Annual Report : สถิติประจำปี (ทางสูติศาสตร์)

ฐานข้อมูล

ฐานข้อมูล หน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารก มีการสร้างฐานข้อมูลสำคัญของตัวเอง และนำเสนอต่อสาธารณะชน ในลักษณะ anual reports อย่างต่อเนื่องมาตลอดตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมา หน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารกมีระบบการเก็บข้อมูลสำคัญดังนี้

    • อัตราการตายทางสูติศาสตร์ ได้จากการบันทึกรายต่อราย ทบทวนและบันทึกโดยแพทย์
    • ข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลการคลอดของสตรีตั้งครรภ์ทุกราย ถูกเก็บบันทึกในฐานข้อมูลโดยเจ้าหน้าที่ของหน่วย
    • ข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์เสี่ยงสูง และความพิการโดยกำเนิด เก็บบันทึกโดยอาจารย์แพทย์ของหน่วย
    • สถิติการการตรวจค้นทางเวชศาสตร์มารดาและทารก เก็บบันทึกโดยเจ้าหน้าที่ของหน่วย

Annual Report : Maternal-Fetal Medicine

เป็นหนังสือสถิติรายงานประจำปีของหน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารก ซึ่งนำเสนอทุก ๆ เดือนมกราคมของทุกปี เพื่อรายงานสถิติต่าง ๆ ทางสูติกรรมอย่างละเอียดในรอบปีที่ผ่านมา ท่านผู้สนใจเกี่ยวกับสถิติรายละเอียดการคลอด ภาวะแทรกซ้อนสำคัญทางอายุรกรรม สูติกรรม สามารถตรวจเช็คหรือ download pdf file ได้จาก link ข้างบน

สถิติสำคัญ

อัตราการคลอด ประมาณ 2,000-3,000 รายต่อปี (ลดลงจากประมาณ 7,000 รายในปี 1990)
อัตราการตายทางสูติศาสตร์

  • อัตราการตายปริกำเนิด (ในรอบ 10 ปี) ประมาณร้อยละ 12 นับว่าอยู่ในเกณฑ์เป็นที่ยอมรับได้พอสมควร (เนื่องจากเป็น tertiary center ที่เป็นแหล่งรับผู้ป่วยที่ส่งต่อมาจากทั่วภูมิภาคตอนเหนือ ตัวเลขสถิตินี้จึงมิใช่ตัวเลขของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ที่แท้จริง) สาเหตุหลักสัมพันธ์กับการคลอดก่อนกำหนด
    • Perinatal Mortality Rate = อัตราการตายปริกำเนิด ผลรวมการตายของทารกในครรภ์และทารกแรกคลอด แรกคลอด
    • Stillbirth rate = ทารกคลอดไร้ชีพ (ไม่มี Apgar score) ถือเอาทารกที่มีอายุครรภ์เกิน 28 สัปดาห์ (ตาม อายุครรภ์ที่ประเมินได้ดีที่สุดจากข้อมูลทางคลินิก) ถ้าคำนวณไม่ได้ให้ถือตามน้ำหนักที่มากกว่า 1,000 กรัม
    • Neonatal death rate = การตายของทารกที่คลอดมีชีพที่มีอายุครรภ์เกิน 28 สัปดาห์ (หรือน้ำหนักมากกว่า 1,000 กรัม) เสียชีวิตภายใน 7 วันแรกหลังคลอด คิดอัตรา
  • อัตราการตายของมารดาแปรปรวนจาก 0.37 ต่อ 1,000 การคลอด
  • อัตราการคลอดก่อนกำหนด (ก่อน 37 สัปดาห์) ร้อยละ 10.62 (รวมผู้คลอดที่ส่งตัวมารักษาต่อจากภูมิภาคตอนเหนือ)
  • อัตราการผ่าตัดทำคลอด ร้อยละ 19.92 ของการคลอด (ร้อยละ 16.8 สำหรับผู้คลอดสามัญ และร้อยละ 31 สำหรับผู้คลอดฝากพิเศษ)
  • อัตราการติดเชื้อ HIV ในสตรีตั้งครรภ์ ท ร้อยละ 1.36 (ปี 2008)

สถิติการตรวจค้นทางเวชศาสตร์มารดาและทารก (ปี 2008)

  • การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง 8,766 ครั้ง (รวมการตรวจเพื่องานวิจัย เป็นการตรวจทางนรีเวชร้อยละ 24.8) – การเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจโครโมโซม 1300 ครั้ง
  • การเจาะเลือดสายสะดือทารก 439 ครั้ง
  • การตัดตรวจชิ้นเนื้อรก (chorionic villous sampling) 120 ครั้งอัตราการคลอดทารกโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง
  • ทารกบวมน้ำจากโรคฮีโมโกลบินบาร์ทในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ลดลงจากปีละประมาณ 25 ราย (ก่อนปี 1994) เหลือปีละ 0 ราย (ในปี 10 ปีที่ผ่านมา)
  • ทารกรายเป็นโรคเบต้าธาลัสซีเมีย ลดลงจากปีละประมาณ 10 ราย (ก่อนปี 1994) เหลือปีละ 0-1 ราย (ใน 10 ปีที่ผ่านมา)
  • ทารกที่เป็นโรคเบต้าธาลัสซีเมีย/ฮีโมโมโกลบินอี ลงลงจากปีละประมาณ 30 รายเหลือปีละประมาณ 1 ราย (ใน 10 ปีที่ผ่านมา)