข็งแรง เพิ่มความทนต่อแรงดึงและลดปฏิกิริยาต่อเนื้อเยื่อ
    • ความทนต่อแรงดึง 14-21 วัน
    • สามารถสลายตัวใน 90-120 วัน
    • เหมาะสำหรับ General closure, OB/GYN, ortho, GI surgery

    D7585 | Ethicon

    Coated Polyglactin 910 (Vicryl)

    • Synthetic braided polymer
    • ทะลุผ่านเนื้อเยื่อได้ง่าย
    • ความทนต่อแรงดึง 28 วัน
    • สามารถสลายตัวใน 56-70 วัน
    • เหมาะสำหรับการเย็บขอบแผล เพื่อคงความแข็งแรงให้แผล

    Fast-absorbing coated polyglactin 910 (Rapid vicryl)

    • ไหมละลายแบบเส้นใยหลายเส้นสังเคราะห์
    • ความทนต่อแรงดึง 14 วัน
    • สามารถสลายตัวใน 42 วัน
    • เหมาะสำหรับการเย็บ superficial soft tissue และ mucosa

    Coated polyglycolic acid (Dexon II)

     

    • ไหมละลายแบบเส้นใยหลายเส้นสังเคราะห์
    • ความทนต่อแรงดึง 28 วัน
    • สามารถสลายตัวใน 60-90 วัน
    • กระบวนการอักเสบต่อเนื้อเยื่อน้อยที่สุด
    • เหมาะสำหรับการเย็บ muscle fascia tendon และ subcuticular skin
    • Polydioxanone - an overview | ScienceDirect Topics

    Polydioxanone (PDS)

    • ไหมละลายแบบเส้นใยเส้นเดี่ยวสังเคราะห์
    • ความทนต่อแรงดึง 90 วัน
    • สามารถสลายตัวใน 183-238 วัน
    • ทะลุผ่านเนื้อเยื่อได้ง่าย
    • ปฏิกิริยาต่อเนื้อเยื่อเล็กน้อย
    • เหมาะสำหรับการเย็บ subcuticular skin

     

    Maxon 4-0 P-11 16mm 45cm Clear Suture

      Polyglyconate ( Maxon)

      • ไหมละลายแบบเส้นใยเส้นเดี่ยวสังเคราะห์
      • ลักษณะคล้าย PDS แต่การจับดีกว่าและคลายปมไหมน้อยกว่า
      • ความทนต่อแรงดึง 56 วัน
      • สามารถสลายตัวใน 180 วัน
      • เหมาะสำหรับการเย็บ soft tissue ทุกชนิด esophageal and intestinal anastomosis และ bronchial closure

      D8839 | Ethicon

       

        Poliglecaprone 25 (Monocryl)

        • ไหมละลายแบบเส้นใยเส้นเดี่ยวสังเคราะห์
        • ความทนต่อแรงดึง 21 วัน
        • สามารถสลายตัวใน 91-119 วัน
        • ทะลุผ่านเนื้อเยื่อได้ง่าย
        • โอกาสการติดเชื้อและการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อน้อย
        • เหมาะสำหรับ plastic surgery; subcutaneous suture

        ไหมไม่ละลาย (Non-absorbable sutures)

            Silk

            • ไหมถักธรรมชาติ
            • เคลือบด้วยขี้ผึ้ง ทำให้สามารถดึงได้ง่ายขึ้น
            • ความทนต่อแรงดึง 365 วัน
            • สามารถสลายตัวใน 730 วัน
            • ปฏิกิริยาต่อเนื้อเยื่อและการติดเชื้อมาก
            • ไหมสีดำ ทำให้ง่ายต่อการมองเห็น
            • เหมาะสำหรับ Peripheral closures

            Non Absorbable Surgical Nylon Suture - Buy Non Absorbable Suture,Non Absorbable Surgical Suture,Nylon Surgical Suture Product on Alibaba.com

              Nylon

              • Synthetic polyamide polymer
              • เนื้อสัมผัสเรียบ
              • ความทนต่อแรงดึงสูง
              • เกิดการคลายปมได้ง่าย ทำให้ต้องผูกปม 3-4 ปมขึ้นไป
              • เหมาะสำหรับการเย็บชั้นผิวหนังมากสุด และการเย็บเพื่อการแนบชิดกันของชั้นเนื้อเยื่ออ่อน

              Nonabsorbable Suture Material - an overview | ScienceDirect Topics

                Polypropylene (Prolene)

                • ไหมไม่ละลายแบบเส้นใยเส้นเดี่ยว
                • เนื้อสัมผัสเรียบ
                • การจับและความแข็งแรงดี
                • มีสภาพพลาสติกสูง (High plasticity)
                • ไหมในอุดมคติของการการเย็บชั้นผิวหนัง

                  D7005 | Ethicon

                  Stainless steel

                  • ความทนต่อแรงดึงสูงที่สุด
                  • ปฏิกิริยาต่อเนื้อเยื่อน้อยที่สุด
                  • การจับไม่ดีและทำลายเนื้อเยื่อ
                  • เหมาะสำหรับ orthopedic and thoracic operation

                    ตารางที่ 3 แสดงคุณสมบัติของไหมละลายและไหมไม่ละลาย

                    Suture Tensile strength/Absorption
                    Time to loss of 50% tensile (d) Time to loss of 100% tensile (d) Time to complete absorption (d) Absorption rate Tissue reaction/

                    degradation

                    Handling
                    Absorbable Multifilament
                    – Plain gut (twisted) 3-5 14-21 70 unpredictable high/proteolysis Fair
                    – Chromic gut (twisted) 7-10 14-21 90-120 unpredictable high/proteolysis Fair
                    – Polyglactin 910 (braided)

                    (Vicryl rapid)

                    5 14 42 predictable low/hydrolytic Best
                    – Coated polyglactin 910 (braided) (Vicryl) 21 28 56-70 predictable low/hydrolytic Best
                    – Coated polyglycolide

                    (braided) (Dexon II)

                    14-21 28 60-90 predictable low/hydrolytic Best
                    Absorbable Monofilament
                    – Polyglytone 6211

                    (Caprosyn)

                    5-7 21 56 predictable low/hydrolytic Good
                    – Poliglecaprone 25 (Monocryl) 7 21 91-119 predictable low/hydrolytic Good
                    – Polyglyconate (Maxon) 28-35 56 180 predictable low/hydrolytic Fair
                    – Polydioxanone (PDS II) 28-42 90 183-238 predictable low/hydrolytic Fair
                    – Poliglecaprone 25

                    (Monoderm)

                    7-10 21 90-120 predictable low/hydrolytic Good
                    – Polydioxanone (PDO) 28-42 90 180 predictable low/hydrolytic Fair
                    Nonabsorbable Multifilament
                    – Silk 180 365 730 unpredictable high/hydrolytic Best
                    – Cotton 180 >730 N/A unpredictable high/hydrolytic Best
                    – polyester N/A N/A N/A N/A low/none Good
                    Nonabsorbable Monofilament
                    – Polypropylene (Prolene) N/A N/A N/A N/A low to none/none Poor
                    – Nylon N/A N/A N/A unpredictable low/hydrolytic Good
                    – Polybutester (Novafil) N/A N/A N/A N/A low/none Good
                    – Stainless steel N/A N/A N/A N/A low to none/none Fair

                    คุณลักษณะของเนื้อเยื่อและหัตถการการผ่าตัดทางสูตินรีเวช (Tissue and procedural characteristics in Obstetric Gynecologic surgery) 1

                    ระยะเวลาการหายของแผลในเนื้อเยื่อต่างๆ (Healing time for different tissues)

                    ตารางที่ 4 แสดงระยะเวลาการหายของแผลในเนื้อเยื่อแต่ละชนิด

                    Tissue Healing time
                    Skin 1-2 weeks
                    Subcutaneous tissue 2 weeks
                    Peritoneum 4-10 days
                    Uterus 8 days
                    Vagina and perineum 8-10 days
                    Bladder 5 days
                    Ligament tendons 6 weeks

                    ที่มา : RCOG. Suture and needles presentation.

                      • แผลฝีเย็บ (Perineal repairs): แผลฝีเย็บเป็นบริเวณที่มีหลอดเลือดเลี้ยงเยอะ ทำให้การหายของแผลใช้เวลาสั้น วัสดุเย็บแผลที่นิยมเลือกใช้จึงเป็นไหมละลาย เช่น Chromic gut ในปัจจุบันมีการพัฒนา synthetic material มาใช้ในการเย็บแผลฝีเย็บ จาก Kettle and Johanson at Cochrane Database in 2001 ซึ่งพบว่า synthetic material เช่น Dexon and Vicryl ช่วยลดกระบวนการอักเสบได้มากกว่า chromic gut และยังช่วยลดอาการปวดหลังคลอดได้ แต่ใช้เวลาในการสลายตัวนานกว่า นอกจากนั้นพบว่าการใช้ fast-absorbing polyglactin 910 (Rapid vicryl) ในการเย็บแผลฝีเย็บ ช่วยลดอาการปวดหลังคลอดและสามารถกลับมามีเพศสัมพันธ์ได้เร็วขึ้น ดังนั้น fast-absorbing polyglactin 910 (Rapid vicryl) จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับ การเย็บแผลฝีเย็บหลังคลอด
                      • กล้ามเนื้อหน้าท้อง (Rectus fascia reapproximation): rectus fascia หลังผ่าตัดเปิดหน้าท้อง สามารถกลับมาแข็งแรงเทียบเท่าปกติ ใช้เวลาประมาณ 4 เดือน ซึ่งระหว่างนี้หากเกิดการแยกของแผล อาจเพิ่มโอกาสการเกิดไส้เลื่อนบริเวณแผลผ่าตัด (incision hernia) ได้ จาก meta-analysis by Hodgson and colleagues พบว่าโอกาสการเกิด ไส้เลื่อนบริเวณแผลผ่าตัด เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อใช้ไหมชนิด polyglycolic acid sutures (PGA) ในทางตรงกันข้ามพบว่า polydioxanone (PDS II) กับ non-absorbable nylon มีโอกาสการเกิดไส้เลื่อนบริเวณแผลผ่าตัดไม่แตกต่างกันทางสถิติ ต่อมาในการศึกษานี้ พบว่าทั้งไหมละลาย และ ไหมไม่ละลาย สามารถเกิด ไส้เลื่อน และเกิดภาวะปวดแผลทั้งคู่ ดังนั้นการเลือกวัสดุเย็บแผลเพื่อปิด rectus fascia คือ delayed absorption monofilament material เช่น polydioxanone (PDS) และ polyglyconate (Maxon)
                      • แผลมดลูก (Uterine reapproximation): พิจารณาใช้ Chromic suture ขนาด 0 หรือ 1 หรือไหมชนิด synthetic absorbable suture ในการเย็บมดลูก สำหรับ chromic gut suture มีข้อดีที่สำคัญ 2 อย่าง ที่ช่วยสนับสนุนในการใช้เย็บมดลูก คือ

                    1. Knotted tensile strength ของ chromic gut ขนาด 0 เพียงพอที่จะทนต่อแรงที่ทำให้เกิดการแยกของแผล

                    2. ความทนต่อแรงดึง 14-21 วัน และอัตราการสลายตัวของไหม เพียงพอต่อการหายของแผลมดลูกในกรณีผ่าตัดคลอด

                    สำหรับการเย็บมดลูกในสตรีที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ สามารถใช้ได้ทั้ง chromic gut, polydioxanone (PDS) หรือ polyglyconate (Maxon)

                      • แผลช่องคลอด (Vaginal Cuff closure): บริเวณรอยต่อช่องคลอดเป็นตำแหน่งที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อได้ง่าย เช่น vaginal cuff cellulitis และ ฝีหนองในอุ้งเชิงกราน หลังการผ่าตัดมดลูก (pelvic abscess) เป็นต้น นอกจากนี้ สามารถเกิด persistent granulation tissue ซึ่งทำให้ผู้ป่วยหลังผ่าตัด มีตกขาวหรือเลือดออกผิดปกติได้ และยังสามารถเกิดแผลแยกได้ จากการไอ จาม เบ่ง และอื่นๆ ทำให้ควรเลือกใช้วัสดุเย็บแผลที่มีความแข็งแรงยาวนาน
                      • วัสดุเย็บแผลในอุดมคติสำหรับการเย็บแผลช่องคลอด
                      • ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย (Inhibit bacterial growth)
                      • ปฏิกิริยาต่อเนื้อเยื่อน้อย (Minimal tissue reactivity)
                      • มีความยืดหยุ่น (Be pliable)
                      • ความทนต่อแรงดึงอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ (Maintain tensile strength)

                    J. I. Einarsson และคณะ แนะนำ barbed PDO suture (V-Loc) สำหรับการเย็บแผลช่องคลอดหลังการผ่าตัดมดลูกผ่านกล้อง

                    Reference

                    1. Greenberg JA, Clark RM. Advances in suture material for Obstetric and Gynecologic surgery. Rev Obstet Gynecol. 2009;2(3):146-158.
                    2. Handa VL and Linda VL. Chapter 7 Incisions for Gynecologic Surgery. Te Linde’s Operative Gynecology 12th edition. 2020:144-5
                    3. Brunicardi FC, Anderson DK, Billiar TR and et al. Wound Healing. Schwartz’s Principles of Surgery 10th Edition. 1999:241-6.
                    4. อัจฉริย สาโรวาท. Wound healing and wound care. [cited 2022 Mar 1]. Available from: https://www.rama.mahidol.ac.th/surgery/sites
                    5. David M deLemos. Skin laceration repair with sutures. Uptodate. 2021
                    6. RCOG. Suture and needles presentation. [cited 2022 Feb 26] Available from: https://elearning.rcog.org.uk//general-principles/suture-and-needles/suture-and-needles-presentation
                    7. F. Gary Cunningham, Kenneth J. Leveno and et. al. Chapter 30 Cesarean Delivery and peripartum Hysterectomy. Williams OBSTETRICS 25th edition. 2018:567-590
                    Read More

                    การให้ฮอร์โมนรักษาอาการวัยทองในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งทางนรีเวชวิทยา

                    การให้ฮอร์โมนรักษาอาการวัยทองในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งทางนรีเวชวิทยา
                    Hormonal Replacement Therapy in Gynecological Cancer Patient

                    จัดทำโดย นพ.จิรัฏฐ์ เดชศรีสุวรรณ์
                    อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ แพทย์หญิง รัฐิญา เพียรพิเศษ


                    ประมาณร้อยละ 40 ของสตรีที่ถูกวินิจฉัยเป็นมะเร็งนรีเวช เช่น มะเร็งรังไข่ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งปากมดลูก หรือแม้แต่ มะเร็งเต้านมนั้น อยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์ หรือวัยใกล้หมดระดู1 ซึ่งการรักษาผู้ป่วยในกลุ่มนี้ มีแนวทางการรักษาที่หลากหลาย การรักษาหลักๆได้แก่ การผ่าตัด การฉายรังสี และ การให้เคมีบำบัด การรักษาเหล่านี้สามารถทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิงได้ และทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะวัยทองเร็วกว่าในกลุ่มประชากรปกติ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อหลายระบบในร่างกาย โดยเฉพาะความเปลี่ยนแปลงในระบบเส้นเลือดและหัวใจ (cardiovascular system) เพิ่มความความเสี่ยงในการเกิดภาวะกระดูกพรุน (osteoporosis) และมีอาการที่สัมพันธ์กับภาวะวัยทอง โดยที่พบบ่อยได้แก่ อาการร้อนวูบวาบ (hot flush/vasomotor symptoms) และอาการทางระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ (genitourinary symptoms of menopause; GUSM)2 โดยภาวะวัยทองที่เกิดจากการรักษานี้ มักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ทำให้อาการวัยทองรุนแรงกว่าสตรีที่เข้าสู่ภาวะวัยทองตามธรรมชาติ3

                    ปัจจุบันการใช้ฮอร์โมนเพื่อรักษาอาการของภาวะวัยทองนั้นมีการศึกษาและรับรองการใช้อย่างแพร่หลาย แต่การรักษาภาวะวัยทองในผู้ป่วยมะเร็งนรีเวชนั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงอายุ ชนิดและระยะของมะเร็ง โรคร่วมอื่นๆ รวมถึงประวัติการรักษาโดยใช้ยาต้านเอสโตรเจนร่วมด้วย เนื่องจากมะเร็งนรีเวชหลายชนิดมีการตอบสนองต่อฮอร์โมนซึ่งอาจทำให้เกิดการกลับเป็นซ้ำ หรือพยากรณ์โรคแย่ลงได้ ดังนั้น การใช้ฮอร์โมนในคนไข้กลุ่มนี้ จึงต้องมีการดูแลแบบสหสาขา และวางแผนการใช้ตามพื้นฐานความเสี่ยงของแต่ละบุคคล บทความนี้ จะกล่าวถึงการใช้ฮอร์โมนเพื่อรักษาอาการของภาวะวัยทอง ในผู้ป่วยมะเร็งนรีเวช แยกตามชนิดของมะเร็ง ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก และมะเร็งปากมดลูก ตามลำดับ

                    มะเร็งเต้านม (Breast Cancer)

                    มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในสตรีทั่วโลก โดยมีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมรายใหม่เพิ่มมากขึ้นประมาณ 2.2 ล้านคนในปี พ.ศ. 2563 คิดเป็นร้อยละ 25 ของมะเร็งสตรีทั้งหมด และมีอัตราตายสูงถึง 6 แสนคนต่อปี พบบ่อยที่สุดในกลุ่มวัยหมดประจำเดือน อย่างไรก็ตามประมาณร้อยละ 25 พบได้ในสตรีวัยก่อนหมดประจำเดือน4 การรักษาโดยการให้เคมีบำบัดในกลุ่ม cyclophosphamide สามารถทำให้เกิดภาวะขาดประจำเดือน หรือรังไข่หยุดทำงาน (ovarian failure) ได้ นอกจากนี้ การรักษาด้วย tamoxifen, aromatase inhibitor หรือ การตัดรังไข่ทั้งสองข้างซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการรักษา จะทำให้ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 95 มีอาการวัยทองที่รุนแรงกว่าในกลุ่มที่ไม่มีประวัติของมะเร็งเต้านม5 ดังนั้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักต้องการได้รับฮอร์โมนทดแทน ผู้รักษาจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลของฮอร์โมนต่อตัวโรคและการกลับเป็นซ้ำ

                    จากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลของงานวิจัยอย่างเป็นระบบ ซึ่งมีทั้งงานวิจัยแบบสุ่มและงานวิจัยโดยการสังเกต พบว่า อายุเฉลี่ยของสตรีในงานวิจัยแบบสุ่ม 2 เรื่องที่นำเข้ามาศึกษานั้น อยู่ที่ 55.5 ปี ระยะเวลาการใช้ฮอร์โมนทดแทน 19.9 เดือน ทำการติดตามไปจนถึง 25.2 เดือนโดยเฉลี่ย กลุ่มที่ได้ฮอร์โมนพบการกลับเป็นซ้ำมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ 3 เท่า ส่วนผลของงานวิจัยโดยสังเกตพบว่า อายุเฉลี่ยของสตรีที่ศึกษา อยู่ที่ 59.7 ปี ระยะเวลาการใช้ฮอร์โมนทดแทน 28 เดือน ทำการติดตามไปจนถึง 57.1 เดือนโดยเฉลี่ย กลุ่มที่ได้ฮอร์โมนพบการกลับเป็นซ้ำน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ (RR 0.64, 95% CI 0.50-0.82) แต่เนื่องจากลักษณะของการศึกษามีการใช้ฮอร์โมนทั้งชนิดเอสโตรเจนร่วมกับโปรเจสเตอโรน และ เอสโตรเจนตัวเดียว ทำให้ไม่เอื้อต่อการเปรียบเทียบว่า ชนิดของฮอร์โมนที่ได้รับ ขนาดยา หรือวิธีใช้ฮอร์โมน มีผลต่อการกลับเป็นซ้ำหรือไม่ รวมถึงการศึกษาแบบสังเกตุยังอาจมีอคติในการแปลผลได้ ผู้เขียนจึงสรุปตามผลของงานวิจัยแบบสุ่มว่า ไม่แนะนำให้ใช้ฮอร์โมนในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม6

                    มีการศึกษาขนาดใหญ่ของสวีเดน คือ HABITS trial (Hormonal Replacement Therapy After Breast Cancer-Is it Safe?) ศึกษาถึงการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านม พบว่า การใช้ฮอร์โมนทดแทน สัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของมะเร็งเต้านมที่ 2 ปี และ 4 ปี หลังจากเริ่มศึกษาเป็น 3.3 และ 2.4 เท่าตามลำดับ ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยในการศึกษานี้ได้รับ ฮอร์โมนรวมชนิดเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนกินต่อเนื่อง แต่ประชากรที่ศึกษามีความแตกต่างกันเล็กน้อย คือ ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้ฮอร์โมนทดแทนมีตัวรับเอสโตรเจน (estrogen receptor) มากกว่า และเมื่อเทียบระหว่างกลุ่มที่มี และไม่มีตัวรับเอสโตรเจน พบว่า กลุ่มที่มีตัวรับเอสโตรเจน มีการกลับเป็นซ้ำมากกว่า (2.6 และ 1.8 เท่า ตามลำดับ)7, 8

                    อีกการศึกษาหนึ่งของสวีเดน คือ Stockholm study ให้ผลการศึกษาที่ต่างกัน เนื่องจาก การศึกษานี้ไม่ได้พบว่าอัตราการกลับเป็นซ้ำที่ 4 ปี ในผู้ป่วยที่ใช้ฮอร์โมนเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ในการศึกษานี้ผู้ป่วยใช้ฮอร์โมนรวมชนิด estradiol 2 มิลลิกรัม 21 วันต่อรอบ ร่วมกับ medroxyprogesterone acetate (MPA) 10 มิลลิกรัม ในช่วง 10 วันหลัง จากนั้นเว้น 7 วัน หรือใช้ estradiol 84 วันต่อรอบ ร่วมกับ MPA ในช่วง 14 วันหลัง หากอายุมากกว่า 55 ปี9 ผู้เขียนพยายามหาเหตุผลของผลการวิจัยที่ต่างกันใน 2 งานวิจัยนี้ พบว่า ผู้ป่วยใน Stockholm study มีการใช้ tamoxifen มากกว่า และสันนิษฐานว่า การใช้ฮอร์โมนแบบเป็นรอบๆ (cyclic) เพื่อลดระยะเวลาการใช้โปรเจสติน อาจมีผลทำให้เพิ่มการตายของเซลล์มะเร็ง (apoptosis)9

                    มีการศึกษาแบบสุ่ม LIBERATE trial (Livial Intervention Following Breast Cancer: Efficacy, Recurrence and Tolerability Endpoint) ใช้ tibolone ซึ่งออกฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจนที่กระดูกและช่องคลอด แต่ออกฤทธิ์คล้ายโปรเจสเตอโรนที่เยื่อบุโพรงมดลูก พบว่าการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญในกลุ่มผู้ป่วยอายุ 40 ถึง 49 ปี และ 50 ถึง 59 ปี จึงยุติการศึกษาก่อนกำหนด

                    จากข้อมูลทั้งหมดนี้ ทำให้สมาคมวัยทองของอเมริกาเหนือ (The North American Menopause Society; NAMS) ไม่แนะนำให้ใช้ฮอร์โมนทดแทน ในสตรีที่มีประวัติมะเร็งเต้านม10

                    อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอาการทางระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ของสตรีวัยทองนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลงอย่างมาก จึงได้มีการศึกษาการใช้เอสโตรเจนปริมาณต่ำทางช่องคลอด (Low-dose vaginal estrogen) พบว่าการใช้เอสโตรเจนปริมาณต่ำทางช่องคลอด มีผลกระทบต่อปริมาณเอสโตรเจนในกระแสเลือดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยระดับฮอร์โมนในเลือดจะสูงที่สุดที่ 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นระดับจะลดลงมาจนเทียบเท่ากับระดับของสตรีที่เข้าวัยทองตามธรรมชาติ11 ซึ่งไม่เพิ่มโอกาสเกิด เยื่อบุโพรงมดลูกหนา หรือมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก12

                    ยังไม่มีการศึกษาขนาดใหญ่ที่รายงานความปลอดภัยของการใช้ฮอร์โมนทดแทน ในผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่ม aromatase inhibitor หรือ tamoxifen แต่มีการศึกษาของอังกฤษ ศึกษาการใช้เอสโตรเจนปริมาณต่ำทางช่องคลอดในผู้ป่วยกลุ่มนี้ พบว่า ไม่ได้มีผลต่ออัตราการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านมเมื่อติดตามไป 3.5 ปี13 ด้วยข้อมูลข้างต้นนี้ ทำให้สมาคมวัยทองของอเมริกาเหนือ (NAMS) รับรองให้ใช้เอสโตรเจนปริมาณต่ำทางช่องคลอด เพื่อรักษาอาการระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ ในสตรีที่มีประวัติมะเร็งเต้านม ที่ใช้ยากลุ่มที่ไม่มีฮอร์โมนแล้วไม่ได้ผล10

                    ชนิดของโปรเจสตินอาจจะมีผลต่อการเกิดมะเร็งเต้านม จากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบพบว่า การใช้เอสโตรเจนร่วมกับ micronized progesterone ไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมเมื่อติดตามไป 5 ปี14 อีกการศึกษาหนึ่งพบว่า การใช้ micronized progesterone หรือ dydrogesterone ไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม ตรงข้ามกับการใช้ยากลุ่ม medroxyprogesterone acetate, norethisterone หรือ levonorgestrel ที่เพิ่มโอกาสเกิดมะเร็งเต้านมได้15 ข้อมูลจากหลายการศึกษาพบว่า ความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมที่เพิ่มขึ้นจากการใช้ฮอร์โมนทดแทนนั้น น่าจะมาจากฮอร์โมนกลุ่มโปรเจสตินเป็นหลัก โดยการใช้ micronized progesterone มีความเสี่ยงน้อยกว่าการใช้โปรเจสตินสังเคราะห์ และการให้โปรเจสเตอโรนแบบเป็นรอบ มีความปลอดภัยกว่าการให้แบบต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

                    มะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer)

                    ปัจจุบัน ทั่วโลกมีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ 600,000 คนต่อปี4 โดยราวร้อยละ 40 เกิดก่อนอายุ 45 ปี16 มะเร็งปากมดลูกสามารถแบ่งตามชนิดของเซลล์ที่พบบ่อยได้เป็นกลุ่ม Squamous Cell Carcinoma (SCCA) และ Adenocarcinoma17 แม้ว่ามะเร็งชนิด Adenocarcinoma นั้นจะสามารถพบตัวรับเอสโตรเจน อยู่บ้าง แต่การมีหรือไม่มีตัวรับเอสโตรเจนนั้น ไม่ได้มีผลต่อการกลับเป็นซ้ำ หรือระยะการรอดชีวิตแต่อย่างใด ส่วนชนิด SCCA นั้น ไม่สัมพันธ์กับฮอร์โมนเลย ด้วยสาเหตุนี้ จึงไม่มีข้อห้ามของการใช้ฮอร์โมนในผู้ป่วยกลุ่มนี้18

                    แนวทางการรักษามะเร็งปากมดลูกในปัจจุบันขึ้นอยู่กับระยะของโรคและทรัพยากรของแต่ละสถาบัน ผู้ป่วยที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกในระยะแรกนั้นจะได้รับการรักษาโดยพยายามสงวนภาวะเจริญพันธุ์ไว้ ไม่ว่าจะเป็นการตัดปากมดลูก หรือการตัดมดลูกโดยเก็บรังไข่เอาไว้ เนื่องจากโอกาสมีมะเร็งกระจายไปที่รังไข่น้อยกว่าร้อยละ 219 ส่วนในระยะลุกลามการรักษาหลักจะเป็นการฉายรังสีร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งอาจมีการพิจารณาผ่าตัดแขวนรังไข่ไว้ในบริเวณช่องท้องส่วนบนในผู้ป่วยที่อายุน้อย เพื่อหลีกเลี่ยงปริมาณรังสีที่จะทำให้รังไข่หยุดทำงานก่อนวัย20 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการป้องกันอย่างเต็มที่แล้ว ผู้ป่วยส่วนหนึ่งก็ยังเกิดภาวะรังไข่หยุดทำงานได้ ทั้งจากการผ่าตัดที่อาจทำให้เลือดไปเลี้ยงรังไข่ได้ไม่ดี หรือจากการฉายรังสี ดังนั้น จึงแนะนำให้ใช้ฮอร์โมนทดแทนในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่เข้าสู่วัยทองก่อนวัยจากการรักษาโรคมะเร็ง18 จากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบพบว่า ยังขาดหลักฐานที่น่าเชื่อถืออยู่ แต่จากที่มีหลักฐานพบว่า การให้ฮอร์โมนทดแทนในผู้ป่วยกลุ่มนี้ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต ทั้งในแง่ของการลดภาวะกระดูกพรุนและการลดอาการวัยทอง โดยไม่ได้มีผลต่ออัตรารอดชีวิต21, 22

                    สมาคม European Menopausal and Andropause Society และ A society of Gynecologic Oncology ได้แนะนำให้ใช้ฮอร์โมนชนิดรวม (เอสโตรเจนร่วมกับโปรเจสเตอโรน) ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยไม่ได้ตัดมดลูก เพื่อป้องกันการกระตุ้นเยื่อบุโพรงมดลูกที่อาจยังหลงเหลืออยู่23, 24

                    มะเร็งรังไข่ (Ovarian Cancer )

                    มากกว่าร้อยละ 90 ของมะเร็งรังไข่เป็นชนิดเยื่อบุผิว ซึ่งประกอบด้วย high- และ low-grade serous, endometrioid, mucinous และ clear cell ส่วนที่เหลือ ได้แก่ ชนิด germ cell และ sex cord stromal นอกจากนี้ ยังมีเนื้องอกรังไข่ชนิดก้ำกึ่ง (borderline) อีกด้วย17 การพิจารณาการให้ฮอร์โมนทดแทนในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ จะขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งรังไข่นั้นๆ18

                    จากการเก็บข้อมูล Cochrane Review ในปี ค.ศ.2020 เกี่ยวกับการให้ฮอร์โมนรักษาในมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิวนั้น ยังไม่มีข้อมูลที่คุณภาพดีและปริมาณมากพอที่จะสรุปเป็นแนวทางปฏิบัติ เนื่องจากไม่สามารถวิเคระห์ข้อมูลกลุ่มย่อยของแต่ละชนิดของมะเร็งรังไข่ได้ รวมถึงมีความหลากหลายของฮอร์โมนที่ใช้อีกด้วย แต่โดยรวมแล้ว ไม่พบว่ามีผลเสียต่อการกลับเป็นซ้ำหรือการรอดชีพ อย่างไรก็ตาม จากหลักฐานทั้งหมด ก็มิได้บ่งบอกว่าการใช้ฮอร์โมนช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยกลุ่มนี้แต่อย่างใด25

                    แนวทางการให้การให้ฮอร์โมนรักษาอาการวัยทองในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ จะแบ่งตามชนิดของมะเร็ง ดังนี้18, 23, 24

                    1. Serous ovarian cancer
                      1. High-grade serous ovarian cancer ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะออกแนวทางการรักษาในผู้ป่วยกลุ่มนี้
                      2. Low-grade serous ovarian cancer เนื่องจากมะเร็งในกลุ่มนี้มีตัวรับเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน และการรักษาต่อเนื่องโดยการใช้ยาต้านฮอร์โมนยังเป็นแนวทางการรักษามาตรฐานอีกด้วย ดังนั้น จึงไม่แนะนำให้ฮอร์โมนทดแทนในผู้ป่วยกลุ่มนี้
                    2. Non-serous epithelial ovarian cancer การศึกษาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลังพบว่า การให้ฮอร์โมนทดแทน ไม่ได้มีผลต่ออัตราการกลับเป็นซ้ำในมะเร็งชนิดนี้ แม้ว่าผู้ป่วยกลุ่มใหญ่ในการศึกษา จะเป็นชนิด endometrioid ที่สัมพันธ์กับฮอร์โมนก็ตาม อย่างไรก็ดี แนะนำให้พิจารณาการใช้ฮอร์โมนเป็นรายๆไป และระวังการใช้ฮอร์โมนในรายที่มีรอยโรคระยะลุกลามเนื่องจากอาจมีรอยโรคที่ตอบสนองต่อฮอร์โมนหลงเหลือ
                    3. Mucinous และ Clear cell ovarian cancer สามารถให้ฮอร์โมนทดแทนได้หากมีความจำเป็น เนื่องจากมะเร็งในกลุ่มนี้ไม่ได้มีการตอบสนองต่อยาต้านฮอร์โมน เช่น aromatase inhibitor อย่างไรก็ตาม มะเร็งในกลุ่ม clear cell มีความสัมพันธ์กับการเกิดเส้นเลือดดำอุดตันมากขึ้น ซึ่งอาจถูกกระตุ้นจากการใช้ฮอร์โมนได้ด้วย มีการเสนอให้ใช้เอสโตรเจนชนิดแผ่นแปะเพื่อลดผลข้างเคียง แต่ก็ยังไม่สามารถระบุเป็นแนวทางการรักษาได้
                    4. Sex-cord stromal tumor ไม่แนะนำให้ใช้ฮอร์โมนทดแทนในผู้ป่วยกลุ่มนี้ เพราะแม้ว่าหลักฐานเชิงประจักษ์จะยังมีน้อย แต่ด้วยธรรมชาติของเนื้องอกกลุ่มนี้ที่ตอบสนองต่อฮอร์โมน และการรักษาอาจมีการใช้ยาต้านฮอร์โมนด้วย จึงไม่เหมาะแก่การให้ฮอร์โมนทดแทน
                    5. Germ cell tumor โดยส่วนมากพบบ่อยในกลุ่มอายุน้อย การรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมุ่งเน้นไปที่การสงวนภาวะเจริญพันธุ์อยู่แล้ว จึงอาจไม่มีปัญหาเรื่องวัยทองมากนัก เนื่องจากส่วนใหญ่จะเก็บรังไข่อีกข้างหนึ่งไว้ แต่หากจำเป็นการให้ฮอร์โมนทดแทนในผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถทำได้อย่างเหมาะสม
                    6. Borderline ovarian tumor ในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 45 ปี ที่เข้ารับการรักษาเนื้องอกรังไข่ชนิดก้ำกึ่ง ควรได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับข้อบ่งชี้ของการรับฮอร์โมนทดแทน เพื่อลดโอกาสการเกิดภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจ และกระดูกพรุน ในรายที่เป็นเนื้องอกรังไข่ชนิดก้ำกึ่งชนิด mucinous สามารถใช้ฮอร์โมนทดแทนได้ เนื่องจากเป็นเนื้องอกที่ไม่ไวต่อฮอร์โมน แต่หากเป็นเนื้องอกชนิด serous ที่มี invasive implant การให้ฮอร์โมนทดแทนต้องให้ด้วยความระมัดระวัง และเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียเป็นรายๆไป เนื่องจากเป็นเนื้องอกที่ไวต่อฮอร์โมน ปัจจัยที่จะช่วยในการตัดสินใจไม่ให้ฮอร์โมนได้แก่ invasive implant, micropapillary pattern, อายุค่อนข้างมาก หากพิจารณาแล้วมีความเสี่ยงดังกล่าว แนะนำให้เป็นเอสโตรเจนทางช่องคลอด หรือรักษาอาการโดยไม่ใช้ฮอร์โมนแทน แต่หากไม่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว สามารถให้ฮอร์โมนได้ด้วยความระมัดระวัง นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ฮอร์โมนทดแทนในกลุ่มเนื้องอกชนิด endometrioid เนื่องจากเอสโตรเจนสามารถทำให้เนื้องอกชนิดนี้โตขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่มีการทดสอบแล้วว่ามีตัวรับเอสโตรเจน26
                    7. สตรีที่มีการกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 และ BRCA2 สตรีกลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่เพิ่มขึ้น จึงมีการแนะนำให้ตัดปีกมดลูกทั้งสองข้างเพื่อป้องกัน ตั้งแต่อายุ 35 ปีขึ้นไป ทำให้เข้าสู่วัยหมดระดูเร็วขึ้น หลักฐานในการใช้ฮอร์โมนทดแทนในผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังค่อนข้างน้อย การใช้ฮอร์โมนในระยะสั้นค่อนข้างปลอดภัยในรายที่ไม่ได้มีประวัติมะเร็งเต้านมร่วมด้วย แต่ในรายที่มีประวัติมะเร็งเต้านม ควรหลีกเลี่ยงการใช้ฮอร์โมนทดแทนเนื่องจากมีหลักฐานว่าสามารถกระตุ้นการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านมได้โดยเฉพาะในรายที่เป็นมะเร็งเต้านมชนิด triple negative เพราะเป็นกลุ่มที่มีโอกาสกลับเป็นซ้ำสูง

                    มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrial Cancer)

                    มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกส่วนใหญ่ มักเกิดในสตรีวัยหมดประจำเดือน แต่ก็มีบางกรณี ที่ได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่อายุน้อย เช่น ในกลุ่มคนที่มีกลุ่มอาการลินช์ (Lynch syndrome) มีภาวะอ้วน หรือภาวะไข่ไม่ตกจากโรคถุงน้ำรังไข่ (Polycystic ovarian syndrome) ส่วนมากจะวินิจฉัยได้ตั้งแต่ระยะต้น และมักจะมีอัตราการรอดชีวิตที่สูงถึงร้อยละ 85 การรักษาหลักคือการตัดมดลูก และรังไข่ทั้งสองข้าง23

                    จากการศึกษา Cochrane Systematic Review ปีค.ศ. 2018 สรุปว่า ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะแนะนำให้ใช้ฮอร์โมนทดแทนในผู้ป่วยกลุ่มนี้ อย่างไรก็ตาม จากการศึกษานี้ไม่พบอันตรายที่รุนแรงจากการใช้ฮอร์โมนในคนไข้ที่เป็นมะเร็งระยะต้น ที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด แต่ไม่มีหลักฐานเพียงพอในกลุ่มโรคระยะลุกลาม27

                    National Comprehensive Cancer Network (NCCN), North American Menopause Society และ A Society of Gynecologic Oncology ได้แนะนำว่าการให้ฮอร์โมนทดแทนในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคซ้ำต่ำ เช่น ระยะที่ I-II และเกรดของมะเร็งต่ำสามารถทำได้ โดยพิจารณาเป็นรายๆไปในกรณีที่รักษาด้วยยาที่ไม่ใช่ฮอร์โมนแล้วไม่ได้ผล และควรมีการให้ข้อมูลผู้ป่วยอย่างละเอียดก่อน หากผู้ป่วยได้รับการรักษาเพิ่มเติม การเริ่มฮอร์โมนควรเว้นระยะ 6-12 เดือนจากการรักษา อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยกลุ่มนี้บางรายสามารถรักษาโดยการเก็บรังไข่ไว้ได้ เช่น กรณีที่เป็นระยะที่ I ไม่มีการลุกลามของเนื้อมะเร็งเข้าไปในชั้นกล้ามเนื้อมดลูก ไม่มีรอยโรคนอกมดลูก และไม่มีประวัติโรคทางพันธุกรรมในครอบครัว ซึ่งในกรณีนี้ จะสามารถลดภาวะแทรกซ้อนของการเกิดอาการวัยทองก่อนวัยได้10, 20, 24

                    ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคซ้ำสูง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่มีรอยโรคระยะลุกลาม หรือเกรดของมะเร็งสูง รวมถึงเนื้องอกชนิดซาร์โคมา (Sarcoma) อาจตอบสนองต่อฮอร์โมนได้ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการกลับเป็นซ้ำ ดังนั้นในผู้ป่วยกลุ่มนี้ ควรพิจารณาการใช้ยารักษาอาการชนิดที่ไม่มีฮอร์โมนแทน10, 24

                    มีการศึกษาการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทางช่องคลอด พบว่า ในกลุ่มประชากรทั่วไป การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทางช่องคลอด ไม่เพิ่มอัตราการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก28 และจากการศึกษาแบบย้อนหลังพบว่า ความเสี่ยงต่อการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกระยะต้นค่อนข้างต่ำ คือร้อยละ 2.4 และระยะลุกลาม ร้อยละ 4.7 อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้มีประชากรเพียง 127 ราย เท่านั้น จึงยังไม่สามารถสรุปเป็นแนวทางการรักษาได้29

                    ยังไม่มีการศึกษาถึงผลระยะยาวของการให้ฮอร์โมนทดแทน ในสตรีที่มีกลุ่มอาการลินช์ ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งชนิดอื่นร่วมด้วย แม้ว่า สตรีกลุ่มนี้มักได้รับการป้องกันการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกโดยการผ่าตัดซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะวัยทองในขณะอายุยังน้อย23 แต่มีการวิเคราะห์ข้อมูลจากงานวิจัย Prostate, Lung, Colorectal, and Ovarian Cancer Screening Trial พบว่า ในกลุ่มสตรีที่ได้รับฮอร์โมนทดแทน มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ลดลง และมีอัตราตายโดยรวมลดลงอีกด้วย สมาคม Society of Gynecologic Oncology จึงได้แนะนำว่า ในรายที่ได้รับการตัดมดลูกเพื่อป้องกันการเกิดมะเร็ง สามารถให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนเพื่อบรรเทาอาการวัยทองได้ แต่ในรายที่ยังไม่ได้ตัดมดลูก ไม่แนะนำให้ให้เอสโตรเจนโดยไม่ให้โปรเจสตินร่วมด้วย เนื่องจากเพิ่มโอกาสเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก24

                    ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติ (Atypical endometrial hyperplasia) ที่ได้รับการรักษาด้วยการตัดมดลูกไปแล้ว ไม่ได้มีข้อห้ามในการใช้ฮอร์โมนทดแทน23

                    บทสรุป

                    แม้ว่าจะมีการวิจัยมากมายเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และประโยชน์ของยาฮอร์โมนทดแทนในผู้ป่วยวัยทอง ทั้งในแง่ป้องกันภาวะกระดูกพรุน การลดอาการร้อนวูบวาบ หรืออาการทางระบบปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ รวมถึงยังป้องกันความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ การให้ยากลุ่มนี้ในผู้ป่วยมะเร็งนรีเวชยังถือว่าค่อนข้างน้อย อาจเนื่องจากความกังวลต่อผลข้างเคียงของฮอร์โมนต่อการกลับเป็นซ้ำของโรค บทความนี้ได้รวบรวมหลักฐานและข้อแนะนำต่างๆในการใช้ฮอร์โมน แยกตามประเภทของมะเร็ง เพื่อให้แพทย์ผู้ดูแลได้พิจารณาเลือกใช้ในรายที่เหมาะสม เพื่อให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งดีขึ้น

                    เอกสารอ้างอิง

                    1. Del Carmen MG, Rice LW. Management of menopausal symptoms in women with gynecologic cancers. Gynecol Oncol. 2017;146(2):427-35.

                    2. Faubion SS, Kuhle CL, Shuster LT, Rocca WA. Long-term health consequences of premature or early menopause and considerations for management. Climacteric. 2015;18(4):483-91.

                    3. Hinds L, Price J. Menopause, hormone replacement and gynaecological cancers. Menopause Int. 2010;16(2):89-93.

                    4. Ferlay J EM, Lam F, Colombet M, Mery L, Piñeros M, Znaor A, Soerjomataram I, Bray F (2020). Global Cancer Observatory: Cancer Today. Lyon, France: International Agency for Research on Cancer. Available from: https://gco.iarc.fr/today, accessed February 2, 2022. [

                    5. Vincent AJ. Management of menopause in women with breast cancer. Climacteric. 2015;18(5):690-701.

                    6. Col NF, Kim JA, Chlebowski RT. Menopausal hormone therapy after breast cancer: a meta-analysis and critical appraisal of the evidence. Breast Cancer Res. 2005;7(4):R535-40.

                    7. Holmberg L, Anderson H. HABITS (hormonal replacement therapy after breast cancer–is it safe?), a randomised comparison: trial stopped. Lancet. 2004;363(9407):453-5.

                    8. Holmberg L, Iversen OE, Rudenstam CM, Hammar M, Kumpulainen E, Jaskiewicz J, et al. Increased risk of recurrence after hormone replacement therapy in breast cancer survivors. J Natl Cancer Inst. 2008;100(7):475-82.

                    9. von Schoultz E, Rutqvist LE. Menopausal hormone therapy after breast cancer: the Stockholm randomized trial. J Natl Cancer Inst. 2005;97(7):533-5.

                    10. Harris BS, Bishop KC, Kuller JA, Ford AC, Muasher LC, Cantrell SE, et al. Hormonal management of menopausal symptoms in women with a history of gynecologic malignancy. Menopause. 2020;27(2):243-8.

                    11. Falk SJ, Bober S. Vaginal Health During Breast Cancer Treatment. Curr Oncol Rep. 2016;18(5):32.

                    12. Constantine GD, Graham S, Lapane K, Ohleth K, Bernick B, Liu J, et al. Endometrial safety of low-dose vaginal estrogens in menopausal women: a systematic evidence review. Menopause. 2019;26(7):800-7.

                    13. Le Ray I, Dell’Aniello S, Bonnetain F, Azoulay L, Suissa S. Local estrogen therapy and risk of breast cancer recurrence among hormone-treated patients: a nested case-control study. Breast Cancer Res Treat. 2012;135(2):603-9.

                    14. Stute P, Wildt L, Neulen J. The impact of micronized progesterone on breast cancer risk: a systematic review. Climacteric. 2018;21(2):111-22.

                    15. Yang Z, Hu Y, Zhang J, Xu L, Zeng R, Kang D. Estradiol therapy and breast cancer risk in perimenopausal and postmenopausal women: a systematic review and meta-analysis. Gynecol Endocrinol. 2017;33(2):87-92.

                    16. Brennan A, Brennan D, Rees M, Hickey M. Management of menopausal symptoms and ovarian function preservation in women with gynecological cancer. Int J Gynecol Cancer. 2021;31(3):352-9.

                    17. Female genital tumours. 5th ed. Lyon (France): International Agency for research on cancer; 2020.

                    18. Brennan A, Hickey M. The use of menopausal hormone therapy after cancer. Best Pract Res Clin Obstet Gynaecol. 2021.

                    19. Tabata M, Ichinoe K, Sakuragi N, Shiina Y, Yamaguchi T, Mabuchi Y. Incidence of ovarian metastasis in patients with cancer of the uterine cervix. Gynecol Oncol. 1987;28(3):255-61.

                    20. https://www.nccn.org/professionals/physician_gls/pdf/cervical.pdf. Accessed February 2, 2022. NCCNNNCPGiOCcVONCCNAf. [

                    21. Vargiu V, Amar ID, Rosati A, Dinoi G, Turco LC, Capozzi VA, et al. Hormone replacement therapy and cervical cancer: a systematic review of the literature. Climacteric. 2021;24(2):120-7.

                    22. Brennan A, Rees M. Menopausal hormone therapy in women with benign gynaecological conditions and cancer. Best Pract Res Clin Endocrinol Metab. 2021;35(6):101575.

                    23. Rees M, Angioli R, Coleman RL, Glasspool R, Plotti F, Simoncini T, et al. European Menopause and Andropause Society (EMAS) and International Gynecologic Cancer Society (IGCS) position statement on managing the menopause after gynecological cancer: focus on menopausal symptoms and osteoporosis. Maturitas. 2020;134:56-61.

                    24. Sinno AK, Pinkerton J, Febbraro T, Jones N, Khanna N, Temkin S, et al. Hormone therapy (HT) in women with gynecologic cancers and in women at high risk for developing a gynecologic cancer: A Society of Gynecologic Oncology (SGO) clinical practice statement: This practice statement has been endorsed by The North American Menopause Society. Gynecol Oncol. 2020;157(2):303-6.

                    25. Saeaib N, Peeyananjarassri K, Liabsuetrakul T, Buhachat R, Myriokefalitaki E. Hormone replacement therapy after surgery for epithelial ovarian cancer. Cochrane Database Syst Rev. 2020;1(1):Cd012559.

                    26. Bourdel N, Huchon C, Abdel Wahab C, Azaïs H, Bendifallah S, Bolze PA, et al. Borderline ovarian tumors: Guidelines from the French national college of obstetricians and gynecologists (CNGOF). Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol. 2021;256:492-501.

                    27. Edey KA, Rundle S, Hickey M. Hormone replacement therapy for women previously treated for endometrial cancer. Cochrane Database Syst Rev. 2018;5(5):Cd008830.

                    28. Pinkerton JV, Kaunitz AM, Manson JE. Vaginal estrogen in the treatment of genitourinary syndrome of menopause and risk of endometrial cancer: an assessment of recent studies provides reassurance. Menopause. 2017;24(12):1329-32.

                    29. Chambers LM, Herrmann A, Michener CM, Ferrando CA, Ricci S. Vaginal estrogen use for genitourinary symptoms in women with a history of uterine, cervical, or ovarian carcinoma. Int J Gynecol Cancer. 2020;30(4):515-24.

                     

                    Read More

                    Intra-amniotic infection

                    Intra-amniotic infection

                    นพ.ธนวิชญ์ พูลสิน
                    อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.นพ.ภูดิศ เจต๊ะวรรณ


                    Intra-amniotic infection หรือชื่อเดิมเรียกว่า Chorioamnionitis คือการอักเสบติดเชื้อในหลายบริเวณรวมกันเช่น น้ำคร่ำ(Amniotic fluid), รก (Placenta), ทารก(Fetus) หรือ Fetal membrane ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหลายๆชนิด ไม่ว่าจะมาจากเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดที่เกิดการติดเชื้อเข้าสู่ภายในมดลูก (Ascending infection) ในผู้ที่ถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว ซึ่งเป็นช่องทางที่พบได้บ่อยที่สุด หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อในกระแสเลือดเข้าไปในโพรงมดลูกซึ่งเกิดขึ้นได้น้อยกว่า มีการศึกษาพบว่าหญิงตั้งครรภ์มีภาวะ Intra-amniotic infection ถึงร้อยละ 3.9 ของหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด และพบมากที่สุดในการติดเชื้อระหว่างการตั้งครรภ์(1) โดยเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือเชื้อ Ureaplasma urealyticum และ Mycoplasma hominis โดยเชื้อแบคทีเรีย Gardnerella vaginalis และ group B Streptococcus สามารถพบได้เช่นกัน(2)

                    Terminology and definitions(3)

                    ในปีค.ศ. 2015 National Institute of Child Health and Human Development ร่วมกับ American College of Obstetricians and Gynecologists (ACOG), the American Academy of Pediatrics, Society for Maternal-Fetal Medicine ได้ร่วมกันออกคำแนะนำใหม่ โดยแนะนำให้เปลี่ยนการเรียกชื่อ Clinical chorioamnionitis เป็น “Intrauterine inflammation or infection of both” หรือ “Tripple I” เนื่องจากคำว่า “Chorioamnionitis” นั้นจะสื่อไปถึงการติดเชื้อเพียงอย่างเดียว โดยที่การวินิจฉัยและการตัดสินใจให้ยาปฏิชีวนะนั้นขึ้นอยู่กับอาการทางคลินิกเป็นหลักโดยที่ยังทราบได้แน่ชัดถึงการติดเชื้อภายในมดลูก การใช้คำว่า “Intrauterine inflammation or infection of both” นั้นสามารถสื่อความหมายได้ชัดเจนกว่า โดยได้แบ่งแยกย่อยออกเป็น Isolated maternal fever, Suspected triple I หรือ Presumptive diagnosis of intra-uterine infection, confirmed triple I หรือ confirmed diagnosis of intra-uterine infection ซึ่งมีเกณฑ์การวินิจฉัยดังนี้

                    1. Isolated maternal fever หมายถึงมีไข้อุณหภูมิมากกว่าหรือเท่ากับ 39 องศาเซลเซียสหรือมากกว่าในการวัด1 ครั้ง หรือ มีไข้อุณหภูมิ 38.0 ถึง 38.9 องศาเซลเซียสในการวัด 2 ครั้ง ห่างกัน 30 นาที
                    2. Suspected triple I หมายถึง มีไข้ดังที่กล่าวมาข้างต้นโดยไม่สามารถระบุสาเหตุอื่นๆได้ ร่วมกับ 1 ใน 3 ข้อดังนี้
                    • Maternal leukocytosis โดยมีจำนวนเม็ดเลือดขาวมากกว่า 15,000/mm3
                    • Purulent cervical discharge
                    • Fetal tachycardia โดยมี baseline fetal heart rate มากกว่า 160 ครั้งต่อนาที
                    1. Confirm triple I เพิ่มเติมจากเกณฑ์ข้างต้น โดยการตรวจพบเชื้อแบคทีเรียในน้ำคร่ำไม่ว่าจะจากการตรวจ Gram stain หรือเพราะเชื้อ หรือผลทางพยาธิวิทยาพบการอักเสบติดชื้อที่บริเวณรก ถุงน้ำคร่ำ หรือบริเวณสายสะดือ

                    ซึ่งเกณฑ์การวินิจฉัยจะแตกต่างจากเกณฑ์การวินิจฉัย Clinical chorioamnionitis เดิมดังนี้(4) ได้แก่

                    มีไข้อุณหภูมิ 37.8 องศาเซลเซียสขึ้นไป ร่วมกับ 2 ใน 5 ข้อดังต่อไปนี้

                    • Maternal tachycardia โดยมีอัตราการเต้นของหัวใจมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที
                    • Fetal tachycardia โดยมี baseline fetal heart rate มากกว่า 160 ครั้งต่อนาที
                    • Uterine tenderness
                    • Purulent or foul-smell amniotic fluid or discharge
                    • Maternal leukocytosis โดยมีจำนวนเม็ดเลือดขาวมากกว่า 15,000/mm3

                    มีการศึกษาแบบ Retrospective เปรียบเทียบระหว่างการใช้เกณฑ์การวินิจฉับแบบเดิมและแบบใหม่ในการรักษา พบว่าอัตราการติดเชื้อหลังคลอดไม่ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ(5)

                    Risk factor(6)

                    เนื่องจากสาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อได้มากที่สุดคือการเกิด Ascending infection ร่วมกับถุงน้ำคร่ำแตกเป็นเวลานาน รวมถึงการดำเนินคลอดเป็นไปด้วยเวลานาน ดังนั้นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิด Intra-amniotic infection ได้แก่จำนวนครั้งของการตรวจภายในโดยเฉพาะในผู้ที่ถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว, การใช้ Internal uterine fetal monitor, มีภาวะ Meconium-stained amniotic fluid, หรือมีการติดเชื้อภายในช่องคลอดอื่นๆเช่น Group B streptococcus infection หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ

                    มีการศึกษาแบบ Retrospective ถึงจำนวนครั้งของการตรวจภายในในช่วงระยะคลอดของผู้ที่ตั้งครรภ์มากกว่า 37 สัปดาห์ พบว่าการตรวจภายในตั้งแต่ 5 ครั้งขึ้นไป สัมพันธ์กับการมีไข้ในช่วงระยะคลอดอย่างมีนัยสำคัญ(7)

                    Maternal morbidity(8)

                    ภาวะ Intra-amniotic infection สามารถส่งผลกระทบต่อการดำเนินคลอดได้ เช่นเพิ่มอัตราการผ่าตัดทำคลอด การตกเลือดหลังคลอดจากมดลูกไม่แข็งตัว รวมถึงเพิ่มอัตราการติดเชื้อหลังคลอดได้โดยเฉพาะการผ่าตัดทำคลอด ไม่ว่าจะแผลผ่าตัดติดเชื้อหรือติดเชื้อภายในมดลูกหลังคลอด อาจจะเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้

                    Neonatal morbidity

                    ภาวะ Intra-amniotic infection สามารถส่งผลกระทบต่อทารกได้มากขึ้น 2 ถึง 3.5 เท่าของภาวะปกติ(9) รวมถึงส่งผลกระทบได้หลายประการ เช่น เพิ่มโอกาสในการเกิด Early-onset neonatal sepsis, Neonatal pneumonia หรือเพิ่มอัตราการเสียชีวิตได้ รวมถึงส่งผลกระทบในระยะยาวต่อทารกได้ เช่นภาวะ Bronchopulmonary dysplasia หรือภาวะ Cerebral palsy

                    Management of isolated maternal fever

                    ในปีค.ศ.2017 American College of Obstetricians and Gynecologists (ACOG) ได้ออกคำแนะนำใหม่อีกครั้ง โดยเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การวินิจฉัยถ้าหากมีไข้มากกว่าหรือเท่ากับ 39.0 องศาเซลเซียส โดยไม่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ให้ถือปฏิบัติตามแนวทางของ Suspected triple I เนื่องจากไข้ที่สูงมากกว่า 39 องศาเซลเซียสนั้น มีความเป็นได้ได้ที่จะเกิดจากการติดเชื้อมากกว่า รวมถึงอาจทำให้การรักษา Confirmed Intra-amniotic infection ได้ครอบคลุมมากขึ้น(10)

                    ตารางแสดงการเปรียบเทียบเกณฑ์การวินิจฉัยระหว่าง American College of Obstetricians and Gynecologists (ACOG) และ National Institutes of Health (NIH) (11) Table Description automatically generated with medium confidence

                    ที่มา Jones C, Titus H, Belongilot CG, Soviravong S, Stansfield BK. Evaluating definitions for maternal fever as diagnostic criteria for intraamniotic infection in low-risk pregnancies. Birth. 2021;48(3):389-96.

                    สาเหตุหลักๆของไข้ระหว่างการคลอดนั้น เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุทั้งจากการติดเชื้อ และไม่ใช่จากการติดเชื้อ หากพบหญิงตั้งครรภ์มีไข้ ควรได้รับการซักประวัติและตรวจร่างการเพิ่มเติม รวมถึงหาสาเหตุของไข้ โดยถ้ามีปัจจัยเสี่ยงและเข้าได้กับเกณฑ์การวินิจฉัยของ Intra-amniotic infection สามารถรักษาตามแนวทางที่จะกล่าวถึงต่อไป ถ้าพบสาเหตุอื่นๆของไข้เช่น การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หรืออื่นๆ สามารถรักษาตามสาเหตุได้เลย สำหรับสาเหตุอื่นๆของการเกิดไข้ในหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ได้มีสาเหตุจากการติดเชื้อ อาจเกิดจากการใช้ Epidural anesthesia ได้ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษาที่มากพอถึงแนวทางการรักษาและการให้ยาในภาวะ Isolated maternal fever ที่ไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน แต่เนื่องจากอาการไข้นั้นเป็นอาการนำที่สำคัญของ Intra-amniotic infection ซึ่งไม่สามารถแยกจากไข้ที่เกิดจากการใช้ Epidural anesthesia ได้ ร่วมกับมีการศึกษาถึงภาวะการมีไข้ระหว่างตั้งครรภ์กับผลเสียที่อาจเกิดขึ้นกับทารก(12) การให้ยาปฏิชีวนะในภาวะ Isolated maternal fever ที่ไม่สามารถหาสาเหตุได้อาจให้ประโยชน์มากกว่า หรือในกรณีที่ผู้ป่วยไม่มีหลักฐานถึงการติดเชื้อ Group B streptococcus infection สามารถให้ยาปฏิชีวนะตามแนวทางได้(13)

                    Management of Suspected or confirmed triple I

                    Laboratory testing

                    ควรส่งตรวจ CBC ในทุกผู้ป่วยที่สงสัยภาวะ Intra-amniotic infection ทุกราย รวมถึงส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆเพื่อหาสาเหตุของการติดเชื้ออื่นๆที่อาจเป็นสาเหตุของไข้ได้

                    Amniotic fluid testing

                    การตรวจเพราะเชื้อจากน้ำคร่ำหรือการตรวจทางพยาธิวิทยาของรกเป็น gold standard ในการวินิจฉัยภาวะ Intra-amniotic infection แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะดำเนินการหลังจากคลอดทารกแล้ว และใช้เวลานานในการออกผลตรวจ เนื่องจากการรักษาภาวะ Suspected triple I หรือ Confirmed triple I มีแนวทางการรักษาที่เหมือนกัน โดยส่วนใหญ่แล้ว การตัดสินใจรักษาขึ้นอยู่กับอาการทางคลินิกและปัจจัยเสี่ยงต่างๆดังที่กล่าวมาทั้งหมด

                    การตรวจวิเคราะห์น้ำคร่ำอาจทำได้โดยการเจาะน้ำคร่ำทางหน้าท้อง (Transabdominal amniocentesis) ซึ่งไม่ได้รับความนิยมในปัจจุบันเนื่องจากหัตถการมีความเสี่ยงสูง การตรวจวิธีนี้ อาจใช้ในกรณีผู้ป่วยเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด (Preterm labor) หรือภาวะน้ำเดินในผู้ป่วยเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด (PPROM) เพื่อแยกภาวะ Intra-amniotic infection และภาวะการณ์ติดเชื้ออื่นๆ(14) มีการศึกษาพบว่า การใช้เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะ Suspected triple I ในผู้ป่วย Preterm labor หรือ PPROM อาจไม่แม่นยำมากพอในการตัดสินใจรักษาภาวะ Intra-amniotic infection(15)

                    Intrapartum antibiotic Management

                    การให้ยาปฏิชีวนะเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาภาวะ Intra-amniotic infection ควรเริ่มให้เลยเมื่ออาการเข้าได้กับ suspected triple I การให้ยาปฏิชีวนะสามารถลดอุบัติการณ์ของการติดเชื้อหรือความเสี่ยงอื่นๆของการตั้งครรภ์รวมถึงลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล รวมถึงลดอัตราการติดเชื้อของทารกหลังคลอด, American College of Obstetricians and Gynecologists (ACOG) ได้มีคำแนะนำเกี่ยวกับการให้ยาปฏิชีวนะในระยะคลอดดังนี้(10)

                    Primary regimen
                    Recommended antibiotics ขนาดยา
                    • Ampicillin

                    และ

                    • Gentamycin
                    • 2 mg IV every 6 hours
                    • 2 mg/kg IV load followed by 1.5 mg/kg every 8 hours หรือ 5 mg/kg IV every 24 hours
                    กรณีแพ้ยากลุ่ม penicillin เล็กน้อย ขนาดยา
                    • Cefazolin
                      และ
                    • Gentamycin
                    • 2 g IV every 8 hours
                    • 2 mg/kg IV load followed by 1.5 mg/kg every 8 hours หรือ 5 mg/kg IV every 24 hours
                    กรณีแพ้ยากลุ่ม penicillin รุนแรง ขนาดยา
                    • Clindamycin
                      หรือ
                    • Vancomycin
                      และ
                    • Gentamycin
                    • 900 mg IV every 8 hours
                    • 1 g IV every 12 hours
                    • 2 mg/kg IV load followed by 1.5 mg/kg every 8 hours หรือ 5 mg/kg IV every 24 hours
                    Alternative regimen
                    • Ampicillin–sulbactam
                    • Piperacillin–tazobactam
                    • Cefotetan
                    • Cefoxitin
                    • Ertapenem
                    • 3 g IV every 6 hrs
                    • 3.375 g IV every 6 hrs or 4.5 g IV every 8 hrs
                    • 2 g IV every 12 hrs
                    • 2 g IV every 8 hrs
                    • 1 g IV every 24 hrs

                    ดัดแปลงจาก Committee Opinion No. 712: Intrapartum Management of Intraamniotic Infection. Obstet Gynecol. 2017;130(2):e95-e101.

                    จะเห็นได้ว่าคำแนะนำจาก ACOG สามารถให้ยา Gentamycin ได้ทั้ง 2 แบบ ทั้งวันละ 1 ครั้ง และวันละ 3 ครั้ง มีการศึกษาระหว่างการให้ยาปฏิชีวนะ Ampicillin ควบคู่กับ Gentamycin วันละ 3 ครั้งเปรียบเทียบกับการให้ยา Ampicillin ควบคู่กับ Gentamycin วันละ 1 ครั้ง พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันในแง่ของการติดเชื้อของมดลูกหลังคลอด (Postpartum endometritis) และการติดเชื้อในทารกหลังคลอด(Neonatal sepsis)(16, 17) ดังนั้นการให้ยา Gentamycin วันละ 1 ครั้ง จึงมีประสิทธิภาพมากกว่าในแง่ของการบริหารจัดการการให้ยา

                    สำหรับผู้ที่กำลังจะได้รับการผ่าตัดทำคลอด ได้มีการศึกษาถึงการให้ยา Metronidazole 500 mg IV every 8 hrs หรือ Clindamycin 900 mg iv every 8 hrs เสริมจากการให้ยา Ampicillin และ Gentamycin สามารถลดอัตราการติดเชื้อหลังผ่าตัดได้(18) แต่ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจน ซึ่งแตกต่างจากคำแนะนำจาก ACOG ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป

                    Postpartum antibiotic Management

                    ยังไม่มีคำแนะนำที่ชัดเจนถึงการให้ยาปฏิชีวนะหลังคลอด มีการศึกษาถึงการให้ยา Ampicillin และ Gentamycin เปรียบเทียบกับ Placebo ในช่วงหลังคลอดของผู้ที่คลอดทางช่องคลอด พบว่าอัตราการมีไข้หลังคลอด และอัตราการติดเชื้อหลังคลอดไม่ได้แตกต่างกัน(19) รวมถึงได้มีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการให้ยาปฏิชีวนะหลังคลอดในผู้ที่คลอดทางช่องคลอดต่อเนื่องจนไม่มีไข้ครบ 24 ชั่วโมงหลังคลอดเปรียบเทียบกับให้เพียง 1 ครั้งหลังคลอดพบว่าผลการรักษาไม่แตกต่างกัน(20)

                    สำหรับการผ่าตัดทำคลอดนั้น ได้มีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการให้ยาปฏิชีวนะต่อหลังคลอดจนไม่มีไข้ครบ 24 ชั่วโมง เปรียบเทียบกับไม่ให้ยาปฏิชีวนะใดๆ(21) และมีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการให้ยาปฏิชีวนะหลังผ่าตัดทำคลอดเพียง 1 ครั้งเปรียบเทียบกับไม่ให้ยาปฏิชีวนะใดๆ(22) พบว่าทั้งสองการศึกษาพบว่าอัตราการเกิดการติดเชื้อหลังคลอดหรือแผลผ่าตัดติดเชื้อไม่ได้แตกต่างกันระหว่างให้หรือไม่ให้ยาปฏิชีวนะ

                    จะเห็นได้ว่ามีการศึกษาค่อนข้างหลากหลาย แต่ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนถึงการให้ยาปฏิชีวนะหลังคลอดทั้งขนาดยาและระยะเวลาการให้ยา แต่จากการศึกษาต่างๆ แสดงให้เห็นว่าการให้ยาปฏิชีวนะหลังคลอดไม่มีความจำเป็นทั้งการคลอดทางช่องคลอดและการผ่าตัดทำคลอดถ้าไม่มีอาการหรือความเสี่ยง ในทางเวชปฏิบัติจริงๆแล้ว มีการให้ยาปฏิชีวนะหลังคลอดที่หลากหลาย แพทย์หลายๆท่านให้ยาปฏิชีวนะหลังคลอดต่อเนื่องไปจนไม่มีไข้ครบ 24 ชั่วโมง

                    American College of Obstetricians and Gynecologists (ACOG) ได้มีคำแนะนำถึงการให้ยาปฏิชีวนะหลังคลอด โดยไม่ควรให้ยาปฏิชีวนะต่อหลังจากคลอด โดยแนวทางของการคลอดทางช่องคลอดและการผ่าตัดทำคลอดจะแตกต่างกันเล็กน้อยดังนี้

                    • หลังการคลอดทางช่องคลอด (Post vaginal delivery) ไม่จำเป็นต้องในยาปฏิชีวนะหลังคลอด
                    • หลังการผ่าตัดทำคลอด (Post cesarean deliver) ให้ยาปฏิชีวนะหลังคลอด 1 ครั้ง ร่วมกับเพิ่มยา Clindamycin 900 mg IV หรือ Metronidazole 500 mg IV อย่างน้อย 1 ครั้ง

                    อย่างไรก็ตาม อาจพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะต่อเนื่องหลังคลอดได้ตามความเหมาะสมในกรณีที่ปัจจัยเสี่ยงเช่น ยังคงมีไข้หลังคลอด หรือมีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด(10)

                    Labor and delivery(4)

                    การให้ยาปฏิชีวนะเพียงอย่างเดียวไม่สามารถรักษาภาวะ Intra-amniotic infection ให้หายขาดได้ Definite treatment ในผู้ป่วย Intra-amniotic infection ไม่ว่าจะกรณี Suspected triple I หรือ confirmed triple I คือนำต้นเหตุของการติดเชื้อออกไปก็คือการให้คลอด ดังนั้น เมื่อวินิจฉัยภาวะ Intra-amniotic infection หลังจากการให้ยาปฏิชีวนะจึงควรได้รับการชักนำคลอดหรือการเร่งคลอดไม่ว่าอายุครรภ์เท่าใดก็ตาม

                    Route of delivery

                    แนะนำให้คลอดทางช่องคลอดมากกว่าการผ่าตัดคลอด การผ่าตัดคลอดนั้นควรทำเมื่อมีข้อบ่งชี้ทางสูติศาสตร์เท่านั้น ไม่แนะนำให้ผ่าตัดคลอดเพื่อลดระยะเวลาของการคลอด มีการศึกษาแบบ Retrospective ถึงผลของภาวะ Chorioamnionitis หรือ Intra-amniotic infection ต่อภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์เปรียบเทียบระหว่างการคลอดทางช่องคลอดและการผ่าตัดคลอด พบว่าการผ่าตัดคลอดส่งผลต่อภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์มากกว่าการคลอดทางช่องคลอด ไม่ว่าจะเป็นอัตราการให้เลือดหลังคลอด(Postpartum transfusion), การติดเชื้อหลังคลอด(Postpartum endometritis) หรือ แผลติดเชื้อ ที่มากกว่าการคลอดทางช่องคลอดอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงระยะเวลาของการคลอดที่ยาวนานมากขึ้น ไม่ส่งผลกระทบต่อภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์แต่อย่างใด(23) ดังนั้นยังไม่มีคำแนะนำให้คลอดทันทีที่วินิจฉัย Intra-amniotic infection ซึ่งอาจจะนำไปสู่การผ่าตัดคลอดที่ไม่จำเป็นซึ่งทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งระหว่างผ่าตัดคลอดและหลังคลอดได้มากกว่า

                    Antipyretics

                    ภาวการณ์มีไข้ระหว่างการคลอดนั้น (Intrapartum fever) จะส่งผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจของทารกทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น (Fetal tachycardia) รวมถึงอาจส่งผลต่อ Fetal acidosis และ neonatal encephalopathy ได้(24) โดยยาลดไข้ Acetaminophen หรือ Paracetamol ที่มีการใช้อย่างกว้างขวางสามารถลดไข้ในระยะคลอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถลดอัตราการเต้นของหัวใจสู่ภาวะปกติในขณะที่ไข้ลดลงได้ แต่อย่างไรก็ตามการให้ยา Acetaminophen ในระหว่างการคลอดนั้นยังไม่สามารถลดลดภาวะแทรกซ้อนทั้งมารดาและทารกได้อย่างชัดเจน(25) แต่การให้ยาลดไข้ระหว่างการคลอดนั้น สามารถลดอัตราการเต้นของหัวใจทารกได้ รวมถึงลดอัตราการผ่าตัดคลอดจากภาวะ Fetal non-reassuring ได้

                    Use of antenatal corticosteroid

                    การให้ antenatal corticosteroid หรือ Dexamethasone นั้น มีการใช้อย่างกว้างขวางเพื่อกระตุ้นการเจริญของปอดของทารกในครรภ์สำหรับการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดที่อายุครรภ์ 24 สัปดาห์ถึง 33+6 สัปดาห์ รวมถึงพิจารณาให้ได้ในการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดที่อายุครรภ์ 34 สัปดาห์ถึง 36+6 สัปดาห์ ที่มีโอกาสคลอดภายใน 7 วันและยังไม่เคยได้รับยามาก่อน แต่การให้ Corticosteroid นั้น อาจส่งผล Immunosuppressive ได้ อาจทำให้การติดเชื้อที่มีอยู่เดิม หรือการติดเชื้อที่ซ่อนอยู่นั้น มีความรุนแรงมากขึ้นได้ รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในทารกหลังคลอด การให้ Corticosteroid ในผู้ป่วย Intra-amniotic infection นั้นอาจต้องพิจารณาถึงประโยชน์ที่จะได้รับและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีการศึกษาแบบ Meta-analysis หลายๆการศึกษาถึงผลของการให้ Corticosteroid ในอายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์ต่อภาวะแทรกซ้อนของทารกหลังคลอด พบว่าการให้ Corticosteroid ตั้งแต่ 1 ครั้งขึ้นไปสามารถลดอัตราการเกิด neonatal sepsis, respiratory distress และ intraventricular hemorrhage ได้อย่างมีนัยสำคัญ(26, 27) แต่ยังไม่มีการศึกษามากพอถึงผลของ Corticosteroid ต่อภาวะแทรกซ้อนของมารดา จากคำแนะนำของ American College of Obstetricians and Gynecologists (ACOG) แนะนำให้ Corticosteroid ในอายุครรภ์ 24 สัปดาห์ถึง 33+6 สัปดาห์ แต่ไม่มีข้อบ่งชี้ในการให้ Corticosteroid ในช่วงอายุครรภ์ 34 สัปดาห์ขึ้นไปที่สงสัยภาวะ Intra-amniotic infection(28) จากคำแนะนำและการศึกษาต่างๆ โดยสรุปแล้วควรให้ Antenatal corticosteroid อย่างน้อย 1 ครั้งในผู้ป่วย Intra-amniotic infection ที่อายุครรภ์ 24 สัปดาห์ถึง 33+6 สัปดาห์ แต่การคลอดจำเป็นต้องดำเนินต่อไป ไม่ควรยับยั้งการคลอดเพื่อรอให้ยาครบทั้งหมด

                    Prevention(29)

                    เนื่องจากการเกิด Intra-amniotic infection นั้น มีปัจจัยเสี่ยงหลายๆอย่างดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น อย่างเช่น หากถุงน้ำคร่ำแตก (Rupture of membrane) ในครรภ์ครบกำหนด ควรได้รับการเร่งคลอดเพื่อลดระยะเวลาการคลอด ลดจำนวนครั้งในการตรวจภายใน โดยเฉพาะในภาวะน้ำเดินในครรภ์ก่อนกำหนด (PPROM) อาจพิจารณาตรวจภายในด้วย Speculum แทนการใช้นิ้วมือ รวมถึงการใช้ Intra-uterine fetal monitor ควรพิจารณาถึงข้อบ่งชี้ให้รอบคอบ เนื่องจากเพิ่มโอกาสให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น นอกจากการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆแล้ว การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องการการติดเชื้อตามข้อบ่งชี้ต่างๆ เช่น ยืดอายุครรภ์ (Prolong latency period) ในภาวะน้ำเดินในครรภ์ก่อนกำหนด (PPROM) หรือเพื่อป้องกันการติดเชื้อ Group B Streptococcus(GBS) เช่น ผลเพาะเชื้อจากช่องคลอดพบเชื้อ GBS, ทารกครรภ์ก่อนหน้ามีภาวะ GBS infection, ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด, ถุงน้ำคร่ำแตกเป็นเวลานานเกิน 18 ชั่วโมง สามารถลดโอกาสในการเกิด Intra-amniotic infection ได้เช่นกัน(13)

                    Conclusion

                    โดยสรุปแล้ว ภาวะ Intra-amniotic infection นั้นเป็นการติดเชื้อที่พบได้บ่อยในการตั้งครรภ์ โดยเกิดขึ้นได้บ่อยในภาวะถุงน้ำคร่ำแตกเป็นเวลานาน รวมถึงการทำหัตถการต่างๆทางช่องคลอด การตรวจภายในที่บ่อยครั้งล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด Intra-amniotic infection ได้มากขึ้น ซึ่งรักษาโดยการให้ยาปฏิชีวนะและการคลอด การวินิจฉัยส่วนใหญ่จะวินิจฉัยตามอาการทางคลินิกร่วมกับผลตรวจเลือดเบื้องต้นเป็นหลัก ถึงแม้ว่าการตรวจเพาะเชื้อจากน้ำคร่ำจะเป็น Gold standard แต่ไม่นิยมในทางปฏิบัติ การรักษาและการป้องกันการเกิดภาวะ Intra-amniotic infection ดังที่กล่าวไปข้างต้นควรปฏิบัติอย่างเหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยงต่างๆทั้งต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกหลังคลอด เช่น การติดเชื้อหลังคลอด การติดเชื้อในทารกแรกคลอด

                    เอกสารอ้างอิง

                    1. Woodd SL, Montoya A, Barreix M, Pi L, Calvert C, Rehman AM, et al. Incidence of maternal peripartum infection: A systematic review and meta-analysis. PLoS Med. 2019;16(12):e1002984.

                    2. Romero R, Miranda J, Kusanovic JP, Chaiworapongsa T, Chaemsaithong P, Martinez A, et al. Clinical chorioamnionitis at term I: microbiology of the amniotic cavity using cultivation and molecular techniques. J Perinat Med. 2015;43(1):19-36.

                    3. Higgins RD, Saade G, Polin RA, Grobman WA, Buhimschi IA, Watterberg K, et al. Evaluation and Management of Women and Newborns With a Maternal Diagnosis of Chorioamnionitis: Summary of a Workshop. Obstet Gynecol. 2016;127(3):426-36.

                    4. Conde-Agudelo A, Romero R, Jung EJ, Garcia Sánchez Á J. Management of clinical chorioamnionitis: an evidence-based approach. Am J Obstet Gynecol. 2020;223(6):848-69.

                    5. Smith MM, Daifotis HA, DeNoble AE, Dotters-Katz SK. Using the new definition of intraamniotic infection – is there morbidity among the women left out? J Matern Fetal Neonatal Med. 2021;34(24):4148-52.

                    6. Soper DE, Mayhall CG, Dalton HP. Risk factors for intraamniotic infection: a prospective epidemiologic study. Am J Obstet Gynecol. 1989;161(3):562-6; discussion 6-8.

                    7. Gluck O, Mizrachi Y, Ganer Herman H, Bar J, Kovo M, Weiner E. The correlation between the number of vaginal examinations during active labor and febrile morbidity, a retrospective cohort study. BMC Pregnancy Childbirth. 2020;20(1):246.

                    8. Rouse DJ, Landon M, Leveno KJ, Leindecker S, Varner MW, Caritis SN, et al. The Maternal-Fetal Medicine Units cesarean registry: chorioamnionitis at term and its duration-relationship to outcomes. Am J Obstet Gynecol. 2004;191(1):211-6.

                    9. Venkatesh KK, Jackson W, Hughes BL, Laughon MM, Thorp JM, Stamilio DM. Association of chorioamnionitis and its duration with neonatal morbidity and mortality. J Perinatol. 2019;39(5):673-82.

                    10. Committee Opinion No. 712: Intrapartum Management of Intraamniotic Infection. Obstet Gynecol. 2017;130(2):e95-e101.

                    11. Jones C, Titus H, Belongilot CG, Soviravong S, Stansfield BK. Evaluating definitions for maternal fever as diagnostic criteria for intraamniotic infection in low-risk pregnancies. Birth. 2021;48(3):389-96.

                    12. Greenwell EA, Wyshak G, Ringer SA, Johnson LC, Rivkin MJ, Lieberman E. Intrapartum temperature elevation, epidural use, and adverse outcome in term infants. Pediatrics. 2012;129(2):e447-54.

                    13. Prevention of Group B Streptococcal Early-Onset Disease in Newborns: ACOG Committee Opinion, Number 797. Obstet Gynecol. 2020;135(2):e51-e72.

                    14. Tita AT, Andrews WW. Diagnosis and management of clinical chorioamnionitis. Clin Perinatol. 2010;37(2):339-54.

                    15. Maki Y, Furukawa S, Nakayama T, Oohashi M, Shiiba N, Furuta K, et al. Clinical chorioamnionitis criteria are not sufficient for predicting intra-amniotic infection. J Matern Fetal Neonatal Med. 2022;35(1):52-7.

                    16. Chapman E, Reveiz L, Illanes E, Bonfill Cosp X. Antibiotic regimens for management of intra-amniotic infection. Cochrane Database Syst Rev. 2014(12):Cd010976.

                    17. Lyell DJ, Pullen K, Fuh K, Zamah AM, Caughey AB, Benitz W, et al. Daily compared with 8-hour gentamicin for the treatment of intrapartum chorioamnionitis: a randomized controlled trial. Obstet Gynecol. 2010;115(2 Pt 1):344-9.

                    18. Mackeen AD, Packard RE, Ota E, Speer L. Antibiotic regimens for postpartum endometritis. Cochrane Database Syst Rev. 2015;2015(2):Cd001067.

                    19. Berry C, Hansen KA, McCaul JF. Abbreviated Antibiotic Therapy for Clinical Chorioamnionitis: A Randomized Trial. Journal of Maternal-Fetal Medicine. 1994;3(5):216-8.

                    20. Goldberg A, Malik M. Post-partum Management of Chorioamnionitis: Efficacy of Continuation of Antibiotics After Delivery [13OP]. Obstetrics & Gynecology. 2017;129(5).

                    21. Turnquest MA, How HY, Cook CR, O’Rourke TP, Cureton AC, Spinnato JA, et al. Chorioamnionitis: is continuation of antibiotic therapy necessary after cesarean section? Am J Obstet Gynecol. 1998;179(5):1261-6.

                    22. Shanks AL, Mehra S, Gross G, Colvin R, Harper LM, Tuuli MG. Treatment Utility of Postpartum Antibiotics in Chorioamnionitis Study. Am J Perinatol. 2016;33(8):732-7.

                    23. Venkatesh KK, Glover AV, Vladutiu CJ, Stamilio DM. Association of chorioamnionitis and its duration with adverse maternal outcomes by mode of delivery: a cohort study. Bjog. 2019;126(6):719-27.

                    24. Impey LW, Greenwood CE, Black RS, Yeh PS, Sheil O, Doyle P. The relationship between intrapartum maternal fever and neonatal acidosis as risk factors for neonatal encephalopathy. Am J Obstet Gynecol. 2008;198(1):49.e1-6.

                    25. Burgess APH, Katz JE, Moretti M, Lakhi N. Risk Factors for Intrapartum Fever in Term Gestations and Associated Maternal and Neonatal Sequelae. Gynecol Obstet Invest. 2017;82(5):508-16.

                    26. Ryu YH, Oh S, Sohn J, Lee J. The Associations between Antenatal Corticosteroids and In-Hospital Outcomes of Preterm Singleton Appropriate for Gestational Age Neonates according to the Presence of Maternal Histologic Chorioamnionitis. Neonatology. 2019;116(4):369-75.

                    27. Been JV, Degraeuwe PL, Kramer BW, Zimmermann LJ. Antenatal steroids and neonatal outcome after chorioamnionitis: a meta-analysis. Bjog. 2011;118(2):113-22.

                    28. Committee Opinion No. 713: Antenatal Corticosteroid Therapy for Fetal Maturation. Obstet Gynecol. 2017;130(2):e102-e9.

                    29. Hastings-Tolsma M, Bernard R, Brody MG, Hensley J, Koschoreck K, Patterson E. Chorioamnionitis: prevention and management. MCN Am J Matern Child Nurs. 2013;38(4):206-12; quiz 13-4.

                     

                    Read More