Lateral ventricle (*), width of 15 mm, with choroid plexus dangling sign (arrow)

Hydrocephalus

ทารกหัวบาตร (hydrocephalus)

ทารกหัวบาตร (hydrocephalus) คือภาวะที่ CSF คั่งในกระโหลกมากผิดปกติ ร่วมกับการมีความดันในกระโหลกศีรษะเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งมักเกิดจากการคั่งของ CSF จากการอุดตันการไหลเวียนหรือ การสร้างมากกว่าการดูดซึมกลับมาก พบได้ประมาณ 0.8 ต่อ 1000 การคลอดประมาณร้อยละ 30 ของทารกหัวบาตรมี spina bifida ร่วมด้วยโดยเป็นส่วนหนึ่งของ Arnold-Chiari malformation หรือ NTD ความผิดปกติอื่นของสมองที่อาจพบร่วมด้วยได้แก่ Dandy-Walker malformation, agenesis of corpus callosum เป็นต้น โดยมากถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ multifactorial มีโอกาสเกิดซ้ำในครรภ์ต่อมาประมาณร้อยละ 2 และถ้าเคยมีประวัติคลอดลูกเป็นหัวบาตรสองคนแล้ว ครรภ์ต่อไปจะมีโอกาสเป็นซ้ำอีกร้อยละ 10 และส่วนน้อย (ร้อยละ 7) ถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ X-linked recessive (เป็น aqueductal stenosis) โดยทั่วไปแล้วจะโตทั้งสองข้าง มีน้อยมากที่จะเป็นข้างเดียว (unilateral hydrocephalus) ซึ่งกระโหลกและหน้าไม่สมมาตร เกิดจากการอุดตันของทางไหลเวียน CSF ที่ระดับ Monro’s foramen พยากรณ์ของทารกแรกคลอดอาจไม่สัมพันธ์กับขนาดของ ventricles ทารกที่มีความหนาของเนื้อสมองเพียงไม่กี่มิลลิเมตร อาจจะสามารถมีการพัฒนาเป็นปกติถ้าได้รับการดูแลรักษาอย่างดี การพยากรณ์โรคดูเหมือนว่าจะขึ้นกับชนิด สาเหตุ และความพิการที่พบร่วมด้วย มากกว่าขึ้นกับความรุนแรง อย่างไรก็ตาม mild ventriculomegaly เดี่ยว ๆ มีพยากรณ์ดีกว่ามาก

การจำแนกภาวะหัวบาตร (hydrocephaly)

อาจจำแนกโดยพยาธิกำเนิดของทารกหัวบาตรได้ดังนี้

  • Triventricular hydrocephaly คือทารกหัวบาตรที่ตรวจพบ ventricles ทั้งสามโต ได้แก่ lateral ventricles ทั้ง 2 ด้าน และ third ventricle โต โดยสมองส่วนที่อยู่ posterior fossa ปกติ อาจแบ่งได้เป็น
  • Noncommunicating hydrocephaly คือมีการอุดตันในระบบ ventricles เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง aqueductal stenosis ซึ่งนับเป็นสาเหตุหนึ่งในสามของภาวะทารกหัวบาตร ส่วนหนึ่งเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ X-linked recessive
  • Communicating hydrocephaly เกิดจากการอุดตันในทางไหลเวียนของ CSF นอกระบบ ventricles หรือเกิดจากความล้มเหลวในการดูดซึมกลับของ CSF ซึ่งอาจเกิดจากการมีเลือดออกในชั้น subarachnoid เส้นเลือดในสมองอุดตัน หรือ papilloma ของ choroid plexu

ความผิดปกติอื่น ๆ ของระบบประสาท ทารกหัวบาตรอาจมีความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วยถึงร้อยละ 70-85 ซึ่งเป็นความผิดปกติอื่น ๆ ของระบบประสาทร้อยละ 50-60 ในรายที่มีความผิดปกติอื่นร่วมด้วยมีแนวโน้มโครโมโซมผิดปกติสูง จึงมักแนะนำให้ตรวจโครโมโซมร่วมด้วย อย่างไรก็ตามความผิดปกติอื่นอาจจะตรวจไม่พบโดยคลื่นเสียงความถี่สูง ดังนั้นทารกหัวบาตรอาจพิจารณาตรวจโครโมโซมทุกราย

การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง

มักพบศีรษะขนาดโตกว่าที่ควรจะเป็นสำหรับอายุครรภ์นั้นๆ BPD โตกว่าปกติ แต่ทารกบางรายที่พบมี ventriculomegaly อาจจะมี BPD อยู่ในเกณฑ์ปกติแม้ในไตรมาสที่

Ventriculomegaly

เกณฑ์การวินิจฉัยว่า ventricles โต อาศัยภาพคลื่นเสียงความถี่สูงที่วิวระดับ ventricles ดังนี้

  1. Dangling choroid plexus ในทารกหัวบาตร choroid plexus จะเหี่ยวย่นและถูกดันไปทางด้านหน้า ทำให้เห็นแยกตัวออกห่างจากผนังด้านในของ ventricle เห็น choroid ตกลงมาตามแรงโน้มถ่วง choroid ของ ventricle ซีกบน (ใกล้หัวตรวจ) จะตกลงมาอยู่ใกล้แนวกลาง choroid ของ ventricle ล่างก็ยิ่งตกห่างจากแนวกลางออกไปอีก
  2. การวัด LVR (lateral ventricular ratio) LVR คำนวณได้จากการหารความกว้างของ lateral ventricle ด้วยความกว้างของซีกสมองข้างเดียวกัน โดยที่ความกว้างของ ventricle วัดจากแนวกึ่งกลางของ midline echo ไปจนถึงขอบนอกของ lateral ventricle ในส่วน parietal ซึ่งมีแนวขนานกับ midline ส่วนความกว้างของซีกสมองวัดจากจุดกึ่งกลางของ midline echo ในภาพเดียวกันนั้นไปจนถึงขอบในของกระดูกกระโหลกศีรษะ
    LVR ปกติจะมีค่าสูงในระยะแรกของการตั้งครรภ์คือประมาณร้อยละ 71 ขณะอายุครรภ์ 15 สัปดาห์ และลดลงเป็นร้อยละ 33 ขณะ 24 สัปดาห์ โดยทั่วไปถือกันง่าย ๆ ว่าถ้า LVR มีค่ามากกว่าร้อยละ 50 ให้ถือว่าผิดปกติ เนื่องจากความแปรปรวนของค่าปกติในระยะก่อน 24 สัปดาห์มีได้สูง LVR จึงมีคุณค่าค่อนข้างจำกัดในช่วงนี้
  3. วัดขนาดของ ventricles โดยทั่วไปแล้วขนาดของส่วน atria ค่อนข้างจะคงที่ตลอดครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ คือ 4-8 มม. สูงสุดได้ถึง 10 มม. ถ้าขนาดโตกว่านี้ถือว่ามี ventriculomegaly ในกรณีที่โตเพียงเล็กน้อย (10-14 มม.) พบว่าในที่สุดเป็นปกติได้บ่อยคือร้อยละ 40

Ventriculomegaly
Lateral ventricle (*), width of 15 mm, with choroid plexus dangling sign (arrow)

Mild ventriculomegaly
Lateral ventricle (solid circle), width of 11 mm, with choroid plexus dangling sign (arrow)

Severe hydrocephalus
Markedly dilated ventricles with extremely thin brain (arrow)

Severe hydrocephalus
Markedly dilated ventricles with extremely thin brain, choroid plexus dangling (arrow) (arrowhead = falx cerebri)

Hydrocephalus
Transthalamic view: wide separation the third ventricle (*) and dilated lateral ventricles

Hydrocephalus
Bossing forehead secondary to hydrocephaly Facial profile view: sunken nose related to forehead bossing in case of hydrocephaly

ข้อควรระวัง

ในการแยกระหว่างทารกหัวบาตรต้องไม่สับสนกับ pseudohydrocephalus ซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงได้โดย

  • สังเกตเห็นแนว specular flexion ทางด้านหน้า ซึ่งเกิดจาก sylvian cistern และ middle cerebral artery
  • เมื่อสแกนสูงขึ้นไปทางศีรษะอีก ก็จะพบผนังของ frontal horn ได้
  • สังเกตอย่างรอบคอบจะเห็นผนังของ ventricular atrium
  • สังเกตเห็น choroid plexus อยู่ในแนวค่อนข้างขนานกับ lateral ventricle ไม่มี dangling

เมื่อวินิจฉัยว่าเป็นทารกหัวบาตรแล้ว จะต้องตรวจหารายละเอียดเพื่อแยกสาเหตุของทารกหัวบาตร ซึ่งอาศัยลักษณะค่อนข้างจำเพาะทางคลื่นเสียงความถี่สูงดังนี้

Aqueductal Stenosis

  • Lateral ventricles โตปานกลางถึงมาก ๆ
  • Third ventricle โต
  • Forth ventricle และ posterior fossa ปกติ
  • รูปร่างกระโหลกปกติ แต่ขนาดโตขึ้นได้แล้วแต่ความรุนแรง
  • มักจะมีความรุนแรงคืบหน้าไปเรื่อย ๆ
  • มักจะไม่มีความผิดปกติอื่น ๆร่วมด้วย
  • มักตรวจได้ตั้งแต่ไตรมาสที่สอง แต่ถ้าเกิดจากการติดเชื้อหรือเลือดออกจะพบเมื่อไรก็ได้

Arnold-Chiari type II malformation

  • กระโหลกศีรษะผิดรูปร่าง (lemon sign) แต่มักจะหายไปในไตรมาสที่สาม
  • Cisterna magna ถูกเบียดหายไป (banana sign)
  • สัมพันธ์กับ spina bifida
  • ขนาดของ ventricles โตเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
  • กระดูกหน้าผาก frontal ชี้แหลม

DWM

  • ถุงน้ำใน posterior fossa อยู่ในแนวกลาง และเชื่อมกับ fourth ventricle
  • Vermis หายไป
  • Cerebellum ฝ่อและแยกจากกัน
  • Tentorium ยกระดับสูงขึ้น
  • Lateral ventricle โตเล็กน้อยถึงปานกลาง

ACC

  • Third ventricle ถูกยกสูงขึ้นไป
  • Frontal horn แยกห่างจากกัน
  • Colpocephaly
  • Ventricle โตเล็กน้อย

Cephalocele

  • รอยโหว่ของกระโหลก โดยเฉพาะบริเวณท้ายทอย (occipital)
  • Cisterna magna มักจะถูกเบียดหายไป
  • อาจเห็น lemon sign
  • Ventricles โตเล็กน้อยถึงปานกลาง
  • ครรภ์แฝดน้ำ

ในกรณีที่ตรวจพบปริมาณน้ำในกระโหลกอย่างมากมาย (massive) มักจะเกิดจากสาเหตุดังนี้คือ

  • ทารกหัวบาตรจาก aqueductal stenosis เป็นภาวะที่พบได้บ่อยที่สุด อาจมีเนื้อสมองบางมากจนเข้าใจผิดว่าไม่มีก็ได้
  • Holoprosencephaly พบน้อย lateral ventricles รวมกันเป็นอันเดียว
  • Hydranencephaly พบน้อย ไม่มีเนื้อสมองอยู่เลย

การดูแลรักษา

  • รายไม่รุนแรงและไม่ความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วยมักแนะนำให้ติดตามการเปลี่ยนแปลง
  • อาจพิจารณายุติการตั้งครรภ์กรณีเป็นรุนแรงมาก หรือมีความผิดปกติรุนแรงอื่น ๆ ร่วมด้วย
  • อาจเลือกยุติการตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ยังน้อยซึ่งไม่สามารถเลี้ยงรอดได้
  • รักษาด้วยการใส่ shunt ในครรภ์ ต้องพิจารณาทำในรายอายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์ ซึ่งมีโครโมโซมปกติ และไม่มีความผิดปกติอื่นร่วมด้วย แต่ผลการรักษาในปัจจุบันยังไม่ค่อยเป็นที่น่าพอใจนัก

Classic Images


Read More
Transverse scan of the skull: dilated occipital horn of lateral ventricles (*), and third ventricle (solid circle) (arrow = choroid plexus)

ACC

Agenesis of the corpus callosum (ACC)

บทนำ

Corpus callosum คือ bundle ของ white matter tract ซึ่งประสานกันระหว่างสองซีกสมอง การฝ่อหายไป (ACC) นับเป็นความผิดปกติรุนแรงที่พบได้ไม่บ่อย คือราว 1 ต่อ 19,000 ของการชัณสูตรศพ การฝ่อหายไปอาจเป็นเพียงบางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้
ACC ทำให้สมองและระบบ ventricle เปลี่ยนไปซึ่งมีลักษณะคือ third ventricle เลื่อนสูงขึ้นไป (interhemispheric cyst) ซึ่งเป็นลักษณะที่จำเพาะที่สุดของ ACC แต่ให้ภาพได้ในหลายลักษณะ lateral ventricles เลื่อนขึ้นบนและออกด้านข้าง
มีความผิดปกติอื่นทั้งในและนอกระบบประสาทได้มาก ซึ่งที่พบได้บ่อย ๆ นอกจากนั้นยังอาจมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของโครโมโซมด้วยคือ trisomy 18, 13 และ 8
ถ้าเป็น ACC เดี่ยว ๆ โดยไม่มีความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วยอาจจะไม่มีอาการเลย แต่ส่วนมากมักจะมีระดับสติปัญญาต่ำกว่าทั่วไป และมีอาการชัก

ลักษณะทางคลื่นเสียงความถี่สูง

Corpus callosum มองไม่เห็นก่อน 20 สัปดาห์ แต่หลังจากนั้นจะวินิจฉัยได้ถูกต้องมากด้วยคลื่นเสียง ลักษณะสำคัญจากการตรวจด้วยคลื่นเสียงที่ช่วยในการวินิจฉัยได้แก่

  • การขยายใหญ่ขึ้นของ occipital horn อย่างไม่ได้สัดส่วน (colpocephaly)
  • เห็นผนังทั้งด้านในและนอกของ ventricle ได้รอบ (ในระดับวิวตรวจ ventricle ปกติ)
  • ผนังด้านในและนอกของ ventricle ขนานกันมากกว่าปกติ
  • Interhemispheric cyst (midline cyst) เป็นลักษณะค่อนข้างจำเพาะแต่มิได้มีทุกราย
  • ไม่เห็น cavum septum pellucidum
  • พบความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมได้บ่อย

Colpocephaly
Transverse scan of the skull: dilated occipital horn of lateral ventricles (*), and third ventricle (solid circle) (arrow = choroid plexus)

Agenesis of the corpus callosum
Transverse scan of the skull: marked dilated occipital horn of lateral ventricles (*), and third ventricle (solid circle

Classic Images


{/tabs}

Read More

Chalaithorn Nantasupha

Chalaithorn Nantasupha
อ. พญ. ชลัยธร นันทสุภา

Subspecialty: Gynecologic Oncology



First NameChalaithorn
Family NameNantasupha
SexFemale
TitleInstructor
NationalityThai
Birth placeBangkok, Thailand
Birth dateJuly 25, 1987
Education2012M.D. Siriraj Hospital, Mahidol University, Thailand
2013Diploma in Basic Sciences
2014Diploma in Clinical Science (OB&GYN)
2016Diploma of Thai Board of OB&GYN
2018Diploma of Thai Board of Gynecologic Oncology
Career Position2019Associate Instructor
2020Instructor
SubspecialtyGynecologic Oncology
E-mail addresschalaithorn.n@cmu.ac.th
Academic activityActivity
International Publications (PubMed)PubMed
Read More

งานรดน้ำดำหัวอาจารย์อาวุโส 2553

งานรดน้ำดำหัวอาจารย์ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ. ห้องเรียน 2 (ห้องอาจารย์กำจัด) เมษายน 2553 เป็นงานแสดงคารวะแด่คณาจารย์ผู้บุกเบิกภาควิชามาแต่กาลก่อน อบอุ่น สงบสุข รับพร ประพรมน้ำเป็นสิริมงคล

Read More

งานรดน้ำดำหัวอาจารย์อาวุโส 2552

งานรดน้ำดำหัวอาจารย์ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ. ห้องเรียน 2 (ห้องอาจารย์กำจัด) เมษายน 2552 เป็นงานแสดงคารวะแด่คณาจารย์อาวุโส ทุกหน่วยงานมอบสิ่งของบูชาพระคุณครู อบอุ่น สงบสุข รับพร รับโอวาทจากอาจารย์ และประพรมน้ำส้มป่อยสิริมงคล

Read More
bouquet2

รางวัลวิจัยแพทย์ประจำบ้าน

bouquet2จากการประกวดการนำเสนอผลงานวิจัยราชวิทยาลัยสูตินรีแพทยแห่งประเทศไทยที่ผ่านมา

แพทย์ประจำบ้านของเรา ได้รับ 3 รางวัล ได้แก่

  • นพ.กฤดา คุณาวิกติกุล ได้รับรางวัลที่สอง จากการนำเสนอเรื่อง Sensitivity and specificity of Wallach Endo-cellTM endometrial cell sampler in diagnosing
  • นพ.พลวัฒน์ สุทธิชล ได้รับรางวัลชมเชย จากการนำเสนอเรื่อง  Perioperative complications of an outpatient loop electrosurgical excision procedure: a review of 857 consecutive cases
  • พญ.กุณฑรี ไตรศรีศิลป์  ได้รับรางวัลชมเชย จากการนำเสนอเรื่อง  Pregnancy outcomes in women complicated with thalassemia syndrome at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital
  • พญ.เปรมจิต เจริญวีรกุล ได้รับรางวัลชมเชย จากการนำเสนอเรื่อง Maternal Death at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital: 17-year experience
Read More

Workshop: คัดกรองดาวน์

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ
เรื่อง “การวินิจฉัยก่อนคลอดและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์”
วันที่ 9 – 10 กันยายน 2553
ณ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ จังหวัดเชียงใหม่ 

1.      หลักการและเหตุผล

กลุ่มอาการดาวน์ เป็นความผิดปกติโดยกำเนิดของโครโมโซม ที่พบได้บ่อยที่สุดในทารกแรกคลอด การวินิจฉัยก่อนคลอด เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดอุบัติการณ์ของทารกกลุ่มอาการดาวน์ได้ โดยการเจาะตรวจโครโมโซมของทารกในครรภ์ ซึ่งแนะนำในสตรีตั้งครรภ์ที่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 35 ปี ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้ตรวจพบทารกกลุ่มอาการดาวน์ได้เพียงร้อยละ 20 ของทารกกลุ่มอาการดาวน์ที่คลอดทั้งหมดและยังมีความเสี่ยงต่อการแท้งจึงไม่เหมาะสมที่จะตรวจในสตรีตั้งครรภ์ทุกราย ปัจจุบันได้มีผู้พยายามค้นหาเทคนิคการคัดกรองอื่น ๆ มาช่วยเสริม เช่นการตรวจซีรั่มมาร์คเกอร์ และการใช้ลักษณะความผิดปกติบางประการของทารกที่สามารถตรวจพบได้ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เป็นต้น จึงมีความจำเป็นที่แพทย์ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลทั่วไปจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้เทคนิคการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยกลุ่มอาการดาวน์ รวมถึงให้คำแนะนำแก่สตรีตั้งครรภ์และคู่สมรสได้อย่างถูกต้อง หน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารก ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในด้านนี้ และเป็นโอกาสอันดีในการเผยแพร่องค์ความรู้จากงานวิจัยจากการที่อาจารย์ประจำหน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารกได้รับทุนจากงบประมาณโครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติในหัวข้อเรื่อง “การวินิจฉัยก่อนคลอดและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์” จึงได้กำหนดจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การวินิจฉัยก่อนคลอดและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์” ขึ้นเพื่อให้แพทย์และพยาบาลที่มีหน้าที่ในการดูแลรักษาสตรีตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลทั่วไป สามารถตรวจคัดกรองและวินิจฉัยรวมถึงให้คำปรึกษาเพื่อค้นหาคู่สมรสที่มีความเสี่ยงต่อการมีลูกเป็นโรคกลุ่มอาการดาวน์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และได้รับความรู้จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่อไป

2.       วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม

2.1        มีความรู้ความเข้าใจในโครงสร้างของโครงการเรื่องการวินิจฉัยก่อนคลอดและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์

2.2        สามารถประยุกต์ใช้การตรวจคัดกรองรวมถึงเทคนิคในการวินิจฉัยทารกกลุ่มอาการดาวน์ในสตรีตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

3.      ผู้เข้าร่วมโครงการ

3.1  วิทยากร                                                                    8        คน

3.2  สูติแพทย์ แพทย์ต่อยอดสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารก  30 คน
3.3  พยาบาลสูติศาสตร์ และ ผู้สนใจ   70 คน
3.4  แพทย์ประจำบ้านสาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 30 คน
3.5  เจ้าหน้าที่  7 คน
รวม 145 คน

4.      วิทยากร

  1. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระ ทองสง
  2. รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงพรรณี ศิริวรรธนาภา
  3. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชเนนทร์ วนาภิรักษ์
  4. รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสุพัตรา ศิริโชติยะกุล
  5. รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์วีรวิทย์ ปิยะมงคล
  6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงเฟื่องลดา ทองประเสริฐ
  7. อาจารย์ แพทย์หญิงเกษมศรี ศรีสุพรรณดิฐ
  8. อาจารย์ แพทย์หญิงสุชยา ลือวรรณ

 

5.  สถานที่

โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ จังหวัด เชียงใหม่

6.  ระยะเวลา

วันที่ 9 – 10 กันยายน 2553

7.   ผู้รับผิดชอบโครงการ

  • หน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารก ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • งบประมาณโครงการมหาวิทยาลัยแห่งชาติ

8.   การลงทะเบียน

ไม่เก็บค่าลงทะเบียน

9.  งบประมาณ

9.1  ประมาณการรายรับ

  • ได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณโครงการมหาวิทยาล้ยแห่งชาติ      100,000.- บาท

9.2  ประมาณการรายจ่าย

  • ค่าอาหารว่างและอาหารกลางวัน (???- x 145 คน x 2 วัน)                       .- บาท
  • ค่าเอกสารและซีดีประกอบการอบรม (100.- x 145 ชุด)                  14,500.- บาท
  • ค่าแผ่นพับ (10.- x 500 แผ่น)                                                 5,000.- บาท
  • ค่าแสตมป์และซองจดหมาย                                                    2,000.- บาท

รวม                                           100,000.- บาท

 

10.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการให้บริการการตรวจคัดกรอเพื่อค้นหาและวินิจฉัยทารกในครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการดาวน์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  2. ข้อมูลความรู้จากงานวิจัยได้รับการเผยแพร่

กำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการ
เรื่อง “การวินิจฉัยก่อนคลอดและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์”
วันที่ 9 – 10 กันยายน 2553
ณ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ จังหวัดเชียงใหม่

วันที่ 9 กันยายน 2553

08.15 – 08.45 น.       —————-ลงทะเบียน——————–

08.45 – 09.00 น.       ——————พิธีเปิด———————–

09.00 – 09.30 น.       สถานการณ์กลุ่มอาการดาวน์ในประเทศไทย       รศ. พญ. พรรณี ศิริวรรธนาภา

09.30 – 10.15 น.       หลักการของการตรวจคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์   รศ. ดร. นพ. วีรวิทย์ ปิยะมงคล

10.15 – 10.30 น.       ———————-พัก———————–

10.30 – 12.00 น.       การตรวจคัดกรองโดยใช้ซีรั่มมาร์คเกอร์            ผศ. พญ. เฟื่องลดา ทองประเสริฐ

12.00 – 13.00 น.       ———รับประทานอาหารกลางวัน———-

13.00 – 14.15 น.       ความหนาของถุงน้ำใต้ต้นคอทารก                  รศ. พญ. สุพัตรา ศิริโชติยะกุล

                              (Nuchal translucency, NT)    

14.15 – 14.30 น.       ———————-พัก———————–

14.30 – 16.00 น.       อัลตราซาวน์มาร์คเกอร์ในทารกกลุ่มอาการดาวน์  ศ. นพ. ธีระ ทองสง

 

วันที่ 10 กันยายน 2553

09.00 – 10.30 น.       การวินิจฉัยก่อนคลอดของกลุ่มอาการดาวน์        อ. พญ. เกษมศรี ศรีสุพรรณดิฐ

10.30 – 10.45 น.       ———————-พัก———————–

10.45 – 12.00 น.       การให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์                    รศ. นพ. ชเนนทร์ วนาภิรักษ์

                              เกี่ยวกับกลุ่มอาการดาวน์

12.00 – 13.00 น.       ———รับประทานอาหารกลางวัน———-

13.00 – 14.30 น.       การอบรมเชิงปฏิบัติการ                              ทีมวิทยากร

                             – การวัด NT, อัลตราซาวน์มาร์คเกอร์ (แพทย์)    ศ. นพ. ธีระ ทองสง และคณะ

                             – การให้คำปรึกษาแก่คู่สมรส (พยาบาล)           รศ.นพ.ชเนนทร์ วนาภิรักษ์ และคณะ

14.30 – 14.45 น.       ———————-พัก———————–

14.45 – 16.00 น.       แนวทางปฏิบัติในการเข้าถึงระบบตรวจคัดกรอง  อ. พญ. สุชยา ลือวรรณ และคณะ 

                              กลุ่มอาการดาวน์ ของ รพ มหาราชนครเชียงใหม่

                             และปัญหาที่พบบ่อยในทางปฏิบัติ

                              (อภิปรายร่วมกันกับผู้เข้าร่วมประชุม)

 

Read More

ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกดีจริงหรือ

ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกดีจริงหรือ

ศ.นพ.จตุพล ศรีสมบูรณ์ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา มช. มีคำแนะนำและให้ความรู้ดังต่อไปนี้

หลักการและการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการฉีด HPV Vaccine

ปัจจุบันมีหลักฐานยืนยันชัดเจนแล้วว่าการติดเชื้อ HPV แบบเนิ่นนาน (persistent HPV infection) เป็นขั้นตอนสำคัญของการดำเนินโรคเป็นรอยโรคก่อนมะเร็ง ืและมะเร็งปากมดลูก การฉีด HPV vaccine เพื่อการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านเชื้อ HPV เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยป้องกันปากมดลูกจากการติดเชื้อ HPV ได้

ส่วนประกอบของ HPV Vaccine

ส่วนประกอบของเชื้อ HPV ที่นำมาเป็น antigen กระตุ้นร่างกายให้สร้าง neutralizing antibody คือโปรตีนที่เปลือกหุ้มเชื้อ HPV หรือ capsid protein ได้แก่ L1 protein ซึ่งจะถูกนำไปเพิ่มจำนวนเพื่อผลิตเป็น HPV vaccine โปรตีน L1 นี้มีคุณสมบัติพิเศษคือ ถ้ามีปริมาณมาก ๆ จะสามารถประกอบตัวกันเอง (self assemble) เป็นอนุภาคที่คล้ายเชื้อ HPV ดั้งเดิม เรียกว่า “virus-like particle” (VLP) ซึ่งมีโครงสร้างภายนอกทุกอย่างเหมือน HPV ต้นแบบ หรือ HPV สายพันธุ์เดิม เพียงแต่ไม่มีโปรตีนที่ก่อมะเร็งเท่านั้น VLP ของเชื้อ HPV นี้เมื่อฉีดเข้ากล้ามเนื้อจะสามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้าง neutralizing antibody ที่จำเพาะต่อเชื้อ HPV สายพันธุ์นั้นได้สูงมาก antibody นี้จะออกจากกระแสเลือดในรูปของสิ่งซึมเยิ้มใส เข้าสู่มูกของปากมดลูก เพื่อป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์นั้น HPV vaccine ที่มีในปัจจุบันประกอบด้วย VLP ของเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 (ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกในสตรีทั่วโลก ประมาณร้อยละ 70) ผสมกับสารประกอบเสริม ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

ช่วงอายุที่แนะนำให้ฉีด HPV Vaccine

ประสิทธิภาพของ HPV vaccine จะสูงที่สุดในสตรีที่ยังไม่ติดเชื้อ HPV ดังนั้นจึงควรฉีดวัคซีนก่อนถึงวัยที่จะมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ HPV และรอยโรคที่จะเกิดตามมา ในปัจจุบัน HPV vaccine มีความปลอดภัย มีศักยภาพการกระตุ้นภูมิคุ้มกันสูง และมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการติดเชื้อ HPV และรอยโรค ในสตรีช่วงอายุ 9-26 ปี ส่วนสตรีที่มีอายุมากกว่า 26 ปี ยังไม่มีข้อมูลด้านประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ HPV และรอยโรค สำหรับการฉีด วัคซีนเพื่อกระตุ้นซ้ำ (booster) ยังไม่มีข้อมูลว่าควรฉีดเมื่อไร ข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันพบว่าระดับ antibody ยังคงป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้นานอย่างน้อย 5.5 ปี

การฉีด HPV Vaccine

การฉีด HPV vaccine ให้ฉีด 0.5 มล. เข้ากล้ามเนื้อจำนวน 3 ครั้ง (3 เข็ม) ดังนี้

ครั้งที่ 1 : ฉีดในวันที่กำหนดเลือก

ครั้งที่ 2 : ฉีดในเดือนที่ 1-2 หลังจากการฉีดครั้งแรก

ครั้งที่ 3 : ฉีดในเดือนที่ 6 หลังจากการฉีดครั้งแรก

ผลข้างเคียงของการฉีด HPV Vaccine

โดยทั่วไปการฉีด HPV vaccine มีความปลอดภัยสูง ไม่พบอาการข้างเคียงชนิดรุนแรง อาการข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้แก่

1. อาการข้างเคียงบริเวณที่ฉีดวัคซีน เช่น ปวด บวม แดง และคัน ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง เป็นอยู่ชั่วคราวและหายไปเอง

2. อาการทั่วไป เช่น ไข้ พบประมาณร้อยละ 10 ส่วนใหญ่ไม่รุนแรงและหายไปได้เอง อาการอื่น ๆ ที่อาจพบได้ เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย และผื่นคันตามตัว อาการเหล่านี้ไม่รุนแรงและหายไปได้เอง

คำแนะนำที่ควรทราบก่อนการฉีด HPV Vaccine

1. การฉีดวัคซีนเอชพีวีไม่สามารถใช้ทดแทนการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้

2 . การฉีดวัคซีนเอชพีวีไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อเอชพีวี หูดหงอนไก่ และรอยโรคก่อนมะเร็ง ได้ทุกราย

3. การฉีดวัคซีนเอชพีวีไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อและรอยโรคที่เกิดจากเชื้อเอชพีวีสายพันธุ์อื่นที่ไม่ได้มีในวัคซีน

4. ถ้ามีการติดเชื้อเอชพีวีแล้วประสิทธิภาพของวัคซีนจะลดลงหรือได้ประโยชน์ไม่สูงเท่าที่ควร

5. การฉีดวัคซีนเอชพีวีไม่สามารถใช้รักษาหูดหงอนไก่ รอยโรคก่อนมะเร็งปากมดลูก รอยโรคก่อนมะเร็งของช่องคลอดและรอยโรคก่อนมะเร็งปากช่องคลอดได้ ถ้ามีรอยโรคดังกล่าวควรรักษาให้หายก่อน

6. การฉีดวัคซีนเอชพีวีไม่สามารถป้องกันโรคอื่น ๆ ของอวัยวะเพศที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อเอชพีวี เช่น โรคเริม และตกขาวจากเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ เป็นต้น

7. ถ้ามีภูมิคุ้มกันต่ำหรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนอาจจะลดลง

8. หลังจากฉีดวัคซีนเอชพีวีแล้ว ถ้ามีเพศสัมพันธ์ ควรจะมีเพศสัมพันธ์ในเชิงป้องกันการติดเชื้อเอชพีวีด้วย เช่น การมีคู่นอนคนเดียว(monogamous) หรือ การคุมกำเนิดโดยการใช้ถุงยางอนามัย เป็นต้น

9. ในช่วงที่ฉีดวัคซีนเอชพีวี ควรคุมกำเนิดด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพไว้ก่อนจนกระทั่งฉีดครบ 3 เข็มไปแล้วอย่างน้อย 1 เดือน

10. ควรฉีดวัคซีนเอชพีวีให้ครบ 3 เข็มในช่วงที่กำหนด

11. หลังฉีดวัคซีนเอชพีวีแล้ว ควรมารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามที่แพทย์นัดเมื่อถึงวัยอันควร

12. หลังฉีดวัคซีนเอชพีวีแล้ว ควรนอนพักสังเกตอาการอย่างน้อย 30 นาที ไม่ควรเดินกลับคนเดียวหรือขับรถกลับด้วยตนเอง ควรมีเพื่อนหรือผู้ปกครองมาด้วย

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

แนะนำให้สตรีที่ได้รับการฉีด HPV vaccine มารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามปกติ เนื่องจาก HPV 16/18 vaccine ครอบคลุมเฉพาะเชื้อ HPV 16 และ HPV 18 ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกประมาณร้อยละ 70 เท่านั้น สตรีที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้วควรได้รับการตรวจ คัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามปกติ ถ้าตรวจพบความผิดปกติควรให้การรักษาตามมาตรฐานก่อนการฉีด HPV vaccine เนื่องจากการฉีด HPV vaccine ไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินโรคและ การหายของรอยโรคก่อนมะเร็งปากมดลูก จึงอาจจะพิจารณาการฉีด HPV vaccine ในกรณีดังกล่าวได้ แต่ต้องอธิบายให้ผู้รับการฉีดวัคซีนเข้าใจด้วยว่า ประสิทธิภาพของ HPV vaccine อาจจะลดลงถ้าเคยติดเชื้อ HPV สายพันธุ์เดียวกับวัคซีนมาก่อน เมื่อเปรียบเทียบกับสตรีที่ไม่เคยติดเชื้อ HPV เลย การฉีด HPV vaccine ในกรณีนี้อาจจะได้ประโยชน์จากการป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่มีในวัคซีนที่สตรียังไม่ได้ติดเชื้อ อย่างไรก็ตามต้องเน้นย้ำถึงการมารับ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอด้วย

การตรวจหาเชื้อ HPV ก่อนการฉีด HPV Vaccine

ไม่จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อ HPV (HPV test) ก่อนการฉีด HPV vaccine เนื่องจากการตรวจหาเชื้อ HPV ไม่สามารถระบุได้ว่าเคยมีการติดเชื้อมาแล้วหรือไม่ ถ้าผลการตรวจให้ผลบวกก็บอกได้เพียงว่า มีการติดเชื้อ HPV อยู่ในปัจจุบันหรือไม่เท่านั้น ซึ่งอาจจะเป็นการติดเชื้อแบบชั่วคราว (transient) สามารถหายไปเองได้ หรือเป็นการติดเชื้อแบบเนิ่นนาน (persistent) ซึ่งอาจจะคืบหน้ารุนแรงขึ้นเป็นรอยโรค CIN ต่อไปหรืออาจจะหายไปเองก็ได้ นอกจากนี้ ถ้าวิธีการตรวจไม่สามารถ ระบุสายพันธุ์ของเชื้อ HPV ได้ การที่ HPV test ให้ผลบวก อาจจะเกิดจากเชื้อ HPV สายพันธุ์ใดก็ได้ที่วิธีนั้นสามารถตรวจได้ ถ้าการตรวจหาเชื้อ HPV ให้ผลลบ ก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่าไม่มีเชื้อ HPV อยู่ที่ปากมดลูก เพราะวิธีการตรวจอาจไม่มีความไวเชิงวิเคราะห์ (analytical sensitivity) สูงพอที่จะตรวจหาเชื้อ HPV ที่มีอยู่ในปริมาณต่ำกว่าเกณฑ์ตรวจ (threshold)ได้ การตรวจหา antibody ต่อเชื้อ HPV ยังไม่สามารถกระทำได้ในทางปฏิบัติ มีแต่ในงานวิจัย และไม่ได้บ่งบอกสภาวะของเชื้อ HPV ที่ปากมดลูก การตรวจหาเชื้อ HPV ก่อนการฉีด HPV vaccine จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการฉีดวัคซีนสูงขึ้นมาก ทำให้การให้วัคซีนไม่คุ้มทุน

สตรีที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว

สตรีที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว สามารถฉีด HPV vaccine ได้ สตรีที่เคยมีผล Pap smear ผิดปกติ ควรได้รับการดูแลตามมาตรฐาน ถ้าได้รับการรักษาหายแล้ว สามารถฉีดวัคซีนได้ แต่ควรให้คำแนะนำว่าประสิทธิภาพของวัคซีนอาจจะลดลงถ้าเคยติดเชื้อ HPV มาก่อน อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะฉีดวัคซีนแล้ว ก็ยังต้องมารับ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอด้วย

สตรีที่เคยเป็นรอยโรคก่อนมะเร็งปากมดลูกมาก่อน

สตรีที่เคยเป็น CIN มาก่อน ถ้าได้รับการรักษาแล้วสามารถฉีด HPV vaccine ได้ แต่ต้องมารับการตรวจติดตามผลการรักษาอย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์นัด และต้องเน้นย้ำว่าถ้าสตรีมีการติดเชื้อ HPV 16/18 แล้ว การฉีด HPV 16/18 vaccine ไม่ได้มีผลในเชิงรักษาและอาจจะได้ประโยชน์น้อยในการป้องกัน การติดเชื้อ HPV 16/18 และรอยโรคก่อนมะเร็งปากมดลูกที่เกิดจากเชื้อ HPV 16/18 แต่อย่างไรก็ตามการฉีด HPV 16/18 vaccine จะช่วยป้องกัน การติดเชื้อ HPV 16/18 ซ้ำ (reinfection) การแพร่เชื้อ HPV 16/18 จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งของเยื่อบุปากมดลูก (autoinoculation) และการแพร่เชื้อ HPV ไปสู่คู่นอน (transmission)

สรุป

มะเร็งปากมดลูกเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย โดยพบเป็นอันดับ 1 ของมะเร็งในสตรีไทย สาเหตุหลักของมะเร็งปากมดลูกคือ การติดเชื้อ HPV ชนิดก่อมะเร็ง การป้องกันมะเร็งปากมดลูกแบ่งออกเป็น 3 ระดับ การตรวจคัดโรคโดยการทำ Pap smear หรือ HPV test เป็นการป้องกันแบบทุติยภูมิ ซึ่งเป็นการตรวจหาสตรีที่ติดเชื้อ HPV หรือมีความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูกจากการติดเชื้อ HPV แล้ว ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อ HPV ซึ่งเป็นสาเหตุหลักหรือ ขั้นตอนแรกของกระบวนการก่อมะเร็งปากมดลูก การฉีด HPV vaccine เพื่อสร้างเสริมให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อ HPV เป็นการป้องกันแบบปฐมภูมิและ เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งในการที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อ HPV และรอยโรคก่อนมะเร็ง ซึ่งจะนำไปสู่การลดอุบัติการณ์ของมะเร็งปากมดลูกในระยะยาว ผลการศึกษา เกี่ยวกับ HPV vaccine ใน phase I, II และ III พบว่ามีความปลอดภัยสูง กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้แรงกว่าการติดเชื้อ HPV ตามธรรมชาติ และมีประสิทธิภาพ สูงมากอย่างมีนัยสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อ HPV และรอยโรคก่อนมะเร็งปากมดลูกที่เกิดจากเชื้อ HPV สายพันธุ์เดียวกับวัคซีนที่ฉีด อย่างไรก็ตามการตรวจ คัดโรคมะเร็งปากมดลูกก็ยังมีความจำเป็นอยู่ เนื่องจาก HPV 16/18 vaccine สามารถครอบคลุมเชื้อ HPV 16/18 ที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก ได้ประมาณร้อยละ 70 ถึงแม้ว่าจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันรอยโรคก่อนมะเร็งที่เกิดจากเชื้อ HPV 16/18 ได้สูงถึงร้อยละ 99-100 ก็ตาม

Read More

สิทธิของผู้ป่วยมีอะไรบ้าง?

คำประกาศสิทธิของผู้ป่วย 

  1. ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิพื้นฐานที่จะได้รับบริการด้านสุขภาพ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
  2. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติเนื่องจากความแตกต่างด้านฐานะ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา สังคม ลัทธิ การเมือง เพศ อายุ และลักษณะของความเจ็บป่วย
  3. ผู้ป่วยที่ขอรับบริการด้านสุขภาพมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างเพียงพอ และเข้าใจชัดเจนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอม หรือไม่ยินยอมให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตน เว้นแต่เป็นการช่วยเหลือรีบด่วนหรือจำเป็น
  4. ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต มีสิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือรีบด่วนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยทันที ตามความจำเป็นแก่กรณี โดยไม่คำนึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่
  5. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบ ชื่อ สกุล และประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่เป็นผู้ให้บริการแก่ตน
  6. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่น ที่มิได้เป็นผู้ให้บริการแก่ตน และมีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ให้บริการและสถานบริการได้
  7. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยเคร่งครัด เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
  8. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างครบถ้วน ในการตัดสินใจเข้าร่วม หรือถอนตัวจากการเป็นผู้ถูกทดลองในการทำวิจัยของผู้ประกอบการวิชาชีพด้านสุขภาพ
  9. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตนที่ปรากฏในเวชระเบียนเมื่อร้องขอ ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่น
  10. บิดา มารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรมอาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ ผู้บกพร่องทางกายหรือทางจิต ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิด้วยตนเองได้
Read More