วัสดุเย็บแผล : Suture Materials

นพ. หาญณรงศ์ ชูพูล
อาจารย์ พญ. ชลัยธร นันทสุภา


การเย็บปิดแผลในมนุษย์ไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดขึ้นชัดเจนเมื่อใด คาดการณ์ว่าการเย็บแผลเกิดขึ้นครั้งแรกในการเก็บศพ mummy เมื่อ 1100 ปีก่อนคริสตกาล ต่อมา 600 ปีก่อนคริสตกาลได้มีการใช้วัสดุเย็บแผล (suture material) ที่ทำจากธรรมชาติ คือ ลินิน เอ็นของสัตว์ ขนสัตว์ และเส้นใยจากพืชอื่น มาเป็นวัสดุในการเย็บแผล และใช้ ลวดทองคำ เงิน เหล็ก ขนสัตว์มาเป็นวัสดุในการปิดแผล ซึ่งผู้ที่ใช้คำว่า suture เป็นคนแรก คือ Hippocrates บิดาแห่งการแพทย์ (The Father of Medicine)

การหายของบาดแผล (Wound healing) 1,2,3,4

การหายของบาดแผล (wound healing) เกิดขึ้นจาก 4 ระยะ ได้แก่

  1. การหยุดของเลือด (Hemostasis)
  2. การอักเสบ (Inflammation)
  3. การเจริญและแบ่งเซลล์ (Proliferation)
  4. การปรับรูปร่าง (Remodeling)

Sun BK, Siprashvili Z, Khavari PA. Uptodate. Graphic 128480 Version 1.0

Handa VL and Linda VL. Chapter 7 Incisions for Gynecologic Surgery. Te Linde’s Operative Gynecology 12th edition. 2020:129:

ระยะที่ 1. การหยุดของเลือด (Hemostasis)

เมื่อมีบาดแผลเกิดขึ้น จะมีการฉีกขาดของเส้นเลือด ทำให้เลือดไหล ร่างกายจะมีปฏิกิริยาต่อเส้นเลือด ทำให้เกิดกระบวนการ hemostasis และ clot formation ส่งผลให้เกิดการแข็งตัวของเลือดและการจับกลุ่มของเกล็ดเลือด โดยอาศัยสารเคมีจากเซลล์ที่เกิดการบาดเจ็บเป็นตัวกระตุ้น นำไปสู่กระบวนการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดหยุดและปกคลุมบาดแผลในระยะแรก และเกล็ดเลือดมีการปล่อย cytokine ต่างๆมากระตุ้นทำให้กระบวนการหายของแผลดำเนินต่อไปด้วย เช่น Platelet – Derived Growth Factor (PDGF), Transforming growth factors (TGF), Fibroblast Growth Factor -2 (FGF-2) เป็นต้น

ระยะที่ 2. การอักเสบ (Inflammation)

กระบวนการอักเสบ (inflammation) เริ่มต้นภายใน 10-30 นาทีหลังจากเกิดบาดแผล ซึ่งกระบวนการอักเสบจะไปกระตุ้นทำให้เกิดกระบวนการ vascular permeability จากนั้นเกิดการกระตุ้นสารที่ทำให้หลอดเลือดขยายตัว (vasodilation complement activation) เกิดการเคลื่อนย้ายของเซลล์เม็ดเลือดขาวมายังตำแหน่งที่เกิดบาดแผล (white blood cell migration) ทำให้เกิดอาการปวด บวม แดง ร้อนบริเวนแผล เม็ดเลือดขาวที่มาบริเวณแผล จะช่วยทำลายซากของเซลล์ที่เสียหาย (cell debris) เชื้อแบคทีเรีย และสารเคลือบเซลล์ (extracellular matrix) นอกจากนี้ macrophage ซึ่งเป็นเซลล์ที่สำคัญต่อการหายของแผล ยังหลั่ง growth factor มากระตุ้นการเกิด proliferation ต่อไป กรณีที่แผลไม่มีการติดเชื้อ แผลจะสามารถหายได้ภายใน 3 วัน

ระยะที่ 3. การเจริญและแบ่งเซลล์ (Proliferation)

กระบวนการแบ่งตัวของเซลล์ใหม่ ยังประกอบไปด้วยกระบวนการย่อยๆ อีก ดังนี้

การสร้าง granulation tissue คอลลาเจนและสารเคลือบเซลล์ชนิด fibronectin หรือ proteoglycan จะถูกสร้างขึ้นจาก fibroblast โดยมี cytokine มาเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดการแบ่งตัวและเคลื่อนย้ายของเซลล์ fibroblast (fibroblast proliferation & migration) และเกิดการสร้างคอลลาเจน (Collagen Synthesis) สารประกอบร่วมต่างๆที่มีความสำคัญต่อกระบวนการนี้ เช่น วิตามินซี ธาตุเหล็ก ออกซิเจน

Angiogenesis การสร้างหลอดเลือดที่เกิดขึ้นในระยะนี้ ถูกกระตุ้นโดย macrophage และในภาวะที่เนื้อเยื่อมีออกซิเจนต่ำ (tissue hypoxia) Macrophage จะหลั่งสารกลุ่ม transforming growth factor มากระตุ้น endothelial cell เพื่อสร้างเส้นเลือดใหม่เกิดขึ้น

การหดรั้งตัวของบาดแผล (wound contracture) เซลล์ fibroblast มีบทบาทสำคัญในการเกิดบาดแผลหดรั้งตัว โดยเซลล์ดังกล่าวจะเคลื่อนที่ไปยังบริเวณขอบแผล และเปลี่ยนชนิดเป็น myofibroblast ซึ่งจะมีความสามารถในการหดตัวของเซลล์ และดึงขอบแผลเข้าหากัน

การสร้างเนื้อเยื่อบุผิว (epithelization) เซลล์เยื่อบุผิวชนิด keratocyte เคลื่อนตัวมาปกคลุม granulation tissue โดยที่มีการเคลื่อนตัวและเจริญมาจากบริเวณขอบแผล โดยการกระตุ้นของ growth factor ต่างๆที่หลั่งจาก macrophage เช่น Fibroblast Growth Factor, Insulin-like Growth Factor, Epidermal Growth Factor เป็นต้น การสร้างเนื้อเยื่อบุผิว เกิดได้ดีในแผลที่มีความชุ่มชื้น เซลล์เยื่อบุผิวจะแบ่งตัวและเคลื่อนตัวมาปกคลุม granulation tissue จนหมด ถึงจะหยุดกระบวนการ เรียกว่า Contract inhibition

ระยะที่ 4. การปรับรูปร่าง (Remodeling)

Remodeling phase หรือ Maturation phase เป็นระยะสุดท้ายของกระบวนการหายของแผล เริ่มประมาณ 20 วัน หลังการเกิดบาดแผลและดำเนินต่อไปจนถึงปี ระยะนี้แผลจะมีความแข็งแรงมากขึ้น (increase tensile strength) โดยมีการเกิด collagen fiber crosslink และมีการลดจำนวนเซลล์ต่างๆลง (decreasing cellularity) ซึ่งช่วงนี้แผลเป็นจะมีหลอดเลือดมาเลี้ยงลดลง การสร้างคอลลาเจนลดลง และมีการทำลายของคอลลาเจนมากขึ้น จนถึงภาวะสมดุลของการสร้างและทำลายคอลลาเจน ทำให้รอยแผลเป็นนิ่มลงแบนลง เรียบ และมีสีจาง ซึ่งกระบวนเหล่านี้ถูกควบคุมโดย macrophage

วัสดุเย็บแผล (Suture material) 1,2

วัสดุเย็บแผลในอุดมคติ

  • สามารถให้ความแข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ (adequate tensile strength)
  • เกิดปฏิกิริยาต่อเนื้อเยื่อน้อย (minimal tissue reactivity)
  • สามารถหยิบจับใช้ได้สะดวก (comfortable handling)
  • ปลอดเชื้อโรค (sterilization)
  • สามารถพยากรณ์ระยะเวลาและคุณสมบัติต่างๆได้ (predictability)

ประเภทและคุณลักษณะของวัสดุเย็บแผล (Classification and characteristics of suture materials)

    • Suture size ขนาดของวัสดุเย็บแผลในปัจจุบันมีหลากหลายขนาด โดยปัจจุบันมี 2 มาตรฐานที่ใช้อธิบายขนาดของวัสดุเย็บแผล ได้แก่ The United States Pharmacopoeia (USP) และ The European Pharmacopoeia (EP) ซึ่งนิยมใช้ระบบ USP มากกว่า EP โดย USP ใช้ 2 ตัวเลขในการบอกขนาด หากตัวเลขที่ระบุตามด้วย -0 จะหมายถึงขนาดที่เล็กลง เช่น 2-0 จะใหญ่กว่า 5-0 ในขณะที่ตัวเลขที่ระบุขนาดเป็นเลขตัวเดียว (ไม่มี -0) จะหมายถึงขนาดที่ใหญ่ขึ้น เช่น 2 จะเล็กกว่า 5

ตารางที่ 1 แสดงรหัสขนาดของวัสดุเย็บแผลตามมาตรฐาน The United States Pharmacopoeia (USP) และ The European Pharmacopoeia (EP) เส้นผ่านศูนย์กลางของไหม และค่าของแรงที่ใช้ในการดึง

Collagen suture Synthetic Suture Limits on Average Diameter (mm) Knot-Pull tensile Strength (kgf) Limit on Average min
USP Size code USP Size code EP Size Code Min Max Collagen Synthetic
8-0 0.4 0.04 0.049 0.07
8-0 7-0 0.5 0.05 0.069 0.045 0.14
7-0 6-0 0.7 0.07 0.099 0.07 0.25
6-0 5-0 1 0.10 0.149 0.18 0.68
5-0 4-0 1.5 0.15 0.199 0.38 0.95
4-0 3-0 2 0.20 0.249 0.77 1.77
3-0 2-0 3 0.30 0.339 1.25 2.68
2-0 0 3.5 0.35 0.399 2.00 3.90
0 1 4 0.40 0.499 2.77 5.08
1 2 5 0.50 0.599 3.80 6.35
EP, European Pharmacopoeia; kgf, kilogram-force; Max, maximum; Min, minimum; USP, United States Pharmacopoeia

ที่มา : Greenberg JA, Clark RM. Advances in suture material for Obstetric and Gynecologic surgery. Rev Obstet Gynecol. 2009;2(3):146-158.

    • Tensile strength ความทนต่อแรงดึง จะขึ้นอยู่กับหน้าตัดของเส้นใยไหม
    • Absorbable และ Non-absorbable suture
    • ไหมละลาย (absorbable suture) สามารถละลายได้ผ่านการย่อยของเอนไซม์ enzymatic reactions หรือ hydrolysis โดยระยะเวลาในการละลายของไหม ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของการเย็บ และปัจจัยอื่นๆ ไหมละลายเหมาะสำหรับใช้ส่วนลึกหรือเนื้อเยื่อที่มีการสมานเร็ว
    • ไหมไม่ละลาย (non-absorbable suture) เหมาะสำหรับตำแหน่งที่มีการสมานของแผลช้า เช่น fascia, tendon, การเย็บหลอดเลือด เป็นต้น

ตารางที่ 2 แสดงอัตราการสลายตัวของไหมละลาย

Suture Time to 50%

Loss of Tensile Strength (d)

Time to Complete

Loss of Tensile Strength (d)

Time to Complete

Mass Absorption (d)

Plain surgical gut 3-5 14-21 70
Fast-absorbing coated polyglactin 910 (Vicryl RapideTM) 5 14 42
Polyglytone 6211 (CaprosynTM) 5-7 21 56
Poliglecaprone 25 (MonocrylTM) 7 21 91-119
Barbed poliglecaprone 25 (MonodermTM) 7-10 21 90-120
Chromic surgical gut 7-10 14-21 90-120
Coated polyglycolide (Dexon IITM) 14-21 28 60-90
Polylycomer 631 (BiosynTM) 14-21 28 90-110
Coated polyglactin 910 (VicrylTM) 21 28 56-70
Polyglyconate (MaxonTM) 28-35 56 180
Polydioxanone (PDS IITM) 28-42 90 183-238
Barbed polydioxanone (PDO) 28-42 90 180

ที่มา : Greenberg JA, Clark RM. Advances in suture material for Obstetric and Gynecologic surgery. Rev Obstet Gynecol. 2009;2(3):146-158.

 

    • Multifilament Vs Monofilament
    • ไหมแบบเส้นเดี่ยว (monofilament suture)

ข้อดี – โอกาสการติดเชื้อน้อย

– การบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อน้อย

ข้อเสีย – คลายปมได้ง่าย

– ความสามารถในการยึดจับไม่ดี

    • ไหมแบบหลายเส้น (multifilament suture)

ข้อดี – สามารถยึดจับได้ดีและโอกาสการคลายปมน้อย

ข้อเสีย – เกิดการอักเสบต่อเนื้อเยื่อได้มากกว่าไหมแบบเส้นเดี่ยว

– เพิ่มโอกาสการติดเชื้อ

– เกิดปมขนาดใหญ่

    • Smooth Vs Barbed วัสดุเย็บแผลส่วนใหญ่มีลักษณะแบบเส้นเรียบ (smooth) จึงจำเป็นต้องมีการผูกปมเพื่อช่วยยึดเนื้อเยื่อ ไม่ให้เกิดการเลื่อนหลุดของการวัสดุเย็บ อย่างไรก็ตามวัสดุเย็บแผลที่มีลักษณะแบบเส้นที่มีเงี่ยง (barbed) ซึ่งไม่ต้องผูกปม ก็ไม่ได้ส่งผลเสียต่อการสมานของแผล

ตัวอย่างของวัสดุเย็บแผลชนิดต่างๆ

ไหมละลาย (Absorbable sutures)

    Plain gut

    • ผลิตจากลำไส้แกะและวัว
    • ความทนต่อแรงดึง 14-21 วัน
    • สามารถสลายตัวใน 70 วัน
    • เกิดกระบวนอักเสบต่อเนื้อเยื่อมากกว่า chromic gut
    • เหมาะสำหรับแผลที่มีการหายเร็ว เช่น oral mucosa perineum

    Chromic gut

    • ผลิตจากลำไส้แกะและวัว
    • Plain gut ที่มีการเคลือบด้วย Chromium salt solution ทำให้เพิ่ม ความแข็งแรง เพิ่มความทนต่อแรงดึงและลดปฏิกิริยาต่อเนื้อเยื่อ
    • ความทนต่อแรงดึง 14-21 วัน
    • สามารถสลายตัวใน 90-120 วัน
    • เหมาะสำหรับ General closure, OB/GYN, ortho, GI surgery

    D7585 | Ethicon

    Coated Polyglactin 910 (Vicryl)

    • Synthetic braided polymer
    • ทะลุผ่านเนื้อเยื่อได้ง่าย
    • ความทนต่อแรงดึง 28 วัน
    • สามารถสลายตัวใน 56-70 วัน
    • เหมาะสำหรับการเย็บขอบแผล เพื่อคงความแข็งแรงให้แผล

    Fast-absorbing coated polyglactin 910 (Rapid vicryl)

    • ไหมละลายแบบเส้นใยหลายเส้นสังเคราะห์
    • ความทนต่อแรงดึง 14 วัน
    • สามารถสลายตัวใน 42 วัน
    • เหมาะสำหรับการเย็บ superficial soft tissue และ mucosa

    Coated polyglycolic acid (Dexon II)

     

    • ไหมละลายแบบเส้นใยหลายเส้นสังเคราะห์
    • ความทนต่อแรงดึง 28 วัน
    • สามารถสลายตัวใน 60-90 วัน
    • กระบวนการอักเสบต่อเนื้อเยื่อน้อยที่สุด
    • เหมาะสำหรับการเย็บ muscle fascia tendon และ subcuticular skin
    • Polydioxanone - an overview | ScienceDirect Topics

    Polydioxanone (PDS)

    • ไหมละลายแบบเส้นใยเส้นเดี่ยวสังเคราะห์
    • ความทนต่อแรงดึง 90 วัน
    • สามารถสลายตัวใน 183-238 วัน
    • ทะลุผ่านเนื้อเยื่อได้ง่าย
    • ปฏิกิริยาต่อเนื้อเยื่อเล็กน้อย
    • เหมาะสำหรับการเย็บ subcuticular skin

     

    Maxon 4-0 P-11 16mm 45cm Clear Suture

      Polyglyconate ( Maxon)

      • ไหมละลายแบบเส้นใยเส้นเดี่ยวสังเคราะห์
      • ลักษณะคล้าย PDS แต่การจับดีกว่าและคลายปมไหมน้อยกว่า
      • ความทนต่อแรงดึง 56 วัน
      • สามารถสลายตัวใน 180 วัน
      • เหมาะสำหรับการเย็บ soft tissue ทุกชนิด esophageal and intestinal anastomosis และ bronchial closure

      D8839 | Ethicon

       

        Poliglecaprone 25 (Monocryl)

        • ไหมละลายแบบเส้นใยเส้นเดี่ยวสังเคราะห์
        • ความทนต่อแรงดึง 21 วัน
        • สามารถสลายตัวใน 91-119 วัน
        • ทะลุผ่านเนื้อเยื่อได้ง่าย
        • โอกาสการติดเชื้อและการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อน้อย
        • เหมาะสำหรับ plastic surgery; subcutaneous suture

        ไหมไม่ละลาย (Non-absorbable sutures)

            Silk

            • ไหมถักธรรมชาติ
            • เคลือบด้วยขี้ผึ้ง ทำให้สามารถดึงได้ง่ายขึ้น
            • ความทนต่อแรงดึง 365 วัน
            • สามารถสลายตัวใน 730 วัน
            • ปฏิกิริยาต่อเนื้อเยื่อและการติดเชื้อมาก
            • ไหมสีดำ ทำให้ง่ายต่อการมองเห็น
            • เหมาะสำหรับ Peripheral closures

            Non Absorbable Surgical Nylon Suture - Buy Non Absorbable Suture,Non Absorbable Surgical Suture,Nylon Surgical Suture Product on Alibaba.com

              Nylon

              • Synthetic polyamide polymer
              • เนื้อสัมผัสเรียบ
              • ความทนต่อแรงดึงสูง
              • เกิดการคลายปมได้ง่าย ทำให้ต้องผูกปม 3-4 ปมขึ้นไป
              • เหมาะสำหรับการเย็บชั้นผิวหนังมากสุด และการเย็บเพื่อการแนบชิดกันของชั้นเนื้อเยื่ออ่อน

              Nonabsorbable Suture Material - an overview | ScienceDirect Topics

                Polypropylene (Prolene)

                • ไหมไม่ละลายแบบเส้นใยเส้นเดี่ยว
                • เนื้อสัมผัสเรียบ
                • การจับและความแข็งแรงดี
                • มีสภาพพลาสติกสูง (High plasticity)
                • ไหมในอุดมคติของการการเย็บชั้นผิวหนัง

                  D7005 | Ethicon

                  Stainless steel

                  • ความทนต่อแรงดึงสูงที่สุด
                  • ปฏิกิริยาต่อเนื้อเยื่อน้อยที่สุด
                  • การจับไม่ดีและทำลายเนื้อเยื่อ
                  • เหมาะสำหรับ orthopedic and thoracic operation

                    ตารางที่ 3 แสดงคุณสมบัติของไหมละลายและไหมไม่ละลาย

                    Suture Tensile strength/Absorption
                    Time to loss of 50% tensile (d) Time to loss of 100% tensile (d) Time to complete absorption (d) Absorption rate Tissue reaction/

                    degradation

                    Handling
                    Absorbable Multifilament
                    – Plain gut (twisted) 3-5 14-21 70 unpredictable high/proteolysis Fair
                    – Chromic gut (twisted) 7-10 14-21 90-120 unpredictable high/proteolysis Fair
                    – Polyglactin 910 (braided)

                    (Vicryl rapid)

                    5 14 42 predictable low/hydrolytic Best
                    – Coated polyglactin 910 (braided) (Vicryl) 21 28 56-70 predictable low/hydrolytic Best
                    – Coated polyglycolide

                    (braided) (Dexon II)

                    14-21 28 60-90 predictable low/hydrolytic Best
                    Absorbable Monofilament
                    – Polyglytone 6211

                    (Caprosyn)

                    5-7 21 56 predictable low/hydrolytic Good
                    – Poliglecaprone 25 (Monocryl) 7 21 91-119 predictable low/hydrolytic Good
                    – Polyglyconate (Maxon) 28-35 56 180 predictable low/hydrolytic Fair
                    – Polydioxanone (PDS II) 28-42 90 183-238 predictable low/hydrolytic Fair
                    – Poliglecaprone 25

                    (Monoderm)

                    7-10 21 90-120 predictable low/hydrolytic Good
                    – Polydioxanone (PDO) 28-42 90 180 predictable low/hydrolytic Fair
                    Nonabsorbable Multifilament
                    – Silk 180 365 730 unpredictable high/hydrolytic Best
                    – Cotton 180 >730 N/A unpredictable high/hydrolytic Best
                    – polyester N/A N/A N/A N/A low/none Good
                    Nonabsorbable Monofilament
                    – Polypropylene (Prolene) N/A N/A N/A N/A low to none/none Poor
                    – Nylon N/A N/A N/A unpredictable low/hydrolytic Good
                    – Polybutester (Novafil) N/A N/A N/A N/A low/none Good
                    – Stainless steel N/A N/A N/A N/A low to none/none Fair

                    คุณลักษณะของเนื้อเยื่อและหัตถการการผ่าตัดทางสูตินรีเวช (Tissue and procedural characteristics in Obstetric Gynecologic surgery) 1

                    ระยะเวลาการหายของแผลในเนื้อเยื่อต่างๆ (Healing time for different tissues)

                    ตารางที่ 4 แสดงระยะเวลาการหายของแผลในเนื้อเยื่อแต่ละชนิด

                    Tissue Healing time
                    Skin 1-2 weeks
                    Subcutaneous tissue 2 weeks
                    Peritoneum 4-10 days
                    Uterus 8 days
                    Vagina and perineum 8-10 days
                    Bladder 5 days
                    Ligament tendons 6 weeks

                    ที่มา : RCOG. Suture and needles presentation.

                      • แผลฝีเย็บ (Perineal repairs): แผลฝีเย็บเป็นบริเวณที่มีหลอดเลือดเลี้ยงเยอะ ทำให้การหายของแผลใช้เวลาสั้น วัสดุเย็บแผลที่นิยมเลือกใช้จึงเป็นไหมละลาย เช่น Chromic gut ในปัจจุบันมีการพัฒนา synthetic material มาใช้ในการเย็บแผลฝีเย็บ จาก Kettle and Johanson at Cochrane Database in 2001 ซึ่งพบว่า synthetic material เช่น Dexon and Vicryl ช่วยลดกระบวนการอักเสบได้มากกว่า chromic gut และยังช่วยลดอาการปวดหลังคลอดได้ แต่ใช้เวลาในการสลายตัวนานกว่า นอกจากนั้นพบว่าการใช้ fast-absorbing polyglactin 910 (Rapid vicryl) ในการเย็บแผลฝีเย็บ ช่วยลดอาการปวดหลังคลอดและสามารถกลับมามีเพศสัมพันธ์ได้เร็วขึ้น ดังนั้น fast-absorbing polyglactin 910 (Rapid vicryl) จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับ การเย็บแผลฝีเย็บหลังคลอด
                      • กล้ามเนื้อหน้าท้อง (Rectus fascia reapproximation): rectus fascia หลังผ่าตัดเปิดหน้าท้อง สามารถกลับมาแข็งแรงเทียบเท่าปกติ ใช้เวลาประมาณ 4 เดือน ซึ่งระหว่างนี้หากเกิดการแยกของแผล อาจเพิ่มโอกาสการเกิดไส้เลื่อนบริเวณแผลผ่าตัด (incision hernia) ได้ จาก meta-analysis by Hodgson and colleagues พบว่าโอกาสการเกิด ไส้เลื่อนบริเวณแผลผ่าตัด เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อใช้ไหมชนิด polyglycolic acid sutures (PGA) ในทางตรงกันข้ามพบว่า polydioxanone (PDS II) กับ non-absorbable nylon มีโอกาสการเกิดไส้เลื่อนบริเวณแผลผ่าตัดไม่แตกต่างกันทางสถิติ ต่อมาในการศึกษานี้ พบว่าทั้งไหมละลาย และ ไหมไม่ละลาย สามารถเกิด ไส้เลื่อน และเกิดภาวะปวดแผลทั้งคู่ ดังนั้นการเลือกวัสดุเย็บแผลเพื่อปิด rectus fascia คือ delayed absorption monofilament material เช่น polydioxanone (PDS) และ polyglyconate (Maxon)
                      • แผลมดลูก (Uterine reapproximation): พิจารณาใช้ Chromic suture ขนาด 0 หรือ 1 หรือไหมชนิด synthetic absorbable suture ในการเย็บมดลูก สำหรับ chromic gut suture มีข้อดีที่สำคัญ 2 อย่าง ที่ช่วยสนับสนุนในการใช้เย็บมดลูก คือ

                    1. Knotted tensile strength ของ chromic gut ขนาด 0 เพียงพอที่จะทนต่อแรงที่ทำให้เกิดการแยกของแผล

                    2. ความทนต่อแรงดึง 14-21 วัน และอัตราการสลายตัวของไหม เพียงพอต่อการหายของแผลมดลูกในกรณีผ่าตัดคลอด

                    สำหรับการเย็บมดลูกในสตรีที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ สามารถใช้ได้ทั้ง chromic gut, polydioxanone (PDS) หรือ polyglyconate (Maxon)

                      • แผลช่องคลอด (Vaginal Cuff closure): บริเวณรอยต่อช่องคลอดเป็นตำแหน่งที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อได้ง่าย เช่น vaginal cuff cellulitis และ ฝีหนองในอุ้งเชิงกราน หลังการผ่าตัดมดลูก (pelvic abscess) เป็นต้น นอกจากนี้ สามารถเกิด persistent granulation tissue ซึ่งทำให้ผู้ป่วยหลังผ่าตัด มีตกขาวหรือเลือดออกผิดปกติได้ และยังสามารถเกิดแผลแยกได้ จากการไอ จาม เบ่ง และอื่นๆ ทำให้ควรเลือกใช้วัสดุเย็บแผลที่มีความแข็งแรงยาวนาน
                      • วัสดุเย็บแผลในอุดมคติสำหรับการเย็บแผลช่องคลอด
                      • ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย (Inhibit bacterial growth)
                      • ปฏิกิริยาต่อเนื้อเยื่อน้อย (Minimal tissue reactivity)
                      • มีความยืดหยุ่น (Be pliable)
                      • ความทนต่อแรงดึงอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ (Maintain tensile strength)

                    J. I. Einarsson และคณะ แนะนำ barbed PDO suture (V-Loc) สำหรับการเย็บแผลช่องคลอดหลังการผ่าตัดมดลูกผ่านกล้อง

                    Reference

                    1. Greenberg JA, Clark RM. Advances in suture material for Obstetric and Gynecologic surgery. Rev Obstet Gynecol. 2009;2(3):146-158.
                    2. Handa VL and Linda VL. Chapter 7 Incisions for Gynecologic Surgery. Te Linde’s Operative Gynecology 12th edition. 2020:144-5
                    3. Brunicardi FC, Anderson DK, Billiar TR and et al. Wound Healing. Schwartz’s Principles of Surgery 10th Edition. 1999:241-6.
                    4. อัจฉริย สาโรวาท. Wound healing and wound care. [cited 2022 Mar 1]. Available from: https://www.rama.mahidol.ac.th/surgery/sites
                    5. David M deLemos. Skin laceration repair with sutures. Uptodate. 2021
                    6. RCOG. Suture and needles presentation. [cited 2022 Feb 26] Available from: https://elearning.rcog.org.uk//general-principles/suture-and-needles/suture-and-needles-presentation
                    7. F. Gary Cunningham, Kenneth J. Leveno and et. al. Chapter 30 Cesarean Delivery and peripartum Hysterectomy. Williams OBSTETRICS 25th edition. 2018:567-590